Tentang artikel

Penulis :

Muhammad Salih Al-Munajjid

Tanggal :

Sat, Sep 03 2016

Kategori :

Jurisprudence

Download

การร่วมงานเฉลิมฉลองของต่างศาสนิก

การร่วมงานเฉลิมฉลองของต่างศาสนิก
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 


มุหัมมัด ศอลิหฺ อัลมุนัจญิด

 


แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : www.almunajjid.com

 

 

 

2014 - 1436
 
حكم المشاركة في أعياد الكفار
« باللغة التايلاندية »

 

 


محمد بن صالح المنجد

 


ترجمة: حسنى فوانجسيري
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: موقع www.almunajjid.com

 

 

2014 - 1436
 
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

การร่วมงานเฉลิมฉลองของต่างศาสนิก

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พวกเราขอสรรเสริญพระองค์ ขอความช่วยเหลือจากพระองค์ และขออภัยโทษต่อพระองค์ ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองพวกเราให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายที่เกิดจากตัวเราและการงานของเรา ผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงชี้นำทางจะไม่มีผู้ใดทำให้เขาหลงทางได้ และผู้ใดที่พระองค์ทรงทำให้เขาหลงทางก็ไม่มีผู้ใดชี้นำทางเขาได้ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱتَّقُواْ ٱللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِۦ وَلَا تَمُوتُنَّ إِلَّا وَأَنتُم مُّسۡلِمُونَ ١٠٢ ﴾ [آل عمران: ١٠٢]  
“โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงยำเกรงอัลลอฮฺอย่างแท้จริงเถิด และพวกเจ้าจงอย่าตายเป็นอันขาด นอกจากในฐานะที่พวกเจ้าเป็นผู้นอบน้อมเท่านั้น” (อาล อิมรอน: 102)
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ ٱتَّقُواْ رَبَّكُمُ ٱلَّذِي خَلَقَكُم مِّن نَّفۡسٖ وَٰحِدَةٖ وَخَلَقَ مِنۡهَا زَوۡجَهَا وَبَثَّ مِنۡهُمَا رِجَالٗا كَثِيرٗا وَنِسَآءٗۚ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ ٱلَّذِي تَسَآءَلُونَ بِهِۦ وَٱلۡأَرۡحَامَۚ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ عَلَيۡكُمۡ رَقِيبٗا ١ ﴾ [النساء : ١]  
“มนุษยชาติทั้งหลาย จงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าที่ได้บังเกิดพวกเจ้ามาจากชีวิตหนึ่ง และได้ทรงบังเกิดจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของเขา และได้ทรงให้แพร่สะพัดไปจากทั้งสองนั้นซึ่งบรรดาชายและบรรดาหญิงอันมากมาย และจงยำเกรงอัลลอฮฺที่พวกเจ้าต่างขอกันด้วยพระองค์ และพึงรักษาเครือญาติ แท้จริงอัลลอฮฺทรงสอดส่องดูพวกเจ้าอยู่เสมอ” (อันนิสาอ์: 1)
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَقُولُواْ قَوۡلٗا سَدِيدٗا ٧٠ يُصۡلِحۡ لَكُمۡ أَعۡمَٰلَكُمۡ وَيَغۡفِرۡ لَكُمۡ ذُنُوبَكُمۡۗ وَمَن يُطِعِ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ فَقَدۡ فَازَ فَوۡزًا عَظِيمًا ٧١ ﴾ [الأحزاب: ٧٠- ٧١]  
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงยำเกรงอัลลอฮฺ และจงกล่าวถ้อยคำที่เที่ยงธรรมเถิด พระองค์จะทรงปรับปรุงการงานของพวกเจ้าให้ดีขึ้นสำหรับพวกเจ้า และจะทรงอภัยโทษความผิดของพวกเจ้าให้แก่พวกเจ้า และผู้ใดเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ แน่นอนเขาได้รับความสำเร็จใหญ่หลวง” (อัลอะหฺซาบ: 70-71)
    อนึ่ง ถ้อยคำที่ดีที่สุดนั้นคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และทางนำอันเที่ยงตรงนั้นก็คือแนวทางของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่วนสิ่งที่ชั่วร้ายที่สุดก็คือสิ่งที่ประดิษฐ์กันขึ้นมาใหม่โดยไม่มีแบบฉบับในศาสนา โดยทุกสิ่งที่อุตริกันขึ้นมานั้นล้วนเป็นบิดอะฮฺ ทุกบิดอะฮฺเป็นความหลงผิด และทุกความหลงผิดจุดจบของมันคือไฟนรก

อิสลามต้องแตกต่างจากศาสนาอื่นๆ
อุตริกรรมและความหลงผิดอันเลวร้ายที่สุดประการหนึ่งซึ่งจะนำพาไปสู่ไฟนรกก็คือ การประพฤติตัวเลียนแบบผู้ปฏิเสธศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นชาวยิว คริสต์ หรือผู้นับถือศาสนาอื่นๆ ทั้งนี้ เจตนารมณ์หลักที่สำคัญข้อหนึ่งของอิสลามคือ การบ่มเพาะมุสลิมให้มีบุคลิกภาพและจุดยืนที่ชัดเจน ไม่คล้อยตามพฤติกรรมหรือแนวทางของชนผู้ปฏิเสธศรัทธา เพื่อคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมให้มีความบริสุทธิ์ และแตกต่างจากลักษณะของชนกลุ่มอื่นบนโลกใบนี้
พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย นอกจากเป้าหมายข้างต้นแล้ว อิสลามยังกำชับใช้ให้เรารักษาความสูงส่งของศาสนาเอาไว้ ปกป้องศาสนาให้ปลอดจากการตั้งภาคีใดๆ พร้อมทั้งแสดงออกถึงความโดดเด่นและอัตลักษณ์ของศาสนาซึ่งแตกต่างจากศาสนาและแนวทางอื่นๆ  ด้วยเหตุนี้ ลักษณะเฉพาะข้อหนึ่งของอิสลามคือการปฏิบัติตามแบบฉบับที่ศาสนากำหนด และออกห่างจากการเลียนแบบชนผู้ปฏิเสธศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ดังคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿ وَلَا تَتَّبِعۡ أَهۡوَآءَهُمۡ عَمَّا جَآءَكَ مِنَ ٱلۡحَقِّۚ ٤٨ ﴾ [المائ‍دة: ٤٨]
“และจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขา โดยเขวออกจากสัจธรรมความจริงที่ได้มายังเจ้า” (อัลมาอิดะฮฺ : 48)
และพระองค์ตรัสอีกว่า
﴿لِكُلّٖ جَعَلۡنَا مِنكُمۡ شِرۡعَةٗ وَمِنۡهَاجٗاۚ ٤٨ ﴾ [المائ‍دة: ٤٨]
“สำหรับแต่ละประชาชาติในหมู่พวกเจ้านั้น เราได้ให้มีบทบัญญัติและแนวทางไว้” (อัลมาอิดะฮฺ : 48)
ดังนั้น บทบัญญัติของพวกท่านจึงไม่ใช่บทบัญญัติของพวกเขา และแนวทางของพวกท่านก็แตกต่างกับแนวทางของพวกเขาเช่นกัน
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ لَآ أَعۡبُدُ مَا تَعۡبُدُونَ ٢ ﴾ [الكافرون: ٢]
“ฉันจะไม่เคารพภักดีสิ่งที่พวกท่านเคารพภักดีอยู่” (อัลกาฟิรูน: 2)
﴿ ٥ لَكُمۡ دِينُكُمۡ وَلِيَ دِينِ ٦ ﴾ [الكافرون:  ٦]
“สำหรับพวกท่านก็คือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉันก็คือศาสนาของฉัน” (อัลกาฟิรูน: 6)
ดังนั้น ศาสนาของพวกท่านจึงไม่ใช่ศาสนาของพวกเขา ซึ่งแน่นอนว่าศาสนาที่สูงส่งและบริสุทธิ์นี้ได้มีผลยกเลิกทุกศาสนาที่มีมาก่อนหน้า แล้วอิสลามก็กลายเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ ซึ่งเที่ยงตรงและถูกต้องกว่าศาสนาอื่นๆ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« مَنْ تَشَبَّهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْهُمْ » [رواه الترمذي برقم 4031]
“ผู้ใดเลียนแบบกลุ่มชนใดเขาก็คือส่วนหนึ่งจากกลุ่มชนนั้น” (บันทึกโดย อัตติรฺมิซีย์ หะดีษเลขที่ 4031)
ในหะดีษบทนี้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้วางรากฐานหลักที่สำคัญประการหนึ่งของอิสลาม นั่นคือการห้ามเลียนแบบบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ทั้งนี้ ท่านยังได้กล่าวย้ำไว้ในหลายโอกาสว่า
« خَالِفُوا المُشْرِكِيْنَ » [رواه البخاري برقم 5892 ومسلم برقم 259]
“พวกท่านจงทำให้แตกต่างจากพวกมุชริกีนเถิด” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 5892 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 259)
และคุณเองก็ได้อ่านในละหมาดทุกครั้งว่า
﴿ ٱهۡدِنَا ٱلصِّرَٰطَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ ٦ صِرَٰطَ ٱلَّذِينَ أَنۡعَمۡتَ عَلَيۡهِمۡ غَيۡرِ ٱلۡمَغۡضُوبِ عَلَيۡهِمۡ وَلَا ٱلضَّآلِّينَ ٧ ﴾ [الفاتحة: ٦-٧]  
“โปรดชี้นำเราสู่แนวทางอันเที่ยงตรงด้วยเถิด แนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา มิใช่แนวทางของพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่ (แนวทางของ) พวกที่หลงผิด” (อัลฟาติหะฮฺ: 6-7 )
คือ มิใช่แนวทางของพวกยิวหรือพวกคริสต์ แต่ขอพระองค์ทรงชี้นำเราสู่หนทางแห่งสัจธรรมอันเที่ยงตรง ไม่เหมือนแนวทางของพวกยิว คริสต์ หรือแนวของผู้ปฏิเสธศรัทธากลุ่มอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้ เราจึงพบว่าบทบัญญัติของอิสลามนั้นได้กำชับให้เราปฏิบัติตัวแตกต่างจากแนวทางของผู้ปฏิเสธศรัทธาในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น การให้รีบเร่งละศีลอด การทานอาหารสะหูรฺให้ล่าช้า การสวมรองเท้าละหมาดในสถานที่ที่เหมาะสม การหันหลุมศพของชาวมุสลิมไปทิศกะอฺบะฮฺ ซึ่งต่างจากหลุมศพของผู้ปฏิเสธศรัทธา ตลอดจนบทบัญญัติอื่นๆ อีกมากมายที่เราได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติในลักษณะที่แตกต่างจากผู้ปฏิเสธศรัทธา และไม่เลียนแบบพวกเขา
แม้กระทั่งเรื่องการถือศีลอดวันอาชูรอ เราก็ยังถูกสั่งใช้ให้ถือศีลอดก่อนวันอาชูรอหนึ่งวัน หรือวันถัดจากอาชูรอควบไปด้วย เพื่อให้แตกต่างจากพวกยิว ทั้งนี้ พวกเรามีความคู่ควรที่จะรักและศรัทธาในตัวของท่านนบีมูซายิ่งกว่าพวกเขาเสียอีก ซึ่งวันอาชูรอนั้นก็คือวันที่อัลลอฮฺได้ทรงช่วยเหลือให้ท่านรอดพ้นจากเงื้อมมือของฟิรฺเอาน์ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน กระทั่งพวกยิวเองถึงกับกล่าวแก่เศาะหาบะฮฺว่า “สหายของพวกท่านพยายามทำให้แตกต่างจากพวกเราในทุกๆ เรื่อง”

เทศกาลเฉลิมฉลองของผู้ปฏิเสธศรัทธา
ในจำนวนเรื่องอันตรายที่เราได้รับคำสั่งให้ทำตัวแตกต่างจากพวกเขาก็คือ ประเด็นเกี่ยวกับงานรื่นเริงและเทศกาลต่างๆ หรือที่เรียกว่า “อีด” ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่มีขึ้นซ้ำๆ โดยอาจจะจัดเป็นประจำทุกปี ทุกเดือน ทุกสัปดาห์ หรือบ่อยกว่านั้น โดยสำหรับมุสลิมแล้วมีวันรื่นเริงเพียงสามวันเท่านั้นคือ “วันอีดุลฟิฏรฺ” และ “วันอีดุลอัฎฮา” ซึ่งทั้งสองวันนี้เป็นเทศกาลประจำปี และอีกวันหนึ่งคือ “วันศุกร์” อันถือเป็นเทศกาลประจำสัปดาห์ ซึ่งสำหรับเราแล้วไม่มีเทศกาลงานรื่นเริงใดๆ นอกจากสามเทศกาลนี้
เทศกาลรื่นเริงนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับหลักยึดมั่นศรัทธาอย่างไม่ต้องสงสัย มิได้เป็นเพียงงานรื่นเริงตามประเพณีแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผู้ที่ขาดความเข้าใจในเรื่องศาสนามักจะคิดว่าเรื่องเทศกาลต่างๆ เป็นเพียงงานสนุกสนานตามประเพณีเท่านั้น มุสลิมจึงสามารถเข้าร่วมได้
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเทศกาลรื่นเริงต่างๆ นั้นมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น วันอีดุลฟิฏรฺ ซึ่งเป็นวันรื่นเริงที่มีขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน มีการจ่ายซะกาตฟิฏรฺ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา นอกจากนี้ยังมีการละหมาดอีดซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติสำคัญสำหรับวันดังกล่าว
วันอีดุลอัฎฮาก็เช่นกัน นอกจากการละหมาดอีดแล้ว ก็ยังมีการเชือดสัตว์อุฎหิยะฮฺเพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ และยังถือเป็นวันที่มีความสำคัญที่สุดในรอบปีอีกด้วย ทั้งนี้ ถัดจากวันอีดุลอัฎฮาไปก็คือวันตัชรีก ซึ่งเป็นวันที่พวกเราจะมีการพบปะสังสรรค์ รับประทานอาหาร เลี้ยงฉลองกันในหมู่เครือญาติ ซึ่งพวกท่านคงได้เห็นแล้วว่าศาสนานั้นได้บัญญัติให้เราปฏิบัติตัวอย่างไรในสองเทศกาลนี้ และยังสั่งห้ามมิให้ถือศีลอดในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย
ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเทศกาลงานรื่นเริงต่างๆ ล้วนมีความเกี่ยวโยงกับศาสนาทั้งสิ้น โดยสำหรับชาวยิวหรือชาวคริสต์ก็เช่นเดียวกัน เทศกาลงานรื่นเริงของพวกเขาก็เกี่ยวโยงกับความเชื่อและหลักศาสนาของพวกเขาเช่นกัน มิได้เป็นเพียงประเพณีวัฒนธรรมอย่างที่เข้าใจกัน
ส่วนหนึ่งจากหลักฐานที่บ่งชี้ว่าจำเป็นต้องหลีกห่าง และไม่เข้าร่วมงานเทศกาลของผู้ปฏิเสธอย่างเด็ดขาด ก็คือคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿ وَٱلَّذِينَ لَا يَشۡهَدُونَ ٱلزُّورَ وَإِذَا مَرُّواْ بِٱللَّغۡوِ مَرُّواْ كِرَامٗا ٧٢ ﴾ [الفرقان: ٧٢]  
“และบรรดาผู้ไม่เป็นพยานในการเท็จ และเมื่อพวกเขาผ่านเรื่องไร้สาระ พวกเขาผ่านไปอย่างมีเกียรติ” (อัลฟุรกอน: 72)
ข้อนี้ถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของผู้ศรัทธา
มุหัมมัด บิน ซีรีน กล่าวว่า “มันคือวันอาทิตย์ใบลาน” หมายถึงวันสำคัญวันหนึ่งในศาสนาคริสต์ โดยพวกเขาจะเฉลิมฉลองในวันอาทิตย์ก่อนวันอีสเตอร์ด้วยการแห่ใบลาน โดยอ้างว่าเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พวกเขาได้เข้าไปยังบัยตุลมักดิส (กรุงเยรูซาเล็ม) จึงเห็นได้ว่าเทศกาลของพวกเขานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนา มิได้เป็นเพียงแค่ประเพณีถือปฏิบัติ
มุญาฮิด กล่าวว่า “อัซซูรฺ (الزُّور) ก็คือ เทศกาลต่างๆ ของพวกมุชริกีนนั่นเอง”
อัรเราะบีอฺ บิน อะนัส ก็ได้กล่าวเช่นเดียวกัน
ส่วนอิกริมะฮฺ กล่าวว่า “เป็นการละเล่นที่พวกเขาเคยปฏิบัติกันมาในยุคญาฮิลียะฮฺ ซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน”
อัฏเฎาะหาก กล่าวว่า “มันคือเทศกาลของพวกมุชริกีน”
บางท่านกล่าวว่า “บรรดาผู้ไม่เป็นพยานในการเท็จ” ในอายะฮฺนี้หมายถึง ผู้ที่ไม่โอนอ่อนไปกับพวกตั้งภาคี หรือไปปะปนเข้าร่วมกับพวกเขา
ดังนั้น อายะฮฺข้างต้นนี้จึงเป็นตัวบทที่ชัดเจนถึงการสั่งห้ามมิให้มีส่วนร่วมในงานเทศกาลเฉลิมฉลองของผู้ปฏิเสธศรัทธา โดยในอายะฮฺดังกล่าวพระองค์ตรัสถึงการเป็นพยาน ฉะนั้นการมีส่วนร่วมในเทศกาลรื่นเริงของพวกเขาด้วยตัวเองย่อมเลวร้ายยิ่งกว่า ดังจะเห็นว่าพระองค์ทรงเรียกเทศกาลเหล่านั้นว่า อัซซูร (ความเท็จ) จึงถือเป็นสิ่งที่หะรอมอย่างชัดเจน
    ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้เล่าว่า
قَدِمَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - الْمَدِينَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ فِيهِمَا فَقَالَ « مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ »، قَالُوا: كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْجَاهِلِيَّةِ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم -: « إِنَّ اللَّهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا يَوْمَ الْأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ » [رواه أبو داود برقم 1134]
เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อพยพไปยังมะดีนะฮฺ ท่านพบว่าพวกเขามีวันรื่นเริงอยู่สองวัน ท่านจึงถามพวกเขาว่า “สองวันนี้คือวันอะไรหรือ?” พวกเขาตอบว่า “ในสมัยญาฮิลิยะฮฺพวกเราเคยละเล่นรื่นเริงกันในสองวันนี้” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวแก่พวกเขาว่า “แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺได้ทรงทดแทนสองวันนี้ด้วยวันที่ดีกว่าสำหรับพวกท่าน นั่นก็คือ วันอีดุลอัฎฮา และวันอีดุลฟิฏรฺ” (บันทึกโดย อบูดาวูด หะดีษเลขที่ 1134)
ซึ่งการทดแทนสิ่งใหม่ให้นั้นย่อมหมายถึงว่าเราควรละทิ้งสิ่งเดิม ทั้งนี้ อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดวันอีดุลฟิฏรฺ และวันอีดุลอัฎฮาเป็นการทดแทนแล้ว ดังนั้น วันอื่นๆ ที่เคยมีมาในอดีตนั้นก็จำเป็นจะต้องได้รับการยกเลิก
ท่านษาบิต บิน เฎาะหาก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า มีชายคนหนึ่งบนบานว่าจะเชือดอูฐที่เขตบุวานะฮฺ (เมืองที่อยู่ติดกับมักกะฮฺ) ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงถามเขาว่า “ที่นั่นมีรูปเคารพที่เคยใช้กราบไหว้ในสมัยญาฮิลียะฮฺหรือไม่?” บรรดาเศาะหาบะฮฺตอบว่า “ไม่มีครับ” ท่านนบีจึงถามต่อว่า “ตรงนั้นเคยเป็นที่จัดงานเฉลิมฉลองของพวกญาฮิลียะฮฺหรือเปล่า?” พวกเขาตอบว่า “ไม่เคยครับ” ท่านนบีจึงกล่าวแก่เขาว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จงทำตามที่ท่านบนบานเถิด” (บันทึกโดย อบูดาวุด หะดีษเลขที่ 3310)
จะเห็นว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อนุญาตให้ชายคนดังกล่าวทำตามที่บนไว้ หลังจากที่ท่านได้สอบถามเน้นย้ำจากบรรดาเศาะหาบะฮฺว่าที่แห่งนั้นได้เคยเป็นสถานที่จัดงานรื่นเริงของผู้ปฏิเสธศรัทธา หรือมีรูปปั้นรูปเคารพของพวกเขาอยู่หรือเปล่า?
การที่ท่านได้สั่งห้ามมิให้มีการเชือดสัตว์ในสถานที่ซึ่งเคยมีการจัดงานเทศกาลของผู้ปฏิเสธศรัทธา ทั้งที่ในขณะนั้นอาจมิได้มีการจัดงานอยู่แต่เพียงแค่เป็นสถานที่ที่พวกเขารวมตัวกันในวันใดวันหนึ่งเท่านั้น ก็เพราะท่านไม่ต้องการที่จะฟื้นฟูหรือเชิดชูสถานที่ดังกล่าวอันเป็นสถานที่จัดงานรื่นเริงของพวกมุชริกีน เช่นนี้แล้ว การมีส่วนร่วมโดยตรงหรือกระทำสิ่งที่พวกเขาทำกันในเทศกาลงานรื่นเริงของพวกเขาเล่าจะมีความผิดเพียงใด? ในหะดีษบทนี้จะเห็นว่าท่านเราะสูลได้ให้ความสำคัญกับการปฏิเสธงานเฉลิมฉลองรื่นเริงของพวกเขาในทุกรูปแบบ
พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย ดังนั้น เทศกาลเฉลิมฉลองนั้นล้วนมีส่วนที่เกี่ยวกับพิธีกรรม ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด การกล่าวซิกรุลลอฮฺ หรือหลักปฏิบัติทางศาสนาอื่นๆ โดยอาจจะมีส่วนของประเพณีปฏิบัติร่วมด้วยก็ได้ เช่น การเลี้ยงฉลอง การละเล่น หรือการแต่งกายสวยงาม จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า เทศกาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของพวกเราหรือของพวกเขา ก็ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับหลักความเชื่ออย่างแน่นอน
อีกหนึ่งหลักฐานก็คือ คำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แก่อบูบักรฺ เมื่อครั้งที่อบูบักรฺเข้ามายังบ้านของท่านในวันอีด แล้วพบว่ามีเด็กผู้หญิงสองคนกำลังร้องเพลงกันอยู่ ท่านจึงสั่งห้ามนางทั้งสอง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า
« دَعْهُمَا يَا أَبَا بَكْرٍ، إِنَّ لِكُلِّ قَوْمٍ عِيْدًا، وَإِنَّ عِيْدَنَا هَذا الْيَوْمُ » [رواه البخاري برقم 3931 ومسلم  برقم 892]
“ปล่อยให้นางทั้งสองร้องไปเถิดอบูบักรฺเอ๋ย ทุกกลุ่มชนล้วนมีเทศกาลรื่นเริงของตัวเอง และวันนี้ก็คือวันรื่นเริงของพวกเรา” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 3931 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 892)
ประโยคที่ว่า “วันรื่นเริงของพวกเรา” นั้นหมายความว่าวันนี้เป็นวันรื่นเริงเฉพาะสำหรับพวกเรา ซึ่งทุกกลุ่มชนก็จะมีวันเฉลิมฉลองรื่นเริงเฉพาะของพวกเขา สิ่งนี้เป็นหลักฐานอีกข้อหนึ่งว่ามุสลิมมีวันรื่นเริงเฉพาะของตัวเอง ฉะนั้น จึงไม่อนุญาตอนุญาตให้เข้าร่วมเทศกาลงานรื่นเริงของเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธา
ในโอกาสนี้สมควรที่จะกล่าวถึงพวกไร้สติปัญญาบางกลุ่ม ซึ่งได้ใช้หะดีษข้างต้นเป็นหลักฐานอ้างอิงว่าเพลงและดนตรีที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้นเป็นที่อนุญาต พวกเขามิได้พิจารณาหรือว่าในหะดีษดังกล่าวใครเป็นผู้ร้องเพลง? เป็นเพียงเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ สองคน แล้วในหะดีษก็ไม่ปรากฏว่ามีการใช้เครื่องดนตรีแต่อย่างใด เป็นเพียงเสียงขับร้องของเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ มิเช่นนั้นแล้วท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็คงจะไม่อนุญาตอย่างแน่นอน ขออัลลอฮฺทรงอย่าได้เอาผิดเราในสิ่งที่คนโง่เขลาพวกนี้กระทำเลย
และท่านกล่าวในหะดีษอีกบทหนึ่งว่า
« أَضَلَّ اللهُ عَنِ الجمُعَةِ مَنْ كانَ قَبْلَنَا، فَكانَ لِلْيَهُوْدِ يَوْمُ السَبْتِ، وَكانَ للنَّصَارَى يَوْمُ الأَحَدِ، فَجَاءَ اللهُ بِنَا فَهَدَانَا لِيَوْمِ الجُمُعَةِ » [رواه مسلم برقم 856]
“อัลลอฮฺทรงให้ประชาชาติก่อนหน้าพวกท่านหันเหออกจากวันศุกร์ โดยพวกยิวเลือกวันเสาร์เป็นวันสำคัญ ส่วนพวกคริสต์เลือกวันอาทิตย์ แล้วอัลลอฮฺก็ทรงนำทางพวกเราจนได้ถือเอาวันศุกร์เป็นวันสำคัญ” (บันทึกโดย มุสลิม หะดีษเลขที่ 856)
ด้วยเหตุดังกล่าวท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงห้ามมิให้ถือศีลอดในวันศุกร์เพียงวันเดียว เพราะถือเป็นวันอีดประจำสัปดาห์ของมุสลิม

เทศกาลรื่นเริงคือสิ่งที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของแต่ละศาสนา
กล่าวคือเทศกาลงานเฉลิมฉลองต่างๆ นั้น ถือเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละศาสนา ฉะนั้น การที่มุสลิมเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมเฉลิมฉลองของผู้ปฏิเสธศรัทธา ก็อาจเข้าข่ายทั้งการฝ่าฝืนกระทำผิด และการปฏิเสธศรัทธา เพราะมันมันนำมาซึ่งความเสียหายมากมายหลายประการ
ในหนังสือ “อิกติฎออ์ อัศศิรอฏิล มุสตะกีม” ของชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ มีเนื้อหาบทหนึ่งที่ท่านได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ โดยท่านได้บรรยายถึงสภาพของชาวมุสลิมในเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มชนผู้ปฏิเสธศรัทธา ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่ารัฐอิสลามในยุคนั้นมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก บางส่วนอยู่ใจกลางคาบสมุทรอาหรับ ในขณะที่บางส่วนอยู่ตามแนวตะเข็บ เช่น เมืองอันดะลุส (บริเวณแอฟริกาตอนเหนือและที่ตั้งของประเทศสเปนในปัจจุบัน - ผู้แปล) ซึ่งมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวคริสต์มาตั้งแต่สมัยที่อิสลามปกครองพื้นที่แถบนั้น
ท่านชัยคุลอิสลามได้กล่าวถึงสภาพของชาวมุสลิมเหล่านั้นด้วยความเศร้าใจว่า “สภาพของมุสลิมในเมืองเหล่านั้นดูเปลี่ยนไปมากจนน่าตกใจ บรรดามุสลิมที่มีความรู้ศาสนาน้อยและมีศรัทธาที่ไม่มั่นคงต่างพากันเข้าร่วมเทศกาลเฉลิมฉลองของชนผู้ปฏิเสธศรัทธา กระทั่งว่าพวกเขามีความรู้สึกยินดีที่ได้เข้าร่วมเทศกาลเหล่านั้น ยิ่งกว่าเทศกาลของมุสลิมเองเสียอีก โดยพวกเขาได้มอบของขวัญให้กันและกัน สังสรรค์รื่นเริง และให้บุตรหลานแต่งกายสวยงามในงานเทศกาลเฉลิมฉลองของผู้ปฏิเสธศรัทธา”

สภาพอันน่าเศร้า
พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เคยบอกเราว่า พวกเรานั้นจะเป็นผู้ที่ลอกเลียนแบบชาวยิวและคริสต์อย่างแน่นอน โดยท่านกล่าวว่า
« لَتَتَّبِعُنَّ سنَنَ مَنْ كانَ قَبْلَكُم شِبْرًا بِشِبْرٍ وِذِراعًا بِذِرَاعٍ حَتَّى لَوْ دَخَلُوا جُحْرَ ضَبٍّ لاتَّبَعْتُمُوْهُمْ » [رواه البخاري برقم 3456 ومسلم برقم 2669]
“พวกท่านจะปฏิบัติตามแนวทางของกลุ่มชนที่มาก่อนหน้าพวกท่าน (ยิวและคริสต์) ชนิดคืบต่อคืบ ศอกต่อศอก แม้กระทั่งหากพวกเขาลงไปในรูฏ็อบพวกท่านก็จะตามพวกเขาลงไป” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 3456 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2669)
    และท่านกล่าวว่า
« حَتَّى لَوْ إِنْ كانَ مِنْهُمْ مَنْ أَتَى أُمَّهُ عَلانِيَةً لَكانَ فِي أُمَّتِي مَنْ يَصْنَعُ ذلِكَ » [رواه الترمذي برقم 2641]
“แม้กระทั่งหากมีคนใดในหมู่พวกเขามีสัมพันธ์ทางเพศกับมารดาของเขาอย่างโจ่งแจ้ง ก็จะมีบางคนในหมู่ประชาชาติของฉันกระทำเช่นนั้นด้วย” (บันทึกโดย อัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่ 2641)
ซึ่งคำพูดของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเป็นวะฮีย์ และสิ่งที่ท่านพูดก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ดังที่พวกท่านก็เห็นกันอยู่ในปัจจุบันว่าประเทศมุสลิมของเราเองนั้นส่งเสริมและเข้าร่วมเทศกาลรื่นเริงของผู้ปฏิเสธศรัทธากันอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียใจและเจ็บปวดอย่างที่สุด
ตัวอย่างพฤติกรรมการเลียนแบบพวกเขาก็เช่น การที่มุสลิมกล่าวอวยพรแก่ชาวคริสต์ หรือเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันปีใหม่ของพวกเขา การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการยอมรับอย่างกลายๆ ในหลักศาสนาและความเชื่อของพวกเขา แม้จะมิได้ประกาศออกมาโดยตรงก็ตาม ทั้งนี้ บรรดาผู้ตั้งภาคีย่อมหวังที่จะให้ผู้ศรัทธาเข้าร่วมงานรื่นเริงของพวกเขา เพื่อที่พวกเขาจะได้รู้สึกว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างศาสนา ทำให้พวกเขาไม่รู้สึกสำนึกในความผิดของพวกเขา

เจตนารมณ์ของการไม่เลียนแบบผู้ปฏิเสธศรัทธา
หนึ่งในเจตนารมณ์ของการไม่ทำตัวเลียนแบบผู้ปฏิเสธศรัทธาคือ การทำให้พวกเขารู้สึกถึงความแตกต่าง และรู้สึกว่ามันเป็นความผิด และเหตุที่ชาวมุสลิมไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับพวกเขา ก็เพราะว่าสิ่งที่พวกเขาทำอยู่นั้นมันไม่ถูกต้อง และเป็นการตั้งภาคี แต่หากเราไปเข้าร่วม ไปอวยพรยินดีกับพวกเขา ก็เหมือนกับเราบอกเขาว่า “พวกท่านไม่มีความผิดใดในศาสนาของพวกท่าน ตรงกันข้าม พวกเราเองก็มีความยินดีกับพวกท่านเช่นกัน” การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการทำลายอัตลักษณ์ของอิสลามอย่างชัดเจน เป็นการยอมรับสิ่งมดเท็จที่พวกเขาปฏิบัติกันอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺไม่ทรงพอพระทัยอย่างแน่นอน
ในสังคมปัจจุบัน เยาวชนของเราจำนวนมากได้รับการปลูกฝังให้มีการรอคอยเทศกาลต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นวันปีใหม่ หรือคริสต์มาส เด็กเหล่านี้รอคอยเทศกาลเหล่านี้เพราะพวกเขารู้ว่าในวันนั้นจะมีของขวัญและขนมมากมายซึ่งพิเศษกว่าวันอื่นๆ พวกเขาจึงรู้สึกผูกพันกับเทศกาลเหล่านี้ตั้งแต่เด็ก
พวกท่านรู้หรือไม่ว่าการเลียนแบบชาวยิวและคริสต์ รวมทั้งการเข้าร่วมในเทศกาลของพวกเขานั้น อาจนำไปสู่การมีส่วนร่วมกับพวกเขาในเรื่องอื่นๆ อันมีผลให้เกิดความผูกพันทางจิตใจ ดังจะเห็นว่าคนที่ประกอบอาชีพเดียวกัน เช่น ช่างไม้ หรือคนขับรถรับจ้าง ก็มักจะมีความรู้สึกเป็นมิตรต่อกัน เพราะพวกเขามีอาชีพเดียวกัน ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลทางโลกไม่เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อแต่อย่างใด หรือแม้แต่ผู้ที่ขับขี่รถยนต์บนท้องถนน แล้วเหลือบไปเห็นรถยนต์คันหน้าเหมือนรถยนต์ของเขา เขาก็อาจจะรู้สึกเป็นมิตรกับเจ้าของรถคันดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว
นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ที่อัลลอฮฺทรงสร้างมา ดังนั้นหากเราเข้าร่วมเฉลิมฉลองในเทศกาลของพวกเขา ก็จะทำให้เรารู้สึกมีความผูกพันรักกับพวกเขาโดยไม่รู้ตัว เป็นไปได้หรือที่เราจะรู้สึกรังเกียจชาวยิวและชาวคริสต์ รู้สึกว่าการกระทำของพวกเขาเป็นการตั้งภาคี และประกาศให้พวกเขารู้ว่าอัลลออฺไม่ทรงพอพระทัยการกระทำของพวกเขา ในเมื่อเราก็ยังเข้าร่วมเทศกาลรื่นเริงของพวกเขา ไม่มีทางแน่นอน สองความรู้สึกนี้ไม่มีทางทางจะมารวมกันได้อย่างแน่นอน พี่น้องผู้ศรัทธาที่รัก
และในช่วงเทศกาลของพวกเขา มุสลิมหลายคนก็มักจะหยุดงานประจำ หยุดการประกอบอาชีพ เพื่อที่จะได้ไปร่วมงานเทศกาลของพวกเขา ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นบาปใหญ่ ชัยคุลอิสลามได้กล่าวว่า “ในช่วงเทศกาลของพวกเขา หน้าที่ของเราก็คือจะต้องปฏิบัติให้เหมือนกับว่าเป็นวันทั่วๆ ไป ห้ามมิให้เราใส่ใจหรือให้ความสำคัญ เพื่อมิให้ศาสนาของเรานั้นมีความด่างพร้อย และห้ามเลียนแบบ หรือตอบรับคำเชิญไปร่วมงานใดๆของพวกเขา” ท่านยังกล่าวอีกว่า “และห้ามรับของขวัญจากพวกเขา” โดยหากพวกเขานำมาให้ก็ให้กล่าวว่า ต้องขอโทษด้วยฉันไม่สามารถรับของจากท่านได้ เพราะศาสนาของท่านก็คือศาสนาของท่าน และศาสนาของฉันก็คือศาสนาของฉัน
และไม่เป็นที่อนุญาตให้เราขายของบางอย่างให้แก่พวกเขาเพื่อเป็นการช่วยเหลือในเทศกาลของพวกเขา เช่น ไก่งวง โดยห้ามขายเฉพาะในเทศกาลเท่านั้น แต่หากซื้อขายกันในช่วงปกติก็ไม่เป็นไร ซึ่งหากท่านทราบว่าคนที่มาซื้อนั้นตั้งใจที่จะนำไปใช้ในงานก็ไม่เป็นที่อนุญาตให้ขาย เพราะไก่งวงถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาใช้กันในเทศกาล
และต้องไม่อนุญาตให้พวกเขาเช่าสถานที่ หรือโรงแรมเพื่อจัดงาน เพราะถือเป็นการช่วยเหลือพวกเขาในการจัดเทศกาลเหล่านั้น

สิ่งที่ไม่ถูกต้องในเทศกาลรื่นเริงของผู้ปฏิเสธศรัทธา
สิ่งที่พวกเขาถือปฏิบัติกันในค่ำคืนของวันที่ยี่สิบห้า ธันวาคมของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณสี่ทุ่ม ก็คือชาวยุโรปและชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะมีการดื่มเฉลิมฉลองกันจนเมามาย เลี้ยงอาหารกันอย่างสนุกสนาน โดยพวกเขาจะจัดเตรียมอาหารเฉพาะสำหรับงานนี้
นอกจากนี้พวกเขายังสวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม บ้างก็แต่งกายเป็นซานตาคลอส แจกจ่ายขนมนมเนยให้แก่เด็กๆ โดยพวกเขาเชื่อว่าบ้านใดไม่มีต้นคริสต์มาสอยู่หน้าบ้านในคืนดังกล่าวจะถือเป็นบ้านที่มีแต่ความโชคร้ายสิ้นหวัง แม้แต่บ้านเรือนของคนยากคนจนก็ยังต้องมี ทั้งนี้ พวกเขาจะประดับประดาต้นไม้เหล่านั้นด้วยแสงสีที่สวยงามสว่างไสว และแจกลูกกวาดรูปไม้เท้าหรือรูปตุ๊กตาซานตาคลอสให้แก่เด็กๆ ซึ่งแน่นอนว่าคงมีเยาวชนมุสลิมของเราบางคนได้ซื้อและรับประทานขนมเหล่านี้
เมื่อได้เวลาก่อนเที่ยงคืนประมาณหนึ่งนาทีก็จะทำการดับไฟเพื่อต้อนรับช่วงเวลาสำคัญ พวกเขาส่งท้ายปีเก่าด้วยพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ พวกวัยรุ่นหนุ่มสาวก็มักจะโยนตัวลงไปในบ่อน้ำพุที่มีชื่อเสียงซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองลอนดอน มีการดื่มสุราของมึนเมา ซึ่งการที่มุสลิมเข้าร่วมเทศกาลเหล่านี้นั้นแน่นอนว่าย่อมเป็นบาปความผิดที่เขาจะต้องได้รับโทษ ณ อัลลอฮฺ หากพวกเขาไม่รีบเร่งกลับตัวกลับใจ
การส่งการ์ดอวยพรเนื่องในเทศกาลเหล่านี้ หรือกล่าวแสดงความยินดี เช่น “แฮปปี้นิวเยียร์” “เมอรี่คริสต์มาส” หรือคำอื่นๆ ในทำนองนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทศกาลดังกล่าว รวมถึงการแลกเปลี่ยนของขวัญกับพวกเขา ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำทั้งสิ้น
มุสลิมบางส่วนยังเจาะจงไปเยี่ยมเยียนผู้ปฏิเสธศรัทธาที่บ้านของพวกเขาในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งที่รู้ว่าพวกเขามักจัดงานเลี้ยงที่เต็มไปด้วยสิ่งต้องห้าม บางคนลงทุนเดินทางไปต่างประเทศเพื่อมีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองเทศกาลเหล่านี้ บางคนก็เตรียมหาซื้อของขวัญให้แก่ลูกหลานของพวกเขา กระทั่งว่าบางคนถึงกับซื้อถุงเท้าสีแดงให้เด็กๆ ใช้เก็บขนมนมเนย ของขวัญ หรือของเล่นต่างๆ โดยวางเอาไว้ใต้หมอนของเด็กๆ ดังเช่นที่ชาวคริสต์มักถือปฏิบัติกัน
ในเทศกาลเหล่านี้ยังมีการจุดเทียน มีการประดับประดาต้นคริสต์มาส ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ความจำเริญ โดยอ้างว่าท่านนบีอีซาถือกำเนิดขึ้นใต้ต้นไม้ดังกล่าว ในช่วงเทศกาลนี้พวกเขาจึงต้องประดับประดาต้นไม้และนำมาวางไว้ที่หน้าประตูบ้าน ที่กล่าวมานี้ เพื่อให้พวกท่านได้เข้าใจว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับศาสนา มิได้เป็นเพียงงานรื่นเริงตามประเพณีทั่วไป
มุสลิมที่ขาดการไตร่ตรองและความเข้าใจในศาสนาอาจสงสัยว่า ทำไมเราต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่โตไปได้? ก็ในเมื่อพวกเขายังกล่าวอวยพรแสดงความยินดีเนื่องในวันอีดของเรา แล้วเหตุใดเราจะแสดงความยินดีในวันเฉลิมฉลองของพวกเขาไม่ได้? พวกเขาทำดีกับเรา ก็สมควรที่เ