เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

راشد بن حسين العبد الكريم

วันที่ :

Sun, Oct 23 2016

ประเภท :

Jurisprudence

บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการละหมาดคนตาย


บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการละหมาดคนตาย
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 

ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

 

แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

 

2014 - 1435
 

 

من أحكام صلاة الجنازة
« باللغة التايلاندية »

 

 


د. راشد بن حسين العبد الكريم

 

ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر:  كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام  www.al-islam.com

 


2014 - 1435
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการละหมาดคนตาย
ท่านอินบุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا مِنْ رَجُلٍ مُسْلِمٍ يَمُوتُ فَيَقُوم عَلى جَنَازَتِه أَرْبَعون رَجُلا، لَا يُشْركون بِالله شَيئا إِلا شَفَعَهُمُ الله فيه» [أخرجه مسلم]
“ไม่มีคนมุสลิมคนใดเสียชีวิตแล้วมีคนมายืน(ละหมาด)ให้เขา 40 คน พวกเขาไม่มีภาคีใดๆต่ออัลลอฮฺ เว้นแต่อัลลอฮฺจะให้พวกเขาขอการอนุเคราะห์(ชะฟาอะฮฺ)ให้เขาได้”  บันทึกโดยมุสลิม
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا مِن مَيِّت يُصَلّي عَليه أُمَّة مِن المسلمين (أي: جماعة) يَبْلُغون مِائة كُلُّهم يَشْفعون له إِلَّا شَفَعوا فيه» [أخرجه مسلم]
“ไม่มีผู้เสียชีวิตคนใดที่มีชนมุสลิมมาละหมาดให้เขา พวกเขามีถึง 100 คน ทั้งหมดล้วนขออนุเคราะห์(ชะฟาอะฮฺ)ให้เขา เว้นแต่พวกเขาจะถูกให้ขออนุเคราะห์(ชะฟาอะฮฺ)ให้เขาได้”  บันทึกโดยมุสลิม
และท่านสะมุเราะฮฺ บินญันดับ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«صَلّيْت وَرَاءَ النّبي صلّى الله عليه وسلّم عَلى امْرَأَةٍ مَاتَتْ فِي نِفَاسِها، فَقَامَ عَليها وسطها» [متفق عليه]
“ฉันได้ละหมาดหลังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม ให้แก่ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่เสียชีวิตจากการตกเลือด แล้วท่านก็ยืน(ละหมาด)ให้นางตรงช่วงกลางลำตัวนาง”  บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม
    และท่านอบู ฆอลิบ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
«صَلّيْت مَعَ أَنَس بْنِ مَالك رضي الله عنه عَلى جَنازة رَجُلٍ فَقَام حِيالَ رَأْسِه، ثم جاؤوا بجنازة امرأة من قريش فقالوا: يا أبَا حَمْزَةَ صلِّ عليها، فَقَام حيالَ وَسَطِ السَرِيْر، فَقِيل له هكذا رأيتُ النّبي صلّى الله عليه وسلّم قَامَ مِن الجنازة مَقَامَك وَمِن الرجل مقامك منه؟ قال: نعم» [أخرجه الترمذي]
“ฉันได้ละหมาดกับท่านอนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ให้กับผู้เสียชีวิตเป็นชายคนหนึ่ง ท่านก็ยืนตรงช่วงศีรษะของเขา หลังจากนั้นพวกเขาก็นำเอาผู้เสียชีวิตเป็นสตรีชาวกุเรชคนหนึ่งมา แล้วพวกเขาก็กล่าวว่า “โอ้ ท่านอบา หัมซะฮฺ ได้โปรดละหมาดให้นางด้วย” แล้วท่านก็ยืนละหมาดตรงช่วงกลางของแคร่(มะยัต) แล้วมีคนกล่าวถามว่า “อย่างนี้หรือที่ท่านเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ยืนละหมาดให้คนตาย(ผู้หญิง)ตรงตำแหน่งที่ท่านยืน และให้กับ(คนตาย)ผู้ชายตรงตำแหน่งที่ท่านยืน?” ท่านกล่าวตอบว่า “ใช่””  บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ
และท่านอับดุร-เราะหฺมาน บินอบี ลัยลา เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
«كاَن زَيْد رضي الله عنه يُكَبِّر على جنائزنا أَرْبَعا، وَإنه كَبّر عَلى جنازة خَمْسا، فسألته فقال: كان رسول الله صلّى الله عليه وسلّم  يُكَبِّرها» [أخرجه مسلم]
 “ท่านซัยด์ (เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ)ได้กล่าวตักบีรให้กับคนตายคนหนึ่ง 4 (ครั้ง) และได้กล่าวตักบีรให้กับคนตายอีกคน 5 (ครั้ง) แล้วฉันก็ได้ถามท่าน ท่านก็กล่าวตอบว่า “ท่านเราะสูลุ้ลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม)เคยตักบีรอย่างนี้””  บันทึกโดยมุสลิม
อธิบาย
การละหมาดคนตายมีหลักปฏิบัติเป็นการเฉพาะ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทำเป็นแบบอย่างเอาไว้  และบางประการมีมากกว่า 1 แบบ ก็อนุญาตให้ทำได้ทั้งสองแบบ

ประโยชน์ที่ได้รับ
•    อิหม่ามให้ยืนละหมาดคนตายตรงช่วงกลางลำตัวของผู้หญิง และช่วงศีรษะของผู้ชาย
•    อิหม่ามกล่าวตักบีร 4 ครั้ง
•    อนุญาตให้กล่าวตักบีร 5 ครั้งได้ในละหมาดคนตาย
•    สมควรให้มีผู้ละหมาดคนตายมากๆ

ละหมาดที่หลุมศพ
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«أَنّ أَسْوَدَ - رَجُلاً كَانَ أَوْ امْرَأَةً- كَانَ يَقُم المَسْجِدَ فَمَاتَ وَلَمْ يَعْلَم النَّبِيﷺ بِمَوْتِهِ فَذَكَرَهُ ذَاتَ يَوْمٍ فَقَالَ: مَا فَعَلَ ذلِكَ الإِنْسَان؟ قَالوا مَاتَ يَا رَسُوْلَ اللهِ، قَال: أَفَلا آذَنْتُمُوْني؟ فَدَلُّوْني عَلَى قَبْرِهِ، فِأَتَى قَبْرَهُ فَصَلّى عَلَيْه» [أخرجه البخاري]
“อัสวัด – เป็นชาย หรือหญิงไม่ทราบ - เป็นคนคอยมาทำความสะอาดมัสยิดเป็นประจำ แล้วเขาก็เสียชีวิตไป โดยที่ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม)ไม่รู้ถึงการเสียชีวิตของเขา แล้วท่านนบีก็เอ่ยถึงเขาในวันหนึ่ง กล่าวว่า “คนๆนั้นทำอะไรอยู่กระนั้นหรือ?” พวกเขาก็กล่าวว่า “เขาเสียชีวิตไปแล้ว ท่านเราะสูลุลลอฮฺ” ท่านกล่าวว่า “พวกท่านไม่บอกข่าวฉันเลยกระนั้นหรือ?  พวกท่านจงชี้ให้ฉันทราบถึงหลุมศพของเขาเถิด แล้วท่านก็ได้ไปยังหลุมศพของเขา แล้วทำละหมาดให้เขา”  บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

ละหมาด(ฆออิบ)ให้คนตายที่ศพเขาอยู่ที่อื่น
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«أَنّ رَسُوْلَ اللهِﷺ نَعَى النَجَّاشِي فِيْ اليَوْمِ الذِيْ مَاتَ فِيْه، وَخَرَجَ بِهِمْ إِلى المُصَلّى فَصَفّ بِهِمْ وَكَبَّرَ عَلَيْهِ أَرْبَعَ تَكْبِيْرَاتٍ» [أخرجه البخاري]
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้รับข่าวการเสียชีวิตของ(กษัตริย์)นะญาชียฺในวันที่เขาเสียชีวิต แล้วท่านก็ได้พาพวกเขาออกไปละหมาดที่มุศ็อลลา แล้วจัดแถวพวกเขา และกล่าวตักบีร 4 ครั้ง”  บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

อธิบาย
มีบัญญัติสำหรับผู้พลาดการละหมาดคนตายยังสามารถละหมาดให้ได้แม้ว่าเขาจะถูกฝังไปแล้วก็ตาม เช่นเดียวกันกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) มีบัญญัติให้ละหมาดคนตายให้แก่คนตายที่ตัวไม่อยู่ด้วยได้

ประโยชน์ที่ได้รับ
•    มีบัญญัติให้ละหมาดคนตายที่หลุมศพได้
•    มีบัญญัติให้ละหมาดฆออิบ(ละหมาดคนตายที่ตัวผู้ตายอยู่ที่อื่น)