เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

عمر بن عبد الله المقبل

วันที่ :

Wed, Aug 31 2016

ประเภท :

For New Muslim

ละหมาดตะรอวีหฺอย่างไรให้เกิดผล?


ละหมาดตะรอวีหฺอย่างไรให้เกิดผล?

حتى ننتفع بالتراويح

< تايلاندية >

        
ดร.อุมัร บิน อับดุลลอฮฺ อัลมุกบิล


د. عمر بن عبدالله المقبل

 




 
ผู้แปล: อัสรัน นิยมเดชา
ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
 
ترجمة: عصران  نيومديشا
مراجعة: صافي عثمان

 

ละหมาดตะรอวีหฺอย่างไรให้เกิดผล?

        


เมื่อ กล่าวถึงเดือนเราะมะฎอนย่อมต้องนึกถึงการละหมาดตะรอวีหฺซึ่งเป็นสุนนะฮฺที่ ประชาชาติอิสลามปฏิบัติสืบทอดกันมาตามแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และเป็นการงานที่ส่งผลให้เกิดความดีงามนานัปการ
นับ เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่เราได้เห็นผู้คนจำนวนมากจากทุกภาคส่วนของ สังคมต่างรุดหน้าสู่บ้านของอัลลอฮฺด้วยความสมัครใจ แม้กระทั่งเด็กวัยรุ่นที่รูปลักษณ์ภายนอกดูไม่เคร่งครัดมากนัก
ละหมาดตะ รอวีหฺมิได้เป็นเพียงการรวมตัวกันเพื่อปฏิบัติศาสนกิจในเดือนเราะมะฎอนเท่า นั้น แต่ยังเป็นการยืนละหมาดร่วมชั่วโมงต่อหน้าอัลลอฮฺผู้ทรงเป็นเจ้าเหนือราชา ทั้งปวง โดยผู้ร่วมละหมาดจะได้สดับรับฟังถ้อยคำอันประเสริฐที่สุดซึ่งได้รับการ ประทานลงมาจากฟากฟ้า และเป็นพจนารถของพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ทั้งนี้ ไม่มีสิ่งใดจะสามารถปรับปรุงซ่อมแซมหัวใจของเราได้มากไปกว่าอัลกุรอาน
หาก การได้คลุกคลีกับบรรดาราชาหรือมหาเศรษฐีผู้ร่ำรวยอยู่เป็นประจำส่งผลต่อ กิริยาจาและการแต่งกายของเราแล้ว ผู้ที่มีโอกาสใช้ชีวิตต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าของเขาร่วมสามสิบคืนพร้อมเน้น หนักมากยิ่งขึ้นในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือน โดยได้สัมผัสและซึมซับหลักคำสอนที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นข้อคิดอุทาหรณ์หรือ บทบัญญัติต่างๆ ตลอดจนบรรดาอายะฮฺที่กล่าวถึงคุณลักษณะอันสูงส่งของอัลลอฮฺซึ่งถือเป็นองค์ ประกอบสำคัญที่สุดของอัลกุรอาน ย่อมสมควรที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้นได้
เพื่อเป็นการแนะนำ ตักเตือนซึ่งกันและกันระหว่างเรา ผู้เขียนใคร่ขอเสนอแนวทางบางประการที่น่าจะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุด จากการละหมาดตะรอวีหฺได้
ประการแรก ขณะเดินไปละหมาดตะรอวีหฺนั้น จำเป็นที่เราจะต้องตระหนักว่าเป้าประสงค์หลักของการทำอิบาดะฮฺประเภทใดก็ตาม คือการขัดเกลาจิตใจให้มีความสำรวมนอบน้อมต่ออัลลอฮฺ เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดที่พระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่งขึ้นมา นั่นก็คือ
﴿ وَمَا خَلَقۡتُ ٱلۡجِنَّ وَٱلۡإِنسَ إِلَّا لِيَعۡبُدُونِ ٥٦ ﴾
ความว่า “และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า” (อัซซาริยาต: 56)
ละหมาดตะรอวีหฺก็นับเป็นหนึ่งในจำนวนอิบาดะฮฺเหล่านั้น
ทั้ง นี้ การตระหนักถึงเป้าหมายสำคัญข้อนี้ขณะเดินทางไปละหมาด จะส่งผลดีต่อการละหมาดเป็นอย่างมาก โดยผู้ละหมาดจะได้สัมผัสถึงอรรถรสและความหอมหวานของการได้สดับรับฟังพจนารถ ของพระเจ้าผู้ทรงเมตตา
ประการที่สอง ขณะที่ท่านมุ่งหน้าสู่บ้านของอัลลอฮฺ ก็จงวิงวอนขอให้พระองค์ทรงทำให้การละหมาดนี้เป็นสาเหตุให้หัวใจของท่านได้ รับการปรับปรุงไปในทางที่ดี ทั้งนี้ การที่เราจะได้รับความดีงามและรอดพ้นจากความชั่วร้ายก็ด้วยความช่วยเหลือของ พระองค์ จึงควรที่จะวิงวอนขออย่างแน่วแน่และสม่ำเสมอให้พระองค์ทรงปรับปรุงหัวใจของ เรา ซึ่งการที่หัวใจจะดีนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำเสียงอันไพเราะของอิหม่ามหรือ ความโอ่อ่าของสถานที่ละหมาด แต่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ ซึ่งแน่นอนว่าพระองค์จะทรงช่วยเหลือผู้ที่มีความจริงใจและนอบน้อมต่อพระองค์
ลองใคร่ครวญอายะฮฺต่อไปนี้ซึ่งพระองค์กล่าวถึงเชลยศึกของมุสลิมว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّبِيُّ قُل لِّمَن فِيٓ أَيۡدِيكُم مِّنَ ٱلۡأَسۡرَىٰٓ إِن يَعۡلَمِ ٱللَّهُ فِي قُلُوبِكُمۡ خَيۡرٗا يُؤۡتِكُمۡ خَيۡرٗا مِّمَّآ أُخِذَ مِنكُمۡ وَيَغۡفِرۡ لَكُمۡۚ وَٱللَّهُ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ٧٠ ﴾ [الأنفال: ٧٠]
ความว่า “โอ้นบีเอ๋ย จงกล่าวแก่ผู้ที่อยู่ในมือของพวกเจ้าจากบรรดาผู้เป็นเชลยศึกเถิดว่า หากอัลลอฮฺทรงรู้ว่ามีความดีใดๆ ในหัวใจของพวกท่านแล้ว พระองค์ก็จะทรงประทานให้แก่พวกท่านซึ่งสิ่งที่ดียิ่งกว่าสิ่งที่ถูกเอามาจาก พวกท่าน และจะทรงอภัยโทษแก่พวกท่านด้วย และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษเป็นผู้ทรงเอ็นดูเมตตา” (อัลอันฟาล: 70)
    และลองพิจารณาอายะฮฺต่อไปนี้ ที่อัลลอฮฺได้ทรงชี้ให้เห็นว่าการมีหัวใจที่มุ่งมั่นแน่วแน่นั้นจะนำมาซึ่งความดีงามมากมาย
﴿ ۞لَّقَدۡ رَضِيَ ٱللَّهُ عَنِ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ إِذۡ يُبَايِعُونَكَ تَحۡتَ ٱلشَّجَرَةِ فَعَلِمَ مَا فِي قُلُوبِهِمۡ فَأَنزَلَ ٱلسَّكِينَةَ عَلَيۡهِمۡ وَأَثَٰبَهُمۡ فَتۡحٗا قَرِيبٗا ١٨ ﴾ [الفتح: ١٨]  
ความว่า “โดยแน่นอน อัลลอฮฺทรงโปรดปรานต่อบรรดาผู้ศรัทธา ขณะที่พวกเขาให้สัตยาบันแก่เจ้าใต้ต้นไม้ (ที่หุดัยบิยะฮฺ) เพราะพระองค์ทรงรอบรู้ดีถึงสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจของพวกเขา พระองค์จึงได้ทรงประทานความสงบใจลงมายังพวกเขา และได้ทรงตอบแทนให้แก่พวกเขาซึ่งชัยชนะอันใกล้เข้ามา” (อัลฟัตหฺ: 18)
ประการ ที่สาม ให้นึกถึงความสำคัญของการละหมาด ซึ่งเป็นการงานอันประเสริฐที่สุดของผู้ศรัทธา ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« وَاعْلَمُوا أَنَّ خَيْرَ أَعْمَالِكُمُ الصَّلَاةُ » رواه ابن ماجه برقم 277 وأحمد برقم 22378
ความว่า “ท่านทั้งหลายพึงทราบเถิดว่าการงานของพวกท่านที่ประเสริฐที่สุดคือการละหมาด”
    การละหมาดตะรอวีหฺก็ถือเป็นการละหมาดประเภทหนึ่ง
นอก จากนี้อัลลอฮฺยังได้ทรงระบุว่าการให้ความสำคัญกับบรรดาอิบาดะฮฺที่พระองค์ ทรงบัญญัตินั้นเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการที่หัวใจมีความยำเกรงต่อพระองค์
﴿ ذَٰلِكَۖ وَمَن يُعَظِّمۡ شَعَٰٓئِرَ ٱللَّهِ فَإِنَّهَا مِن تَقۡوَى ٱلۡقُلُوبِ ٣٢ ﴾ [الحج : ٣٢]
ความว่า “ฉะนั้น ผู้ใดที่ให้เกียรติแก่พระบัญญัติของอัลลอฮฺ แท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งแห่งการยำเกรงของจิตใจ” (อัลหัจญ์: 32)
    ประการที่สี่ ตระหนักถึงความสำคัญของการได้ยืนละหมาดต่อหน้าอัลลอฮฺ ตะอาลา ผู้ซึ่งที่ความสุขและความสำเร็จในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺล้วนอยู่ในพระหัตถ์ ของพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น
    การตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวนี้จะช่วยให้สามารถยืนละหมาดนานๆ ได้โดยที่ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยมากนัก และกลับจะทำให้รู้สึกสุขใจและละหมาดอย่างมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น
    
ประการ สุดท้าย เมื่อเสร็จสิ้นจากการละหมาดแล้วลองตรวจสอบหัวใจของท่านดู ว่าอัลกุรอานได้ส่งผลอย่างไรต่อหัวใจของท่าน? หากไม่พบว่ามีความเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น ก็ให้นึกทบทวนและปรับปรุงตนเองให้ดียิ่งขึ้น อย่าลืมว่าอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงขอบคุณ เมื่อใดที่บ่าวปฏิบัติคุณงามความดีพระองค์ก็จะทรงตอบแทนความดีอย่างแน่นอน หากคิดได้ดังนี้การละหมาดตะรอวีหฺก็จะส่งผลดีอย่างชัดเจนต่อชีวิตของเราทั้ง ในเดือนเราะมะฎอน และเดือนอื่นๆ สืบต่อไปตลอดชั่วชีวิต
    หากไม่สามารถทำสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดได้ แต่อย่างน้อยถ้าเรามีความรู้สึกว่าตนเองบกพร่องในหน้าที่อันพึงมีต่ออัลลอฮฺ หรือไม่ได้รับประโยชน์จากการประกอบอิบาดะฮฺต่างๆ อย่างที่ควรจะเป็น ความรู้สึกเหล่านี้ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้เราได้ปรับเปลี่ยนตัวเอง ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า และฉกฉวยช่วงเวลาต่างๆ ประกอบคุณความดีให้มาก เพื่อบรรลุซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการประทานคัมภีร์และแต่งตั้งศาสนทูต ก็คือการปรับปรุงขัดเกลาจิตใจให้นอบน้อมสิโรราบต่อพระผู้เป็นเจ้าแห่งสากล โลกนั่นเอง

ต้นฉบับจาก
http://almuqbil.com/web/?action=articles_inner&show_id=1681