เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

أمين بن عبد الله الشقاوي

วันที่ :

Thu, Oct 20 2016

ประเภท :

About Quran & Hadith

อรรถาธิบายสูเราะฮฺ อัล-กอริอะฮฺ


อรรถาธิบายสูเราะฮฺ อัล-กอริอะฮฺ
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 

ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 

แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
มุลกอฮฺ

 


2014 - 1435
 

تفسير سورة القارعة
« باللغة التايلاندية »

 

 

د. أمين بن عبدالله الشقاوي

 


ترجمة: حسنى فوانجسيري
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

 

 

2014 - 1435
 


 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

อรรถาธิบายสูเราะฮฺ อัลกอริอะฮฺ
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ และเป็นศาสนทูตของพระองค์
สูเราะฮฺหนึ่งในอัลกุรอานที่เราได้อ่านและสดับรับฟังกันอยู่บ่อยครั้ง และสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องใคร่ครวญพิจารณาศึกษาความหมายคือ สูเราะฮฺ อัล-กอริอะฮฺ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ ٱلۡقَارِعَةُ ١ مَا ٱلۡقَارِعَةُ ٢ وَمَآ أَدۡرَىٰكَ مَا ٱلۡقَارِعَةُ ٣ يَوۡمَ يَكُونُ ٱلنَّاسُ كَٱلۡفَرَاشِ ٱلۡمَبۡثُوثِ ٤ وَتَكُونُ ٱلۡجِبَالُ كَٱلۡعِهۡنِ ٱلۡمَنفُوشِ ٥ فَأَمَّا مَن ثَقُلَتۡ مَوَٰزِينُهُۥ ٦ فَهُوَ فِي عِيشَةٖ رَّاضِيَةٖ ٧ وَأَمَّا مَنۡ خَفَّتۡ مَوَٰزِينُهُۥ ٨ فَأُمُّهُۥ هَاوِيَةٞ ٩ وَمَآ أَدۡرَىٰكَ مَا هِيَهۡ ١٠ نَارٌ حَامِيَةُۢ ١١ ﴾ [القارعة: ١- ١١]  

อายะฮฺที่ 1
﴿ ٱلۡقَارِعَةُ ١ ﴾
“อัล-กอริอะฮฺ”
หมายถึง ความหวาดกลัวและตื่นตระหนกอย่างรุนแรงที่จะเกิดขึ้นเมื่อสังข์ถูกเป่าในวันสิ้นโลก ซึ่งนอกจากมันจะแผดเสียงกัมปนาทดังสนั่นหวั่นไหวสะเทือนโสตประสาทแล้ว ยังสร้างความน่าสะพรึงกลัวถึงขีดสุดทั่วทุกอณูของหัวใจอย่างหาสิ่งใดมาเปรียบมิได้อีกดัวย ดังที่พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَيَوۡمَ يُنفَخُ فِي ٱلصُّورِ فَفَزِعَ مَن فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَمَن فِي ٱلۡأَرۡضِ إِلَّا مَن شَآءَ ٱللَّهُۚ وَكُلٌّ أَتَوۡهُ دَٰخِرِينَ ٨٧ ﴾
“และ (จงรำลึกถึง) วันที่สังข์จะถูกเป่าขึ้น ดังนั้นผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและผู้ที่อยู่ในแผ่นดินจะตื่นตระหนก เว้นแต่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทั้งหมดได้มาหาพระองค์ในสภาพผู้ถ่อมตน” (อันนัมลฺ: 87)
อัล-กอริอะฮฺ (ٱلۡقَارِعَةُ  ) คือชื่อหนึ่งของวันกิยามะฮฺ เช่นเดียวกับ อัลฆอชิยะฮฺ อัลฮากเกาะฮฺ อัฏฏอมมะฮฺ อัศศอคเคาะฮฺ และชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย
อายะฮฺที่ 2
﴿ مَا ٱلۡقَارِعَةُ ٢ ﴾
“อัล-กอริอะฮฺนั้นคืออะไร”
    เป็นประโยคคำถามที่มีจุดประสงค์เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญ เป็นการถามว่า “อัลกอริอะฮฺที่ถูกกล่าวถึงนี้คืออะไรหรือ?”
อายะฮฺที่ 3
﴿ وَمَآ أَدۡرَىٰكَ مَا ٱلۡقَارِعَةُ ٣ ﴾
“และอะไรที่ทำให้เจ้ารู้ได้ว่าอัลกอริอะฮฺนั้นคืออะไร”
    เป็นคำถามที่เน้นย้ำให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของสิ่งที่ถูกถามมากยิ่งขึ้น กล่าวคือเป็นการถามว่า “อะไรทำให้เจ้ารู้ว่า อัลกอริอะฮฺ นั้นคืออะไร? มันยิ่งใหญ่และน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก!” หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงอธิบายว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด
อายะฮฺที่ 4
﴿ يَوۡمَ يَكُونُ ٱلنَّاسُ كَٱلۡفَرَاشِ ٱلۡمَبۡثُوثِ ٤ ﴾
“วันที่มนุษย์จะเป็นเช่นแมลงเม่าที่กระจายว่อน”
    กล่าวคือ ในวันนั้นมนุษย์ทุกคนจะถูกนำออกมาจากหลุมศพของพวกเขาดังเหล่าแมลงเม่าที่บินว่อนอยู่ในอากาศ
    นักวิชาการกล่าวว่า อัล-ฟะรอช ( ٱلۡفَرَاشِ ) คือแมลงเม่าที่มักจะบินวนอยู่รอบสถานที่ที่มีไฟในตอนกลางคืน และเป็นสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอมาก จึงบินวนไปมาโดยไร้ทิศทาง บางครั้งก็ตกลงไปในกองไฟโดยที่พวกมันไม่รู้ตัว มนุษย์ในวันนั้นจึงถูกเปรียบดังแมลงเม่านี้ เพราะความอ่อนแอและไร้จุดหมาย
คำว่า ( ٱلۡمَبۡثُوثِ ) หมายถึง กระจัดกระจายไร้ทิศทาง ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ خُشَّعًا أَبۡصَٰرُهُمۡ يَخۡرُجُونَ مِنَ ٱلۡأَجۡدَاثِ كَأَنَّهُمۡ جَرَادٞ مُّنتَشِرٞ ٧ ﴾ [القمر: ٧]
“สายตาของพวกเขาจะลดต่ำลงขณะที่พวกเขาออกจากหลุมศพ เสมือนหนึ่งพวกเขาเป็นตั๊กแตนที่บินว่อน” (อัล-เกาะมัรฺ: 7)    
    หมายถึง หากเจ้าได้ลองจินตนาการถึงเหตุการณ์ในวันนั้น วันที่มนุษย์ทุกคนจะถูกนำออกมาจากหลุมศพของพวกเขาในสภาพเช่นนี้ เจ้าก็คงจะได้รับรู้ ว่ามันเป็นสถานการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง มนุษย์ทั้งโลกตั้งแต่สมัยท่านนบีอาดัม จนถึงวันสิ้นโลก จะถูกนำออกมาพร้อม ๆ กันในคราวเดียวจากทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ถูกฝังอยู่ในหลุมศพตามสุสานต่าง ๆ หรือผู้ที่มิได้ถูกฝังในหลุมศพ เช่น ถูกจับโยนลงไปใต้ท้องทะเลลึก หรือถูกปลากลืนกิน หรือผู้ที่เสียชีวิตในทะเลทรายอันไกลโพ้น โดยถูกสัตว์ร้ายกัดกิน หรือถูกเผา ทุกคนล้วนจะถูกนำออกมาอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ สถานที่ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้
อายะฮฺที่ 5
﴿ وَتَكُونُ ٱلۡجِبَالُ كَٱلۡعِهۡنِ ٱلۡمَنفُوشِ ٥ ﴾
“และบรรดาภูเขาจะเป็นเช่นขนสัตว์ที่ปลิวว่อน”
    และในวันนั้นบรรดาภูผาที่ยิ่งใหญ่จะเป็นดังขนสัตว์หรือเศษฝ้าย ที่เพียงมีลมพัดเล็กน้อย ก็จะปลิวว่อนกระจัดกระจายด้วยความบางเบา คำว่า (ٱلۡمَنفُوشِ  ) หมายถึงล่องลอยปลิวว่อน ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَبُسَّتِ ٱلۡجِبَالُ بَسّٗا ٥ فَكَانَتۡ هَبَآءٗ مُّنۢبَثّٗا ٦ ﴾ [الواقعة: ٥- ٦]
“และบรรดาภูเขาได้แตกสลาย และมันกลายเป็นผุยผงปลิวว่อน” (อัล-วากิอะฮฺ: 5-6)
    และดังที่พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَيَسۡ‍َٔلُونَكَ عَنِ ٱلۡجِبَالِ فَقُلۡ يَنسِفُهَا رَبِّي نَسۡفٗا ١٠٥ فَيَذَرُهَا قَاعٗا صَفۡصَفٗا ١٠٦ ﴾ [طه: ١٠٥- ١٠٦]  
“และพวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับภูเขา จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าพระเจ้าของฉันจะทรงทำให้มันแตกออกเป็นผุยผง แล้วจะทรงปล่อยให้มันเป็นที่ราบโล่งเตียน (ไม่มีต้นไม้และสิ่งก่อสร้าง)” (ฏอฮา: 105-106)
อายะฮฺที่ 6-7
﴿ فَأَمَّا مَن ثَقُلَتۡ مَوَٰزِينُهُۥ ٦ فَهُوَ فِي عِيشَةٖ رَّاضِيَةٖ ٧ ﴾
“ส่วนผู้ที่ตราชูของเขาหนัก เขาก็จะอยู่ในการมีชีวิตที่”
หมายถึงผู้ที่ความดีของพวกเขามีมากกว่าความชั่ว เขาจะมีชีวิตในโลกหน้าที่สุขสบาย ปราศจากอุปสรรคหรือความวุ่นวายใด ๆ ทั้งสิ้น และจะมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบในทุก ๆ ด้าน พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَقَالُواْ ٱلۡحَمۡدُ لِلَّهِ ٱلَّذِيٓ أَذۡهَبَ عَنَّا ٱلۡحَزَنَۖ إِنَّ رَبَّنَا لَغَفُورٞ شَكُورٌ ٣٤ ٱلَّذِيٓ أَحَلَّنَا دَارَ ٱلۡمُقَامَةِ مِن فَضۡلِهِۦ لَا يَمَسُّنَا فِيهَا نَصَبٞ وَلَا يَمَسُّنَا فِيهَا لُغُوبٞ ٣٥ ﴾ [فاطر: ٣٤- ٣٥]  
“และพวกเขากล่าวว่า บรรดาการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺซึ่งพระองค์ทรงขจัดความระทมทุกข์ออกจากเรา แท้จริงพระเจ้าของเราเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงชื่นชม (ต่อผู้จงรักภักดีต่อพระองค์) ซึ่งพระองค์ทรงให้เราได้พำนักในสถานที่พำนักอันสถาพรด้วยความโปรดปรานของพระองค์ ความเหน็ดเหนื่อยจะไม่ประสบแก่เราในนั้น และความเบื่อหน่ายก็จะไม่ประสบแก่เราในนั้น” (ฟาฏิรฺ: 34-35)
    และพระองค์ตรัสว่า
﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ أُوْلَٰٓئِكَ هُمۡ خَيۡرُ ٱلۡبَرِيَّةِ ٧ جَزَآؤُهُمۡ عِندَ رَبِّهِمۡ جَنَّٰتُ عَدۡنٖ تَجۡرِي مِن تَحۡتِهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُ خَٰلِدِينَ فِيهَآ أَبَدٗاۖ رَّضِيَ ٱللَّهُ عَنۡهُمۡ وَرَضُواْ عَنۡهُۚ ذَٰلِكَ لِمَنۡ خَشِيَ رَبَّهُۥ ٨ ﴾ [البينة: ٧- ٨]  
“แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นมนุษย์ที่ดียิ่ง การตอบแทนของพวกเขา ณ พระเจ้าของพวกเขาคือสวนสวรรค์หลากหลายอันสถาพร ณ เบื้องล่างของมันมีลำน้ำหลายสายไหลผ่าน พวกเขาเป็นผู้พำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล อัลลอฮฺทรงปีติต่อพวกเขา และพวกเขาก็ยินดีในพระองค์ นั่นคือสำหรับผู้ที่กลัวเกรงพระเจ้าของพวกเขา” (อัล-บัยยินะฮฺ: 7-8)
อายะฮฺที่ 8
﴿ وَأَمَّا مَنۡ خَفَّتۡ مَوَٰزِينُهُۥ ٨ ﴾
“และส่วนผู้ที่ตราชูของเขาเบา”
หมายถึงผู้ที่ความชั่วของเขามีมากกว่าความดี หรือไม่มีความดีใด ๆ เลย ดังเช่นผู้ปฏิเสธศรัทธาซึ่งได้รับการตอบแทนความดีจนหมดสิ้นแล้วในโลกดุนยา ฉะนั้น ในอาคิเราะฮฺจึงไม่มีการตอบแทนใด ๆ สำหรับเขาอีก
ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ اللهَ لَا يَظْلِمُ مُؤْمِنًا حَسَنَةً، يُعْطَى بِهَا فِي الدُّنْيَا وَيُجْزَى بِهَا فِي الْآخِرَةِ، وَأَمَّا الْكَافِرُ فَيُطْعَمُ بِحَسَنَاتِ مَا عَمِلَ بِهَا لِلَّهِ فِي الدُّنْيَا، حَتَّى إِذَا أَفْضَى إِلَى الْآخِرَةِ، لَمْ تَكُنْ لَهُ حَسَنَةٌ يُجْزَى بِهَا » [رواه مسلم برقم 2808]  
“อัลลอฮฺจะไม่ทรงอธรรมต่อผู้ศรัทธากับความดีใด ๆ ที่เขาได้กระทำไป โดยเขาจะได้รับผลของความดีนั้นในโลกดุนยา และยังจะได้รับผลบุญในอาคิเราะฮฺอีกด้วย ส่วนผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น คุณงามความดีใด ๆ ที่เขากระทำไปในโลกดุยา เขาก็จะได้รับสิ่งที่ดีงามตอบแทนในโลกดุนยานั้นทันที กระทั่งเมื่อเขาไปยังโลกอาคิเราะฮฺแล้ว จะไม่เหลือผลบุญความดีใด ๆ ให้เขาอีกต่อไป” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2808)
อายะฮฺที่ 9
﴿ فَأُمُّهُۥ هَاوِيَةٞ ٩ ﴾
“ที่พำนักของเขาก็คือเหวลึก”
    กล่าวคือ จุดจบของเขาคือนรกญะฮันนัม ซึ่ง อัล-ฮาวิยะฮฺ นั้นเป็นอีกชื่อหนึ่งของนรก บางทัศนะกล่าวว่า คำว่าอัลอุมในที่นี้คือสมอง กล่าวคือ เขาจะถูกโยนลงนรกในสภาพที่หัวทิ่ม ซึ่งทั้งสองทัศนะนี้มิได้ขัดแย้งกัน โดยอาจกล่าวได้ว่า เขาจะถูกจับโยนลงนรก โดยไม่มีที่พักพิงใดสำหรับเขานอกจากไฟนรก
อายะฮฺที่ 10-11
﴿ وَمَآ أَدۡرَىٰكَ مَا هِيَهۡ ١٠ نَارٌ حَامِيَةُۢ ١١ ﴾
“และอะไรเล่าที่ทำให้เจ้ารู้ได้ว่าเหวลึกคืออะไร คือไฟอันร้อนแรง”
    นี่คือประโยคคำถาม เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่และความรุนแรงของอัลฮาวิยะฮฺ พระองค์ตรัสถาม และทรงตอบว่ามันคือไฟนรกอันร้อนแรงอย่างที่สุด ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวไว้ในหะดีษที่รายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า
« إنَّها فُضِّلَتْ عَلَى نَارِ الدُنْيا بِتِسْعَةٍ وَسِتِّينَ جُزْءًا كُلُّهُنَّ مِثْلُ حَرِّهَا » [رواه البخاري برقم 3265 مسلم برقم 2843]  
“แท้จริงเปลวเพลิงของมันจะมีความร้อนเหนือไฟในดุนยาถึงหกสิบเก้าส่วน โดยแต่ละส่วนจะร้อนเท่ากับไฟในดุนยาทั้งหมด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 3265 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2843)
สิ่งที่เราได้รับจากสูเราะฮฺอันประเสริฐนี้
    1. จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ศรัทธา ที่จะต้องปกป้องตนเองให้รอดพ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺ ด้วยการปฏิบัติคุณงามความดี แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม
    อะดีย์ บิน หาติม เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« مَا مِنْكُمْ مِنْ أَحَدٍ إِلَّا سَيُكَلِّمُهُ اللهُ، لَيْسَ بَيْنَهُ وَبَيْنَهُ تُرْجُمَانٌ، فَيَنْظُرُ أَيْمَنَ مِنْهُ فَلَا يَرَى إِلَّا مَا قَدَّمَ، وَيَنْظُرُ أَشْأَمَ مِنْهُ فَلَا يَرَى إِلَّا مَا قَدَّمَ، وَيَنْظُرُ بَيْنَ يَدَيْهِ فَلَا يَرَى إِلَّا النَّارَ تِلْقَاءَ وَجْهِهِ، فَاتَّقُوا النَّارَ وَلَوْ بِشِقِّ تَمْرَةٍ » [رواه مسلم برقم 1016]  
“ไม่มีคนใดในหมู่ท่าน เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงพูดกับเขา (ในวันกิยามะฮฺ) โดยไม่มีล่ามแปลระหว่างเขากับพระองค์ เมื่อเขาหันมองไปทางขวา ก็พบแต่สิ่งที่เขาได้เคยทำไว้ หันมองไปทางซ้ายก็พบแต่สิ่งที่เขาได้เคยทำไว้ เมื่อมองไปข้างหน้าก็เห็นแต่ไฟนรก ดังนั้น พวกท่านจงปกป้องตนเองให้รอดพ้นจากไฟนรกเถิด แม้จะด้วยการบริจาคอินทผลัมเพียงครึ่งเม็ดก็ตาม” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1016)
    2. สูเราะฮฺนี้มิได้กล่าวถึงผู้ที่มีความดีและความชั่วเท่ากัน แต่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในสูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ ว่าพวกเขาจะไม่ตกนรก แต่จะถูกกักตัวให้อยู่ในสถานที่ซึ่งเรียกว่า “อัล-อะอฺรอฟ” และในสูเราะฮฺอัลอะอฺรอฟนี้ อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวถึงบทสนทนาระหว่างพวกเขาเหล่านั้นกับบรรดาผู้ศรัทธา ดังที่พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَإِذَا صُرِفَتۡ أَبۡصَٰرُهُمۡ تِلۡقَآءَ أَصۡحَٰبِ ٱلنَّارِ قَالُواْ رَبَّنَا لَا تَجۡعَلۡنَا مَعَ ٱلۡقَوۡمِ ٱلظَّٰلِمِينَ ٤٧ ﴾ [الأعراف: ٤٦]  
“และเมื่อบรรดาสายตาของพวกเขาถูกหันไปทางชาวนรก พวกเขาก็กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์ โปรดอย่าได้ทรงให้พวกข้าพระองค์ร่วมอยู่กับกลุ่มผู้อธรรมเหล่านั้นเลย” (อัล-อะอฺรอฟ: 47)
    3. อัลลอฮฺทรงเตรียมการลงโทษอันแสนสาหัส สำหรับผู้ปฏิเสธศรัทธาซึ่งตั้งตนเป็นศัตรูกับพระองค์ โดยพระองค์ตรัสถึงความรุนแรงของเปลวเพลิงที่ร้อนระอุของไฟนรกว่า
﴿ كَلَّآۖ إِنَّهَا لَظَىٰ ١٥ نَزَّاعَةٗ لِّلشَّوَىٰ ١٦ تَدۡعُواْ مَنۡ أَدۡبَرَ وَتَوَلَّىٰ ١٧ وَجَمَعَ فَأَوۡعَىٰٓ ١٨ ﴾ [المعارج: ١٥- ١٨]  
“ไม่เลยทีเดียว แท้จริงมันเป็นไฟนรกที่ลุกโชน หนังศีรษะถูกลอกออก (เพราะความร้อนของไฟนรก) มันจะเรียกผู้ที่ผินหลังและหันห่างจากความจริง และสะสมทรัพย์สินและปิดบังไว้” (อัล-มะอาริจญ์: 15-18)
    และในอีกอายะฮฺหนึ่งอัลลอฮฺตรัสว่าฟืนของไฟนรกที่พร้อมจะแผดเผาร่างกายของมนุษย์นั้น คือก้อนหินที่มาจากกำมะถันแดง พระองค์ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ قُوٓاْ أَنفُسَكُمۡ وَأَهۡلِيكُمۡ نَارٗا وَقُودُهَا ٱلنَّاسُ وَٱلۡحِجَارَةُ عَلَيۡهَا مَلَٰٓئِكَةٌ غِلَاظٞ شِدَادٞ لَّا يَعۡصُونَ ٱللَّهَ مَآ أَمَرَهُمۡ وَيَفۡعَلُونَ مَا يُؤۡمَرُونَ ٦ ﴾ [التحريم: ٦]  
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน มีมลาอิกะฮฺผู้กร้าวหาญคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชา” (อัต-ตะหฺรีม: 6)
    และพระองค์ตรัสว่า
﴿ يَوۡمَ نَقُولُ لِجَهَنَّمَ هَلِ ٱمۡتَلَأۡتِ وَتَقُولُ هَلۡ مِن مَّزِيدٖ ٣٠ ﴾ [ق: ٣٠]
“วันซึ่งเราจะกล่าวแก่นรกญะฮันนัมว่า เจ้าเต็มแล้วหรือ และมันจะกล่าวว่า ยังมีเพิ่มอีกไหม” (กอฟ: 30)
    ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« يُؤْتَى بِـجَهَنَّمَ يَومَئِذٍ لَـهَا سَبْـعُونَ أَلْفَ زِمَامٍ، مَعَ كُلِّ زِمَامٍ سَبْعُونَ أَلْفَ مَلَكٍ يَـجُرُّونَـهَا »
“ในวันนั้น (วันพิพากษา) จะมีเจ็ดหมื่นบังเหียนถูกผูกเชือกนำมายังนรกญะฮันนัม และทุก ๆ บังเหียนจะมีมลาอิกะฮฺเจ็ดหมื่นท่าน ที่มาฉุดลากมัน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2842)