เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

أمين بن عبد الله الشقاوي

วันที่ :

Sat, Oct 22 2016

ประเภท :

For New Muslim

กัลยาณมิตร (มิตรที่ดี)


กัลยาณมิตร (มิตรที่ดี)
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 

ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 


แปลโดย : ฟารีด พุกมะหะหมัด
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ

 

2014 - 1435
 

 

الرفقة الصالحة
« باللغة التايلاندية »

 

 


د. أمين بن عبدالله الشقاوي

 


ترجمة: فريد فوك محمد
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

 


2014 - 1435
 

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่งเสมอ

กัลยาณมิตร (มิตรที่ดี)
มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความศานติและความจำเริญจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์
มนุษย์ทุกคนล้วนมีสัญชาติญานรักการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และคบหามิตรสหายที่จะคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อประโยชน์สุขทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ ทั้งนี้ มนุษย์โดยทั่วไปนั้นมีความแตกต่างกันทั้งด้านศาสนาและจรรยามารยาท มีทั้งคนดีที่ควรแก่การเลือกคบเป็นมิตร และคนชั่วที่ควรหลีกห่าง ไม่ร่วมคบค้าสมาคมด้วย
    การได้คบหาสมาคมกับคนดีนั้นเป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งจะส่งผลดีทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า
﴿ ٱلۡأَخِلَّآءُ يَوۡمَئِذِۢ بَعۡضُهُمۡ لِبَعۡضٍ عَدُوٌّ إِلَّا ٱلۡمُتَّقِينَ ٦٧ ﴾ [الزخرف: ٦٧]    
ความว่า “ในวันนั้น (วันกิยามะฮฺ) บรรดามิตรสหายทั้งหลายต่างกลายเป็นศัตรูต่อกัน นอกจากผู้ที่มีความยำเกรง” (อัซซุครุฟ: 67)

ในทางตรงกันข้าม การคบหาและเป็นมิตรกับคนชั่วก็จะนำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَيَوۡمَ يَعَضُّ ٱلظَّالِمُ عَلَىٰ يَدَيۡهِ يَقُولُ يَٰلَيۡتَنِي ٱتَّخَذۡتُ مَعَ ٱلرَّسُولِ سَبِيلٗا ٢٧ يَٰوَيۡلَتَىٰ لَيۡتَنِي لَمۡ أَتَّخِذۡ فُلَانًا خَلِيلٗا ٢٨ لَّقَدۡ أَضَلَّنِي عَنِ ٱلذِّكۡرِ بَعۡدَ إِذۡ جَآءَنِيۗ وَكَانَ ٱلشَّيۡطَٰنُ لِلۡإِنسَٰنِ خَذُولٗا ٢٩ ﴾ [الفرقان: ٢٧-٢٩]  
ความว่า “และวันที่ผู้อธรรมจะกัดมือของเขาแล้วจะกล่าวว่า ถ้าฉันได้ยึดแนวทางร่วมกับท่านเราะสูลก็จะเป็นการดี โอ้ความวิบัติแก่ฉัน หากฉันไม่คบคนนั้นเป็นเพื่อน (ก็คงจะดี) แน่นอน เขาได้ทำให้ฉันหลงผิดจากการตักเตือน หลังจากที่มันได้มายังฉัน และชัยฏอนมารร้ายนั้นเป็นผู้เหยียดหยามมนุษย์เสมอ” (อัลฟุรกอน: 27-29)
มีบันทึกของอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม รายงานจากอบูมูซา อัล-อัชอะรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« مَثَلُ الْجَلِيْسِ الصَّالِحِ وَالسَّوْءِ: كَحَامِلِ الْمِسْكِ وَنَافِخِ الْكِيْرِ؛ فَحَامِلُ الْمِسْكِ: إِمَّا أَنْ يحُذِيَكَ، وَإِمَّا أَنْ تَبْتَاعَ مِنْهُ، وَإِمّا أَنْ تَجِدَ مِنْهُ رِيْحًا طَيِّبَةً؛ وَنَافِخُ الْكِيْرِ: إِمَّا أَنْ يُحْرِقَ ثِيَابَكَ، وَإِمَّا أَنْ تَجِدَ مِنْهُ رِيْحًا خَبِيْثَةً » [رواه البخاري برقم 5534 ومسلم برقم 2628]  
ความว่า “อุปมาเพื่อนดีและเพื่อนเลวนั้น ดั่งคนขายน้ำหอมและช่างตีเหล็ก คนขายน้ำหอมนั้น เขาอาจแต้มน้ำหอมแก่เรา เราอาจซื้อน้ำหอมจากเขา หรืออย่างน้อยเราก็ยังมีกลิ่นหอมติดตัวมาจากเขา ส่วนช่างตีเหล็กนั้น เขาอาจทำให้เสื้อผ้าเรามีรอยไหม้ หรืออาจทำให้เรามีกลิ่นเหม็นไหม้ก็ได้" (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 5534 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2628)

และท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« الرَّجُلُ عَلَى دِيْنِ خَلِيْلِهِ، فَلْيَنْظُرْ أَحَدُكُمْ مَنْ يُخَالِلُ » [رواه الترمذِي برقم 2378]
ความว่า “บุคคลคนหนึ่งนั้นจะเดินตามแนวทางของเพื่อนของเขา ดังนั้นจงพิจารณาดูว่าเขากำลังคบมิตรกับใครอยู่" (บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ หะดีษเลขที่ 2378)
คำว่า “แนวทางของเพื่อนของเขา” หมายถึง อุปนิสัย จรรยามารยาท และความเคยชินของเพื่อนของเขา โดยให้พิจารณาคนที่เขาคบหาอยู่ หากเขามีความพึงพอใจในอุปนิสัยของเพื่อนของเขา โดยไม่กระอักกระอ่วน และไม่หลีกเลี่ยงแล้ว ในที่สุดเขาก็จะลอกเลียนอุปนิสัยนั้นมาจากเพื่อนเขาโดยไม่ทันรู้ตัว (เอานุลมะอฺบูด เล่ม 13 หน้า 123)
มีบทกลอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า
عَنِ الْمَرْءِ لَا تَسْأَلْ وَسَلْ عَنْ قَرِيْنِهِ    فَكُلُّ قَرِيْنٍ بِالْمُقَارَنِ يَقْتَدِيْ
จะดูใครใคร่ลองดูมิตรของเขา  หมู่คนเราต่างเลียนแบบมิตรสหาย
    มนุษย์นั้นมีสัญชาติญาณในการรับเอาอุปนิสัยต่าง ๆ มาจากเพื่อนสนิทมิตรสหายของเขา ซึ่งจิตวิญญาณของเรานั้นเปรียบเสมือนดั่งกองทหารที่ถูกจัดระเบียบร่วมกัน
    มีบันทึกของอัล-บุคอรียฺและมุสลิม จากรายงานของอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« الأَرْوَاحُ جُنُوْدٌ مُجَنَّدَةٌ، فَمَا تَعَارَفَ مِنْهَا ائْتَلَفَ، وَمَا تَنَاكَرَ مِنْهَا اخْتَلَفَ » [رواه البخاري برقم 3336 ومسلم برقم 2638]
ความว่า “จิตวิญญาณของมนุษย์นั้นเปรียบเสมือนเหล่าทหารที่ถูกจัดระเบียบให้เป็นกองพัน (ที่แตกต่างกัน) ดังนั้น วิญญาณใดที่ทำความรู้จักกันก็จะสนิทสนมคุ้นเคยกัน และวิญญาณใดที่ไม่ทำความรู้จักกันก็จะเข้ากันไม่ได้" (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 3336 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2638)
    ทั้งนี้ อัลลอฮฺได้ทรงสร้างวิญญาณขึ้นมาสองประเภทที่มีลักษณะตรงข้ามกันตั้งแต่แรกเริ่ม กล่าวคือฝ่ายหนึ่งเป็นวิญญาณที่ดี และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นวิญญาณที่ไม่ดี เมื่อเรือนร่างของแต่ละคนได้มาพบเจอกันในโลกดุนยา ก็จะรู้สึกคุ้นเคยเข้ากันได้ หรืออาจจะรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ตามแต่สภาพเดิมของวิญญาณที่อัลลอฮฺทรงสร้างขึ้นมา โดยคนที่ดีก็จะโน้มเอียงหากลุ่มคนที่ดี ในขณะที่คนชั่วก็จะคบหากับกลุ่มคนชั่ว (เอานุลมะอฺบูด เล่ม 13 หน้า 124)

การคบค้าสมาคมกับคนดี มีผลดีมากมาย อาทิ
    ประการแรก เป็นการส่งเสริมกันให้ทำความดี และห้ามปรามจากการทำความชั่ว อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า
﴿ وَٱلۡعَصۡرِ ١ إِنَّ ٱلۡإِنسَٰنَ لَفِي خُسۡر ٢ إِلَّا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلۡحَقِّ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلصَّبۡرِ ٣ ﴾ [العصر: ١-٣]
ความว่า “ขอสาบานด้วยกาลเวลา แท้จริงมนุษย์นั้นอยู่ในความขาดทุน นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย และตักเตือนกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และตักเตือนกันให้มีความอดทน” (อัลอัสรฺ: 1-3)

    ประการที่สอง เป็นการเร่งรีบและแข่งขันในการทำความดี อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ ۞وَسَارِعُوٓاْ إِلَىٰ مَغۡفِرَةٖ مِّن رَّبِّكُمۡ وَجَنَّةٍ عَرۡضُهَا ٱلسَّمَٰوَٰتُ وَٱلۡأَرۡضُ أُعِدَّتۡ لِلۡمُتَّقِينَ ١٣٣ ﴾ [آل عمران: ١٣٣]  
ความว่า “และพวกเจ้าจงรีบเร่งกันไปสู่การอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเจ้า และไปสู่สวรรค์ซึ่งความกว้างของมันเท่ากับบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน โดยที่มันถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง” (อาล อิมรอน: 133)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ وَالْمُؤْمِنُونَ وَالْمُؤْمِنَتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاءُ بَعْضٍ ۚ يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَيُقِيمُونَ الصَّلَوةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَوةَ وَيُطِيعُونَ اللَّهَ وَرَسُولَهُ ۚ أُولَئِكَ سَيَرْحَمُهُمُ اللَّهُۗ  إِنَّ اللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٌ 71 ﴾ [التوبة: 71]  
ความว่า “และบรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิงนั้น บางส่วนของพวกเขาต่างเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดีและห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ดี และพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจ่ายซะกาต และภักดีต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ ชนเหล่านี้แหละที่อัลลอฮฺจะทรงเอ็นดูเมตตาพวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัตเตาบะฮฺ: 71)

และพระองค์ตรัสว่า
﴿ وَفِي ذَٰلِكَ فَلۡيَتَنَافَسِ ٱلۡمُتَنَٰفِسُونَ ٢٦ ﴾ [المطففين: ٢٦]  
ความว่า “และในการนี้บรรดาผู้แข่งขัน (สู่ความสำราญในสวนสวรรค์) ทั้งหลาย จงแข่งขันกันเถิด” (อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน: 71)

ประการที่สาม ความดีและบะเราะกะฮฺของการรวมกลุ่มกับคนดีนั้น ผู้ที่เข้าร่วมกลุ่มก็จะได้รับความดีงามไปด้วย แม้ว่าการงานของเขาจะไม่ได้มีความดีในระดับเดียวกับคนเหล่านั้นก็ตาม ดังที่มีบันทึกจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ للهِ مَلَائِكَةً يَطُوْفُوْنَ فِي الطُّرُقِ، يَلْتَمِسُوْنَ أَهْلَ الذِّكْرِ، فَإِذَا وَجَدُوْا قَوْمًا يَذْكُرُوْنَ اللهَ، تَنَادَوْا: هَلُمُّوْا إِلَى حَاجَتِكُمْ » وَفِيْ آخِرِ الْحَدِيْثِ « فَيَقُوْلُ اللهُ: فَأُشْهِدُكُمْ إِنِّيْ قَدْ غَفَرْتُ لَهُمْ، قَالَ: يَقُوْلُ مَلَكٌ مِنَ الْمَلَائِكَةِ: فِيْهِمْ فُلَانٌ لَيْسَ مِنْهُمْ، إِنَّمَا جَاءَ لِحَاجَةٍ، قَالَ: هُمُ الْجُلَسَاءُ لَا يَشْقَى بِهِمْ جَلِيْسُهُمْ »   [رواه البخاري برقم 6408 ومسلم برقم 2689]
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงมีมลาอิกะฮฺที่วนเวียนไปตามถนนหนทางเพื่อเสาะหาผู้ที่รำลึกถึงพระองค์ ครั้นเมื่อเขาพบกลุ่มชนใดที่กำลังรำลึกถึงพระองค์ พวกเขาก็จะกล่าวแก่กันว่า มาเถิด มาสู่สิ่งที่พวกท่านปรารถนา (สถานที่ซึ่งมีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ)” และในตอนท้ายของหะดีษ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “แล้วอัลลอฮฺก็ตรัสแก่บรรดามลาอิกะฮฺว่า ข้าขอประกาศแก่พวกเจ้าว่า ข้าได้อภัยโทษแก่พวกเขาทั้งหมดแล้ว ทันใดนั้นมลาอิกะฮฺท่านหนึ่งก็กล่าวขึ้นมาว่า ‘ในกลุ่มนั้นมีบุคคลที่ไม่ใช่คนในกลุ่มพวกเขาด้วย พวกเขามาเพียงเพื่อธุระบางอย่างเท่านั้น’ พระองค์ก็ตอบว่า พวกเขาคือกลุ่มคนซึ่งผู้ที่ร่วมวงคลุกคลีกับพวกเขาจะไม่ผิดหวัง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 6408 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2689)

ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า “หากปราศจากสามสิ่งดังนี้แล้ว ฉันคงไม่อยากมีชีวิตในดุนยานี้อีกต่อไป สามสิ่งนั้นคือ ความกระหายในวันที่ร้อนระอุ (ถือศีลอด) ช่วงเวลาอันแสนลำบากในยามค่ำคืน (ละหมาดตะฮัจญุด) และการร่วมสมาคมกับกลุ่มชนที่เฟ้นหาคำพูดที่ดี ๆ มาพูดคุยกัน เหมือนดังการเฟ้นหาอินทผลัมชนิดที่ดี ๆ”
มีกี่คนกันแล้วที่ได้รับทางนำจนกลายเป็นผู้ที่รักษาการละหมาดอย่างดี ละทิ้งการคบหาสมาคมกับมิตรสหายชั่ว ๆ และตั้งใจทำการเรียกร้องบุคคลอื่นไปสู่แนวทางของอัลลอฮฺ?! สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ หลังจากนั้นก็เป็นเพราะกัลยาณมิตร (มิตรที่ดี มิตรที่ประเสริฐ) ที่เขาคบหาด้วยนั่นเอง
ท่านอบูสะอีด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَا تُصَاحِبْ إِلَّا مُؤْمِنًا، وَلَا يَأْكُلْ طَعَامَكَ إِلَّا تَقِيٌّ » [رواه الترمذي برقم 2395]
ความว่า “ท่านอย่าได้คบผู้ใดเป็นมิตรสหายนอกจากผู้ศรัทธา และอย่าได้ให้ผู้ใดรับประทานอาหารของท่านนอกจากผู้ยำเกรง” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ หะดีษเลขที่ 2395)

อัล-ค็อฏฏอบียฺ ได้อธิบายหะดีษนี้เพิ่มเติมว่า การให้รับประทานอาหารที่ระบุในหะดีษนั้นคือการเชิญมารับประทานอาหารร่วมกัน มิใช่การให้อาหารที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีพทั่วไป ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า
﴿ وَيُطۡعِمُونَ ٱلطَّعَامَ عَلَىٰ حُبِّهِۦ مِسۡكِينٗا وَيَتِيمٗا وَأَسِيرًا ٨ ﴾ [الإنسان: ٨]  
ความว่า “และพวกเขาเลี้ยงอาหารจากสิ่งที่เขารัก แก่ผู้ยากจน เด็กกำพร้า และเชลยศึก” (อัลอินสาน: 8)
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเชลยศึกนั้นคือ บรรดากาฟิร มิใช่ผู้ศรัทธาหรือผู้มีความยำเกรงแต่อย่างใด ทั้งนี้ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวปรามการเป็นมิตรกับผู้ที่มิใช่ผู้มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และยังตำหนิการปะปน และร่วมรับประทานอาหารกับพวกเขา เพราะการรับประทานอาหารร่วมกันนั้นจะทำให้จิตใจมีความรักและความอ่อนโยนต่อกัน (เอานุลมะอฺบูด เล่ม 13 หน้า 123)
    ทั้งนี้ การร่วมคบค้าสมาคมกับคนชั่วนั้นมีผลเสียมากมายตามมา อาทิเช่น
    หนึ่ง เพื่อนชั่ว ๆ นั้นจะชักนำเขาออกจากการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺไปสู่การฝ่าฝืนพระองค์
    มีบันทึกของอัล-บุคอรียฺ (หะดีษเลขที่ 3884) และมุสลิม (หะดีษเลขที่ 24) รายงานโดยสะอีด อิลนุล มุสัยยิบ จากบิดาของเขา ว่า ครั้นเมื่ออบูฏอลิบใกล้จะถึงแก่ความตาย ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้มาหาเขา แล้วท่านก็พบว่า อบูญะฮัล และอับดุลลอฮฺ อิบนฺ อบีอุมัยยะฮฺ อิบนุลมุฆีเราะฮฺ นั่งอยู่ก่อนแล้ว ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวแก่ลุงของท่านว่า
« يَاعَمِّ قُلْ : لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ، كَلِمَةٌ أَشْهَدُ لَكَ بِهَا عِنْدَ اللهِ »
ความว่า “โอ้ลุงจ๋า จงกล่าวเถิดว่า ‘ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ’ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ คำนี้ที่ฉันจะใช้เป็นหลักฐานเพื่อช่วยเหลือท่าน ณ อัลลอฮฺ”
อบูญะฮัล และอับดุลลอฮฺ อิบนฺ อบีอุมัยยะฮฺ จึงกล่าวว่า “อบูฏอลิบ เจ้าจะละทิ้งศาสนาของอับดุลมุฏเฏาะลิบกระนั้นหรือ?” ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัลลัม ก็ยังคงกล่าวคำนั้นแก่ลุงของท่านซ้ำไปซ้ำมา จนกระทั่งอบูฏอลิบกล่าวยืนยันว่า เขายังอยู่ในศาสนาของอับดุลมุฏเฏาะลิบ และปฏิเสธที่จะกล่าวชะฮาดะฮฺ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า
« أَمَا وَاللهِ لَأَسْتَغْفِرَنَّ لَكَ مَا لَمْ أُنْهَ عَنْكَ »
ความว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แน่นอนฉันจะขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺให้แก่ท่าน ตราบที่ฉันไม่ได้ถูกห้ามจากการขออภัยโทษแก่ท่าน”
อัลลอฮฺ ตะอาลา จึงประทานอายะฮฺที่ว่า
﴿ مَا كَانَ لِلنَّبِيِّ وَالَّذِينَ ءَامَنُوا أَنْ يَسْتَغْفِرُوا لِلْمُشْرِكِينَ وَلَوْ كَانُوا أُولِي قُرْبَى مِنْ بَعْدِ مَا تَبَيَّنَ لَهُمْ أَنَّهُمْ أَصْحَابُ الْجَحِيمِ 113 ﴾ [التوبة: 113]  
ความว่า “ไม่บังควรแก่นบีและบรรดาผู้ศรัทธาที่จะขออภัยโทษให้บรรดาผู้ตั้งภาคี แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นญาติใกล้ชิดก็ตาม ภายหลังจากที่เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พวกเขาเหล่านั้นเป็นชาวนรก” (อัตเตาบะฮฺ: 113)
และพระองค์ยังประทานอีกอายะฮฺหนึ่ง เกี่ยวกับกรณีของอบูฏอลิบว่า
﴿ إِنَّكَ لَا تَهۡدِي مَنۡ أَحۡبَبۡتَ وَلَٰكِنَّ ٱللَّهَ يَهۡدِي مَن يَشَآءُۚ وَهُوَ أَعۡلَمُ بِٱلۡمُهۡتَدِينَ ٥٦ ﴾ [القصص: ٥٦]  
ความว่า “แท้จริงเจ้าไม่สามารถนำทางที่ถูกต้องให้คนที่เจ้ารักได้ ทว่าอัลลอฮฺต่างหากที่เป็นผู้นำทางที่ถูกต้องแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่ได้รับทางนำ” (อัลเกาะศ็อศ:  56)

สอง การรวมกลุ่มของคนชั่วโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ มีแต่การฝ่าฝืนพระองค์ อันจะนำมาซึ่งความน่าโศกเศร้าแก่คนเหล่านั้นในวันกิยามะฮฺ
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« مَا جَلَسَ قَوْمٌ مَجْلِسًا لَمْ يَذْكُرُوْا اللهَ فِيْهِ، وَلَمْ يُصَلُّوْا عَلَى نَبِيِّهِمْ، إِلَّا كَانَ عَلَيْهِمْ تِرَةً؛ فَإِنْ شَاءَ عَذَّبَهُمْ، وَإِنْ شَاءَ غَفَرَ لَهُمْ » [رواه الترمذي برقم 3380]
ความว่า “ไม่มีชนกลุ่มใดที่มาร่วมประชุมกัน โดยที่การประชุมนั้นไม่มีการซิกรุลลอฮฺ ไม่มีการศอละวาตนบีของพวกเขา เว้นแต่การประชุมนั้นจะเป็นความโศกเศร้าและขาดทุนสำหรับพวกเขา หากพระองค์ทรงประสงค์พระองค์ก็จะลงโทษพวกเขา และหากพระองค์ทรงประสงค์พระองค์ก็จะทรงอภัยโทษแก่พวกเขา” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ หะดีษเลขที่ 3380)

    อัชชาฟิอียฺ กล่าวเป็นบทกลอนไว้ว่า
إِذَا لَمْ أَجِدْ خِلًّا تَقِيًّا فَوِحْدَتِي         أَلَذُّ وَأَشْهَى مِنْ غَوِيٍّ أُعَاشِرُهُ
وَأَجْلِسُ وَحْدِيْ لِلْعِبَادَةِ آمِنًا         أَقَرُّ لِعَيْنِيْ مِنْ جَلِيْسٍ أُحَاذِرُهُ
     หากไม่มีเพื่อนที่มีตักวา ฉันก็ขออยู่คนเดียว
        สุขกว่าข้องเกี่ยวกับเพื่อนชั่วที่ต้องคบหากัน
     ขอนั่งทำอิบาดะฮฺอยู่คนเดียวอย่างปลอดภัย
        ยังสบายใจกว่ามีเพื่อนที่ต้องคอยระแวง

สาม เพื่อนที่ไม่ดีมักจะชักชวนเพื่อนของเขาให้ทำตามในสิ่งที่ไม่ดี อันจะนำไปสู่การชินชากับการทำบาปและบกพร่องในการทำอิบาดะฮฺ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อุษมาน บิน อัฟฟาน เราะฏิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า “หญิงที่ทำซินาก็หวังว่าผู้หญิงจะทำซินากันทุกคน”
    และเพื่อนไม่ดีก็มักจะตีจากเราไป ในยามที่ขัดแย้งกันหรือหมดผลประโยชน์กันแล้ว ยิ่งกว่านั้นอาจนำมาซึ่งความเกลียดชังต่อกันในภายหลัง อับดุลลอฮฺ อิบนุล มุอฺตัซ กล่าวว่า “เพื่อนไม่ดีจะตีจากในยามที่มีความทุกข์ และจะกลับมาในยามที่มีความสุข”
    ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ ข้าพเจ้าก็ใคร่ขอกล่าวตักเตือนท่านพี่น้องทั้งหลาย ให้ส่งเสริมบุตรหลานให้เข้าร่วมกลุ่มท่องจำ หรืออ่านอัลกุรอาน บุคคลเหล่านั้นถือเป็นมิตรที่ดี มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้ใช้เวลาร่วมกัน อันจะนำพาให้บุตรหลานของท่านห่างไกลจากมิตรสหายที่ไม่ดีทั้งหลายได้

والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد،
وعلى آله وصحبه أجمعين.