เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

أمين بن عبد الله الشقاوي

วันที่ :

Sun, Sep 04 2016

ประเภท :

Morals & Ethics

อัน-นะศีหะฮฺ การตักเตือน

อัน-นะศีหะฮฺ การตักเตือน
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 


แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
มุลกอฮฺ

 

2014 - 1436


 
النصيحة
« باللغة التايلاندية »

 

 

د. أمين بن عبدالله الشقاوي

 


ترجمة: حسنى فوانجسيري
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

 

 


2014 - 1436
 
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

อัน-นะศีหะฮฺ การตักเตือน
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
การตักเตือนนั้นนับเป็นหลักคำสอนและแนวปฏิบัติที่สำคัญประการหนึ่งในศาสนาอิสลาม อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَجَآءَ رَجُلٞ مِّنۡ أَقۡصَا ٱلۡمَدِينَةِ يَسۡعَىٰ قَالَ يَٰمُوسَىٰٓ إِنَّ ٱلۡمَلَأَ يَأۡتَمِرُونَ بِكَ لِيَقۡتُلُوكَ فَٱخۡرُجۡ إِنِّي لَكَ مِنَ ٱلنَّٰصِحِينَ ٢٠ ﴾ [القصص: ٢٠]  
ความว่า “และชายคนหนึ่งได้มาจากชานเมืองอย่างรีบเร่ง เขากล่าวว่า โอ้มูซาเอ๋ย พวกขุนนางชั้นผู้ใหญ่กำลังปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับเรื่องของท่าน เพื่อจะฆ่าท่าน ดังนั้น จงออกไปเถิดแท้จริงฉันเป็นผู้หวังดีต่อท่าน” (อัลเกาะศ็อศ: 20)

ตะมีม อัดดารีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« الدِّينُ النَّصِيحَةُ » قُلْنَا: لِمَنْ؟ قَالَ: « لِلَّهِ وَلِكِتَابِهِ وَلِرَسُولِهِ وَلِأَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ وَعَامَّتِهِمْ » [رواه مسلم برقم 55]  
ความว่า “ศาสนาคือนะศีหะฮฺ (การตักเตือนอย่างบริสุทธิ์ใจ) พวกเราถามว่า: นะศีฮะฮฺเพื่อใครหรือครับท่านเราะสูลุลลอฮฺ? ท่านกล่าวตอบว่า: เพื่ออัลลอฮฺ เพื่อคัมภีร์ของพระองค์ เพื่อเราะสูลของพระองค์ เพื่อบรรดาผู้นำมุสลิม และเพื่อมุสลิมโดยทั่วไป” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 55)
    อันนะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “หะดีษบทนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากและถือเป็นแก่นสำคัญของหลักคำสอนอิสลาม ส่วนการที่อุละมาอ์บางกลุ่มกล่าวว่าหะดีษบทนี้ถือเป็นหนึ่งในสี่หะดีษที่เป็นศูนย์รวมของหลักคำสอนและองค์ความรู้ในอิสลามนั้น ในความเป็นจริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น แต่ที่ถูกต้องคือหะดีษบทนี้เพียงบทเดียวก็ถือเป็นแก่นของหลักคำสอนทั้งหมดแล้ว” (ชัรหฺ อันนะวะวีย์ เล่ม 1 หน้า 37)
อิบนุ หะญัร กล่าวว่า “ที่ท่านกล่าวว่า « الدِّيْنُ النَّصِيْحَةُ » (ศาสนาคือการตักเตือนอย่างบริสุทธิ์ใจ) อาจหมายความว่า การตักเตือนนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก และเป็นหัวใจหลักของศาสนา ในทำนองเดียวกันกับรายงานหะดีษอีกบทหนึ่งที่ว่า « الحَجُّ عَرَفَةُ » (การทำหัจญ์คือการวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ) หรืออาจจะมีหมายความตรงตัวก็ได้ กล่าวคือการงานใด ๆ ที่มิได้กระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ย่อมไม่ใช่สิ่งที่ศาสนาสั่งใช้
นะศีหะฮฺเพื่ออัลลอฮฺ คือการยืนยันว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบและเหมาะสมกับพระองค์ เคารพภักดีพระองค์ทั้งด้วยการแสดงออกภายนอกและความรู้สึกภายในใจ ทำสิ่งที่เป็นการเคารพเชื่อฟังพระองค์ และไม่ฝ่าฝืนเนรคุณต่อพระองค์ รวมถึงการดะอฺวะฮฺเชิญชวนผู้อื่นให้มีความเข้าใจดังที่กล่าวมานี้
นะศีหะฮฺเพื่อคัมภีร์ของพระองค์ คือการศึกษาเรียนรู้ สอน อ่าน และเขียนอัลกุรอานอย่างถูกต้องพร้อมทำความเข้าใจความหมาย รวมถึงการปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน และปกป้องอัลกุรอานจากการบิดเบือนของผู้ประสงค์ร้าย
นะศีหะฮฺเพื่อเราะสูลของพระองค์ คือการให้เกียรติและปกป้องช่วยเหลือท่าน ทั้งยามที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และหลังจากที่ท่านจากไปแล้ว ศึกษาและฟื้นฟูเผยแผ่แบบฉบับของท่าน ปฏิบัติตามคำพูดและการกระทำของท่าน รวมไปถึงการมีความรักต่อท่าน และต่อผู้ที่ปฏิบัติตามท่าน
นะศีหะฮฺเพื่อบรรดาผู้นำมุสลิม คือการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนพวกเขาในการปฏิบัติหน้าที่ เชื่อฟังพวกเขา และคอยชี้แนะตักเตือนหากเกิดข้อผิดพลาดหรือหลงลืม การนะศีหะฮฺผู้นำที่มีความสำคัญมากประการหนึ่ง คือการหยุดยั้งความอธรรมที่พวกเขาก่อด้วยวิธีการที่ดี อุละมาอ์ผู้รู้ก็จัดว่าเป็นผู้นำมุสลิมเช่นกัน ซึ่งการนะศีหะฮฺสำหรับพวกท่านนั้นก็ด้วยการเผยแพร่ความรู้ของพวกท่าน คอยปกป้องเกียรติของพวกท่าน และชอบที่จะให้พวกท่านประสบกับสิ่งที่ดีห่างไกลจากสิ่งที่ไม่ดี (ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 1 หน้า 138)
การตักเตือนแบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่
ประเภทแรก การตักเตือนบรรดามุสลิมทั่วไป ดังที่ปรากฏในหะดีษจำนวนมาก เช่น
ญะรีรฺ บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า “ฉันได้ให้สัตยาบันไว้กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า จะดำรงการละหมาด การบริจาคทานซะกาต และตักเตือนมุสลิมทุกคน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 56)
ในหะดีษอีกบทหนึ่ง อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« حَقُّ الْمُسْلِمِ عَلَى الْمُسْلِمِ سِتٌّ » قِيلَ: مَا هُنَّ يَا رَسُولَ اللهِ؟، قَالَ: « إِذَا لَقِيتَهُ فَسَلِّمْ عَلَيْهِ، وَإِذَا دَعَاكَ فَأَجِبْهُ، وَإِذَا اسْتَنْصَحَكَ فَانْصَحْ لَهُ، وَإِذَا عَطَسَ فَحَمِدَ اللهَ فَشَمِّتْهُ، وَإِذَا مَرِضَ فَعُدْهُ وَإِذَا مَاتَ فَاتَّبِعْهُ » [رواه مسلم برقم 2162]  
ความว่า “สิทธิของมุสลิมต่อมุสลิมนั้นมีหกประการ” มีผู้ถามขึ้นว่า มีอะไรบ้างเล่าโอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ? ท่านตอบว่า “เมื่อท่านพบเขาจงให้สลามแก่เขา เมื่อเขาเชิญท่าน จงตอบรับคำเชิญเขา  เมื่อเขาขอคำแนะนำตักเตือนจากท่าน ก็จงตักเตือนเขา เมื่อเขาจาม และกล่าวว่า ‘อัลหัมดุลิลลาฮฺ’  ก็จงตอบเขาว่า ‘ยัรหะมุกัลลอฮฺ’ เมื่อเขาป่วย จงไปเยี่ยมเขา และเมื่อเขาเสียชีวิต ท่านจงตามไปส่งเขาถึงสุสาน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2162)
ประเภทที่สอง การตักเตือนผู้นำ ในหะดีษซึ่งบันทึกโดยอะหฺมัด จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  กล่าวว่า
« إِنَّ اللَّهَ كَرِهَ لَكُمْ ثَلَاثًا، وَرَضِيَ لَكُمْ ثَلَاثًا، رَضِيَ لَكُمْ: أَنْ تَعْبُدُوهُ وَلَا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا، وَأَنْ تَعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا، وَأَنْ تَنْصَحُوا لِوُلَاةِ الْأَمْرِ » [رواه أحمد برقم 8334]
ความว่า “อัลลอฮฺทรงรังเกียจสามอย่าง และทรงพอพระทัยสามอย่าง ทรงพอพระทัยกับการที่พวกท่านเคารพเชื่อฟังพระองค์โดยไม่ยกภาคีใด ๆ เทียบเคียงพระองค์ การที่พวกท่านทั้งหลายสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้สายเชือกแห่งศาสนาของพระองค์ และการที่พวกท่านให้คำแนะนำตักเตือนบรรดาผู้นำ” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 8334)
    และในหะดีษอีกบทหนึ่ง ท่านญุบัยรฺ บิน มุฏอิม เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« ثَلَاثٌ لَا يَغِلُّ عَلَيْهِنَّ قَلْبُ امْرِئٍ مُسْلِمٍ: إِخْلَاصُ الْعَمَلِ لِلَّهِ، وَالنَّصِيحَةُ لِوَليِّ الْأَمْرِ، وَلُزُومُ الجَمَاعَةِ » [رواه أحمد برقم 16738]
ความว่า “มีสามสิ่งที่จะทำให้จิตใจของมุสลิมคนหนึ่งผ่องใสไร้มลทิน คือ การมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ การตักเตือนผู้นำ และการอยู่ร่วมกับญามาอะฮฺ” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 16738)
ส่วนการตักเตือนของผู้นำแก่ผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองของพวกเขานั้น มีรายงานหะดีษจาก มะอฺกิล บิน ยะสารฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« مَا مِنْ عَبْدٍ اسْتَرْعَاهُ اللَّهُ رَعِيَّةً، فَلَمْ يَحُطْهَا بِنُصحِهِ،  إِلَّا لَمْ يَجِدْ رَائِحَةَ الْجَنَّةِ»  [رواه البخاري برقم 7150 ومسلم برقم 142]
ความว่า “ผู้ที่อัลลอฮฺทรงมอบหมายให้เขาเป็นผู้นำกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่ง แล้วเขาไม่สนใจจะว่ากล่าวตักเตือนพวกเขาเหล่านั้น จะไม่ได้รับกลิ่นอายของสวรรค์” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์หะดีษเลขที่ 7150 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 142)
อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ถึงเราะสูลท่านก่อน ๆ ว่าพวกท่านได้ตักเตือนประชาชาติของพวกท่าน โดยได้ตรัสถึงท่านนบีนูหฺ ว่าท่านได้กล่าวแก่ประชาชาติของท่านว่า
﴿ أُبَلِّغُكُمۡ رِسَٰلَٰتِ رَبِّي وَأَنصَحُ لَكُمۡ ٦٢ ﴾ [الأعراف: ٦٢]
ความว่า ”โดยที่ฉันจะประกาศแก่พวกท่าน ซึ่งบรรดาสารแห่งพระเจ้าของฉัน และฉันจะชี้แจงและนำให้แก่พวกท่าน” (อัล อะอฺรอฟ: 62)
และพระองค์ได้ตรัสถึงคำพูดของท่านนบีฮูด ว่า
﴿ أُبَلِّغُكُمۡ رِسَٰلَٰتِ رَبِّي وَأَنَا۠ لَكُمۡ نَاصِحٌ أَمِينٌ ٦٨ ﴾ [الأعراف: ٦٨]  
ความว่า “โดยที่ฉันจะประกาศแก่พวกท่าน ซึ่งบรรดาสารแห่งพระเจ้าของฉัน และฉันนั้นเป็นผู้แนะนำที่ซื่อตรงแก่พวกท่าน” (อัลอะอฺรอฟ: 68)
ทั้งนี้ ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถือเป็นผู้นำในเรื่องการตักเตือน โดยท่านได้เผยแผ่ศาสนา และตักเตือนประชาชาติของท่านอย่างสุดความสามารถ
ญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านว่า
« وَأَنْتُمْ تُسْأَلُونَ عَنِّي، فما أَنْتُمْ قَائِلُونَ؟ قالوا: نَشْهَدُ أَنَّكَ قد بَلَّغْتَ وَأَدَّيْتَ وَنَصَحْتَ » [رواه مسلم ]  
ความว่า “และเมื่อพวกท่านถูกถามถึงเกี่ยวกับตัวฉัน (ในอาคิเราะฮฺ) พวกท่านจะกล่าวเช่นไร?” พวกเขาตอบว่า “พวกเราขอเป็นพยานรับรองว่า ท่านได้บอกกล่าวเผยแผ่ศาสนา ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์แบบ และได้ตักเตือนพวกเราแล้ว” (บันทึกโดยมุสลิม)
อัลลอฮฺได้ทรงอภัยให้แก่ผู้ที่มีอุปสรรคไม่สามารถออกไปทำสงครามญิฮาดได้ หากเขาคือผู้ที่ตักเตือนเพื่อพระองค์  และเราะสูลของพระองค์ ดังที่พระองค์ตรัสว่า
﴿ لَّيۡسَ عَلَى ٱلضُّعَفَآءِ وَلَا عَلَى ٱلۡمَرۡضَىٰ وَلَا عَلَى ٱلَّذِينَ لَا يَجِدُونَ مَا يُنفِقُونَ حَرَجٌ إِذَا نَصَحُواْ لِلَّهِ وَرَسُولِهِۦۚ مَا عَلَى ٱلۡمُحۡسِنِينَ مِن سَبِيلٖۚ وَٱللَّهُ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ٩١ ﴾ [التوبة: ٩١]  
ความว่า ”ไม่มีบาปใด ๆ แก่บรรดาผู้ที่อ่อนแอ และแก่ผู้ที่ป่วยไข้ และแก่บรรดาผู้ที่ไม่พบสิ่งที่จะบริจาค เมื่อพวกเขาได้แนะนำตักเตือนให้จงรักภักดีต่ออัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ ไม่มีทางใดที่จะกล่าวโทษแก่บรรดาผู้กระทำดีได้ และอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเอ็นดูเมตตา” (อัตเตาบะฮฺ: 91)
ทั้งนี้ ชาวสลัฟนั้น เมื่อพวกเขาประสงค์จะตักเตือนผู้ใด พวกเขาจะเลือกตักเตือนในทางลับ ไม่กระทำต่อหน้าผู้คน ชาวสลัฟบางคนกล่าวว่า “ผู้ที่ตักเตือนผู้อื่นในทางลับนั้นเรียกว่าการตักเตือน ส่วนผู้ที่ตักเตือนต่อหน้าผู้คนมากมายนั้น เป็นการตำหนิและประจานเสียมากกว่า” ซึ่งการตักเตือนในทางลับนี้  ครอบคลุมการตักเตือนผู้นำ ผู้รู้ และบุคคลทั่วไป
อัชชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
تَعَمَّدْني بِنُصحِكَ في انْفِرَادِي     وَجَنِّبْني النَصيحَةَ في الجَمَـاعَة
فَإنَّ النُـصحَ بَين الناسِ نَوْعٌ      مِن التَّوبِيْخِ لا أَرضى استِمَاعَه
وَإنْ خَالَفْتَني وَعَصَيْتَ قَولِي       فَلا تَجْزَعْ إذَا لَمْ تُعطَ طاعَــة
โปรดตักเตือนเมื่อฉันอยู่ตามลำพัง  อย่ากระทำต่อหน้าผู้คน
เพราะการกระทำเช่นนั้น  คือการประจานตำหนิซึ่งฉันไม่ชอบ
หากไม่ทำตามที่ฉันบอก  ก็อย่าผิดหวังหากฉันจะไม่ฟังคุณ
การตักเตือนนั้นมีประโยชน์มากมาย เช่น
1. การตักเตือนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้จิตใจมีความมั่นคงต่อศาสนา เพราะผู้ที่ตักเตือนผู้อื่นนั้น ย่อมต้องอยากที่จะปฏิบัติสิ่งที่ตนได้ตักเตือน เพื่อไม่ให้การกระทำของเขาขัดแย้งกับสิ่งที่เขาพูด อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า
﴿ وَمَآ أُرِيدُ أَنۡ أُخَالِفَكُمۡ إِلَىٰ مَآ أَنۡهَىٰكُمۡ عَنۡهُۚ إِنۡ أُرِيدُ إِلَّا ٱلۡإِصۡلَٰحَ مَا ٱسۡتَطَعۡتُۚ ٨٨ ﴾ [هود: ٨٨]  
ความว่า “และฉันมิปรารถนาที่จะขัดแย้งกับพวกท่าน ในสิ่งที่ฉันได้ห้ามพวกท่านให้ละเว้น ฉันมิปรารถนาสิ่งใดนอกจากการปฏิรูปแก้ไขให้ดีขึ้นเท่าที่ฉันสามารถ” (ฮูด: 88)
2. เป็นหลักฐานยืนยันว่าผู้ที่ตักเตือนนั้นมีความรักและความหวังดีต่อผู้อื่น โดยที่เขาไม่ต้องการให้ผู้อื่นกระทำสิ่งที่ผิด อนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لا يُؤمِنُ أحدُكُمْ حتَّى يُحِبَّ لِأَخِيْهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ » [رواه البخاري برقم 13 ومسلم برقم 45]
ความว่า “คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจะยังไม่เป็นผู้ศรัทธาอย่างสมบูรณ์ จนกว่าเขาจะปรารถนาให้พี่น้องของเขาได้รับในสิ่งที่เขาปรารถนาจะให้ตนเองได้รับ” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 13 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 45)
3. สังคมจะดีและน่าอยู่ เพราะคนในสังคมประพฤติแต่คุณงามความดี หลีกห่างจากความชั่ว
4. การตักเตือนที่บริสุทธิ์ใจนั้น ช่วยกำจัดความชั่วร้ายได้มากมาย
5. เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ และเราะสูล ซึ่งถือเป็นความสุขอันยิ่งใหญ่ที่สุดของบ่าวคนหนึ่ง และยังถือเป็นความสำเร็จทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَمَن يُطِعِ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ فَقَدۡ فَازَ فَوۡزًا عَظِيمًا ٧١ ﴾ [الأحزاب : ٧١]
ความว่า “และผู้ใดเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ แน่นอนเขาได้รับความสำเร็จอันใหญ่หลวง” (อัลอะหฺซาบ: 71 )
6. เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บุคคลหนึ่งได้รับทางนำ ซึ่งเราจะเห็นว่ามีผู้ปฏิเสธศรัทธาหลายต่อหลายคนเข้ารับอิสลามจากการตักเตือน และมีผู้ฝ่าฝืนทำบาปใหญ่มากมายที่กลับตัวกลับใจกลายเป็นคนดีด้วยการตักเตือนเช่นกัน สะฮฺล์ บิน สะอัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวแก่ท่านอลีว่า
« فَوَاللَّهِ لَأَنْ يَهْدِيَ اللَّهُ بِكَ رَجُلًا وَاحِدًا، خَيْرٌ لَكَ مِنْ أَنْ يَكُونَ لَكَ حُمْرُ النَّعَمِ » [رواه مسلم برقم 2406]
ความว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ การที่อัลลอฮฺทรงประทานฮิดายะฮฺแก่บุคคลหนึ่งจากการเชิญชวนของท่านนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับท่านยิ่งกว่าการที่ท่านมีอูฐแดงอันล้ำค่าไว้ในครอบครองเสียอีก”(บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2406)
7. ถือว่าผู้ตักเตือนได้ปฏิบัติสิ่งที่เป็นหน้าที่ของเขาอย่างสมบูรณ์แล้ว แม้ว่าการตักเตือนของเขาจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ก็ตาม อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ إِنۡ عَلَيۡكَ إِلَّا ٱلۡبَلَٰغُۗ ٤٨ ﴾ [الشورى: ٤٨]
ความว่า “หน้าที่ของเจ้ามิใช่อื่นใดนอกจากการเผยแผ่เท่านั้น” (อัชชูรอ: 48)
และตรัสอีกว่า
﴿ وَإِن تُكَذِّبُواْ فَقَدۡ كَذَّبَ أُمَمٞ مِّن قَبۡلِكُمۡۖ وَمَا عَلَى ٱلرَّسُولِ إِلَّا ٱلۡبَلَٰغُ ٱلۡمُبِينُ ١٨ ﴾ [العنكبوت: ١٨]  
ความว่า ”แล้วหน้าที่ของเราะสูลนั้นมิใช่อะไรอื่น นอกจากการเผยแผ่อันชัดแจ้ง” (อัล อันกะบูต : 18 )
อิบนุหัซมฺได้กล่าวถึงสองสิ่งที่เกี่ยวพันกับการตักเตือน
1. การตักเตือนนั้นมีสองระดับ ระดับแรกคือเป็นการตักเตือนที่เป็นฟัรฎู ส่วนระดับที่สองคือการชี้แนะและเตือนใจ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำหรับทุกคนที่จะต้องตักเตือนผู้อื่น แม้ผู้ถูกตักเตือนจะพอใจหรือไม่ก็ตาม หรือแม้กระทั่งผู้ตักเตือนอาจได้รับความเดือดร้อนก็ตาม
2. จะต้องไม่กล่าวตักเตือนโดยตั้งเงื่อนไขว่า ผู้ถูกตักเตือนจะต้องตอบรับการตักเตือนนั้น ๆ เพราะหากเป็นเช่นนี้จะถือว่าท่านเป็นผู้อธรรม มิใช่ผู้ตักเตือน อิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« عُرِضَتْ عَلَىَّ الأُمَمُ، فَرَأَيْتُ النَّبِىَّ وَمَعَهُ الرُّهَيْطُ، وَالنَّبِىَّ وَمَعَهُ الرَّجُلُ وَالرَّجُلاَنِ، وَالنَّبِىَّ لَيْسَ مَعَهُ أَحَدٌ » [رواه مسلم برقم 220]
ความว่า “บรรดาประชาชาติต่าง ๆ ถูกนำมาให้ฉันเห็น ซึ่งฉันเห็นนบีบางท่าน มีผู้ตามท่านเพียงกลุ่มเล็ก ๆ นบีบางท่านมีผู้ตามเพียงหนึ่งหรือสองคน ในขณะที่บางท่านก็ไม่มีผู้ตามเลยแม้แต่คนเดียว” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 220)