เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

أمين بن عبد الله الشقاوي

วันที่ :

Sat, Sep 03 2016

ประเภท :

About Quran & Hadith

ผู้ศรัทธาต้องน้อมรับคำสั่งอัลลอฮฺและเราะสูล

ผู้ศรัทธาต้องน้อมรับคำสั่งอัลลอฮฺและเราะสูล
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 


ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 

 

แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
มุลกอฮฺ

 

 

2015 - 1436
 
فوائد من قوله تعالى: ﴿ وَمَا كَانَ لِمُؤۡمِنٖ وَلَا مُؤۡمِنَةٍ﴾ [الأحزاب: ٣٦]  
« باللغة التايلاندية »

 


د. أمين بن عبدالله الشقاوي

 


ترجمة: حسنى فوانجسيري
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

 

 

 

2015 - 1436
 
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

ผู้ศรัทธาต้องน้อมรับคำสั่งอัลลอฮฺและเราะสูล
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงประทานอัลกุรอานลงมาเพื่อเป็นแนวทางให้แก่เรา และเพื่อให้เราปฏิบัติตาม พระองค์ตรัสว่า
﴿ أَفَلَا يَتَدَبَّرُونَ ٱلۡقُرۡءَانَ أَمۡ عَلَىٰ قُلُوبٍ أَقۡفَالُهَآ ٢٤ ﴾ [محمد: ٢٤]
“พวกเขามิได้พิจารณาใคร่ครวญอัลกุรอานดอกหรือ? แต่ว่าบนหัวใจของพวกเขามีกุญแจหลายดอกลั่นอยู่” (มุหัมมัด: 24)
และเพื่อเป็นการปฏิบัติตามอายะฮฺข้างต้น เราควรที่จะสดับรับฟังอีกหนึ่งอายะฮฺจากอัลกุรอาน เพื่อที่เราจะได้ใคร่ครวญถึงความหมายและข้อคิดของมัน
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ وَمَا كَانَ لِمُؤۡمِنٖ وَلَا مُؤۡمِنَةٍ إِذَا قَضَى ٱللَّهُ وَرَسُولُهُۥٓ أَمۡرًا أَن يَكُونَ لَهُمُ ٱلۡخِيَرَةُ مِنۡ أَمۡرِهِمۡۗ وَمَن يَعۡصِ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ فَقَدۡ ضَلَّ ضَلَٰلٗا مُّبِينٗا ٣٦ ﴾ [الأحزاب: ٣٦]  
“สำหรับผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิงนั้น เมื่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ได้กำหนดกิจการใดแล้ว พวกเขาจะไม่มีทางเลือกในเรื่องของพวกเขา และผู้ใดไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์แล้ว แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง” (อัลอะหฺซาบ: 36)
อิบนุ กะษีร กล่าวว่า อายะฮฺนี้ครอบคลุมทุก ๆ เรื่อง กล่าวคือ เมื่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ได้บัญญัติหรือกำหนดสิ่งใดแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดสามารถขัดขืนหรือแสวงหาทางเลือกอื่นได้ และจะไม่มีความคิดเห็นหรือคำพูดใด ๆ มาตีเสมอเทียบเคียงได้เป็นอันขาด ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ فَلَا وَرَبِّكَ لَا يُؤۡمِنُونَ حَتَّىٰ يُحَكِّمُوكَ فِيمَا شَجَرَ بَيۡنَهُمۡ ثُمَّ لَا يَجِدُواْ فِيٓ أَنفُسِهِمۡ حَرَجٗا مِّمَّا قَضَيۡتَ وَيُسَلِّمُواْ تَسۡلِيمٗا ٦٥ ﴾ [النساء: ٦٥]  
“มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธา จนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขา แล้วพวกเขาไม่พบความคับใจใด ๆ ในจิตใจของพวกเขา จากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินใจ และพวกเขายอมจำนนด้วยดี” (อันนิสาอ์: 65)
ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงกำชับว่า
﴿ وَمَن يَعۡصِ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ فَقَدۡ ضَلَّ ضَلَٰلٗا مُّبِينٗا ٣٦ ﴾ [الأحزاب: ٣٦]
“และผู้ใดไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์แล้ว แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง” (อัล อะหฺซาบ: 36)
และพระองค์ตรัสอีกว่า
﴿ فَلۡيَحۡذَرِ ٱلَّذِينَ يُخَالِفُونَ عَنۡ أَمۡرِهِۦٓ أَن تُصِيبَهُمۡ فِتۡنَةٌ أَوۡ يُصِيبَهُمۡ عَذَابٌ أَلِيمٌ ٦٣ ﴾ [النور: ٦٣]  
“ดังนั้น บรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของเขา (มุหัมมัด) จงระวังตัวเถิดว่า เคราะห์กรรมจะเกิดขึ้นแก่พวกเขา หรือว่าการลงโทษอันเจ็บปวดนั้นจะเกิดขึ้นแก่พวกเขาเช่นกัน” (อันนูร: 63)
(ตัฟสีรฺอิบนุกะษีรฺ เล่ม 11 หน้า 170)    
ท่านอบู บัรซะฮฺ อัลอัสละมียฺ เล่าว่า
أَنَّ جُلَيْبِيبًا كَانَ امْرَأً يَدْخُلُ عَلَى النِّسَاءِ يَمُرُّ بِهِنَّ وَيُلَاعِبُهُنَّ فَقُلْتُ لِامْرَأَتِي: لَا يَدْخُلَنَّ عَلَيْكُمْ جُلَيْبِيبٌ، فَإِنَّهُ إِنْ دَخَلَ عَلَيْكُمْ لَأَفْعَلَنَّ وَلَأَفْعَلَنَّ. قَالَ: وَكَانَتِ الْأَنْصَارُ إِذَا كَانَ لِأَحَدِهِمْ أَيِّمٌ لَمْ يُزَوِّجْهَا حَتَّى يَعْلَمَ هَلْ لِلنَّبِيِّ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم فِيهَا حَاجَةٌ أَمْ لَا، فَقَالَ: رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم لِرَجُلٍ مِنَ الْأَنْصَارِ: « زَوِّجْنِي ابْنَتَكَ »، فَقَالَ: نِعِمَّ وَكَرَامَةٌ يَا رَسُولَ اللَّهِ، وَنُعْمَ عَيْنِي. فَقَالَ: « إِنِّي لَسْتُ أُرِيدُهَا لِنَفْسِي » قَالَ فَلِمَنْ يَا رَسُولَ اللَّهِ؟ قَالَ: «لِجُلَيْبِيبٍ » قَالَ: فَقَالَ: يَا رَسُولَ اللَّهِ أُشَاوِرُ أُمَّهَا.
فَأَتَى أُمَّهَا، فَقَالَ: رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم يَخْطُبُ ابْنَتَكِ. فَقَالَتْ: نِعِمَّ وَنُعْمَةُ عَيْنِي. فَقَالَ: إِنَّهُ لَيْسَ يَخْطُبُهَا لِنَفْسِهِ، إِنَّمَا يَخْطُبُهَا لِجُلَيْبِيبٍ، فَقَالَتْ: أَجُلَيْبِيبٌ ابْنَهْ؟ أَجُلَيْبِيبٌ ابْنَهْ؟ أَجُلَيْبِيبٌ ابْنَهْ؟ لَا لَعَمْرُ اللَّهِ، لَا تُزَوَّجُهُ. فَلَمَّا أَرَادَ أَنْ يَقُومَ لِيَأْتِيَ رَسُولَ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم لِيُخْبِرَهُ بِمَا قَالَتْ أُمُّهَا، قَالَتِ الْجَارِيَةُ: مَنْ خَطَبَنِي إِلَيْكُمْ؟ فَأَخْبَرَتْهَا أُمُّهَا. فَقَالَتْ: أَتَرُدُّونَ عَلَى رَسُولِ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم أَمْرَهُ، ادْفَعُونِي، فَإِنَّهُ لَمْ يُضَيِّعْنِي. فَانْطَلَقَ أَبُوهَا إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم فَأَخْبَرَهُ، قَالَ: شَأْنُكَ بِهَا. فَزَوَّجَهَا جُلَيْبِيبًا.
قَالَ: فَخَرَجَ رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم فِي غَزْوَةٍ لَهُ، قَالَ: فَلَمَّا أَفَاءَ اللَّهُ عَلَيْهِ، قَالَ لِأَصْحَابِهِ: « هَلْ تَفْقِدُونَ مِنْ أَحَدٍ؟ » قَالُوا: نَفْقِدُ فُلَانًا، وَنَفْقِدُ فُلَانًا. قَالَ: « انْظُرُوا هَلْ تَفْقِدُونَ مِنْ أَحَدٍ؟ » قَالُوا: لَا. قَالَ: «لَكِنِّي أَفْقِدُ جُلَيْبِيبًا» قَالَ: « فَاطْلُبُوهُ فِي الْقَتْلَى ». قَالَ: فَطَلَبُوهُ، فَوَجَدُوهُ إِلَى جَنْبِ سَبْعَةٍ قَدْ قَتَلَهُمْ، ثُمَّ قَتَلُوهُ. فَقَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ، هَا هُوَ ذَا إِلَى جَنْبِ سَبْعَةٍ قَدْ قَتَلَهُمْ، ثُمَّ قَتَلُوهُ، فَأَتَاهُ النَّبِيُّ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم فَقَامَ عَلَيْهِ، فَقَالَ: « قَتَلَ سَبْعَةً وَقَتَلُوهُ، هَذَا مِنِّي وَأَنَا مِنْهُ، هَذَا مِنِّي وَأَنَا مِنْهُ » مَرَّتَيْنِ أَوْ ثَلَاثًا، ثُمَّ وَضَعَهُ رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم عَلَى سَاعِدَيْهِ، وَحُفِرَ لَهُ، مَا لَهُ سَرِيرٌ إِلَّا سَاعِدَا رَسُولِ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم، ثُمَّ وَضَعَهُ فِي قَبْرِهِ. وَلَمْ يُذْكَرْ أَنَّهُ غَسَّلَهُ.
قَالَ ثَابِتٌ: فَمَا كَانَ فِي الْأَنْصَارِ أَيِّمٌ أَنْفَقَ مِنْهَا. وَحَدَّثَ إِسْحَاقُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ أَبِي طَلْحَةَ ثَابِتًا، قَالَ: هَلْ تَعْلَمُ مَا دَعَا لَهَا رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم؟ قَالَ: « اللَّهُمَّ صُبَّ عَلَيْهَا الْخَيْرَ صَبًّا، وَلَا تَجْعَلْ عَيْشَهَا كَدًّا كَدًّا ». قَالَ: فَمَا كَانَ فِي الْأَنْصَارِ أَيِّمٌ أَنْفَقَ مِنْهَا [رواه أحمد برقم 19784 ومسلم برقم 2472]  
“ญุลัยบีบนั้นเป็นคนที่ค่อนข้างจะขี้เล่น และอาจพูดคุยหยอกล้อกับผู้หญิงบ้าง (ดูไม่ค่อยมีเกียรติในสายตาของคนอื่น – ผู้แปล) ฉันจึงกล่าวแก่ภรรยาของฉันว่า อย่าให้ญุลัยบีบเข้ามาในบ้านเป็นอันขาด ไม่เช่นนั้นฉันจะลงโทษอย่างนั้นอย่างนี้
ทั้งนี้ ชาวอันศอรฺในสมัยนั้น หากสตรีคนใดไม่มีสามี (ยังไม่แต่งงานหรือเป็นหม้าย – ผู้แปล) พวกเขาจะไม่ให้นางแต่งงานจนกว่าจะถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เสียก่อนว่าท่านประสงค์จะแต่งงานกับนางหรือไม่ ครั้งหนึ่ง ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ชายชาวอันศอรฺคนหนึ่งว่า ‘ฉันต้องการจะสู่ขอบุตรสาวของท่าน’ เขาตอบว่า ‘ถือเป็นเกียรติแก่ฉันอย่างยิ่งเลยครับท่านเราะสูลุลลอฮฺ’ ท่านเราะสูลจึงกล่าวต่อว่า ‘แต่ฉันไม่ได้เป็นผู้ที่จะแต่งงานกับนาง’ เขาจึงถามท่านว่า ‘แล้วท่านจะสู่ขอนางให้ผู้ใดหรือครับ?’ ท่านตอบว่า ‘ให้ญุลัยบีบ’ เขาจึงตอบว่า ‘โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอกลับไปปรึกษามารดาของนางเสียก่อน’
เมื่อกลับไปหาภรรยาของเขา เขาก็กล่าวแก่นางว่า ‘ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้สู่ขอลูกสาวของเธอ’ นางจึงกล่าวว่า ‘ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับฉัน’ เขาจึงบอกนางว่า ท่านมิได้ต้องการจะแต่งงานเอง แต่จะสู่ขอให้ญุลัยบีบ เมื่อนางทราบเช่นนั้นก็พูดขึ้นซ้ำ ๆ ว่า ‘จะให้ลูกสาวของเราแต่งงานกับญุลัยบีบนะหรือ?! ไม่มีทาง ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันจะไม่ให้ลูกสาวของเราแต่งงานกับเขาเป็นอันขาด!’
เมื่อได้ฟังเช่นนั้น เขาก็เตรียมจะลุกขึ้นเพื่อกลับไปแจ้งให้ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทราบถึงสิ่งที่มารดาของหญิงสาวกล่าว แต่ทันใดนั้น บุตรสาวของทั้งสองก็พูดขึ้นว่า ‘ใครเป็นคนสู่ขอฉันหรือ?’ มารดาของนางจึงเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้นางฟัง นางจึงกล่าวว่า ‘ท่านทั้งสองจะปฏิเสธคำสั่งใช้ของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กระนั้นหรือ? จงทำตามคำสั่งของท่านเถิด เพราะนั่นจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับฉันอย่างแน่นอน’ บิดาของนางจึงกลับไปหาท่านเราะสูล และตอบตกลง ท่านจึงให้นางแต่งงานกับญุลัยบีบ
หลังจากนั้น ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ออกไปทำสงคราม เมื่อได้รับชัยชนะแล้ว ท่านจึงได้ถามบรรดาเศาะหาบะฮฺว่า ‘พวกท่านสูญเสียผู้ใดไปบ้าง?’ พวกเขาตอบว่า ‘เราได้สูญเสียคนนั้นคนนี้’ ท่านจึงถามย้ำอีกครั้งว่า ‘พวกท่านลองตรวจดูอีกครั้ง ว่ามีผู้อื่นอีกหรือไม่’ พวกเขาตอบว่า ‘ไม่มีแล้วครับ’ ท่านจึงกล่าวว่า ‘แต่ฉันเห็นว่าญุลัยบีบได้หายไป พวกท่านจงตามหาเขาในกลุ่มผู้เสียชีวิตเถิด’ เมื่อบรรดาเศาะหาบะฮฺออกตามหา ก็ได้พบเขานอนอยู่ข้าง ๆ อีกเจ็ดศพที่เขาได้สังหารไป จนท้ายที่สุดตัวเขาเองก็ถูกสังหาร บรรดาเศาะหาบะฮฺจึงกลับไปแจ้งท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านจึงเดินไปหาเขาและกล่าวว่า ‘เขาได้สังหารเจ็ดคนนี้ จนสุดท้ายตัวเขาก็ถูกสังหาร เขาเป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางของฉัน และฉันก็อยู่ในแนวทางของเขา’ สองหรือสามครั้ง จากนั้นท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้วางเขาลงบนแขนทั้งสองข้างของท่าน และสั่งให้ขุดหลุมศพให้แก่เขา โดยที่ขณะนั้นมีเพียงแขนทั้งสองข้างของท่านเป็นที่นอน จากนั้นท่านจึงวางร่างของเขาลงในหลุมศพ ทั้งนี้ ท่านไม่ได้อาบน้ำศพแต่อย่างใด
ษาบิต กล่าวว่า หลังจากนั้นไม่มีหญิงหม้ายคนใดที่จะร่ำรวยยิ่งไปกว่านาง (หมายถึงภรรยาของญุลัยบีบ) อิสหาก บิน อับดุลลอฮฺ บิน อบีฏ็อลหะฮฺ ได้กล่าวแก่ษาบิตว่า ท่านรู้หรือไม่ว่าท่านเราะสูลดุอาอ์อะไรให้แก่นาง ท่านกล่าวว่า ‘โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงประทานความดีงามทั้งหลายให้แก่นาง และขอให้นางห่างไกลจากการมีชีวิตที่ยากลำบากด้วยเถิด’ เขากล่าวว่า ดังนั้น จึงไม่มีหญิงหม้ายคนใดในหมู่ชาวอันศอรฺ ที่จะร่ำรวยยิ่งไปกว่านาง” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 19784 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2472)
บทเรียนที่ได้รับจากอายะฮฺนี้คือ
หนึ่ง จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ศรัทธาทุกคน ที่จะต้องน้อมรับและปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ إِنَّمَا كَانَ قَوۡلَ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ إِذَا دُعُوٓاْ إِلَى ٱللَّهِ وَرَسُولِهِۦ لِيَحۡكُمَ بَيۡنَهُمۡ أَن يَقُولُواْ سَمِعۡنَا وَأَطَعۡنَاۚ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ٥١ وَمَن يُطِعِ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ وَيَخۡشَ ٱللَّهَ وَيَتَّقۡهِ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡفَآئِزُونَ ٥٢ ﴾ [النور : ٥١-٥٢]  
“แท้จริงคำกล่าวของบรรดาผู้ศรัทธา เมื่อพวกเขาถูกเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์เพื่อให้ตัดสินระหว่างพวกเขานั้น พวกเขาจะกล่าวว่า เราได้ยินแล้วและเราเชื่อฟังปฏิบัติตาม และชนเหล่านี้พวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ และผู้ใดเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ และเกรงกลัวอัลลอฮฺและยำเกรงพระองค์แล้ว ดังนั้นชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ได้รับชัยชนะ” (อันนูร: 51-52)
สอง บรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม คือแบบอย่างที่ดีเยี่ยมในการรีบเร่งปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺและเราะสูล ท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า “ในสมัยก่อนสุราที่เรารู้จักก็เห็นจะมีแต่สิ่งที่พวกท่านเรียกว่าอัลฟะฎีค (เหล้าที่ได้จากการหมักผลอินทผลัม) นี่แหละ ซึ่งครั้งหนึ่งขณะที่ฉันกำลังรินมันให้แก่ อบูฏ็อลหะฮฺ อบูอัยยูบ และเศาะหาบะฮฺท่านอื่น ๆ ในบ้านของเรา ก็มีชายคนหนึ่งมาหาและกล่าวว่า ‘พวกท่านรู้ข่าวหรือยัง?’ พวกเราตอบว่า ‘ยัง’ เขาจึงกล่าวว่า ‘แท้จริงสุรานั้นได้ถูกบัญญัติให้เป็นสิ่งที่หะรอมแล้ว’ อบูฏ็อลหะฮฺ จึงกล่าวว่า ‘อนัสเอ๋ย จงเทมันทิ้งเสีย’ โดยไม่มีคำถามใด ๆ จากพวกเขาเลยหลังจากได้รับข่าวจากชายคนดังกล่าว” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 4617 มุสลิม หะดีษเลขที่ 1980)
    และอัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ ٱلَّذِينَ ٱسۡتَجَابُواْ لِلَّهِ وَٱلرَّسُولِ مِنۢ بَعۡدِ مَآ أَصَابَهُمُ ٱلۡقَرۡحُۚ لِلَّذِينَ أَحۡسَنُواْ مِنۡهُمۡ وَٱتَّقَوۡاْ أَجۡرٌ عَظِيمٌ ١٧٢ ﴾ [ال عمران: ١٧٢]  
“คือบรรดาผู้ที่ตอบรับอัลลอฮฺและเราะสูล หลังจากที่บาดแผลได้ประสบแก่พวกเขา สำหรับบรรดาผู้กระทำดีในหมู่พวกเขาและมีความยำเกรงนั้น คือรางวัลอันใหญ่หลวง” (อาลอิมรอน: 172)
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวแก่อุรฺวะฮฺว่า “หลานเอ๋ย อัซซุเบรฺพ่อของเจ้า และอบูบักรฺตาของเจ้า ก็เป็นหนึ่งในผู้คนเหล่านั้น คือในสงครามอุหุดนั้น เมื่อพวกมุชริกีนถอยร่นไป ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็เกรงว่าพวกเขาจะกลับมาอีก ท่านจึงกล่าวขึ้นว่า ‘มีใครจะติดตามพวกเขาไปไหม?’ ซึ่งก็มีเศาะหาบะฮฺจำนวนเจ็ดสิบคนรับอาสาที่จะปฏิบัติภารกิจดังกล่าว ในจำนวนนั้นมีอบูบักรฺ และอัซซุเบรฺรวมอยู่ด้วย” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 4077)
สาม การฝ่าฝืนคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺและเราะสูลนั้น เป็นสาเหตุให้หลงผิดและไม่ได้รับทางนำ ทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ وَمَن يَعۡصِ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ فَقَدۡ ضَلَّ ضَلَٰلٗا مُّبِينٗا ٣٦ ﴾ [الأحزاب : ٣٦]
“และผู้ใดไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์แล้ว แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง” (อัลอะหฺซาบ: 36)
สี่ ผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงนั้น เมื่อใดก็ตามที่มีคำสั่งใช้จากอัลลอฮฺและเราะสูล จำเป็นที่พวกเขาจะต้องปฏิบัติตาม และละทิ้งสิ่งต้องห้ามโดยไม่ลังเล เพราะท่านเราะสูลนั้นเป็นผู้ใกล้ชิดกับพวกเขายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเสียอีก
 อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ ٱلنَّبِيُّ أَوۡلَىٰ بِٱلۡمُؤۡمِنِينَ مِنۡ أَنفُسِهِمۡۖ ٦ ﴾ [الأحزاب : ٦]
“นบีนั้นเป็นผู้ใกล้ชิดกับบรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง” (อัล อะหฺซาบ: 6)
ห้า อายะฮฺนี้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า ความเหมาะสมระหว่างหญิงชายที่จะสมรสกันนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหรือฐานะใด ๆ ทว่าขึ้นอยู่กับศาสนา ดังนั้น เราจึงได้เห็นเศาะหาบะฮฺหลายท่านที่เป็นเพียงทาส แต่ได้แต่งงานกับครอบครัวชาวกุเรชที่มีเกียรติ เช่น ท่านเซด บิน หาริษะฮฺ ซึ่งได้แต่งงานกับ ซัยนับ บินตุ ญะหชฺ อัลมิกดาด บิน อัลอัสวัด ซึ่งแต่งงานกับ เฎาะบาอะฮฺ บินตุ อัซซุเบรฺ หรือ บิลาล บิน เราะบาหฺ ที่แต่งงานกับน้องสาวของ อับดุรฺเราะหฺมาน บิน เอาฟฺ
    
والحمد لله رب العالمين،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.