เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

أمين بن عبد الله الشقاوي

วันที่ :

Thu, Sep 01 2016

ประเภท :

Morals & Ethics

การรีบเร่งทำความดี


การรีบเร่งทำความดี

المسارعة إلى الخيرات

< تايلاندية >

        
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัชชะกอวีย์

د. أمين بن عبدالله الشقاوي




 

 
ผู้แปล: อุศนา พ่วงศิริ
ผู้ตรวจทาน: อัสรัน นิยมเดชา
 
ترجمة: حسنى  فوانجسيري
مراجعة: عصران  نيومديشا

การรีบเร่งทำความดี

        

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
สมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ศรัทธาที่จะต้องมีความตื่นตัวและรีบเร่งทำความดี เพราะชีวิตของคนเราช่างสั้นนัก และความตายนั้นก็อยู่ใกล้แค่เอื้อม ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะล่วงรู้ได้เลยว่าความตายจะมาเยือนเขาเมื่อใด? ซึ่งการรีบเร่งทำความดีในที่นี้ หมายถึงการตื่นตัวและมุ่งหน้าสู่การปฏิบัติตามคำสั่งใช้โดยไม่รีรอหรือล่าช้า อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ لَيۡسُواْ سَوَآءٗۗ مِّنۡ أَهۡلِ ٱلۡكِتَٰبِ أُمَّةٞ قَآئِمَةٞ يَتۡلُونَ ءَايَٰتِ ٱللَّهِ ءَانَآءَ ٱلَّيۡلِ وَهُمۡ يَسۡجُدُونَ ١١٣ يُؤۡمِنُونَ بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِ وَيَأۡمُرُونَ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَيَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِ وَيُسَٰرِعُونَ فِي ٱلۡخَيۡرَٰتِۖ وَأُوْلَٰٓئِكَ مِنَ ٱلصَّٰلِحِينَ ١١٤ ﴾ [آل عمران: 113-114]
ความว่า “พวกเขาหาได้เหมือนกันไม่ จากบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นมีกลุ่มชนหนึ่งที่เที่ยงธรรม ซึ่งพวกเขาอ่านบรรดาโองการของอัลลอฮฺในยามค่ำคืน และพร้อมกันนั้นพวกเขาก็สุญูดกัน พวกเขาศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก ใช้ให้ปฏิบัติสิ่งที่ชอบ ห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่ไม่ชอบ และต่างรีบเร่งกันในบรรดาสิ่งที่ดีงาม และชนเหล่านี้แหละอยู่ในหมู่ที่ประพฤติดี” (อาล อิมรอน: 113-114)

และตรัสอีกว่า
﴿ وَسَارِعُوٓاْ إِلَىٰ مَغۡفِرَةٖ مِّن رَّبِّكُمۡ وَجَنَّةٍ عَرۡضُهَا ٱلسَّمَٰوَٰتُ وَٱلۡأَرۡضُ أُعِدَّتۡ لِلۡمُتَّقِينَ ١٣٣﴾ [آل عمران: ١٣٣]
ความว่า “และพวกเจ้าจงรีบเร่งกันไปสู่การอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเจ้า และไปสู่สวรรค์ซึ่งความกว้างของมันนั้น คือบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน โดยที่มันถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง” (อาล อิมรอน:133)

พระองค์ยังได้ตรัสถึงนบีมูซา อะลัยฮิสลาม ว่า
﴿ وَعَجِلۡتُ إِلَيۡكَ رَبِّ لِتَرۡضَىٰ ٨٤ ﴾ [طه: ٨٤]
ความว่า “และข้าพระองค์ได้รีบเร่งมายังพระองค์ โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ ก็เพื่อให้พระองค์ทรงพอพระทัย” (ฏอฮา: 84)

และตรัสถึงนบีซาการียาว่า

﴿ فَٱسۡتَجَبۡنَا لَهُۥ وَوَهَبۡنَا لَهُۥ يَحۡيَىٰ وَأَصۡلَحۡنَا لَهُۥ زَوۡجَهُۥٓۚ إِنَّهُمۡ كَانُواْ يُسَٰرِعُونَ فِي ٱلۡخَيۡرَٰتِ وَيَدۡعُونَنَا رَغَبٗا وَرَهَبٗاۖ وَكَانُواْ لَنَا خَٰشِعِينَ ٩٠ ﴾ [الأنبياء: ٩٠]  
ความว่า “ดังนั้นเราได้ตอบรับการร้องเรียนแก่เขา และเราได้ประทานบุตรแก่เขาคือยะหฺยา และเราได้ปรับปรุงแก้ไขภริยาของเขาให้เป็นปกติแก่เขา แท้จริงพวกเขาแข่งขันกันในการทำความดี และพวกเขาวิงวอนเราด้วยความหวังและความกลัวเกรงในการลงโทษของเรา และพวกเขาเป็นผู้ถ่อมตัวเกรงกลัวต่อเรา” (อัลอันบิยาอ์: 90)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มักจะส่งเสริมประชาชาติของท่านให้รีบเร่งทำความดี เพราะผู้ศรัทธามิอาจทราบได้เลยว่าตัวเขานั้นจะประสบกับโรคภัยไข้เจ็บ ความวุ่นวายต่างๆ หรือความตายเมื่อใด?
อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« بَادِرُوا بِالْأَعْمَالِ فِتَنًا كَقِطَعِ اللَّيْلِ الْمُظْلِمِ: يُصْبِحُ الرَّجُلُ مُؤْمِنًا وَيُمْسِي كَافِرًا، أَوْ يُمْسِي مُؤْمِنًا وَيُصْبِحُ كَافِرًا، يَبِيعُ دِينَهُ بِعَرَضٍ مِنَ الدُّنْيَا » رواه مسلم برقم 118
ความว่า “พวกท่านจงรีบเร่งปฏิบัติความดี ก่อนที่จะเกิดความวุ่นวายโกลาหลดั่งราตรีกาลอันมืดทมิฬ กระทั่งว่าบางคนตื่นเช้ามาในสภาพที่เป็นผู้ศรัทธา แต่เมื่อตกเย็นกลับกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาไปเสีย หรือบางคนในตอนเย็นยังเป็นผู้ศรัทธา แต่เมื่อตื่นขึ้นมาอีกวันก็กลับกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาไป ยอมขายศาสนาเพื่อแลกกับความสุขอันจอมปลอมเพียงน้อยนิดในโลกดุนยา” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 118)

อิบนุอับบาส เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวแก่เศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งว่า
« اغْتَنِمْ خَمْسًا قَبْلَ خَمْسٍ: شَبَابَكَ قَبْلَ هَرَمِكَ، وَصِحَّتَكَ قَبْلَ سَقَمِكَ، وَغِنَاكَ قَبْلَ فَقْرِكَ، وَفَرَاغَكَ قَبْلَ شُغُلِكَ، وَحَيَاتَكَ قَبْلَ مَوْتِكَ » رواه الحاكم برقم 7844
ความว่า “ท่านจงฉกฉวยประโยชน์จากห้าประการ ก่อนที่อีกห้าประการจะมาถึง วัยหนุ่มของท่านก่อนความชราจะมาหา สุขภาพของท่านก่อนที่จะเจ็บป่วย ความร่ำรวยของท่านก่อนที่จะยากจน เวลาว่างของท่านก่อนที่จะมีภาระยุ่งเหยิง และชีวิตของท่านก่อนความตายจะมาเยือน” (บันทึกโดยอัลหากิม หะดีษเลขที่ 7844)

มุศอับ บิน สะอีด เล่าว่า ท่านนบี ศ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« التُّؤَدَةُ فِي كُلِّ شَيْءٍ إِلَّا فِي عَمَلِ الْآخِرَةِ » رواه أبو داود برقم 4810
ความว่า “การไม่เร่งรีบผลีผลามนั้นเป็นสิ่งที่ดีในทุกเรื่อง ยกเว้นเมื่อเป็นการงานที่เกี่ยวกับอาคิเราะฮฺ” (บันทึกโดยอบูดาวุด หะดีษเลขที่ 4810)

ซึ่งบรรดาเศาะหาบะฮฺก็ได้ยึดคำสอนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้อนี้มาปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด ท่านเหล่านั้นจึงต่างแข่งขันกันทำความดี และขวนขวายการงานอาคิเราะฮฺอยู่เสมอ ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَفِي ذَٰلِكَ فَلۡيَتَنَافَسِ ٱلۡمُتَنَٰفِسُونَ ٢٦ ﴾ [المطففين: ٢٦]
ความว่า “และในการนี้ บรรดาผู้แข่งขัน (ที่จะให้ได้มาซึ่งความสุขสำราญนี้) จงแข่งขันกันเถิด” (อัลมุฏ็อฟฟิฟีน: 26)
ท่านอุมัร บิน อัลค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า
أَمَرَنَا رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم يَوْمًا أَنْ نَتَصَدَّقَ، فَوَافَقَ ذَلِكَ مَالًا عِنْدِي، فَقُلْتُ: الْيَوْمَ أَسْبِقُ أَبَا بَكْرٍ، إِنْ سَبَقْتُهُ يَوْمًا، فَجِئْتُ بِنِصْفِ مَالِي، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: « مَا أَبْقَيْتَ لِأَهْلِكَ؟ » قُلْتُ: مِثْلَهُ، قَالَ: وَأَتَى أَبُو بَكْرٍ رضي اللهُ عنه بِكُلِّ مَا عِنْدَهُ، فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: « مَا أَبْقَيْتَ لِأَهْلِكَ؟ » قَالَ: أَبْقَيْتُ لَهُمُ اللَّهَ وَرَسُولَهُ، قُلْتُ: لَا أُسَابِقُكَ إِلَى شَيْءٍ أَبَدًا. رواه أبو داود برقم 1678]  
ความว่า “ในวันหนึ่งท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ใช้ให้พวกเราบริจาคทาน ซึ่งเผอิญว่าช่วงนั้นฉันมีทรัพย์สินอยู่พอดี ฉันจึงกล่าวกับตัวเองว่า ‘ถ้าหากมีวันไหนที่ฉันจะเอาชนะอบูบักรฺได้บ้าง ก็น่าจะวันนี้นี่แหละ’ แล้วฉันก็ได้บริจาคครึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่มีอยู่ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงถามว่า ‘ท่านเหลือสิ่งใดไว้ให้ครอบครัวของท่านหรือ?’ ฉันตอบว่า ‘มีเหลือเท่ากับจำนวนที่บริจาคไปครับ’ แต่แล้วอบูบักรฺก็มาพร้อมกับทรัพย์สินทั้งหมดที่เขามีอยู่ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงถามเขาว่า ‘ท่านเหลือสิ่งใดไว้ให้ครอบครัวของท่านหรือ?’ ท่านอบูบักรฺตอบว่า ‘ฉันเหลืออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ไว้ให้พวกเขา’ ฉัน (อุมัร) จึงกล่าวว่า ‘ฉันคงไม่สามารถเอาชนะท่านได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม’” (บันทึกโดยอบูดาวุด หะดีษเลขที่ 1678)

อับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า “หัวใจของทุกคนนั้นบางช่วงเวลามีความกระตือรือร้นอยากที่จะทำความดี แต่ในบางเวลาก็อาจถดถอย ดังนั้น พวกท่านจงฉวยโอกาสขณะที่หัวใจมีความกระตือรือร้นมุ่งหาความดีงามให้มากที่สุด และยามใดที่หัวใจอ่อนล้าถดถอยก็จงปล่อยให้มันได้พักสักช่วงเวลาหนึ่ง”
อิหม่ามอะหฺมัด บิน หันบัล กล่าวว่า “ทุกๆ สิ่งที่เป็นความดี ควรที่จะรีบเร่งปฏิบัติ”
กวีคนหนึ่งกล่าวว่า
إذَا هَبَّتْ رِيَاحـُــكَ فَاغْتَنِمْهَا    فَـإِنَّ لِكُـلِّ خـَـافِـقَـةٍ سُكــونُ
وَلا تًغْفَلْ عَن الإحْسَانِ فِيها    فَمَا تَدْرِي السكُونُ مَتَى يَكُونُ
وَإنْ دَرَّتْ نِيَـاقُكَ فَاحْتَلِبْهَـا    فَمَـا تَدْرِي الفَصيلُ لمنْ يَكُونُ
                ยามมีพลังอยากทำดีจงรีบฉกฉวยไว้    ทุกสิ่งมีขึ้นก็ย่อมมีลงเป็นแน่แท้    
                เร่งทำความดีให้เต็มที่อย่านิ่งนอนใจ    เพราะไม่รู้เมื่อไรจะถดถอยอ่อนแรง    
                เมื่อนมเต็มเต้าอูฐแล้วก็จงรีดเสีย    คุณไม่รู้หรอกว่าลูกอูฐจะเป็นของใคร
    
ผลของการรีบเร่งทำความดี
(1) ได้เข้าสวนสวรรค์อันสุขสำราญสถาพร อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَٱلسَّٰبِقُونَ ٱلسَّٰبِقُونَ ١٠ أُوْلَٰٓئِكَ ٱلۡمُقَرَّبُونَ ١١ ﴾ [الواقعة: ١٠-١١]
ความว่า “และกลุ่มแนวหน้า คือกลุ่มแนวหน้า เขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ใกล้ชิด” (อัลวากิอะฮฺ: 10-11 )

“อัสสาบิกูน” คือผู้ที่รุดหน้าสู่การทำความดีในดุนยา และในอาคิเราะฮฺพวกเขาก็จะเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งแน่นอนว่าความรวดเร็วในการเข้าสวรรค์ของแต่ละคนนั้นก็ขึ้นอยู่กับผลงานของพวกเขาในดุนยานั่นเอง เพราะการตอบแทนย่อมเป็นไปตามลักษณะการงานของแต่ละคน อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ هَلۡ جَزَآءُ ٱلۡإِحۡسَٰنِ إِلَّا ٱلۡإِحۡسَٰنُ ٦٠ ﴾ [الرحمن: ٦٠]
ความว่า “จะมีการตอบแทนความดีอันใดเล่านอกจากความดี” (อัรเราะหฺมาน: 60)

และตรัสอีกว่า
﴿ ثُمَّ أَوۡرَثۡنَا ٱلۡكِتَٰبَ ٱلَّذِينَ ٱصۡطَفَيۡنَا مِنۡ عِبَادِنَاۖ فَمِنۡهُمۡ ظَالِمٞ لِّنَفۡسِهِۦ وَمِنۡهُم مُّقۡتَصِدٞ وَمِنۡهُمۡ سَابِقُۢ بِٱلۡخَيۡرَٰتِ بِإِذۡنِ ٱللَّهِۚ ذَٰلِكَ هُوَ ٱلۡفَضۡلُ ٱلۡكَبِيرُ ٣٢ ﴾ [فاطر: ٣٢]  
ความว่า “และเราได้ให้คัมภีร์เป็นมรดกสืบทอดมา แก่บรรดาผู้ที่เราคัดเลือกแล้วจากปวงบ่าวของเรา บางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้อธรรมแก่ตัวเอง บางคนในหมู่พวกเป็นผู้เดินสายกลาง และบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้รุดหน้าในการทำความดีทั้งหลาย ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ นั่นคือความโปรดปรานอันใหญ่หลวง” (ฟาฏิร :32)
 
อิบนุ กะษีร กล่าวว่า “(บางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้รุดหน้าในการทำความดีทั้งหลาย) คือ ผู้ที่ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) และสิ่งที่สมควรปฏิบัติ (มุสตะหับ) พร้อมกับงดเว้นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) หลีกห่างจากสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮ) หรือแม้แต่สิ่งที่เป็นที่อนุญาต (มุบาหฺ) บางอย่าง”
อิบนุ อับบาส กล่าวว่า “ผู้ที่รุดหน้าทำความดี (سابق بالخيرات) จะได้เข้าสวรรค์โดยไม่ต้องถูกสอบสวน ส่วนผู้ที่เดินสายกลาง (مقتصد) นั้น จะได้เข้าสวรรค์ด้วยความเมตตาของอัลลอฮฺ ส่วนผู้ที่อธรรมต่อตัวเอง (ظالم لنفسه) รวมถึงผู้ที่มีระดับความดีและความชั่วเท่ากัน (أصحاب الأعراف) นั้น จะได้เข้าสวรรค์ด้วยความช่วยเหลือ (شفاعة) จากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม”

(2) การรีบเร่งปฏิบัติสิ่งที่เป็นข้อบังคับต่างๆ ตามบัญญัติศาสนาให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยนั้น เป็นการปลดภาระให้แก่ตัวเอง อัลฟัฎลฺ บิน อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« مَنْ أَرَادَ الْحَجَّ فَلْيَتَعَجَّلْ فَإِنَّهُ قَدْ تَضِلُّ الضَّالَّةُ وَيَمْرَضُ الْمَرِيضُ وَتَكُونُ الْحَاجَةُ » رواه أحمد برقم 1833
ความว่า “ผู้ใดประสงค์จะเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ก็จงรีบเร่งปฏิบัติเสีย เพราะไม่แน่ว่าทรัพย์สินที่เตรียมไว้อาจจะสูญหาย หรือเขาอาจจะเจ็บป่วย หรืออาจมีเหตุจำเป็นอื่นๆ มาเป็นอุปสรรคได้” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 1833)

(3) ผู้ที่รีบเร่งทำความดีตั้งแต่ต้นเวลานั้น ย่อมดีกว่าผู้ที่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนถึงช่วงท้าย นอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานระบุเป็นข้อยกเว้น อิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า มีผู้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า “การงานใดประเสริฐที่สุดครับ?” ท่านตอบว่า
« الصَّلَاةُ عَلَى وَقْتِهَا » رواه البخاري برقم 527 ومسلم برقم 85
ความว่า “การละหมาดภายในเวลาที่กำหนด” (บันทักโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 527 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 85)

อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَوْ يَعْلَمُ النَّاسُ مَا فِي النِّدَاءِ وَالصَّفِّ الْأَوَّلِ، ثُمَّ لَمْ يَجِدُوا إِلَّا أَنْ يَسْتَهِمُوا عَلَيْهِ لَاسْتَهَمُوا » رواه البخاري برقم 615 ومسلم برقم 437
ความว่า “หากมนุษย์ได้รู้ถึงความดีงามของการอะซานและการละหมาดแถวแรก แล้วพวกเขาไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้นอกจากด้วยวิธีจับสลาก แน่นอนว่าพวกเขาจะต้องพากันจับสลากกัน”  (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 615 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 43)

อบูสะอีด เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَا يَزَالُ قَوْمٌ يَتَأَخَّرُونَ حَتَّى يُؤَخِّرَهُمُ اللَّهُ » رواه مسلم برقم 438
ความว่า “คนกลุ่มหนึ่งจะยังคงล่าช้า (จากการละหมาดแถวแรกๆ) อยู่เรื่อย จนท้ายที่สุดแล้วอัลลอฮฺก็จะทรงให้พวกเขาล่าช้า (ในการได้รับผลตอบแทนและความเมตตาจากพระองค์)” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 438)

(4) การรีบเร่งทำความดีนั้น เป็นการน้อมรับคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱسۡتَجِيبُواْ لِلَّهِ وَلِلرَّسُولِ إِذَا دَعَاكُمۡ لِمَا يُحۡيِيكُمۡۖ  ٢٤ ﴾ [الأنفال: ٢٤]  
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงตอบรับอัลลอฮฺและเราะสูลเถิด เมื่อท่านได้เชิญชวนพวกเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ามีชีวิตชีวาขึ้น” (อัลอันฟาล: 24)

อนัส บิน มาลิก เล่าว่า
فَانْطَلَقَ رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم وَأَصْحَابُهُ حَتَّى سَبَقُوا الْمُشْرِكِينَ إِلَى بَدْرٍ، وَجَاءَ الْمُشْرِكُونَ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: « لَا يُقَدِّمَنَّ أَحَدٌ مِنْكُمْ إِلَى شَيْءٍ حَتَّى أَكُونَ أَنَا دُونَهُ »، فَدَنَا الْمُشْرِكُونَ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: « قُومُوا إِلَى جَنَّةٍ عَرْضُهَا السَّمَاوَاتُ وَالْأَرْضُ ». قَالَ: يَقُولُ عُمَيْرُ بْنُ الْحُمَامِ الْأَنْصَارِيُّ: يَا رَسُولَ اللَّهِ: جَنَّةٌ عَرْضُهَا السَّمَاوَاتُ وَالْأَرْضُ؟ قَالَ: « نَعَمْ » قَالَ: بَخٍ بَخٍ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: « مَا يَحْمِلُكَ عَلَى قَوْلِكَ: بَخٍ بَخٍ؟! » قَالَ: لَا وَاللَّهِ يَا رَسُولَ اللَّهِ! إِلَّا رَجَاءَةَ أَنْ أَكُونَ مِنْ أَهْلِهَا، قَالَ: « فَإِنَّكَ مِنْ أَهْلِهَا » فَأَخْرَجَ تَمَرَاتٍ مِنْ قَرَنِهِ فَجَعَلَ يَأْكُلُ مِنْهُنَّ، ثُمَّ قَالَ: لَئِنْ أَنَا حَيِيتُ حَتَّى آكُلَ تَمَرَاتِي هَذِهِ: إِنَّهَا لَحَيَاةٌ طَوِيلَةٌ، قَالَ: فَرَمَى بِمَا كَانَ مَعَهُ مِنَ التَّمْرِ، ثُمَّ قَاتَلَهُمْ حَتَّى قُتِلَ. رواه مسلم برقم 1901
ความว่า “ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺ ได้ออกเดินทางไปยังบัดรฺและไปถึงที่นั่นก่อนพวกมุชริกีน แล้วท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า ‘คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจงอย่าได้ล่วงหน้าฉันไป’ (เพื่อจะได้ไม่เสียผลประโยชน์ใดๆ ที่พวกท่านอาจไม่ทราบ) แล้วพวกมุชริกีนก็เข้ามาใกล้ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า ‘พวกท่านจงลุกขึ้นไปยังสรวงสวรรค์ ซึ่งความกว้างขว้างของมันนั้นเท่ากับความกว้างของท้องฟ้าทั้งหลายและพื้นพิภพเถิด’ แล้วอุมัยรฺ บิน อัลหุมาม อัลอันศอรีย์ ก็กล่าวขึ้นว่า: ‘ท่านเราะสูลครับ ความกว้างของสวรรค์นั้นเท่ากับความกว้างของท้องฟ้าทั้งหลายและพื้นพิภพอย่างนั้นหรือครับ?’ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตอบว่า ‘ใช่แล้ว’ อุมัยรฺจึงอุทานว่า: ‘บัค บัค’ (เป็นคำที่กล่าวเมื่อรู้สึกชื่นชอบหรือพึงพอใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด) ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า ‘อะไรทำให้ท่านอุทานว่า บัค บัค หรือ?’ เขาตอบว่า: ‘ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ท่านเราะสูลครับที่ฉันกล่าวเช่นนั้นมิได้มีเจตนาอื่นใด เพียงแต่ฉันปรารถนาที่จะเป็นผู้หนึ่งจากบรรดาชาวสวรรค์’ ท่านเราะสูลกล่าวว่า ‘ท่านจะได้เป็นผู้หนึ่งจากบรรดาชาวสวรรค์’ จากนั้นเขาก็นำอินทผลัมแห้งออกมาจากกระบอกธนู แล้วก็รับประทานไปบางเม็ด แล้วเขาก็กล่าวว่า: ‘ถ้าหากว่าฉันมีชีวิตอยู่จนกระทั่งรับประทานอินทผลัมพวกนี้หมด มันก็คงเป็นชีวิตที่ยืนยาวเกินไปแล้ว’ ว่าแล้วเขาก็ทิ้งอินทผลัมที่เขามี แล้วออกสู้รบกับพวกมุชริกีนกระทั่งถูกสังหาร” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1901)

ท้ายนี้ขอจบบทความด้วยอายะฮฺอัลกุรอาน ที่อัลลอฮฺได้ทรงระบุว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺที่เข้ารับอิสลามก่อนสงครามพิชิตมักกะฮฺนั้น มีความประเสริฐกว่าผู้ที่เข้ารับอิสลามในภายหลัง พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَمَا لَكُمۡ أَلَّا تُنفِقُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَلِلَّهِ مِيرَٰثُ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِۚ لَا يَسۡتَوِي مِنكُم مَّنۡ أَنفَقَ مِن قَبۡلِ ٱلۡفَتۡحِ وَقَٰتَلَۚ أُوْلَٰٓئِكَ أَعۡظَمُ دَرَجَةٗ مِّنَ ٱلَّذِينَ أَنفَقُواْ مِنۢ بَعۡدُ وَقَٰتَلُواْۚ وَكُلّٗا وَعَدَ ٱللَّهُ ٱلۡحُسۡنَىٰۚ ١٠ ﴾ [الحديد: ١٠]  
ความว่า “และไฉนเล่าพวกเจ้าจึงไม่บริจาคในหนทางของอัลลอฮฺ ทั้ง ๆ ที่มรดกแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้เป็นของอัลลอฮฺ ในหมู่พวกเจ้านั้นมีผู้บริจาคและได้ต่อสู้ (ในหนทางของอัลลอฮฺ) ก่อนการพิชิต (นครมักกะฮฺ) ชนเหล่านั้นย่อมมีฐานะสูงกว่าบรรดาผู้บริจาคและต่อสู้หลังการพิชิต และอัลลอฮฺทรงสัญญาความดีงาม (สวนสวรรค์) แก่ทั้งสองฝ่าย” (อัลหะดีด: 10)

والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.