เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

Fuaad Zaidan

วันที่ :

Sat, Sep 03 2016

ประเภท :

About Quran & Hadith

เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ


เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 


ฟุอาด ซัยดาน


แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม  อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อะฮฺดาฟ กุลลิ สูเราะฮฺ มิน อัลกุรอาน

 


2011 - 1432
 

 

﴿ أهداف سورة البقرة ﴾
« باللغة التايلاندية »

 

 

فؤاد زيدان

 

ترجمة: محمد صبري  يعقوب
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب أهداف كل سورة من القرآن

 


2011 - 1432
 

 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พรอันประเสริฐและความศานติจงมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ
سُورَةُ البَقَرَةِ
เป้าหมายของสูเราะฮฺ : การได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินและแนวทางปฏิบัติ
    สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ ประกอบด้วย 286 อายะฮฺ ถือเป็นสูเราะฮฺแรกที่ถูกประทาน ณ เมืองมะดีนะฮฺหลังจากการอพยพของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม พร้อมๆกับการเริ่มต้นสร้างรากฐานของประชาชาติอิสลาม (สูเราะฮฺ มะดะนียะฮฺ หรือบทที่ถูกประทานลงมาหลังการอพยบไปยังมะดีนะฮฺ มักจะให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนบัญญัติ) เป็นสูเราะฮฺที่มีเนื้อหายาวที่สุด และเป็นสูเราะฮฺแรกที่ถูกจัดอันดับหลังจากสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ ส่วนความประเสริฐของสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺและผลานิสงส์ในการอ่านมันนั้น มีปรากฏการรายงานหะดีษที่เศาะฮีหฺอย่างมากมาย เช่น ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า
«يُؤْتَى بِالْقُرْآنِ يَوْم الْقِيَامَة وَأَهْلِهِ الَّذِينَ كَانُوا يَعْمَلُونَ بِهِ، تَقْدُمُهُمْ سُورَةُ الْبَقَرَةِ وَآلَ عِمْرَانَ تُحَاجَّانِ عَنْ صَاحِبِهِمَا» [مسلم برقم 1912]
ความว่า "ในวันกิยามะฮฺอัลกุรอานจะถูกนำมาพร้อมสมาชิกที่ได้ปฎิบัติตามอัลกุรอาน นำโดยสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ และอาล อิมรอน เป็นแถวปกป้องเจ้าของของทั้งสอง" (บันทึกโดย มุสลิม : 1912)

    ในบางสายรานงานระบุว่า
«كَأَنَّهُمَا غَمَامَتَانِ  أَوْ كَأَنَّهُمَا غَيَايَتَانِ»
    ความว่า “จะมาเสมือนเป็นเมฆหรือให้ความร่มเงา”

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวอีกว่า
«لَا تَـجْعَلُوا بُيُوتَـكُمْ مَقَابِرَ، إنَّ الشَّيْطَانَ يَنْفِرُ مِنَ البَيْتِ الَّذِي تُقْرَأُ فِيهِ سُورَةُ البَقَرَةِ» [مسلم برقم 780]
ความว่า "อย่าได้ทำให้บ้านของพวกท่านเป็นเหมือนสุสาน(คือไม่มีการอ่านอัลกุรอานและทำอิบาดะฮฺในบ้าน) แท้จริงแล้วชัยฏอนจะหนีออกจากบ้านที่มีการอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ"  (บันทึกโดย มุสลิม : 780)

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวอีกว่า
«اقْرَؤُوا سُورَةَ البَقَرَةِ، فَإنَّ أَخْذَهَا بَرَكَةٌ، وَتَرْكَهَا حَسْرَةٌ، وَلَا يَسْتَطِيعُهَا البَطَلَةُ» [مسلم برقم 804]
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ เพราะการอ่านมันนั้นเป็นความบะเราะกะฮฺ(จำเริญ) การละเลยต่อสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ(ไม่อ่าน)ถือว่าขาดทุน และผู้ที่ปลุกเสกคุณไสยไม่อาจชนะสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺได้” (บันทึกโดย มุสลิม : 804)

    เป้าหมายของสูเราะฮฺ กล่าวถึง การได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดิน (มนุษย์มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นบนหน้าแผ่นดิน) ด้วยเหตุนี้เอง(สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ)จึงถูกจัดเป็นอันดับแรก ๆ ของคัมภีร์เล่มนี้ โดยแน่นอนแผ่นดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลล์ พระองค์คือผู้สร้างสรรค์มันขึ้นมา และพระองค์ก็ประสงค์ให้มันดำเนินให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระองค์ โดยจำเป็นที่บนหน้าแผ่นดินนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ(ในการปกครองมัน) ซึ่งอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา เคยให้กลุ่มชนต่างๆ อย่างมากมายก่อนหน้าท่านนบีอาดัมได้เป็นตัวแทน(ในการปกครองมัน)มาแล้ว และภายหลังจากท่านนบีอาดัมก็เช่นเดียวกัน บางกลุ่มในหมู่พวกเขาก็ประสบกับความล้มเหลวในการเป็นตัวแทนในแผ่นดินอันกว้างใหญ่นี้ ส่วนอีกบางกลุ่มก็ประสบกับความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่เราได้อ่านสูเราะฮฺนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมีความรู้สึกที่จะรับผิดชอบในการปกครองบนหน้าแผ่นดินนี้
    ดังที่เรากล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า เป้าหมายของสูเราะฮฺนี้คือ การได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้ ซึ่งสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺคือสูเราะฮฺแรกที่ถูกจัดอันดับของคัมภีร์เล่มนี้ และเป็นสูเราะฮฺแรกที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ณ เมืองมะดีนะฮฺ พร้อมๆ กับการเริ่มต้นในการสร้างรากฐานและก่อร่างรัฐอิสลามใหม่ เมื่อเป็นเช่นนั้นจำเป็นที่บรรดาผู้ศรัทธาต้องรับรู้ว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง และสิ่งใดบ้างที่เขาต้องคอยระวัง ซึ่งการรับผิดชอบในหน้าที่ ณ ที่นี้ หมายรวมว่า การที่เราได้เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ทรงประสงค์ และการปฏิบัติตามในข้อสั่งใช้และการละทิ้งข้อห้ามต่างๆ ของพระองค์
    สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน นั่นคือ
     1.บทนำ
2.ภาคที่หนึ่ง
3.ภาคที่สอง
4.บทสรุป
ซึ่งข้าพเจ้าจะอธิบายขยายความเป้าหมายของแต่ละบทอย่างพอสังเขป ดังนี้
    
บทนำ
มีเนื้อหาที่สาธยายถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งปรากฏอยู่ในส่วน(รุบุอฺ)ที่หนึ่งนับตั้งแต่อายะฮฺที่ 1-29
    ส่วน(รุบุอฺ)ที่หนึ่ง : (สาธยายถึง)คุณลักษณะต่างๆของมนุษย์
    - บรรดาผู้ยำเกรง(มุตตะกีน) : อายะฮฺที่ 1-5
    - บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา(อัล-กาฟิรูน) : อายะฮฺที่ 6-7
    - บรรดาผู้กลับกลอก(มุนาฟิกีน) : อายะฮฺที่ 8-20  ซึ่งการกล่าวถึงคุณลักกษณะของบรรดาผู้กลับกลอกอย่างยืดยาวนั้น ก็เพื่อเป็นการตักเตือนถึงพิษภัยที่อันตรายและการสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงของพวกเขา เนื่องจากพวกเขาได้เสแสร้งแสดงตัวเป็นผู้ศรัทธาและซ่อนการปฏิเสธศรัทธาไว้ และถือได้ว่าพวกเขา(มีพิษภัยที่อันตราย)ยิ่งกว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเสียอีก
    
ภาคที่หนึ่ง
หลังจากนั้น(สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ)ก็ดำเนินไปสู่ “บทที่หนึ่ง” ของสูเราะฮฺ นั่นคือส่วนที่เหลือของญุซอ์ที่หนึ่ง(นับตั้งแต่อายะฮฺที่ 30-141) ซึ่งมีเนื้อหาหลัก ๆ ดังนี้
    1.1  ส่วน(รุบุอฺ)ที่สอง : (สาธยายถึง) การได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินของท่านนบีอาดัม(ซึ่งเป็นบททดสอบในครั้งเริ่มแรก)
﴿وَإِذۡ قَالَ رَبُّكَ لِلۡمَلَٰٓئِكَةِ إِنِّي جَاعِلٞ فِي ٱلۡأَرۡضِ خَلِيفَةٗۖ ٣٠ ﴾ [البقرة : 30]
ความว่า “จงรำลึกถึงเวลาที่พระผู้อภิบาลของเจ้า ได้กล่าวกับมลาอิกะฮฺว่า ฉันจะแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งขึ้นบนหน้าแผ่นดิน” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 30)

และอัลลอฮฺ ผู้ทรงอ่อนโยน สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ติดตามอายะฮฺข้างต้นนี้ด้วยกับ
﴿وَعلَّمَ ءَادَمَ ٱلۡأَسۡمَآءَ كُلَّهَا ثُمَّ عَرَضَهُمۡ عَلَى ٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ فَقَالَ أَنۢبِ‍ُٔونِي بِأَسۡمَآءِ هَٰٓؤُلَآءِ إِن كُنتُمۡ صَٰدِقِينَ ٣١﴾ [البقرة : 31]
ความว่า “แล้วพระองค์ ได้ทรงสอนอาดัม ถึงนามของทุกสรรพสิ่ง หลังจากนั้นพระองค์ ได้ทรงนำมันมาเสนอต่อมลาอิกะฮฺ และถามว่า จงบอกแก่ฉันซึ่งชื่อของสิ่งเหล่านี้ ถ้าสูเจ้าแน่ใจ (ในการคิดว่า การแต่งตั้งตัวแทน จะก่อให้เกิดความวุ่นวายเสียหาย)” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 31)

    อายะฮฺเหล่านี้เป็นแก่นที่สื่อถึงนัยว่า ถ้าหากท่านปรารถนาที่จะเป็นผู้รับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ จำเป็นที่ท่านต้องมีความรู้ ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา จึงสอนบรรดานามของทุกสรรพสิ่ง และพระองค์ทรงสอนการใช้ชีวิตว่าจะดำเนินไปอย่างไร  พระองค์ยังทรงสอนเทคนิคในการใช้ชีวิต ทั้งยังสอนปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดิน
﴿ٱلَّذِي جَعَلَ لَكُمُ ٱلۡأَرۡضَ فِرَٰشٗا وَٱلسَّمَآءَ بِنَآءٗ وَأَنزَلَ مِنَ ٱلسَّمَآءِ مَآءٗ فَأَخۡرَجَ بِهِۦ مِنَ ٱلثَّمَرَٰتِ رِزۡقٗا لَّكُمۡۖ فَلَا تَجۡعَلُواْ لِلَّهِ أَندَادٗا وَأَنتُمۡ تَعۡلَمُونَ ٢٢ ﴾ [البقرة : 22]
ความว่า “คือผู้ทรงให้แผ่นดินเป็นที่นอนและฟ้าเป็นอาคารแก่พวกเจ้า และทรงให้น้ำหลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วได้ทรงให้บรรดาผลไม้ออกมา เนื่องด้วยน้ำนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าให้มีภาคีผู้เท่าเทียมใดๆ ขึ้นสำหรับอัลลอฮฺ โดยที่พวกเจ้าก็รู้กันอยู่” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 22)

และนี่เป็นข้อแนะนำแก่ประชาชาติอิสลาม หากพวกเขาปรารถนาที่จะแบกรับหน้าที่ในการรับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ ซึ่งจำเป็นที่เขาต้องมีความรู้ควบคู่ไปกับการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ประหนึ่งว่าบททดสอบของท่านนบีอาดัมก็คือบททดสอบเพื่อเป็นการอบรมสั่งสอนมนุษย์เกี่ยวกับกระบวนการรับผิดชอบในหน้าที่บนหน้าแผ่นดินนี้ว่าควรเป็นไปเช่นไร
หลังจากนั้นก็ติดตามด้วยอายะฮฺนี้
﴿فَأَزَلَّهُمَا ٱلشَّيۡطَٰنُ عَنۡهَا فَأَخۡرَجَهُمَا مِمَّا كَانَا فِيهِۖ وَقُلۡنَا ٱهۡبِطُواْ بَعۡضُكُمۡ لِبَعۡضٍ عَدُوّٞۖ وَلَكُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ مُسۡتَقَرّٞ وَمَتَٰعٌ إِلَىٰ حِينٖ ٣٦﴾ [البقرة : 36]
ความว่า “แต่ต่อมา มารร้ายได้หลอกลวงทั้งสองด้วยต้นไม้นั้น (เพื่อมิให้เชื่อฟังคำบัญชาของเรา) และได้นำเขาทั้งสองออกจากสภาพที่เคยอยู่ และเราได้ประกาศว่า เจ้าทั้งหมดจงออกไปจากที่นี่ เจ้าต่างเป็นศัตรูกัน และเจ้าจะมีที่พัก และปัจจัยยังชีพบนโลก ชั่วระยะเวลาหนึ่ง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 36)

ซึ่งเป็นข้อแนะนำให้แก่เราอีกว่า ความโปรดปรานต่างๆ นั้นย่อมมลายหายไปด้วยกับการฝ่าฝืนอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา และได้ปิดท้ายเรื่องราวของท่านนบีอาดัมด้วยกับอายะฮฺที่สำคัญอย่างยิ่งนั้นคือ
﴿قُلۡنَا ٱهۡبِطُواْ مِنۡهَا جَمِيعٗاۖ فَإِمَّا يَأۡتِيَنَّكُم مِّنِّي هُدٗى فَمَن تَبِعَ هُدَايَ فَلَا خَوۡفٌ عَلَيۡهِمۡ وَلَا هُمۡ يَحۡزَنُونَ ٣٨﴾ [البقرة : 38]
ความว่า “(ก่อนที่อาดัมจะออกจากสวนสวรรค์) เราได้กล่าวว่า เจ้าทั้งหมดจงออกไปจากที่นี่ และถ้ามีทางนำจากฉันมายังเจ้า แล้วผู้ใดปฏิบัติตามทางนำของฉัน พวกเขาก็จะไม่มีความหวาดกลัว และพวกเขาจะไม่ระทม” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 38)

มันเป็นการตอกย้ำถึงสิ่งที่มีอยู่ในช่วงต้นของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ
﴿هُدٗى لِّلۡمُتَّقِينَ ٢ ﴾ [البقرة : 2]
ความว่า “เป็นคำแนะนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงเท่านั้น” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2)

 ซึ่งมีข้อเกี่ยวพันกับสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ
﴿اهۡدِنَا ٱلصِّرَٰطَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ ٦﴾ [الفاتحة : 6]
ความว่า “ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง” (อัล-ฟาติหะฮฺ 6)
    
    1.2  ส่วน(รุบุอฺ)ที่ 3 ถึง 7 : ตัวอย่างของความล้มเหลวในการเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดิน
นั่นคือเรื่องราวของบนีอิสรออีลที่พวกเขาได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้ แต่แล้วพวกเขาก็ได้ก่อความเสียหายขึ้นมา
﴿يَٰبَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ ٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتِيَ ٱلَّتِيٓ أَنۡعَمۡتُ عَلَيۡكُمۡ وَأَنِّي فَضَّلۡتُكُمۡ عَلَى ٱلۡعَٰلَمِينَ ٤٧﴾ [البقرة : 47]
ความว่า “วงศ์วานของอิสรออีลเอ๋ย จงรำลึก ถึงความโปรดปรานของฉัน ที่ฉันได้ให้แก่สูเจ้า และจงจำไว้ว่า ฉันได้ยกย่องสูเจ้าเหนือประชาชาติทั้งหลาย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 47)

    ประโยคแรกที่สาธยายถึงเรื่องราวของบนีอิสรออีล นั้นคือ
﴿أَنِّي فَضَّلۡتُكُمۡ عَلَى ٱلۡعَٰلَمِينَ﴾
ความว่า “ฉันได้ยกย่องสูเจ้า เหนือประชาชาติทั้งหลาย”

กล่าวคือ พวกเขามีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ ส่วนประโยคแรกที่สาธยายถึงเรื่องราวของท่านนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม คือ
﴿إِنِّي جَاعِلٞ فِي ٱلۡأَرۡضِ خَلِيفَةٗۖ ٣٠﴾
ความว่า “ฉันจะแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งขึ้นบนหน้าแผ่นดิน”

กล่าวคือ ท่านมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ และประโยคแรกที่สาธยายถึงเรื่องราวบนีอิสรออีลคือ
﴿ٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتِيَ ٱلَّتِيٓ أَنۡعَمۡتُ عَلَيۡكُمۡ﴾
ความว่า “จงรำลึก ถึงความโปรดปรานของฉัน ที่ฉันได้ให้แก่สูเจ้า”

และประโยคแรกของสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺคือ
﴿ٱلۡحَمۡدُ لِلَّهِ رَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٢﴾
ความว่า “การสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก”

กล่าวคือ การสรรเสริญ(ต่ออัลลอฮ)ในนิอฺมะฮฺหรือความโปรดปรานต่างๆ ดังนั้น(ก็เข้าใจได้ว่า)อัลกุรอานนั้นเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงนิอฺมะฮฺและความตระหนักสำนึกถึงนิอฺมะฮฺ และเรื่องราวของบนีอิสรออีลก็ได้เริ่มต้นด้วยการพูดถึงนิอฺมะฮฺของอัลลอฮฺเช่นเดียวกัน

    อายะฮฺที่ 49,50,51,52 ได้กล่าวถึงความโปรดปรานนานัปการที่บนีอิสรออีลได้รับ
﴿وَإِذۡ نَجَّيۡنَٰكُم مِّنۡ ءَالِ فِرۡعَوۡنَ يَسُومُونَكُمۡ سُوٓءَ ٱلۡعَذَابِ يُذَبِّحُونَ أَبۡنَآءَكُمۡ وَيَسۡتَحۡيُونَ نِسَآءَكُمۡۚ وَفِي ذَٰلِكُم بَلَآءٞ مِّن رَّبِّكُمۡ عَظِيمٞ ٤٩ وَإِذۡ فَرَقۡنَا بِكُمُ ٱلۡبَحۡرَ فَأَنجَيۡنَٰكُمۡ وَأَغۡرَقۡنَآ ءَالَ فِرۡعَوۡنَ وَأَنتُمۡ تَنظُرُونَ ٥٠ وَإِذۡ وَٰعَدۡنَا مُوسَىٰٓ أَرۡبَعِينَ لَيۡلَةٗ ثُمَّ ٱتَّخَذۡتُمُ ٱلۡعِجۡلَ مِنۢ بَعۡدِهِۦ وَأَنتُمۡ ظَٰلِمُونَ ٥١ ثُمَّ عَفَوۡنَا عَنكُم مِّنۢ بَعۡدِ ذَٰلِكَ لَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ ٥٢﴾ [البقرة : 49-52]
ความว่า “และจงรำลึกถึง ขณะที่เราได้ช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากพวกพ้องของฟิรเอาน์ โดยที่พวกเขาบังคับขู่เข็ญพวกเจ้าด้วยการทรมานอันร้ายแรง พวกเขาเชือดบรรดาลูกผู้ชายของพวกเจ้า และไว้ชีวิตบรรดาลูกผู้หญิงของพวกเจ้า และในเรื่องนั้น คือการทดสอบอันสำคัญจากพระเจ้าของพวกเจ้า(49) และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้แยกทะเลออกให้พวกเจ้า แล้วเราได้ช่วยพวกเจ้าให้รอดพ้น และได้ให้พวกฟิรเอาน์จมน้ำตายขณะที่พวกเจ้ามองดูอยู่ (50) และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้สัญญาแก่มูซาไว้สี่สิบคืน แล้วพวกเจ้าได้ยึดถือลูกวัวตัวนั้น(เป็นภาคีในการอิบาดะฮฺ) ณ เบื้องหลังเขา และพวกเจ้านั้นคือผู้อธรรม (51) แล้วเราก็ได้ให้อภัยแก่พวกเจ้าหลังจากนั้น เพื่อว่าพวกเจ้าจักขอบคุณ (52)” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 49-52)
    
นอกจากนี้มีการนำเสนอข้อผิดพลาดของบนีอิสรออีล เพื่อเป็นบทเรียนในการพัฒนาประชาชาติอิสลามในอายะฮฺที่ 55-61
﴿وَإِذۡ قُلۡتُمۡ يَٰمُوسَىٰ لَن نُّؤۡمِنَ لَكَ حَتَّىٰ نَرَى ٱللَّهَ جَهۡرَةٗ فَأَخَذَتۡكُمُ ٱلصَّٰعِقَةُ وَأَنتُمۡ تَنظُرُونَ ٥٥ ثُمَّ بَعَثۡنَٰكُم مِّنۢ بَعۡدِ مَوۡتِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ ٥٦ وَظَلَّلۡنَا عَلَيۡكُمُ ٱلۡغَمَامَ وَأَنزَلۡنَا عَلَيۡكُمُ ٱلۡمَنَّ وَٱلسَّلۡوَىٰۖ كُلُواْ مِن طَيِّبَٰتِ مَا رَزَقۡنَٰكُمۡۚ وَمَا ظَلَمُونَا وَلَٰكِن كَانُوٓاْ أَنفُسَهُمۡ يَظۡلِمُونَ ٥٧ وَإِذۡ قُلۡنَا ٱدۡخُلُواْ هَٰذِهِ ٱلۡقَرۡيَةَ فَكُلُواْ مِنۡهَا حَيۡثُ شِئۡتُمۡ رَغَدٗا وَٱدۡخُلُواْ ٱلۡبَابَ سُجَّدٗا وَقُولُواْ حِطَّةٞ نَّغۡفِرۡ لَكُمۡ خَطَٰيَٰكُمۡۚ وَسَنَزِيدُ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ٥٨ فَبَدَّلَ ٱلَّذِينَ ظَلَمُواْ قَوۡلًا غَيۡرَ ٱلَّذِي قِيلَ لَهُمۡ فَأَنزَلۡنَا عَلَى ٱلَّذِينَ ظَلَمُواْ رِجۡزٗا مِّنَ ٱلسَّمَآءِ بِمَا كَانُواْ يَفۡسُقُونَ ٥٩ ۞وَإِذِ ٱسۡتَسۡقَىٰ مُوسَىٰ لِقَوۡمِهِۦ فَقُلۡنَا ٱضۡرِب بِّعَصَاكَ ٱلۡحَجَرَۖ فَٱنفَجَرَتۡ مِنۡهُ ٱثۡنَتَا عَشۡرَةَ عَيۡنٗاۖ قَدۡ عَلِمَ كُلُّ أُنَاسٖ مَّشۡرَبَهُمۡۖ كُلُواْ وَٱشۡرَبُواْ مِن رِّزۡقِ ٱللَّهِ وَلَا تَعۡثَوۡاْ فِي ٱلۡأَرۡضِ مُفۡسِدِينَ ٦٠ وَإِذۡ قُلۡتُمۡ يَٰمُوسَىٰ لَن نَّصۡبِرَ عَلَىٰ طَعَامٖ وَٰحِدٖ فَٱدۡعُ لَنَا رَبَّكَ يُخۡرِجۡ لَنَا مِمَّا تُنۢبِتُ ٱلۡأَرۡضُ مِنۢ بَقۡلِهَا وَقِثَّآئِهَا وَفُومِهَا وَعَدَسِهَا وَبَصَلِهَاۖ قَالَ أَتَسۡتَبۡدِلُونَ ٱلَّذِي هُوَ أَدۡنَىٰ بِٱلَّذِي هُوَ خَيۡرٌۚ ٱهۡبِطُواْ مِصۡرٗا فَإِنَّ لَكُم مَّا سَأَلۡتُمۡۗ وَضُرِبَتۡ عَلَيۡهِمُ ٱلذِّلَّةُ وَٱلۡمَسۡكَنَةُ وَبَآءُو بِغَضَبٖ مِّنَ ٱللَّهِۗ ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمۡ كَانُواْ يَكۡفُرُونَ بِ‍َٔايَٰتِ ٱللَّهِ وَيَقۡتُلُونَ ٱلنَّبِيِّ‍ۧنَ بِغَيۡرِ ٱلۡحَقِّۗ ذَٰلِكَ بِمَا عَصَواْ وَّكَانُواْ يَعۡتَدُونَ ٦١﴾ [البقرة : 55-61]
ความว่า “และจงรำลึกถึง ขณะที่พวกเจ้ากล่าวว่า โอ้มูซา ! เราจะไม่ศรัทธาต่อท่านเป็นอันขาด จนกว่าเราจะได้เห็นอัลลอฮฺโดยเปิดเผย แล้วสายฟ้าฝ่าก็ได้คร่าพวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้ามองดูกันอยู่ (55) ภายหลังเราได้ให้พวกเจ้าคืนชีพ หลังจากที่พวกเจ้าได้ตายไปแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจักขอบคุณ (56) และเราได้ให้เมฆบดบังพวกเจ้า และได้ให้อัล-มันน์(น้ำหวานคล้ายน้ำผึ้ง)และอัส-สัลวา(นกคุ้มประเภทหนึ่ง)แก่พวกเจ้า พวกเจ้าจงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าจากสิ่งดีๆ เถิด และพวกเขาหาได้อธรรมแก่เราไม่ แต่ทว่าพวกเขาอธรรมแก่ตัวของพวกเขาเองต่างหาก (57) และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้กล่าวว่า พวกเจ้าจงเข้าไปในเมืองนี้ แล้วจงบริโภคจากเมืองนั้นอย่างกว้างขวาง ณ ที่ที่พวกเจ้าปรารถนา และจงเข้าประตูนั้น ไปในสภาพผู้โน้มศีรษะลงด้วยความนอบน้อม และจงกล่าวว่า “หิฏเฏาะฮฺ” เราก็จะอภัยโทษให้แก่พวกเจ้าซึ่งบรรดาความผิดของพวกเจ้า และเราจะเพิ่มพูนแก่บรรดาผู้กระทำความดี (58) แล้วบรรดาผู้อธรรมเหล่านั้น ได้เปลี่ยนเอาคำพูดหนึ่งซึ่งมิใช่คำพูดที่ถูกกล่าวแก่พวกเขา เราจึงได้ให้การลงโทษจากฟากฟ้าลงมาแก่บรรดาผู้อธรรมเหล่านั้น เนื่องจากการที่พวกเขาละเมิด (59) และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้ขอน้ำให้แก่กลุ่มชนของพวกเขา แล้วเราได้กล่าวว่า เจ้าจงตีหินด้วยไม้เท้าของเจ้า แล้วตาน้ำสิบสองตาก็พุ่งออกจากหินนั้น แน่นอนกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม ย่อมรู้แหล่งน้ำดื่มของตน พวกเจ้าจงกินและจงดื่มจากปัจจัยยังชีพของอัลลอฮฺ และจงอย่าก่อกวนในผืนแผ่นดินในฐานะผู้บ่อนทำลาย (60) และจงรำลึกถึงขณะที่พวกเจ้ากล่าวว่า โอ้มูซา ! เราไม่สามารถจะอดทนต่ออาหารชนิดเดียวอีกต่อไปได้ ดังนั้นจงวิงวอนต่อพระเจ้าของท่านให้แก่เราเถิด พระองค์จะทรงให้ออกมาแก่เราจากสิ่งที่แผ่นดินให้งอกเงยขึ้น อันได้แก่พืชผัก แตงกวา กระเทียม ถั่ว และหัวหอม มูซาได้กล่าวว่าพวกท่านจะขอเปลี่ยนเอาสิ่งที่มันเลวกว่า กับสิ่งที่มันดีกว่ากระนั้นหรือ? พวกท่านจงลงไปอยู่ในเมืองเถิด แล้วสิ่งที่พวกท่านขอก็จะเป็นของพวกท่าน และความอัปยศ และความขัดสนก็ถูกกระหน่ำลงบนพวกเขา และพวกเขาได้นำเอาความกริ้วโกรธจากอัลลอฮฺกลับไป นั่นก็เพราะว่าพวกเขาเคยปฏิเสธสัญญาณต่างๆ ของอัลลอฮฺ และยังฆ่าบรรดานบี โดยปราศจากความเป็นธรรม นั่นก็เนื่องจากความดื้อดึงของพวกเขา และพวกเขาจึงได้กลายเป็นผู้ละเมิดขอบเขต (61)” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 55-61)

    การนำเสนอข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นของบนีอิสรออีลนั้นก็เพื่อเป็นข้อแนะนำในการพัฒนาประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด ซึ่งในจำนวนข้อผิดพลาดต่างๆ นั้นคือ การที่บนีอิสรออีลไม่พึงพอใจที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา, คลั่งไคล้ในวัตถุนิยม, มีการโต้เถียงอย่างรุนแรง, ไม่เชื่อฟังบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮฺ, หลีกเลี่ยงในการใช้กฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺ, ไม่ศรัทธาต่อสิ่งที่เร้นลับ

    บทสรุปเรื่องราวของวัวเพศเมีย : มีชายคนหนึ่งจากบนีอิสรออีลถูกฆ่า โดยไม่รู้ว่าใครเป็นฆาตรกร ดังนั้นพวกเขาจึงไปถามท่านนบีมูซา อะลัยฮิสลาม ดังนั้น อัลลอฮฺ สุบหานะฮะวะตะอาลา จึงประทานวะห์ยู(โองการอัลกุรอาน)ลงมาเพื่อบัญชาพวกเขาให้เชือดวัวเพศเมียซึ่งเป็นวัวที่มีคุณลักษณะเฉพาะ โดยให้นำอวัยวะบางส่วนของวัวที่ถูกเชือดตัวนั้นตีบนศพของชายที่ตายไป ซึ่งทำให้ชายคนนั้นฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่งด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา แล้วเขาก็ชี้ฆาตรกรที่ได้ฆ่าเขา
﴿قَالُواْ ٱدۡعُ لَنَا رَبَّكَ يُبَيِّن لَّنَا مَا لَوۡنُهَاۚ قَالَ إِنَّهُۥ يَقُولُ إِنَّهَا بَقَرَةٞ صَفۡرَآءُ فَاقِعٞ لَّوۡنُهَا تَسُرُّ ٱلنَّٰظِرِينَ ٦٩ قَالُواْ ٱدۡعُ لَنَا رَبَّكَ يُبَيِّن لَّنَا مَا هِيَ إِنَّ ٱلۡبَقَرَ تَشَٰبَهَ عَلَيۡنَا وَإِنَّآ إِن شَآءَ ٱللَّهُ لَمُهۡتَدُونَ ٧٠ قَالَ إِنَّهُۥ يَقُولُ إِنَّهَا بَقَرَةٞ لَّا ذَلُولٞ تُثِيرُ ٱلۡأَرۡضَ وَلَا تَسۡقِي ٱلۡحَرۡثَ مُسَلَّمَةٞ لَّا شِيَةَ فِيهَاۚ قَالُواْ ٱلۡـَٰٔنَ جِئۡتَ بِٱلۡحَقِّۚ فَذَبَحُوهَا وَمَا كَادُواْ يَفۡعَلُونَ ٧١﴾ [البقرة : 69-71]
ความว่า “พวกเขากล่าวว่า โปรดวิงวอนต่อพระเจ้าของท่านให้แก่พวกเราเถิด พระองค์ก็จะทรงแจ้งแก่พวกเราว่า วัวนั้นสีอะไร? มูซากล่าวว่า แท้จริงพระองค์ตรัสว่า มันเป็นวัวสีเหลือง สีของมันเข้มซึ่งทำให้เกิดความปิติยินดีแก่บรรดาผู้ที่มองดู (69) พวกเขากล่าวว่า โปรดวิงวอนต่อพระเจ้าของท่านให้แก่เราเถิด พระองค์ก็จะทรงแจ้งแก่พวกเราว่า วัวนั้นเป็นอย่างไร ? แท้จริงวัวนั้นมันคล้ายๆ กันแก่พวกเรา และหากอัลลอฮฺทรงประสงค์แน่นอนพวกเราก็เป็นผู้ที่ได้รับคำแนะนำ (70) มูซากล่าวว่า แท้จริงพระองค์ตรัสว่า มันเป็นวัวที่ไม่สยบง่ายๆ ที่จะไถดินและที่จะทดน้ำเข้านา เป็นวัวบริสุทธิ์ปราศจากสีอื่นใดแซมในตัวมัน พวกเขากล่าวว่า บัดนี้ท่านได้นำความจริงมาให้แล้ว แล้วพวกเขาก็เชือดมัน และพวกเขาเกือบจะไม่ทำมันอยู่แล้ว (71)” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 69-71)

และนี่คือหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแก่บนีอิสรออีลและกลุ่มชนอื่นๆ ว่าอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา นั้นมีความสามารถที่จะให้ฟื้นคืนชีพสรรพสิ่งต่างๆ หลังจากที่มันตายไปแล้วได้ เนื่องจากว่าบนีอิสรออีลนั้นเป็นพวกวัตถุนิยม พวกเขามีความปรารถนาในหลักฐานที่เป็นรูปธรรมเพื่อที่จะให้พวกเขาได้เชื่อมั่นและศรัทธา ซึ่งสูเราะฮฺนี้ได้กล่าวแก่ประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ว่าพวกเขานั้นมีหน้าที่รับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ และข้างต้นนี้คือข้อผิดพลาดของประชาชาติก่อนหน้านี้ ดังนั้น จงอย่าตกอยู่ในความผิดเหล่านั้นอีก จนกระทั่งอัลลอฮฺจะไม่โกรธกริ้วต่อพวกเขา(ประชาชาติอิสลาม)และไม่ทรงเปลี่ยนให้กลุ่มชนอื่นมาแทนที่
    การตั้งชื่อสูเราะฮฺด้วยชื่อนี้ (อัล-บะเกาะเราะฮฺ) เพื่อให้มุอฺญิซะฮฺ(อภินิหาร)ที่ตื่นตาตื่นใจนี้ยังคงอยู่ รวมทั้งเรื่องราวบนีอิสรออีลกับพฤติกรรมที่สวนทางกับคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ การต่อต้านศาสนทูตของพวกเขา การปฏิเสธศรัทธาในสิ่งเร้นลับของพวกเขา การเป็นกลุ่มชนที่หลงอยู่กับวัตถุนิยมของพวกเขา ผลตอบแทนที่พวกเขาได้รับ ให้ตรึงตราใจของเราตลอดไป  ดังนั้น เราอย่าตกอยู่ในสภาพเหล่านั้น หรือตกอยู่ในความผิดพลาดที่ทำให้อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา โกรธกริ้วพวกเขา(บนี อิสรออีล) ซึ่งเรื่องราวนี้ได้ยืนยันถึงการผินหลังให้กับการศรัทธาของบนีอิสรออีลต่อสิ่งเร้นลับ โดยที่มันมีความสอดคล้องและเกี่ยวพันกับช่วงต้นของสูเราะฮฺนี้
﴿ٱلَّذِينَ يُؤۡمِنُونَ بِٱلۡغَيۡبِ ٣﴾ [البقرة : 3]
ความว่า “คือบรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 3)

กล่าวคือ เป็นคุณลักษณะของผู้ยำเกรงนั่นเอง ในส่วนเรื่องราวของวัวเพศเมียนั้น มีข้อผิดพลาดที่ปรากฏให้เห็นอย่างมากมาย เพราะมันเป็นตัวอย่างของข้อผิดพลาดที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงทดสอบขอบเขตของเราในการศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ

    ความผิดพลาดของบนีอิสรออีลยังคงมีต่อไป จงถึงอายะฮฺ
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَقُولُواْ رَٰعِنَا وَقُولُواْ ٱنظُرۡنَا وَٱسۡمَعُواْۗ وَلِلۡكَٰفِرِينَ عَذَابٌ أَلِيمٞ ١٠٤﴾ [البقرة : 104]
ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าพูดว่า “รออินา” และจงพูดว่า “อุนซุรฺนา” และจงฟัง และสำหรับผู้ปฏิเสธการศรัทธานั้น คือการลงโทษอันเจ็บแสบ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 104)

ชาวอาหรับก่อนหน้านี้ต่างก็เข้าใจในคำพูดที่ว่า “รออินา” นี้ เพราะมันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพวกเขา แต่สำหรับบนีอิสรออีลมันเป็นคำพูดที่มีนัยของการด่าทอ ดังนั้น อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา จึงประสงค์ให้บรรดาผู้ศรัทธานั้นมีความแตกต่างจากพวกยิว แม้จะเป็นเพียงแค่คำหรือวาจาก็ตามที พระองค์จึงมีคำสั่งใช้พวกเขา(บรรดาผู้ศรัทธา)พูดแทนคำ “รออินา” ว่า “อุนซุรฺนา” (เนื่องจากทั้งสองคำนี้มีความหมายที่คล้ายคลึงกัน -ผู้แปล-)

    1.3  ส่วน(รุบุอฺ)ที่แปด : สาธยายถึงตัวอย่างของความสำเร็จในการเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้
นั่นคือเรื่องราวของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ซึ่งเป็นบททดสอบสุดท้ายที่ได้กล่าวถึงในสูเราะฮฺนี้ โดยที่บททดสอบแรกนั้นคือบททดสอบที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลาได้ทดสอบท่านนบีอาดัมในช่วงแรกของการสร้างสรรค์สรรพสิ่งต่างๆ (ตัจญ์ริบะฮฺ ตัมฮีดียะฮฺ-บททดสอบในครั้งเริ่มแรก) หลังจากนั้นก็เป็นบททดสอบของบนีอิสรออีลซึ่งเป็นบททดสอบที่ประสบกับความล้มเหลว และต่อด้วยบททดสอบของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ซึ่งเป็นบททดสอบที่ประสบกับความสำเร็จ
﴿۞وَإِذِ ٱبۡتَلَىٰٓ إِبۡرَٰهِ‍ۧمَ رَبُّهُۥ بِكَلِمَٰتٖ فَأَتَمَّهُنَّۖ قَالَ إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامٗاۖ قَالَ وَمِن ذُرِّيَّتِيۖ قَالَ لَا يَنَالُ عَهۡدِي ٱلظَّٰلِمِينَ ١٢٤﴾ [البقرة : 124]
ความว่า “และจงรำลึกถึง ขณะที่พระเจ้าของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยพระบัญชาบางประการ แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ เขากล่าวว่า และจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วย พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้านั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 124)

ในอายะฮฺนี้เป็นข้อยืนยันว่าการเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนั้นไม่ใช่เป็นการเลือกปฏิบัติได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ได้ดำเนินไปด้วยวิถีปฏิบัติของอัลลอฮฺและการเชื่อฟังต่อพระองค์ เขาก็ยังคงต้องรับผิดชอบในการทำหน้าที่บนหน้าแผ่นดินนี้อยู่ และสำหรับผู้ที่ปลีกตัวออกจากวิถีปฏิบัตินี้ สัญญาของอัลลอฮฺนั้นก็จะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรมอย่างแน่นอน
﴿لَا يَنَالُ عَهۡدِي ٱلظَّٰلِمِينَ ١٢٤﴾
ความว่า “สัญญาของข้านั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม”

อัลลอฮฺทรงทดทดสอบท่านนบีอิบรอฮีมด้วยกับพระบัญชาบางประการ ครั้นเมื่อท่านได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วนแล้ว อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ก็ได้ดำรัสว่า
﴿إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامٗاۖ ﴾
ความว่า “แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ”

หลังจากนั้น ท่านนบีอิบรอฮีมก็ได้วอนขอให้พระผู้เป็นเจ้าของท่าน ได้โปรดส่งศาสนทูตแก่ประชาชาตินี้จากหมู่พวกเขาเอง
﴿رَبَّنَا وَٱبۡعَثۡ فِيهِمۡ رَسُولٗا مِّنۡهُمۡ ١٢٩﴾ [البقرة : 129]
ความว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพระองค์โปรดส่งศาสนทูตคนหนึ่งคนใดจากพวกเขาเอง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 129)

และปิดท้ายเรื่องราวของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ด้วยอายะฮฺ
﴿قُولُوٓاْ ءَامَنَّا بِٱللَّهِ وَمَآ أُنزِلَ إِلَيۡنَا وَمَآ أُنزِلَ إِلَىٰٓ إِبۡرَٰهِ‍ۧمَ... ١٣٦﴾ [البقرة : 136]
ความว่า “พวกท่านจงกล่าวเถิด เราได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เรา และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่อิบรอฮีม...” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 136)

ต่อด้วยการกล่าวถึงศาสนทูตทุกท่าน
﴿...وَإِسۡمَٰعِيلَ وَإِسۡحَٰقَ وَيَعۡقُوبَ وَٱلۡأَسۡبَاطِ وَمَآ أُوتِيَ مُوسَىٰ وَعِيسَىٰ وَمَآ أُوتِيَ ٱلنَّبِيُّونَ مِن رَّبِّهِمۡ لَا نُفَرِّقُ بَيۡنَ أَحَدٖ مِّنۡهُمۡ وَنَحۡنُ لَهُۥ مُسۡلِمُونَ ١٣٦﴾ [البقرة : 136]
ความว่า “...และอิสมาอีล และอิสฮาก และยะอฺกูบ และบรรดาวงศ์วานเหล่านั้น และสิ่งที่มูซา และอีซาได้รับ และสิ่งที่บรรดานบีได้รับจากพระเจ้าของพวกเขา พวกเรามิได้แบ่งแยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากเขาเหล่านั้น และพวกเราจะเป็นผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์เท่านั้น” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 136)

และนี่คือ ข้อเกี่ยวพันกับอายะฮฺของสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ ที่ว่า
﴿صِرَٰطَ ٱلَّذِينَ أَنۡعَمۡتَ عَلَيۡهِمۡ ٧ ﴾ [الفاتحة : 7]
ความว่า “ทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา” (อัล-ฟาติหะฮฺ 7)

ประหนึ่งว่า ทุกๆ ท่าน(บรรดาศาสนทูตของอัลลอฮฺ)ที่ถูกกล่าวไว้ในอายะฮฺของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺนั้น คือบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานพวกเขา และคือผู้ที่เราจำเป็นที่จะต้องเจริญรอยตามทางนำของพวกเขาและทางที่พวกเขาได้เจริญรอยตาม

    บทสรุปของเนื้อหาในภาคที่หนึ่ง (ญุซอ์ที่ 1 )ของสูเราะฮฺนี้คือ เริ่มต้นด้วยการสาธยายถึง 3 เรื่องราว นั้นคือ
หนึ่ง เรื่องราวของท่านนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม
﴿إِنِّي جَاعِلٞ فِي ٱلۡأَرۡضِ خَلِيفَةٗۖ ﴾
ความว่า “ฉันจะแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งขึ้นบนหน้าแผ่นดิน”

สอง ต่อด้วยเรื่องราวของบนีอิสรออีล
﴿أَنِّي فَضَّلۡتُكُمۡ عَلَى ٱلۡعَٰلَمِينَ﴾
ความว่า “ฉันได้ยกย่องสูเจ้า เหนือประชาชาติทั้งหลาย”

สาม ปิดท้ายด้วยเรื่องราวของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม
﴿إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامٗاۖ ﴾
ความว่า “แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ”

เรื่องราวทั้ง 3 นี้ ได้เริ่มต้นด้วยสิ่งเดียวกันนั้นคือ การได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้ ส่วนเราประชาชาติอิสลามก็มีหน้าที่ในการเรียนรู้บททดสอบต่างๆ ก่อนหน้านี้ และพยายามสัมผัสให้ถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้