เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

Fuaad Zaidan

วันที่ :

Sat, Sep 03 2016

ประเภท :

About Quran & Hadith

เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ

 

เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ

] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 

ฟุอาด ซัยดาน

 

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ

ตรวจทานโดย : ซุฟอัม  อุษมาน

ที่มา : หนังสือ อะฮฺดาฟ กุลลิ สูเราะฮฺ มิน อัลกุรอาน

 

 

 

 

 

2011 - 1432

 

 

 

 

﴿ أهداف سورة الفاتحة ﴾

« باللغة التايلاندية »

 

 

 

فؤاد زيدان

 

 

ترجمة: محمد صبري  يعقوب

مراجعة: صافي عثمان

المصدر: كتاب أهداف كل سورة من القرآن

 

 

 

2011 - 1432

 

 

ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ

 

เป้าหมายของสูเราะฮฺ

ครอบคลุมถึงนัยแห่งเป้าหมายต่างๆ ในคัมภีร์อัลกุรอาน

 

สูเราะฮฺนี้มีชื่อเรียกว่า

อัล-ฟาติหะฮฺ(ปฐมบทของอัลกุรอาน), อุมมุลกิตาบ(แม่บทของคัมภีร์), อัช-ชาฟิยะฮฺ(การเยียวยา), อัล-วาฟิยะฮฺ(ความสมบูรณ์), อัล-กาฟิยะฮฺ(ความพอเพียง), อัล-อะสาส(เป็นหลักการพื้นฐาน), อัล-หัมดุ(การสรรเสริญ), อัส-สับอุ อัล-มะษานีย์(เจ็ดอายะฮฺที่ถูกทวนอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า), อัลกุรอาน อัล-อะซีม(อัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่) ดังมีบันทึกในเศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ แท้จริง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านอบีสะอีด บิน อัล-มุอัลลาว่า (ซึ่งท่านสะอีด ได้เล่าว่า)

كُنْتُ أُصَلِّي فِي الْمَسْجِدِ فَدَعَانِي رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَلَمْ أُجِبْهُ، فَقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ، إِنِّي كُنْتُ أُصَلِّي، فَقَالَ: «أَلَمْ يَقُلْ اللَّهُ ﴿اسْتَجِيبُوا لِلَّهِ وَلِلرَّسُولِ إِذَا دَعَاكُمْ لِمَا يُحْيِيكُمْ﴾»، ثُمَّ قَالَ لِي : «لَأُعَلِّمَنَّكَ سُورَةً هِيَ أَعْظَمُ السُّوَرِ فِي الْقُرْآنِ قَبْلَ أَنْ تَخْرُجَ مِنْ الْمَسْجِدِ»، ثُمَّ أَخَذَ بِيَدِي، فَلَمَّا أَرَادَ أَنْ يَخْرُجَ، قُلْتُ لَهُ: أَلَمْ تَقُلْ لَأُعَلِّمَنَّكَ سُورَةً هِيَ أَعْظَمُ سُورَةٍ فِي الْقُرْآنِ، قَالَ: ﴿الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ﴾ هِيَ السَّبْعُ الْمَثَانِي وَالْقُرْآنُ الْعَظِيمُ الَّذِي أُوتِيتُهُ».

ความว่า  ครั้งหนึ่ง ขณะที่ฉันละหมาดอยู่ในมัสยิด แล้วท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้เรียกฉัน แต่ฉันก็ไม่ได้ขานรับท่าน เมื่อฉันเสร็จจากละหมาดฉันก็ได้กล่าวว่า โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แท้จริง ตอนที่ท่านเรียกนั้นฉันกำลังละหมาดอยู่ ท่านกล่าวว่า อัลลอฮฺไม่ได้ตรัสดอกหรือว่า

﴿اسْتَجِيبُواْ لِلّه وَلِلرَّسُولِ إِذَا دَعَاكُم لِمَا يُحْيِيكُمْ﴾ (الأنفال : 24 )

ความว่า จงตอบรับอัลลอฮฺ และเราะสูลเถิด เมื่อเขาได้เชิญชวนพวกเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ามีชีวิต” (อัล-อันฟาล 24)

แล้วท่านก็บอกว่า ฉันจะสอนเจ้าถึงสูเราะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอัลกุรอาน ก่อนที่เจ้าจะออกไปจากมัสยิดแล้วท่านก็จับมือฉันไว้ เมื่อถึงเวลาที่ท่านจะออกไป ฉันก็กล่าวแก่ท่านว่า ท่านไม่ได้บอกแก่ฉันดอกหรือว่าจะสอนสูเราะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอัลกุรอานให้? ท่านก็ตอบฉันว่า คือ อัลหัมดุลิลลาฮิร็อบบิลอาละมีน (หมายถึง สูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ) มันคือเจ็ดอายะฮฺที่ถูกทวนอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นอัลกุรอานอันยิ่งใหญ่ที่ถูกมอบให้แก่ฉัน (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 4474)

 

อัลลอฮฺทรงให้คุณลักษณะของสูเราะฮฺนี้ว่า เป็นการละหมาด (เนื่องจากความสำคัญของสูเราะฮฺนี้ในละหมาด เป็นรุกุ่นสำคัญของการละหมาด ถ้าไม่มีอัล-ฟาติหะฮฺก็ถือว่าไม่มีการละหมาด -ผู้แปล-)

           

สูเราะฮฺนี้มีความลับอะไร ?

สูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ เป็นสูเราะฮฺมักกียะฮฺ (ถูกประทานในช่วงก่อนการอพยพฮิจญ์เราะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไปมะดีนะฮฺ)  ประกอบด้วย 7 อายะฮฺ ดังมติที่เป็นเอกฉันท์ของบรรดานักวิชาการ

“อัล-ฟาติหะฮฺ” ถูกเรียกด้วยชื่อนี้ก็เพราะว่า คัมภีร์อัลกุรอานอันทรงเกียรติได้เริ่มต้นด้วยกับสูเราะฮฺนี้ และเป็นสูเราะฮฺที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับแรกของอัลกุรอาน แต่ไม่ใช่สูเราะฮฺแรกที่ถูกประทานลงมา ถือเป็นสูเราะฮฺที่ได้ให้ข้อสรุปต่อนัยต่างๆของอัลกุรอานได้อย่างรวบรัด รวมทั้งได้ประมวลเป้าหมายโดยรวมอันเป็นพื้นฐานของอัลกุรอานไว้อีกด้วย มันคือสูเราะฮฺที่ครอบคลุมทั้งในเรื่องหลักการและรายละเอียดปลีกย่อยของศาสนา ทั้งที่เกี่ยวข้องกับหลักการศรัทธา หลักการเคารพภักดี บทบัญญัติต่างๆ การศรัทธาในวันโลกหน้า การศรัทธาต่อคุณลักษณะของอัลลอฮฺอันวิจิตรงดงาม การให้เอกภาพต่อพระองค์ด้วยการเคารพภักดี การขอความช่วยเหลือ การขอพร การมุ่งหน้าสู่พระองค์(ตะวัจญุฮฺ) ด้วยการวอนขอทางนำสู่ศาสนาแห่งสัจธรรมและทางที่เที่ยงตรง รวมทั้งการวิงวอนต่อพระองค์ให้มีความหนักแน่นมั่นคงในการศรัทธาและดำเนินตามวิถีทางของเหล่ากัลยาณชนทั้งหลาย และให้ห่างไกลจากทางของพวกที่ถูกกริ้วและทางของพวกที่หลงผิดทั้งหลาย ในสูเราะฮฺนี้ยังได้สาธยายถึงเรื่องราวของประชาชาติชนรุ่นก่อน และได้เปิดเผยถึงการอย่างก้าวสู่เส้นทางอันสุขารมณ์ และที่พำนักอันทุกข์ทนหม่นไหม้ นั่นคือการเคารพภักดีต่อข้อสั่งใช้และข้อห้ามของอัลลอฮฺ ตะอาลา และอื่นๆ จากนี้ที่เป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมาย สูเราะฮฺนี้เปรียบเสมือนแม่บทของสูเราะฮฺอันมีเกียรติทั้งหลาย และเนื่องด้วยเหตุนี้เองที่ถูกเรียกว่า “อุมมุลกิตาบ” หรือแม่บทแห่งคัมภีร์ ดังนั้น สูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺจึงได้ประมวลทุกๆ นัยของอัลกุรอาน ส่วนเป้าหมายของสูเราะฮฺนี้นั้นก็ได้ประมวลนัยและเป้าหมายต่างๆ ของอัลกุรอานไว้เช่นเดียวกัน

            อัลกุรอานเป็นหลักฐานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักการศรัทธา(อะกีดะฮฺ) หลักการเคารพภักดี(อิบาดะฮฺ) และหลักการดำเนินชีวิต(มะนาฮิจญ์ อัล-หะยาฮฺ) โดยที่อัลกุรอานได้เรียกร้องไปสู่การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และการเคารพภักดีต่อพระองค์ พร้อมทั้งได้กำหนดหลักการดำเนินชีวิต ในทำนองเดียวกันสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺก็มีหลักการหลักๆ ดังนี้

 

          1. หลักการศรัทธา (อะกีดะฮฺ)

﴿ٱلۡحَمۡدُ لِلَّهِ رَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٢ ٱلرَّحۡمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ ٣ مَٰلِكِ يَوۡمِ ٱلدِّينِ ٤﴾

ความว่า การสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก  ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ ผู้ทรงอภิสิทธิ์แห่งวันตอบแทน

 

            2. หลักการเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ)

            ﴿إِيَّاكَ نَعۡبُدُ وَإِيَّاكَ نَسۡتَعِينُ ٥ ﴾

ความว่า เฉพาะพระองค์เท่านั้น ที่พวกข้าพระองค์เคารพอิบาดะฮฺ  และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกข้าพระองค์ขอความช่วยเหลือ

 

            3. หลักการดำเนินชีวิต (มะนาฮิจญ์ อัล-หะยาฮฺ)

﴿اهۡدِنَا ٱلصِّرَٰطَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ ٦ صِرَٰطَ ٱلَّذِينَ أَنۡعَمۡتَ عَلَيۡهِمۡ ٧ ﴾

ความว่า ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง คือทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา

 

ซึ่งสูเราะฮฺและอายะฮฺต่าง ๆ ในอัลกุรฺอาน(หลังจากสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ)ก็จะมาขยายความ 3 หลักการนี้

 

สูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺได้กล่าวถึงประการพื้นฐานหลักๆ ในศาสนาอิสลามนั่นคือ

1. การชุกูรต่อความโปรดปรานต่างๆ ของอัลลอฮฺ

﴿ٱلۡحَمۡدُ لِلَّهِ رَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٢﴾

ความว่า การสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก

 

2. ความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ 

﴿إِيَّاكَ نَعۡبُدُ وَإِيَّاكَ نَسۡتَعِينُ ٥﴾  

ความว่าสำหรับพระองค์เท่านั้น ที่พวกข้าพระองค์เคารพอิบาดะฮฺ  และสำหรับพระองค์เท่านั้นที่พวกข้าพระองค์ขอความช่วยเหลือ

 

            3. การคบค้าสมาคมกับเพื่อนที่ดี 

﴿صِرَٰطَ ٱلَّذِينَ أَنۡعَمۡتَ عَلَيۡهِمۡ ٧ ﴾

ความว่า ทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา

 

4. การรำลึกถึงพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺอันวิจิตรงดงาม

﴿ٱلرَّحۡمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ ٣ ﴾

ความว่า ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

 

            5. การยืนหยัดอย่างมั่นคง (อิสติกอมะฮฺ) 

﴿اهۡدِنَا ٱلصِّرَٰطَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ ٦﴾

ความว่า ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง

 

            6. วันปรโลก (อาคิเราะฮฺ) 

﴿مَٰلِكِ يَوۡمِ ٱلدِّينِ ٤﴾

ความว่า ผู้ทรงอภิสิทธิ์แห่งวันตอบแทน

 

            7. ความสำคัญของการขอพร (ดุอาอ์)

            8. ความเป็นเอกภาพของประชาชาติ  

 ﴿نَعْبُدُ ... نَسْتَعِينُ﴾

ความว่า พวกข้าพระองค์เคารพอิบาดะฮฺ....พวกข้าพระองค์ขอความช่วยเหลือ

ซึ่งมาในรูปสรรพนามพหูพจน์ (พวกข้าพระองค์) ไม่ใช่เอกพจน์  ทั้งนี้ก็เพื่อเน้นย้ำความเป็นเอกภาพของประชาชาติ

 

            สูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ ได้สอนเราให้รู้ว่าจะปฏิสัมพันธ์กับอัลลอฮฺนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยการสรรเสริญพระองค์

﴿ٱلۡحَمۡدُ لِلَّهِ رَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٢﴾

ความว่าการสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก

           

หลังจากนั้นจึงให้ขอพรต่อพระองค์ให้ทรงประทานทางนำ

﴿اهۡدِنَا ٱلصِّرَٰطَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ ٦﴾

ความว่า ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง

 

และหากเราได้แบ่งพยัญชนะทั้งหมดของสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ เราจะพบว่า จำนวนครึ่งหนึ่งของพยัญชนะของสูเราะฮฺจะอยู่ในหมวดอายะฮฺการสรรเสริญอัลลอฮฺ (นั่นคือ 63 พยัญชนะ นับตั้งแต่ الْحَمْدُ لِلَّهِ ถึง إِيَّاكَ نَسْتَعِينُ) และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในหมวดการขอพร(ดุอาอ์) (นั่นคือ 63 พยัญชนะ นับตั้งแต่ اهْدِنَا الصِّرَاطَ ถึง وَلَا ٱلضَّآلِّينَ) ประหนึ่งเป็นการยืนยันหะดีษอัล-กุดสีย์ที่ว่า

عَنْ أبِي هُرَيْرَة َرضِىَ اللهُ عَنْهُ عَنِ الَنِبيِ صَلىَ اللهُ عَلْيهِ وَسَلّمَ قَالَ : «مَنْ صَلَّى صَلاةً لَمْ يَقْرَأ فِيْهَا بِأُمِّ القُرْآنِ فَهِيَ خِدَاجٌ ـ ثَلاثًا ـ غَيْرَ تَمَامٍ» فَقِيلَ لأبي هُرَيْرَة اِنَّا نَكُوْنُ وَرَاءَ الإمَامِ، فَقالَ : اِقْرَأ بِهَا فِي نَفْسِكَ، فَاِنِّي سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللهِ صَلىَ اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ : «قَالَ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ: قَسَمْتُ الصَلاةَ بَيْنِي وَبَيْنَ عَبْدِي نِصْفَيْنِ وَلِعَبْدِي مَا سَألَ، فَإِذَا قَالَ العَبْدُ ﴿الحمد لله رب العالمين﴾ قَالَ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ حَمِدَنِي عَبْدِي، وَإِذَا قَالَ ﴿ٱلرَّحۡمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ﴾ قَالَ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ أَثْنَى عَليَّ عَبْدِيْ، وَإِذَا قَالَ ﴿مَالِكِ يومِ الدِّينِ﴾ قَالَ اللهُ مَجَّدَنِي عَبْدِي، وَقَالَ مَرَّةً فَوَّضَ اِلَيَّ عَبْدِي، فَإِذَا قَالَ ﴿إِيَّاكَ نَعۡبُدُ وَإِيَّاكَ نَسۡتَعِينُ﴾ قَالَ هَذاَ بَيْنِيْ وَبَيْنَ عَبْدِي وَلِعَبْدِيْ مَا سَألَ، فَإِذَا قَالَ ﴿اهۡدِنَا ٱلصِّرَٰطَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ، صِرَٰطَ ٱلَّذِينَ أَنۡعَمۡتَ عَلَيۡهِمۡ، غَيۡرِ ٱلۡمَغۡضُوبِ عَلَيۡهِمۡ وَلَا ٱلضَّآلِّينَ﴾،  قَالَ هَذاَ لِعَبْدِيْ وَلِعَبْدِيْ مَا سَألَ» [رواه مسلم برقم 598]

ความว่า ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัมว่า ผู้ใดที่ละหมาดโดยไม่อ่านอุมมุลกุรอาน(อัล-ฟาติหะฮฺ) การละหมาดนั้นใช้ไม่ได้ ท่านกล่าวถึง 3 ครั้ง คือไม่สมบูรณ์ มีผู้กล่าวแก่อบู ฮุร็อยเราะฮฺว่า พวกเราละหมาดโดยเป็นมะอ์มูมอยู่หลังอิหม่าม อบู ฮุร็อยเราะฮฺตอบว่า จงอ่านมันในใจ เพราะแท้จริงฉันเคยได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวว่า ข้าแบ่งการละหมาดระหว่างข้ากับบ่าวของข้าเป็นสองส่วน และสำหรับบ่าวของข้าจะได้รับในสิ่งที่เขาขอ ฉะนั้นเมื่อบ่าวได้กล่าวว่า อัลหัมดุลิลลาฮิร็อบบิลอาละมีนพระองค์อัลลอฮฺก็กล่าวว่า บ่าวของข้าได้สรรเสริญข้า และเมื่อบ่าวกล่าวว่าอัรเราะหฺมานิรรอฮีมพระองค์อัลลอฮฺก็กล่าวว่า บ่าวของข้าได้ขอบคุณข้า และเมื่อบ่าวกล่าวว่า มาลิกิเยามิดดีนพระองค์อัลลอฮฺก็กล่าวว่า บ่าวของข้าได้ให้ความยิ่งใหญ่แก่ข้า และบางครั้งก็กล่าวว่า บ่าวของข้าได้ให้ความสำคัญแก่ข้า และเมื่อบ่าวกล่าวว่า อิยฺยากะนะอฺบุดุ วะอิยฺยากะนัสตะอีนพระองค์อัลลอฮฺก็กล่าวว่า สิ่งนี้ระหว่างข้ากับบ่าวของข้า และสำหรับบ่าวของข้าจะได้รับในสิ่งที่เขาขอ และเมื่อบ่าวกล่าวว่า อิฮฺดินัศศิรอฏ็อลมุสตะกีม...(จนจบสูเราะฮฺ)” พระองค์อัลลอฮฺก็กล่าวว่า สิ่งนี้สำหรับบ่าวของข้า และสำหรับบ่าวของข้าจะได้รับในสิ่งที่เขาขอ(บันทึกโดยมุสลิม : 598)

 

มหาบริสุทธิ์พระองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงกำหนดต่อทุกสภาวการณ์

ท่านอุมัรฺ บินอับดุลอะซีซฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เคยถูกถามว่า ทำไมท่านถึงหยุดอ่านในทุกๆ อายะฮฺของสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ ท่านได้ตอบว่า ฉันอยากให้เกิดความรู้สึกที่รื่นเริงใจ กับการโต้ตอบของพระผู้อภิบาลของฉัน

เพราะฉะนั้น สูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ คือ การลำดับอุดมการณ์ของอัลกุรอานให้เชื่อมโยงกัน (หลักการศรัทธา, หลักการเคารพภักดี, หลักการดำเนินชีวิต) นั้นคือการสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา และการขอพรต่อพระองค์ เนื่องด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นการประมวลในทุกประการพื้นฐานของศาสนาเอาไว้ด้วยกัน

อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ประทานคัมภีร์ 104 เล่ม และได้ผนวกไว้ในคัมภีร์สามเล่มนั่นคือ อัซ-ซะบูรฺ อัต-เตารอฮฺ และอัล-อินญีล และได้รวบทั้งสามไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน และได้รวบอัลกุรอานไว้ในสูเราะฮฺเดียวนั่นคืออัล-ฟาติหะฮฺ และได้รวบสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺไว้ในอายะฮฺเดียวนั่นคือ

﴿إِيَّاكَ نَعۡبُدُ وَإِيَّاكَ نَسۡتَعِينُ ٥﴾

ความว่า สำหรับพระองค์เท่านั้น ที่พวกข้าพระองค์เคารพอิบาดะฮฺ  และสำหรับพระองค์เท่านั้นที่พวกข้าพระองค์ขอความช่วยเหลือ

 

คัมภีร์อัลกุรอานเริ่มต้นด้วยสูเราะฮฺนี้ และมันเป็นเสมือนกุญแจของอัลกุรอาน ซึ่งมันประกอบด้วยคลังขุมทรัพย์ต่างๆ ของอัลกุรอาน และสูเราะฮฺนี้ถือเป็นประตูเพื่อเข้าสู่สูเราะฮฺต่างๆของอัลกุรอาน โดยระหว่างสูเราะฮฺนี้กับสูเราะฮฺอื่นๆ นั้น มีการลำดับเรื่องที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งสามารถวางหรืออ่านก่อนสูเราะฮฺใดก็แล้วแต่ จะพบว่ามันยังคงผูกเรื่องให้ติดต่อกันระหว่างสูเราะฮฺ ทั้งยังคงในส่วนของความหมายอีกด้วย

 

ความสละสลวยของสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ

สูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺจบท้ายด้วยอายะฮฺ

﴿غَيۡرِ ٱلۡمَغۡضُوبِ عَلَيۡهِمۡ وَلَا ٱلضَّآلِّينَ ٧﴾

ความว่า ไม่ใช่ทางของพวกที่ถูกกริ้วและมิใช่ทางของพวกที่หลงผิด

 

แล้วสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺก็ตามมาหลังจากนั้นซึ่งได้สาธยายถึง "พวกที่ถูกกริ้วโกรธ" (บนี อิสรออีล หรือชาวยิว) โดยสาธยายถึงการปฏิเสธศรัทธาต่อพระเจ้าของพวกเขาและศาสนทูตของพระองค์ และสูเราะฮฺอาล อิมรอนก็ได้มาเพื่อสาธยายถึง "พวกที่หลงผิด" (นะศอรอหรือชาวคริสเตียน)

ประโยคสุดท้ายของสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺซึ่งเป็นส่วนของการขอพรนั้นได้มีข้อเกี่ยวพันกับการเริ่มต้นของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ

﴿هُدٗى لِّلۡمُتَّقِينَ ٢ ﴾ [البقرة : 2]

ความว่า เป็นคำแนะนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงเท่านั้น (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2)

 

ประหนึ่งว่า

﴿اهۡدِنَا ٱلصِّرَٰطَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ ٦﴾

ความว่า ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง

 

ในสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺนั้นคือทางนำที่ได้ปรากฏในสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺนั้นเอง

  

            สูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺเริ่มต้นด้วย

﴿ٱلۡحَمۡدُ لِلَّهِ رَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٢﴾

ความว่า การสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก

 

และถือเป็นประโยคแรกของคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งมีความสอดคล้องกับประโยคสุดท้ายของสูเราะฮฺอัน-นาส

﴿مِنَ ٱلۡجِنَّةِ وَٱلنَّاسِ ٦﴾

ความว่า จากหมู่ญินและมนุษย์

 

อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงเริ่มต้นด้วย “الْعَالَمِينَ” (สากลโลก) และจบด้วย “الجِنَّةِ وَالناَّسِ” (หมู่ญินและมนุษย์) หมายรวมว่า คัมภีร์อัลกุรอานเล่มนี้เป็นข้อชี้นำแก่สากลโลก รวมทั้งสรรพสิ่งต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงสร้างจากหมู่ญินและมนุษย์ ไม่ใช่เฉพาะคนหนึ่งคนใดเป็นการเฉพาะหรือเจาะจงสำหรับผู้ศรัทธาเท่านั้น   

อีกทั้งหลักการอ่าน (ตัจญ์วีด) ในสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺก็มีความง่ายดาย แทบจะไม่ปรากฏหลักการที่ยุ่งยากในการอ่านเลย ทั้งนี้ เนื่องด้วยความรอบรู้ของพระองค์ที่ประสงค์ให้เกิดความง่ายดายในการอ่านและท่องจำมัน แก่มนุษย์ทุกคนทั้งที่เป็นชาวอาหรับหรือกลุ่มชนอื่นๆ

และอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้นคือ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ และพระองค์คือผู้ทรงอภิสิทธิ์แห่งวันตอบแทน จึงมีความจำเป็นสำหรับเราที่ต้องคอยระวังจากการลงโทษของพระองค์ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพและวันแห่งการตอบแทน

ด้วยความเป็นมนุษย์ พวกเขาย่อมต้องการความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลาในการเคารพภักดีต่อพระองค์ เพราะฉะนั้น หากปราศจากการช่วยเหลือใดๆ จากพระองค์แล้วไซร้ เราย่อมไม่สามารถเคารพภักดีต่อพระองค์ได้อย่างแน่นอน

﴿إِيَّاكَ نَعۡبُدُ وَإِيَّاكَ نَسۡتَعِينُ ٥﴾

ความว่า สำหรับพระองค์เท่านั้น ที่พวกข้าพระองค์เคารพอิบาดะฮฺ  และสำหรับพระองค์เท่านั้นที่พวกข้าพระองค์ขอความช่วยเหลือ

 

และเราขอพรต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา ให้ทรงแนะนำทางอันเที่ยงตรง

﴿اهۡدِنَا ٱلصِّرَٰطَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ ٦﴾

ความว่า ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง

 

ทางอันเที่ยงตรงนั้นคือ ไม่มีทางอื่นใดนอกจากทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และทางของเหล่ากัลยาณชน(สะละฟุศศอลิหฺ)ของเรา จากหมู่เศาะหาบะฮฺ และผู้ที่ปฏิบัติตัวเหมือนพวกท่านทั้งหลาย

﴿صِرَٰطَ ٱلَّذِينَ أَنۡعَمۡتَ عَلَيۡهِمۡ ٧﴾

ความว่า ทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา

 

และเราได้ขอพรต่ออัลลอฮฺให้เราได้ออกห่างจากทางของพวกที่ถูกกริ้วและทางของพวกที่หลงผิด จากหมู่ชาวยิวและคริสเตียน และเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ทำสงครามกับอัลลอฮฺและท่านศาสนทูตของพระองค์ รวมทั้งที่ทำสงครามกับอิสลามและบรรดาผู้ศรัทธาในทุกยุคทุกสมัย

 ﴿غَيۡرِ ٱلۡمَغۡضُوبِ عَلَيۡهِمۡ وَلَا ٱلضَّآلِّينَ ٧ ﴾

ความว่า ไม่ใช่ทางของพวกที่ถูกกริ้วและมิใช่ทางของพวกที่หลงผิด

 

บัดนี้ เราได้รู้แล้วว่า เป้าหมายของสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ ที่เราได้ทวนอ่านซ้ำไปมาในการละหมาดที่เป็นฟัรฎูไม่รวมที่เป็นสุนนะฮฺมากถึง 17 ครั้งในแต่ละวันนั้น ไม่มีข้อสงสัยใดๆ อีกว่า เราย่อมได้สัมผัสกับนัยต่างๆ (ของอัลกุรอาน) และเราย่อมได้พินิจใคร่ครวญต่อความหมายของมัน พร้อมทั้งได้สรรเสริญต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ขอบคุณต่อพระองค์ และวิงวอนขอพรต่อพระองค์ให้ทรงแนะนำไปสู่ทางของพระองค์อันเที่ยงตรง

 

والله أعلم بالصواب،  وصلّى الله على نبيّنا محمد وعلى آله وصحبه وسلم،  والحمد لله رب العالمين