เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

أمين بن عبد الله الشقاوي

วันที่ :

Sun, Oct 23 2016

ประเภท :

Jurisprudence

การถือศีลอดสุนัต


การถือศีลอดสุนัต
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 


ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

 

แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

 

2013 - 1435
 

 

صوم التطوع
« باللغة التايلاندية »

 

 


د. راشد بن حسين العبد الكريم

 

ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر:  كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام  www.al-islam.com

 


2013 - 1435
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การถือศีลอดสุนัต
ท่านอบู อัยยูบ (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ)ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)กล่าวว่า
«مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّال كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْر» ]أخرجه مسلم[
“ผู้ใดได้ถือศีลอด(เดือน)รอมฏอนและตามต่อมันด้วย 6 (วัน) ของ(เดือน)เชาวาล ก็เสมือนว่าได้ถือศีลอดตลอดทั้งปี”  บันทึกโดยมุสลิม

และท่านอบู เกาะตาดะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า  
«أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ  سُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ الاثْنَيْنِ، فَقَالَ: ذَلِكَ يَوْمَ وُلِدْتُّ فِيْهِ وَيْوْمَ بُعِثْتُ فِيْهِ أَوْ أُنْزِلَ عَليَّ فِيه» [أخرجه مسلم]
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามถึงการถือศีลอดวันจันทร์ ท่านกล่าวตอบว่า “นั้นคือวันที่ฉันเกิด และเป็นวันที่ฉันถูกแต่งตั้ง หรือถูกประทานให้แก่ฉัน”  บันทึกโดยมุสลิม
และท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«تُعْرَضُ الأَعْمَالُ يَوْمَ الاثْنَيْنِ وَالخَمِيْس فَأُحِبُّ أَنْ يُعْرَضَ عَمَلِيْ وَأَنَا صَائِمٌ»  [أخرجه الترمذي]
“การงานถูกนำเสนอในวันจันทร์และวันพฤหัส ฉันจึงชอบให้การงานของฉันถูกนำเสนอขณะที่ฉันกำลังถือศีลอดอยู่”  บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ

และท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า  
«كَانَ رَسُوْلُ اللهِ  يَتَحَرّى صَوْمَ الاثْنَيْنِ والخَمِيْس» [أخرجه الترمذي]
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะเฝ้าคอยระวัง(เพื่อไม่ให้พลาด)การถือศีลอดวันจันทร์และวันพฤหัส”  บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ

และท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ  ได้กล่าวว่า
«أَوْصَانِي خَلِيْلِي  بِثَلَاث: صِيَامِ ثَلَاثَةَ أَيَّام مِنْ كُلَّ شَهْرٍ، وَرَكْعَتَى الضُحَى وَأَنْ أوتَر قَبْلَ أَنْ أَنامَ» [متفق عليه]
“เพื่อนรักของฉัน(คือท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สั่งเสียฉัน 3 ประการ (คือ) การถือศีลอด 3 วันในแต่ละเดือน และสองร็อกอะฮฺ(ละหมาด)ฎุฮา และการทำ(ละหมาด)วิเตรฺก่อนนอน”  บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม

และท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«صَوْمُ ثَلَاثَة أَيّام مِنْ كُلَّ شَهْرٍ يَعْدِلُ صَوْمَ الدَهْر كُلِّه» [متفق عليه]
“การถือศีลอดสามวันในแต่ละเดือน เทียบเท่ากับการถือศีลอดตลอดทั้งปี”  บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม

อธิบาย
การถือศีลอดเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ประเสริฐที่สุด และนับเป็นความเมตตาและความโปรดปรานจากอัลลอฮฺที่พระองค์ไม่ได้ทรงจำกัดเวลาใดเป็นการเฉพาะ แต่พระองค์ทรงบัญญัติให้บ่าวของพระองค์สามารถสมัครใจทำได้ตลอดเวลา แต่ที่ทรงกำหนดระยะเวลาหนึ่งไว้ก็เพื่อเพิ่มความประเสริฐให้กับการถือศีลอด และทำให้มันเป็นช่วงฤดูกาลเพิ่มพูนการงานที่ดี
ประโยชน์ที่ได้รับ
•    บอกถึงความประเสริฐของการถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาวาล และเมื่อรวมมันกับการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนจะเทียบได้กับการได้ถือศีลอดตลอดทั้งปี
•    ความประเสริฐของการถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี
•    ส่งเสริมให้ถือศีลอด 3 วันในแต่ละเดือน และมันก็จะเทียบได้กับการถือศีลอดตลอดทั้งปี