เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

Muhammad Bin Ibrahim Al-Tuwajre

วันที่ :

Sun, Apr 30 2017

ประเภท :

Jurisprudence

ละหมาดสุนัต

 


การละหมาดตะเฏาวุอฺ (ละหมาดสุนัต)
﴿صلاة التطوع﴾
]  ไทย – Thai – تايلاندي [

 


มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

 


แปลโดย : ดานียา เจะสนิ
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์


2010 - 1431
 


﴿صلاة التطوع﴾
« باللغة التايلاندية »


الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

 


ترجمة: دانيال جيء سنيك
مراجعة: عصران إبراهيم
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي


2010 - 1431
 

 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

16. การละหมาดตะเฏาวุอฺ (ละหมาดสุนัต)

เคล็ดลับในการบัญญัติการละหมาดสุนัต
เป็นความเมตตาของอัลลอฮฺที่ในบทบัญญัติทุกๆประเภทที่พระองค์ได้บัญญัติสิ่งที่วาญิบไว้จะมีเสริมสิ่งที่เป็นสุนัตในประเภทเดียวกันอยู่ด้วยเสมอ เพื่อเปิดโอกาสให้มุอฺมินเพิ่มอีมานด้วยการปฏิบัติสิ่งที่เป็นตะเฏาวุอฺเหล่านั้น และเพื่อเติมเต็มจุดที่บกพร่องในบทบัญญัติที่วาญิบในวันกิยามะฮฺ ทั้งนี้การปฏิบัติสิ่งที่วาญิบย่อมไม่พ้นความบกพร่องแน่นอน
การละหมาดมีที่เป็นวาญิบและที่เป็นสุนัต การถือศีลอดมีที่เป็นวาญิบและที่เป็นสุนัต เช่นเดียวกันกับการทำหัจญฺ การเศาะดะเกาะฮฺ เป็นต้น ดังนั้นบ่าวคนหนึ่งจึงยังคงมีโอกาสจะหาความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺด้วยสิ่งที่เป็นสุนัตได้ทุกเวลาที่ต้องการ จนกระทั่งเขาจะเป็นที่ชอบของอัลลอฮฺ

ประเภทของการละหมาดสุนัต
การละหมาดสุนัตมีหลายประเภท
1-    ประเภทที่ถูกบัญญัติให้ละหมาดร่วมกันเป็นญะมาอะฮฺ เช่นละหมาดตะรอวีหฺ อิสติสกออ์(ขอฝน) กุสูฟ(เมื่อเกิดสุริยคราสและจันทรคราส) และอีดทั้งสอง
2-    ประเภทที่ไม่ได้บัญญัติให้ละหมาดร่วมกัน เช่นละหมาดอิสติคอเราะฮฺ
3-    ประเภทที่ยึดติดกับการละหมาดวาญิบ เช่นละหมาดเราะวาติบ
4-    ประเภทที่ไม่ได้ยึดติดกับการละหมาดวาญิบ เช่นละหมาดฎุฮา
5-    ประเภทที่มีกำหนดเวลา เช่นละหมาดตะฮัจญุด
6-    ประเภทที่ไม่ได้มีกำหนดเวลา เช่น ละหมาดสุนัตมุฏลัก
7-    ประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับสาเหตุ เช่นละหมาดตะหิยะตุลมัสญิด ละหมาดสองร็อกอะฮฺวุฎูอ์
8-    ประเภทที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับสาเหตุ เช่นละหมาดสุนัตมุฏลัก
9-    ประเภทที่เน้นให้กระทำเป็นพิเศษ เช่นละหมาดอีดทั้งสอง กุสูฟ และวิตรฺ
10-    ประเภทที่ไม่เน้นให้กระทำเป็นพิเศษ เช่นละหมาดก่อนมัฆฺริบ เป็นต้น
นี่คือความประเสริฐที่อัลลอฮฺมอบให้แก่บ่าวของพระองค์ กล่าวคือพระองค์ได้บัญญัติแก่พวกเขาซึ่งสิ่งที่พวกจะได้ใช้เพื่อเข้าใกล้กับพระองค์ เปิดโอกาสหลายช่องทางให้แก่บ่าวเพื่อพวกเขาจะได้ขจัดความผิดต่อพระองค์ เพิ่มพูนผลบุญและยกระดับความใกล้ของตัวเองกับพระองค์ ฉะนั้นจึงควรเป็นอย่างยิ่งที่บ่าวจะกล่าวสรรเสริญและขอบคุณพระองค์

1- การละหมาดสุนัตเราะวาติบ

สุนัตเราะวาติบ คือการละหมาดสุนัตก่อนหรือหลังละหมาดฟัรฎุ ซึ่งมีสองประเภทด้วยกัน

ประเภทของการละหมาดเราะวาติบ
หนึ่ง สุนัตเราะวาติบมุอักกะดะฮฺ(เน้นให้ปฏิบัติ) ซึ่งมีทั้งหมด 12 ร็อกอะฮฺ
1-    สี่ร็อกอะฮฺก่อนละหมาดซุฮฺริ
2-    สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดซุฮฺริ
3-    สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดมัฆฺริบ
4-    สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดอิชาอ์
5-    สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดฟัจญ์รฺ (ศุบหฺ)
มีรายงานจากท่านหญิงอุมมุ หะบีบะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮา ภรรยาของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَـا مِنْ عَبْدٍ مُسْلِـمٍ يُصَلِّي ٬ كُلَّ يَوْمٍ ثِنْتَي عَشْرَةَ رَكْعَةً تَطَوُّعاً غَيْرَ فَرِيضَةٍ إلَّا بَنَى الله لَـهُ بَيْتاً فِي الجَنَّةِ، أَوْ إلَّا بُنِيَ لَـهُ بَيْتٌ فِي الجَنَّةِ»
ความว่า “ไม่มีบ่าวมุสลิมคนไหนที่ได้ละหมาดสุนัตวันละ 12 ร็อกอะฮฺ นอกจากอัลลอฮฺจะสร้างบ้านให้เขาหลังหนึ่งในสวรรค์ หรือ บ้านหลังหนึ่งจะถูกสร้างให้เขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 728)

และบางครั้งอาจละหมาดเราะวาติบมุอักกะดะฮฺ เพียง 10 ร็อกอะฮฺ ซึ่งจะเหมือนที่กล่าวมาข้างต้นทุกอย่างเพียงแต่ละหมาดก่อนซุฮฺริแค่ 2 ร็อกอะฮฺ
มีรายงานจากท่านอิบนุอุมัรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า
صَلَّيْتُ مَعَ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم قَبْلَ الظُّهْر سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَهَا سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ المَغْرِبِ سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ العِشَاءِ سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ الجُـمُعَةِ سَجْدَتَيْنِ، فَأَمَّا المَغْرِبُ وَالعِشَاءُ وَالجُـمُعَةُ فَصَلَّيْتُ مَعَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم فِي بَيْتِـهِ
ความว่า “ฉันได้ละหมาดพร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก่อนซุฮฺริ 2 ร็อกอะฮฺ หลังซุฮฺริ 2 ร็อกอะฮฺ หลังมัฆฺริบ 2 ร็อกอะฮฺ หลังอิชาอ์ 2 ร็อกอะฮฺ ก่อนศุบฺหิ 2 ร็อกอะฮฺ และหลังจากญุมุอะฮฺ 2 ร็อกอะฮฺ ซึ่งละหมาดหลังมัฆฺริบ อิชาอ์ และญุมุอะฮฺนั้น ฉันละหมาดกับท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่บ้านของท่าน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 937 และมุสลิม เลขที่: 729 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

สอง สุนัตเราะวาติบที่ไม่มุอักกะดะฮฺ ซึ่งท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมทำ แต่ไม่ได้ทำเป็นประจำ ได้แก่ สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดอัศฺริ สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดมัฆฺริบ สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดอิชาอ์ และมีสุนัตสี่ร็อกอะฮฺก่อนละหมาดอัศฺริ

หุก่มการละหมาดสุนัตมุฏลัก
การละหมาดสุนัตมุฏลัก(การละหมาดสุนัตทั่วไปที่ไม่มีมูลเหตุเฉพาะเจาะจง)นั้นมีบัญญัติให้ละหมาดทั้งกลางวันและกลางคืน โดยละหมาดครั้งละสองร็อกอะฮฺและประเสริฐที่สุดคือละหมาดกลางคืน

สุนัตเราะวาติบที่เน้นให้กระทำมากที่สุด
สุนัตเราะวาติบที่เน้นให้ทำมากที่สุดคือ สองร็อกอะฮฺก่อนศุบหฺ โดยมีสุนัตให้ละหมาดเพียงสั้นๆ ซึ่งหลังจากสูเราะฮฺฟาติหะฮฺให้อ่านในร็อกอะฮฺแรกด้วยสูเราะฮฺ อัล-กาฟิรูน และในร็อกอะฮฺที่สองให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ หรือในร็อกอะฮฺแรกให้อ่านอายะฮฺในสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 136 จนจบ นั่นคือ
(ﭣ ﭤ ﭥ...) [البقرة/136]
ในร็อกอะฮฺที่สองให้อ่านอายะฮฺที่ 64 จากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน
 (ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ) [آل عمران/64]
และบางครั้งให้อ่านด้วยอายะฮฺที่ 52 จากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน
( ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ) [آل عمران/52].

ผู้ใดที่ไม่ทันละหมาดสุนัตเราะวาติบเหล่านี้ในเวลาของมันเนื่องจากเหตุจำเป็น สุนัตให้เขาละหมาดชดในเวลาอื่น
สมมุติว่าหากมุสลิมคนหนึ่งได้อาบน้ำวุฎูอ์(อาบน้ำละหมาด)และได้เข้ามัสญิดหลังจากอะซานซุฮฺริ แล้วได้ละหมาดสองร็อกอะฮฺโดยตั้งเจตนาว่าได้ละหมาดตะหิยะตุลมัสญิด สุนัตวุฎูอ์และสุนัตก่อนซุฮฺริพร้อมๆ กันถือว่าการละหมาดของเขาใช้ได้
ส่งเสริมให้ทิ้งช่วง ระหว่างละหมาดวาญิบกับละหมาดสุนัตเราะวาติบทั้งก่อนและหลังด้วยการย้ายที่หรือการพูดคุย
จะละหมาดเราะวาติบที่บ้านหรือที่มัสญิดก็ได้ แต่ที่ดีที่สุดคือละหมาดที่บ้านเพราะท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวไว้ว่า
«... فَصَلُّوا أَيُّهَا النَّاسُ فِي بُيُوتِكُمْ فَإنَّ أَفْضَلَ الصَّلاةِ صَلاةُ المَرْءِ فِي بَيْتِـهِ إلَّا المَكْتُوبَةَ»
ความว่า “พวกท่านจงละหมาดสุนัตที่บ้านของพวกท่านเถิด เพราะการละหมาดที่ดีที่สุด คือการที่คนๆหนึ่งละหมาดที่บ้านของเขา ยกเว้นละหมาดวาญิบ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 731 สำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม เลขที่: 781)

ลักษณะการละหมาดสุนัต
1- อนุญาตให้ละหมาดสุนัตในท่านั่งได้ถึงแม้ว่าสามารถที่จะยืนได้ แต่หากผู้ใดละหมาดยืนนั้นจะดีกว่า ส่วนละหมาดวาญิบนั้นการยืนถือว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งจะนั่งไม่ได้เว้นแต่สำหรับผู้ที่ไม่สามารถที่จะยืนได้ อนุโลมให้ละหมาดนั่งหรือตามความสามารถที่เขาจะทำได้
2- ผู้ใดที่ละหมาดในท่านั่งโดยไม่มีความจำเป็นใดๆเขาจะได้ผลบุญครึ่งหนึ่งของผลบุญผู้ที่ยืนละหมาด แต่หากมีความจำเป็นเขาก็จะได้ผลบุญเต็มเหมือนผู้ละหมาดยืน และผู้ที่ละหมาดสุนัตในท่านอนเพราะเหตุจำเป็นก็จะได้ผลบุญเหมือนผู้ที่ละหมาดยืนแต่หากไม่มีความจำเป็นเขาก็จะได้ครึ่งหนึ่งจากผลบุญของผู้ที่ละหมาดในท่านั่ง


2- การละหมาดตะฮัจญุด
หุก่มกิยามุลลัยลฺ
กิยามุลลัยลฺ คือการละหมาดสุนัตมุฏลักซึ่งเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺได้ใช้ให้เราะสูลของพระองค์ปฏิบัติเป็นประจำ
1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ)  [المزمل / 1-4].
ความว่า “โอ้ผู้คลุมกายอยู่นั้น จงยืนขึ้น(ละหมาด)ในเวลากลางคืนเว้นแต่เพียงเล็กน้อย(ไม่ใช่ตลอดคืน) ครึ่งหนึ่งของกลางคืน หรือลดน้อยกว่านั้นเพียงเล็กน้อย หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้าๆเป็นจังหวะ” (อัล-มุซซัมมิล : 1-4)

2- และอัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ)  [الإسراء/79].
ความว่า “และจากบางช่วงของกลางคืน เจ้าจงตื่นขึ้นมาละหมาด เป็นการสมัครใจสำหรับเจ้า หวังว่าพระผู้อภิบาลของเจ้าจะให้เจ้าได้รับตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ” (อัล-อิสรออ์ :79)

3- และอัลลอฮฺได้กล่าวถึงลักษณะของผู้ที่เกรงกลัวอัลลอฮฺว่า
(ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ) [الذاريات/17- 18].
ความว่า “พวกเขาได้หลับนอนเพียงนิดหน่อยในเวลากลางคืน และในยามรุ่งสาง พวกเขาได้ขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ” (อัซ-ซาริยาต : 17-18)

ความประเสริฐของการละหมาดกิยามุลลัยลฺ
กิยามุลลัยลฺเป็นอิบาดะฮฺที่ประเสริฐที่สุดอย่างหนึ่ง และประเสริฐกว่าการละหมาดสุนัตกลางวัน เพราะมันจะเกิดความอิคลาศเพื่ออัลลอฮฺมากกว่าเนื่องจากเป็นช่วงที่ลับจากสายตาผู้คน และเนื่องจากความลำบากอดนอนหรือตื่นนอนเพื่อทำการละหมาดนั้นเป็นสิ่งที่น้อยคนจะทำได้ และเนื่องจากมันการละหมาดที่ได้รสชาติในการเข้าพบอัลลอฮฺมากที่สุด และในช่วงท้ายของกลางคืนนั้นเป็นเวลากิยามุลลัยลฺที่ประเสริฐที่สุด
1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ)  [المزمل/6].
ความว่า “แท้จริงการตื่นขึ้นในเวลากลางคืนนั้นเป็นเป็นที่ประทับใจและการอ่านที่ชัดเจนยิ่ง” (อัล-มุซซัมมิล : 6)

2- และมีรายงานจากท่านอัมฺรุ อิบนุ อับสะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إنَّ أَقْرَبَ مَا يَكُونُ الرَّبُّ عَزَّ وَجَلَّ مِنَ العَبْدِ جَوْفَ اللَّيْلِ الآخِرِ، فَإنْ اسْتَطَعْتَ أَنْ تَـكُونَ مِـمَّنْ يَذْكُرُ الله عَزَّ وَجَلَّ فِي تِلْكَ السَّاعَةِ فَكُنْ، فَإنَّ الصَّلاةَ مَـحْضُورَةٌ مَشْهُودَةٌ إلَى طُلُوعِ الشَّمْسِ..»
ความว่า “แท้จริงช่วงที่อัลลอฮฺจะอยู่ใกล้กับบ่าวของพระองค์มากที่สุดคือช่วงท้ายของกลางคืน ฉะนั้นหากท่านทำจะทำตัวเป็นคนที่ซิกฺรุระลึกถึงอัลลอฮฺในช่วงดังกล่าวได้ก็จงทำ เพราะการละหมาดในช่วงนี้มะลาอิกะฮฺจะคอยเป็นสักขีพยานตลอดจนกระทั่งเช้า” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์3579 และอัน-นะสาอีย์ 572 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของท่าน)

3- และมีคนถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าการละหมาดใดที่ประเสริฐที่รองลงมาจากละหมาดห้าเวลา? ท่านตอบว่า
«أَفْضَلُ الصَّلاةِ بَـعْدَ الصَّلاةِ المَكْتُوبَةِ، الصَّلاةُ فِي جَوْفِ اللَّيْلِ»
ความว่า “การละหมาดที่ประเสริฐที่สุดรองลงมาจากละหมาดห้าเวลาคือการละหมาดในช่วงท้ายของกลางคืน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1163)

ช่วงเวลากลางคืนที่ดุอาอ์จะถูกตอบรับ
1- มีรายงานจากท่านญาบิรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إنَّ فِي اللَّيْلِ لَسَاعَةً لا يُوَافِقُهَا رَجُلٌ مُسْلِـمٌ يَسْأَلُ الله خَيْراً مِنْ أَمْرِ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، إلَّا أَعْطَاهُ إيَّاهُ، وَذَلِكَ كُلَّ لَيْلَةٍ»
ความว่า “แท้จริงในเวลากลางคืนนั้นมีช่วงหนึ่งที่ไม่มีมุสลิมคนไหนที่ขอดุอาต่ออัลลอฮฺให้เขาได้สิ่งหนึ่งจากประการทางโลกหรืออาคิเราะฮฺซึ่งตรงกับช่วงดังกล่าวพอดี นอกจากอัลลอฮฺจะให้สิ่งที่เขาขอแน่นอน และช่วงที่ว่านี้จะมีอยู่ทุกคืน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 757)

2- และมีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَنْزِلُ رَبُّنَا تَـبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إلَى سَمَاءِ الدُّنْيَا حِيْنَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الآخِرُ يَـقُولُ: مَنْ يَدْعُونِي فَأَسْتَـجِيبَ لَـهُ؟ مَنْ يَسْأَلُنِي فَأُعْطِيَـهُ؟، مَنْ يَسْتَغْفِرُنِي فَأَغْفِرَ لَـهُ؟»
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะลงมาสู่ฟ้าชั้นที่หนึ่งในทุกๆคืนในช่วงหนึ่งในสามสุดท้ายของคืน แล้วพระองค์จะกล่าวว่า มีผู้ใดวิงวอนขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าตอบรับคำขอนั้น มีผู้ใดขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าจะให้เขาในสิ่งที่เขาขอ มีผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้าไหม แล้วข้าจะอภัยให้แก่เขา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1145 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 758)

มีสุนัตให้มุสลิมนอนในสภาพที่สะอาดจากหะดัษและนอนแต่เนิ่นๆ หลังจากละหมาดอิชาอ์ เพื่อจะได้ตื่นละหมาดกลางคืนอย่างกระฉับกระเฉง
ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَـعْقِدُ الشَّيْطَانُ عَلَى قَافِيَةِ رَأْسِ أَحَدِكُمْ إذَا هُوَ نَامَ ثَلاثَ عُقَدٍ، يَضْرِبُ على مكان كُلِّ عُقْدَةٍ: عَلَيْكَ لَيْلٌ طَوِيلٌ فَارْقُدْ. فَإنِ اسْتَيْقَظَ فَذَكَرَ الله انْحَلَّتْ عُقْدَةٌ، فَإنْ تَوَضَّأَ انْحَلَّتْ عُقْدَةٌ، فَإنْ صَلَّى انْحَلَّتْ عُقْدَةٌ، فَأَصْبَـحَ نَشِيْطاً طَيِّبَ النَّفْسِ، وَإلَّا أَصْبَـحَ خَبِيْثَ النَّفْسِ كَسْلانَ»
ความว่า “ชัยฏอนจะสะกดจุดที่ต้นคอคนหนึ่งคนใดเมื่อนอนหลับสามจุดด้วยกัน แต่ละจุดจะมีการย้ำคำกล่าวว่า ท่านยังมีเวลาหลับอีกยาวนาน ฉะนั้นจงหลับต่อไป หากเขาตื่นในตอนนั้นแล้วระลึกถึงอัลลอฮฺจุดหนึ่งก็จะถูกคลายไป และหากเขาไปอาบน้ำละหมาดอีกจุดหนึ่งก็จะถูกคลายไปและเมื่อเขาไปละหมาดอีกจุดสุดท้ายก็จะถูกคลายไป ในที่สุดเขาก็จะมีความกระฉับกระเฉง รู้สึกสบายกาย มิฉะนั้นแล้วเขาจะรู้สึกไม่ดี ขี้เกียจ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1142 สำนวนนี้เป็นท่าน และมุสลิม เลขที่: 776)

ความเข้าใจเกี่ยวกับกิยามุลลัยลฺ
มุสลิมควรที่จะขยันละหมาดกิยามุลลัยลฺให้มากเป็นพิเศษอย่าละเลยมัน เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ละหมาดกิยามุลลัยลฺจนกระทั่งส้นเท้าทั้งสองของท่านแตก แล้วท่านหญิงอาอิชะฮฺก็ถามท่านว่า ทำไมท่านต้องทำถึงขนาดนี้ ทั้งที่อัลลอฮฺได้อภัยโทษทุกอย่างแก่ท่านแล้วทั้งบาปที่ผ่านมาและบาปที่ยังมาไม่ถึง ท่านเลยตอบว่า
«أَفَلا أُحِبُّ أَنْ أَكُونَ عَبْداً شَكُوراً»
ความว่า “ฉันอยากเป็นบ่าวที่รู้จักชุกูรฺ(ขอบคุณ)ต่ออัลลอฮฺมากๆ ไม่ได้หรือ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 4837 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 2820)

จำนวนร็อกอะฮฺในการละมาดตะฮัจญุด
สิบเอ็ดร็อกอะฮฺพร้อมวิตรฺ หรือสิบสามร็อกอะฮฺพร้อมวิตรฺ

ช่วงเวลาในการละมาดตะฮัจญุด
เวลาที่ประเสริฐที่สุดคือหนึ่งในสามช่วงแรกในส่วนที่สองของกลางคืน ทั้งนี้ให้แบ่งกลางคืนออกเป็นสองส่วนแล้วลุกขึ้นละหมาดช่วงหนึ่งในสามช่วงแรกในส่วนที่สองของกลางคืน แล้วนอนในช่วงท้าย
มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมฺริน อิบนุ อัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَحَبُّ الصَّلاةِ إلَى الله صَلاةُ دَاوُدَ عَلَيْـهِ السَّلام، وَأَحَبُّ الصِّيَامِ إلَى الله صِيَامُ دَاوُدَ، وَكَانَ يَنَامُ نِصْفَ اللَّيْلِ، وَيَـقُومُ ثُلُثَهُ، وَيَنَامُ سُدُسَهُ، وَيَصُومُ يَوماً، وَيُفْطِرُ يَوماً»
ความว่า “การละหมาดที่อัลลอฮฺโปรดมากที่สุดคือการละหมาของดดาวุด อะลัยฮิสลาม และการถือศีลอดที่อัลลอฮฺโปรดมากที่สุดก็คือการถือศีลอดของดาวุดอาลัยฮิสลามเช่นกัน ซึ่งท่านจะนอนหนึ่งในสองส่วนแรกของกลางคืน แล้วลุกขึ้นมาละหมาดหนึ่งในสามช่วงแรกของส่วนที่สองของกลางคืน แล้วนอนอีกครั้งในหนึ่งในหกช่วงท้ายของของส่วนที่สองของกลางคืน และท่านจะถือศีลอดวันหนึ่ง แล้วหยุดวันหนึ่งตลอด” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1131 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 1159)

ลักษณะการละหมาดตะฮัจญุด
1- สุนัตให้ตั้งเจตนาก่อนนอนว่าจะลุกขึ้นละหมาดกิยามุลลัยลฺ ซึ่งถ้าหากเขาหลับโดยไม่ตื่นเขาก็จะได้ผลบุญในสิ่งที่ได้เจตนาไว้ ถือว่าการหลับสนิทของเขาเป็นเศาะดะเกาะฮฺจากอัลลอฮฺที่ให้แก่เขา และหากเขาตื่นขึ้นมาให้ขจัดอาการง่วงออกไปโดยเอามือลูบหน้าแล้วอ่านสิบอายะฮฺจากส่วนท้ายของสูเราะฮฺอาละอิมรอน ตั้งแต่อายะฮฺที่ว่า
 (ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ...)
แล้วให้เขาแปรงฟัน แล้วให้เขาอาบน้ำละหมาด หลังจากนั้นให้เขาเริ่มละหมาดตะฮัจญุด ด้วยสองร็อกอะฮฺสั้นๆ ทั้งนี้เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إذَا قَامَ أَحَدُكُمْ مِنَ اللَّيْلِ فَلْيَفْتَتِـح صَلاتَـهُ بِرَكْعَتَينِ خَفِيْفَتَيْنِ»
ความว่า “เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านได้ลุกขึ้นละหมาดในเวลากลางคืน ให้เขาเริ่มต้นเป็นปฐมละหมาดก่อนสองร็อกอะฮฺสั้นๆ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 768)

2- หลังจากนั้นให้ละหมาดทีละสองร็อกอะฮฺ โดยให้สลามในทุกๆ สองร็อกอะฮฺ ทั้งนี้เพราะมีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า
إن رَجُلاً قال: يا رَسولَ ا٬لله، كيف صلاة الليل؟ قال: «مَثْنَى مَثْنَى، فَإذَا خِفْتَ الصُّبْـحَ فَأَوْتِرْ بِوَاحِدَةٍ»
ความว่า “มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่าโอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม การละหมาดกลางคืนนั้นละหมาดอย่างไร? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ตอบว่า ละหมาดครั้งละสองร็อกอะฮฺ เมื่อกลัวว่าจะเข้าศุบหฺแล้วให้ละหมาดวิตรฺหนึ่งร็อกอะฮฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1137 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 749)

3- บางครั้งอาจละหมาดตะฮัจญุดสี่ร็อกอะฮฺรวดด้วยสลามเดียวก็ได้

4- และมีสุนัตให้ผู้ละหมาดรู้จำนวนร็อกอะฮฺที่ละหมาดประจำด้วย หากนอนไม่ตื่น ให้ชดด้วยจำนวนคู่ เนื่องจากมีรายงานว่า
سُئلت عائشة رضي الله عنها عن صَلاة رسولِ الله٬ صلى الله عليه وسلم بالليل فقالت: سَبْعٌ، وَتِسْعٌ، وَإحْدَى عَشْرَةَ سِوَى رَكْعَتَي الفَجْرِ
ความว่า “มีคนถามท่านหญิงอาอิชะฮฺถึงการละหมาดกลางคืนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านหญิงตอบว่า เจ็ด เก้า สิบเอ็ดร็อกอะฮฺนอกเหนือจากสองร็อกอะฮฺสุนัตก่อนศุบฺหิ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1139)

5- และสุนัตให้ละหมาดตะฮัจญุดที่บ้าน ปลุกให้สมาชิกในลุกขึ้นมาละหมาดด้วยและให้นำละหมาดพวกเขาเป็นบางครั้ง และสุนัตสุญูดให้นานจนเท่ากับอ่านอัลกุรอานได้ห้าสิบอายะฮฺ ถ้าหากง่วงก็ให้งีบหลับสักพัก และมีสุนัตให้ยืนกิยามให้นานและอ่านให้ยาว โดยให้อ่านอัลกุรอานญุซอ์หนึ่งหรือมากกว่า บางครั้งให้อ่านด้วยเสียงดังและบางครั้งให้อ่านด้วยเสียงค่อย เมื่ออ่านถึงอายะฮฺที่เกี่ยวกับความเมตตาก็ให้ขอดุอาอ์ให้ได้รับมัน เมื่ออ่านถึงอายะฮฺเกี่ยวกับการลงโทษให้ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากมัน และเมื่ออ่านถึงอายะฮฺที่สรรเสริญความบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺให้กล่าวตัสบีหฺ

6- หลังจากนั้นให้จบการละหมาดตะฮัจญุดด้วยละหมาดวิตรฺ เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«اجْعَلُوا آخِرَ صَلاتِكُمْ بِاللَّيْلِ وِتْراً»
ความว่า “ท่านจงจบท้ายละหมาดกลางคืนของท่านด้วยวิตรฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 998 และมุสลิม เลขที่: 751)

 

 

3- การละหมาดวิตรฺ
หุก่มการละหมาดวิตรฺ
การละหมาดวิตรฺเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้กระทำ ทั้งนี้ได้มีรายงานกล่าวว่า
«الوِتْرُ حَقٌّ عَلَى كُلِّ مُسْلِـمٍ»
ความว่า “การละหมาดวิตรฺเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข1422 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของท่าน และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ หมายเลข 1712)

เวลาของการละหมาดวิตรฺ
เวลาละหมาดวิตรฺคือหลังจากละหมาดอิชาอ์จนถึงออกฟัจญฺริที่สอง(คือถึงเวลาละหมาดศุบหฺ) และช่วงท้ายของกลางคืนเป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่เชื่อใจตัวเองว่าจะตื่นละหมาดได้ ทั้งนี้มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
مِنْ كُلِّ اللَّيْلِ قَدْ أَوْتَرَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم مِنْ أَوَّلِ اللَّيْلِ، وَأَوْسَطِهِ، وَآخِرِهِ، فَانْتَـهَى وِتْرُهُ إلَى السَّحَرِ
ความว่า “ในตลอดทั้งคืนเป็นช่วงเวลาที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยละหมาดวิตรฺทั้งสิ้นบางครั้งในช่วงแรก ในช่วงกลาง และในช่วงท้าย จนกระทั่งจบวิตรฺในเวลาสุหูรฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 996 และมุสลิม เลขที่: 745 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

ลักษณะการละหมาดวิตรฺ
บางครั้งอาจมีร็อกอะฮฺเดียว บางครั้งสาม ห้า เจ็ด หรือเก้า หากต่อกันรวดเดียวด้วยสลามเดียว (บันทึกโดยมุสลิมหมายเลข 746 และอัน-นะสาอีย์ หมายเลข 1713)

จำนวนร็อกอะฮฺของละหมาดวิตรฺอย่างน้อยที่สุดและมากที่สุด
1- อย่างน้อยที่สุดของคือหนึ่งร็อกอะฮฺการละหมาดวิตรฺ และมากที่สุดคือไม่เกินสิบสามร็อกอะฮฺ ให้ละหมาดครั้งละสองร็อกอะฮฺสองร็อกอะฮฺ แล้วจบท้ายด้วยหนึ่งร็อกอะฮฺ และวิตรฺที่สมบูรณ์แบบนั้นอย่างต่ำต้องไม่น้อยกว่าสามร็อกอะฮฺ โดยมีสลามสองครั้ง หรือมีสลามเดียวและตะชะฮฺฮุดครั้งเดียวตอนท้ายก็ได้ และสุนัตให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-อะอฺลาในร็อกอะฮฺแรกหลังจากฟาติหะฮฺ ในร็อกอะฮฺที่สองอ่านสูเราะฮฺ อัล-กาฟิรูน และในร็อกอะฮฺที่สามอ่านสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ
2- ถ้าหากละหมาดห้าร็อกอะฮฺให้ตะชะฮฺฮุดครั้งเดียวในตอนท้ายแล้วให้สลาม และหากละหมาดเจ็ดร็อกอะฮฺก็ให้ทำเช่นเดียวกัน แต่หากจะตะชะฮฺฮุดในร็อกอะฮฺที่หก แล้วเริ่มร็อกอะฮฺที่เจ็ดอีกหนึ่งร็อกอะฮฺก็ทำได้

มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
أوْصَانِي خَلِيلِي بِثَلاثٍ، لا أدَعُهُنَّ حَتَّى أمُوتَ: صَوْمِ ثَلاثَةِ أيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ، وَصَلاةِ الضُّحَى وَنَوْمٍ عَلَى وِتْرٍ
ความว่า “ผู้เป็นที่รักยิ่งของฉันได้สั่งเสียฉันสามอย่างด้วยกัน โดยไม่ให้ฉันละเลยสามอย่างนี้จนกว่าฉันจะตายไป คือการถือศีลอดสุนัตสามวันต่อเดือน การละหมาดฎุฮา และการละหมาดวิตรฺก่อนนอน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1137 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 749)

หากละหมาดวิตรฺเก้าร็อกอะฮฺให้ตะชะฮฺฮุดสองครั้ง ครั้งแรกในร็อกอะฮฺที่แปดแต่อย่าเพิ่งให้สลาม ให้ลุกขึ้นมาทำร็อกอะฮฺที่เก้าแล้วตะชะฮฺฮุดแล้วจึงให้สลาม แต่ที่ดีคือให้จบท้ายด้วยหนึ่งร็อกอะฮฺที่เอกเทศเสมอ หลังจากนั้นให้กล่าวหลังจากสลามว่า
(سُبْحَانَ الْمَلِكِ الْقُدُّوْسِ)
สุบหานัล มะลิกิล กุดดูส
โดยให้กล่าวสามครั้ง และให้ยืดเสียงในครั้งที่สาม

เวลาในการละหมาดวิตรฺ
ให้มุสลิมละหมาดวิตรฺหลังจากละหมาดตะฮัจญุด แต่หากกลัวว่าไม่ตื่น ก็ให้ละหมาดก่อนนอน เพราะมีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«مَنْ خَافَ أَنْ لا يَـقُومَ مِنْ آخِرِ اللَّيْلِ فَلْيُوتِرْ أَوَّلَـهُ، وَمَنْ طَمِعَ أَنْ يَـقُومَ آخِرَهُ فَلْيُوتِرْ آخِرَ اللَّيْلِ، فَإنَّ صَلاةَ آخِرِ اللَّيْلِ مَشْهُودَةٌ، وَذَلِكَ أَفْضَلُ»
ความว่า “ผู้ใดที่กลัวว่าตัวเองจะไม่ตื่นในช่วงท้ายของกลางคืน ให้เขาละหมาดวิตรฺในช่วงแรกๆและผู้ใดที่มั่นใจว่าจะตื่นในช่วงท้ายให้ละหมาดวิตรฺในช่วงท้าย เพราะการละหมาดวิตรฺในช่วงท้ายนั้นมลาอิกะฮฺจะดูเป็นสักขีพยาน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 755)

ผู้ใดที่ได้ละหมาดวิตรฺในช่วงแรกของกลางคืนแล้วตื่นขึ้นมาในช่วงท้ายอีก ให้เขาละหมาดคู่โดยไม่ต้องวิตรฺ ทั้งนี้มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«لا وِتْرَانِ فِي لَيْلَةٍ»
ความว่า “ไม่มีการละหมาดวิตรฺสองครั้งในคืนเดียว” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1439 และอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 470)

หุก่มการอ่านกุนูตในการละหมาดวิตรฺ
การกุนูตในวิตรฺนั้นให้ทำได้เป็นบางครั้ง ผู้ใดชอบที่จะทำก็ให้เขาทำ ส่วนผู้ใดที่ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ และที่ดีที่สุดคือไม่ทำมากกว่าทำ เพราะไม่มีรายงานที่ยืนยันได้จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านอ่านกุนูตในวิตรฺ

ลักษณะการดุอาอ์ในกุนูตวิตรฺ
ในกรณีที่ละหมาดวิตรฺสามร็อกอะฮฺ ให้ยกมือดุอาอ์หลังจากยืนในร็อกอะฮฺที่สามหรือก่อนรุกูอฺหลังจากอ่านสูเราะฮฺจบ โดยให้สรรเสริญ(ตะหฺมีด)อัลลอฮฺ(คือกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ) และกล่าวชมเชยอัลลอฮฺ แล้วกล่าวเศาะละวาตต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อจากนั้นให้ขอดุอาอ์ตามที่ใจปรารถนา จากบรรดาดุอาอ์ที่มีรายงานมาจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เช่น
«اللَّهُـمَّ اهْدِنِي فِيْـمَنْ هَدَيْتَ، وَعَافِنِي فِيْـمَنْ عَافَيْتَ، وَتَوَلَّنِي فِيْـمَنْ تَوَلَّيْتَ، وَبَارِكْ لِي فِيْـمَا أَعْطَيْتَ، وَقِنِي شَرَّ مَا قَضَيْتَ، إنَّكَ تَقْضِي وَلا يُـقْضَى عَلَيْكَ، وَإنَّهُ لا يَذِلُّ مَنْ وَالَيْتَ، تَـبَارَكْتَ رَبَّنَا وَتَعَالَيْتَ»
(เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1425 และอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 464)

และบางครั้งให้เริ่มกุนูตด้วยดุอาอ์ที่ได้รับรายงานจากท่านอุมัรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
«اللَّهُـمَّ إيَّاكَ نَعْبُدُ، وَلَكَ نُصَلِّي وَنَسْجُدُ، وَإلَيْكَ نَسْعَى وَنَحْفِدُ، نَرْجُو رَحْـمَتَـكَ وَنَخْشَى عَذَابَكَ، إِنَّ عَذَابَكَ بِالكَافِرِينَ مُلْـحِقٌ، اللَّهُـمَّ إنَّا نَسْتَعِينُكَ وَنَسْتَغْفِرُكَ، وَنُثْنِي عَلَيْكَ الخَيْرَ وَلا نَكْفُرُكَ، وَنُؤْمِنُ بِكَ وَنَخْضَعُ لَكَ، وَنَخْلَعُ مَنْ يَكْفُرُكَ»
(เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอัล-บัยฮะกีย์ หมายเลข (3144 ดู อิรวาอ์ อัล-เฆาะลีล หมายเลข 428)

และผู้ละหมาดสามารถที่จะเพิ่มดุอาอ์อะไรก็ได้ที่มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยที่ไม่ควรให้ยาวจนเกินไป เช่น
«اللَّهُـمَّ أَصْلِـحْ لِي دِيْنِيَ الَّذِي هُوَ عِصْمَةُ أَمْرِي، وَأَصْلِـحْ لِي دُنْيَايَ الَّتِي فِيهَا مَعَاشِي، وَأَصْلِـحْ لِي آخِرَتِيَ الَّتِي فِيهَا مَعَادِي، وَاجْعَلِ الحَيَاةَ زِيَادَةً لِي فِي كُلِّ خَيْرٍ، وَاجْعَلِ المَوْتَ رَاحَةً لِي مِنْ كُلِّ شَرٍّ»
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2720)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ العَجْزِ وَالكَسَلِ، وَالجُبْنِ وَالبُـخْلِ، وَالهَرَمِ وَعَذَابِ القَبْرِ، اللَّهُـمَّ آتِ نَفْسِي تَقْوَاهَا، وَزَكِّهَا أَنْتَ خَيْرُ مَنْ زَكَّاهَا، أَنْتَ وَلِيُّهَا وَمَولاهَا، اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ عِلْـمٍ لا يَنْفَعُ، وَمِنْ قَلْبٍ لا يَـخْشَعُ، وَمِنْ نَفْسٍ لا تَشْبَـعُ، وَمِنْ دَعْوَةٍ لا يُسْتَـجَابُ لَـهَا»
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2722)

หลังจากนั้นกล่าวในตอนท