การรักกันในหนทางของอัลลอฮฺ

การรักกันในหนทางของอัลลอฮฺและการปฏิสัมพันธ์ฉันพี่น้องในกรอบศาสนาอิสลาม ถือเป็นอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีเงื่อนไขหลายประการที่คนรักเพื่อนจะต้องปฏิบัติกับเพื่อนเพื่ออัลลอฮฺ งานชิ้นนี้จะอธิบายประเด็นต่างๆ อาทิ ผลและความดีของการรักกันเพื่ออัลลอฮฺ จะเลือกคบหาและมอบความสนิทสนมให้กับใครดี ลักษณะของ ผู้รักกันในหนทางของอัลลอฮฺ หน้าที่และเงื่อนไขของการคบเพื่อนและการรักกัน ตัวอย่างภาพแห่งมิตรภาพอันเข้มข้นจากหัวใจ ข้อพึงระวังในการคบเพื่อน

اسم الكتاب: المحبة في الله


الناشر: المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة


การรักกันในหนทางของอัลลอฮฺ

المحبة في الله

< تايلاندية >

 

 

       
อุมมุ อาอิช

أم عائش






 
ผู้แปล: ซุกรีย์นูร จงรักศักดิ์, ซุฟอัม อุษมาน
ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
 
ترجمة: شكري نور ، صافي عثمان
مراجعة: صافي عثمان

การรักกันในหนทางของอัลลอฮฺ

       

การรักกันในหนทางของอัลลอฮฺและการปฏิสัมพันธ์ฉันพี่น้องในกรอบศาสนาอิสลามถือเป็นอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีเงื่อนไขหลายประการที่คนรักเพื่อนจะต้องปฏิบัติกับเพื่อนเพื่ออัลลอฮฺ ซึ่งการปฏิบัติในสิ่งนี้ถือเป็นการเข้าหาอัลลอฮฺให้ใกล้มากยิ่งขึ้นและได้รับขั้นอันสูงส่ง ณ ที่พระองค์
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَأَلَّفَ بَيۡنَ قُلُوبِهِمۡۚ لَوۡ أَنفَقۡتَ مَا فِي ٱلۡأَرۡضِ جَمِيعٗا مَّآ أَلَّفۡتَ بَيۡنَ قُلُوبِهِمۡ وَلَٰكِنَّ ٱللَّهَ أَلَّفَ بَيۡنَهُمۡۚ إِنَّهُۥ عَزِيزٌ حَكِيمٞ ٦٣ ﴾ [الأنفال: ٦٣] 
ความว่า: และพระองค์ทรงสานหัวใจของพวกเขาให้รักใคร่กัน ซึ่งหากเจ้าทุ่มเทสิ่งที่มีในโลกนี้ทั้งหมดเจ้าก็ไม่สามารถที่จะเชื่อมโยงหัวใจของพวกเขาให้รักกันได้ แต่อัลลอฮฺทรงสานใจพวกเขา (อัล-อันฟาล:63)

ท่านอิบนุมัสอูด กล่าวว่า อายะฮฺนี้ถูกประทานเกี่ยวเนื่องกับผู้ที่รักกันเพื่ออัลลอฮฺ (รายงานโดยอัน-นะสาอีย์และอัล-หากิม ท่านกล่าวว่าเป็นรายงานที่เศาะฮีหฺ)
กวีบางคนได้กล่าวว่า
وأحبب لحبّ الله من كان مؤمنــــا *** و أبغض لبغض الله أهل التّمرّد
وما الدين إلا الحبّ و البغض و الولا *** كذاك البرا من كل غاو و معتدى
จงรักคนที่ศรัทธาเพื่ออัลลอฮฺ        จงชังผู้ที่ฝ่าฝืนเพื่อพระองค์
ดีน(ศาสนา)มิใช่อื่นใดเว้นแต่คือรักและชัง    หรือผูกสัมพันธ์(กับผู้ศรัทธา)และไม่เกี่ยวข้องกับผู้ละเมิดฝ่าฝืน

อิบนุ เราะญับกล่าวว่า การรักในหนทางของอัลลอฮฺจะสมบูรณ์ได้ด้วยการรักสิ่งที่อัลลอฮฺทรงชอบและเกลียดสิ่งที่พระองค์ทรงชัง ฉะนั้น ผู้ใดที่รักบางสิ่งที่อัลลอฮฺไม่โปรด หรือเกลียดบางสิ่งที่อัลลอฮฺทรงโปรดก็ถือว่าเตาฮีด(คำมั่นในการศรัทธาต่อเอกภาพของอัลลอฮฺ)และคำปฏิญาณตนว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ” ของเขายังไม่สมบูรณ์และจริงใจ เขายังคงมีชิริกเคาะฟีย์ (การตั้งภาคีแบบซ่อนเร้น) เพราะเกลียดสิ่งที่อัลลอฮฺชอบและชอบสิ่งที่พระองค์ไม่โปรดปราน
อิบนุล ก็อยยิมกล่าวว่า “ผู้ใดรักสิ่งหนึ่งนอกเหนือจากอัลลอฮฺโดยมิได้รักเพื่อพระองค์ และมิใช่เพราะสิ่งนั้นเป็นสื่อให้เขาได้กตัญญูต่ออัลลอฮฺ เขาจะต้องถูกลงโทษในดุนยาก่อนจะพบกับอัลลอฮฺในวันอาคิเราะฮฺ”
أنت القتيل بكل من أحببته *** فاختر لنفسك في الهوى من تصطفي
ทุกคนย่อมตกเป็นเหยื่อของคนรัก        จะขอทักหรือรักใครดูให้ดี

ผลและความดีของการรักกันเพื่ออัลลอฮฺ
ผู้ที่รักกันเพื่ออัลลอฮฺจะได้ผลดีหลายประการจากพระองค์ทั้งในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ เช่น

1. อัลลอฮฺจะรักเขา
มุอาซ เล่าว่า ฉันได้ยิน ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- กล่าวว่า
«قال الله تبارك و تعالى : وَجَبَتْ مَحَبَّتِي لِلْمُتَحَابِّينَ فِيَّ ، وَالْمُتَجَالِسِينَ فِيَّ ، وَالْمُتَزَاوِرِينَ فِيَّ ، وَالْمُتَبَاذِلِينَ فِيَّ» [رواه مالك و غيره]
ความว่า: “อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า ความรักของข้าจักตกกับผู้ที่รักกันเพื่อข้า ผู้ที่นั่งร่วมกันเพื่อข้า ผู้เยี่ยมเยียนกันเพื่อข้า และผู้เสียสละกันเพื่อข้า” (บันทึกโดยอิหม่ามมาลิกและคนอื่นๆ)

เช่นเดียวกับคำพูดของมลาอิกะฮฺที่จะกล่าวกับผู้ที่ไปเยี่ยมเพื่อนเพื่ออัลลอฮฺว่า
«إِنِّي رَسُولُ اللَّهِ إِلَيْكَ ، بِأَنَّ اللَّهَ قَدْ أَحَبَّكَ كَمَا أَحْبَبْتَهُ فِيهِ»
ความว่า:  "ฉันนี้คือทูตจากอัลลอฮฺมายังท่าน เพื่อจะบอกว่าอัลลอฮฺได้ทรงรักท่านเหมือนกับที่ท่านได้รักเขาเพื่อพระองค์"

2. ฝ่ายใดรักเพื่ออัลลอฮฺมากกว่า ฝ่ายนั้นจะเป็นที่รักของเพื่อนมากกว่า
อบีดัรดาอฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ อ้างคำพูดของท่านนบีว่า
«مَا مِنْ رَجُلَيْنِ تَحَابَّا فِي اللهِ إِلا كَانَ أَحِبَّهُمَا إِلَى اللَّهِ أَشَدُّهُمَا حُبًّا لِصَاحِبِهِ» [رواه الطبراني]
ความว่า: "ทุกคู่สหายสองคนที่รักกันเพื่ออัลลอฮฺนั้น คนซึ่งเป็นที่รักของอัลลอฮฺมากกว่า ก็คือคนที่รักเพื่อนของเขามากกว่าเสมอ" (บันทึกโดย อัฏ-เฏาะบะรอนีย์)

3. ได้รับเกียรติจากอัลลอฮฺ
อบี อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
«مَا مِنْ عَبْدٍ أَحَبَّ عَبْدًا للهِ إِلَّا أَكْرَمَهُ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ» [أخرجه أحمد بسند جيّد]
ความว่า "บ่าวทุกคนที่รักเพื่อนบ่าวด้วยกันเพื่ออัลลอฮฺนั้น พระองค์จะทรงให้เกียรติเขาเสมอ" (บันทึกโดยอะห์มัดด้วยสายรายงานที่ดี)

ทั้งนี้ การให้เกียรติของอัลลอฮฺต่อผู้หนึ่งจะครอบคลุมการให้เขาได้มีอีมาน มีความรู้ที่เป็นคุณ ปฏิบัติอะมัลที่ดี ตลอดจนให้มีความสะดวกในรูปแบบต่างๆ

4. ได้อยู่ในร่มเงาบัลลังก์ของพระองค์
อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
«إِنَّ اللهَ تَعَالى يَقُولُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ :" أَيْنَ الْمُتَحَابُّونَ بِجَلالِي ؟ الْيَوْمُ أُظِلُّهُمْ فِي ظِلِّي يَوْمَ لا ظِلَّ إِلا ظِلِّي » [رواه مسلم]
ความว่า  "อัลลอฮฺจะทรงกล่าวในวันกิยามะฮฺว่า ไหนล่ะผู้ที่รักกันเพื่อเทิดเกียรติข้า? วันนี้ฉันจะให้พวกเขาได้หลบร้อนใต้ร่มเงาของข้า อันเป็นวันที่ไม่มีร่มเงาใด ๆ นอกจากร่มเงาของข้าเท่านั้น” (บันทึกโดยมุสลิม)

ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวอธิบายในหนังสือ มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา ว่า “สำหรับคำว่า ไหนล่ะผู้ที่รักกันด้วยเกียรติของอัลลอฮฺนั้น เป็นการฉายให้เห็นว่าในใจของพวกเขาเต็มไปด้วยความรู้สึกเทิดทูนและยกย่องพระองค์ พร้อมกับการรักกันเพื่อพระองค์ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตในกรอบที่พระองค์ทรงกำหนด ไม่ใช่ผู้ที่ไม่ให้ความสำคัญต่อกรอบของพระองค์เพราะมีอีมานอ่อนในหัวใจ"

อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้เล่าเช่นเดียวกันว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
«سَبْعَةٌ يُظلُّهُمُ اللَّهُ تعالى فِي ظِلِّهِ يَوْمَ لَا ظِلَّ إلَّا ظِلُّهُ : إِمَامٌ عَادِلٌ ، وشَابٌّ نَشَأَ فِي عِبَادَةِ اللَّهِ ، وَرَجُلٌ قَلْبُهُ مُعَلَّقٌ بِالْمَسَاجِدِ، وَرَجُلَانِ تَحَابَّا فِي اللَّهِ اجْتَمَعَا عَلَيْهِ وَتَفَرَّقَا عَلَيْهِ،.. إلخ» [متفق عليه]
ความว่า:  มนุษย์เจ็ดกลุ่มที่อัลลอฮฺจะทรงปกพวกเขาในวันที่ไม่มีร่มเงาใด ๆ นอกจากร่มเงาของพระองค์ คือ ผู้นำที่ยุติธรรม เยาวชนที่เติบใหญ่ด้วยการทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ผู้ที่หัวใจเฝ้านึกถึงมัสยิด คนสองคนที่รักกันเพื่ออัลลอฮฺ ทั้งสองเจอกันและพรากกันเพื่อพระองค์ ... จนจบหะดีษ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม) 

5. ได้ลิ้มรสชาติแห่งการศรัทธา
ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
«مَنْ أَحَبَّ أَنْ يَجِدَ طَعْمَ الْإِيمَانِ، فَلْيُحِبَّ الْمَرْءَ لَا يُحِبُّهُ إِلَّا لِلَّهِ» [رواه الحاكم و قال : صحيح الإسناد و لم يخرجاه و أقرّه الذهبي]
ความว่า:  “ผู้ใดใคร่อยากลิ้มรสชาติแห่งการศรัทธา ก็จงรักผู้หนึ่งเพียงเพื่ออัลลอฮฺดู” (บันทึกโดยอัล-หากิม และท่านได้กล่าวว่าเป็นสายรายงานถูกต้อง แต่อัล-บุคอรีย์และมุสลิมไม่บันทึกไว้ ซึ่งอัซ-ซะฮะบีย์ก็ยอมรับตามนั้น)

6. ได้ชิมความหวานแห่งการศรัทธา
อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านนบีมุหัมมัด-ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า
«مَنْ سَرَّهُ أَنْ يَجِدَ حَلَاوَةَ الإِيْمَانِ، فَلْيُحِبَّ الْمَرْءَ لَا يُحِبُّهُ إِلَّا لِلَّهِ» [رواه أحمد و الحاكم و صححه الذهبي]
ความว่า: “ผู้ใดอยากชิมความหวานแห่งอีมาน ก็จงรักเพื่อนเพียงเพื่ออัลลอฮฺเท่านั้น” (บันทึกโดยอะห์มัดและอัล-หากิม อัซ-ซะฮะบีย์กล่าวว่าเศาะฮีหฺ)

อนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
« ثَلاثٌ مَنْ كُنَّ فِيهِ وَجَدَ حَلاوَةَ الإِيمَانِ : أَنْ يَكُونَ اللَّهُ وَرَسُولُهُ أَحَبَّ إِلَيْهِ مِمَّا سِوَاهُمَا ،  وَأَنْ يُحِبَّ الْمَرْءَ لا يُحِبُّهُ إِلا لِلَّهِ - عَزَّ وَجَلَّ - ، وَأَنْ يَكْرَهَ أَنْ يَعُوْدَ فِي الْكُفْرِ بَعْدَ إِذْ أَنْقَذَهُ اللَّهُ مِنْهُ كَمَا يَكْرَهُ أَنْ يُلْقَى فِي النَّارِ»  [متفق عليه]
ความว่า “สามคุณสมบัติที่ใครมี จักต้องได้ลิ้มรสหวานแห่งอีมาน คือ รักอัลลอฮฺและเราะสูลมากกว่าสิ่งใดๆทั้งหมด ไม่รักผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ และเกลียดกลัวการคืนสู่การกุฟรฺ(การปฏิเสธศรัทธา)หลังจากที่อัลลอฮฺทรงกู้ให้เขารอดพ้น เสมือนกับการเกลียดกลัวการที่ต้องถูกจับโยนเข้ากองไฟ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

ท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวในหนังสือมัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา ว่า “ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้บอกว่าผู้ใดอยู่ในความรู้สึกทั้งสามนี้จะได้รู้รสหวานแห่งอีมาน เพราะการได้รู้รสหวานของสิ่งใดขึ้นอยู่กับการรักใคร่ในสิ่งนั้น เช่น ผู้ใดรักชอบสิ่งใด หรือ อยากได้อะไร เมื่อเขาได้ตามความประสงค์นั้น เขาก็จะรู้รสหวานและความสุขสนุกกับสิ่งนั้น ซึ่งความสุขนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับสิ่งที่ชอบที่อยาก ดังนั้น ความหวานแห่งศรัทธาก็ย่อมขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของความรักของบ่าวที่มีต่ออัลลอฮฺ อันประกอบด้วยสามปัจจัย คือ เติมเต็มความรัก ขยายผล และละเว้นสิ่งที่อยู่ต่างฝั่งกับมัน โดยการเติมเต็มนั้น จะกระทำได้ด้วยการต้องให้อัลลอฮฺและเราะสูลเป็นสิ่งสุดเทิดทูนและหวงแหน ไม่รักใครเท่าทั้งสอง เพราะการรักในอัลลอฮฺและเราะสูลจะรักโดยสมบูรณ์ในระดับธรรมดาปกติไม่ได้ หากจะให้สมบูรณ์ก็คือต้องไม่รักผู้ใดและสิ่งอื่นเท่ากับความรักที่ให้กับทั้งสองอีกต่อไป ส่วนขยายผลนั้น จะทำได้ด้วยการไม่รักผู้ใดยกเว้นจะรักเพื่อพระองค์ และส่วนการละเว้นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับมันนั้น จะเกิดได้ก็ด้วยการชิงชังไม่ยอมรับการกุฟรฺซึ่งขัดแย้งกับอีหม่าน อย่างหนักและใหญ่หลวงกว่าการที่เขาชิงชังและไม่ยอมรับการถูกจับโยนเข้ากองเพลิง”

7. ทำให้อีหม่านสมบูรณ์
อบีอุมามะห์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านนบีมุหัมมัด-ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า
« مَنْ أَحَبَّ لِلَّهِ، وَأَبْغَضَ لِلَّهِ، وأَعْطَى لِلَّهِ ، وَمَنَعَ لِلَّهِ ، ، فَقَدِ اسْتَكْمَلَ الْإِيمَان» [رواه أبو داود بسند حسن]
ความว่า:  “ผู้ใดรักใครเพื่ออัลลอฮฺ เกลียดเพื่ออัลลอฮฺ ให้เพื่ออัลลอฮฺ หักห้ามเพื่ออัลลอฮฺ ก็ถือว่ามีอีหม่านที่สมบูรณ์แล้ว” (บันทึกโดยอบู ดาวูดด้วยสายรายงานที่หะสัน)

8. ได้เข้าสวรรค์
อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
«لَا تَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ حَتَّى تُؤْمِنُوا وَلَا تُؤْمِنُوا حَتَّى تَحَابُّوا، أَوَلَا أَدُلُّكُمْ عَلَى شَيْءٍ إِذَا فَعَلْتُمُوهُ تَحَابَبْتُمْ، أَفْشُوا السَّلَامَ بَيْنَكُمْ» [رواه مسلم]
ความว่า:  “พวกท่านจะไม่ได้เข้าสวรรค์จนกว่าจะศรัทธา และจะไม่ศรัทธาอย่างสมบูรณ์จนกว่าจะรักกัน เอาไหมล่ะฉันจะบอกสิ่งหนึ่งที่เมื่อพวกท่านทำแล้วพวกท่านก็จะรักกัน คือ จงเผยแพร่การให้สลามในหมู่พวกท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม)

9. ได้อยู่ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺในวันกิยามะฮฺ
 อบู มาลิก อัล-อัชอะรีย์ เล่าว่า ฉันอยู่พร้อมกับท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-แล้วอายะฮฺนี้ก็ถูกประทานให้แก่ท่าน
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَسۡ‍َٔلُواْ عَنۡ أَشۡيَآءَ إِن تُبۡدَ لَكُمۡ تَسُؤۡكُمۡ﴾ [المائ‍دة: ١٠١] 
ความว่า:  “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย สูเจ้าจงอย่าซักไซ้สิ่งบางอย่างที่หากมันถูกเปิดโปงแก่สูเจ้าแล้วจะทำให้สูเจ้าต้องลำบาก” (อัล-มาอิดะฮฺ :101)
แล้วเราก็ถามท่านกรณีคำพูดของท่านที่ว่า
«إِنَّ لِلَّهِ عِبَادًا لَيْسُوا بِأَنْبِيَاءَ , وَلا شُهَدَاءَ , يَغْبِطُهُمُ النَّبِيُّونَ وَالشُّهَدَاءُ بِقُرْبِهِمْ وَمَقْعَدِهِمْ مِنَ اللَّهِ يَوْمَ القِيَامَةِ»
ความว่า: “สำหรับอัลลอฮฺนั้นจะมีบ่าวที่ไม่ใช่นบีและไม่ใช่เหล่าชะฮีด แต่บรรดานบีและเหล่าชะฮีดต่างพากันอิจฉาที่พวกเขาได้ใกล้ชิดและการได้มีที่นั่งใกล้กับอัลลอฮฺในวันกิยามะฮฺ”
ซึ่งในนั้นมีคนอาหรับเบดูอินอยู่คนหนึ่ง เขารีบกุลีกุจอเร่งฝีเท้าสะบัดมือเข้ามาพร้อมกับกล่าวว่า โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ กรุณาบอกพวกเราซิว่าพวกเขาคือใครกัน ซึ่งฉันได้เห็นท่านเราะสูลุลลอฮฺมีใบหน้าสดชื่น แล้วท่านก็ตอบว่า
«هُمْ عِبَادُ اللَّهِ مِنْ بُلْدَانٍ شَتَّى وَقَبَائِلَ شَتَّى ، مِنْ شُعُوبِ الْقَبَائِلِ لَمْ تَكُنْ بَيْنَهُمْ أَرْحَامٌ يَتَوَاصَلُونَ بِهَا ، وَلا دُنْيَا يَتَبَاذَلُونَ بِهَا ، يَتَحَابُّونَ بِرُوحِ اللَّهِ، يَجْعَلُ اللَّهُ وُجُوهَهُمْ نُورًا، وَيَجْعَلُ لَهُمْ مَنَابِرَ مِنْ لُؤْلُؤٍ قُدَّامَ الرَّحْمَنِ ، يَفْزَعُ النَّاسُ وَلا يَفْزَعُونَ ، وَيَخَافُ النَّاسُ وَلا يَخَافُونَ» [رواه أحمد و الحاكم و صححه الذهبي ]
ความว่า:  “พวกเขาคือคณะบ่าวของอัลลอฮฺคณะหนึ่ง ที่มาจากภูมิลำเนาและเชื้อสายที่ต่างกัน จากชนชาติต่าง ๆ ที่ไม่มีความผูกพันทางเครือญาติเชื่อมโยงกัน และไม่มีพันธะทางดุนยาร่วมกัน พวกเขารักกันด้วยวิญญาณแห่งอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะทรงทำให้ใบหน้าพวกเขามีสง่าราศี และสร้างแท่นสูงจากไข่มุกให้กับพวกเขา ณ เบื้องหน้าพระองค์ ผู้คนทั้งหลายจะวิตกกังวลในวันกิยามะฮฺแต่พวกเขาจะไม่วิตกกังวลใด ๆ คนอื่นจะหวาดกลัวแต่พวกเขาไม่หวั่นไหวเลย” (บันทึกโดยอะห์มัด, อัล-หากิม และอัซ-ซะฮะบีย์กล่าวว่าเศาะฮีหฺ)

10. ใบหน้าพวกเขาจะมีสง่าราศีในวันกิยามัต
ด้วยหลักฐานหะดีษดังกล่าวข้างต้นที่ระบุว่า
«يَجْعَلُ اللَّهُ وُجُوهَهُمْ نُورًا»
ความว่า:  อัลลอฮฺ จะทรงทำให้ใบหน้าของพวกเขามีแสงเจิดจ้า

11. จะได้รับหอไข่มุก
ด้วยหลักฐานเดียวกันที่ระบุว่า
« وَيَجْعَلُ لَهُمْ مَنَابِرَ مِنْ لُؤْلُؤٍ»
ความว่า:  พระองค์จะสร้างแท่นจากไข่มุกให้พวกเขา

12. จะได้รับแท่นไข่มุกที่สร้างจากแสง
ในหะดีษที่เล่าโดยอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ที่ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
«يَضَعُ اللهُ عَزَّ وَ جَلَّ لَهُمْ يَوْمَ القِيَامَةِ مَنَابِرَ مِنْ نُوْرٍ»
ความว่า: “อัลลอฮฺจะทรงแท่นสูงจากแสงแก่พวกเขาในวันกิยามะฮฺ”

13. ได้รับคำชื่นชมจากบรรดานบีและชุฮะดาอฺ
ด้วยหะดีษสองหะดีษที่ผ่านมานั้นคือหะดีษ อัล-อัชอะรีย์ และหะดีษอิบนุ อุมัร ที่ระบุว่า
«يَغْبِطُهُمُ الشُّهَدَاءُ والنَّبِيُّونَ يَوْمَ القِيَامَةِ لِقُرْبِهِمْ مِنَ اللهِ تعالى وَمَجْلِسِهِمْ مِنْهُ»

14. ได้รับชื่อเรียกว่าเป็นวะลีย์ของอัลลอฮฺ
จากหะดีษอิบนุ อุมัรที่ระบุว่า
«هُمْ أَوْلِيَاءُ اللهِ عَزَّ وَ جَلَّ»
ความว่า:  พวกเขาคือเขาสนิทของอัลลอฮฺ

15. ไม่มีความหวาดวิตกและเศร้าเสียใจในวันกิยามัต
ด้วยสองหะดีษข้างต้นที่ระบุว่า
«لَا خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَ لَا هُمْ يَحْزَنُوْنَ» و قوله " «يَفْزَعُ النَّاسُ وَلا يَفْزَعُونَ ، وَيَخَافُ النَّاسُ وَلا يَخَافُونَ»
ความว่า:  พวกเขาจะไม่มีหวาดกลัวและความวิตกกังวลใดๆ " และคำกล่าวที่ว่า "คนอื่นจะวิตก แต่พวกเขาจะไม่วิตก แม้ว่าคนอื่นจะหวาดกลัว แต่พวกเขาก็ไม่หวาดกลัว "

16. คนคนหนึ่งสามารถคว้าระดับคนดีเพราะความรักของเขาในความดีของคนเหล่านั้น แม้ว่าการกระทำของเขาไม่ถึงขั้นเดียวกับพวกเขาก็ตาม
อิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า
جاء رجل إلى رسول الله صلى الله عليه وسلم فقال: يا رسول الله ، كَيْفَ تَقُولُ فِي رَجُلٍ أَحَبَّ قَوْمًا وَلَمْ يَلْحَقْ بِهِمْ ؟ قال : «المَرْءُ مَعَ مَنْ أَحَبَّ» [الصحيحان]
ความว่า:  มีชายคนหนึ่งมาหา ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- แล้วกล่าวว่า โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ท่านเห็นอย่างไรกับคนคนหนึ่งที่รักชอบพวกหนึ่งแต่เขาไม่อยู่ในระดับเดียวกับพวกเขา? ท่านตอบว่า “คนคนหนึ่งย่อมจะได้อยู่ร่วมกับคนที่เขารัก” (หะดีษรายงานโดยอัล-บุคอรีย์มุสลิม)

และในหะดีษอัล-บุคอรีย์มุสลิมยังมีระบุด้วยเช่นกันว่าท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้เล่าว่า
أَنَّ رَجُلا سأل النبي صلى الله عليه وسلم  مَتَى السَّاعَةُ ؟ قَالَ : «مَا أَعْدَدْتَ لَهَا ؟» قَالَ : مَا أَعْدَدْتُ لَهَا مِنْ كَثِيرِ صَلاةٍ وَلا صَوْمٍ وَلا صَدَقَةٍ، وَلَكِنِّي أُحِبُّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ. قَالَ : «أَنت مَعَ مَنْ أَحْبَبْتَ»
ความว่า:  มีชายคนหนึ่งมาถาม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าเมื่อไรจะถึงวันกิยามัต? ท่านถามกลับว่า “แล้วท่านเตรียมอะไรเพื่อรับมันล่ะ?” เขาตอบว่า ฉันไม่ได้เตรียมละหมาดที่มากมาย ศีลอดก็ไม่มาก เศาะดะเกาะฮฺก็ไม่มาก แต่ฉันรักอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ ท่านตอบว่า “ท่านจะได้อยู่กับคนที่ท่านรัก”
อนัสเล่าว่า ได้ยินเช่นนั้นแล้ว พวกเรารู้สึกว่าไม่มีสิ่งใดที่ชื่นชอบไปกว่าคำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ว่า ท่านจะได้อยู่ร่วมกับคนที่ท่านรัก ซึ่งฉันรักท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม รักอบู บักรฺ และรักอุมัร และฉันหวังว่าจะได้อยู่ร่วมกับพวกเขา เพราะความรักของฉันที่มีต่อพวกเขาแม้ว่าฉันจะมีอะมัลที่ไม่ถึงระดับพวกเขาก็ตามที

อีกทั้งมีรายงานจากอะลีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ที่อ้างว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺได้กล่าวว่า
«لَا يُحِبُّ رَجُلٌ قَوْمًا إِلَّا حُشِرَ مَعَهُمْ» [الطبراني في الصغير]
ความว่า:  “ใครรักใคร ผู้นั้นย่อมจะถูกต้อนชุมนุมรวมกับพวกเขา(ในวันกิยามะฮฺ)” (บันทึกโดยอัฏ-เฏาะบะรอนีย์)

จะเลือกคบหาและมอบความสนิทสนมให้กับใครดี
อัล-เกาะรอฟียฺ ได้กล่าวว่า คนทุกคนหาใช่ว่าเหมาะแก่การคบหา เป็นเพื่อน หรือ บอกความลับให้
อัลเกาะมะฮฺ ได้กล่าวว่า จงคบกับคนที่หากเป็นเพื่อนกันแล้ว เขาจะทำให้ท่านดูสง่างาม เมื่อท่านตกทุกข์เขาจะโอบอุ้ม เมื่อท่านพูดพลั้ง เขาจะแก้ต่าง หากเขาพบความดีในตัวท่าน เขาจะเก็บมาพูด หากพบความไม่ดีของท่าน เขาจะแก้ไขปิดบัง เมื่อท่านขอ เขาจะให้ เมื่อท่านเกิดทุกข์ เขาจะปลอบใจ เป็นคนที่รังควานท่านน้อยที่สุด และไม่ขัดแย้งกับท่านในทางใดๆ ก็ตาม
เชคอะห์มัด บิน อะฏออ์ ได้กล่าวว่า การคบกับคนขัดขา จะทำให้จิตใจพังสลาย การคบกับคนเหมือนตัวเองจะทำให้สติปัญญาเพิ่มพูน ทุกคนใช่ว่าเหมาะแก่การคบหาและปรึกษาขอความเห็นใจ และใช่ว่าทุกคนที่สามารถขอร้องได้นั้นจะสามารถเก็บความลับได้ มีเพียงผู้มีอะมานะฮฺเท่านั้นที่สามารถเก็บความลับได้ ความสำคัญของการคัดเฟ้นเพื่อนนั้นดูหะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็เป็นพอ ท่านกล่าวว่า
«الْمَرْءُ عَلَى دِينِ خَلِيلِهِ فَلْيَنْظُرْ أَحَدُكُمْ مَنْ يُخَالِلُ» [رواه أبو داود و غيره]
ความว่า: “คนเรานั้นมักคล้อยตามนิสัยเพื่อนสนิทแม้กระทั่งเรื่องศาสนาด้วยก็เช่นกัน ดังนั้น พวกท่านทุกคนจงคัดเลือกเพื่อนสนิทให้ดี"  (บันทึกโดยอบู ดาวูด และคนอื่นๆ)

อัล-เอาซาอียฺกล่าวว่า เพื่อนกับเพื่อนนั้นเป็นดั่งผ้าปะที่อยู่บนผ้า หากมันไม่เข้ากัน ก็จะทำให้ผ้าดูไม่สวย
มีคนบอก อิบนุ สัมม๊าก ว่า เพื่อนคนไหนที่ควรมอบความรักให้มากที่สุด? เขาตอบว่า คนที่ยึดมั่นในศาสนาอย่างสมบูรณ์ คนที่มีสติปัญญาสมบูรณ์ คนทีไม่ประจบสอพลอต่อหน้า ไม่ลืมเมื่อห่างไกล เมื่อท่านเข้าใกล้ เขาจะอุปถัมภ์ เมื่อท่านห่างเหิน เขาจะปกป้องรักษา เมื่อท่านขอช่วย เขาจะช่วย เมื่อท่านจำเป็น เขาก็จะดูแล ความรักทางการกระทำของเขาจะมากกว่าความรักในทางคำพูด ซึ่งถือเป็นการพิสูจน์ความจริง
อุละมาอ์บางท่าน ได้กล่าวว่า จงคบกับเพื่อนหนึ่งในสองประเภทนี้เท่านั้น คือ คนที่ท่านสามารถเรียนรู้และได้ประโยชน์ทางศาสนากับเขา หรือไม่ก็คนที่ท่านสามารถสอนและตอบรับเรื่องศาสนาจากท่าน ส่วนประเภทที่สามขึ้นไป ท่านจงหลีกไกล
ท่าน อะลีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า
إنّ أخاك الصِّدق من كان معك *** و من يضُرُّ نفسه لينفعك
و من إذا ريب الزّمان صدعك *** شتّت نفسه ليجمعك
เพื่อนแท้คือคนที่อยู่เคียงข้างท่าน และ พร้อมที่จะเสียสละเพื่อความสุขของท่าน
ตลอดจนคนที่เวลาเกิดภัยทุกข์ยาก เขาก็จะค้ำชูท่าน

นักกวีบางคน กล่าวว่า ท่านจงเป็นเพื่อนกับคนที่สามารถปิดความลับของท่าน ปิดความบกพร่องของท่าน อยู่ร่วมกับความทุกข์ของท่าน เผยแผ่ความดีของท่าน และเก็บซ่อนความชั่วของท่านเท่านั้น หากท่านหาไม่พบ ก็จงเพื่อนกับตัวเองก็พอ   
อุละมาอ์บางคน ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของเพื่อนดีที่สามารถให้ประโยชน์จากการคบหาและการตีสนิทว่ามีจะต้องมีคุณสมบัติห้าประการ คือ มีสติปัญญา มีนิสัยดี ไม่เป็นคนฟาสิก ไม่ใฝ่บิดอะฮฺ และไม่เป็นผู้หลงใหลโลกดุนยา

1. สติปัญญา
คุณสมบัติข้อนี้ถือเป็นเงื่อนไขหลักดั้งเดิม ดังนั้น จึงไม่มีประโยชน์ใด ๆ กับการเป็นเพื่อนกับคนโง่เขลา
ท่าน อะลีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า
فلا تصحب أخا الجهل *** و إياك و إياه
فكم من جاهل أردى *** حليما حين آخاه
يُقاس المرء بالمرء *** إذا ما المرء ماشاه
و للشيء على الشيء *** مقاييس و أشباه
و للقلب على القلب *** دليل حين يلقاه
เจ้าจงอย่าคบกับเพื่อนโฉดเขลา จงให้ไกลระหว่างท่านกับเขา
เพราะคนเถื่อนหลายคน ได้เปลี่ยนคนสุขุมให้เถื่อนเหมือนเขามามากนักต่อนักแล้ว
ดูคนให้ดูที่เพื่อน เมื่อเขาเดินไปด้วยกัน
สิ่งสองอย่าง ต่างมีมาตรวัดที่คล้ายและสิ่งเหมือนกัน
ใจกับใจนั้นจะรู้กัน ก็เมื่ออยู่ด้วยกัน

ผู้มีปัญญา คือผู้ที่เข้าใจสิ่งต่างๆ อย่างถูกต้องกับความจริง ทั้งด้วยตัวเองหรือผ่านการชี้แจง

2. นิสัยดี 
เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมี เพราะบ่อยครั้งที่คนมีปัญญาและสามารถเข้าใจความได้อย่างถูกต้อง เมื่อเผชิญกับความโกรธหรือตัณหาหรือความตระหนี่หรือความขลาดกลัว เขากลับสยบต่ออารมณ์ และยอมปฏิบัติสวนทางกับความรู้ที่เป็นจริง เพราะไม่สามารถบังคับตัวเองและไม่สามารถปรับนิสัยตัวเอง จึงไม่มีประโยชน์ใด ๆ กับการคบหากับเขา
ท่าน อบู หาติม เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า จำเป็นที่ผู้มีสติปัญญาต้องรับรู้ว่าไม่มีความสุขใดจะเท่ากับการได้คบเพื่อน และ ไม่มีความทุกข์ใดจะเท่ากับการขาดเพื่อนและการพยายามป้องกันสิ่งไม่ดีไม่ให้เกิดกับเพื่อนที่พลอยทุกข์กับสิ่งที่ตนประสพ เพื่อนที่ดีคือ คนที่เมื่อเพื่อนเกิดทุกข์เขาจะปกป้อง และไม่ตำหนิเพื่อนในสิ่งที่พลาดพลั้ง เขาคือมิตรทางนิสัย ทว่าต้องให้อภัยและขจัดความอิจฉาต่อเพื่อน เพราะการอิจฉาริษยาต่อเพื่อนเป็นตัวทำลายความรัก เช่นเดียวกับการมอบความรักอย่างเหลือล้นเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ และจะไม่ปรากฏความเสียสละจากจิตใจที่ไม่หวังดี

3. ไม่ใช่ฟาสิก ผู้ฝักใฝ่การทำบาป
คนไม่ดี ไม่มีประโยชน์ใดๆ กับการคบหากับเขา เพราะคนที่ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ไม่ประกันว่าจะไม่ติดนิสัย ไม่รับรองการคบค้า ทว่ามันจะพลิกผันแปรไปตามตัวแปร อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า
﴿وَلَا تُطِعۡ مَنۡ أَغۡفَلۡنَا قَلۡبَهُۥ عَن ذِكۡرِنَا وَٱتَّبَعَ هَوَىٰهُ﴾ [الكهف: ٢٨] 
ความว่า:  “และเจ้าจงอย่าตามคนที่เราได้ปิดหัวใจเขาจากการรำลึกถึงเราและตามตัณหาตัวเอง” (อัล-กะฮฺฟ์ 28)

และ พระองค์ ได้ตรัสว่า
﴿فَأَعۡرِضۡ عَن مَّن تَوَلَّىٰ عَن ذِكۡرِنَا وَلَمۡ يُرِدۡ إِلَّا ٱلۡحَيَوٰةَ ٱلدُّنۡيَا ٢٩﴾ [النجم : ٢٩] 
ความว่า: “เจ้าจงปลีกออกจากผู้ที่หันหลังให้กับการรำลึกถึงเราและไม่ปรารถนาสิ่งใดนอกจากแต่เพียงชีวิตดุนยา” (อัน-นัจญ์มฺ 29)

ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
«لَا تُصَاحِبْ إِلَّا مُؤْمَنًا وَ لَا يَأْكُلْ طَعَامَكَ إِلَّا تَقِيٌّ» [رواه الترمذي و أبو داود]
ความว่า:   ท่านจงคบหาเพียงกับคนมุอ์มิน และจงให้คนยำเกรงต่ออัลลอฮฺเท่านั้นที่ได้กินอาหารของท่าน” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ และ อบู ดาวูด)

อบู หาติม เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวในหนังสือ "เราเฏาะตุลอุเกาะลาอ์" ว่า คนมีปัญญาต้องไม่คบกับคนเลว เพราะเพื่อนไม่ดีเป็นเหมือนกับไฟคบหนึ่ง มันจะสานต่อความแค้น ซึ่งความหวังดีของเขาไม่แน่นอน สัญญาของเขาไม่จีรัง คนเราจะมีความสุขได้ด้วยสี่ประการ คือ มีภรรยาเป็นผู้ร่วมงาน มีบุตรเป็นคนดี มีเพื่อนเป็นคนดี และมีเงินทองจากบ้านเมืองของตัวเอง ส่วนเพื่อนที่ไม่สามารถให้ประโยชน์จากการคบหานั้น อันตรายกว่าการคลุกคลีกับสุนัข ผู้ใดคบเพื่อนเลว จะไม่ปลอดภัย เหมือนกับคนที่ร่วมวงในสิ่งเลวแล้วต้องถูกกล่าวหาตามไปด้วย

4. ไม่ใช่มุบตะดิอฺ ผู้ฝักใฝ่บิดอะฮฺ
คนทำบิดอะฮฺ การเป็นเพื่อนกับเขาจะทำให้เกิดอันตรายและสิ่งเลวจากบิดอะฮฺอาจจะโยงมาถูกตัวเขา กับคนที่ฝักใฝ่บิดอะฮฺจึงสมควรต้องหลีกเลี่ยงและไม่ข้องเกี่ยว

.5. ไม่ใช่ผู้ที่ฝักใฝ่หลงใหลดุนยา
การคบกับพวกนี้เป็นยาพิษที่อันตราย เพราะโดยปกติคนเรามักชอบลอกเลียนและทำตาม อีกทั้งอาจจะทำตามโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป ในขณะที่การคบเพื่อนกับคนสมถะ จะทำให้ท่านสมถะกับดุนยา ดังนั้น จึงไม่สมควรคบเพื่อนที่เป็นนักใฝ่หาความสุขสบายในโลกดุนยา และควรยึดเพื่อนที่หวังในโลกอาคิเราะฮฺ
الناس شتىّ إذا ما أنت ذقتهم *** لا يستوون كما لا يستوي الشّجر
هذا له ثمر حلو مذاقته *** و ذاك ليس له طعم و لا ثمر
มนุษย์นั้น มีหลากหลาย เมื่อเจ้าสัมผัสพวกเขา
พวกเขาจะไม่เท่ากัน เฉกเช่นความแตกต่างกันของต้นไม้
ต้นนี้มีผลรสหวาน ต้นนั้นจืดชืด หรือไม่มีผลเลย

ลักษณะของผู้รักกันในหนทางของอัลลอฮฺ
1. ทำคุณไม่เพิ่ม ห่างเหินไม่ลด
ในบรรดา ลักษณะ ของ การรักในหนทางของอัลลอฮฺ คือมันจะไม่เพิ่มเพราะการทำดีและไม่ลดเพราะความห่างเหินต่อกัน
ยะฮฺยา บินมุอาซ อัรรอซียฺ ได้กล่าวว่า ลักษณะ ของรักแท้นั้นจะต้องไม่เพิ่มเพราะการทำดีต่อกัน และไม่ลดเพราะความห่างเหินจากกัน

2. เห็นชอบด้วยกัน
ในจำนวนลักษณะของการรักในหนทางของอัลลอฮฺ เช่นกันก็คือ การให้ความเห็นชอบร่วมกันในสิ่งต่าง ๆ อุละมาอ์บางท่านได้กล่าวว่า เพื่อนจะกล่าว "ไม่" ในสิ่งที่ท่านบอกว่า "ไม่" และ จะกล่าวว่า "ใช่" ในสิ่งที่ท่านบอกว่า "ใช่"

3. ไม่ริษยาเพื่อน
อีกหนึ่งลักษณะของการรักในหนทางของอัลลอฮฺ เช่นกัน ก็คือ คนที่รักเพื่อนต้องไม่ริษยาเพื่อนในทางศาสนาและทางโลกดุนยา
อัลลอฮฺ ได้กล่าวถึงลักษณะของคนรักแท้ ในอายะฮฺที่ว่า
﴿وَلَا يَجِدُونَ فِي صُدُورِهِمۡ حَاجَةٗ مِّمَّآ أُوتُواْ وَيُؤۡثِرُونَ عَلَىٰٓ أَنفُسِهِمۡ وَلَوۡ كَانَ بِهِمۡ خَصَاصَةٞۚ ﴾ [الحشر: ٩] 
ความว่า: “และในใจของพวกเขาไม่มีความรู้สึกอยากได้ในสิ่งที่คนเหล่านั้นได้รับ และพวกเขาจะให้ความสำคัญและเห็นแก่คนเหล่านั้นมากกว่าตัวพวกเขาเอง แม้ว่าพวกเขาต้องลำบากทุกข์ยาก” (อัล-หะชัร 9)

4. หวังดีต่อเพื่อนเหมือนกับหวังกับหวังดีต่อตัวเอง
อีกหนึ่ง ลักษณะ ของ คนที่รักในหนทางของอัลลอฮฺก็คือ เขาอยากให้เพื่อนได้ในสิ่งที่ตัวเองอยากได้หรือปรารถนา ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
« لا يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لأَخِيهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ» [رواه الشيخان]
ความว่า:  “พวกท่านทุกคนจะไม่บรรลุอีหม่านที่สมบูรณ์จนกว่าจะนึกอยากให้เพื่อนได้ในสิ่งที่ตัวเองรักที่จะได้” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

5. ใช้การภักดีต่ออัลลอฮฺ เป็นเกณฑ์วัดความรักชอบต่อกัน
ลักษณะของการรักในหนทางของอัลลอฮฺ อีกเช่นกัน คือ ความรักชอบจะเพิ่มขึ้นเมื่อเห็นเพื่อนยิ่งภักดีต่อ อัลลอฮฺ และลดลงเมื่อเห็นเพื่อนทำบาปหรือมะอฺศิยะฮฺต่ออัลลอฮฺผู้สูงส่ง  

หน้าที่และเงื่อนไขของการคบเพื่อนและการรักกัน
มุสลิมแต่ละคนต่างมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันหลายประการ สิทธิและหน้าที่เหล่านี้ถูกกำหนดโดยสัญญาแห่งอิสลาม มุสลิมทุกคนจึงจำเป็นต้องเคารพสัญญานี้ ไม่มีผู้ใดสามารถล่วงละเมิดได้ บางส่วนของสิทธิและหน้าที่นี้ได้ถูกระบุผ่านพจนารถของ ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- เช่น คำกล่าวของท่าน ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ที่ว่า
«حَقُّ الْمُسْلِمِ عَلَى الْمُسْلِمِ سِتٌّ : إِذَا لَقِيتَهُ فَسَلِّمْ عَلَيْهِ ، وَإِذَا دَعَاكَ فَأَجِبْهُ ، وَإِذَا اسْتَنْصَحَكَ فَانْصَحْ لَهُ ، وَإِذَا عَطَسَ فَحَمِدَ اللَّهَ فَشَمِّتْهُ ، وَإِذَا مَرِضَ فَعُدْهُ ، وَإِذَا مَاتَ فَاتْبِعْهُ»  [متفق عليه]
ความว่า: “หน้าที่มุสลิมต่อมุสลิมนั้นมีหกประการ เมื่อท่านพบ ท่านจะต้องให้สลามแก่เขา เมื่อเขาเชิญชวน ท่านจะต้องตอบรับเขา เมื่อเขาขอคำปรึกษา ท่านต้องให้คำชี้แนะแก่เขา เมื่อเขาจามแล้วสดุดีอัลลอฮฺ ท่านจะต้องกล่าวดุอาอ์แก่เขา เมื่อเขาป่วย ท่านจะต้องเยี่ยมเขา และเมื่อเขาสิ้นชีวิต ท่านจะต้องร่วมติดตามขบวนส่งศพเขา” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

ต่อการอธิบายเกียรติศักดิ์ศรีของมุสลิม ตลอดจนสิ่งที่มุสลิมไม่สามารถละเมิดต่อมุสลิมอื่นๆนั้น ท่านนบีมุหัมมัด-ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า
«إِيَّاكُمْ وَالظَّنَّ فَإِنَّ الظَّنَّ أَكْذَبُ الْحَدِيثِ ، وَلا تَحَسَّسُوا وَلا تَجَسَّسُوا وَلا تَنَافَسُوا وَلا تَحَاسَدُوا وَلا تَبَاغَضُوا، وَكُونُوا عِبَادَ اللَّهِ إِخْوَانًا، الْمُسْلِمُ أَخُو الْمُسْلِمِ ، لَا يَظْلِمُهُ وَلَا يَخْذُلُهُ وَلَا يَحْقِرُهُ، التَّقْوَى هَاهُنَا ـ وَيُشِيرُ إِلَى صَدْرِهِ ـ بِحَسْبِ امْرِئٍ مِنْ الشَّرِّ أَنْ يَحْقِرَ أَخَاهُ الْمُسْلِمَ، كُلُّ الْمُسْلِمِ عَلَى الْمُسْلِمِ حَرَامٌ دَمُهُ وَمَالُهُ وَعِرْضُهُ» [رواه الشيخان]
ความว่า “พวกท่านจงหลีกเลี่ยงการมองในแง่ร้าย เพราะการมองในแง่ร้ายคือวาจาที่เป็นเท็จมากที่สุด พวกท่านจงอย่าสอดรู้สอดเห็น อย่าหาความลับ อย่าชิงดีชิงเด่น อย่าอิจฉาริษยา และอย่าโกรธแค้นกัน จงอยู่อย่างบ่าวของอัลลอฮฺฉันมิตรสหาย มุสลิมนั้นเป็นพี่น้องของมุสลิม เขาจะต้องไม่รังแก ไม่ลบหลู่ และไม่ดูหมิ่นเขา ความยำเกรงนั้น อยู่ที่นี่ (พร้อมกับได้ชี้ไปยังที่หน้าอกของท่าน) เป็นการพอแล้วที่คนหนึ่งจะถูกตราเป็นคนชั่วด้วยการที่เขาดูถูกมิตรมุสลิมของตัวเอง มุสลิมต่อมุสลิมทุกคนนั้นเป็นเรื่องต้องห้ามในเลือดเนื้อ เกียรติศักดิ์ศรี และทรัพย์สมบัติของเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

พันธะแห่งความเป็นพี่น้องกันนั้นมันผูกพันกันเหมือนกับสัญญาการแต่งงานระหว่างสองสามีภรรยา โดยพันธะนี้จะผูกพันกับสิทธิและหน้าที่ด้านต่างๆ เช่น สิทธิและหน้าที่ด้านการเงิน กายภาพ วาจา และหัวใจ การรักษาไว้ซึ่งสิทธิและหน้าที่อันนี้จะทำให้ความรักมีความต่อเนื่องถาวรและเพิ่มความเห็นอกเห็นใจกัน ทำให้คู่สัญญาอยู่ในบัญชีประเภทคนที่รักกันเพื่ออัลลอฮฺ และได้รับผลตอบแทนและผลบุญมากมายดังที่เราได้กล่าวมา 

1. สิทธิและหน้าที่ของการเป็นเพื่อนในด้านการเงิน
หนึ่งในจำนวนสิทธิและหน้าที่ทางการเงินที่จำต้องปฏิบัติก็คือการผ่อนปรนให้แก่พี่น้องที่ติดหนี้จนถึงโอกาสที่เขาฟื้นตัวหรือมีสภาพคล่อง พระองค์ อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า
﴿ وَإِن كَانَ ذُو عُسۡرَةٖ فَنَظِرَةٌ إِلَىٰ مَيۡسَرَةٖۚ ﴾ [البقرة: ٢٨٠] 
ความว่า: “และหากเขาเป็นคนมีความทุกข์ยากก็จงผ่อนปรนให้เขาไปจนกว่าเขาจะมีความคล่องตัว” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 280)

ท่านนบีมุหัมมัด-ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า
«مَنْ يَسَّرَ عَلَى مُعْسِرٍ يَسَّرَ اللَّهُ عَلَيْهِ فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ» [مسلم و غيره]
ความว่า:  ผู้ใดผ่อนปรนแก่คนทุกข์ยาก อัลลอฮฺจะทรงผ่อนปรนแก่เขาในดุนยาและอาคิเราะฮฺ (บันทึกโดยมุสลิมและท่านอื่นๆ)

และในจำนวน สิทธิและหน้าที่ ทางการเงินเช่นกันก็คือ จะต้องให้การเกื้อกูลทางการเงิน โดยนักวิชาการได้แบ่งเป็นการช่วยเหลือเป็นสามระดับ คือ
ระดับที่หนึ่ง ระดับต่ำสุดคือ การที่ท่านช่วยพี่น้องด้วยเงินที่เกินจากความจำเป็นของท่าน กล่าวคือ เมื่อท่านสังเกตเห็นพี่น้องมีความจำเป็นและท่านมีทรัพย์สินเหลือพอ ท่านเป็นฝ่ายเข้าเสนอความช่วยเหลือโดยไม่รอให้เขาต้องขอ หากต้องให้เขาขอก่อนแล้วจึงจะให้ก็ถือว่ามันเป็นการสะเพร่าที่สุดแล้วสำหรับสิทธิและหน้าที่ของพี่น้อง

ระดับที่สอง ท่านถือปัญหาของพี่น้องเป็นปัญหาของตัวท่านเองและพร้อมใจให้เขามีส่วนในทรัพย์สมบัติของท่าน
อัล-หะสัน ได้กล่าวว่า มีบางคนถึงกับตัดผ้าของตัวเองเป็นสองส่วนเพื่อให้กับเพื่อนสวมใส่ มีชายคนหนึ่งมาหาอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ พร้อมกับกล่าวว่า ฉันอยากจะเป็นเพื่อนกับท่านเพื่ออัลลอฮฺ ท่านตอบว่า ท่านทราบหรือเปล่าว่าการเป็นเพื่อนกันนั้นมีสิทธิและหน้าที่อย่างไร? เขาตอบว่า ถ้าอย่างนั้น ช่วยบอกฉันทีซิ เขาตอบว่า ท่านจะต้องไม่มีสิทธิในเงินทองของท่านเองพิเศษไปกว่าฉัน เขากล่าวว่า ฉันไม่เคยทำสิ่งนี้ได้เลย เขาตอบว่า ถ้าอย่างงั้นก็จงไปเสียจากฉัน
ท่านอะลียฺ บิน อัล-หุสัยน์ ได้ถามชายคนหนึ่งว่า คน ๆ หนึ่งสามารถจะล้วงมือในกระเป๋าเพื่อนของเขาและเอาเงินตามใจอยากโดยไม่ขออนุญาตจากเขาก่อนได้ไหม เขาตอบว่า ไม่ได้ ท่านกล่าวว่า ถ้าอย่างงั้น พวกท่านก็ไม่ใช่เพื่อนกัน

ระดับที่สาม คือ ระดับสูง กล่าวคือ ต้องให้ค่าแก่เพื่อนมากกว่าตัวเองและถือความจำเป็นของเขาสำคัญกว่าความจำเป็นของตัวเอง และนี่คือ ระดับศิดดีกีนและสุดยอดระดับของผู้ที่รักกัน
ท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมาได้กล่าวว่า มีคนมอบหัวแพะให้กับเศาะหาบะฮฺท่านเราะสูลุลลอฮฺ -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- คนหนึ่ง เขาจึงกล่าวว่า เพื่อนของฉันคนนั้นมีความจำเป็นมากกว่าฉันอีก เขาจึงส่งไปให้เขา แล้วคนนั้นก็ส่งให้คนอื่นอีก และมีการส่งไปส่งมาจนกระทั่งกลับมาถึงคนเดิมคนแรก หลังจากที่เวียนวนไปถึงเจ็ดคน ซึ่งระดับนี้ ถือเป็นระดับสูงสุดของการอีซารฺ(การสละความสุขส่วนตนให้ผู้อื่น) คือระดับของบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุม
ท่านหุมัยด์ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า เมื่อบรรดาเศาะหาบะฮฺมาถึงมะดีนะฮฺ บรรดาเหล่าผู้อพยพได้อาศัยอยู่กับเหล่าอันศอรฺ ซึ่งอับดุรเราะฮฺมาน บิน เอาฟ ได้พักอาศัยกับสะอัด บิน อัร-เราะบีอฺ เขากล่าวว่า ฉันจะแบ่งทรัพย์ของฉันให้ท่าน และจะเสียสละภรรยาคนหนึ่งของฉันให้ท่าน เขาตอบว่า ขอให้อัลลอฮฺทรงให้ความบะเราะกะฮฺความจำเริญต่อท่านในครอบครัวและทรัพย์สมบัติของท่านเถิด แล้วเขาปฏิเสธสิ่งที่สะอัดมอบให้โดยทำทีเหมือนรับมอบแล้วคืนกลับให้เขา
อัลลอฮฺ ได้กล่าวชื่นชมคนเหล่านี้ว่า
﴿وَيُؤۡثِرُونَ عَلَىٰٓ أَنفُسِهِمۡ وَلَوۡ كَانَ بِهِمۡ خَصَاصَةٞۚ ﴾ [الحشر: ٩] 
ความว่า “พวกเขาให้ความสำคัญต่อผู้อื่นมากกว่าตัวเอง แม้ว่าพวกเขาเองก็มีความขัดสนจำเป็นก็ตาม” (อัล-หะชัรฺ 9)

อบู สัลมาน อัด-ดารอนียฺ ได้กล่าวว่า ฉันมีเพื่อนคนหนึ่งที่อิรักซึ่งฉันเคยไปหาเขาตอนที่กำลังมั่งมี ฉันบอกเขาว่า ฉันอยากขอเงินท่านสักหน่อย แล้วเขาก็โยนถุงเงินและฉันก็เก็บเอาเท่าที่ต้องการ วันหนึ่งฉันได้มาหาเขาแล้วบอกว่า ฉันต้องการอะไรสักอย่าง เขาตอบว่า ท่านต้องการเท่าไร? เมื่อนั้น ความรู้สึกอบอุ่นแห่งมิตรภาพจากเขาก็หายออกไปจากหัวใจของฉัน มีบางคนกล่าวว่า เมื่อท่านขอทรัพย์จากเพื่อน แล้วเขาถามว่า ท่านจะเอาไปทำอะไร ก็แสดงว่าเขาได้ละทิ้งสิทธิแห่งความเป็นพี่น้องไปแล้ว
และนี่คือระดับการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หากท่านยังปฏิบัติไม่ได้กับเพื่อนของท่านก็จงทราบเถิดว่าพันธะแห่งความเป็นมิตรยังไม่หยั่งลึกลงในก้นบึ้งหัวใจ การเป็นเพื่อนยังคงเป็นเพียงการคบหาระดับเผินๆ ธรรมดา และไม่หยั่งลึกในความคิดและศาสนา
มัยมูน บิน มิฮฺรอน ได้กล่าวว่า ผู้ใดยอมเสียเพื่อนดีๆ ก็จงคบกับคนตายในหลุมศพแทนเสีย

2. สิทธิและหน้าที่ของการเป็นเพื่อนในด้านกายภาพ
ในที่นี้หมายถึงการช่วยเหลือเพื่อนด้วยพละกำลัง การลงมือปฏิบัติก่อนที่เพื่อนจะร้องขอ และให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นพิเศษ ซึ่งขั้นนี้มีหลายระดับเช่นเดียวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
ระดับที่หนึ่ง ระดับต่ำสุด คือ การช่วยเหลืออย่างเต็มใจและยินดีเมื่อมีความสามารถและได้รับการร้องขอ
ท่านนบีมุหัมมัด-ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า
«مَنْ نَفَّسَ عَنْ مُؤْمِنٍ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ الدُّنْيَا ، نَفَّسَ اللَّهُ عَنْهُ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ يَوْمِ الْقِيَامَةِ ، وَمَنْ يَسَّرَ عَلَى مُعْسِرٍ ، يَسَّرَ اللَّهُ عَلَيْهِ فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ ، وَمَنْ سَتَرَ مُسْلِمًا ، سَتَرَهُ اللَّهُ فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ ، وَاللَّهُ فِي عَوْنِ الْعَبْدِ ، مَا كَانَ الْعَبْدُ فِي عَوْنِ أَخِيهِ»
ความว่า: “ผู้ใดปลดความทุกข์ยากดุนยาจากคนมุอ์มินผู้ศรัทธาหนึ่งอย่าง อัลลอฮฺจะทรงปลดความทุกข์ยากของวันกิยามะฮฺหนึ่งอย่างแก่เขา และผู้ใดที่ผ่อนปรนหนี้แก่คนที่ลำบากจริงๆ อัลลอฮฺจะทรงผ่อนปรนให้ความง่ายดายแก่เขาในดุนยาและอาคิเราะฮฺ และผู้ใดปกปิดความลับของมุสลิมคนหนึ่ง อัลลอฮฺจะทรงปกปิดความลับของเขาในดุนยาและในอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺนั้นจะทรงช่วยเหลือบ่าวของพระองค์เสมอ ตราบใดที่บ่าวให้ความช่วยเหลือต่อมิตรของเขา”

อัล-หะสัน อัลบัศรีย์ ได้ส่งเพื่อนของเขากลุ่มหนึ่งเพื่อให้มาช่วยเหลือความจำเป็นของเพื่อนของพวกเขาคนหนึ่ง ท่านบอกว่า พวกท่านจงแวะเข้าพบ ษาบิต อัล-บุนานีย์ แล้วจงชวนเขาไปด้วย พวกเขาจึงแวะเข้าพบษาบิต แต่เขาอ้างว่า ฉันกำลังอิอฺติกาฟอยู่ พวกเขาจึงกลับมาบอกอัล-หะสัน ท่านจึงบอกว่า พวกท่านจงบอกเขาว่า โอ้ คนที่ตาเป็นฝ้าฟางเอ๋ย ท่านไม่รู้หรือว่าการไปช่วยเพื่อนคนหนึ่งของท่านนั้นมันดีต่อท่านมากกว่าการไปทำหัจญ์สุนัต (หัจญ์ครั้งที่สองขึ้นไป)เสียอีก พวกเขาจึงกลับไปบอกษาบิต เขาจึงละการอิอฺติกาฟและออกไปพร้อมกับพวกเขา

ระดับที่สอง จะต้องตระหนักว่าความจำเป็นของเพื่อนนั้นคือความจำเป็นของตัวเอง
ชาวสะลัฟบางคนพยายามดูแลจุนเจือความต้องการของครอบครัวเพื่อนหลังจากที่เขาเสียชีวิตแล้วเป็นเวลาถึงสี่สิบปี เขาจะมาหาและออกค่าใช้จ่ายให้กับพวกเขาทุกวันด้วยเงินของตัวเอง ทำให้คนใสครอบครัวเหล่านั้นรู้สึกว่าพ่อของพวกเขาเสียเพียงแต่ร่างเท่านั้นแต่ความสะดวกอื่น ๆ ยังคงอยู่

ระดับที่สาม ต้องให้ความสำคัญแก่ความจำเป็นของเพื่อนมากว่าความจำเป็นของท่าน ต้องเร่งช่วยเหลือเขาแม้ว่าความจำเป็นของท่านต้องชะลอการตอบสนอง
อิบนุ ชุบรุมะฮฺ ได้ให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อความจำเป็นของเพื่อนบางคน จากนั้นก็มีของฝากมาแด่เขา เขาถามว่า นี่มันอะไรกัน ? เขาตอบว่า เป็นรางวัลให้กับสิ่งที่ท่านได้ช่วยเหลือฉัน เขาตอบว่า ท่านเอาของของท่านกลับไปเถอะ ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานพลานามัยแด่ท่าน เมื่อท่านขอความช่วยเหลือใด ๆ จากเพื่อน แล้วเพื่อนของไม่ได้ทุ่มเทมอบความช่วยเหลือแก่ท่าน ท่านก็จงเอาน้ำละหมาดแล้วละหมาดญะนาซะฮฺสี่ตักบีรให้กับเขา จงถือเขาเหมือนเป็นคนตายแล้วเสียดีกว่า
อัล-หะสัน กล่าวว่า เพื่อนของเรา เป็นที่รักแก่เรามากกว่าภรรยาและลูก ๆ เพราะลูกเมียนั้นได้แต่พูดถึงเรื่องโลกดุนยา แต่เพื่อนของเราคอยตักเตือนเรื่องอาคิเราะฮฺ
นอกจากนี้ การไปเยี่ยมเยือนเพื่ออัลลอฮฺก็เป็นหนึ่งในภารกิจที่มุสลิมต้องปฏิบัติกับเพื่อน ดังที่ ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
«أَلا أُخْبِرُكُمْ بِرِجَالِكُمْ مِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ ؟ النَّبِيُّ فِي الْجَنَّةِ ، وَالشَّهِيدُ فِي الْجَنَّةِ ، وَالصِّدِّيقُ فِي الْجَنَّةِ ، وَرَجُلٌ يَزُورُ أَخَاهُ فِي نَاحِيَةِ الْمِصْرِ فِي الْجَنَّةِ»
ความว่า:  “เอาไหมล่ะ ฉันจะบอกประเภทบุคคลที่จะได้เข้าสวรรค์ให้พวกท่านทราบ? นบีจะได้เข้าสวรรค์ ชะฮีดที่ตายเพื่อศาสนาจะได้เข้าสวรรค์ ศิดดีกหรือผู้สัจจริงก็จะได้เข้าสวรรค์ และคนที่ไปเยี่ยมเพื่อนที่ชานเมืองจะได้เข้าสวรรค์”

มาดูตัวอย่างภาพที่น่าประทับใจของการเยี่ยมเยือนเพื่ออัลลอฮฺที่ควรแก่เอาอย่างสำหรับผู้ที่ต้องการมีจรรยามารยาทที่สมบูรณ์ นั้นคือ สัมพันธภาพระหว่างอบู อุบัยด์ อัล-กอซิม บิน สลาม กับ ท่านอิหม่ามอะหมัด บิน หันบัล เราะฮิมะฮุลลอฮฺ  ท่านอบู อุบัยด์ ได้เล่าว่า ฉันได้เข้าพบท่านอิหม่ามอะหฺมัด บิน หันบัล ณ บ้านของท่าน แล้วท่านก็ให้ฉันนั่งที่ตรงกลางบ้าน โดยเขานั่งลงก่อน ฉันเลยถามว่า โอ้ อบู อับดุลลอฮฺ มีคนบอกว่า เจ้าบ้านนั้นพึงควรจะต้องนั่งที่กลางบ้านมากกว่าคนอื่นมิใช่หรือ? ท่านตอบว่า ใช่ เขาจะนั่งหรือจะให้ใครนั่งก็ได้ ฉันเลยนึกในใจว่า โอ้ อบูอุบัยด์ จงจำเป็นบทเรียนให้ดีน่ะ จากนั้น ฉันก็กล่าวว่า โอ้ อบู อับดุลลอฮฺ หากฉันได้มาหาท่านในสภาพที่พึงควรแก่ฐานะท่าน ฉันก็อยากจะมาหาท่านทุกวัน ท่านตอบว่า อย่าทำอย่างนั้นเลย ฉันมีเพื่อนมากมายที่เจอกับเขาแค่ปีละครั้ง แต่มีความสนิทสนมมากกว่าคนที่เจอกันทุกวัน ฉันนึกในใจว่า อ้า นี่ก็บทเรียนอีกอย่างแล้ว อบู อุบัยด์ เอ๋ย ครั้นเมื่อฉันต้องการผละจากไป ท่านก็ยืนขึ้น ฉันเลยบอกว่า ไม่ต้อง ท่านอบู อับดุลลอฮฺ อย่าทำอย่างนี้ ท่านเลยบอกว่า อัช-ชะอฺบีย์ได้กล่าวว่า การต้อนรับแขกที่สมบูรณ์ จะต้องเดินไปส่งเขาที่ประตูบ้านและสัมผัสกับพาหนะเขา ฉันเลยนึกใจใจอีกว่า อ้า นี่ก็อย่างที่สามแล้วล่ะ อบู อุบัยด์ เอ๋ย จากนั้น ท่านก็เดินมาส่งฉันที่ประตูและจับสัตว์พาหนะของฉัน
อีกหนึ่งภาพตัวอย่างที่น่าประทับใจเกี่ยวกับการเยี่ยมเยือนในหมู่ชาวสะลัฟและความยินดีที่ได้เพิ่มอีมานและการรักกันในหนทางของอัลลอฮฺก็คือเรื่องที่รายงานโดยอัล-เคาะฏีบ อัล-บัฆดาดีย์ ในหนังสือ ตารีคบัฆดาดของท่าน ที่รายงานจาก อัน-นักกอช ว่า "ฉันได้รับรายงานว่าเพื่อนของมุหัมมัด บิน ฆอลิบ หรืออบู ญะอฺฟัร อัล-มุกริอ์ บางคนได้มาหาเขาในวันที่ดินเต็มไปด้วยโคลนจนเปื้อนเท้าไปหมด แล้วท่านก็บอกเขาว่า เมื่อไรอีกเล่าที่ฉันจะมีโอกาสตอบแทนขาทั้งสองข้างที่ต้องเหนื่อยเดินมาหาฉันอย่างในวันนี้ เพื่อมาหาผลบุญจากการเยี่ยมเยียน จากนั้น ท่านก็ลุกขึ้นหาน้ำให้เขาดื่มและล้างเท้าทั้งสองข้างให้เขา”

3. สิทธิและหน้าที่ของการเป็นเพื่อนในด้านวาจา
จะต้องพูดหรือเงียบเป็นบางโอกาส กล่าวคือ
ก. เงียบกับสิ่งไม่ดี
โดย
1) ไม่พูดถึงความบกพร่องของเขา
สิทธิที่เพื่อนพึงได้รับจากท่านก็คือ ท่านจะต้องปิดปากไม่พูดความบกพร่องของเขาทั้งลับหลังและต่อหน้า แต่จะต้องทำเป็นไม่รู้ การพูดถึงความบกพร่องของเพื่อนลับหลังถือเป็นการนินทาที่หะรอม มันเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับคนมุสลิมทุกคน มากกว่านั้นก็คือ นอกเหนือจากการห้ามปรามของกฎหมายอิสลามแล้ว มันไม่ควรจะกระทำด้วยสองเหตุผลเพิ่มเติม คือ หนึ่ง ให้ท่านเช็คเรื่องของท่านเอง หากพบสิ่งบกพร่องอย่างหนึ่งก็จงอย่าถือสาความบกพร่องของสหายเช่นกัน และจงถือว่าเขาไม่สามารถจะควบคุมตัวเองในตอนนั้นเหมือนกับที่ท่านไม่สามารถจะควบคุมตัวเองในยามที่ถูกทดสอบนั้นเช่นกัน สอง ท่านต้องตระหนักว่า หากท่านต้องการจะหามิตรที่ไม่มีสิ่งบกพร่อง ท่านก็คงต้องแยกไปอยู่คนเดียวจนตาย เพราะไม่มีเพื่อนแบบนั้นให้คบตั้งแต่แรกแล้ว
ทุกคนย่อมมีดีมีชั่ว หากมีดีมากกว่าชั่วก็ถือว่าดีแล้ว คนมุอ์มินหรือผู้ศรัทธาจึงต้องนับความดีของมิตรสหายอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เขาเกิดความประทับใจ ให้เกียรติ และรักเพื่อนของเขา ส่วนคนมุนาฟิกที่ถูกสาปแช่งนั้นมักจะค้นหาสิ่งบกพร่องของเพื่อนอยู่ตลอดเวลา
อิบนุล มุบาร็อก กล่าวว่า ผู้ศรัทธาจะหาข้อแก้ต่างให้เพื่อน ส่วนคนมุนาฟิกนั้นจะหาข้อปรักปรำ
อัล-ฟุฎ็อยล์กล่าวว่า สุภาพบุรุษคือคนที่ให้อภัยต่อความผิดพลาดของมิตรสหาย
 
2) ไม่เปิดโปงความลับของเพื่อน
เพื่อนจะต้องปิดความลับของเพื่อน แม้กับเพื่อนสนิทก็ตาม หรือแม้กระทั่งภายหลังจากการเกิดการทะเลาะตัดขาดหรือ บาดหมาง เพราะการกระทำเช่นนี้เป็นนิสัยที่ชั่วและเป็นมารยาทที่เลวทราม
มีคนถามนักปราชญ์บางคนว่า ท่านเก็บความลับคนอื่นได้อย่างไร เขาตอบว่า ฉันนี่แหละคือสุสานที่ใช้ฝังความลับ
มีบางคนได้บอกความลับบางอย่างแก่เพื่อนของเขา ต่อมาเขาก็มาถามว่า ท่านเก็บมันไว้ไม่บอกใครใช่ไหม? เพื่อนของเขาตอบว่า ฉันลืมมันไปแล้วต่างหาก
มีคำพูดของคนสมัยก่อนว่า หัวใจของเสรีชน คือ สุสานฝังความลับของคนอื่น
อบู สะอีด อัษ-เษารีย์ กล่าวว่า เมื่อท่านต้องการจะเลือกคบกับใครสักคน ท่านก็จงยุให้เขาโกรธ แล้วส่งคนให้ไปถามเขาเกี่ยวกับตัวท่าน หากเขาตอบดีและปิดความลับก็จงคบกับเขาได้

3) ไม่โต้แย้ง ไม่ท้าทายเพื่อน
ท่านจะต้องละการท้าทายและโต้แย้งกับเพื่อน ชาวสะลัฟกล่าวว่า ผู้ใดชอบทะเลาะและโต้เถียงเพื่อน เกียรติของเขาจะลดน้อยและความเลื่อมใสในตัวเขาจะหมดไป สรุปแล้ว ไม่มีเหตุผลอันใดที่สนับสนุนการโต้เถียงนอกจากการแสดงให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองฉลาดและล้ำเลิศ และแสดงให้เห็นว่าคนอื่นโง่ บางคนแนะให้ละเว้นการโต้เถียงถึงกับกล่าวว่า “เมื่อท่านบอกเพื่อนว่า จงยืนขึ้น แล้วเขาย้อนถามว่า แล้วจะให้ฉันไปที่ไหน ก็จงอย่าคบกับเขา เพราะเขาสมควรต้องยืนและไม่ย้อนถามใดๆ” ซึ่งการโต้เถียงจะทำให้ใจเสียความรู้สึก ทำให้เกิดความเกลียดชัง หัวใจแข็งกระด้าง จะทำให้การยึดมั่นในศาสนาทางคำพูดและการปฏิบัติต้องกระด้างหยาบคาย
อบู อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านนบีมุหัมมัด-ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า
«مَنْ تَرَكَ الْمِرَاءَ وَهُوَ مُبْطِلٌ بُنِيَ لَهُ  بَيْتٌ فِي رَبَضِ الْجَنَّةِ، وَمَنْ تَرَكَهُ وَهُوَ مُحِقٌّ بُنِيَ لَهُ فِي وَسَطِهَا، وَمَنْ حَسَّنَ خُلُقَةُ بُنِيَ لَهُ فِي أَعْلَاهَا» [رواه أبو داود و غيره]
ความว่า:  “ผู้ใดละเว้นการโต้เถียง ในฐานะที่เขาเป็นฝ่ายผิด เขาผู้นั้น จะได้รับการปลูกสร้างบ้านหนึ่งหลังที่ด้านล่างของสวรรค์ และผู้ใดละเว้นการโต้เถียงทั้งๆ ที่เขาเป็นฝ่ายถูกและชอบธรรมมากกว่า เขาจะได้รับการปลูกบ้านตรงกลางสวรรค์ และผู้พยายามรักษามารยาทให้ดี เขาจะได้รับการปลูกสร้างบ้าน ณ จุดสูงสุดของสวรรค์” (บันทึกโดยอบู ดาวูดและคนอื่นๆ)  

คอลิด บิน ยะซีด บิน มุอาวิยะฮฺ กล่าวว่า ถ้าคนผู้หนึ่งชอบโต้แย้ง เถียงคำไม่ตกฟาก ยึดติดกับความคิดตัวเองฝ่ายเดียว นั่นคือความหายนะอย่างสมบูรณ์ของเขาแล้ว
อัล-หะสัน อัล-บัศรีย์ กล่าวว่า พวกท่านจงระวังการโต้เถียงเอาเป็นเอาตาย เพราะมันคือวินาทีที่ผู้รู้จะกลายเป็นคนโง่ และชัยฏอนก็จะใช้โอกาสนี้หาความเพลี่ยงพล้ำของเขา

ข. การพูดแต่เรื่องดีๆ ของเพื่อน
การคบเพื่อนนั้นไม่เพียงต้องปิดปากไม่พูดเรื่องไม่ดี หากมันยังต้องพูดเรื่องที่เป็นมงคลกับเพื่อน เพราะเพียงการเงียบไม่ปริปากพูดก็เหมือนกับการคบกับคนตาย โดยจะต้องปฏิบัติสิ่งต่อไปนี้
1. แสดงความเป็นมิตรผ่านวาจา
ต้องถามข่าวคราวที่สมควรแก่กาลเทศะ สรุปแล้วจะต้องมีอารมณ์ร่วมกับเขาในทางคำพูด เพราะเพื่อนแท้จะต้องแบกทุกข์และสุขร่วมกัน

2. ต้องบอกรักกับเพื่อน
นั้นคือต้องบอกกับเพื่อนว่าเรารักเขา อนัส บิน มาลิก กล่าวว่า
مَرَّ رَجُلٌ بِالنَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، وَعِنْدَهُ نَاسٌ ، فَقَالَ رَجُلٌ مِمَّنْ عِنْدَهُ : إِنِّي لأُحِبُّ هَذَا لِلَّهِ ، فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «أَعْلَمْتَهُ ؟» قَالَ : لا . قَالَ : «قُمْ إِلَيْهِ فَأَعْلِمْهُ» ، فَقَامَ إِلَيْهِ فَأَعْلَمَهُ ، فَقَالَ : أَحَبَّكَ الَّذِي أَحْبَبْتَنِي لَهُ ، ثُمَّ قَالَ : ثُمَّ رَجَعَ ، فَسَأَلَهُ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَأَخْبَرَهُ بِمَا قَالَ ، فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «أَنْتَ مَعَ مَنْ أَحْبَبْتَ ، وَلَكَ مَا احْتَسَبْتَ»  رواه أحمد و الحاكم و صححه الذهبي]
ความว่า:   มีชายคนหนึ่งแวะผ่านหน้าท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- แล้วก็มีคน ๆ หนึ่งที่อยู่ร่วมกับท่านเอ่ยบอกท่านว่า ฉันรักชายคนนี้เพื่ออัลลอฮฺมาก ๆ เลย ท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- จึงถามว่า “แล้วท่านบอกให้เขารู้แล้วหรือยัง?” เขาตอบว่า ยังเลย ท่านสั่งว่า “ถ้าอย่างนั้นก็จงลุกขึ้นไปบอกเขาสิ” แล้วเขาก็ลุกขึ้นไปบอกเขา เขาตอบกลับว่า ขอให้ผู้ที่ท่านรักฉันเพื่อเขา (หมายถึงพระองค์อัลลอฮฺ) จงรักท่านรักเช่นกัน จากนั้นเขาจึงกลับมาแล้วท่านนบีก็ถามเขา เขาก็บอกสิ่งที่เพื่อนของเขาบอก ท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-จึงตอบว่า “ท่านจะได้อยู่ร่วมกับคนที่ท่านรัก และจะได้รับสิ่งที่ท่านหวัง” (บันทึกโดยอะห์มัดและอัล-หากิม ซึ่งอัซ-ซะฮะบีย์บอกว่าเศาะฮีหฺ)

อัล-มิกดาม บิน มะดีกะริบ เล่าว่า ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
«إِذَا أَحَبَّ الرَّجُلُ أَخَاهُ فَلْيُخْبِرْهُ أَنَّهُ يُحِبُّهُ» [رواه أحمد و غيره]
ความว่า:  “เมื่อคน ๆ หนึ่งรักเพื่อนของเขา ก็จงบอกให้เพื่อนเขารู้ว่าตัวเองรักเพื่อน” (บันทึกโดยอะห์มัดและท่านอื่นๆ)

ทั้งนี้ ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม สั่งให้บอกรักเขานั้นก็เพราะว่าการกระทำดังกล่าวจะเพิ่มความรักกัน เพราะเมื่อเขารู้ว่าท่านรักเขา เขาก็ย่อมจะต้องรักท่านเช่นกันเป็นธรรมดา และเมื่อท่านทราบว่าเขารักท่าน ท่านจะเพิ่มความรักต่อเขาเช่นกันเป็นธรรมดา ความรักจะเพิ่มพูนระหว่างสองฝ่ายและจะทวีคูณเรื่อย ๆ ทั้งนี้ความรักในระหว่างชาวมุสลิมเป็นที่สนับสนุนทั้งในทางชะรีอะฮฺและศาสนา ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
«لَا تَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ حَتَّى تُؤْمِنُوا وَلَا تُؤْمِنُوا حَتَّى تَحَابُّوا، أَوَلَا أَدُلُّكُمْ عَلَى شَيْءٍ إِذَا فَعَلْتُمُوهُ تَحَابَبْتُمْ، أَفْشُوا السَّلَامَ بَيْنَكُمْ» [رواه مسلم]
ความว่า: “พวกท่านจะไม่สามารถเข้าสวรรค์ได้จนกว่าต้องมีศรัทธา พวกท่านจะไม่มีศรัทธาจนกว่าจะรักกัน เอาไหมล่ะ ฉันจะบอกสิ่งหนึ่งเมื่อท่านปฏิบัติแล้วจะทำให้พวกท่านรักกัน นั้นคือ จงกระจายสะลามให้ขจรแพร่ในหมู่พวกท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม)

อิหม่ามอัน-นะวะวีย์ กล่าวอธิบายว่า ที่บอกว่า ไม่ศรัทธาจนกว่าจะรักกันนั้น หมายถึง ศรัทธาจะยังไม่สมบูรณ์ และภาวะการศรัทธาของพวกท่านจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเกิดการรักกันระหว่างผู้ศรัทธาด้วยกัน

3. เรียกชื่อที่เพื่อนโปรด
อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญก็คือ จะต้องเรียกชื่อเพื่อนด้วยชื่อที่เขายินดีที่สุด ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ท่านอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า มีสามอย่างที่แสดงถึงการรักเพื่อนของท่าน คือ การที่ท่านเริ่มให้สลามแก่เขาก่อนเมื่อเจอกัน การที่ท่านขยับขยายที่นั่งแก่เขาในชุมนุม และการที่ท่านเรียกเขาด้วยชื่อที่เขาชอบมากที่สุด

4. ต้องชื่นชมเพื่อน
ท่านจะต้องชื่นชมเพื่อนในความดีที่เขากระทำ อีกทั้ง จะต้องยกคำชื่นชมของคนอื่นต่อเขาให้เขาฟังพร้อมกับแสดงความยินดีกับเขา เพราะการปิดบังสิ่งนั้นถือเป็นการอิจฉา ทั้งนี้ ต้องรายงานเท่าความเป็นจริง ไม่เพิ่มและไม่ลด ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเป็นมิตรที่สำคัญที่สุด 

5. ปกป้องมิตรในที่ลับหลัง
สิ่งที่มีผลต่อการเกิดความแน่นเฟ้นแห่งมิตรภาพที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การปกป้องเพื่อนในที่ลับหลังไม่ว่าเพื่อนจะถูกปองร้ายทั้งทางตรงหรือทางอ้อม การปกป้องเพื่อน การคัดค้านและยืนหยัดคำพูดอันหนักแน่นเพื่อเพื่อนถือเป็นสิทธิที่เพื่อนพึงควรจะได้รับ การเงียบเฉยไม่มีท่าทีในสิ่งนี้ถือเป็นสิ่งที่ทำให้หัวใจขุ่นและกระด้าง และเป็นการละเลยในสิทธิของเพื่อน
ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
« الْمُسْلِمُ أَخُو الْمُسْلِمِ ، لَا يَظْلِمُهُ وَلَا يَحْرِمُهُ وَلَا يَخْذُلُهُ» [رواه مسلم]
ความว่า: “มุสลิมนั้นเป็นพี่น้องของมุสลิม เขาจะต้องไม่รังแก ไม่ปิดกั้น และไม่เหยียดหยามเขา” (บันทึกโดยมุสลิม)

6. ต้องสอนและให้คำแนะนำอย่างบริสุทธิ์ใจ
ท่านนบีมุหัมมัด-ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า
«الدِّينُ النَّصِيحَةُ» ، قالوا : لِمَنْ يَا رَسُولَ اللَّهِ ؟ قَالَ : «لِلَّهِ ، وَلِرَسُولِهِ ، وَلأَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ ، وَعَامَّتِهِمْ» [رواه مسلم]
ความว่า: “ศาสนาคือนะศีหะฮฺ(การแนะนำหรือหวังดีด้วยความบริสุทธิ์ใจ)” พวกเขาถามว่า ต่อใครล่ะ โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ? ท่านตอบว่า “ต่ออัลลอฮฺ ต่อคัมภีร์ และเราะสูลของพระองค์ และต่อชาวมุสลิมทั่วไป” (บันทึกโดยมุสลิม)

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมิตรสหายมาขอคำแนะนำ เขาจะต้องให้คำแนะนำอย่างบริสุทธิ์ใจให้กับเขา ดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวมุสลิม การให้คำแนะนำจะต้องกระทำในที่ลับ ไม่ให้คนอื่นทราบ เพราะการแนะนำในที่สาธารณะนั้นเป็นการเหยียดหยามและประจาน ในขณะที่หากกระทำในที่ลับจะเป็นการเอื้อปรานีและการอบรมสั่งสอน
ท่านอิหม่ามอัช-ชาฟิอียฺ ได้กล่าวว่า ผู้ใดแนะเพื่อนอย่างลับๆ ก็ถือว่าเขาได้ตักเตือนและให้เกียรติเขา และผู้ใดที่แนะเพื่อนอย่างโจ่งแจ้ง ก็ถือว่าเขาได้ประจานและดูหมิ่นเขา
การแนะนำตักเตือนนี้จะต้องทำอย่างรอบคอบที่สุดเมื่อเห็นเพื่อนเปลี่ยนแปลงทางด้านลบในเรื่องการปฏิบัติอะมัลความดี
อบู อัด-ดัรดาอ์ ได้กล่าวว่า เมื่อมิตรของท่านเปลี่ยนแปลงไป และไม่ปฏิบัติสิ่งที่เคยปฏิบัติมา ท่านจะต้องไม่ปล่อยเขาให้เลยเถิดไปอย่างนั้น เพราะมิตรของท่านจะคดและตรงสลับกันไป
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสหายกลุ่มชาวสะลัฟสองคน ที่หนึ่งจากสองคนนั้นเปลี่ยนในเชิงลบ แล้วก็มีคนมาแนะเพื่อนของเขาว่า ทำไมไม่ตัดและปลีกตัวออกห่างจากเขาล่ะ? เขาตอบว่า สิ่งที่ฉันจำเป็นจะกระทำในยามเช่นนี้คือการจับมือเขาแล้วห้ามปรามอย่างนุ่มนวลและต้องชวนเขาให้หวนกลับปฏิบัติสิ่งที่เขาเคยปฏิบัติมา
การเป็นมิตรถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่ทำให้คู่สัญญาตกอยู่ในสภาพเป็นญาติมิตรกัน เมื่อทำสัญญาแล้วสิทธิต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา ซึ่งหนึ่งในข้อปฏิบัติที่จำเป็นต้องทำก็คือจะต้องไม่ปล่อยปละมิตรในยามที่เขาลำบากแร้นแค้นหรือกำลังจะเสียหาย โดยการลำบากหรือความเสียหายทางศาสนานั้นมันสาหัสยิ่งกว่าความเสียหายทางการเงิน การเป็นมิตรดูได้ที่ตอนเกิดปัญหาและความทุกข์ยาก ซึ่งข้อนี้ถือว่าเป็นบททดสอบที่ยากที่สุดสำหรับการคบกันเป็นมิตรสหาย
และเพื่อนสนิทนั้นไม่สมควรปลีกตัวตัดขาดด้วยเหตุที่เพื่อนเขาทำบาปหรือมะอฺศิยะฮฺ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติหน้าที่การให้คำแนะนำอันเนื่องจากการเป็นมิตรกันได้ พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวถึงนบีของพระองค์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กรณีเกี่ยวกับญาติ ๆ ของท่านว่า
﴿ فَإِنۡ عَصَوۡكَ فَقُلۡ إِنِّي بَرِيٓءٞ مِّمَّا تَعۡمَلُونَ ٢١٦ ﴾ [الشعراء : ٢١٦] 
ความว่า:  “หากคนเหล่านั้นไม่เชื่อฟังเจ้า ก็จงกล่าวว่า ฉันนี้ขอถอนตัวจากพฤติกรรมที่พวกท่านได้กระทำ“ (อัช-ชุอะรออ์ 216) 

อัลลอฮฺบอกให้ท่านกล่าวว่า (ขอถอนตัวจากพฤติกรรมของพวกเขา) โดยที่พระองค์ไม่สั่งให้ท่านกล่าวว่า (ขอถอนตัวจากพวกเขาในฐานะตัวบุคคล) ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิและหน้าที่แห่งญาติมิตรและวงศ์ตระกูล
ด้วยเหตุนี้อบู อัด-ดัรดาอ์ เวลามีคนมาบอกว่า ทำไมท่านจึงไม่โกรธเพื่อนของท่าน ทั้ง ๆ ที่เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ล่ะ ท่านจะตอบว่า ที่ฉันโกรธคือการกระทำของเขา ส่วนเขาก็ยังคงเป็นเพื่อนของฉันตามเดิม
นอกจากนี้ การยุให้เพื่อนแตกกันยังเป็นของโปรดของชัยฎอน เช่นเดียวกับการปลีกตัวออกจากคนกระทำมะอฺศิยะฮฺก็เป็นของชอบของมัน ซึ่งเมื่อชัยฏอนสามารถคว้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว(หมายถึงยุให้เพื่อนของท่านผิด)ก็จงอย่าเพิ่มสิ่งที่สองให้กับมัน(ด้วยการที่ท่านตีตัวออกจากเพื่อน แทนที่จะเข้าไปช่วยดึงเขากลับมาจากการทำผิดนั้น)

7. การขอดุอาอ์ให้แก่เพื่อนทั้งในตอนมีชีวิตและหลังจากเสียชีวิตแล้ว
หนึ่งในบรรดาปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมและกระชับการเป็นมิตรก็คือ การขอดุอาอ์ให้แก่เพื่อนทั้งในยามมีชีวิตและในยามเสียชีวิตแล้ว
อบู อัด-ดัรดาอ์ ได้กล่าวว่า ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
«مَا مِنْ عَبْدٍ مُسْلِمٍ يَدْعُو لأَخِيهِ بِظَهْرِ الْغَيْبِ، إِلَّا قَالَ الْمَلَكُ : وَلَكَ بِمِثْلٍ» [رواه مسلم]
ความว่า “มุสลิมทุกคนที่ขอดุอาอ์ให้กับมิตรสหายในที่ลับหลัง จักได้รับการกล่าวตอบจากมะลาอิกะฮฺว่า สำหรับท่านก็ขอให้ได้เยี่ยงนั้นเช่นกัน” (บันทึกโดยมุสลิม)

อิหม่ามอัน-นะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า หะดีษนี้ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการขอดุอาอ์แก่เพื่อนในที่ลับหลัง ซึ่งหากเขาขอดุอาอ์ให้กับกลุ่มมุสลิมกลุ่มหนึ่งก็ถือว่าใช้ได้ตามนัยของหะดีษนี้แล้ว และหากขอดุอาอ์ให้กับชาวมุสลิมคณะหนึ่งก็ถือว่าใช้ได้แล้วเช่นเดียวกัน
ชาวสะลัฟบางคนเมื่อต้องการจะขอดุอาอ์อะไรให้กับตัวเอง เขาจะขอดุอาอ์นั้นให้กับเพื่อนของเขาด้วย เพราะมันเป็นดุอาอ์ที่มั่นใจว่าจะได้รับการตอบรับและส่งผลกลับสู่ตัวเขา
ในหนังสือตารีค บัฆดาด ของเชคอัล-บัฆดาดีย์ ว่าด้วยประวัติของอัฏ-ฏ็อยยิบ อิสมาอีล อบู หัมดูน นักอ่านอัลกุรอานที่ลือชื่อนั้น ท่านเขียนว่า "อบู หัมดูนมีสมุดเล่มหนึ่งที่บันทึกรายชื่อเพื่อน ๆ ถึงสามร้อยคน และท่านจะขอดุอาอ์ให้กับคนเหล่านั้นทุกคืน คืนหนึ่ง ท่านหลับไปโดยไม่ขอดุอาอ์ให้ ปรากฏว่าท่านได้ฝันว่ามีคนมาบอกว่า โอ้ อบู หัมดูน ทำไมท่านไม่จุดตะเกียงล่ะคืนนี้ ท่านจึงตกใจตื่น ลุกขึ้นมาจุดตะเกียง หลังจากนั้นจึงเอาสมุดเล่มนั้นมาขอดุอาอ์ให้กับแต่ละคนจนครบหมด

4. สิทธิและหน้าที่ของการเป็นเพื่อนในด้านจิตใจ
หนึ่งในสิทธิที่คนมุสลิมพึงได้รับจากมิตรสหายเพื่ออัลลอฮฺ ก็คือ การรักและการคบอย่างจริงใจ โดยสังเกตได้จากการรักกันอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และการรู้สึกโศกเศร้าอันเนื่องจากการพรากจาก  เช่นเดียวกับการต้องมองเขาในแง่ดี ต้องแปลคำพูดและการกระทำของเขาในทางบวกมากที่สุด นอกจากนั้นจะต้องไม่นึกหรือบังคับให้เพื่อนให้เกียรติตัวเอง และต้องคอยสอบถามเรื่องราวและปฏิบัติดีต่อเขาเสมอๆ

1. การทำตามสัญญาและให้ความบริสุทธิ์ใจ
การทำตามสัญญาคือการให้การประกันในความรัก และทำอย่างต่อเนื่องจนเขาเสียชีวิต เมื่อเสียชีวิตก็ทำกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ของเขาอีกต่อไป เพราะการรักกันในหนทางของอัลลอฮฺนั้นทำไปเพียงเพื่อคอยความดีความชอบ ณ พระองค์อัลลอฮฺ มันจึงไม่สิ้นสุดพร้อมกับการเสียชีวิตของเพื่อนเขา นักปราชญ์บางคนกล่าวว่า "ทำดีน้อย ๆ หลังจากเพื่อนตาย ดีกว่าทำดีมากมายตอนที่เขายังมีชีวิต”
ทั้งนี้มีรายงานว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ให้เกียรติต่อสตรีชรานางหนึ่ง(เพื่อนของท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ)ที่ถูกนำตัวมาเข้าพบท่าน เลยมีคนถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านตอบว่า
«إنَّهَا كَانَتْ تَأْتِينَا أَيَّامَ خَدِيجَةَ ، وَإِنَّ حُسْنَ الْعَهْدِ مِنَ الْإِيمَانِ» [(صححه الحاكم و الذهبي وحسنه الألباني في الضعيفة)]
ความว่า “เธอเคยมาหาเราเสมอในสมัยที่เคาะดีญะฮฺยังมีชีวิต การทำตามสัญญาอย่างดีนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอีมาน” (อัล-หากิมและอัซ-ซะฮะบียฺระบุว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ และอัล-อัลบานีย์ระบุว่าเป็นหะดีษหะสันในหนังสืออัฎ-เฎาะอีฟะฮฺ)

และส่วนหนึ่งของการทำตามสัญญาแห่งการเป็นเพื่อนก็คือให้เกียรติและรักษาผลประโยชน์ของเพื่อน และของญาติ ๆ และผู้เกี่ยวข้องทุกคน เช่นเดียวกับการไม่เปลี่ยนแปลงท่าทีกับเพื่อนเก่า แม้ว่าเขาจะมีหน้ามีตา มีบริวาร และมียศศักดิ์สูงส่ง นักกวีบางคนกล่าวว่า
إنّ الكرام إذا ما أيسروا ذكروا *** من كان يألفهم في المنزل الخشن
คนสูงศักดิ์ที่แท้จริง คือคนที่เมื่อมั่งมีแล้ว จะนึกถึงเพื่อนที่เคยหยอกเย้าในกระท่อมเมื่อเก่าก่อน

ชาวสะลัฟบางคนกล่าวสั่งเสียบุตรว่า โอ้ ลูกเอ๋ย เจ้าจงเป็นคบเพื่อนเฉพาะกับผู้ที่ เมื่อเจ้าต้องการเขาเขาจะเข้าใกล้ และเมื่อเจ้าไม่ประสงค์อะไรเขาก็ไม่อยากได้อะไรจากเจ้า เมื่อเขามียศสูงส่งเขาไม่โอ้อวดกับเจ้า
และเมื่อใดที่ขาดการทำดีต่อกันอย่างต่อเนื่องระหว่างคนที่รักกัน ชัยฏอนก็จะดีใจ เพราะไม่มีอะไรที่มันอิจฉาความดีงาม มากไปกว่าที่มันอิจฉาคนสองคนที่เป็นพี่น้องและรักกันเพื่ออัลลอฮฺ มันยอมทุ่มเทแรงกายยอมลำบากทุกอย่างเพื่อให้สองคนนั้นแตกแยกกัน อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَقُل لِّعِبَادِي يَقُولُواْ ٱلَّتِي هِيَ أَحۡسَنُۚ إِنَّ ٱلشَّيۡطَٰنَ يَنزَغُ بَيۡنَهُمۡۚ ﴾ [الإسراء: ٥٣] 
ความว่า และ จงกล่าวแก่ปวงบ่าวของฉัน(โอ้ มุหัมมัด) ว่าให้พวกเขาพูดแต่สิ่งดี ๆ เพราะชัยฏอนนั้นจะคอบยุแหย่พวกเขาให้แตกแยกกัน(เพราะการไม่ระวังคำพูด)” (อัล-อิสรออ์  53)

อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า “ไม่มีใครที่เป็นมิตรกันในนามของอัลลอฮฺแล้วแตกแยกกัน นอกจากเป็นเพราะบาปที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสร้างขึ้น”
ท่านบิชร์ได้กล่าวว่า เมื่อบ่าวละเมิดหย่อนยานในการภักดีต่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะยึดเพื่อนแท้จากเขาไป เพราะเพื่อนแท้นั้นจะเป็นคนปลอบขวัญในยามทุกข์ใจและเป็นผู้ช่วยตักเตือนในเรื่องศาสนา
ด้วยเหตุนี้ อิบนุล มุบาร็อก จึงกล่าวว่า สิ่งที่ให้ความสุขที่สุดคือการคบเพื่อน และการกลับไปสู่ความพอเพียง
ทั้งนี้ ผลสะท้อนจากการจริงใจ การบริสุทธิ์ใจ และการเที่ยงตรงตามสัญญาต่อเพื่อนนั้นคือ ท่านจะรู้สึกวิตกกับการพรากจาก และจะไม่อยากให้เกิดเงื่อนไขแห่งการพรากจากกันไปเลย
กวีได้ร่ายไว้ว่า
وَجَدْتُ مُصِيْبَاتِ الزَّمَانِ جَمِيْعَهَا *** سِوَى فُرْقَةِ الأَحْبَابِ هَيِّنَةَ الخَطْبِ
ทุกข์อื่นใด ในโลกนี้ ไม่หนักเท่า    ความโศกเศร้า เพราะต้องพราก มิตรสหาย

นอกจากนั้น การเป็นเพื่อนแท้นั้นจะต้องไม่ฟังเรื่องไม่ดีที่คนอื่นเอามาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเพื่อนของเรา
จะต้องไม่เชื่อคำพูดของศัตรูของเพื่อน อิหม่ามอัช-ชาฟีอีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า เมื่อเพื่อนท่านเชื่อคำพูดศัตรูของท่าน ก็แปลว่าเขาได้ร่วมกันเป็นศัตรูกับท่าน

2. มีเจตคติที่ดี
หนึ่งในจำนวนสิทธิและหน้าที่ของการเป็นเพื่อนก็คือต้องมีเจตคติที่ดีต่อเพื่อน
อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱجۡتَنِبُواْ كَثِيرٗا مِّنَ ٱلظَّنِّ إِنَّ بَعۡضَ ٱلظَّنِّ إِثۡمٞۖ ﴾ [الحجرات: ١٢] 
ความว่า: “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงหลีกห่างจากการคาดเดาอคติให้มาก แท้จริง การคาดเดาบางส่วนนั้นเป็นบาป” (อัล-หุญุรอต 12)

และท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า
«إِيَّاكُمْ وَ الظَّنَّ فَإِنَّ الظَّنَّ أَكْذَبُ الْحَدِيْثِ» [رواه الشيخان]
ความว่า: “พวกท่านจงหลีกเลี่ยงจากการอคติ เพราะการอคติเป็นสำนวนการนึกคิดที่มดเท็จที่สุด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

หากสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มุสลิมทั่วไปต้องหลีกเลี่ยง ผู้ที่รักกันเพื่ออัลลอฮฺก็ต้องหลีกเลี่ยงมากกว่า
อัร-เราะบีอฺ บิน สุลัยมาน ศิษย์ของท่านอิหม่ามอัช-ชาฟีอีย์คนหนึ่งได้กล่าวเกี่ยวกับท่านอิหม่ามว่า "วันหนึ่ง ฉันเข้าหาท่านอิหม่ามอัช-ชาฟีอียฺ ในขณะที่ท่านกำลังล้มป่วยอยู่ ฉันเลยขอดุอาอ์ให้ท่านว่า ขออัลลอฮฺทรงให้อาการป่วยของท่านแข็งแรงขึ้น ท่านตอบว่า หากอาการป่วยของฉันแข็งแรงมันก็จะฆ่าฉันนะสิ ฉันตอบว่า ขอสาบานกับอัลลอฮฺ คำพูดเมื่อกี้เป็นคำพูดที่หวังดีกับท่านจริง ๆ (ไม่ได้สื่อความหมายตรงๆ ตามตัวอักษรแบบนั้น) ท่านอิหม่ามตอบว่า ฉันทราบดีว่าเจ้าหมายถึงอะไร หากเจ้าจะพูดในทำนองเพื่อสะใจต่อฉัน ฉันก็รู้ว่าจริง ๆ แล้วเจ้าหวังดี"
ดังนั้น จึงควรจะต้องแปรเจตนาคำพูดของเพื่อนในทางดีเสมอ จะต้องมีเจตนาดีกับเพื่อนตลอดเวลา เพราะการมีอคติคือการนินทาทางจิตใจ

3. ต้องนอบน้อมถ่อมตน
หนึ่งในจำนวน สิทธิและหน้าที่ ทางจิตใจที่ต้องปฏิบัติกับเพื่อนฝูงก็คือ จะต้องถ่อมตัวให้กับเพื่อน และตำหนิตัวเองเมื่อเห็นตัวเองดีกว่าเพื่อน
อบู มุอาวิยะฮฺ อัล-อัสวัด ได้กล่าวว่า เพื่อน ๆ ของฉันทั้งหมด ดีกว่าฉันทุกคน มีคนถามว่า ดีอย่างไรล่ะ ท่านตอบว่า ทุกคนเห็นฉันมีบุญคุณต่อเขา แล้วคนที่เชิดชูฉันมากกว่าตัวเองย่อมต้องดีกว่าฉันแน่นอน
ทั้งนี้ หากเราเห็นตัวเองเลอเลิศก็หมายถึงว่าเราได้ดูหมิ่นเพื่อนของเรา ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นสิ่งน่าตำหนิแม้กระทั่งสำหรับมุสลิมทั่ว ๆ ไป นับประสาอะไรกับคนที่มีความรู้ ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า
«بِحَسَبِ امْرِئٍ مِنَ الشَّرِّ أَنْ يَحْقِرَ أَخَاهُ الْمُسْلِمَ» [رواه الشيخان]
ความว่า: “พอแล้วที่คนหนึ่งจะเป็นคนชั่ว ด้วยการที่เขาเหยียดหยามพี่น้องมุสลิมของเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

ตัวอย่างภาพแห่งมิตรภาพอันเข้มข้นจากหัวใจ
1. นบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กับอบูบักรฺ อัศ-ศิกดีก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
เป็นภาพความรักอย่างจริงใจในหนทางของอัลลอฮฺ ตะอาลา และเพื่อพระองค์ ซึ่งบางตอนที่สะท้อนความสัจจริงของความห่วงใยและความรักกัน ก็คือ รายงานที่อบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้ปราศรัยกับผู้คนว่า
«إِنَّ اللَّهَ تَعَالَى خَيَّرَ عَبْدًا بَيْنَ الدُّنْيَا وَبَيْنَ مَا عِنْدَهُ ، فَاخْتَارَ ذَلِكَ الْعَبْدُ مَا عِنْدَ اللَّهِ» قال : فَبَكَى أَبُو بَكْرٍ ، فَعَجِبْنَا لِبُكَائِهِ ، أَنْ يُخْبِرَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ عَبْدٍ خُيِّرَ ، فَكَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ هُوَ الْمُخَيَّرُ ، وَكَانَ أَبُو بَكْرٍ أَعْلَمَنَا ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّ أَمَنَّ النَّاسِ عَلَيَّ فِي صُحْبَتِهِ وَمَالِهِ أَبُو بَكْرٍ ، وَلَوْ كُنْتُ مُتَّخِذًا خَلِيلًا مِنَ النَّاسِ لَاتَّخَذْتُ أَبَا بَكْرٍ،  وَلَكِنْ أُخُوَّةُ الإِسْلامِ وَمَوَدَّتُهُ، لا يَبْقَيَّنَ فِي الْمَسْجِدِ بَابٌ إِلا سُدَّ إِلا بَابُ أَبِي بَكْرٍ»  [رواه الشيخان]
ความว่า:   “แท้จริง พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงให้บ่าวคนหนึ่งเลือกระหว่างโลกดุนยากับสิ่งที่มีอยู่ ณ พระองค์ แล้วบ่าวคนนั้นก็เลือกเอาสิ่งที่อยู่ ณ พระองค์” แล้วอบู บักรฺ ก็ร้องไห้น้ำตาคลอ พวกเราจึงแปลกใจกับการคลอน้ำตาของท่านเพียงแค่กับการที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม บอกถึงบ่าวคนหนึ่งที่พระองค์เปิดให้เลือก ซึ่งความหมายแท้จริงก็คือ บ่าวที่ให้สิทธิได้เลือกคนนั้นเป็นท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เอง และปรากฏว่า อบูบักรฺนั้นเป็นคนที่รู้เรื่องนี้ดีกว่าพวกเรา ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- จึงกล่าวว่า “แท้จริง คนที่ฉันไว้วางใจในการคบหาเขาและในทรัพย์สมบัติของเขามากที่สุดคืออบู บักรฺ หากฉันสามารถเลือกเคาะลีล (คนสุดรัก) นอกจากอัลลอฮฺได้ แน่แท้ ฉันย่อมจะต้องเลือกอบู บักรฺ อย่างไรก็ตาม ท่านคือมิตรในอิสลามและเป็นคนรักคนห่วงใย ประตูบ้านใดที่ประชิดมัสยิดจงปิดให้หมดสิ้น ยกเว้นประตูบ้านของอบูบักรฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
อิบนุ เราะญับ ได้กล่าวอธิบายหะดีษนี้ในหนังสือ ละฏออิฟุลมะอาริฟ ว่า หลังจากที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่าท่านเลือกจะไปใช้ชีวิตที่นิรันดรโดยที่ไม่บอกตรง ๆ นั้น หลายคนในนั้นไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงยกเว้นเพื่อนพิเศษของท่านที่เคยอยู่สองต่อสองในถ้ำ ท่านเป็นคนที่เข้าใจความหมายของคำพูดของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มากที่สุด ท่านจึงคลอน้ำตาเมื่อได้ฟังข่าวนี้พร้อมกับกล่าวว่า เราขอไถ่ท่านกับทรัพย์สมบัติของเรา ตัวเราเอง และลูกหลานเรา (ให้ท่านอยู่กับเราตลอดไปและไม่ให้ท่านไปได้ไหม) ท่านเราะสูลจึงปลอบท่านด้วยการกล่าวยกย่องและสรรเสริญท่านอบู บักรฺ บนแท่นมินบัรที่ใช้เทศนา เพื่อให้ผู้คนทั้งหมดได้รับรู้ความประเสริฐของท่าน ทำให้พวกเขาไม่ขัดแย้งกันอีกว่า ท่านอบู บักรฺเหมาะสมที่สุดในการสืบทอดการปกครองประชาชาติมุสลิมหลังจากที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านนบี ได้กล่าวว่า “แท้จริง คนที่ฉันวางใจในการคบหาและทรัพย์สมบัติมากที่สุดคืออบูบักรฺ”

2. ชาวมุฮาญิรีนกับชาวอันศอรฺ
มิตรภาพที่เกิดขึ้นระหว่างชาวมุสลิมฮาญิรีนและอันศอรฺนั้นเป็นมิตรภาพที่แท้จริง โดยอัลลอฮฺได้ตรัสชื่นชมชาวอันศอรฺว่า
﴿ وَٱلَّذِينَ تَبَوَّءُو ٱلدَّارَ وَٱلۡإِيمَٰنَ مِن قَبۡلِهِمۡ يُحِبُّونَ مَنۡ هَاجَرَ إِلَيۡهِمۡ وَلَا يَجِدُونَ فِي صُدُورِهِمۡ حَاجَةٗ مِّمَّآ أُوتُواْ وَيُؤۡثِرُونَ عَلَىٰٓ أَنفُسِهِمۡ وَلَوۡ كَانَ بِهِمۡ خَصَاصَةٞۚ وَمَن يُوقَ شُحَّ نَفۡسِهِۦ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ٩ ﴾ [الحشر: ٩] 
ความว่า : (และทรัพย์สินฟัยอ์)เป็นของบรรดาผู้ที่จัดเตรียมบ้านเรือนและความศรัทธาก่อนที่พวกเขาจะอพยพมาถึง พวกเขาต่างรักใคร่ผู้ที่อพยพมาหา โดยที่ในหัวใจของพวกเขาไม่มีความต้องการหรือความอิจฉาใด ๆ ในสิ่งที่คนเหล่านั้นได้รับ พวกเขายังให้สิทธิแก่ผู้อื่นก่อนตัวเองเสมอแม้ว่าตัวเองยังมีความจำเป็นอยู่มากก็ตาม และผู้ใดก็ตามที่สามารถปกป้องตัวเองจากความตระหนี่ ผู้นั้นคือผู้ได้รับความสำเร็จ”  (อัล-หัชรฺ : 9)

อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานหะดีษที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อของชาวอันศอรว่า
قَالَتِ الأَنْصَارُ : اقْسِمْ بَيْنَنَا وَ بَيْنَ إِخْوَانِنَا النَّخِيْلَ ، قَالَ : «لَا» ، فَقَالُوْا :  أَتَكْفُوْنَا الْمُؤْنَةَ وَ نُشْرِكُكُمْ فِيْ الثَّمَرَةِ ؟، قَالُوا : سَمِعْنَا وَ أَطَعْنَا. [البخاري]
ความว่า  ชาวอันศอรฺได้บอกกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ท่านจงแบ่งต้นอินทผลัมของพวกเราให้กับสหายชาวมุฮาญิรีนของพวกเราเถิด ท่านนบีตอบว่า “ไม่ต้องหรอก” ดังนั้น ชาวมุฮาญิรีนจึงได้กล่าวถามว่า ได้ไหมถ้าหากพวกท่าน(ชาวอันศอรฺ)จะดูแลสวนอินผลัมแทนเราและให้เราได้มีส่วนแบ่งจากผลอินทผลัมของพวกท่านด้วย(โดยที่พวกท่านไม่จำเป็นต้องแบ่งที่ดินให้)? พวกเขาตอบว่า ได้ เราเชื่อฟังและยินดีที่จะทำตามนั้น (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)

อิบนุ กะษีรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า ประโยคที่ว่า "พวกเขาต่างรักใคร่ผู้ที่อพยพมาหา” นั้นหมายถึง เกียรติศักดิ์และความสูงส่งทางจรรยาบรรณอีกอย่างหนึ่งของชาวอันศอรฺก็คือ พวกเขาจะรักใคร่เมตตาชาวมุฮาญิรีนและให้หลักประกันแก่คนเหล่านั้นด้วยทรัพย์สินของตัวเอง ส่วนคำว่า “โดยที่ในหัวใจของพวกเขาไม่มีความต้องการหรือความอิจฉาใด ๆ ในสิ่งที่คนเหล่านั้นได้รับ” นั้นหมายถึง พวกเขาไม่เคยมีความรู้สึกอิจฉาต่อชาวมุฮาญิรีนในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานเป็นพิเศษแก่คนเหล่านั้นแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นสถานะภาพ ความมีเกียรติ การได้รับการระบุชื่อก่อนคนอื่น และตำแหน่ง เป็นต้น
ส่วนคำว่า “พวกเขายังให้สิทธิแก่ผู้อื่นก่อนตัวเองเสมอแม้ว่าตัวเองยังมีความจำเป็นอยู่มากก็ตาม” นั้น อัล-กุรฏุบีย์ ได้กล่าวว่า การอีษารฺ หรือเสียสละเห็นแก่คนอื่นมากกว่า หมายถึง การให้คนอื่นได้รับปัจจัยและสิ่งดี ๆ ทางวัตถุโลกและทางศาสนาก่อนตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้ เกิดจากการมีความศรัทธาอันแรงกล้า รักเพื่อนจริง และมีความอดทนต่อความทุกข์ยาก หมายถึงให้คนอื่นได้ดีทั้งทรัพย์สมบัติและสถานะตำแหน่งก่อนตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็มีจำเป็นต่อสิ่งนั้น ไม่ใช่ว่าพวกเขามีความอิ่มตัวแล้วแต่ประการใด ท่านยังกล่าวว่า การอีษารฺด้วยแรงกายนั้นเหนือกว่าการอีษารฺด้วยทรัพย์สมบัติ
มีสุภาษิตหนึ่งที่บอกว่า การอุทิศตนด้วยหยาดเหงื่อแรงกายนั้นคือสุดยอดของการอุทิศ
ดร.บาบิลลียฺ ได้เขียนในหนังสือ “มะอานิลอุคุวะฮฺ ฟิลอิสลาม วะมะกอซิดิฮา” ว่าความรักนี้ ไม่ใช่เพราะเพื่อชดใช้หนี้บุญคุณที่ชาวมุฮาญิรีนเคยทำไว้กับพวกเขา หรือเพราะต้องการเอาอกเอาใจพวกเขา ทว่าเป็นการกระทำเพราะความศรัทธาแท้ ๆ ที่สานเชื่อมกันในหัวใจของพวกเขา นั่นคือการรักในหนทางของอัลลอฮฺที่สานสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา พวกเขาจึงเปิดใจกว้างเพื่อเพื่อนร่วมศาสนา ก่อนที่จะเปิดประตูบ้านเพื่อพวกเขาเสียอีก
 

3. รักและเสียสละแม้ลมหายใจรวยริน
ภาพแห่งความประทับใจสำหรับการรักกันที่จริงใจอีกภาพหนึ่งก็คือ บทรายงานของอัล-กุรฏุบีย์ในตัฟสีรของท่าน จากหุซัยฟะฮฺ อัล-อัดวีย์ ว่า ในวันสงครามตะบูกนั้น ฉันเที่ยวตามหาลูกพี่ลูกน้องของฉันคนหนึ่ง ฉันพาน้ำดื่มเพียงเล็กน้อยไปด้วย ซึ่งตั้งใจว่า หากพบเขาถูกหอกแทง ฉันก็จะรินน้ำให้เขา แล้วฉันก็ได้พบกับเขา ฉันบอกว่า ให้ฉันรินน้ำให้น่ะ เขาผงกศีรษะส่งสัญญาณให้ แต่แล้ว ฉันก็ได้ยินชายคนหนึ่งส่งเสียงร้องเจ็บปวด  ลูกพี่ลูกน้องของฉันเลยส่งสัญญาณให้ฉันไปรินน้ำให้เขาคนนั้นก่อน ซึ่งปรากฏว่าเขาคือฮิชาม บิน อัล-อาศ ฉันบอกเขาว่า จะให้ฉันรินน้ำให้ไหม? เขาทำสัญญาณให้ริน แต่ ปรากฏว่า เขาได้ยินคนอื่นอีกคนร้องครวญครางเจ็บปวดอยู่อีกแห่งหนึ่ง  ฮิชามส่งสัญญาณให้ฉันเอาน้ำไปให้คนนั้นก่อน ฉันเลยมาหาซึ่งพอมาถึงก็ปรากฏว่าเขาได้สิ้นชีวิตเสียแล้ว ฉันจึงกลับมาที่ฮิชาม ก็ปรากฏว่าเขาได้เสียชีวิต แล้วกลับไปหาลูกพี่ลูกน้องซึ่งก็ปรากฏว่าเขาได้เสียชีวิตแล้วเช่นกัน

ข้อพึงระวังในการคบเพื่อน
หลังจากที่เราได้ทราบถึงผลดีของการรักกันเพื่ออัลลอฮฺตะอาลาแล้ว เพื่อความสมบูรณ์ของการแนะนำตักเตือน เราสมควรระวังสิ่งไม่ดีบางอย่าง ดังต่อไปนี้

1. เยี่ยมบ่อยเกินไป
การเยี่ยมและการคบหาในทำนองกระชับมิตรและเฮฮาให้สบายใจบ่อยเกินไป มากกว่าการเยี่ยมเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ หรือการตักเตือน หรือการร่วมมือเพื่อสนับสนุนการทำดีและห้ามปรามความชั่ว ถือเป็นสิ่งไม่ดีอีกประการหนึ่ง การเยี่ยมในลักษณะนี้ทำให้เสียเวลา เสื่อมความนับถือ และบางทีการพูดมากในงานนี้อาจสร้างความไม่พอใจแก่อัลลอฮฺ ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
«مَا مِنْ قَوْمٍ يَقُومُونَ مِنْ مَجْلِسٍ لَا يَذْكُرُونَ اللَّهَ فِيهِ، إلَّا قَامُوا عَنْ مِثْلِ جِيفَةِ حِمَارٍ، وَكَانَ عَلَيْهِمْ حَسْرَةً يَوْمَ الْقِيَامَةِ» [قال الحاكم : صحيح على شرط مسلم ووافقه الذهبي و الألباني في الصحيحة]
ความว่า: “ชนใดที่ผละตัวออกจากที่พบปะที่ไม่มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ก็เสมือนกับได้ผละตัวออกจากซากศพของลาเน่า และพวกเขาต้องเสียใจในวันกิยามัต” (อัล-หากิม ระบุว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษเศาะฮีหตามเงื่อนไขของอิหม่ามมุสลิม อัซ-ซะฮะบีย์และอัล-อัลบานีย์ก็เห็นด้วย)

อิบนุล ก็อยยิม เราะฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวในหนังสือ อัล-ฟะวาอิด ว่า การสังสรรค์เข้าสังคมกับเพื่อนนั้นมีสองแบบด้วยกัน คือ
หนึ่ง การร่วมสังสรรค์เพื่อปล่อยอารมณ์และฆ่าเวลา อันนี้โทษของมันมีมากกว่าประโยชน์ อย่างน้อยมันจะทำให้หัวใจด่างดำ ทำให้ต้องหมดเวลาอย่างไร้ประโยชน์
สอง การเข้าสังคมเพื่อหาทางรอดและพยายามตักเตือนในสิ่งที่ดีและให้กำลังใจเพื่อให้อดทน อันนี้ถือเป็นลาภอันประเสริฐที่มีค่ามหาศาล
แต่มันยังแฝงด้วยข้อเสียสามประการ คือ
หนึ่ง การประดับประดาตัวเองให้ดูดีและเอาหน้าระหว่างกัน
สอง อาจทำให้เกิดคำพูดและการคลุกคลีเกินความจำเป็น
สาม อาจทำให้การพบปะกลายเป็นนิสัยความเคยชินและธรรมเนียมปฏิบัติที่หันเหออกไปจุดประสงค์ที่ถูกต้อง
กล่าวโดยสรุปแล้ว การพบปะและการคลุกคลีนั้นเปรียบเสมือนการผสมผสานกลมกลืนกันเฉกเช่นการผสมเกสร ซึ่งอาจจะเป็นไปเพื่อสนองอารมณ์ใฝ่ต่ำ(อันนัฟซุล อัมมาเราะฮฺ) หรือไม่ก็เพื่อหัวใจและอารมณ์ที่สุขุม (อันนัฟซุล มุฏมะอินนะฮฺ) โดยผลที่ได้รับนั้นย่อมมาจากการผสมผสานดังกล่าวนั่นเอง เกสรใดผสมกันได้ดีมันก็จะออกผลที่ดีให้ จิตใจคนเราก็เหมือนกัน ถ้าเป็นจิตใจที่ดีก็ถือว่าเป็นผลมาจากการผสมผสานของมลาอิกะฮฺ แต่ถ้าหากเป็นจิตใจไม่ดีก็ถือว่าเป็นผลมาจากการผสมผสานของชัยฏอน ซึ่งด้วยหิกมะฮฺอันลุ่มลึกของอัลลอฮฺ พระองค์ได้สร้างสิ่งดีๆ เพื่อสิ่งดี ๆ และสิ่งที่ไม่ดีก็คู่ควรกับสิ่งไม่ดี

2. อาจเลยเถิดในความรักและความชัง
การเลยเถิดในความรู้สึกรักและชังถือเป็นข้อพึงระวังในการคบเพื่อนอีกประการหนึ่ง ซัยด์ บิน อัสลัม ได้เล่าจากพ่อของเขาว่า ท่านอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวกับฉันว่า โอ้ อัสลัม เจ้าจงอย่าให้รักมาบีบคั้น อย่าให้ชังมาทำลาย ฉันถามว่า มันเป็นอย่างไรน่ะ ท่านตอบว่า เมื่อท่านรักชอบผู้ใดก็จงอย่าฝืนตัวเองเหมือนกับเด็กที่หมกมุ่นในสิ่งที่เขาชอบ และเมื่อเกลียดชังผู้ใดก็จงอย่าเกลียดโกรธแบบขอให้เพื่อนล้มละลายหายนะ
ท่านอะลีย์ บิน อบี ฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า จงรักคนรักของท่านเบา ๆ หน่อย เผื่อว่าเขาอาจจะเป็นคนชังของท่านในสักวัน และจงเกลียดคนชังของท่านน้อย ๆ หน่อย เผื่อว่าเขาอาจจะเป็นคนรักของท่านในสักวัน 
อบุล อัสวัด อัด-ดุอะลีย์ ได้กล่าวว่า รักเถอะเมื่อจะรัก แต่เพียงพอประมาณ เพราะท่านไม่ทราบว่าท่านจะถอนตัวเมื่อไร และเกลียดเถิดเมื่อจะเกลียด แต่อย่าให้ถึงกับแตกหัก เพราะท่านไม่ทราบว่าอาจมีสักวันที่ท่านต้องมาคืนดี
ความหมายในที่นี้ก็คือให้คงความปานกลางในการรักและชัง เพราะการเลยเถิดในความรักและความชังจะนำพาให้เกิดความบกพร่อง ซึ่งบางทีคู่รักอาจเปลี่ยนเป็นคู่ชัง และคู่ชังอาจผันเป็นคู่รัก ดังนั้น อย่าเลยเถิดในการรักและโกรธเพราะอาจจะทำให้ท่านเสียใจในภายหลังได้ หัวใจนั้นพลิกแพลงไปมาเสมอ มันอาจจะเป็นเหตุให้เสียดายและอับอายได้
นักปราชญ์บางท่านได้กล่าวว่า ท่านจะอย่าคบเพื่อนมากเกินไปแล้วผละจาก จนทำให้คนรู้จักท่านว่าเป็นคนนิสัยแบบนั้น ด้วยการที่ท่านชอบทิ้งเพื่อน
นอกจากนั้น การมีความเลยเถิดในความรักเพื่อนอาจจะทำให้ต้องร่วมเห็นชอบในความชั่ว หรือละเว้นหน้าที่ต้องตักเตือนเพื่ออัลลอฮฺกับตัวเขา หรือบางที ความรักดังกล่าวจากจะแปรเปลี่ยนมาเป็นความชิงชังที่สุด ๆ  จนอาจทำให้ความลับต้องรั่วไหล ไม่มีความยุติธรรมและเป็นกลาง
อัล-หะสัน ได้กล่าวว่า จงรักเบาๆ จงชังค่อยๆ เพราะเคยมีคนหลายพวกที่เลยเถิดในความรักแล้วต้องพินาศ และเคยมีหลายกลุ่มที่เลยเถิดในความชังแล้วต้องหายนะ

3. การคบกับเพื่อนด้วยอารมณ์ตัณหา
การเกิดอารมณ์ตัณหามาแทรกคั่นการคบเพื่อนเพื่ออัลลอฮฺก็เป็นข้อพึงระวังอีกประการหนึ่ง ซึ่งแทนที่เขาจะรักเพื่อนเพื่อภักดีต่อคำสั่งของอัลลอฮฺตะอาลาและยึดมั่นในบทบัญญัติของพระองค์ เขากลับรักเขาด้วยความหลงใหลในรูปร่างหน้าตาของเพื่อน หรือเพื่อผลประโยชน์ทางโลก และแทนที่จะหวังผลบุญและได้เข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺในการคบหาเพื่อน เขากลับหวังที่จะใช้เพื่อนเป็นเพียงที่สนองความรู้สึกทางใจให้หายเหงา หรือให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ซึ่งความรักเช่นนี้มักจะอันตรธานหายไปเมื่อไม่มีมูลเหตุแห่งความปรารถนา หรือเมื่อเกิดความเหินห่างระหว่างกัน เพราะแท้จริงแล้ว สิ่งที่ทำเพื่ออัลลอฮฺจะคงอยู่ สิ่งที่ทำเพื่ออย่างอื่นจะไม่ถาวร ดังคำพูดที่ว่า
ما كان لله دام واتّصل *** و ما كان لغير الله انقطع وانفصل
สิ่งที่ทำเพื่ออัลลอฮฺจะยังคงอยุ่ยั่งยืน  และสิ่งที่ทำเพื่ออื่นจากพระองค์จะขาดสะบั้น

อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ ٱلۡأَخِلَّآءُ يَوۡمَئِذِۢ بَعۡضُهُمۡ لِبَعۡضٍ عَدُوٌّ إِلَّا ٱلۡمُتَّقِينَ ٦٧ ﴾ [الزخرف: ٦٧] 
ความว่า “คนที่เคยเป็นเพื่อนสนิทกันมา ในวันนั้นจะกลายเป็นศัตรูกัน ยกเว้นบรรดาผู้ศรัทธา” (อัซ-ซุครุฟ 67)

และพระองค์ได้ทรงกล่าวถึงเคาะลีลของพระองค์ (นบีอิบรอฮีม -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ว่าท่านได้กล่าวกับพวกของท่านว่า
﴿ وَقَالَ إِنَّمَا ٱتَّخَذۡتُم مِّن دُونِ ٱللَّهِ أَوۡثَٰنٗا مَّوَدَّةَ بَيۡنِكُمۡ فِي ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۖ ثُمَّ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ يَكۡفُرُ بَعۡضُكُم بِبَعۡضٖ وَيَلۡعَنُ بَعۡضُكُم بَعۡضٗا وَمَأۡوَىٰكُمُ ٱلنَّارُ وَمَا لَكُم مِّن نَّٰصِرِينَ ٢٥ ﴾ [العنكبوت: ٢٥] 
ความว่า “และอิบรอฮีมได้กล่าวว่า ที่พวกท่านยกรูปปั้นมาบูชานอกเหนือจากอัลลอฮฺนั้นไซร้ เป็นเพียงสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันในโลกนี้เท่านั้น ในภายภาคหน้าในวันกิยามะฮฺ พวกท่านจะต้องหมดศรัทธาระหว่างกันและจะต้องสาปแช่งกันไปมา และที่มั่นของพวกท่านจะเป็นนรก และไม่มีผู้ใดจะเป็นผู้ช่วยค้ำชูท่านได้เลย” (อัล-อันกะบูต 25)

ขอให้อัลลอฮฺทรงให้ความรักของเราต่อคนอื่นจงเป็นความรักเพื่อพระองค์ ให้มันเป็นสื่อสร้างความใกล้ชิดกับพระองค์และเป็นสะพานสู่สวรรค์อันสุขีนิรันดร และให้เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เราได้ทำความภักดีต่อพระองค์และปกป้องเราจากการละเมิดคำสั่งของพระองค์ด้วยเถิด

4. ต้องการเพิ่มจำนวนเพื่อน
ข้อเสียอีกประการหนึ่งของการคบเพื่อนก็คือทำให้เกิดความอยากเพิ่มจำนวนเพื่อนจนทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่และช่วยเหลือต่อพวกเขาในยามจำเป็น
ในหนังสือ “ตันบีฮุลฆอฟิลีน” มีระบุว่า มารยาทของชาวสะลัฟ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุม อีกประการหนึ่งก็คือ พวกเขาจะคบเพื่อนเฉพาะคนที่พวกเขาสามารถจะปฏิบัติหน้าที่แห่งการเป็นเพื่อนกับเขาได้เท่านั้น เพราะเพื่อนของท่านหากท่านไม่สามารถทำหน้าที่ต่อเขาได้ เขาก็จะหมดหวังในตัวท่าน
อิบนุ หัซม์ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวไว้ในหนังสือ “มุดาวาตุนนุฟูส” ว่า ไม่มีของดีใดๆ ที่ถูกนับว่าคล้ายกับของเสียน่าตำหนิ ที่หนักหนาเทียบเท่ากับการพยายามเพิ่มจำนวนเพื่อนและคนสนิท เพราะไม่สามารถที่จะมัดใจพวกเขาได้ นอกจากต้องใช้ความอ่อนโยน เอื้อเฟื้อ อดทน ทำจริง โอนอ่อน คบค้า ไม่ละโมบ ปกป้องเพื่อนด้วยวิธีการที่ดีที่สุด ต้องหมั่นศึกษาความรู้และทำทุกสิ่งที่เป็นความดีน่ายกย่อง หากแต่ยามใดที่คิดแต่จะเพิ่มจำนวนเพื่อน และยากที่จะเอาใจพวกเขา หลอกหลวงในการคบหากับพวกเขาหรือการให้สิทธิที่พึงควรต่อพวกเขาเวลาพวกเขาตกทุกข์ ซึ่งวินาทีนั้น หากท่านบิดพลิ้วหรือปล่อยปะละเลยพวกเขา ท่านก็จะถูกสาปแช่งและถูกตำหนิ และหากท่านทำหน้าที่ตามสัญญา ท่านก็ต้องบีบคั้นจนอาจถึงขั้นทำร้ายตัวเอง บางทีถึงขั้นต้องล้มตายก็มี ดังนั้น ความสุขนั้นเกิดขึ้นเพราะมีพวกเขา ไม่ใช่ด้วยความโศกเศร้าเจ็บปวดเพราะพวกเขา
อัมร์ บิน อัล-อาศ กล่าวว่า เพื่อนเยอะก็เหมือนลูกหนี้เยอะ
อิบนุ อัร-รูมีย์ ได้กล่าวว่า
عدوّك من صديقك مستفاد *** فلا تستكثرنّ من الصحاب
فإن الداء أكثر ما تراه *** يكون من الطعام أو الشراب
ศัตรูของท่านมักจะใช้ประโยชน์จากเพื่อนของท่าน ดังนั้นอย่าคบหาเพื่อนเยอะจนเกินเลย
เพราะโรคส่วนใหญ่ที่เราเห็น ก็มักจะเกิดจากอาหารการกินที่เราชอบทานกันนั่นแหละ

5. ความลับแตก
ข้อเสียของการคบเพื่อนอีกประการหนึ่งก็คืออาจทำให้คนอื่นรู้ความลับเกี่ยวกับเรื่องศาสนา นิสัย มารยาท ความยากจน และสิ่งที่ควรปิดบังอื่น เพราะมนุษย์เรานั้นไม่มีใครที่บริสุทธิ์ผุดผ่องกันทุกคน ทั้งในเรื่องศาสนาและเรื่องชีวิตทั่วไป ซึ่งควรที่จะต้องปกปิดไว้ดีกว่า ดังที่อัลลอฮฺได้ทรงชื่นชมบรรดาผู้ปิดความลับว่า
﴿يَحۡسَبُهُمُ ٱلۡجَاهِلُ أَغۡنِيَآءَ مِنَ ٱلتَّعَفُّفِ﴾ [البقرة: ٢٧٣] 
ความว่า:  “คนไม่รู้จะคิดว่าพวกเขาเป็นคนรวย จากความไม่มักมากของพวกเขา” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 273)

อัล-หะสัน ได้กล่าวว่า ฉันตั้งใจจะไปทำหัจญ์ แล้วษาบิต อัล-บุนานีย์ก็รู้ข่าว ซึ่งเขาเป็นวะลีย์ผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺคนหนึ่ง เขาบอกว่า ฉันได้รับข่าวว่าท่านจะไปหัจญ์ปีนี้ เลยฉันอยากจะไปเป็นเพื่อนด้วยกันกับท่าน อัล-หะสันเลยตอบว่า ไม่เอาน่ะ ปล่อยเราให้ได้อยู่ในแบบที่อัลลอฮฺปกปิดเรื่องของเราดีกว่า เพราะฉันกลัวว่าหากเราไปด้วยกันแล้ว เราอาจจะเห็นสิ่งไม่ดีของกันและกันซึ่งอาจจะนำมาสู่การโกรธเคืองกันได้
ท่านอะหฺมัด ฟะรีดกล่าวว่า เรื่องนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะกับคนที่ต้องทำหน้าที่คอยตักเตือนผู้คน เขาไม่ควรจะคบคนจนมากเกินไป หรือเข้าสังคมกับผู้คนจนเกินเขต แม้ในสิ่งที่เป็นสิ่งอนุมัติ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นได้ใช้ประโยชน์จากคำตักเตือนอบรมของเขาอย่างเต็มที่ และให้เขาใช้ประโยชน์จากการปิดบังของอัลลอฮฺต่อตัวเขา ในบาปและความไม่ดีต่าง ๆ ที่เขาพลาดพลั้งกระทำลงไป ซึ่งถ้าผู้อื่นเห็นแล้วอาจจะไม่ถูกใจเขา ขออัลลอฮฺทรงประทานอภัยโทษและความปลอดภัยในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺแก่เราด้วยเถิด 

6. อันนี้คือโรคที่เกิดเฉพาะกับคนที่คบกับคนรวย
ในหลาย ๆ โรคที่เกิดกับคนคบคนรวยก็คือมองข้ามนิอฺมัตของอัลลอฮฺที่มีต่อตัวเขา การเกิดความคิดอยากได้ในหัวใจ บางทีไม่ได้ดั่งใจหวังจนทำให้เกิดความเศร้า ทั้งนี้ ผู้ใดที่เพ่งมองถึงความสุขสบายของโลกดุนยาเขาก็จะเกิดความลุ่มหลงและความละโมบ และท้ายที่สุดจะผิดหวังจนทำให้เกิดความทุกข์เพราะสิ่งนั้น มาตรว่าเขาปลีกตัวเขาก็จะไม่เห็น เมื่อไม่เห็นก็จะไม่อยากและไม่เกิดการคลุกคลี  ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺจึงมีบัญชาว่า
﴿وَلَا تَمُدَّنَّ عَيۡنَيۡكَ إِلَىٰ مَا مَتَّعۡنَا بِهِۦٓ أَزۡوَٰجٗا مِّنۡهُمۡ﴾ [طه: ١٣١] 
ความว่า: “เจ้าจงอย่าทอดสองดวงตาเพ่งมองสิ่งที่เราได้มอบให้แก่พวกเขาบางคู่” (ฏอฮา 131)

ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า
«انْظُرُوا إِلَى مَنْ هُوَ أَسْفَلُ مِنْكُمْ ، وَلَا تَنْظُرُوا إِلَى مَنْ هُوَ فَوْقَكُمْ ؛ فَإِنَّهُ أَجْدَرُ أَنْ لَا تَزْدَرُوا نِعْمَةَ اللَّهِ عَلَيْكُمْ » [رواه مسلم و البخاري بمعناه]
ความว่า: “พวกท่านจงดูคนที่ต่ำกว่าพวกท่าน และอย่าดูคนที่สูงกว่า เพราะนั่นดีกว่า ที่จะไม่ชักพาให้พวกท่านลืมสำนึกในความกรุณาของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกท่าน” (อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

เอาน์ บิน อับดุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า ฉันเคยคบกับคนร่ำรวย จนทำให้ฉันต้องเศร้าหมองตลอดเวลา ฉันเห็นเสื้อผ้าที่ดีกว่าเสื้อผ้าของตัวเอง และเห็นพาหนะที่ดีกว่าพาหนะของตัวเอง ต่อมาฉันได้คบกับคนจน ปรากฏว่าฉันโล่งใจเป็นที่สุด

7. การยุ่งกับคนอื่นเกินไป
หนึ่งในข้อเสียของการคบคนก็คือ การต้องหมกมุ่นกับเพื่อน ๆ จนไม่สามารถสละเวลาและหัวใจเพื่อครุ่นคิดถึงอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่เป็นความปรารถนาอันดับหนึ่งของหัวใจ และเป็นมูลเหตุแห่งความสุขและความรอดพ้นที่สำคัญที่สุดสำหรับหัวใจอีกด้วย จนเกิดสำนวนว่า การหมกมุ่นกับมนุษย์คือสัญญาณแห่งความล้มละลาย
นักปราชญ์บางคนกล่าวว่า ที่มนุษย์รู้สึกว้าเหว่ นั่นเพราะตัวเขาขาดปัจจัยแห่งความดีงาม เขาจึงพยายามคบหาเพื่อนฝูงและสลัดความโดดเดี่ยวอ้างว้างด้วยการได้อยู่ร่วมกับพวกเขา ทว่า หากเขาเป็นผู้ที่มีสิ่งดีงามอยู่ในตัวแล้วไซร้ เขาก็จะโหยหาการอยู่คนเดียว เพราะจะได้ใช้ความเงียบสงบในการครุ่นคิด จนสามารถตกผลึกความรู้และวิทยปัญญาต่างๆ ออกมา

وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم

ต้นฉบับเดิมจาก http://www.saaid.net/Minute/m54.htm
โดย อุมมุ อาอิช  เว็บไซต์ อะนามุสลิม











   


การรักกันในหนทางของอัลลอฮฺ

เกี่ยวกับหนังสือ

ผู้เขียน :

www.islamhouse.com

สำนักพิมพ์ :

www.islamhouse.com

ประเภท :

Morals & Ethics