เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

محمد بن عبد الله الربيعة

วันที่ :

Thu, Sep 01 2016

ประเภท :

About Quran & Hadith

การเรียนและตะดับบุรอัลกุรอานของชาวสะลัฟ

กระบวนการเรียนรู้และพินิจใคร่ครวญอัลกุรอานของชาวสลัฟ
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

ดร.มุหัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ อัร-เราะบีอะฮฺ

แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : www.tadabbor.com

 


2015 - 1436
 


 
منهج السلف في تلقي القرآن وتدبره
« باللغة التايلاندية »

 


د. محمد بن عبد الله الربيعة

 


ترجمة: محمد صبري يعقوب
مراجعة: فيصل عبد الهادي
المصدر:  www.tadabbor.com

 

 

 

2015 - 1436
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

วิธีการเรียนรู้และพินิจใคร่ครวญ
อัลกุรอานของชาวสะลัฟ

    แท้จริงความสูงส่งและเกียรติศักดิ์ที่ชาวสะละฟุศศอลิหฺได้รับ และทำให้ทั้งชาวอาหรับและที่ไม่ใช่ชาวอาหรับต่างยอมจำนนต่อพวกเขา ก็เนื่องด้วยพวกเขาได้ยึดมั่นอย่างเอาจริงเอาจังต่อคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ตะอาลา –นั่นคืออัลกุรอาน-
เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการเจริญรอยตามการก้าวเดินของพวกเขา ที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจในวิธีการเรียนรู้และพินิจใคร่ครวญอัลกุรอานของพวกเขา และสิ่งนี้เองที่เราพยายามที่จะนำเสนออย่างรวบรัดในการพูดคุยกันในครั้งนี้
    แน่นอนที่สุด ผู้ที่พินิจพิจารณาการใช้ชีวิตของชาวสะลัฟที่มีความผูกพันกับอัลกุรอาน เขาจะพบว่าพวกเขาจะมีวิธีการที่เอาใจใส่ต่ออิบาดะฮฺนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถระบุแก่นหลักของมันได้ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ก็หวังว่าเราจะได้รับประโยชน์จากมัน ซึ่งแก่นหลักที่เด่นชัดที่สุดนั้นคือ

หนึ่ง พวกเขารู้ถึงตำแหน่งอันสูงส่งของอัลกุรอานและเข้าใจในวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของมัน
    การเรียนรู้สิ่งใดด้วยความรัก ด้วยการให้ความสำคัญ และด้วยการมีศรัทธานั้น ย่อมทำให้การคลุกคลีกับสิ่งนั้นเป็นไปด้วยดี และผู้ใดที่รู้คุณค่าต่อสิ่งหนึ่งเขาย่อมตระหนักและให้ความสำคัญต่อสิ่งนั้น ซึ่งในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เห็นได้เด่นชัดในกลุ่มชนยุคแรกไม่ว่าจะมาจากคำพูดและการกระทำของพวกเขา โดยคำพูดต่างๆ ของพวกเขาที่ถูกบันทึกไว้นั้นได้สาธยายถึงความยิ่งใหญ่และอิทธิพลของอัลกุรอานที่ส่งผลต่อการน้อมรับให้เป็นไปอย่างรูปธรรม
ท่านอับดุลลอฺฮฺ บินมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«إِنَّ هَذَا الْقُرْآنَ مَأْدُبَةُ اللهِ فَتَعَلَّمُوا مِنْ مَأْدُبَةِ اللهِ مَا اسْتَطَعْتُمْ، إِنَّ هَذَا الْقُرْآنَ هُوَ حَبْلُ اللَّهِ، وَهُوَ النُّورُ الْبَيِّنُ، وَالشِّفَاءُ النَّافِعُ، عِصْمَةٌ لِمَنْ تَمَسَّكَ بِهِ » ] أخرجه الحاكم في المستدرك 1/741رقم 2040 وقال ( صحيح الإسناد ولم يخرجاه ) . وابن أبي شيبة 6/125برقم 30008.[
ความว่า “แท้จริงอัลกุรฺอานนั้นเป็นงานเลี้ยงของอัลลอฮฺ(เนื่องจากในอัลกุรฺอานล้วนมีสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้คน จึงเปรียบกับงานเลี้ยงที่เชิญชวนผู้คนเข้าร่วมเพราะในนั้นมีแต่สิ่งที่ดีงาม -ผู้แปล-) ดังนั้นจงเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นเท่าที่พวกเจ้ามีความสามารถ แท้จริงอัลกุรอานนั้นคือสายเชือกของอัลลอฮฺ มันคือรัศมีที่เจิดจรัส และเป็นยาที่ให้ประโยชน์ ย่อมได้รับความคุ้มครองให้ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ได้ยึดมั่นต่อมัน” (บันทึกโดยอัล-หากิม ใน “อัล-มุสตัดร็อก” เล่ม 1 หน้า 741 หมายเลข 2040 และท่านได้กล่าวว่า “สายรายงานเศาะฮีหฺ แต่ท่านไม่ได้ระบุสายรายงานของมัน” และบันทึกโดยอิบนุ อบีชัยบะฮฺ เล่ม 6 หน้า 125 หมายเลข 30008)

    ท่านได้กล่าวอีกว่า
«مَنْ أَحَبَّ أَنْ يَعْلَمَ أَنَّهُ يُحِبُّ اللهَ وَرَسُولَهُ، فَلْيَنْظُرْ فَإِنْ كَانَ يُحِبُّ الْقُرْآنَ فَهُوَ يُحِبُّ اللهَ وَرَسُولَهُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ »
ความว่า “ผู้ใดอยากรู้ว่าเขารักอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์หรือไม่ ก็จงสังเกตว่า หากเขารักอัลกุรอาน เขาก็เป็นผู้ที่รักอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม” (บันทึกโดยอัฏ-ฏ็อบรอนี ใน “อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีร” หมายเลข 8657)

    ท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า
« ضَمِنَ اللهُ لِمَنْ قَرَأَ الْقُرْآنَ لا يَضِلُّ فِي الدُّنْيَا , وَلا يَشْقَى فِي الآخِرَةِ، ثُمَّ قَرَأَ ﴿فَمَنِ ٱتَّبَعَ هُدَايَ فَلَا يَضِلُّ وَلَا يَشۡقَىٰ ١٢٣ ﴾ [طه: ١٢٣]»
ความว่า “อัลลอฮฺทรงรับประกันสำหรับผู้ที่อ่านอัลกุรอาน(และปฏิบัติตาม-ผู้แปล-) ว่าจะไม่หลงผิดในโลกนี้และจะไม่ได้รับความลำบากในโลกอาคิเราะฮฺ แล้วท่านก็อ่านอายะฮฺนี้ (แล้วผู้ใดปฏิบัติตามคำแนะนำของข้า เขาก็จะไม่หลงผิด และจะไม่ได้รับความลำบาก)” (บันทึกโดยอัร-รอซี ใน “ฟะฎออิล อัลกุรอาน วะติลาวะติฮฺ” เล่ม 1 หน้า 119 หมายเลข 84)

ซึ่งการอ่านอัลกุรอานในที่นี้ หมายถึง การปฏิบัติตามหลักฐานที่มีอยู่ในอัลกุรอาน

    และท่านอิมามอัล-บุคอรี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
«لاَ يَجِدُ طَعْمَهُ وَنَفْعَهُ إِلَّا مَنْ آمَنَ بِالقُرْآنِ، وَلاَ يَحْمِلُهُ بِحَقِّهِ إِلَّا المُوقِنُ، لِقَوْلِهِ تَعَالَى» ]صحيح البخاري 24/410. [
ความว่า “จะไม่พบความหอมหวานและคุณค่าใดๆ ของอัลกุรอาน ยกเว้นผู้ที่มีศรัทธาต่อมัน และไม่มีผู้ใดสามารถแบกรับคำแนะนำของมันได้ยกเว้นผู้ที่มีความเชื่อมั่นเท่านั้น” (บันทึกโดยอัล-บุคอรี เล่ม 9 หน้า 155)
 
    เรามีความต้องการอย่างยิ่งยวดต่อการปรับปรุงหัวใจของเราในนัยนี้ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่าหัวใจของผู้คนไม่ใช่น้อยเลยทีเดียวที่มีความบกพร่องต่อการให้ความสำคัญและให้ความรักที่แท้จริงรวมถึงมีศรัทธาต่อมัน จึงทำให้ความผูกพันที่มีต่ออัลกุรอานและผลที่ได้รับจากมันนั้นได้บกพร่องไป และจุดนี้เองที่เป็นปัญหา ส่วนวิธีการแก้ไขนั้นคือ การปลูกฝังความสำคัญของอัลกุรอานในจิตใจของผู้คน และให้พวกเขามีความรักด้วยความจริงใจต่ออัลกุรอาน โดยให้เกิดผลและการอตอบรับไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ให้หมั่นกล่าวถึงคุณค่าของอัลกุรอาน และวัตถุประสงค์ที่สูงสุดของการประทานมันลงมา
    
สอง พวกเขาเรียนรู้และสอนอีมานก่อนอัลกุรอาน
กล่าวคือ พวกเขาได้ปลูกฝังความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺในหัวใจของพวกเขา และปลูกฝังความสำคัญของคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามของพระองค์ จึงทำให้พวกเขาเรียนรู้หลักบัญญัติต่างๆ ของศาสนาได้อย่างง่ายดาย และนี่คือปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูการตัรบียะฮฺด้วยอัลกุรอานในจิตใจของผู้คน
และนี่คือวิธีการที่อัลกุรอานได้ใช้อบรมสั่งสอนบรรดาเศาะหาบะฮฺในช่วงแรกเริ่มของอิสลาม ซึ่งในช่วงแรกเริ่มของการประทานอัลกุรอานนั้นก็จะเริ่มด้วยการตัรบียะฮฺในด้านการศรัทธาโดยจะเห็นได้จากเนื้อหาในสูเราะฮฺมักกียะฮฺ โดยเฉพาะสูเราะฮฺอัล-มุฟัศศ็อล (นั้นคือตั้งแต่สูเราะฮฺกอฟ จนจบอัลกุรอาน -ผู้แปล-) ซึ่งล้วนมีเนื้อหาเพื่อเป็นการปลูกฝังความศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺแทบทั้งสิ้น จึงทำให้จิตใจของพวกเขาได้รับการบ่งเพาะความศรัทธาที่ถูกต้อง รวมทั้งการให้ความสำคัญต่ออัลกุรอาน จึงทำให้จิตใจของพวกเขามีความพร้อมที่จะเรียนรู้ข้อแนะนำต่างๆ ของมัน
เพื่อความชัดเจนของวิธีการนี้ -ซึ่งเป็นวิธีการที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อบรมสั่งสอนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน- หนึ่งในลูกศิษย์ผู้ที่มีความฉลาดปราดเปรื่องในสถาบันของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นคือ ท่านญุนดุบ บินอับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งท่านได้กล่าวว่า
«كنّا مع النبيِّ ونحن فتيان حزاير فتَعَلَّمْنا الإيمانَ قبلَ القرآن، ثم تَعلمنا القرآنَ فازددنا إيماناً» ]أخرجه ابن ماجه 1/74 رقم 64 والتاريخ الكبير للبخاري 2/221 وسنن البيهقي الكبرى 2/49 رقم 5498 والطبراني في المعجم الكبير 2/225 رقم 1656 وصححه الألباني في صحيح سنن ابن ماجه 1/16 رقم 52  [
ความว่า “เราได้อยู่กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในขณะที่เราเป็นเด็กหนุ่มที่แข็งแรง ซึ่งเรานั้นได้เรียนรู้อีมานก่อนเรียนรู้อัลกุรอาน แล้วหลังจากนั้นเราจึงเรียนรู้อัลกุรอาน ดังนั้นอีมานของเราจึงเพิ่มขึ้น” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ เล่ม 1 หน้า 74 หมายเลข 64, อัต-ตารีค อัล-กะบีร โดยอัล-บุคอรี เล่ม 2 หน้า 221, สุนัน อัล-บัยฮะกี อัล-กุบรอ เล่ม 2 หน้า 49 หมายเลข 5498, อัฏ-เฎาะบะรอนี ใน “อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีร” เล่ม 2 หน้า 225 หมายเลข 1656, และท่านชัยคฺอัล-อัลบานีกล่าวว่าเป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ ใน “เศาะฮีหฺ สุนัน อิบนุมาญะฮฺ” เล่ม 1 หน้า 16 หมายเลข 52)

ดังนั้น จงพินิจพิจารณาเถิดว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เริ่มปลูกฝังอีมานในจิตใจของพวกเขา กระทั่งอีมานได้ถูกบรรจุในหัวใจของพวกเขาได้อย่างไร ทำให้พวกเขาเป็นผู้ที่คู่ควรในการเรียนรู้อัลกุรอาน และทำให้พวกเขามีความมุ่งมั่นต่อมัน ด้วยเหตุนั้นเองอีมานของพวกเขาก็ได้เพิ่มขึ้น
ในเรื่องนี้ท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า
«لَقَدْ عِشْنَا بُرْهَةً مِنْ دَهْرِنَا، وَأَحَدُنَا يُؤْتَى الْإِيمَانَ قَبْلَ الْقُرْآنِ، وَتَنْزِلُ السُّورَةُ عَلَى مُحَمَّدٍ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَنَتَعَلَّمُ حَلَالَهَا وَحَرَامَهَا، وَآمِرَهَا وَزَاجِرَهَا، وَمَا يَنْبَغِي أَنْ يَقِفَ عِنْدَهُ مِنْهَا، كَمَا تَعَلَّمُونَ أَنْتُمُ الْيَوْمَ الْقُرْآنَ، ثُمَّ لَقَدْ رَأَيْتُ الْيَوْمَ رِجَالًا يُؤْتَى أَحَدُهُمُ الْقُرْآنَ قَبْلَ الْإِيمَانِ، فَيَقْرَأُ مَا بَيْنَ فَاتِحَتِهِ إِلَى خَاتِمَتِهِ مَا يَدْرِي مَا آمِرُهُ وَلَا زَاجِرُهُ، وَلَا مَا يَنْبَغِي أَنْ يَقِفَ عِنْدَهُ مِنْهُ، فَيَنْثُرَهُ نَثْرَ الدَّقَلِ» ]أخرجه ابن أبي شيبة في المصنف 2/403 والبيهقي في السنن الكبرى 3/170 رقم 5290 والحاكم في المستدرك 1/91 رقم 101 وقال هذا حديث صحيح على شرط الشيخين ولا علة له ووافقه الذهبي. [
ความว่า “แท้จริง พวกเราได้มีชีวิตในช่วงเวลาหนึ่งในยุคสมัยของเรา ซึ่งแต่ละคนในหมู่พวกเรานั้นถูกให้อีมานก่อนอัลกุรอาน และครั้งที่สูเราะฮฺของอัลกุรอานถูกประทานลงมายังท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พวกเราจึงเรียนรู้ว่าสิ่งใดหะลาลและสิ่งใดหะรอม สิ่งใดเป็นข้อสั่งใช้ และสิ่งใดเป็นข้อห้าม และสิ่งใดที่ต้องหยุดนิ่งอยู่กับมัน ดังที่พวกท่านได้เรียนรู้อัลกุรอานในทุกวันนี้ แต่แล้ววันหนึ่งฉันก็ได้เห็นผู้คนกลุ่มหนึ่งที่บางคนในหมู่พวกเขาได้รับอัลกุรอานก่อนอีมาน เขาจึงอ่านมันตั้งแต่เริ่มจนจบ โดยที่เขาไม่รู้เลยว่าสิ่งใดเป็นข้อสั่งใช้และสิ่งใดเป็นข้อห้าม และไม่รู้ว่าสิ่งใดบ้างที่พวกเขาต้องหยุดนิ่งอยู่กับมัน แล้วเขาก็อ่านอัลกุรอานดังที่เขาได้ร่ายบทกลอน” (บันทึกโดยอิบนุอบีชะบะฮฺ ใน “อัล-มุศ็อนนัฟ” เล่ม 2 หน้า 403, อัล-บัยฮะกี ใน “อัส-สุนัน อัล-กุบรอ” เล่ม 3 หน้า 170 หมายเลข 5290, อัล-หากิม ใน “อัล-มุสตัดร็อก” เล่ม 1 หน้า 91 หมายเลข 101 และท่านได้กล่าวว่าเป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ ตามเงื่อนไขของอัล-บุคอรีและมุสลิม โดยไม่มีข้อบกพร่องใดๆ ทั้งยังสอดคล้องกับทัศนะของอัซ-ซะฮะบี)

สาม พวกเขาเรียนรู้อัลกุรอานได้อย่างยอดเยี่ยม เนื่องจากมันเป็นสาส์นที่มาจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา (ที่ถูกประทานลงมา) เพื่อให้ปฏิบัติตามและปรับใช้ในชีวิต โดยที่พวกเขาได้พินิจใคร่ครวญเนื้อหาของมันในเวลากลางคืน และได้ปรับใช้มาปฏิบัติในเวลากลางวัน

    มีหลักฐานอย่างมากมายทั้งที่มาจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ รวมถึงคำกล่าวของบรรดาสะลัฟที่ใช้ให้ปฏิบัติตาม (คำแนะนำที่มีอยู่ใน) อัลกุรอาน ซึ่งถือเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุด (ของการประทานอัลกุรอานลงมา) (ดูในหนังสือ “อิซมะฮฺ อัลกุรอาน” ในเรื่อง “ฟะฎออิล อัล-อะมัล บิลกุรอาน” หน้า 496)

ท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«كَانَ الرَّجُلُ مِنَّا إِذَا تَعَلَّمَ عَشْرَ آيَاتٍ لَمْ يُجَاوِزْهُنَّ حَتَّى يَعْرِفَ مَعَانِيَهُنَّ وَالْعَمَلَ بِهِنَّ» ]تفسير القرآن العظيم لابن كثير 1/4. [
ความว่า “เมื่อใครคนหนึ่งในหมู่พวกเราศึกษาอัลกุรอานสิบอายะฮฺ เขาจะไม่ศึกษาต่อในอายะฮฺถัดจากนั้น จนกว่าเขาจะเข้าใจความหมายและปฏิบัติตามอายะฮฺเหล่านั้นเสียก่อน” (ตัฟสีร อัลกุรอาน อัล-อะซีม โดยอิบนุกะษีร เล่ม 1 หน้า 9)

ท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า
«كان الفضل مِنْ أَصْحَابِ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي صَدْرِ هَذِهِ الْأُمَّةِ لَا يَحْفَظُ مِنَ الْقُرْآنِ إِلَّا السُّورَةَ أَوْ نَحْوَهَا، وَرُزِقُوا العمل بالقران، وان أخر هذه الامة يقرءون الْقُرْآنَ مِنْهُمُ الصَّبِيُّ وَالْأَعْمَى وَلَا يُرْزَقُونَ الْعَمَلَ بِهِ» ]الجامع لأحكام القرآن 1/30. [
ความว่า “ผู้ที่ประเสริฐในหมู่เศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในช่วงยุคแรกของประชาชาตินี้นั้น ไม่ได้ท่องจำอัลกุรอานเว้นแต่เพียงสูเราะฮฺเดียวหรือมากกว่านั้นเล็กน้อยเท่านั้น แต่พวกเขาต่างปฏิบัติตาม (คำแนะนำที่มีอยู่ใน) อัลกุรอาน ในทางกลับกันกลุ่มชนยุคท้ายๆ ของประชาชาตินี้ พวกเขาต่างพากันอ่านอัลกุรอาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กและคนตาบอด แต่พวกเขากลับไม่ปฏิบัติต่อมัน” (อัล-ญามิอฺ ลิอะหฺกาม อัลกุรอาน เล่ม 1 หน้า 30)

เฉกเช่นที่ก่อนหน้านี้นั้น มันคือวิธีการของพวกเขา (ชาวสะลัฟ) ในการอบรมสั่งสอนลูกหลานและนักเรียนนักศึกษา และปลูกฝังมันในจิตใจของพวกเขา รวมทั้งได้มีการสั่งเสียกันในเรื่องนี้กัน ดังนั้น ท่านจงพินิจพิจารณาคำกล่าวที่ยิ่งใหญ่นี้เถิด ซึ่งเป็นคำกล่าวที่แกนนำคนสำคัญของบรรดาอัต-ตาบิอีนได้กล่าวไว้ นั้นคือท่านอัล-หะสัน อัล-บัศรี เราะหิมะฮุลลอฮฺ โดยที่ท่านได้กล่าวว่า
(إنَّ هذا القرآنَ قَرَأَه عبيدٌ وصبيانٌ لم يأخذوه مِن أوَّله، ولا عِلْمَ لهم بتأويلِه، إنَّ أَحقَّ الناسِ بهذا القرآنِ مَن رُئِي في عملِه، قال اللهُ عز وجل في كتابه:  ﴿كِتَٰبٌ أَنزَلۡنَٰهُ إِلَيۡكَ مُبَٰرَكٞ لِّيَدَّبَّرُوٓاْ ءَايَٰتِهِۦ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ ٢٩ ﴾ [ص : ٢٩]  وإنَّما تَدبُّرُ  آياتِه اتّباعُه بعملِه، أَمَا واللهِ ما هو بحفظِ حروفِهِ وإِضاعةِ حدودِهِ! حتى إنَّ أحدهم لَيقول: قد قَرَأْتُ القرآنَ كلَّه فما أَسْقَطتُ منه حرفاً؛ وقد واللهِ أَسقَطَه كلَّه! ما يُرَى له القرآنُ في خُلُقٍ ولا عمل! حتى إنَّ أحدَهم لَيقول: إني لأقرأُ السورةَ في نَفَسٍ واحدٍ، واللهِ ما هؤلاءِ بالقُرَّاءِ ولا العلماءِ ولا الحكماءِ ولا الوَرَعةِ! متى كانت القُرّاءُ تقولُ مثل هذا؟ لا أَكْثَرَ اللهُ في الناسِ مثلَ هؤلاء) ]الزهد والرقائق لابن المبارك ت أحمد فريد ج6/ 610 رقم 742 ط دار المعراج  [
ความว่า “แท้จริงอัลกุรอานนี้ ทาสรับใช้และเด็กๆ ได้อ่านกัน โดยที่พวกเขาไม่ได้ยึดเอาตั้งแต่แรก และไม่รู้คำอธิบายของมัน แท้จริงผู้ที่คู่ควรที่สุดกับอัลกุรอานนั้นคือ ผู้ที่ทำให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม อัลลอฮฺ อัซซะวะญัละ ได้ดำรัสในคัมภีร์ของพระองค์ว่า (ความว่า) “คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาอายาตต่างๆ ของอัลกุรอานและเพื่อบรรดาผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ” (สูเราะฮฺศ็อด : 29) และแท้จริงการพินิจใคร่ครวญบรรดาอายะฮฺต่างๆ นั้นคือการปฏิบัติตามมันอย่างเป็นรูปธรรม และขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า มันไม่ใช่เป็นการท่องจำอักษรต่างๆ แต่กลับละเลยในข้อกำหนดต่างๆ ของมัน กระทั่งบางคนได้กล่าวว่า “ฉันได้อ่านอัลกุรอานจนจบเล่ม โดยไม่ขาดตกบกพร่องแม้เพียงอักษรเดียว แต่ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า เขาได้ขาดตกบกพร่องทั้งหมด เพราะไม่เห็นอัลกุรอานในคุณลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของเขาแต่อย่างใด” กระทั่งบางคนได้กล่าวอีกว่า “ฉันได้อ่านสูเราะฮฺหนึ่งด้วยลมหายใจเพียงเฮือกเดียวเท่านั้น แต่ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า พวกเขาไม่ได้เป็นนักอ่านอัลกุรอาน ไม่ได้เป็นผู้รู้ ไม่ได้เป็นนักปรัชญา และไม่ได้เป็นผู้มีความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อใดที่ผู้อ่านอัลกุรอานได้กล่าวเฉกเช่นนี้  ขออัลลอฮฺอย่าได้ทรงให้มีคนประเภทนี้มีมากเลย” (อัซ-ซุฮฺดุ วัร-เราะกออิก โดยอิบนุ อัล-มุบาร็อก ตรวจทานโดยอะหฺมัด ฟะรีด เล่ม 6 หน้า 610 หมายเลข 742 พิมพ์ที่ดาร อัล-มิอฺรอจญฺ)

    และเฉกเช่นที่พวกเขามีการเน้นย้ำและสั่งเสียแก่ผู้ที่ท่องจำอัลกุรอานในเรื่องนั้น โดยได้เน้นให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่ท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
(ينبغي لحاملِ القرآنِ أَنْ يُعرفَ بليلِه إذا الناسُ ينامون، وبنهارِه إذا الناسُ يُفطرون، وبحزنِهِ إذا الناس يَفرَحون، وببكائِه إذا الناسُ يَضحكون، وبِصَمتِه إذا الناسُ يَخُوضُون، وبخشوعِه إذا الناس يختالون، وينبغي لحاملِ القرآن أَنْ يكونَ مُستكيناً لَيِّناً، ولا ينبغي له أن يكونَ جَافياً ولا ممارياً ولا صَيّاحاً ولا صَخّاباً ولا حديداً) ]أخرجه ابن أبي شيبة في المصنف 8/305[
ความว่า “สมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ท่องจำอัลกุรอานที่จะต้องมีความโดดเด่น (ด้วยการกิยามุลลัยลฺ) ในยามค่ำคืนในขณะที่ผู้คนกำลังนอนหลับ และในยามกลางวัน (ด้วยการถือศีลอด) ในขณะที่ผู้คนกำลังดื่มกิน และมีความโศกเศร้าในขณะที่ผู้คนต่างร่าเริง และร้องไห้ในขณะที่ผู้คนหัวเราะเริงร่า และนิ่งเงียบในขณะที่ผู้คนกำลังพูดคุย และมีความสุขุมในขณะที่ผู้คนต่างหลงใหล และสมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ท่องจำอัลกุรอานที่จะต้องสุภาพอ่อนโยน และไม่สมควรที่จะมีความหยาบกระด้าง โต้เถียงทะเลาะวิวาท ตะโกนดังลั่น ทำเสียงอึกทึกครึกโครม และใช้คำพูดที่ทิ่มแทง” (บันทึกโดยอิบนุ อบีชัยบะฮฺ ใน “อัล-มุศ็อนนัฟ” เล่ม 8 หน้า 305)

    และนี่คือวิธีการที่ทำให้เกิดกลุ่มชนดังกล่าว ทั้งยังเป็นวิธีสร้างพวกเขาขึ้นมา ซึ่งหากเราได้เรียนรู้อัลกุรอาน เฉกเช่นที่กลุ่มชนรุ่นแรกได้เรียนรู้ด้วยวิธีการนี้ และได้ตัรบียะฮฺกลุ่มชนของเราด้วยกับวิธีการนี้ มันย่อมเกิดผลในจิตใจของพวกเราได้อย่างแน่นอน
    และในขณะที่เราได้อ่านอัลกุรอานอย่างใจจดใจจ่ออยู่นี้ เราก็จะพบในสิ่งที่เราต้องการ และเราจะพบว่าในนั้นมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์โดยที่ความนึกคิดไม่เคยคาดถึงมาก่อนเลย และเมื่อนั้นเราจะพบว่าในอัลกุรอานนั้นมีความเพริศแพร้วและมีชีวิตชีวา และเราก็จะได้เข้าใจในความหมายของคำดำรัสนี้
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱسۡتَجِيبُواْ لِلَّهِ وَلِلرَّسُولِ إِذَا دَعَاكُمۡ لِمَا يُحۡيِيكُمۡۖ ٢٤ ﴾ [الأنفال: ٢٤]  
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงตอบรับอัลลอฮฺ และเราะสูลเถิด เมื่อเขาได้เชิญชวนพวกเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ามีชีวิตชีวาขึ้น” (สูเราะฮฺอัล-อันฟาล : 24)

สี่ ให้อ่านอัลกุรอานอย่างช้าๆ ชัดถ้อยชัดคำ และให้มีความรู้สึกซาบซึ้ง (ในเนื้อหา) รวมทั้งให้อ่านมันในละหมาดกิยามุลลัยลฺ

และนี่คือวิธีการที่อัลกุรอานได้ยืนยันและแนะนำให้ผู้ที่อ่านมัน (นำไปปฏิบัติ) ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า  
﴿ وَقُرۡءَانٗا فَرَقۡنَٰهُ لِتَقۡرَأَهُۥ عَلَى ٱلنَّاسِ عَلَىٰ مُكۡثٖ وَنَزَّلۡنَٰهُ تَنزِيلٗا ١٠٦ قُلۡ ءَامِنُواْ بِهِۦٓ أَوۡ لَا تُؤۡمِنُوٓاْۚ إِنَّ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡعِلۡمَ مِن قَبۡلِهِۦٓ إِذَا يُتۡلَىٰ عَلَيۡهِمۡ يَخِرُّونَۤ لِلۡأَذۡقَانِۤ سُجَّدٗاۤ ١٠٧ ﴾ [الإسراء: ١٠٦،  ١٠٧]   
ความว่า “และอัลกุรอาน เราได้แยกมันไว้อย่างชัดเจน เพื่อเจ้าจะได้อ่านมันแก่มนุษย์อย่างช้าๆ และเราได้ประทานมันลงมาเป็นขั้นตอน จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พวกท่านจะศรัทธาในมันหรือไม่ศรัทธาก็ตาม แท้จริงบรรดาผู้ได้รับความรู้ก่อนหน้ามันนั้นเมื่อมันได้ถูกอ่านแก่พวกเขาพวกเขาจะหมอบราบลง ใบหน้าจรดพื้นเพื่อสุญด” (สูเราะฮฺอัล-อิสรออ์ : 106-107)

ดังนั้น มาพินิจพิจารณาด้วยกันว่า อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้สั่งใช้ให้นบีของพระองค์อ่านอัลกุรอานอย่างช้าๆ ชัดถ้อยชัดคำ และไม่เร่งรีบในการอ่านไว้อย่างไร หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้ยกย่องสดุดีแก่ผู้ที่ปฏิบัติเช่นนี้ว่า ด้วยคำดำรัสที่ว่า
﴿إِنَّ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡعِلۡمَ مِن قَبۡلِهِۦٓ إِذَا يُتۡلَىٰ عَلَيۡهِمۡ يَخِرُّونَۤ لِلۡأَذۡقَانِۤ سُجَّدٗاۤ ١٠٧ ﴾ [الإسراء: ١٠٧]  
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ได้รับความรู้ก่อนหน้ามันนั้นเมื่อมันได้ถูกอ่านแก่พวกเขา พวกเขาจะหมอบราบลง ใบหน้าจรดพื้นเพื่อสุญด” (สูเราะฮฺอัล-อิสรออ์ : 107)

    และเป็นที่ปรากฏอย่างเด่นชัดว่าชาวสะลัฟนั้นได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งส่วนหนึ่งจากเรื่องราวของพวกเขาในเรื่องนั้น คือดังคำบอกเล่าของท่านอิบนิ อบีมุลัยกะฮฺ (ซึ่งท่านได้เล่าว่า)
(سافرتُ مع ابنِ عباس - رضي الله عنهما – مِن مكةَ إلى المدينةِ، فكان يَقومُ نصفَ الليلِ فيقرأُ القرآنَ حرفاً حرفاً، ثم يَبكي حتى تَسمعَ له نَشيجاً) ]مختصر قيام الليل لمحمد بن نصر ص131 . [
ความว่า “ฉันได้ร่วมเดินทางพร้อมกับท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา จากเมืองมักกะฮฺไปยังเมืองมะดีนะฮฺ ซึ่งท่าน (อิบนุอับบาส) ได้ใช้เวลายืนละหมาดกิยามุลลัยลฺครึ่งหนึ่งของกลางคืน โดยที่ท่านอัลกุรอานคำต่อคำ (อย่างช้าๆ) แล้วท่านก็ร้องไห้ กระทั่งได้ยินเสียงสะอื้น” (มุคตะศ็อร กิยามุลลัยลฺ โดยมุหัมมัด บินนัศรฺ หน้า 131)

    ท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
(لا تَهُذُّوا القرآنَ هذ الشِّعْر، وتَنثروه نَثْرَ الدَّقَل، وقِفُوا عند عجائبِه، وحَرِّكوا به القلوب، ولا يكن هَمُّ أحدِكم مِن السورة آخرَها) ]مختصر قيام الليل لمحمد بن نصر ص132. [
ความว่า “พวกท่านอย่าแพร่กระจายอัลกุรอานดังที่พวกท่านได้โปรยผงทราย และพวกท่านอย่าอ่านอัลกุรอานดังที่พวกท่านได้ร่ายบทกลอน แต่พวกท่านจงหยุดพินิจพิจารณาเมื่อถึงเรื่องราวที่น่าอัศจรรย์ พร้อมทั้งกระตุ้นหัวใจของพวกท่านเมื่อได้พบเจอมัน โดยอย่าให้ความตั้งใจของคนหนึ่งใดในหมู่พวกท่าน เพียงแค่การอ่านให้จบถึงอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺหนึ่งๆ เท่านั้น” (มุคตะศ็อร กิยามุลลัยลฺ โดยมุหัมมัด บินนัศรฺ หน้า 132)

    การอ่านอัลกุรอานอย่างชัดถ้อยชัดคำพร้อมกับการพินิจใคร่ครวญนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะส่งผลต่อจิตใจ รวมถึงสามารถปรับปรุงหัวใจได้ และนั่นคือวิธีการของชาวสะละฟุศศอลิหฺ แล้วพวกเราจะไม่ตัรบียะฮฺจิตใจและกลุ่มชนของเราด้วยสิ่งดังกล่าวหรือ ?
    สำหรับการอ่านอัลกุรอานในยามค่ำคืนนั้น ก็ถือเป็นแนวทางที่สุดยอดที่สุดสำหรับการพินิจใคร่ครวญ และมีความเหมาะสมที่สุดที่จะทำความเข้าใจอัลกุรอาน และด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงดำรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلۡمُزَّمِّلُ ١ قُمِ ٱلَّيۡلَ إِلَّا قَلِيلٗا ٢ نِّصۡفَهُۥٓ أَوِ ٱنقُصۡ مِنۡهُ قَلِيلًا ٣ أَوۡ زِدۡ عَلَيۡهِ وَرَتِّلِ ٱلۡقُرۡءَانَ تَرۡتِيلًا ٤ إِنَّا سَنُلۡقِي عَلَيۡكَ قَوۡلٗا ثَقِيلًا ٥ إِنَّ نَاشِئَةَ ٱلَّيۡلِ هِيَ أَشَدُّ وَطۡ‍ٔٗا وَأَقۡوَمُ قِيلًا ٦ ﴾ [المزمل: ١،  ٦]  
ความว่า “โอ้ ผู้คลุมกายอยู่เอ๋ย ! จงยืนขึ้น (ละหมาด) เวลากลางคืน เว้นแต่เพียงเล็กน้อย (ไม่ใช่ตลอดคืน) ครึ่งหนึ่งของเวลากลางคืน หรือน้อยกว่านั้นเพียงเล็กน้อย หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้า ๆ เป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ) แท้จริงเราจะประทานวจนะ (วะหฺยู) อันหนักหน่วงแก่เจ้า แท้จริงการตื่นขึ้นในเวลากลางคืนนั้นเป็นเวลาที่ประทับใจยิ่งและเป็นการอ่านที่ชัดเจนยิ่ง” (สูเราะฮฺอัล-มุซซัมมิล : 1-6)

ท่านอิบนุอับบาสได้กล่าวว่า
(هو أَجدرُ أن يفقه القرآن)
ความว่า “มันคือ (ช่วงเวลาที่) เหมาะสมที่สุดในการทำความเข้าใจอัลกุรอาน”

    ท่านอัช-ชันกีฏีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
(لا يُثبِّتُ القرآنَ في الصّدْرِ، ولا يُسَهِّلُ حِفظَه ويُيَسِّرُ فَهمَه، إلا القيامُ به في جوفِ الليل) ]مقدمة أضواء البيان 1/4. [
ความว่า “ไม่สามารถที่จะให้อัลกุรอานฝังอยู่ในหัวใจได้อย่างมั่นคง และไม่สามารถที่จะท่องจำมันได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจในเนื้อหาของมันได้อย่างเรียบง่าย เว้นแต่จะอ่านมันในละหมาดกิยามุลลัยลฺในยามค่ำคืน” (มุก็อดดิมะฮฺ อัฎวาอ์ อัล-บะยาน เล่ม 1 หน้า 4)

    โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย โดยสรุปแล้ว อัลกุรอานคือแก่นหลักของการใช้ชีวิตของชาวสะลัฟ และเป็นเสบียงชีวิตของหัวใจพวกเขา ซึ่งพวกเขาได้พยายามทุ่มเทกับมันยิ่งกว่าการทุ่มเทในการได้มาซึ่งอาหาร เครื่องดื่ม และการผ่อนคลายเสียอีก จะไม่ให้เป็นเช่นนั้นได้อย่างไร ในเมื่อพวกเขาเข้าใจว่าชีวิตที่แท้จริงนั้นคือการมีชีวิตของหัวใจ (ดูใน “ตะหฺกีกฺ อัล-วิศอล บัยนะ อัล-ก็อลบฺ วัลกุรอาน” หน้า 91)
    
ดังนั้น หากเราปรารถนาที่จะลิ้มรสความหอมหวานของอัลกุรอานเฉกเช่นที่พวกเขาได้ลิ้มรสมาแล้ว ก็จงปฏิบัติตามแนวทางของพวกเขา ตามที่เราได้แนะนำแก่นหลักของมันไปแล้วในก่อนหน้านี้
    
โอ้อัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ได้ประทานความโปรดปรานแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ด้วยกับการให้ลิ้มรสความหอมหวานในการเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยการอ่านคัมภีร์ของพระองค์ ดังนั้น ได้โปรดประทานความโปรดปรานแก่เราด้วยกับพระกรุณาธิคุณและเกียรติของพระองค์ด้วยเถิด และได้โปรดให้เราเป็นหมู่ชนแห่งอัลกุรอาน ซึ่งพวกเขาเป็นหมู่ชนของพระองค์โดยเฉพาะ โอ้อัลลอฮฺได้โปรดให้อภัยแก่เรา บิดามารดาของเรา และพี่น้องมุสลิมทั้งหลาย และขอการสดุดีแห่งอัลลอฮฺและความสันติสุขจงมีแด่ท่านนบีมุฮัมมัดของเรา ตลอดจนเครือญาติและบรรดาเศาะหาบะฮฺทุกท่าน

ที่มาของบทความ
http://www.tadabbor.com/Beta/?action=articles_inner&show_id=1452