สิทธิของเศาะหาบะฮฺที่ประชาชาตินี้ต้องมอบให้

สิทธิของเศาะหาบะฮฺที่ประชาชาตินี้ต้องมอบให้ เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีความสำคัญในประเด็นสิทธิของเศาะหาบะฮฺ ซึ่งได้กล่าวถึงนิยามของเศาะหาบะฮฺ ตำแหน่งที่สูงส่งและสถานะที่ยิ่งใหญ่ของเศาะหาบะฮฺ และอธิบายสิทธิต่าง ๆ ที่ผู้ศรัทธาต้องมอบให้แก่พวกเขา อันเนื่องมาจากพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ดีที่สุดหลังจากบรรดานบี พร้อมด้วยหลักฐานจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ


สิทธิของเศาะหาบะฮฺที่ประชาชาตินี้ต้องมอบให้
حقوق الصحابة على الأمة
< تايلانديไทย – Thai - >

        
ดร. ศอลิหฺ บินอับดุลอะซีซ บิน อุษมาน สินดีย์

 


د. صالح بن عبد العزيز بن عثمان سندي

 



 
ผู้แปล: แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ผู้ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี
 
ترجمة: وي محمد صبري  وي يعقوب
مراجعة: فيصل عبد  الهادي  

สิทธิของเศาะหาบะฮฺที่ประชาชาตินี้ต้องมอบให้

 


คำนำ

    การสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงมากด้วยการให้อภัย ผู้ทรงมีคุณสมบัติที่สมบูรณ์ทุกอย่างเป็นหนึ่งเดียว ผู้ทรงอำนาจเหนือบ่าวของพระองค์ และขอการสดุดีแห่งอัลลอฮฺและความสันติสุขปลอดภัยจงมีแด่ท่านศาสนทูตของพระองค์ผู้ถูกเลือกสรร และแด่เครือญาติของท่านที่บริสุทธิ์ รวมถึงบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านที่ดีเลิศ ทั้งที่เป็นชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอร
    แน่นอนว่า การกล่าวถึงบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ในแง่ที่ดี) นั้น ย่อมทำให้จิตใจมีความเบิกบาน และทำให้วงสนทนาและวงเรียนรู้ทั้งหลายได้รับการประดับประดา จะไม่เป็นเช่นนั้นได้อย่างไรในเมื่อพวกเขาคือกลุ่มชนที่ดีเลิศที่สุดในหมู่ปวงบ่าวของอัลลอฮฺ และดีเลิศที่สุดในหมู่มนุษย์ และดีเลิศที่สุดในหมู่ประชาชาตินี้ซึ่งถูกอุบัติออกมาเพื่อมนุษยชาติ พวกเขาคือกลุ่มชนที่มีฐานะอันมีเกียรติและมีความประเสริฐ ทั้งยังมีคุณงามความดีที่ควรค่าแก่การสรรเสริญและได้นำหน้าเหนือกลุ่มชนทั้งหลาย
    ในหมู่พวกเขามีกลุ่มชนแนวหน้ารุ่นแรกๆ จากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอร ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัยต่อพวกเขา และพวกเขาก็พึงพอใจต่อพระองค์ และในหมู่พวกเขานั้นมีกลุ่มชนที่อัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัยต่อพวกเขาครั้งเมื่อพวกเขาได้ให้สัตยาบันต่อท่านนบีของพระองค์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ใต้ต้นไม้
    พวกเขาคือกลุ่มชนที่อัลลอฮฺทรงทดสอบหัวใจของพวกเขาเพื่อความยำเกรง และพวกเขาคือกลุ่มชนที่อัลลอฮฺทรงให้ทางนำ และพวกเขายังเป็นกลุ่มชนที่มีสติปัญญาที่ดี
    พวกเขาคือกลุ่มชนที่ได้รับการสดุดีและความเมตตาจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา และพวกเขาคือกลุ่มชนที่ได้รับทางนำ ซึ่งพระผู้อภิบาลของพวกเขาได้แจ้งข่าวดีแก่พวกเขาด้วยความเมตตาและความพึงพอพระทัยของพระองค์ว่าพวกเขาจะได้รับบรรดาสวนสวรรค์ซึ่งในนั้นมีความสุขความสำราญที่คงอยู่ตลอดไป
    แท้จริงพวกเขาคือกลุ่มชนที่ได้ยึดมั่นต่อถ้อยคำแห่งความยำเกรงมากที่สุด พวกเขาคือกลุ่มชนที่คู่ควรกับมัน และเป็นกลุ่มชนที่มีลักษณะเยี่ยงนั้นจริงๆ พวกเขาคือกลุ่มชนที่อัลลอฮฺทรงประทานความสงบสุข (สะกีนะฮฺ) ในหัวใจของพวกเขา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนซึ่งความศรัทธาควบคู่กับความศรัทธาของพวกเขา และพวกเขาคือกลุ่มชนที่เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยกับความโปรดปรานและความประเสริฐจากอัลลอฮฺ โดยที่ความชั่วร้ายจะไม่ประสบแก่พวกเขา
    พวกเขาคือกลุ่มชนที่อัลลอฮฺ ตะอะลา ได้ดำรัสถึงพวกเขาว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّبِيُّ حَسۡبُكَ ٱللَّهُ وَمَنِ ٱتَّبَعَكَ مِنَ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ ٦٤ ﴾ [ الأنفال: ٦٤]  
ความว่า “โอ้นบี! อัลลอฮฺนั้นเป็นที่พอเพียงแก่เจ้า และแก่ผู้ปฏิบัติตามเจ้าด้วย อันได้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอัล-อันฟาล : 64)

    และได้สาธยายถึงสถานะของพวกเขาในคำดำรัสที่ว่า
﴿ هُوَ ٱلَّذِيٓ أَيَّدَكَ بِنَصۡرِهِۦ وَبِٱلۡمُؤۡمِنِينَ ٦٢ ﴾ [الأنفال : ٦٢]  
ความว่า “พระองค์คือผู้ที่ได้ทรงสนับสนุนเจ้าด้วยการช่วยเหลือของพระองค์ และด้วยผู้ศรัทธาทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอัล-อันฟาล : 62)

พวกเขาคือกลุ่มชนที่ดีเลิศที่สุด มีความบริสุทธิ์ที่สุด มีความยำเกรงที่สุด และมีคุณภาพที่สุด คือกลุ่มชนที่ขัดเกลาจิตใจของพวกเขาด้วยกับชีวิต ทรัพย์สิน ลูกหลาน ครอบครัว บ้านเรือน ซึ่งพวกเขาได้จากทิ้งแผ่นดินเกิด และจากลาคนรัก ยิ่งกว่านั้นพวกเขาพร้อมที่จะสู้รบในหนทางของอัลลอฮฺกับผู้เป็นบิดาและพี่น้องตัวเอง
พวกเขาได้ทุ่มเทหัวจิตหัวใจด้วยความอดทน และได้ใช้จ่ายทรัพย์ที่มีอยู่ด้วยความหวังในรางวัลผลตอบแทน และพวกเขาจะตอบโต้ผู้ที่มุ่งร้ายต่อพวกเขาด้วยการมอบหมายต่ออัลลอฮฺอย่างสุดหัวใจ และนำหน้าความพอพระทัยของอัลลอฮฺต่อคนรักและญาติใกล้ชิด
แท้จริง พวกเขาคือชาวมุฮาญิรีนซึ่งถูกขับไล่ออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขาและทอดทิ้งทรัพย์สินของพวกเขาเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺและความพึงพอพระทัยของพระองค์ และช่วยเหลืออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ ซึ่งพวกเขาคือบรรดาผู้สัตย์จริง
และพี่น้องของพวกเขาคือชาวอันศอร ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่คอยแบ่งเบาความทุกข์สุขกันและให้สิทธิผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเสมอ พวกเขาคือเผ่าพันธุ์อาหรับที่มีเกียรติที่สุดนับตั้งแต่มีมา คือผู้ที่ท่านเราะสูลได้เลือกสถานที่พำนักของพวกเขาเป็นที่พักอันสงบสุข ผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความอดทน และสมถะ

﴿ وَٱلَّذِينَ تَبَوَّءُو ٱلدَّارَ وَٱلۡإِيمَٰنَ مِن قَبۡلِهِمۡ يُحِبُّونَ مَنۡ هَاجَرَ إِلَيۡهِمۡ وَلَا يَجِدُونَ فِي صُدُورِهِمۡ حَاجَةٗ مِّمَّآ أُوتُواْ وَيُؤۡثِرُونَ عَلَىٰٓ أَنفُسِهِمۡ وَلَوۡ كَانَ بِهِمۡ خَصَاصَةٞۚ وَمَن يُوقَ شُحَّ نَفۡسِهِۦ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ٩ ﴾ [الحشر: ٩]  
ความว่า “และบรรดาผู้ที่ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นครมะดีนะฮฺ (ชาวอันศอร) และพวกเขาศรัทธาก่อนหน้าการอพยพของพวกเขา (ชาวมุฮาญิรีน) พวกเขารักใคร่ผู้ที่อพยพมายังพวกเขา และจะไม่พบความต้องการหรือความอิจฉาอยู่ในทรวงอกของพวกเขาในสิ่งที่ได้ถูกประทานให้ และให้สิทธิผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเอง ถึงแม้ว่าพวกเขายังมีความต้องการอยู่มากก็ตาม และผู้ใดปกป้องการตระหนี่ที่อยู่ในตัวของเขา ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ” (สูเราะฮฺอัล-หัชรฺ : 9)

    ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ พวกเขาคือกลุ่มชนที่มีจิตใต้สำนึกที่เต็มเปี่ยมด้วยการมอบความรักต่อพวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) และจะสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ตะอาลา ด้วยการยกย่องและมอบความรักต่อพวกเขา และจะปลีกตัวออกจากผู้ที่ก้นบึ้งของจิตใจเขานั้นมีความเกลียดชังต่อพวกเขา และจะปลีกตัวออกจากผู้ที่ประกาศเป็นปฏิปักต์ต่อพวกเขาอย่างชัดเจน และจะเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ถูกดำรัสแก่พวกเขา ว่า  
﴿ وَٱلَّذِينَ جَآءُو مِنۢ بَعۡدِهِمۡ يَقُولُونَ رَبَّنَا ٱغۡفِرۡ لَنَا وَلِإِخۡوَٰنِنَا ٱلَّذِينَ سَبَقُونَا بِٱلۡإِيمَٰنِ وَلَا تَجۡعَلۡ فِي قُلُوبِنَا غِلّٗا لِّلَّذِينَ ءَامَنُواْ رَبَّنَآ إِنَّكَ رَءُوفٞ رَّحِيمٌ ١٠ ﴾ [الحشر: ١٠]  
ความว่า “และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขา โดยพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ซึ่งได้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้ให้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเรา แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺอัล-หัชรฺ : 10)

    อนึ่ง สิทธิของบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ประชาชาตินี้ต้องมอบให้นั้นเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องกล่าวถึงมัน ณ ที่นี้และโอกาสอื่นๆ โดยเฉพาะยุคสมัยนี้ที่มีการจัดกิจกรรมเพื่อโจมตีบรรดาเศาะหาบะฮฺจากกลุ่มคนที่หัวใจมีโรค ซึ่งพวกเขาได้แพร่ความร้ายกาจนี้ในทุกรูปแบบ กระทั่งชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺบางคนก็ได้ซึมซับไปกับมันด้วย จนกลับกลายเป็นว่าบางคนในหมู่ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺเองก็ได้เผยแพร่ข้อคลุมเครือต่างๆ ของศัตรูของบรรดาเศาะหาบะฮฺตามสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ จึงทำให้ฟิตนะฮฺที่มีต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺยิ่งบานปลายมากขึ้น อัลลอฮุลมุสตะอาน (อัลลอฮฺเป็นผู้ให้การช่วยเหลือที่ดียิ่ง)
    ข้าพเจ้าจึงเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเขียนงานชิ้นหนึ่งที่รวบรวมข้อเตือนสติและอธิบายถึงสิทธิต่างๆ ของบรรดาเศาะหาบะฮฺ ผู้มีเกียรติ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ที่มุสลิมทุกคนต้องมอบให้ โดยมีวิธีการเรียบเรียงที่ใช้สำนวนที่ชัดเจนและกระชับ และครอบคลุมถึงหลักยึดมั่นของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺในเรื่องนี้ และที่ขาดไม่ได้คือการอ้างอิงด้วยหลักฐานต่างๆ และเสริมด้วยคำกล่าวของบรรดานักวิชาการ (อาษาร) ซึ่งข้าพเจ้าขอวิงวอนความช่วยเหลือต่ออัลลอฮฺในงานนี้ และหวังจากพระองค์ผู้ทรงเกรียงไกรให้บันทึกตอบรับการงานนี้ และให้มันเป็นการงานที่ทรงคุณค่า  

 

 

 


ความหมายของเศาะหาบะฮฺ

    “อัศ-เศาะหาบะฮฺ” เป็นคำพหูพจน์ของ “ศอหิบ” ซึ่งไม่มีคำพหูพจน์ใดในภาษาอาหรับที่อยู่ในคำเทียบ (วะซัน) ของ “ฟาอิล” เป็น “ฟะอาละฮฺ” นอกจากคำนี้เท่านั้น  
    “อัศ-เศาะหาบี” ในความหมายเชิงวิชาการ คือ “ผู้ที่เคยพบกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ซึ่งเขาเป็นผู้ศรัทธาต่อท่าน และเสียชีวิตในศาสนาอิสลาม”  
    ซึ่งนี่คือทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ทั้งยุคสะลัฟและเคาะลัฟ
    ดังนั้นจึงไม่มีเงื่อนไขที่กำหนดคุณลักษณะของการคบหาเป็นมิตรเพิ่มเติมอื่นจากนี้อีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะเวลาที่อยู่ร่วมกัน การเข้าร่วมสงคราม และการรายงานหะดีษจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
    ท่านอิบนุกะษีร เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “อัศ-เศาะหาบี คือผู้ที่เคยเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในสภาพที่ผู้เห็นนั้นอยู่ในศาสนาอิสลาม (เป็นมุสลิม) แม้ว่าจะไม่ได้คบหาเป็นมิตรกับท่านอย่างยาวนาน และแม้ว่าไม่เคยรายงานหะดีษจากท่านสักบทเดียวก็ตาม ซึ่งนี่คือทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ทั้งเคาะลัฟและสะลัฟ”  
    ท่านอิมามอะหฺมัด เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “ทุกคนที่เคยคบหาเป็นมิตรกับท่านนบีไม่ว่าจะคบหาเป็นมิตรด้วยระยะเวลา 1 ปี 1เดือน 1 วัน 1 ชั่วโมง หรือเพียงเคยเห็นท่าน ก็ถือว่าเขาเป็นเศาะหาบะฮฺของท่านนบี และสำหรับเขาแล้วจะเป็นเศาะหาบะฮฺเท่าที่เขาได้คบหาเป็นมิตรกับท่าน”  
    ท่านอิมามอัล-บุคอรี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวในหนังสือเศาะฮีหฺของท่านว่า “ผู้ใดที่เคยคบหาเป็นมิตรกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรือเคยเห็นท่านโดยที่เขาเป็นหนึ่งในหมู่ผู้ศรัทธา ก็ถือว่าเขาเป็นหนึ่งในบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน”  
    และนี่คือสิ่งที่สอดคล้องกับความหมายทางด้านภาษาของคำว่า “เศาะหฺบะฮฺ” ซึ่งหมายถึงการเทียบเคียงสิ่งหนึ่งด้วยกับสิ่งหนึ่ง และการทำให้มันมีความใกล้ชิดกับสิ่งนั้น” ซึ่งท่านอิบนุฟาริส ได้กล่าวว่า “ศ็อด, หาอ์, และบาอ์ รากฐานเดียวกันนี้ได้บ่งชี้ถึงการเทียบเคียงสิ่งหนึ่งและการทำให้มันมีความใกล้ชิดกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคำว่า อัศ-ศอหิบ  ”  ด้วยประการนี้เองจึงไม่มีกฏเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นการเฉพาะในเรื่องระยะเวลาของการอยู่ร่วมกัน  
    หลักฐานที่ยืนยันในเรื่องนี้คือ คำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿ فَأَنجَيۡنَٰهُ وَأَصۡحَٰبَ ٱلسَّفِينَةِ ١٥ ﴾ [العنكبوت: ١٥]  
ความว่า “ดังนั้นเราได้ช่วยเขาและพวกพ้องในเรือให้รอดพ้น” (สูเราะฮฺอัล-อันกะบูต : 15)
    
    และคำดำรัสที่ว่า
﴿ كَمَا لَعَنَّآ أَصۡحَٰبَ ٱلسَّبۡتِۚ ٤٧ ﴾ [النساء : ٤٧]  
ความว่า “เช่นเดียวกับที่เราได้สาปบรรดาผู้ที่ทำการละเมิดในวันสับบะโต” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 47)

    และคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
«إِنَّكُنَّ صَوَاحِبُ يُوسُفَ»
ความว่า “แท้จริงพวกเธอเป็นพวกเดียวกันกับพวกผู้หญิงที่เข้ามาหาท่านนบียูสุฟ”  

    หลักฐานข้างต้นนี้ได้บ่งชี้ว่าคำว่า “อัศ-เศาะหฺบะฮฺ” ในทางภาษานั้นเป็นชื่อนามที่เกิดขึ้นได้ทั้งจำนวนน้อยและจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีคำกล่าวที่ว่า “ได้อยู่ร่วมคบหาเป็นมิตรกับท่าน 1 ปี 1 เดือน และ 1 ชั่วโมง”   
    ส่วนหลักฐานที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนถึงคุณลักษณะของการเป็นเศาะหาบะฮฺที่หมายรวมถึงผู้ที่คบหาเป็นมิตรกับท่านนบี อะลัยฮิศเศาะลาตุวัสลาม ด้วยระยะเวลาเพียงสั้นๆ ใช่แต่เท่านั้นยังหมายรวมถึงผู้ที่เคยเห็นท่าน (แต่ไม่มีโอกาสได้อยู่ร่วมกัน) โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธาต่อท่านด้วย คือคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
«يَأْتِي عَلَى النَّاسِ زَمَانٌ، يَغْزُو فِئَامٌ مِنَ النَّاسِ، فَيُقَالُ لَهُمْ: فِيكُمْ مَنْ رَأَى رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ؟ فَيَقُولُونَ: نَعَمْ، فَيُفْتَحُ لَهُمْ، ثُمَّ يَغْزُو فِئَامٌ مِنَ النَّاسِ، فَيُقَالُ لَهُمْ: فِيكُمْ مَنْ رَأَى مَنْ صَحِبَ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ؟ فَيَقُولُونَ: نَعَمْ، فَيُفْتَحُ لَهُمْ، ثُمَّ يَغْزُو فِئَامٌ مِنَ النَّاسِ، فَيُقَالُ لَهُمْ: هَلْ فِيكُمْ مَنْ رَأَى مَنْ صَحِبَ مَنْ صَحِبَ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ؟ فَيَقُولُونَ: نَعَمْ فَيُفْتَحُ لَهُمْ»
ความว่า “จะมีสมัยหนึ่งเกิดขึ้น ที่ชนกลุ่มหนึ่งจากผู้คนทั้งหลายจะออกศึก แล้วจะถูกถามว่า : ในหมู่พวกท่านนั้นมีผู้ที่เห็นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (หมายถึงเศาะหาบะฮฺ) อยู่ด้วยหรือเปล่า ? พวกเขาจะตอบว่า : มี แล้วเมืองนั้นก็จะถูกพิชิตโดยพวกเขาเหล่านั้น หลังจากนั้น ก็จะมาถึงสมัยหนึ่งซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งออกทำศึกสงคราม จะมีเสียงถามว่า : ในหมู่พวกท่านนั้นมีผู้ที่เห็นเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (หมายถึงตาบิอีน) อยู่ด้วยหรือเปล่า ? พวกเขาตอบว่า : มี แล้วเมืองนั้นก็จะถูกพิชิตโดยพวกเขาเหล่านั้น หลังจากนั้น ก็จะมาถึงสมัยหนึ่งซึ่งคนกลุ่มหนึ่งออกทำศึกสงคราม ก็มีเสียงถามว่า : ในหมู่พวกท่านนั้นมีผู้เห็นสหายของเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (หมายถึง ตาบิอิตตาบิอีน) อยู่ด้วยหรือเปล่า ? พวกเขากล่าวว่า  : มี แล้วเมืองนั้นก็ถูกพิชิตโดยพวกเขาเหล่านั้น”  

ให้พิจารณาในคำถามที่สองซึ่งถามถึงผู้ที่เห็นเศาะหาบะฮฺ “ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่าผู้ที่เห็นนั้นคือเศาะหาบะฮฺด้วยกันเอง”  
    และหลักฐานที่บ่งชี้ถึงเรื่องนี้เช่นกันคือ หะดีษที่รายงานโดยท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« وَدِدْتُ أَنَّا قَدْ رَأَيْنَا إِخْوَانَنَا» قَالُوا: أَوَلَسْنَا إِخْوَانَكَ يَا رَسُولَ اللهِ ؟ قَالَ: «أَنْتُمْ أَصْحَابِي وَإِخْوَانُنَا الَّذِينَ لَمْ يَأْتُوا بَعْدُ»
ความว่า “ฉันมีความปรารถนาอยากเห็นพี่น้องของเรา” บรรดาเศาะหาบะฮฺจึงถามว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ พวกเราไม่ใช่พี่น้องของท่านหรือ ?” ท่านเราะสูลุลลอฮฺ จึงตอบว่า “พวกท่านเป็นเศาะหาบะฮฺของฉัน ส่วนพี่น้องของเรานั้นคือผู้ที่ยังไม่ได้เกิดมา”   

    ในสำนวนที่รายงานโดยท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ นั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَنْتُمْ أَصْحَابِي، وَلَكِنْ إِخْوَانِي الَّذِينَ آمَنُوا بِي وَلَمْ يَرَوْنِي»
ความว่า “พวกท่านเป็นเศาะหาบะฮฺของฉัน แต่พี่น้องของเรานั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่อฉันแต่พวกเขาไม่มีโอกาสพบเห็นฉัน”  

    หะดีษนี้ได้บ่งชี้ถึงกฎเกณฑ์ที่จำแนกระหว่างพี่น้องที่ท่านนบีปรารถนาที่จะเห็นพวกเขากับบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน นั้นคือ การได้พบเจอกับท่าน ได้เห็นท่าน ซึ่งผู้ใดที่ศรัทธาต่อท่าน และได้เห็นท่าน เขาคือเศาะหาบะฮฺของท่าน   
    และเป็นที่รู้ดีว่าการได้พบเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ของเศาะหาบะฮฺนั้น –ซึ่งไม่มีผู้ใดได้รับความโปรดปรานนี้นอกจากเขา- ไม่ใช่เป็นการพบเห็นโดยผ่านๆ เพียงเท่านั้น เฉกเช่นการพบเห็นของพวกปฏิเสธศรัทธาและพวกกลับกลอก (มุนาฟิกูน) ทว่าอัลลอฮฺทรงมอบเกียรติแก่กลุ่มชนที่ดีเลิศเหล่านั้นให้ได้พบเห็นท่านนบีพร้อมด้วยการปฏิบัติตาม การเคารพเชื่อฟัง และการมอบความรักแก่ท่าน รวมถึงการตั้งใจศรัทธาต่อท่าน ช่วยเหลือสนับสนุนท่าน และเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อท่าน  ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงว่ามันทำให้พวกเขาก้าวสู่สถานะที่สูงส่งนี้ได้   ทำไมจะไม่เป็นเช่นนั้นได้ ในเมื่อการพบเห็นท่าน การพบเจอท่าน และการได้อยู่ใกล้ชิดกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถือเป็นความดีงามและความสิริมงคล (บาเราะกัต) และยังเป็นรัศมี (คอยส่องแสงทางนำแห่งชีวิต) ตราบใดที่ไม่ปฏิเสธต่อคำสอนท่าน ยกเว้นผู้ที่มีดวงตาที่มืดบอดจนไม่สามารถมองเห็นอะไรได้  

 

สิทธิของเศาะหาบะฮฺที่ประชาชาตินี้ต้องมอบให้

สำหรับสิทธิของเศาะหาบะฮฺที่ประชาชาตินี้ต้องมอบให้นั้นสามารถสรุปได้สิบประการด้วยกัน ได้แก่

ประการแรก มอบความรักแก่พวกเขา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม
ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ จะมอบความรักต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งเป็นความรักที่มีความจริงใจในหนทางของอัลลอฮฺและเพื่ออัลลอฮฺ และพวกเขามีความเชื่อมั่นว่าผู้ใดที่รักใคร่พวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) เป็นมิตรกับพวกเขา เอาใจใส่ในสิทธิของพวกเขา และรู้ถึงความประเสริฐของพวกเขา ย่อมเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จร่วมกับผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งหลาย ส่วนผู้ใดที่เกลียดชังต่อพวกเขา ด่าทอพวกเขา และยึดพวกเขาเป็นปฏิปักษ์ ย่อมประสบความพินาศร่วมกับผู้ที่ประสบความพินาศทั้งหลาย
สำหรับหลักฐานในเรื่องนี้ อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿ وَٱلَّذِينَ جَآءُو مِنۢ بَعۡدِهِمۡ يَقُولُونَ رَبَّنَا ٱغۡفِرۡ لَنَا وَلِإِخۡوَٰنِنَا ٱلَّذِينَ سَبَقُونَا بِٱلۡإِيمَٰنِ وَلَا تَجۡعَلۡ فِي قُلُوبِنَا غِلّٗا لِّلَّذِينَ ءَامَنُواْ رَبَّنَآ إِنَّكَ رَءُوفٞ رَّحِيمٌ ١٠ ﴾ [الحشر: ١٠]  
ความว่า “และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขา โดยพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ซึ่งได้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้ให้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเรา แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺอัล-หัชรฺ : 10)

    และมีบันทึกของอัศ-เศาะฮีหัยนฺ (อัล-บุคอรีและมุสลิม) จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«آيَةُ الإيْـمَانِ حُبُّ الأَنْصَارِ وآيَةُ النِّفَاقِ بُـغْضُ الأَنْصَارِ»
ความว่า “เครื่องหมายของการศรัทธาคือการรักชาวอันศอร  และเครื่องหมายของการกลับกลอก (นิฟาก) คือการเกลียดชังชาวอันศอร”  

    และเมื่อหลักฐานที่ถูกต้องนี้ได้กล่าวถึงสิทธิของชาวอันศอร แน่นอนว่าชาวมุฮาญิรีนย่อมสมควรที่จะได้รับยิ่งกว่า เพราะโดยภาพรวมแล้วพวกเขามีความประเสริฐยิ่งกว่า และสถานภาพของพวกเขาเองก็เป็นอันศอรุลลอฮฺ (ผู้ที่ช่วยเหลืองานศาสนาของอัลลอฮฺ) ซึ่งพวกเขาได้ช่วยเหลือพระองค์ เฉกเช่นที่ชาวอันศอรได้ช่วยเหลือพระองค์  
    สำหรับหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เป็นอัลกุรอานและอัส-สุนนะฮฺที่บ่งชี้ถึงความประเสริฐของการรักใคร่เพื่ออัลลอฮฺนั้น มันยังหมายรวมอยู่ในความรักใคร่ที่มีต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อีกด้วย เนื่องจากพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่สมควรที่สุดที่จะได้รับความรักนั้น
    ท่านอัฏ-เฏาะหาวี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวในหนังสืออะกีดะฮฺของท่านว่า “และเราจะรักใคร่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และเราจะไม่บกพร่องในการมอบความรักต่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขา และเราจะไม่ปลีกตัวออกจากคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขา และเราจะเกลียดชังต่อผู้เกลียดชังพวกเขา และ (จะเกลียดชัง) ต่อสิ่งที่ไม่ดีที่กล่าวถึงพวกเขา และการมอบความรักต่อพวกเขานั้นคือศาสนา ศรัทธา และการทำความดีขั้นสูงสุด (อิหฺสาน) ส่วนการเกลียดชังพวกเขานั้นคือการปฏิเสธ การกลับกลอก (นิฟาก) และการฝ่าฝืน”   
    เป็นสิ่งที่สมควรที่สุดที่จะกล่าว ณ ที่นี้ ซึ่งเป็นคำกล่าวของท่านอิมามมาลิก เราะหิมะฮุลลอฮฺ ว่า “ชาวสะลัฟจะสอนลูกๆ ของพวกเขาให้มีความรักใคร่ต่อท่านอบีบักรฺและท่านอุมัร เฉกเช่นที่พวกเขาสอนสูเราะฮฺหนึ่งของอัลกุรอาน”  
    และมีบันทึกโดยท่านอบูนุอัยม์ในหนังสือ “อัล-หิลยะฮฺฯ”   จากท่านบิชร์ บินอัล-หาริษ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ซึ่งท่านได้กล่าวว่า “การงานที่ฉันได้ทำที่ถือว่ายอดเยี่ยมที่สุดสำหรับฉัน คือการรักใคร่ต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม”
    และมีบันทึกในหนังสือเล่มเดียวกัน   จากท่านชุอัยบฺ บินหัรบ์ ได้กล่าวว่า “มีคนกล่าวถึงท่านสุฟยาน อัษ-เษารีต่อหน้าท่านอาศิม บินมุฮัมมัด ซึ่งพวกเขาต่างพากันนับความประเสริฐของท่านสุฟยาน กระทั่งนับได้มากถึง 15 ความประเสริฐ ท่านอาศิม บินมุฮัมมัด จึงถามพวกเขาว่า “พวกท่านนับเสร็จแล้วใช่ไหม ? เพราะแท้จริงฉันรู้ความประเสริฐหนึ่งของท่านสุฟยานที่สุดยอดยิ่งกว่าสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด นั่นคือหัวใจของท่านไม่มีความเคียดแค้นใดๆ ต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม”


ประการที่สอง  มีความเชื่อมั่นในความประเสริฐของพวกเขา ความเที่ยงธรรมของพวกเขา และเชื่อมั่นว่าพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ดีเลิศที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุด และใกล้เคียงกับสัจธรรมและความถูกต้องมากที่สุด
    ไม่มีผู้ใดในประชาชาตินี้ที่เป็นเหมือนเศาะหาบะฮฺในเรื่องความประเสริฐ คุณงามความดี และความถูกต้อง   
    และนี่คือสิ่งที่เป็นอิจญฺมาอฺ ก็อฏอี (มติเอกฉันท์โดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน) ในระหว่างมุสลิมด้วยกัน ซึ่งความคิดเห็นที่สวนทางของกลุ่มชนที่อุตริกรรม (บิดอะฮฺ) เพียงเล็กน้อยนั้นจะไม่ถือว่าขัดกับมติเอกฉันท์นี้
    ท่านอิบนุลก็อยยิม ได้กล่าวในหนังสือ “นูนียะฮฺ” ของท่านว่า
    นักวิชาการมีมติเอกฉันท์ว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺ
ที่ถูกเลือกสรรนั้นเป็นกลุ่มชนที่ดีเลิศที่สุด
เป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดอย่างที่สุด โดยไม่มีความคิดใดเห็นแย้งในระหว่างพวกเขา
โดยไม่ต้องกล่าวอ้างสองความคิด (ที่เห็นแย้งกันนั้น) ใดๆ อีก  

    สำหรับหลักฐานที่กล่าวถึงความประเสริฐของพวกเขานั้นมีอยู่อย่างมากมาย ครั้นเมื่ออัลกุรอานได้ยกย่องสรรเสริญพวกเขา เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรู้ดีถึงความจริงใจของพวกเขา ความศรัทธาที่ถูกต้องของพวกเขา ความรักที่บริสุทธิ์ของพวกเขา และความอัจฉริยภาพด้านสติปัญญาของพวกเขา รวมถึงความฉลาดหลักแหลมด้านความคิดของพวกเขา และการตักเตือนที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ระหว่างพวกเขา และความชัดเจนในเรื่องความซื่อสัตย์ของพวกเขา
    ซึ่งหลักฐานบางส่วนในเรื่องนี้คือ คำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿وَٱلسَّٰبِقُونَ ٱلۡأَوَّلُونَ مِنَ ٱلۡمُهَٰجِرِينَ وَٱلۡأَنصَارِ وَٱلَّذِينَ ٱتَّبَعُوهُم بِإِحۡسَٰنٖ رَّضِيَ ٱللَّهُ عَنۡهُمۡ وَرَضُواْ عَنۡهُ وَأَعَدَّ لَهُمۡ جَنَّٰتٖ تَجۡرِي تَحۡتَهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُ خَٰلِدِينَ فِيهَآ أَبَدٗاۚ ذَٰلِكَ ٱلۡفَوۡزُ ٱلۡعَظِيمُ ١٠٠﴾ [التوبة : ١١٠]
ความว่า “บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ (ชาวมุฮาญิรีนจากมักกะฮฺ) และในหมู่ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศอรจากมะดีนะฮฺ) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่างพวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาลนั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ : 100)

    และคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَهَاجَرُواْ وَجَٰهَدُواْ بِأَمۡوَٰلِهِمۡ وَأَنفُسِهِمۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَٱلَّذِينَ ءَاوَواْ وَّنَصَرُوٓاْ أُوْلَٰٓئِكَ بَعۡضُهُمۡ أَوۡلِيَآءُ بَعۡضٖۚ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَلَمۡ يُهَاجِرُواْ مَا لَكُم مِّن وَلَٰيَتِهِم مِّن شَيۡءٍ حَتَّىٰ يُهَاجِرُواْۚ وَإِنِ ٱسۡتَنصَرُوكُمۡ فِي ٱلدِّينِ فَعَلَيۡكُمُ ٱلنَّصۡرُ إِلَّا عَلَىٰ قَوۡمِۢ بَيۡنَكُمۡ وَبَيۡنَهُم مِّيثَٰقٞۗ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ بَصِيرٞ ٧٢ وَٱلَّذِينَ كَفَرُواْ بَعۡضُهُمۡ أَوۡلِيَآءُ بَعۡضٍۚ إِلَّا تَفۡعَلُوهُ تَكُن فِتۡنَةٞ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَفَسَادٞ كَبِيرٞ ٧٣ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَهَاجَرُواْ وَجَٰهَدُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَٱلَّذِينَ ءَاوَواْ وَّنَصَرُوٓاْ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ حَقّٗاۚ لَّهُم مَّغۡفِرَةٞ وَرِزۡقٞ كَرِيمٞ ٧٤ ﴾ [الأنفال: ٧٢،  ٧٤]  
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และอพยพและต่อสู้ทั้งด้วยทรัพย์สมบัติของพวกเขา และชีวิตของพวกเขาในทางของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่ให้ที่พักอาศัย และช่วยเหลือนั้น ชนเหล่านี้แหละคือบางส่วนของพวกเขาย่อมเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วน และบรรดาผู้ที่ศรัทธา และมิได้อพยพนั้นก็ไม่เป็นหน้าที่แก่พวกเจ้าแต่อย่างใดในการช่วยเหลือพวกเขา จนกว่าพวกเขาจะอพยพและถ้าหากพวกเขาขอให้เจ้าช่วยเหลือในเรื่องศาสนา ก็จำเป็นแก่พวกเจ้าในการช่วยเหลือนั้นนอกจากในการต่อต้าน พวกที่ระหว่างพวกเจ้ากับพวกเขามีสัญญากันอยู่ และอัลลอฮฺนั้นทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน * และบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้น บางส่วนของพวกเขาย่อมเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วนหากพวกเขาไม่ปฏิบัติในสิ่งนั้นแล้ว ความวุ่นวายและความเสียหายอันใหญ่หลวงก็จะเกิดขึ้นในแผ่นดิน * และบรรดาผู้ที่ศรัทธา และอพยพ และต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่ให้ที่พักอาศัย และช่วยเหลือนั้น ชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ศรัทธาโดยแท้จริง ซึ่งพวกเขาจะได้รับการอภัยโทษ และเครื่องยังชีพอันมากมาย” (สูเราะฮฺอัล-อันฟาล : 74)

และคำดำรัสของอัลลอฮฺ ญัลละวะอะลา ที่ว่า
﴿لَّقَد تَّابَ ٱللَّهُ عَلَى ٱلنَّبِيِّ وَٱلۡمُهَٰجِرِينَ وَٱلۡأَنصَارِ ٱلَّذِينَ ٱتَّبَعُوهُ فِي سَاعَةِ ٱلۡعُسۡرَةِ مِنۢ بَعۡدِ مَا كَادَ يَزِيغُ قُلُوبُ فَرِيقٖ مِّنۡهُمۡ ثُمَّ تَابَ عَلَيۡهِمۡۚ إِنَّهُۥ بِهِمۡ رَءُوفٞ رَّحِيمٞ ١١٧﴾ [التوبة : ١١٧]  
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงอภัยโทษให้แก่ท่านนบี ชาวมุฮาญิรีน และชาวอันศอรแล้ว ซึ่งเขาเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามเขา (นบี) ในยามคับขันหลังจากที่จิตใจของชนกลุ่มหนึ่งในพวกเขาเกือบจะหันเหออกจากความจริง แล้วพระองค์ก็ทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาอยู่เสมอ” (สูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ : 117)

    และคำดำรัสของอัลลอฮฺ สุบหานะฮฺ ที่ว่า
﴿ مُّحَمَّدٞ رَّسُولُ ٱللَّهِۚ وَٱلَّذِينَ مَعَهُۥٓ أَشِدَّآءُ عَلَى ٱلۡكُفَّارِ رُحَمَآءُ بَيۡنَهُمۡۖ تَرَىٰهُمۡ رُكَّعٗا سُجَّدٗا يَبۡتَغُونَ فَضۡلٗا مِّنَ ٱللَّهِ وَرِضۡوَٰنٗاۖ سِيمَاهُمۡ فِي وُجُوهِهِم مِّنۡ أَثَرِ ٱلسُّجُودِۚ ذَٰلِكَ مَثَلُهُمۡ فِي ٱلتَّوۡرَىٰةِۚ وَمَثَلُهُمۡ فِي ٱلۡإِنجِيلِ كَزَرۡعٍ أَخۡرَجَ شَطۡ‍َٔهُۥ فَ‍َٔازَرَهُۥ فَٱسۡتَغۡلَظَ فَٱسۡتَوَىٰ عَلَىٰ سُوقِهِۦ يُعۡجِبُ ٱلزُّرَّاعَ لِيَغِيظَ بِهِمُ ٱلۡكُفَّارَۗ وَعَدَ ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ مِنۡهُم مَّغۡفِرَةٗ وَأَجۡرًا عَظِيمَۢا ٢٩ ﴾ [الفتح: ٢٩]  
ความว่า “มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธศรัทธา เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขาเอง เจ้าจะเห็นพวกเขาเป็นผู้รุกูอฺ ผู้สุญูด โดยแสวงหาคุณความดีจากอัลลอฮฺและความโปรดปราน (ของพระองค์) เครื่องหมายของพวกเขาอยู่บนใบหน้าของพวกเขาเนื่องจากร่องรอยแห่งการสุญูด นั่นคืออุปมาของพวกเขาที่มีอยู่ในอัต-เตารอต และอุปมาของพวกเขาที่มีอยู่ในอัล-อินญีล ประหนึ่งเมล็ดพืชที่งอกหน่อหรือกิ่งก้านของมันออกมาแล้วทำให้มันงอกงาม แล้วมันก็เติบโตแข็งแรงและทรงตัวอยู่ได้บนลำต้นของมัน นำความปลื้มปิติมาให้แก่ผู้หว่าน เพื่อที่พระองค์จะก่อความโกรธแค้นแก่พวกปฏิเสธศรัทธาเพราะพวกเขา (มุสลิมีน) และอัลลอฮฺทรงสัญญาแก่บรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลายในหมู่พวกเขาว่าจะได้รับการอภัยโทษและรางวัลอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺอัล-ฟัตหฺ : 29)

    และคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿ يَوۡمَ لَا يُخۡزِي ٱللَّهُ ٱلنَّبِيَّ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مَعَهُۥۖ نُورُهُمۡ يَسۡعَىٰ بَيۡنَ أَيۡدِيهِمۡ وَبِأَيۡمَٰنِهِمۡ يَقُولُونَ رَبَّنَآ أَتۡمِمۡ لَنَا نُورَنَا وَٱغۡفِرۡ لَنَآۖ إِنَّكَ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٞ ٨ ﴾ [التحريم: ٨]  
ความว่า “วันที่อัลลอฮฺจะไม่ทรงทำให้นบีและบรรดาผู้ศรัทธาร่วมกับเขาต้องอัปยศ แสงสว่างของพวกเขาจะส่องจ้าไปเบื้องหน้าของพวกเขาและทางเบื้องขวาของพวกเขา พวกเขาจะกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ได้ทรงโปรดทำให้แสงสว่างของเราอยู่กับเราตลอดไป และทรงยกโทษให้แก่เรา แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง” (สูเราะฮฺอัต-ตะหฺรีม : 8)

    และคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ فِيكُمۡ رَسُولَ ٱللَّهِۚ لَوۡ يُطِيعُكُمۡ فِي كَثِيرٖ مِّنَ ٱلۡأَمۡرِ لَعَنِتُّمۡ وَلَٰكِنَّ ٱللَّهَ حَبَّبَ إِلَيۡكُمُ ٱلۡإِيمَٰنَ وَزَيَّنَهُۥ فِي قُلُوبِكُمۡ وَكَرَّهَ إِلَيۡكُمُ ٱلۡكُفۡرَ وَٱلۡفُسُوقَ وَٱلۡعِصۡيَانَۚ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلرَّٰشِدُونَ ٧ فَضۡلٗا مِّنَ ٱللَّهِ وَنِعۡمَةٗۚ وَٱللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٞ ٨ ﴾ [الحجرات: ٧،  ٨]  
ความว่า “และพวกเจ้าพึงรู้เถิดว่า ในหมู่พวกเจ้านั้นมีเราะสูลของอัลลอฮฺอยู่ หากเขา (มุฮัมมัด) เชื่อฟังพวกเจ้าในส่วนใหญ่ของกิจการแล้ว แน่นอนพวกเจ้าก็จะลำบากกัน แต่อัลลอฮฺทรงให้การศรัทธาเป็นที่รักแก่พวกเจ้า และทรงให้การปฏิเสธศรัทธา และความชั่วช้าและการฝ่าฝืนเป็นที่น่าเกลียดชังแก่พวกเจ้า ชนเหล่านั้นคือพวกที่ดำเนินอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง * มันเป็นคุณธรรมและความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (สูเราะฮฺอัล-หุญุรอต : 7-8)

    และคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿ لَا يَسۡتَوِي مِنكُم مَّنۡ أَنفَقَ مِن قَبۡلِ ٱلۡفَتۡحِ وَقَٰتَلَۚ أُوْلَٰٓئِكَ أَعۡظَمُ دَرَجَةٗ مِّنَ ٱلَّذِينَ أَنفَقُواْ مِنۢ بَعۡدُ وَقَٰتَلُواْۚ وَكُلّٗا وَعَدَ ٱللَّهُ ٱلۡحُسۡنَىٰۚ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ خَبِيرٞ ١٠ ﴾ [الحديد: ١٠]  
ความว่า “ในหมู่พวกเจ้านั้นมีผู้บริจาคและได้ต่อสู้ (ในทางของอัลลอฮฺ) ก่อนการพิชิต (นครมักกะฮฺ) ชนเหล่านั้นย่อมมีฐานะสูงกว่าบรรดาผู้บริจาคและต่อสู้ (ในทางของอัลลอฮฺ) หลังการพิชิต (นครมักกะฮฺ) และอัลลอฮฺทรงสัญญาความดีงาม (สวนสวรรค์) แก่ทั้งสองฝ่าย และอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (สูเราะฮฺอัล-หะดีด : 10)

    และคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿قُلِ ٱلۡحَمۡدُ لِلَّهِ وَسَلَٰمٌ عَلَىٰ عِبَادِهِ ٱلَّذِينَ ٱصۡطَفَىٰٓۗ ءَآللَّهُ خَيۡرٌ أَمَّا يُشۡرِكُونَ ٥٩﴾ [النمل : ٥٩]
ความว่า “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) บรรดาการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และความศานติจงมีแด่ปวงบ่าวของพระองค์ ผู้ซึ่งพระองค์ทรงคัดเลือกแล้ว อัลลอฮฺดีกว่าหรือสิ่งที่พวกเขาตั้งเป็นภาคี (เจว็ด)” (สูเราะฮฺอัน-นัมลฺ : 59) ซึ่งพวกเขาเหล่านี้คือบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตามการอธิบายของท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ และท่านอัษ-เษารี เราะหิมะฮุลลอฮฺ  

    และคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿ كُنتُمۡ خَيۡرَ أُمَّةٍ أُخۡرِجَتۡ لِلنَّاسِ تَأۡمُرُونَ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَتَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِ وَتُؤۡمِنُونَ بِٱللَّهِۗ  ١١٠ ﴾ [ال عمران: ١١٠]  
ความว่า “พวกเจ้านั้น เป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติ โดยที่พวกเจ้าใช้ให้ปฏิบัติสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่มิชอบ และศรัทธาต่ออัลลอฮฺ” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 110) การอ้างอิงหลักฐานนี้มีความชัดเจนอย่างมาก เพราะไม่ว่าพวกเขาคือกลุ่มคนที่ถูกระบุในอายะฮฺนี้เป็นการเฉพาะ หรือเป็นการหมายรวมถึงประชาชาตินี้ทั้งหมด พวกเขาก็เป็นกลุ่มคนแรกๆ ที่อยู่ในอายะฮฺนี้อยู่แล้ว

และคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿ وَكَذَٰلِكَ جَعَلۡنَٰكُمۡ أُمَّةٗ وَسَطٗا لِّتَكُونُواْ شُهَدَآءَ عَلَى ٱلنَّاسِ وَيَكُونَ ٱلرَّسُولُ عَلَيۡكُمۡ شَهِيدٗاۗ ١٤٣ ﴾ [البقرة: ١٤٣]  
ความว่า “และในทำนองเดียวกัน เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เป็นกลาง เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลาย และเราะสูลก็จะเป็นสักขีพยานแก่พวกเจ้า” (สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ : 143)
การอ้างอิงหลักฐานนี้ก็เฉกเช่นการอ้างอิงก่อนหน้านี้ ยิ่งกว่านั้นทุกๆ อายะฮฺ และทุกๆ หะดีษที่กล่าวถึงความดีเลิศในด้านต่างๆ ของประชาชาตินี้ แน่นอนว่ากลุ่มคนแรกและกลุ่มคนที่คู่ควรที่สุดที่จะอยู่ในการกล่าวถึงนั้นคือบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

    ในจำนวนหลักฐานที่มาจากสุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น คือคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
«النُّجُومُ أَمَنَةٌ لِلسَّمَاءِ، فَإِذَا ذَهَبَتِ النُّجُومُ أَتَى السَّمَاءَ مَا تُوعَدُ، وَأَنَا أَمَنَةٌ لِأَصْحَابِي، فَإِذَا ذَهَبْتُ أَتَى أَصْحَابِي مَا يُوعَدُونَ، وَأَصْحَابِي أَمَنَةٌ لِأُمَّتِي، فَإِذَا ذَهَبَ أَصْحَابِي أَتَى أُمَّتِي مَا يُوعَدُونَ»
ความว่า “ดวงดาวคือสิ่งที่คอยให้ความคุ้มครองแก่ชั้นฟ้า ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ดวงดาวได้จากไป ก็จะมีสิ่งเกิดขึ้นกับชั้นฟ้าตามที่ถูกสัญญาไว้ และตัวฉันนั้นคือสิ่งที่คอยให้ความคุ้มครองบรรดาเศาะหาบะฮฺของฉัน ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ฉันได้จากไป ก็จะมีสิ่งเกิดขึ้นกับบรรดาเศาะหาบะฮฺของฉันตามที่ถูกสัญญาไว้ และบรรดาเศาะหาบะฮฺของฉันคือสิ่งที่คอยให้ความคุ้มครองประชาชาติของฉัน ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่บรรดาเศาะหาบะฮฺของฉันได้จากไป ก็จะมีสิ่งเกิดขึ้นกับประชาชาติของฉันตามที่ถูกสัญญาไว้”  

ท่านอบูอัล-อับบาส อัล-กุรฏุบี ได้กล่าวว่า “หมายถึง ตราบใดที่เศาะหาบะฮฺของท่านนบียังคงมีชีวิต ศาสนาก็จะยังคงดำรงอยู่ สัจธรรมก็จะยังคงปรากฏ ชัยชนะก็จะยังคงมีเหนือศัตรู แต่เมื่อใดที่เศาะหาบะฮฺของท่านนบีได้จากไป อารมณ์ใฝ่ต่ำก็จะมาครอบงำแทน การสนิบสนมกับบรรดาศัตรูก็จะเกิดขึ้น และความรู้ความเข้าใจในเรื่องศาสนาก็จะค่อยลดลงไปเรื่อยๆ โดยที่มันจะหวนกลับไปสู่จุดต่ำสุดกระทั่งไม่มีผู้ใดหลงเหลือบนหน้าแผ่นดินนี้ที่จะกล่าวคำว่า อัลลอฮฺ อัลลอฮฺ และนั่นคือสิ่งท่านนบีได้สัญญาไว้ว่าจะเกิดขึ้นกับประชาชาติของท่าน และอัลลอฮฺ ตะอาลา เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่ง”  

และคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
«لاَ تَسُبُّوا أَصْحَابِي، فَلَوْ أَنَّ أَحَدَكُمْ أَنْفَقَ مِثْلَ أُحُدٍ، ذَهَبًا مَا بَلَغَ مُدَّ أَحَدِهِمْ، وَلاَ نَصِيفَهُ»
ความว่า “พวกท่านอย่าได้ด่าทอเศาะหาบะฮของฉัน เพราะแท้จริงหากแม้ว่าคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านได้บริจาคทองคำมากมายเทียบเท่าเขาอุหุด ก็มิอาจได้รับผลบุญเทียบเท่าการบริจาคเพียงหนึ่งอุ้งมือของพวกเขา หรือแม้แต่ครึ่งอุ้งมือก็ตาม”  

    ท่านอัช-เชากานี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้นำเสนอมุมมองต่อหะดีษบทนี้ได้อย่างยอดเยี่ยมว่า “ถ้าหากผลบุญการบริจาคทองคำของเศาะหาบะฮฺรุ่นท้ายๆ คนหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงในหะดีษนี้นั้น ยังมิอาจได้รับผลบุญเทียบเท่าการบริจาคเพียงหนึ่งอุ้งมือของเศาะหาบะฮฺรุ่นแรกๆ หรือแม้แต่ครึ่งอุ้งมือได้ ดังนั้น ก็ไม่ต้องไปคาดคิดว่าการบริจาคทองคำมากมายเทียบเท่าเขาอุหุดของคนในยุคเรานั้น จะเทียบเท่าการบริจาคเพียงธัญพืชเมล็ดเดียวของพวกเขา หรือแม้แต่ครึ่งเมล็ดได้”  

    และคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
«خَيْرُ النَّاسِ قَرْنِي ثُمَّ الَّذِينَ يَلُونَهُمْ ثُمَّ الَّذِينَ يَلُونَهُمْ»
ความว่า “ผู้ที่มีความประเสริฐที่สุด คือผู้ที่มีชีวิตอยู่ในยุคของฉัน (เศาะหาบะฮฺ) รองลงมาคือผู้ที่มาหลังจากพวกเขาเล่านั้น และรองลงมาอีกคือผู้ที่มาหลังจากนั้น”  

    นี่คือการรับรองความน่าเชื่อถือและเป็นการพรรณนาถึงคุณลักษณะที่ดีงาม (ของบรรดาเศาะหาบะฮฺ) ซึ่งผู้ที่กล่าวมันนั้นจะไม่เอ่ยคำกล่าวใดที่มาจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้น จะมีการรับรองความน่าเชื่อถือใดที่จะยิ่งใหญ่กว่านี้อีก  
    ท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ยังได้พรรณนาถึงคุณลักษณะของบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไว้อีกว่า ซึ่งมีรายงานเช่นเดียวกันนี้จากท่านอิบนุอุมัร   และจากท่านอัล-หะสัน อัล-บัศรี   ขออัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัยให้แก่พวกเขาเหล่านั้น พวกเขาได้กล่าวว่า  “ผู้ใดที่ต้องการทำตามแบบอย่างที่ดี เขาก็จงทำตามแบบอย่างที่ดีของผู้ที่ได้ตายไปแล้วเถิด เพราะผู้ที่มีชีวิตนั้นไม่สามารถที่จะรับประกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเขาได้ พวกเขาเหล่านั้นคือเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ พวกเขาเป็นประชาชาติที่ดีที่สุด เป็นผู้ที่มีหัวใจที่บริสุทธิ์ที่สุด มีความรู้ที่ลึกซึ้งที่สุด และเป็นผู้มีความลำบากน้อยที่สุดในการนับถือหรือปฏิบัติคำสั่งใช้ของศาสนา เป็นกลุ่มชนที่อัลลอฮฺได้ทรงเลือกให้เป็นสาวกของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และทำการสืบทอดศาสนาของพระองค์ ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงเรียนรู้ความประเสริฐของพวกเขาเถิด และจงเจริญรอยตามความประพฤติอันดีงามของพวกเขา และจงยึดมั่นในสิ่งที่พวกเขาสามารถที่จะปฏิบัติได้ไม่ว่าจะในเรื่องจรรยามารยาทของพวกเขา และในเรื่องศาสนาของพวกเขา พวกเขาคือบรรดาผู้ที่ดำรงอยู่บนทางนำที่เที่ยงธรรม”  

    ท่านอบูอัมรฺ อัด-ดานี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
    เศาะหาบะฮฺทุกท่านล้วนเป็นคนดี
    พวกเขาถูกคัดสรรให้นำคนดีทั้งหลาย
    พระเจ้าของพวกเราได้ให้ความโปรดปรานแก่พวกเขา
    และให้ความประเสริฐและฐานะอันมีเกียรติแก่พวกเขาเป็นการเฉพาะ  

ดังนั้น หากได้พิจารณาด้วยความเป็นธรรมในความงดงามของคุณลักษณะของพวกเขาและความสูงส่งของฐานะอันมีเกียรติของพวกเขา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ก็จะพบว่าพวกเขาเหล่านั้นได้นำหน้าในเรื่องความรู้ความเข้าใจ ความยุติธรรม การญิฮาด และคุณงามความดีทั้งหลาย พวกเขาได้นำหน้าในเรื่องเหล่านี้เหนือกลุ่มชนก่อนหน้าพวกเขา และได้นำหน้ากลุ่มชนที่มาหลังจากพวกเขา โดยที่พวกเขาได้ครอบครองสถานะอันสูงส่งนี้ตลอดไป และพวกเขาได้อยู่เหนือกลุ่มชนต่างๆ ทั้งหลาย พวกเขาคือสาเหตุที่ทำให้อิสลามมาถึงพวกเรา และเป็นสาเหตุของความรู้ความเข้าใจและทางนำทั้งหลาย ซึ่งมันเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้รับความผาสุกและความสำเร็จ ซึ่งประชาชาตินี้ได้รับมรดกจากความรู้ของพวกเขา ความยุติธรรมของพวกเขา และการญิฮาดของพวกเขาตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ ดังนั้น จึงไม่มีผู้ใดจากประชาชาตินี้ที่จะได้รับความรู้ที่ยังประโยชน์เว้นแต่ต้องผ่านการเรียนรู้จากพวกเขาและด้วยกับวิธีการที่พวกเขาได้เรียนรู้ และไม่มีพื้นที่ใดบนโลกใบนี้ได้สงบสุข นอกจากสาเหตุที่มาจากการญิฮาดของพวกเขา และการพิชิตเมืองต่างๆ ของพวกเขา และไม่มีผู้นำหรือผู้ตัดสินคนใดที่มีความยุติธรรมและชี้ทางที่ถูกต้องเว้นแต่พวกเขาคือสาเหตุนำสิ่งเหล่านั้นมา พวกเขาคือกลุ่มชนที่พิชิตเมืองด้วยคมดาบ แต่พิชิตหัวใจด้วยพลังแห่งศรัทธา พวกเขาได้บริหารบ้านเมืองด้วยความยุติธรรม และบริหารหัวใจด้วยกับความรู้และทางนำ ซึ่งพวกเขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของคนในประชาชาตินี้จนถึงวันกิยามะฮฺได้รับ รวมถึงผลบุญของการงานที่พวกเขาได้ทำเป็นการเฉพาะ มหาบริสุทธิ์ยิ่ง ผู้ทรงมอบความประเสริฐและความเมตตาแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์เป็นการเฉพาะ   
ท่านชัยคุลอิสลาม (อิบนุตัยมียะฮฺ) เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวถึงสิทธิของพวกเขาได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด ท่านได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่พินิจมองดูเรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่งด้วยความรู้และความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และสิ่งที่อัลลอฮฺได้โปรดปรานให้พวกเขาได้รับความประเสริฐต่างๆ เขาจะรู้อย่างมั่นใจว่าพวกเขาเหล่านั้นคือกลุ่มชนที่ดีเลิศที่สุดหลังจากบรรดานบี ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดและจะไม่มีผู้ใดเหมือนพวกเขา พวกเขาคือกลุ่มชนที่ดีเลิศสุดของประชาชาตินี้ ซึ่งเป็นประชาชาติที่ดีเลิศและมีเกียรติที่สุด ณ ที่อัลลอฮฺเหนือประชาชาติทั้งหลาย”  
และเนื่องด้วยความประเสริฐที่สูงส่งและฐานะอันมีเกียรตินี้เองจึงทำให้ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺต่างเห็นพ้องกันว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺทุกคนมีความน่าเชื่อถือ (อุดูล) และไม่มีใครสักคนที่มีความบกพร่อง (มัจญฺรูหฺ) ซึ่งอัลลอฮฺได้ขจัดสิ่งที่เกิดขึ้นแก่พวกเขาไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงพวกเขาในแง่ที่ไม่ดีหรือการด่าทอตำหนิพวกเขา ดังนั้นพวกเขาทุกคนจึงเป็นแกนนำที่คอยขับเคลื่อนศาสนา ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่รู้กันดีว่าอัลลอฮฺทรงเลือกสรรพวกเขาและพระองค์ทรงแจ้งถึงความบริสุทธิ์ของพวกเขา โดยที่พวกเขาคือกลุ่มชนที่ดีเลิศที่สุดแห่งยุคต่างๆ และเป็นประชาชาติที่ดีเลิศที่สุดที่ถูกอุบัติออกมาเพื่อมนุษยชาติ ดังนั้น จึงไม่มีผู้ใดที่จะเปรียบเหมือนกับผู้ที่อัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัยให้เขาได้คบหาเป็นมิตรและช่วยเหลือเกื้อกูลท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้น จึงไม่มีการรับรองใดที่ดียิ่งกว่านี้ และไม่มีการมอบความน่าเชื่อถือใดที่สมบูรณ์ยิ่งกว่านี้อีกแล้ว
ท่านอิบนุอับดิลบัร เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “ถ้าเป็นเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ถือเป็นการมากพอแล้วที่เราจะศึกษาสถานภาพของพวกเขา (กล่าวคือไม่ต้องศึกษาอะไรให้มาก) เพราะเป็นมติเอกฉันท์ของกลุ่มชนแห่งสัจธรรมจากบรรดาผู้ศรัทธา –พวกเขาคือชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ- ว่าพวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) ทุกคนนั้นมีความน่าเชื่อถือ (อุดูล)”  
ดังที่กลอนบทหนึ่งได้กล่าวว่า
พวกเขาทุกคนคือกลุ่มชนที่ดีและมีความยำเกรง
สมควรแล้วที่ (พวกเขา) จะได้รับสิ่งนั้น และทุกๆ ความดีงามก็คู่ควรแก่พวกเขา   


ประการที่สาม  มีความเชื่อมั่นในระดับความประเสริฐของพวกเขาตามที่มีระบุในหลักฐานต่างๆ
    ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺได้ยืนยันว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺทุกคนมีความประเสริฐ แต่พวกเขามีระดับความประเสริฐที่แตกต่างกันไป ทำให้เศาะหาบะฮฺบางคนจึงมีความประเสริฐเหนือบางคน โดยไม่ทำให้เศาะหาบะฮฺที่มีความเสริฐน้อยกว่าบกพร่องแต่อย่างใด
    ดังนั้นเศาะหาบะฮฺที่มีความประเสริฐที่สุดคือ เศาะหาบะฮฺทั้งสิบท่านที่ได้รับข่าวดีว่าเป็นชาวสวรรค์ พวกเขาคือเคาะลีฟะฮฺ อัร-รอชิดูนทั้งสี่ท่าน ได้แก่ ท่านอบูบักรฺ ท่านอุมัร ท่านอุษมาน และท่านอลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ส่วนหกท่านที่เหลือนั้นได้รวมอยู่ในคำกล่าวของท่านอิบนุ อบีดาวุด ใน “หาอียะฮฺ” ของท่าน ว่า
    สะอีด, สะอฺด์, อิบนุเอาฟฺ และฏ็อลหะฮฺ
อีกทั้งอามิร ผู้ตรากตรำและอัซ-ซุบัยรฺผู้ได้รับการชื่นชม  

    ซึ่งผู้ที่ประเสริฐที่สุดในสิบท่านนั้นคือ เคาะลีฟะฮฺทั้งสี่ โดยเรียงลำดับความประเสริฐตามลำดับของการเป็นเคาะลีฟะฮฺ  
จงเป็นมิตรกับบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีและวงศ์วานของท่าน
จงเผยแพร่ความดีงามของพวกท่านทุกคนและทำให้มันขจรกระจายไป
    จงสนับสนุนพวกเขาด้วยความรักที่เต็มเปี่ยมและจงเชิดชู
    ท่านอบูบักรและอุมัรในทุกๆ ความประเสริฐและความสมบูรณ์
    และถัดจากทั้งสองนั้นคือท่านอุษมานแล้วท่านอลี
    ซึ่งเป็นวีรบุรุษที่อุทิศตนในสมรภูมิที่มีความกระฉับกระเฉง  

    ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ว่าสถานะของท่านอบูบักรฺกับท่านอุมัรในศาสนาอิสลามนั้นถือเป็นสถานะที่มีความสูงส่งที่สุด ซึ่งทั้งสองท่านคือบุคคลที่ดีเลิศที่สุดของประชาชาตินี้หลังจากท่านนบีของเขา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ใช่แต่เท่านั้นท่านทั้งสองยังเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐที่สุดหลังจากบรรดานบี อย่างไรก็ตามท่านอบูบักรฺนั้นมีสถานะเหนือกว่าเมื่อเทียบระหว่างท่านทั้งสอง เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา
    ถือเป็นสิ่งที่ดียิ่งที่จะยกคำกล่าวของท่านอบูญะอฺฟัร อัล-บากิร ผู้นำคนสำคัญของวงศ์วานของท่านนบี เราะหิมะฮุลลอฮฺ วะเราะฎิยะอันฮุ- ซึ่งท่านได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ไม่รู้ถึงความประเสริฐของท่านอบีบักรฺและท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา แน่นอนเขาได้โง่เขลาต่อสุนนะฮฺของท่านนบีแล้ว”  
    ท่านอัช-ชะอฺบี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “การรักต่อท่านอบีบักรฺและท่านอุมัร และการรู้ถึงความประเสริฐของทั้งสองท่านนั้นคือส่วนหนึ่งจากสุนนะฮฺ”
    และรองจากเศาะหาบะฮฺทั้งสิบท่านที่ได้รับการแจ้งข่าวดีนั้น คือชาวบะดัร ถัดจากนั้นเป็นชาวอุหุด แล้วต่อด้วยชาวบัยอะฮฺ อัร-ริฎวาน
    และนี่คือสิ่งที่บรรดานักวิชาการได้ให้ทัศนะไว้ เช่นท่านอิบนุกะษีร  , ท่านอิบนุอัศ-เศาะลาหฺ  , และท่านอัน-นะวะวี  
    แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านที่ถือว่าชาวบัยอะฮฺ อัร-ริฎวานมีความประเสริฐกว่าชาวอุหุด  
    และก็มีนักวิชาการบางท่านที่กล่าวว่าถัดจากชาวอุหุดนั้น คือเศาะหาบะฮฺกลุ่มที่ยืนหยัดในสงครามอัล-อะหฺซาบ ถัดจากนั้นก็เป็นชาวบัยอะฮฺ อัร-ริฎวาน   อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง
    ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ เชื่อว่าโดยภาพรวมแล้วชาวมุฮาญิรีนมีความประเสริฐกว่าชาวอันศ็อร   เฉกเช่นที่เชื่อว่าผู้ที่รับอิสลามช่วงแรกๆ นั้นประเสริฐกว่าผู้ที่รับอิสลามในช่วงหลังๆ
    สำหรับเศาะหาบียะฮฺ (เศาะหาบะฮฺที่เป็นผู้หญิง) เราะฎิยัลลอฮุอันฮุน นั้น ผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกนางมีอยู่สามท่าน ได้แก่ ท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ, ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ, และท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุน
    ท่านชัยคุลอิสลาม อบูอัล-อับบาส อิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “ผู้หญิงที่ประเสริฐที่สุดในประชาชาตินี้คือ ท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ, ท่านหญิงอาอิชะฮฺ และท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ส่วนผู้ใดจะประเสริฐกว่านั้นยังเป็นที่ขัดแย้งและมีรายละเอียดของมันอยู่”  
    สมควรที่จะเน้นย้ำตรงนี้ว่า บรรดานักวิชาการต่างเห็นพ้องกันว่า “เศาะหาบะฮฺทุกๆ ท่านจะมีความประเสริฐยิ่งกว่าทุกๆ คนที่มาหลังจากเศาะหาบะฮฺ”   ซึ่งจะมีการขัดแย้งในเรื่องนี้อีกได้อย่างไรในเมื่อพวกเขาคือกลุ่มชนที่ได้รับโอกาสพบเจอท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พวกเขาคือกลุ่มชนที่หากแม้ว่าคนหนึ่งคนใดในหลังจากพวกเขาได้บริจาคทองคำมากมายเทียมเขาอุหุด ก็มิอาจได้รับผลบุญเทียบเท่าการบริจาคเพียงหนึ่งอุ้งมือของพวกเขา หรือแม้แต่ครึ่งอุ้งมือก็ตาม แล้วลองเทียบการละหมาดของพวกเขา การญิฮาดของพวกเขา และการงานทั้งหลายของพวกเขา ?
     และจะมีการขัดแย้งในเรื่องนี้อีกได้อย่างไรในเมื่อพวกเขาคือกลุ่มชนที่อัลลอฮฺกล่าวถึงสิทธิของพวกเขาว่า
﴿ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلرَّٰشِدُونَ ٧ ﴾ [الحجرات: ٧]  
ความ “ ชนเหล่านั้นคือพวกที่ดำเนินอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง”  (สูเราะฮฺอัล-หุญุรอต : 7)

    และ  
﴿ وَكُلّٗا وَعَدَ ٱللَّهُ ٱلۡحُسۡنَىٰۚ ١٠ ﴾ [الحديد: ١٠]  
ความว่า “และอัลลอฮฺทรงสัญญาความดีงาม (สวนสวรรค์) แก่ทั้งสองฝ่าย” (สูเราะฮฺอัล-หะดีด : 10)

แล้วจะมีการขัดแย้งในเรื่องนี้อีกได้อย่างไรในเมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงพวกเขาว่า
«خَيْرُ النَّاسِ قَرْنِي »
ความว่า  “ผู้ที่มีความประเสริฐที่สุด คือผู้ที่มีชีวิตอยู่ในยุคของฉัน (หมายถึง บรรดาเศาะหาบะฮฺ)”  

    ท่านอัล-มุอาฟา บินอิมรอน เราะหิมะฮุลลอฮฺ ถูกถามว่า “ท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ เทียบได้กับท่านมุอาวียะฮฺ บินอบีสุฟยาน หรือไม่ ?” ทำให้ท่าน (อัล-มุอาฟา) โกรธอย่างมาก ท่านจึงกล่าวว่า “อย่าเทียบผู้ใดกับบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สำหรับท่านมุอาวียะฮฺนั้นท่านเป็นเศาะหาบะฮฺของท่านนบี เป็นเครือญาติ (ผ่านการแต่งงาน) กับท่านนบี เป็นผู้จดบันทึกและเป็นเลขาของท่านนบีในการรับวะหฺยูของอัลลอฮฺ”  
    มีคนถามท่านอิมามอะหฺมัด เราะหิมะฮุลลอฮฺว่า “สามารถที่จะเทียบผู้ใดกับเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรือไม่ ?” ท่านได้ตอบว่า “ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้ห่างไกลจากมัน” มีคนถามอีกว่า “ท่านมุอาวียะฮฺมีความประเสริฐกว่าท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซหรือไม่ ?” ท่านได้ตอบว่า “ใช่แล้ว ขอสาบานด้วยกับลมหายใจของฉันที่ยังมีอยู่”  เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«خَيْرُ النَّاسِ قَرْنِي »
ความว่า  “ผู้ที่มีความประเสริฐที่สุด คือผู้ที่มีชีวิตอยู่ในยุคของฉัน (หมายถึง เศาะหาบะฮฺ)”    

    ท่านอิมามอะหฺมัดได้กล่าวอีกว่า “เศาะหาบะฮฺที่มีความเสริฐน้อยที่สุดในหมู่พวกเขา คือผู้ที่มีความประเสริฐที่สุดในยุคต่างๆ ที่ไม่ได้เห็นท่านนบี ถึงแม้ว่าพวกเขา (ที่มีชีวิตในยุคต่างๆ นั้น) จะไปพบอัลลอฮฺด้วยกับการปฏิบัติในทุกการงานก็ตาม”  
    หากมีคนถามว่า จะอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
« فَإِنَّ مِنْ وَرَائِكُمْ أَيَّامَ الصَّبْرِ، الصَّبْرُ فِيهِ مِثْلُ قَبْضٍ عَلَى الْجَمْرِ، لِلْعَامِلِ فِيهِمْ مِثْلُ أَجْرِ خَمْسِينَ رَجُلًا يَعْمَلُونَ مِثْلَ عَمَلِهِ»،  قَالَ: يَا رَسُولَ اللَّهِ، أَجْرُ خَمْسِينَ مِنْهُمْ؟ قَالَ: «أَجْرُ خَمْسِينَ مِنْكُمْ»
ความว่า “จะมีขึ้นภายหลังจากพวกท่านอย่างแน่นอน ซึ่งช่วงเวลาของการอดทนนั้นเสมือนการกำถ่านหินร้อน ซึ่งสำหรับคนที่ทำอะมัลในช่วงเวลานั้นจะได้รับผลบุญเสมือนของชายห้าสิบคนที่ทำการงานเหมือนที่พวกท่านได้ทำ” เศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งได้ถามว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ผลบุญของชายห้าสิบคนจากในหมู่พวกเขาใช่ไหม ?” ท่านนบีได้ตอบว่า “เป็นผลบุญของชายห้าสิบคนในหมู่พวกท่าน”  

    คำตอบคือ มันเป็นความประเสริฐในเรื่องที่เฉพาะ ไม่ได้หมายถึงความประเสริฐโดยทั้งหมด ด้วยเหตุนั้นผลบุญของการอดทนในช่วงเวลาข้างต้นมีความประเสริฐยิ่งกว่าผลบุญของความอดทนของเศาะหาบะฮฺห้าสิบท่าน สรุปคือ มันเป็นความประเสริฐเฉพาะในการทำอะมัลที่เจาะจง ไม่ใช่เป็นความประเสริฐโดยทั้งหมด ดังที่ท่านอัล-หาฟิซ อิบนุหะญัร ได้กล่าวว่า “เนื้อหาของหะดีษที่ว่า สำหรับคนที่ทำอะมัลในช่วงเวลานั้นจะได้รับผลบุญเสมือนการงานของชายห้าสิบคนในหมู่พวกท่าน” ไม่ได้บ่งชี้ว่ามีผู้ที่ไม่ได้เป็นเศาะหาบะฮฺจะมีความประเสริฐเหนือกว่าผู้ที่เป็นเศาะหาบะฮฺ เพราะเพียงแค่เพิ่มผลบุญ (ของอะมัลหนึ่ง) ไม่ได้ทำให้มีความประเสริฐโดยทั้งหมดแต่อย่างใด เช่นเดียวกัน ผลบุญที่จะก่อให้เกิดความประเสริฐได้นั้นต้องเป็นไปด้วยกับการทำอะมัลนั้น แต่สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้พบเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น เขาจะได้ความประเสริฐของการมองที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่มีผู้ใดที่เทียบเท่าได้”   

ประการที่สี่   จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงพวกเขาในแง่ที่ดี ยกย่องสรรเสริญพวกเขา และเผยแพร่ความดีงามของพวกเขา
จงเป็นมิตรกับบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีและวงศ์วานของท่าน
จงเผยแพร่ความดีงามของพวกท่านทุกคนและทำให้มันขจรกระจายไป  
    ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ว่านี่คือแขนงหนึ่งของความรักที่มีต่อพวกเขา ซึ่งผู้ใดที่หัวใจของเขาเต็มเปี่ยมด้วยความรักที่มีต่อพวกเขา ลิ้นของเขาก็จะมั่นยกย่องสรรเสริญต่อพวกเขา
    และนี่คือสิ่งชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺทั้งหมดได้สืบทอดกันมา และได้บรรจุมันในหลักความเชื่อของพวกเขา  
    ท่านอัล-มุซะนี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “และเขาจะกล่าวถึงความประเสริฐของพวกเขา และจะรำลึกถึงความดีงามที่พวกเขาได้ทำไว้”  
    ท่านอิบนุ อบีซะมะนีน ได้กล่าวว่า “หนึ่งในคำกล่าวของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺก็คือ การที่คนคนหนึ่งมีความเชื่อมั่นในเรื่องการมอบความรักต่อบรรดาเศาหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และการเผยแพร่ความดีงามของพวกเขา และความประเสริฐของพวกเขา”  
    ท่านอิบนุ อบีดาวุด ได้กล่าวว่า
    ท่านจงกล่าวด้วยคำกล่าวที่ดีงามต่อเศาะหาบะฮฺทุกท่าน
    และอย่าได้ตำหนิ ด่าทอ และเหยียดหยาม (พวกเขา)        


ประการที่ห้า  ยืนยันโดยภาพรวมว่าพวกเขาจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺและสวนสวรรค์ และยืนยันเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ที่อัลกุรอานและสุนนะฮฺได้ระบุเจาะจงไว้
    ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺมีความเชื่อมั่นว่าโดยภาพรวมแล้วบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเป็นชาวสวรรค์  
    ซึ่งก่อนหน้านี้ได้นำเสนออายะฮฺต่างๆ ที่ได้บ่งชี้ถึงเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนแล้ว เช่นคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿وَٱلسَّٰبِقُونَ ٱلۡأَوَّلُونَ مِنَ ٱلۡمُهَٰجِرِينَ وَٱلۡأَنصَارِ وَٱلَّذِينَ ٱتَّبَعُوهُم بِإِحۡسَٰنٖ رَّضِيَ ٱللَّهُ عَنۡهُمۡ وَرَضُواْ عَنۡهُ وَأَعَدَّ لَهُمۡ جَنَّٰتٖ تَجۡرِي تَحۡتَهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُ خَٰلِدِينَ فِيهَآ أَبَدٗاۚ ذَٰلِكَ ٱلۡفَوۡزُ ٱلۡعَظِيمُ ١٠٠﴾ [التوبة : ١١٠]
ความว่า “บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ (ชาวมุฮาญิรีนจากมักกะฮฺ) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ(ชาวอันศอรจากมะดีนะฮฺ) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่างพวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาลนั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ : 100)

    และคำดำรัสที่ว่า
﴿ وَكُلّٗا وَعَدَ ٱللَّهُ ٱلۡحُسۡنَىٰۚ ١٠ ﴾ [الحديد: ١٠]  
ความว่า “และอัลลอฮฺทรงสัญญาความดีงาม (สวนสวรรค์) แก่ทั้งสองฝ่าย” (สูเราะฮฺอัล-หะดีด : 10)

    และชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺจะยืนยันเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ที่อัลกุรอานและสุนนะฮฺได้ระบุเจาะจงไว้ เช่นเศาะหาบะฮฺผู้ที่ได้รับข่าวดีว่าเป็นชาวสวรรค์ทั้งสิบท่าน, ท่านอับดุลลอฮฺ บินสลาม  , ท่านก็อยสฺ บินษาบิต  , ท่านอุกาชะฮฺ บินมิหฺศ็อน   และยังมีอีกเป็นสิบๆ ท่าน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม  
    ท่านอบูอุษมาน อัศ-ศอบูนี ได้กล่าวว่า “สำหรับบรรดาเศาะหาบะฮฺผู้ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ยืนยันเป็นการเฉพาะ (ว่าเป็นชาวสวรรค์) แน่นอนว่านักวิชาการด้านหะดีษต่างก็ยืนยันต่อพวกเขาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เป็นการแสดงถึงความเชื่อมั่นของพวกเขาที่มีต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในสิ่งที่ท่านได้กล่าวถึงและได้ให้สัญญาแก่พวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) ซึ่งแน่นอนว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะไม่ยืนยันว่าพวกเขาเป็นชาวสวรรค์ นอกจากท่านจะรู้เรื่องนั้นแล้ว และอัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงให้เราะสูลของพระองค์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้รู้เห็นในเรื่องเร้นลับตามที่พระองค์ทรงประสงค์”  


ประการที่หก  ให้ขอดุอาอ์ ขออภัยโทษ และขอให้พวกเขาได้รับความพึงพอพระทัย
    ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ เห็นพ้องกันว่าจำเป็น (วาญิบ) ที่จะต้องยกย่องสรรเสริญพวกเขา ขออภัยโทษให้แก่พวกเขา ขอความเมตตาประสบแก่พวกเขา และขอให้พวกเขาได้รับความพึงพอพระทัย  
    ด้วยเหตุนั้นเอง เมื่อหัวใจของผู้ศรัทธาเต็มไปด้วยความรักและการยอมรับในคุณงามความดีของบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุฮัมมัด อะลัยฮิศเศาะลาตุวัสลาม วะเราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ลิ้นของเขาก็จะวิงวอนขอดุอาอ์ต่อพวกเขาอย่างมากมาย และเขาก็จะมั่นขออภัยโทษแก่พวกเขา
    ท่านอิบนุ อัล-มุบาร็อก เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
(ผู้ศรัทธา) จะยังคงขออภัยโทษให้แก่พวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) ตลอดไป
ดังที่ถูกสั่งใช้ให้ขอทั้งโดยเปิดเผยและอย่างลับๆ  

    กระทั่งการขอให้ได้รับความพึงพอพระทัยนั้นกลายเป็นสิ่งที่รู้กันว่าเป็นคำวิงวอนที่ใช้เฉพาะเจาะจงแก่พวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ)   ซึ่งทุกครั้งที่มีการกล่าวถึงคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขา (เศาะหาบะฮฺ) ก็จะลงท้ายควบคู่ด้วยคำว่า “เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ -ขออัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัยต่อเขา-” และนี่คือสิ่งที่บรรดาผู้ศรัทธาได้เห็นพ้องกัน เนื่องจากอัลลอฮฺได้แจ้งแก่พวกเราว่าพระองค์ได้พึงพอพระทัยต่อพวกเขาแล้ว ดังที่พระองค์ได้ดำรัสว่า
﴿ رَضِيَ ٱللَّهُ عَنۡهُمۡ وَرَضُواْ عَنۡهُۚ ٢٢ ﴾ [المجادلة: ٢٢]  
ความว่า “อัลลอฮฺทรงพอพระทัยต่อพวกเขาและพวกเขาก็ยินดีปรีดาต่อพระองค์” (สูเราะฮฺอัล-มุญาดะละฮฺ : 22)

    ท่านอัช-เชากานี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “ถือเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาของผู้คนในประชาชาตินี้และคนส่วนใหญ่ (ที่เป็นชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ) ทั้งจากสะลัฟและเคาะลัฟที่จะขอให้บรรดาเศาะหาบะฮฺได้รับความพึงพอพระทัย และขอให้กลุ่มชนหลังจากพวกเขาได้รับความเมตตา รวมทั้งวิงวอนขอดุอาอ์ให้พวกเขาได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺและได้รับการลบล้างความผิดทั้งหลายจากพระองค์ ดังที่คำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้แนะนำแก่เราว่า
﴿ وَٱلَّذِينَ جَآءُو مِنۢ بَعۡدِهِمۡ يَقُولُونَ رَبَّنَا ٱغۡفِرۡ لَنَا وَلِإِخۡوَٰنِنَا ٱلَّذِينَ سَبَقُونَا بِٱلۡإِيمَٰنِ وَلَا تَجۡعَلۡ فِي قُلُوبِنَا غِلّٗا لِّلَّذِينَ ءَامَنُواْ رَبَّنَآ إِنَّكَ رَءُوفٞ رَّحِيمٌ ١٠ ﴾ [الحشر: ١٠]  
ความว่า “และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขา โดยพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ซึ่งได้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้ให้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเรา แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺอัล-หัชรฺ : 10)  

ประการที่เจ็ด  ไม่กล่าวถึงความผิดพลาดของพวกเขา และให้ลดช่องทางที่จะทำให้รับรู้เรื่องเหล่านั้น
    ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ คือกลุ่มชนทางสายกลางที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการศาสนา พวกเขาคือกลุ่มชนที่ไม่สุดโต่งและไม่ปฏิเสธต่อความจริง ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงมีความเชื่อมั่นว่าความสูงส่งของสถานะของเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม นั้น ไม่ได้หมายความว่าต้องบริสุทธิ์จากความผิดบาป และความน่าเชื่อถือ (อะดาละฮฺ) ของพวกเขานั้นไม่ได้เสียหายไปเพียงเพราะการทำสิ่งที่เป็นความผิด
อย่างไรก็ตาม ไม่อาจเทียบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับพวกเขาระหว่างความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับคนทั่วไปได้ ซึ่งผู้ที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ดีก็คือผู้ที่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างชีวิตของทั้งสองกลุ่ม (เศาะหาบะฮฺกับคนทั่วไป)
แต่ถ้ามีเรื่องที่ทำให้เข้าใจว่าคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขาได้ทำผิดหรือทำในสิ่งที่เป็นผิดบาปนั้น ส่วนใหญ่จะไม่พ้นเป็นเรื่องที่มีการเติมแต่งและตัดทอนไป หรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ไม่มีหลักฐานใดๆ มารองรับเลย –โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเช่นนั้น  - ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องปฏิเสธทิ้งไปโดยไม่ต้องลังเลใดๆ ทั้งสิ้น
หรือถ้าหากว่ามันเป็นเรื่องจริง ก็ให้คิดไปในทางที่ดี ซึ่งการทำเช่นนี้เองที่จะช่วยให้มีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องราวนั้นได้  
และถ้าหากผู้ศรัทธาถูกเรียกร้องให้มีทัศนคติที่ดีต่อสิทธิของพี่น้องผู้ศรัทธาด้วยกันแล้ว ดังนั้นผู้ที่เป็นแกนนำของบรรดาผู้ศรัทธาก็สมควรยิ่งกว่าที่จะได้รับสิ่งนั้น  
ซึ่งการศรัทธาขั้นต่ำสุดคือการมีทัศนคติต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เขา (เศาะหาบะฮฺ) อาจจะตีความตัวบทหลักฐานที่อนุญาตให้ตีความได้ หรือไม่ก็เขาอาจจะหลงลืมหรือพลาดพลั้งไป หรือเป็นการวินิจฉัยในเรื่องที่สามารถได้รับหนึ่งผลบุญหรือสองผลบุญ  
อย่างไรก็ตาม หากมีความผิดใดเกิดขึ้นกับพวกเขา มันก็จะเข้าอยู่ในห้าประการนี้   
หนึ่ง พวกเขาได้กลับเนื้อกลับตัวจากความผิดนั้นแล้ว ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผิดแปลกแต่อย่างใด เพราะเศาะหาบะฮฺคือกลุ่มชนที่รีบเร่งในการกลับเนื้อกลับตัวมากที่สุด  และเป็นที่รู้ดีว่า
«التَّائِبُ مِنَ الذَّنْبِ، كَمَنْ لَا ذَنْبَ لَهُ»
ความว่า “ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัวจากความผิด ก็ประดุจดั่งผู้ที่ไม่มีความผิดมาก่อน”   
ซึ่งแน่นอนว่าพวกเขาสมควรถูกตอบรับการกลับเนื้อกลับตัวมากกว่าผู้อื่น เนื่องจากฐานะอันสูงส่งและสถานะของพวกเขา ณ ที่อัลลอฮฺ

สอง พวกเขาได้รับการอภัย ด้วยกับความดีงามที่ยิ่งใหญ่ต่างๆ ซึ่งถูกประทานให้พวกเขา และแน่นอนว่าความดีงามนั้นจะลบล้างความผิดทั้งหลาย ซึ่งความดีงามของเศาะหาบะฮฺนั้น -ตามที่รู้มาแล้ว- เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก ส่วนผลบุญของมันก็ใหญ่หลวงยิ่งนัก ดังที่ได้นำเสนอไปแล้วในก่อนหน้านี้

สาม พวกเขาได้รับการอภัย ด้วยสาเหตุที่พวกเขาได้เข้ารับอิสลามเป็นกลุ่มคนแรกๆ และพวกเขาได้ร่วมต่อสู้ญิฮาดเคียงบ่าเคียงไหล่กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงสิทธิของชาวบะดัรว่า
« وَمَا يُدْرِيكَ لَعَلَّ اللهَ اطَّلَعَ عَلَى أَهْلِ بَدْرٍ فَقَالَ: اعْمَلُوا مَا شِئْتُمْ، فَقَدْ غَفَرْتُ لَكُمْ »
ความว่า “ท่านรู้หรือไม่ว่าอัลลอฮฺทรงมองดูผู้ที่เข้าร่วมสงครามบะดัร แล้วพระองค์ก็ได้ดำรัสว่า พวกเจ้าจงทำในสิ่งที่พวกเจ้าปรารถนาเถิด เพราะแน่นอนว่าข้าได้ให้อภัยแก่พวกเจ้าแล้ว”  

    สี่ พวกเขาได้รับการอภัย ด้วยสาเหตุของการชะฟาอะฮฺ (ให้ความช่วยเหลือ) ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งครั้งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงชะฟาอะฮฺของท่านที่กลุ่มชนแห่งเตาฮีด (ให้ความเป็นเอกะแด่อัลลอฮฺ) โดยที่พวกเขาไม่ได้ตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์จะได้รับนั้น    แกนนำของกลุ่มชนแห่งเตาฮีดและเป็นกลุ่มคนที่อยู่ใกล้ชิดกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ย่อมคู่ควรที่จะได้รับยิ่งกว่า ซึ่งไม่มีข้อสงสัยใดๆ ว่าพวกเขาคู่ควรที่จะได้รับการชะฟาอะฮฺจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยิ่งกว่ากลุ่มคนอื่น

    ห้า พวกเขาได้รับการอภัย ด้วยสาเหตุที่พวกเขาได้ประสบกับเคราะห์กรรมต่างๆ รวมถึงบททดสอบในโลกนี้ ซึ่งเคราะห์กรรมต่างๆ นั้นจะลบล้างความผิด ตามที่รู้กันดีในบทบัญญัติของศาสนา

    สรุปคือ “หนึ่งในหลักการพื้นฐานของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺนั้น คือการที่หัวใจและลิ้นของพวกเขาต้องไม่มีความเคียดแค้นและกล่าวในทางไม่ดีต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม”  
    ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่าหัวใจและลิ้นของผู้ศรัทธานั้นต้องไม่ดูถูกเหยียดยามเศาะหาบะฮฺ และจะต้องไม่ตำหนิพวกเขา และใส่ร้ายพวกเขา และจะไม่มีผู้ใดละทิ้งแนวทางที่เที่ยงตรงนี้ นอกจากผู้ที่หัวใจของเขาจะมีปัญหา
    ท่านสุฟยาน บินอุยัยนะฮฺ ได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่กล่าว (ในแง่ไม่ดี) ต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพียงแค่คำกล่าวเดียว เขาก็คือผู้ที่ฝักใฝ่ในอารมณ์ใฝ่ต่ำนั้นเอง”  
    ท่านอิมามอะหฺมัด ได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ตำหนิคนหนึ่งคนใดในหมู่เศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรือเกลียดชังต่อเขาเนื่องด้วยเรื่องที่เกิดจากเขา (เช่นความขัดแย้งในหมู่พวกเขา) หรือได้กล่าวถึงในแง่ที่ไม่ดีต่อเขา ผู้นั้นคือผู้ที่อุตริกรรม (บิดอะฮฺ) จนกว่าเขาจะขอให้พวกเขาทุกคน (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) ได้รับความเมตตา เมื่อนั้นก็จะทำให้หัวใจของเขาที่มีต่อพวกเขามีความบริสุทธิ์”  

ประการที่แปด   ไม่กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างพวกเขา และอย่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นระหว่างพวกเขา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ไม่ว่าจะเป็นฟิตนะฮฺต่างๆ การสู้รบ ความขัดแย้ง และการโต้เถียงกัน สำหรับผู้ศรัทธาแล้วหน้าที่ของเขาก็คือการผินหลังโดยไม่ต้องสนใจ และไม่ต้องแสดงความคิดเห็นใดๆ ในเรื่องนั้น
สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นระหว่างเศาะหาบะฮฺเราจะไม่กล่าวถึงมัน
ส่วนผลบุญของการวินิจฉัยในเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเราจะยืนยัน  

ซึ่งตำรับตำราของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺต่างเห็นพ้องกันว่าห้ามไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อมกับให้เชื่อมั่นว่าสิ่งที่เหล่านั้นเกิดจากการวินิจฉัยที่อาจจะได้รับหนึ่งผลบุญหรือสองผลบุญ
สิ่งที่ถูกต้องสำหรับฟิตนะฮฺที่เกิดขึ้นระหว่างเศาะหาบะฮฺ
นั่นคือการไม่กล่าวถึงมัน เพราะทุกคนนั้นล้วนเป็นผู้วินิจฉัย (มุจญฺตะฮิด)  

ซึ่งมันได้บ่งชี้ถึงประการเหล่านี้
ประการแรก เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
«إِذَا ذُكِرَ أَصْحَابِي فَأَمْسِكُوا»
ความว่า “เมื่อมีการกล่าวถึงเศาะหาบะฮฺของฉัน (ในแง่ที่ไม่ดี) พวกท่านจงระงับมันเสีย”  

ประการที่สอง เบื้องหลังของเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่ได้ก่อประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าจะในแง่ของความรู้และในแง่ของการนำไปปฏิบัติ ซึ่งส่วนหนึ่งของความดีงามของคนคนหนึ่งคือการที่เขาละทิ้งในสิ่งที่ไม่ก่อประโยชน์ต่อตัวเขา   ด้วยเหตุนี้สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นระหว่างเศาะหาบะฮฺไม่ว่าจะเป็นการสู้รบและฟิตนะฮฺต่างๆ มันก็เกิดจากการวินิจฉัยทั้งสิ้น ซึ่งทุกๆ ฝ่ายนั้นต้องการสนับสนุนช่วยเหลือความถูกต้องตามทัศนะของพวกเขา ไม่ใช่เพราะเกิดจากความเคียดแค้น มันเหมือนกับผู้พิพากษาสั่งโบยผู้ต้องหาเพื่อให้ลาบจำ และความรู้สึกภายในใจจะหายไปเมื่อเหตุการณ์นี้จบลง ฉะนั้น พวกเขาไม่มีตำหนิใด     ๆ

คำกล่าวของท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ มีความสวยงามยิ่ง ท่านได้กล่าวว่า “เลือดเหล่านั้นอัลลอฮฺได้ชำระจากมือไปแล้ว ฉันจึงไม่ชอบที่จะให้ลิ้นของฉันล้วงไปในมันอีก (คือ จะไม่กล่าวถึงเรื่องที่มันเกิดขึ้นอีก)”  
 
ประการที่สาม การเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ค่อยดี และจะทำให้จุดยืนที่เคยมีนั้นอาจจะหวั่นไหวได้ สุดท้ายแล้วมันอาจจะทำให้เกิดความเกลียดชังต่อคนหนึ่งคนใดในหมู่เศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งมันคือกับดักที่ยากจะหลุดพ้นไปได้ ส่วนการกันไว้ก่อนหรือปิดกั้นช่องโหว่นั้นถือเป็นหลักการพื้นฐานของศาสนาอยู่แล้ว
ท่านอัล-บัรบะฮารี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “ท่านอย่าได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใดๆ เกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างพวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) หรือการสู้รบระหว่างพวกเขา และสิ่งที่พวกท่านไม่มีความรู้ และอย่าได้ฟังเรื่องราวใดๆ ที่ใครบางคนกล่าวถึงเหตุการณ์นั้น เพราะหัวใจของท่านอาจจะมีปัญหาถ้าหากท่านฟังเรื่องราวเหล่านั้น”  
    จงระมัดระมังในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องราวที่ถูกกุขึ้น
    ความประเสริฐของพวกเขาย่อมมีเหนือเรื่องราวที่มันเกิดขึ้น หากว่าท่านได้รับรู้
    ซึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากการวินิจฉัย
    ดังนั้นจงเชื่อฟัง อัลลอฮฺจะทรงให้ผู้ร้างรานั้นต่ำต้อย

ประการที่สี่ เป็นความจริงที่ว่ากลุ่มคนที่โกหกปลิ้นปล้อน กลับกลอก และอุตริกรรมนั้นได้กุเรื่องราวที่มดเท็จอย่างมากมายในประเด็นนี้ ซึ่งท่านจะตัดสินเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่าเป็นจริงได้อย่างไรในเมื่อการรายงานส่วนใหญ่มาจากการอุปโลกษน์และอ่อนหลักฐาน ?  ซึ่งหากตำรับตาราประวัติศาสตร์เป็นแหล่งอ้างอิงที่สมบูรณ์ที่สุดในการเล่าถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเศาะหาบะฮฺ ดังนั้นจึงเป็นที่รู้ดีว่า โดยทั่วไปแล้วมันได้บรรจุเรื่องราวที่ไร้ประโยชน์และเรื่องราวที่ปรัมปราไว้อย่างมากมาย ซึ่งโดยปกติแล้วมันก็เป็นเรื่องที่บรรจุทุกสิ่งที่ผู้คนเสพข้อมูลได้ง่าย ดังนั้น เป็นไปได้อย่างไรที่จะเชื่อในเรื่องราวที่มีความสุ่มเสี่ยงเช่นนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกที่ใช้อารมณ์ใฝ่ต่ำชื่นชอบ ?
อย่างไรก็ตามเรื่องราวอันน้อยนิดที่มีความถูกต้องนั้น ก็สมควรที่จะคิดไปในทางที่คู่ควรกับความประเสริฐและสถานะของพวกเขา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้
ท่านอิบนุดะกีก อัล-อีด ได้กล่าวว่า “เรื่องราวที่เล่าต่อกันมาเกี่ยวความขัดแย้งและความคิดที่เห็นต่างระหว่างพวกเขานั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องราวที่เท็จและกุขึ้นมาซึ่งไม่ต้องไปสนใจอะไรมัน ส่วนเรื่องราวที่ถูกต้องนั้น สิ่งแรกที่เราต้องทำคือการคิดไปในทางที่ดี เพราะการยกย่องเชิดชูที่มีต่อพวกเขาจากอัลลอฮฺได้มีก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งคำบอกเล่าใดๆ ที่มีขึ้นหลังจากนั้นย่อมสามารถตีความ (ในทางที่ดีได้) ส่วนเรื่องราวที่มีข้อสงสัยและกำกวมนั้นย่อมไม่สามารถหักล้างเรื่องราวที่ถูกรับรองและมีข้อเท็จจริงได้อย่างแน่นอน”  

ประการที่ห้า การมีจุดยืดที่ถูกต้องต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบากมาก สังเกตุได้จากช่วงเวลาที่เรื่องราวได้เกิดขึ้นนั้นเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย (ฟิตนะฮฺ) และการสู้รบ ซึ่งสถานการณ์เช่นนั้นมันทำให้เกิดความสับสนมากมาย ซึ่งไม่อาจจะแยกแยะอะไรผิดถูกได้ ดังนั้นการผินหลังกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยภาพรวมนั้นย่อมดีกว่า
ด้วยประการนี้เอง สำหรับผู้ที่ต้องการจะให้ตัวเขาได้รับความปลอดภัยในเรื่องศาสนา ก็ให้ตัวเขาออกห่างจากการเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องที่อันตรายนี้ และให้เขาเติมเต็มหัวใจของเขาด้วยการมอบความรักแก่พวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) และให้ลิ้นของเขามั่นขออภัยโทษแก่พวกเขา และขอให้พวกเขาได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม

ประการที่เก้า  เกลียดชังต่อผู้ที่เกลียดชังพวกเขา และให้ตอบโต้การใส่ร้ายของผู้ที่เกลียดชังนั้น และให้ขัดขวางการเป็นปฏิปักษ์ต่อพวกเขา
    และนี่ก็เป็นแขนงหนึ่งของการมอบความรักต่อพวกเขา และเป็นการทำหน้าที่ที่แสดงถึงความจริงใจต่อสิทธิของพวกเขา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม
    บรรดาวงศ์วานของท่านนบีและเศาะหาบะฮฺทุกท่าน
    เราพร้อมที่จะปกป้องพวกเขา และการมอบความรักต่อกลุ่มคนเหล่านี้เราขอยึดมั่น  

    ท่านอัฏ-เฏาะหาวี เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “และเราจะเกลียดชัดต่อผู้ที่เกลียดชังพวกเขา และ (จะเกลียดชัง) ต่อสิ่งที่ไม่ดีที่กล่าวถึงพวกเขา”  
    ซึ่งหลักฐานในเรื่องนี้คือคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
« أَوْثَقُ عُرَى الْإِيمَانِ : الْحُبُّ فِي اللَّهِ , وَالْبُغْضُ فِي اللَّهِ »
ความว่า “สิ่งผูกมัดอีมานที่แข็งแรงที่สุด คือ การรักเพื่ออัลลอฮ และโกรธเพื่ออัลลอฮ”  

    ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ว่าผู้ที่สมควรที่สุดที่จะต้องเกลียดชังเพื่ออัลลอฮฺ คือ บรรดาผู้ที่ตำหนิด่าทอเศาะหาบะฮฺที่มีเกียรติ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม
    และการตอบโต้อย่างเด็ดขาดต่อศัตรูของเศาะหาบะฮฺ และการปกป้องการใส่ร้ายต่อพวกเขา รวมถึงการหักล้างข้อคลุมเครือต่างๆ ที่มีต่อพวกเขานั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุด


ประการที่สิบ   การปฏิบัติและเจริญรอยตามแบบอย่างของพวกเขา
    แนวทาง (มินฮาจญฺ) ของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ ก่อร่างขึ้นบนพื้นฐานที่ว่า “สุดยอดของความรู้ที่ต้องเจริญรอยตามคือความรู้ของบรรดาเศาะหาบะฮฺ และสุดยอดของการงานที่ต้องเจริญรอยตามคือการงานของบรรดาเศาะหาบะฮฺ ซึ่งพวกเขา (ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ) จะมองไปยังเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ว่าอยู่เหนือกว่าพวกเขาในทุกแง่มุม ในทุกความประเสริฐ และในทุกสถานะ  
    การเจริญรอยตามพวกเขาในเรื่องศาสนาถือเป็นข้อจำเป็น
    ดังนั้นจงเจริญรอยตามพวกเขา และจงปฏิบัติตามอายะฮฺและสูเราะฮฺต่างๆ  

    ท่านอิมามอะหฺมัด เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้อ้างอิงหลักฐานว่า ส่วนหนึ่งจากหลักการพื้นฐานของอัส-สุนนะฮฺ คือ “การยึดมั่นต่อสิ่งที่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ยึดถือไว้ และการเจริญรอยตามพวกเขา”      
    ท่านอิมามอัร-รอชิด อุมัร บินอับดุลอะซีซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “ท่านจงมีความพึงพอใจต่อสิ่งที่ตัวของพวกเขามีความพึงพอใจเถิด เพราะพวกเขานั้นมีความรู้ที่มั่นคง และมีสายตาที่กว้างไกล”  
    อัลลอฮฺ สุบหานะฮฺ ได้ยกย่องบรรดาผู้ที่เจริญรอยตามบรรดาเศาะหาบะฮฺที่ดีเลิศ ในคำดำรัสของพระองค์ว่า
﴿وَٱلسَّٰبِقُونَ ٱلۡأَوَّلُونَ مِنَ ٱلۡمُهَٰجِرِينَ وَٱلۡأَنصَارِ وَٱلَّذِينَ ٱتَّبَعُوهُم بِإِحۡسَٰنٖ رَّضِيَ ٱللَّهُ عَنۡهُمۡ وَرَضُواْ عَنۡهُ وَأَعَدَّ لَهُمۡ جَنَّٰتٖ تَجۡرِي تَحۡتَهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُ خَٰلِدِينَ فِيهَآ أَبَدٗاۚ ذَٰلِكَ ٱلۡفَوۡزُ ٱلۡعَظِيمُ ١٠٠﴾ [التوبة : ١١٠]
ความว่า “บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ (ชาวมุฮาญิรีนจากมักกะฮฺ) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศอรจากมะดีนะฮฺ) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่างพวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาลนั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ : 100)

    พระองค์ ญัลละวะอะลา ได้ดำรัสอีกว่า
﴿ وَٱتَّبِعۡ سَبِيلَ مَنۡ أَنَابَ إِلَيَّۚ ١٥ ﴾ [لقمان: ١٥]  
ความว่า “และจงปฏิบัติตามทางของผู้ที่กลับไปสู่ข้า” (สูเราะฮฺลุกมาน : 15)
ซึ่งไม่มีข้อสงสัยใดๆ ว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่คู่ควรกับคุณลักษณะเช่นนี้มากที่สุดหลังจากบรรดานบี

    และอัลลอฮฺ สุบหานะฮฺ ได้ดำรัสอีกว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَكُونُواْ مَعَ ٱلصَّٰدِقِينَ ١١٩﴾ [التوبة : ١١٩]
ความว่า “โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงอยู่อยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่สัจจริง” (สูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ : 119) ท่านอัฎ-เฎาะหาก เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “อยู่ร่วมกับท่านอบีบักรฺ ท่านอุมัร และเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งสอง”  

    ในครั้งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามถึงคุณลักษณะของกลุ่มชนที่รอดพ้นจากความพินาศและเข้านรกนั้น ท่านนบีได้ตอบว่า
«مَا أَنَا عَلَيْهِ وَأَصْحَابِي»
ความว่า “ผู้ที่อยู่บนแนวทางของฉันและบรรดาเศาะหาบะฮฺของฉัน”  

    ท่านหุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า “จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺเถิด โอ้บรรดานักอ่านทั้งหลาย และจงยึดเอาแนวทางจากผู้ที่มาก่อนหน้าพวกท่าน (หมายถึงเศาะหาบะฮฺ) ขอสาบานด้วยกับลมหายใจที่ฉันมีอยู่ หากพวกท่านได้เจริญรอยตามมันแล้วไซร้ แน่นอนว่าพวกท่านจะประสบความสำเร็จไปจนถึงที่สุด แต่หากพวกท่านผินหลังให้กับมันโดยเอนไปทางซ้ายและทางขวา (ไม่ได้อยู่ในแนวทางของเศาะหาบะฮฺ) แน่นอนว่าพวกท่านจะประสบความกับความหลงผิดไปจนถึงที่สุด”  
    ดังนั้น หลักฐานต่างๆ ก่อนหน้านี้จึงบ่งชี้ว่าการเจริญรอยตามทางนำของเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม นั้นคือทางนำไปสู่เส้นทางที่เที่ยงตรง และด้วยทางนำนี่เองที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
    และขอปิดท้ายด้วยคำกล่าวที่สวยงามยิ่ง ซึ่งท่านอิบนุกะษีร เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในการอธิบายคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿ وَقَالَ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ لِلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَوۡ كَانَ خَيۡرٗا مَّا سَبَقُونَآ إِلَيۡهِۚ ١١ ﴾ [الأحقاف: ١١]  
ความว่า “และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้กล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาว่า หากว่าอัลกุรอานนี้มีความดี พวกเขา (ผู้ศรัทธา) ก็จะไม่รุดหน้าไปยังอัลกุรอานก่อนเราเป็นแน่” (สูเราะฮฺอัล-อะหฺกอฟ : 11)

    ท่านอิบนุกะษีร เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้อธิบายว่า “สำหรับชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ นั้นพวกเขาจะกล่าวถึงทุกๆ การกระทำและคำพูดที่ไม่มีการยืนยันจากเศาะหาบะฮฺนั้นเป็นสิ่งที่อุตริกรรม (บิดอะฮฺ) เพราะหากมันเป็นสิ่งที่ดีจริงแล้ว พวกเขาจะรุดหน้าไปปฏิบัติมันก่อนหน้าเราอย่างแน่นอน เพราะพวกเขาจะไม่ปล่อยให้ความดีหนึ่งความดีใดมีขึ้น เว้นแต่พวกเขาจะรีบเร่งในการปฏิบัติมัน”  

    อนึ่ง เหล่านี้คือสิทธิทั้งสิบประการของเศาะหาบะฮฺที่ประชาชาติของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต้องมอบให้ และบทสรุปของความเชื่อมั่นของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺที่มีต่อพวกเขานั้น ถูกรวบรวมอยู่ในสองบทกลอนนี้
    จงมอบความรัก ความน่าเชื่อถือ และความประเสริฐในหมู่พวกเขา
    และจงกล่าวถึงในแง่ที่ดี และให้พวกเขาได้รับความพึงพอพระทัย และจงประกาศการเป็นปฏิปักษ์ต่อปฏิปักษ์ของพวกเขา
    และจงยืนยันว่าพวกเขาจะได้รับสวนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ไม่มีความยากลำบากใดๆ อีก
    ส่วนเรื่องราวความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างพวกเขา และเรื่องราวที่ได้ประนีประนอมกัน ก็จงยึดปฏิบัติตามด้วยการเลือกสรรให้ดี  

    ทั้งหมดนี้อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงรู้ดียิ่ง
และขอการสดุดีแห่งอัลลอฮฺ ความสันติสุขปลอดภัย และความจำเริญจงมีแด่บ่าวของพระองค์ ศาสนทูตของพระองค์ นบีของเรามุฮัมมัด และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺและบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามด้วยความดีงาม

 

 

 

บรรณานุกรม

    หนึ่ง อัลกุรอาน อัล-กะรีม
    สอง หนังสือของบรรดานักวิชาการ
1.    “อิคติศ็อร อุลูม อัล-หะดีษ ลิลหาฟิซ อิบนิ กะษีร มะอะชัรหิฮี อัล-บาอิษ อัล-หะษีษ” โดยอะหฺมัด ชากิร, ตรวจทานโดยนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง, พิมพ์โดยอัล-มักตับ อัล-อิสลามี, จัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการศาสนาแห่งประเทศกาตาร์ ปี ฮ.ศ. 1428 ตรงกับ ค.ศ. 2007
2.    “อัล-อุรญูซะฮฺ อัล-มุนับบิฮะฮฺ อะลา อัสมาอ์ อัล-กุรรออ์ วัร-รุวาตฺ วะอุศูล อัล-กิรออาตฺ วะอักดฺ อัด-ดิยานาต บิต-ตัจญฺวีด วัด-ดะลาลาต” โดยอบี อุมัร อัด-ดานี อัล-อันดะลุสี, ตรวจทานโดย มุฮัมมัด อัล-ญะซาอิรี, พิมพ์โดยดารุลมุฆนี พิมพ์ครั้งแรกปี ฮ.ศ. 1420 ตรงกับ ค.ศ. 1999
3.    “อิรชาด อัส-สาอิล อิลา ดะลาอิล อัล-มะสาอิล” โดยมุฮัมมัด บิน อลี อัช-เชากานี (พิมพ์ร่วมกับ “อัร-เราะสาอิล อัส-สะละฟียะฮฺ”), พิมพ์โดยดาร อัล-กุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ เมืองเบรุต, ปี ฮ.ศ. 1348
4.    “อัล-อิสตีอาบ ฟี มะอฺริฟะฮฺ อัล-อัศหาบ” โดยอิบนุ อิบดิลบัร, ตรวจทานโดยมุฮัมมัด อลี อัล-บิญาวี, พิมพ์โดยดาร อัล-ญัยลฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1412
5.    “อัล-อิศอบะฮฺ ฟี ตัมยีซ อัศ-เศาะหาบะฮฺ” โดยหาฟิซ อบี อัล-ฟัฎล์ อะหฺมัด บิน อลี บิน หะญัร อัล-อัสเกาะลานี, ตรวจทานโดย ดร.อับดุลลอฮฺ บิน อับดุลมุหฺสิน อัต-ตุรกี
6.    “อุศูล อัส-สุนนะฮฺ” โดยอิบนุ อบี ซะมะนัยนฺ มุฮัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-อันดะลุสี พิมพ์พร้อมกับ “ริยาฎ อัล-ญันนะฮฺ บิ ตัครีจญฺ อุศูล อัส-สุนนะฮฺ” โดยอับดุลลอฮฺ อัล-บุคอรี, พิมพ์โดยมักตับ อัล-ฆุเราะบาอ์ อัล-อะษะรี, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1415
7.    “อุศูล อัส-สุนนะฮฺ” โดยอิมามอะฮฺลุสสุนนะฮฺ อะหฺมัด บินหัมบัล (ริวายะฮฺอับดูส), อธิบายและตรวจทานโดย อัล-วะลีด บินมุฮัมมัด นะบีฮฺ บินสัยฟฺ อัน-นัศรฺ, พิมพ์โดยมักตะบะฮฺ อิบนุตัยมียะฮฺ อัล-กอฮิเราะฮฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ.1416 ตรงกับ ค.ศ. 1996
8.    “อิฆอษะฮฺ อัล-ลัฟฮาน ฟี มะศอยิด อัช-ชัยฏอน” โดยอิบนุก็อยยิม อัล-เญาซียะฮฺ, ตรวจทานโดย อลี อัล-หะละบี อัล-อะษะรี, พิมพ์โดยดารอิบนุ อัล-เญาซี
9.    “อัล-อิมามะฮฺ วัรร็อดดุ อะลา อัร-รอฟิเฎาะฮฺ” โดยอบีนุอัยม์ อัล-อัศบะฮานี, ตรวจทานโดยอลี อัล-ฟะกีฮี, พิมพ์โดยมักตะบะฮฺ อัล-อุลูม วัล-หิกัม, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1407
10.    “ตาจญฺ อัล-อะรูส มินญะวาฮิร อัล-กอมูส” โดยมุฮัมมัด มุรตะฎอ อัซ-ซุบัยดี ตรวจทานโดยอับดุลกะรีม อัล-ฆ็อรบาวี, พิมพ์โดยอัล-มัจญฺลิส อัล-วะเฏาะนี ลิษษะกอฟะฮฺ วัล-ฟุนูน วัล-อาดาบ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1421 ตรงกับ ค.ศ. 2000
11.    “ตารีค มะดีนะฮฺ ดิมัชกฺ” โดยอิบนุอะสากิร, ค้นคว้าและตรวจทานโดยอุมัร บินฆุรอม อัล-อะมัรวี, พิมพ์โดยดาร อัล-ฟิกรฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1418 ตรงกับ ค.ศ. 1997
12.    “อัต-ตะหฺรีร วัต-ตันวีร” โดยฏอฮิร บินอาชูร, พิมพ์โดยอัด-ดาร อัต-ตูนิสียะฮฺ ลิลนัชรฺ, ปี ค.ศ. 1984
13.    “ตัฟสีร อัลกุรอาน อัล-อะซีม” โดยหาฟิซ อบี อัล-ฟิดาอ์ อิสมาอีล บินกะษีร อัด-ดิมัชกี, ตรวจทานโดยมุศเฎาะฟา อัส-สัยยิด มุฮัมมัด มุฮัมมัด เราะชาด, มุฮัมมัด ฟัฎฺล์, อลี อะหฺมัด อับดุลบากี, หะสัน อับบาส กุฏุบ, พิมพ์โดยมุอัสสะสะฮฺ กุรฏุบะฮฺ ลิฏฏิบอฺ วัน-นัชรฺ วัต-เตาซีอฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1421 ตรงกับ ค.ศ. 2000
14.    “อัต-ตักรีบ วัต-ตัยสีร ลิมะอฺริฟะฮฺ สุนัน อัล-บะชีร อัน-นะซีร” โดยอิมามมุหฺยิดดีน บินชัรฟฺ อัน-นะวะวี, ตรวจทานและอธิบายสั้นๆ โดย มุฮัมมัด อุษมาน อัล-เคาะชัต, พิมพ์โดยดาร อัล-กิตาบ อัล-อะเราะบี เมืองเบรุต , พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1405 ตรงกับ ค.ศ. 1985
15.    “ญามิอฺ บะยาน อัล-อิลมฺ วะฟัฎฺลิฮี” โดยอบีอุมัร อิบนุอับดิลบัร, ตรวจทานโดยอบี อัล-อัชบาล อัซ-ซุฮัยรี, พิมพ์โดยดาร อิบนุอัช-เญาซี, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1414
16.    “อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฮีหฺ” โดยอบีอับดุลลอฮฺ มุฮัมมัด บินอิสมาอีล อัล-บุคอรี, อธิบายและตรวจทานโดยมุหิบบุดดีน อัล-เคาะฏีบ, พิมพ์โดยอัล-มัฏบะอะฮฺ อัส-สะละฟียะฮฺ วะมักตะบะตุฮา เมืองไคโร, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1403
17.    “อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฮีหฺ วะฮุวะ สุนัน อัต-ติรมิซี” โดยอบีอีซา มุฮัมมัด อิบนุอีซา บินสูเราะฮฺ, ตรวจทานโดย อิบรอฮีม อุฏูวะฮฺ อิวัฎ, พิมพ์โดยชะริกะฮฺ มักตะบะฮฺ วะมัฏบะอะฮฺ มุศเฏาะฟา อัล-หะละบี วะเอาลาดิฮี, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1382 ตรงกับ ค.ศ. 1962
18.    “ญามิอฺ อัล-อุศูล ฟีอะหาดีษ อัร-เราะสูล” โดยอิมามมุญิดดีน อบี อัส-สะอาดาต อัล-มุบาร็อก บินมุฮัมมัด อิบนุอัล-อะษีร อัล-เญาซี, ตรวจทานโดยอับดุลกอดิร อัล-อัรนะอูฏ, พิมพ์โดยมักตะบะฮฺ อัล-หิลวานี และมัฏบะอะฮฺ อัล-มุลาหฺ และมักตะบะฮฺ ดาร อัล-บะยาน, พิมพ์ปี ฮ.ศ. 1389
19.    “ญามิอฺ บะยาน อัล-อิลม วะฟัฎฺลิฮฺ” โดยอิบนุอับดิลบัร, ตรวจทานโดยอบูอับดุรเราะหฺมาน เฟาวาซ ซัมเราะลี, พิมพ์โดยดาร อิบนุหัซม์ เมืองเบรุต, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1424
20.    “อัล-ญะวาบ อัศ-เศาะฮีหฺ ลิมัน บัดดะละ ดีน อัล-มะสีหฺ” โดยชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ, ตรวจทานโดยสามท่าน, พิมพ์โดยดาร อัล-อาศิมะฮฺ, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1419
21.    “อัล-หุจญะฮฺ ฟีบะยาน อัล-มะหัจญะฮฺ วะชัรหฺ อะกีดะฮฺ อะฮฺลุสสุนนะฮฺ” โดยอบีอัล-กอสิม อิบนุมุฮัมมัด อัต-ตัยมี อัล-อัศบะฮานี, ตรวจทานโดย มุฮัมมัด บินมะหฺมูด อบูเราะฮีม, พิมพ์โดยดาร อัร-รอยะฮฺ
22.    “หิลยะฮฺ อัล-เอาลิยาอ์ วะเฏาะบะกอต อัล-อัศฟิยาอ์” โดยอบีนุอัยม์ อะหฺมัด อัล-อัศฟะฮานี, พิมพ์โดยดาร อัล-กุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ เมืองเบรุต, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1409
23.    “อัด-ดีน อัล-คอลิศ” โดยสัยยิดมุฮัมมัด ศิดดีก หะสัน อัล-เกาะนูญี อัล-บุคอรี, พิมพ์โดยดาร อัล-กุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ เมืองเบรุต พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1415 ตรงกับ ค.ศ. 1995
24.    “ดีวาน อิบนุมุชริฟ” โดยอะหฺมัด บินอลี บินหุสัยนฺ บินมุชริฟ อัล-วุฮัยบี อัต-ตะมีมี, พิมพ์โดยมักตะบะฮฺ อัล-ฟะลาหฺ  อัล-อะหฺสาอ์ อัล-ฮะฟูฟฺ, พิมพ์ครั้งที่สี่
25.    “อัซ-ซุบัด ฟี อัล-ฟิกฮฺ อัช-ชาฟิอี” โดยชัยคฺ อัล-อัลลามะฮฺ อะหฺมัด บิน รุสลาน อัช-ชาฟิอี, พิมพ์โดยอาลัม อัล-ฟิกรฺ เมืองไคโร, และสำนักพิมพ์ ดาร อัช-ชะอฺบ์ เมืองไคโร
26.    "อัส-สุนนะฮฺ" โดยอบีบักรฺ อะหฺมัด บิน อัล-ค็อลลาล, ตรวจทานโดย ดร.อะฏียะฮฺ อัซ-ซะฮฺรอนี, พิมพ์โดยดาร อัร-รอยะฮฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ.1410 ตรงกับ ค.ศ. 1989
27.    “สิลสิละฮฺ อัล-อะหาดีษ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ วะชัยอุน มินฟิกฮิฮา วะฟะวาอิดิฮา” โดยมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานี, พิมพ์โดยมักตะบะฮฺ อัล-มะอาริฟ ลิลนัชรฺ วัต-เตาซีอฺ เมืองริยาด
28.    “สิลสิละฮฺ อัล-อะหาดีษ อัฎ-เฎาะอีฟะฮฺ วัล-เมาฎูอะฮฺ วะอะษะรุฮา อัส-สัยยิอ์ ฟี อัล-อุมมะฮฺ” โดยมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานี, พิมพ์โดยมักตะบะฮฺ อัล-มะอาริฟ เมืองริยาด, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1408 ตรงกับ ค.ศ. 1988
29.    “สุนัน อิบนุมาญะฮฺ” โดยหาฟิซ อบีอับดุลลอฮฺ มุฮัมมัด บินยะซีด อิบนุมาญะฮฺ อัล-ก็อซวีนี, ตรวจทานโดย มุฮัมมัด ฟุอาด อับดุลบากี, พิมพ์โดยมัฏบะอะฮฺ ดาร อิหฺยาอ์ อัล-กุตุบ อัล-อะเราะบียะฮฺ
30.    “สุนันอบีดาวุด” โดยอิมาม อัล-หาฟิซ อบีดาวุด สุลัยมาน บินอัล-อัชอัษ อัส-สิญิสตานี อัล-อัซดี, พิมพ์โดยดาร อิบนุหัซม์ เมืองเบรุต, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1418 ตรงกับ ค.ศ. 1997
31.    “สิยัร อะอฺลาม อัน-นุบะลาอ์” โดยอิมามชัมสุดดีน มุฮัมมัด บินอะหฺมัด บินอุษมาน อัซ-ซะฮะบี, ตรวจทานโดยชุอัยบฺ อัล-อัรนะอูฎฺ, พิมพ์โดยมุอัสสะสะฮฺ อัร-ริสาละฮฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1401 ตรงกับ ค.ศ. 1981, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1402 ตรงกับ ค.ศ.1982
32.    “ชัรหฺ อัส-สุนนะฮฺ” โดยอิสมาอีล บินยะหฺยา อัล-มุซะนี, ตรวจทานโดยญะมาล อัซวาน, พิมพ์โดยมักตะบะฮฺ อัล-ฆุเราะบาอ์, พิมพ์ปี ฮ.ศ. 1415
33.    “ชัรหฺ อัส-สุนนะฮฺ” โดยอบีมุฮัมมัด อัล-หะสัน อัล-บัรบะฮารี, ตรวจทานโดยคอลิด อัร-เราะดาดี, พิมพ์โดยดาร อัส-สะลัฟ, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1418
34.    “ชัรหฺ อัล-อะกีดะฮฺ อัล-อัศฟะฮานียะฮฺ” โดยชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ พิมพ์โดยดาร อัล-กุตุบ อัล-หะดีษะฮฺ
35.    “ชัรหฺ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ” โดยอัลลามะฮฺ อิบนุอบี อัล-อิซ อัล-หะนะฟี, ตรวจทานโดย นักวิชาการกลุ่มหนึ่ง, พิมพ์โดยอัล-มักตับ อัล-อิสลามี, พิมพ์ครั้งที่แปด ฮ.ศ. 1404 ตรงกับ ค.ศ. 1984
36.    “ชัรหฺ อัล-อะกีดะฮฺ อัล-วาสิฏียะฮฺ” โดยชัยคฺมุฮัมมัด อัล-อุษัยมีน, ตรวจทานโดยสะอฺด์ อัศ-เศาะมีล, พิมพ์โดยดาร อิบนุ อัล-เญาวี, พิมพ์ครั้งที่สี่ ฮ.ศ. 1417
37.    “ชัรหฺ อัล-ฟิกฮฺ อัล-อักบัร” โดยมุลลา อลี อัล-กอรี, พิมพ์โดยดาร อัล-กุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1404
38.    “อัศ-ศอริม อัล-มัสลูล อะลา ชาติม อัร-เราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม” โดยชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ, ตรวจทานโดยมุฮัมมัด อัล-หิลวานี และมะหฺมูด เชาดิรี, พิมพ์โดยรุมาดี ลิลนัชรฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1417
39.    “เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีร วะซิยาดะฮฺ (อัล-ฟัตหุ อัล-กะบีร)” โดยมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานี, พิมพ์โดยอัล-มักตับ อัล-อิสลามี เมืองเบรุต, พิมพ์ครั้งที่สาม ฮ.ศ. 1408 ตรงกับ ค.ศ. 1988
40.    “เศาะฮีหฺ สุนัน อบีดาวุด” โดยมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานี, พิมพ์โดยดาร อัล-มะอาริฟ ลิลนัชรฺ วัต-เตาซีอฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1419 ตรงกับ ค.ศ. 1998
41.    “เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซี” โดยมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานี, พิมพ์โดยดาร อัล-มะอาริฟ ลิลนัชรฺ วัต-เตาซีอฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1420 ตรงกับ ค.ศ. 2000
42.    “เศาะฮีหฺมุสลิม” โดยอิมามอบี อัล-หะสัน มุสลิม บินอัล-หัจญาจญ์ อัล-กุชัยรี อัน-นัยสาบูรี, ตรวจทานโดยมุฮัมมัด ฟุอาด อับดุลบากี, พิมพ์โดยดาร อัล-หะดีษ เมืองไคโร, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1412 ตรงกับ ค.ศ. 1991
43.    “เฏาะรีก อัล-ฮิจญฺเราะตัยนฺ” โดยอิบนุลก็อยยิม, ตรวจทานโดยยูสุฟ บะดะวี, พิมพ์โดยดาร อิบนุกะษีร, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1419
44.    “อะกีดะฮฺ อัส-สะลัฟ วะอัศหาบ อัล-หะดีษ” โดยอบีอุษมาน อัศ-ศอบูนี, ตรวจทานโดยนาศิร อัล-ญุดัยอฺ, พิมพ์โดยดาร อัล-อาศิมะฮฺ, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1419
45.    “ฟัตหุ อัล-เกาะดีร อัล-ญามิอฺ บัยนะ ฟันนัย อัร-ริวายะฮฺ วัด-ดิรอยะฮฺ มินอิลมิ อัต-ตัฟสีร” โดยมุฮัมมัด บินอลี อัชเชากานี, พิมพ์โดยดาร อัล-มะอฺริฟะฮฺ เมืองเบรุต, พิมพ์ครั้งที่สี่ ฮ.ศ. 1428 ตรงกับ ค.ศ. 2007
46.    “เกาะศีดะฮฺ อบีมัรวาน อับดุลมะลิก บินอิดรีส อัล-ญะซาอิรี ฟี อัล-อาดาบ วัส-สุนนะฮฺ” ตรวจทานโดย ศ.ฮิลาล นาญี, พิมพ์โดยดาร อัล-มัฆริบ อัล-อิสลามี, พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1994
47.    “อัล-กุลลียาต” โดยอบีอัล-บะกออ์ อัล-กุฟูวี, ตรวจทานโดยอัดนาน ดัรวีช และมุฮัมมัด อัล-มิศรี, พิมพ์โดยมุอัสสะสะฮฺ อัร-ริสาละฮฺ, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1413
48.    “อัล-กิฟายะฮฺ ฟีอิลมิ อัร-ริวายะฮฺ” โดยอะหฺมัด บินอลี บินษาบิต อบูบักรฺ อัล-เคาะฏีบ อัล-บัฆดาดี, พิมพ์โดยดาร อัล-มะอาริฟ อัล-อุษมานียะฮฺ หัยดัร อาบาด อัด-ดิกนฺ, ปีที่พิมพ์ ฮ.ศ. 1357
49.    “ลิสาน อัล-อะร็อบ” โดยมุฮัมมัด บินมุกริม บินมันซูร อัล-อัฟรีกี อัล-มิศรี, พิมพ์โดยดา ศอดิร เมืองเบรุต, พิมพ์ครั้งแรก
50.    “ละวามิอฺ อัล-อันวาร อัล-บะฮียะฮฺ วะสะวาฏิอฺ อัล-อัสรอร อัล-อะษะรียะฮฺ ลิชัรหฺ อัด-ดุรเราะฮฺ อัล-มะฎียะฮฺ ฟีอักดฺ อะฮฺลิ อัล-ฟิรเกาะฮฺ อัล-มัรฎียะฮฺ” โดยมุฮัมมัด บินอะหฺมัด อัส-สะฟารีนี อัล-อะษะรี, พิมพ์โดยมุอัสสะสะฮฺ อัล-คอฟิกีน วะมักตะบะตุฮา, เมืองดิมัชกฺ, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1402 ตรงกับ ค.ศ. 1982
51.    “มัจญฺมูอฺ อัล-ฟะตาวา” โดยชัยคุลอิสลาม ตะกียุดดีน อะหฺมัด บินตัยมียะฮฺ อัล-หะรอนี, ตรวจทานโดยอามิร อัล-ญะซาร และอันวัร อัล-บาซ, พิมพ์โดยดาร อัล-วิฟาอ์ ลิฏฏิบาอะฮฺ วะลิลนัชรฺ วัต-เตาซีอฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1418, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1422, พิมพ์ครั้งที่สาม ฮ.ศ. 1426
52.    “มุสนัด อัล-อิมาม อะหฺมัด บินหัมบัล” ตรวจทานโดยชุอัยบฺ อัล-อัรนะอูฏ และอาดิล มุรชิด, พิมพ์โดยมุอัสสะสะฮฺ อัร-ริสาละฮฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1416 ตรงกับ ค.ศ. 1996
53.    “มะอาริจญฺ อัล-เกาะบูล บิชัรหฺ สุลลัม อัล-วุศูล” โดยชัยคฺหาฟิซ อัล-หะกะมี, พิมพ์โดย ญะมาอะฮฺ อิหฺยาอ์ อัต-ตุรอษ
54.    “อัล-มุอฺญัม อัล-เอาสัฏ” โดยหาฟิซ อบี อัล-กอสิม สุลัยมาน บิน อะหฺมัด อัฏ-เฏาะบะรอนี, ตรวจทานโดยฏอริก บิน อิวะฎิลลาฮฺ บิน มุฮัมมัด และอับดุลมุหฺสิน บิน อิบรอฮีม อัล-หุสัยนี, พิมพ์โดยดาร อัล-หะเราะมัยนฺ ลิฏฏิบาอะฮฺ วัน-นัชรฺ วัต-เตาซีอฺ, พิมพ์ปี ฮ.ศ. 1415 ตรงกับ ค.ศ. 1995
55.    “อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีร” โดยหาฟิซ อบีอัล-กอสิม อัฏ-เฏาะบะรอนี, ตรวจทานโดยหัมดี อับดุลมะญีด อัส-สะละฟี, พิมพ์โดยมักตะบะฮฺ อิบนุตัยมียะฮฺ เมืองไคโร, พิมพ์ครั้งที่สอง
56.    “อัล-มุฟฮิม ลิมา อุชกิละ มิน ตัลคีศ มุสลิม” โดยอบี อัล-อับบาส อะหฺมัด บิน อุมัร อัล-กุรฏุบี, ตรวจทานโดยมุหฺยิดดีน มัสตูและท่านอื่นๆ, พิมพ์โดยดาร อิบพพนุกะษีร, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1420
57.    “มะกอยีส อัล-ลุเฆาะฮฺ” โดยอิบนุฟาริส, ตรวจทานโดยชิฮาบุดดีน อบูอัมรฺ, พิมพ์โดยดาร อัล-ฟิกรฺ, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1415
58.    “มุก็อดดิมะฮฺ อัล-หะดีษ อัล-มะอฺรูฟะฮฺ บิ มุก็อดดิมะฮฺ อิบนุ อัศ-เศาะลาหฺ” โดยอิมามหาฟิซ อบีอัมรฺ อุษมาน บิน อับดุรเราะหฺมาน, พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ. 1350 ตรงกับ ค.ศ. 1931
59.    “อัล-มุนตะกอ มินชัรหฺ อุศูล อิอฺติกอด อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ” โดยอบี อัล-กอสิม ฮิบะตุลลอฮฺ บิน อัล-หะสัน อัฏ-เฏาะบะรี อัล-ลาละกาอี
60.    “อัล-มันซูมะฮฺ อัล-หาอิยะฮฺ ลิ อิบนิ อบี ดาวุด มะอะ ชัรหิฮา อัต-ตุหฺฟะฮฺ อัส-สะนียะฮฺ”, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1425
61.    “นุซุม อัล-เญาฮัร อัล-ฟะรีด ฟี ตะหฺกีก อัล-อะกีดะฮฺ” โดยหาฟิซ บินอะหฺมัด อัล-หะกะมี, พิมพ์โดยมะฏอบิอฺ อัล-บิลาด อัส-สะอูดียะฮฺ บิมักกะฮฺ อัช-ชามียะฮฺ, พิมพ์ปี ฮ.ศ. 1373
62.    “อัน-นิฮายะฮฺ ฟี เฆาะรีบ อัล-หะดีษ วัล-อะษัร” โดยอิมามมุญิดดีน อบี อัส-สะอาดาต อัล-มุบาร็อก บินมุฮัมมัด อัล-ญุซรี (อิบนุอัล-อะษีร), ตรวจทานโดยฏอฮิร อัซ-ซาวี และมะหฺมูด อัฏ-เฏาะนาญี, พิมพ์โดยดาร อิหฺยาอ์ อัต-ตุรอษ อัล-อะเราะบี เมืองเบรุต
63.    “นูนียะฮฺ อิบนิล ก็อยยิม มะอะ ชัรหิฮา เตาฎีหฺ อัล-มะกอศิด ลิอิบนิอีซา” พิมพ์โดยอัล-มักตับ อัล-อิสลามี, พิมพ์ครั้งที่สาม ฮ.ศ. 1406