การละหมาดญะมาอะฮฺ

 


การละหมาดญะมาอะฮฺ
﴿صلاة الجماعة﴾
]  ไทย – Thai – تايلاندي [

 


มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

 


แปลโดย : ดานียา เจะสนิ
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์


2010 - 1431
 

 


﴿صلاة الجماعة﴾
« باللغة التايلاندية »


الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

 


ترجمة: دانيال جيء سنيك
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي


2010 - 1431
 

 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

12. การละหมาดญะมาอะฮฺ

เคล็ดลับในการบัญญัติการละหมาดญะมาอะฮฺ
การละหมาดญะมาอะฮฺคือเอกลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่เอกลักษณ์หนึ่งในหลายๆ เอกลักษณ์ของอิสลาม ซึ่งเหมือนกับการตั้งแถวของบรรดามะลาอิกะฮฺในขณะทำอิบาดะฮฺ และเหมือนการตั้งแถวของบรรดาทหารเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้บังคับบัญชา เป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความรักใคร่ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เกิดความรู้จักซึ่งกันและกัน ความสงสาร ความเมตตาต่อกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความมีเกียรติ เกิดพลังและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพวกเขา

การชุมนุมที่ยิ่งใหญ่ของบรรดามุสลิม
อัลลอฮฺได้บัญญัติให้บรรดามุสลิมมีการชุมนุมกันในเวลาที่ชัดเจน
ส่วนหนึ่งก็คือการชุมนุมกันในแต่ละหนึ่งวันหนึ่งคืน เช่น การละหมาดห้าเวลา อีกส่วนหนึ่งก็คือการชุมนุมกันในรอบสัปดาห์ สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เช่นการละหมาดญุมุอะฮฺ  และยังมีการชุมนุมกันในรอบหนึ่งปีอีกสองครั้ง คือการละหมาดสองวันอีดในแต่ละเมือง และยังได้บัญญัติให้มีการชุมนุมกันในหนึ่งปีแค่หนึ่งครั้งสำหรับบรรดามุสลิมทั้งหมด เช่น การวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ หรือบางครั้งก็ได้บัญญัติให้มีการชุมนุมกันในกรณีที่มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ละหมาดสุริยคราสหรือจันทรคราส เป็นต้น

หุก่มการละหมาดญะมาอะฮฺ
วาญิบสำหรับชายมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว และมีความสามารถทุกคนละหมาดญะมาอะฮฺ ในการละหมาดห้าเวลาไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือเดินทาง อยู่ในภาวะปกติหรือภาวะตื่นตระหนก
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ)   [النساء/ 102].
ความว่า “และเมื่อเจ้าอยู่ในหมู่พวกเขา และเจ้าได้ให้มีการละหมาดขึ้นแก่พวกเขา ดังนั้น กลุ่มหนึ่งจากพวกเขาก็จงยืนละหมาดร่วมกับเจ้า และพวกเขาจงเอาอาวุธของพวกเขาถือไว้ด้วย  ครั้นเมื่อพวกเขาก้มลงกราบพวกเขาก็จงไปอยู่เบื้องหลังของพวกเจ้า และอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังมิได้ละหมาดก็จงมา และจงละหมาดร่วมกับเจ้า และพวกเขาจงระมัดระวังพร้อมอาวุธของพวกเขา” (อัน-นิสาอ์ : 102)   

2. มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ  เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، لَقَدْ هَمَمْتُ أَنْ آمُرَ بِحَطَبٍ فَيُحْطَبَ، ثُمَّ آمُرَ بِالصَّلَاةِ فَيُؤَذَّنَ لَهَا، ثُمَّ آمُرَ رَجُلًا فَيَؤُمَّ النَّاسَ، ثُمَّ أُخَالِفَ إِلَى رِجَالٍ فَأُحَرِّقَ عَلَيْهِمْ بُيُوتَهُمْ، وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ لَوْ يَعْلَمُ أَحَدُهُمْ أنَّهُ يَجِدُ عَظْمًا سَمِينًا أَوْ مِرْمَاتَيْنِ حَسَنَتَيْنِ لَشَهِدَ الْعِشَاءَ»
ความว่า “ขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตของข้าอยู่ในมือของพระองค์ว่า ความจริงฉันมีความตั้งใจที่จะใช้ผู้คนให้หาฟืนเพื่อเป็นเชื้อเพลิง แล้วใช้ให้กลุ่มหนึ่งละหมาดญะมาอะฮฺ โดยให้อะซานเพื่อละหมาด แล้วใช้ให้อีกคนเป็นอิมามนำผู้คนละหมาด หลังจากนั้นฉันก็จะพาคนกลุ่มหนึ่งออกไปหาคนบางกลุ่มที่ไม่ได้ร่วมละหมาดญะมาอะฮฺ แล้วฉันจะสั่งให้เผาบ้านพวกเขา ขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตของข้าอยู่ในมือพระองค์ว่า หากผู้ใดคนหนึ่งในหมู่ของพวกเขารู้ว่าจะได้รับกระดูกที่ติดเนื้อและมัน หรือสองชิ้นเนื้อที่อยู่ระหว่างสองกระดูกซี่โครงแล้ว แน่นอนเขาย่อมมาละหมาดอิชาอ์ร่วมกับญะมาอะฮฺ" (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ 644 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม เลขที่ 651)

3. มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า
أَتَى النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم رَجُلٌ أَعْمَى فَقَالَ يَا رَسُولَ ا٬ إِنَّهُ لَيْسَ لِي قَائِدٌ يَقُودُنِي إِلَى الْمَسْجِدِ، فَسَأَلَ رَسُولَ اللهَ أَنْ يُرَخِّصَ لَهُ فَيُصَلِّيَ فِي بَيْتِهِ فَرَخَّصَ لَهُ، فَلَمَّا وَلَّى دَعَاهُ فَقَالَ: «هَلْ تَسْمَعُ النِّدَاءَ بِالصَّلَاةِ» قَالَ: نَعَمْ، قَالَ: «فَأَجِبْ»
ความว่า “มีชายตาบอดคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แท้จริง ฉันไม่มีผู้ช่วยประคองฉันเวลาฉันจะไปไปมัสญิด หลังจากนั้น เขาจึงขอท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อนุโลมให้เขาละหมาดที่บ้าน แล้วท่านก็อนุโลมให้ แต่พอชายคนนั้นหันหลังไปเพื่อจะกลับบ้าน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็เรียกเขามาอีกครั้งแล้วถามว่า “ท่านได้ยินเสียงอะซานเรียกมาละหมาดหรือไม่?” ชายคนนั้นตอบว่า ใช่ ได้ยิน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้นท่านจำเป็นต้องตอบรับเสียงอะซาน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 653)

ความประเสริฐของการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิด
1. มีรายงานจากท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«صَلاةُ الجَـمَاعَةِ تَفْضُلُ صَلاةَ الفَذِّ بِسَبْعٍ وَعِشْرِينَ دَرَجَةً».
ความว่า “การละหมาดญะมาอะฮฺนั้นประเสริฐกว่าละหมาดคนเดียวถึง 27 เท่า”
และอีกสายรายหนึ่งกล่าวว่า
«بِـخَـمْسٍ وَعِشْرِينَ دَرَجَةً»
ความว่า “ประเสริฐกว่าละหมาดคนเดียวถึง 25 เท่า” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 645 และ 646ซึ่งสำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม เลขที่: 649 และ 650)

2. มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ تَطَهَّرَ فِي بَيْتِـهِ، ثُمَّ مَشَى إلَى بَيْتٍ مِنْ بُيُوتِ الله، لِيَـقْضِي فَرِيضَةً مِنْ فَرَائِضِ الله، كَانَتْ خَطْوَتَاهُ إحْدَاهُـمَا تَـحُطُّ خَطِيئَةً، وَالأُخْرَى تَرْفَعُ دَرَجَةً»
ความว่า “ผู้ใดก็ตามที่อาบน้ำละหมาดมาจากบ้านของเขา แล้วเดินไป ณ มัสญิดใดมัสญิดหนึ่งเพื่อทำการละหมาด ถือว่าในสองก้าวเดินของเขานั้น ก้าวหนึ่งเขาจะได้ลบบาป และอีกก้าวหนึ่งเขาจะได้ผลบุญ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 666)

2. มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ غَدَا إلَى المَسْجِدِ أَوْ رَاحَ، أَعَدَّ الله لَـهُ فِي الجَنَّةِ نُزُلاً كَلَّمَا غَدَا أَوْ رَاحَ»
ความว่า “ใครก็ตามที่ไปกลับมัสญิดทุกๆเช้าหรือบ่ายเพื่อละหมาดญะมาอะฮฺแล้ว อัลลอฮฺจะเตรียมที่อยู่หนึ่งให้แก่เขาในสวรรค์ในทุกๆเช้าหรือบ่าย” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 669 และมุสลิม เลขที่: 669ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

สถานที่ใดที่ใช้ให้ละหมาดญะมาอะฮฺ
สถานที่ที่ประเสริฐที่สุดสำหรับมุสลิมคนหนึ่งจะละหมาดฟัรฎูของเขานั้นคือมัสญิดในพื้นที่ที่เขาอาศัยอยู่  รองลงมาก็ให้ละหมาดในมัสญิดที่มีคนละหมาดญะมาอะฮฺมากกว่า  และรองลงมาอีกคือมัสญิดที่ห่างออกไป ความประเสริฐทั้งหมดนี้คือความประเสริฐนอกเหนือไปจากการละหมาดในมัสญิดหะรอม มัสญิดนบี และมัสญิดอัล-อักศอ เพราะว่าการละหมาดในมัสญิดเหล่านี้มีความประเสริฐมากที่สุดกว่าที่อื่นๆ
อนุญาตให้มีการละหมาดญะมาอะฮฺในมัสญิดที่มีการละหมาดพร้อมอิมามเสร็จสิ้นไปแล้วในเวลาละหมาดนั้นๆ
สุนัตให้ผู้ที่อยู่สนามรบร่วมละหมาดในมัสญิดเดียว แต่หากกลัวว่าเมื่อรวมกันแล้วศัตรูจะจู่โจมก็ให้ต่างคนต่างละหมาดในที่ที่ตัวเองอยู่

หุก่มการออกไปละหมาดที่มัสญิดสำหรับผู้หญิง
อนุญาตให้ผู้หญิงออกไปละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิดโดยแยกห่างจากกลุ่มผู้ชายและมีการปิดกั้นอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าอิมามละหมาดจะเป็นผู้หญิงด้วยกันเองหรือเป็นผู้ชาย ซึ่งการออกไปละหมาดของผู้หญิงนั้นออกในเวลากลางคืนนั้นดีกว่าออกกลางวัน
มีรายงานจากอิบนุ อุมัร จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«إذَا اسْتَأْذَنَكُمْ نِسَاؤُكُمْ بِاللَّيْلِ إلَى المَسْجِدِ فَأْذَنُوا لَـهُنَّ»
ความว่า “หากบรรดาสตรีของท่านขออนุญาตท่านเพื่อไปละหมาดที่มัสญิดในเวลากลางคืน  พวกท่านก็จงอนุญาตให้พวกหล่อนเหล่านั้น” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 865 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม เลขที่: 442)

จำนวนขั้นต่ำในการละหมาดญะมาอะฮฺ
การญะมาอะฮฺนั้นอย่างน้อยต้องมีสองคนขึ้นไป หากผู้ละหมาดยิ่งมากก็จะทำให้การละหมาดนั้นสมบูรณ์และเป็นที่รักของอัลลอฮฺมากขึ้น

หุก่มสำหรับผู้ละหมาดคนเดียวหลังจากนั้นพบว่ามีญะมาอะฮฺละหมาดอยู่
สำหรับผู้ที่ละหมาดที่บ้านแล้วคนเดียว เมื่อไปมัสญิดพบว่ามีการละหมาดญะมาอะฮฺอยู่ ให้เขาเข้าละหมาดพร้อมกับญะมาอะฮฺ ซึ่งจะถือเป็นการละหมาดสุนัตสำหรับเขา และสำหรับผู้ที่ละหมาดญะมาอะฮฺแล้วที่มัสญิดหนึ่ง หลังจากนั้นเขาไปยังอีกมัสญิดหนึ่งที่กำลังละหมาดญะมาอะฮฺอยู่ให้เขาเข้าไปละหมาดพร้อมญะมาอะฮฺเช่นกัน
เมื่อมีการอิกอมะฮฺเพื่อละหมาดฟัรฺฎูแล้ว ก็จะไม่อนุญาตให้ละหมาดชนิดอื่นนอกเหนือจากละหมาดฟัรฺฎูอีก และหากมีการอิกอมะฮฺในขณะที่เขากำลังละหมาดสนัตอยู่ให้เขาละหมาดสนัตสั้นๆ เพื่อให้ทันเข้าละหมาดญะมาอะฮฺในตักบีเราะตุลอิหฺรอมพร้อมอิมาม

หุก่มสำหรับผู้ที่ไม่ละหมาดญะมาอะฮฺพร้อมอิมามที่มัสญิด
สำหรับผู้ที่ไม่ละหมาดญะมาอะฮฺพร้อมอิมามที่มัสญิด หากเขามีเหตุสุดวิสัยเช่นป่วย กลัวอันตรายบางอย่างหรืออื่นๆ เขาจะได้รับผลบุญเหมือนกับผู้ที่ทันละหมาดทุกอย่าง แต่หากเขาไม่ละหมาดญะมาอะฮฺโดยไม่มีเหตุผลใดๆและละหมาดคนเดียว การละหมาดของเขาถือว่าใช้ได้ แต่ถือว่าเขาเป็นผู้ที่ขาดทุนในผลบุญและมีบาปอย่างใหญ่หลวง