เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

راشد بن حسين العبد الكريم

วันที่ :

Sun, Oct 23 2016

ประเภท :

Morals & Ethics

ความประเสริฐของการบริจาค 1


ความประเสริฐของการบริจาค 1
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 


ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

 

แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

 

2013 - 1435
 

 

فضل الصدقة 1
« باللغة التايلاندية »

 

 


د. راشد بن حسين العبد الكريم

 

ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر:  كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام  www.al-islam.com

 


2013 - 1435
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ความประเสริฐของการบริจาค (1)
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿لَا خَيْرَ فِي كَثِيرٍ مِنْ نَجْوَاهُمْ إِلَّا مَنْ أَمَرَ بِصَدَقَةٍ أَوْ مَعْرُوفٍ أَوْ إِصْلَاحٍ بَيْنَ النَّاسِ وَمَنْ يَفْعَلْ ذَلِكَ ابْتِغَاءَ مَرْضَاتِ اللَّهِ فَسَوْفَ نُؤْتِيهِ أَجْرًا عَظِيمًا﴾] سورة النساء:114[
“ไม่มีความดีใด ๆ ในส่วนมากของการซุบซิบคุยกันของพวกเขา เว้นแต่ผู้ที่กำชับใช้ให้บริจาค หรือให้ทำความดี หรือให้ประนีประนอมระหว่างผู้คน และผู้ใดกระทำเช่นนั้น มุ่งหวังความปราโมทย์ของอัลลอฮฺ ดังนั้น ในไม่ช้า เราจะประทานแก่เขาซึ่งรางวัลอันใหญ่หลวง” (ซูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ:114)

และพระองค์ตรัสอีกว่า
﴿وَمَا أَنْفَقْتُمْ مِنْ شَيْءٍ فَهُوَ يُخْلِفُهُ﴾  ]سورة سبأ:39[
“และอันใดที่สูเจ้าบริจาคจากสิ่งใดก็ดี พระองค์ก็ทรงทดแทนมัน และพระองค์ทรงเป็นเลิศแห่งผู้ประทานปัจจัยยังชีพ” (ซูเราะฮฺ สะบะอฺ:39)
และท่านอับดุลลอฮฺ บินอัช-ชิคคีร (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ)ได้กล่าวว่า
«أَتَيْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ يَقْرَأُ: ﴿أَلْهَاكُمُ التَّكَاثُرُ﴾، قَالَ: " يَقُولُ ابْنُ آدَمَ: مَالِي، مَالِي، قَالَ: وَهَلْ لَكَ، يَا ابْنَ آدَمَ مِنْ مَالِكَ إِلَّا مَا أَكَلْتَ فَأَفْنَيْتَ، أَوْ لَبِسْتَ فَأَبْلَيْتَ، أَوْ تَصَدَّقْتَ فَأَمْضَيْتَ» [أخرجه مسلم]
ฉันไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ขณะที่ท่านกำลังอ่าน(อายะฮฺ) “การแข่งขันสะสมทรัพย์ ได้ทำให้สูเจ้าหลงเพลิดเพลิน” ท่านกล่าวว่า “มนุษย์พากันกล่าวว่า ทรัพย์สินของฉัน ทรัพย์สินของฉัน” ท่านกล่าวว่า “มีทรัพย์สินใดเป็นของเจ้าหรือ? มนุษย์เอ๋ย เว้นแต่ที่เจ้ากินแล้วย่อยหมดไป หรือที่เจ้าสวมใส่แล้วเปื่อยขาดไป หรือที่เจ้าบริจาคแล้วท่านก็ให้มันผ่านไป(ยังโลกหน้า)”  บันทึกโดยมุสลิม

และท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ)ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)กล่าวว่า
«بَيْنَمَا رَجُل بِفَلاةٍ فَسَمِعَ صَوْتًا فِيْ سَحَابَةٍ: اسْقِ حَدِيْقَةَ فُلَان، فَتَنَحَّى ذلك السَحَابُ فَأَفْرَغَ مَاءَهُ فِي حُرّة، فَإِذا شرجة مِنْ تِلكَ الشراج (أي: مَسِيْلُ الماءِ) قَدْ اسْتَوْعَبَتْ ذلك الماء كُله، فَتَتَبّع الماء فَإذا رَجُلٌ قَائِمٌ في حَدِيْقَتِه يَحُولُ الماء بمسحاته فَقَالَ: يَا عَبْدَ اللهِ مَا اسمُك؟ قال: فُلَان لِلاسْمِ الذي سَمِعَ فِي السَحَابَةِ، فَقَال لَهُ: يَا عَبْدَ اللهِ لِمَ تَسْأَلْنِي عَنْ اسْمِي؟ فَقَال: إِني سَمِعْتُ صَوتًا فِي السَحَاب الذي هَذا مَاؤُه يَقول اسْقِ حَدِيْقَةَ فُلانٍ لِاسْمِكَ، فَمَا تَصْنَعُ فِيْهَا؟ قَال: أَما إِذْ قُلْت هَذا فَإِنّي أَنْظر إلى مَا يَخْرُجُ مِنْهَا فَأَتَصَدَّقَ بِثُلُثِهِ وَآكُلُ أَنا وَعِيالي ثُلُثَه وَأَرُدُّ فِيْهَا ثُلُثَه» [أخرجه مسلم]
“ระหว่างที่ชายคนหนึ่งอยู่ ณ ที่โล่งกว้างแห่งหนึ่ง เขาก็ได้ยินเสียงจากในเมฆก้อนหนึ่งว่า เจ้าจงไปให้น้ำแก่สวนของ..(ระบุชื่อไป) แล้วเมฆก้อนนั้นก็เคลื่อนที่ไป แล้วไปเติมน้ำยังแผ่นดินแห่งหนึ่ง มีทางน้ำไหลแห่งหนึ่งจากหลายๆทางน้ำไหล รับน้ำทั้งหมดนั้นไว้ แล้วเขาก็เดินน้ำสายนั้นไป แล้วพบว่ามีชายคนหนึ่งกำลังยืนอยู่ที่สวนของเขา กำลังทดน้ำโดยใช้พลั่วของเขาอยู่ และเขาจึงกล่าวถามว่า “นี่ผู้เป็นบ่าวของอัลลอฮฺ คุณชื่ออะไรหรือ?” เขาก็บอกชื่อไป เป็นชื่อที่เขาได้ยินจากในเมฆก้อนนั้น เขา(คนที่ถูกท่านชื่อแปลกใจ)จึงถามว่า “ผู้เป็นบ่าวของอัลลอฮฺเอ๋ย เหตุใดจึงถามชื่อฉัน?” เขาจึงกล่าวตอบว่า “แท้จริงฉันได้ยินเสียงหนึ่งจากในก้อนเมฆที่ นี่ คือน้ำของมัน บอกว่า “จงไปให้น้ำแก่สวนของคนๆนั้นเถิด” โดยชื่อเป็นชื่อของท่าน ท่านได้ทำการอันใดกระนั้นหรือ?” เขากล่าวตอบว่า “เอาล่ะ ในเมื่อท่านพูดมาเช่นนี้แล้ว แท้จริงฉันจะรอ(ผลผลิต)ที่จะออกจากมัน แล้วฉันจะนำไปบริจาคซึ่งหนึ่งในสามของมัน และฉันกับครอบครัวจะใช้กินอีกหนึ่งในสามของมัน และฉันจะปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นอีกหนึ่งในสามของมัน””  บันทึกโดยมุสลิม
อธิบาย
การบริจาคเป็นความดีงามทั้งหมด มันยังความจำเริญแก่ทรัพย์สิน และเป็นเหตุให้ได้รับริสกีปัจจัยยังชีพ และสิ่งใดที่คนเราบริจาคไปนั้นคือทรัพย์สินที่แท้จริงของเขา เพราะเขาจะพบมันในวันกิยามะฮฺ เป็นสิ่งที่เขาต้องการมันมากที่สุดแล้ว
ประโยชน์ที่ได้รับ
•    ความประเสริฐของการบริจาค
•    การบริจาคเป็นเหตุให้ทรัพย์สินเพิ่มพูน และให้ความจำเริญลงมา
•    สิ่งที่มุสลิมบริจาคไปคือทรัพย์สินของเขาที่จะคงอยู่ตลอดไป