เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

أمين بن عبد الله الشقاوي

วันที่ :

Sat, Sep 03 2016

ประเภท :

Morals & Ethics

อันตรายของการทำชั่วอย่างเปิดเผย

อันตรายของการทำชั่วอย่างเปิดเผย
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 

ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 


แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
มุลกอฮฺ

 

 

2015 - 1436
 
خطورة المجاهرة بالمعصية
« باللغة التايلاندية »

 

 

د. أمين بن عبدالله الشقاوي

 


ترجمة: حسنى  فوانجسيري
مراجعة: عصران  نيومديشا  
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

 

 


2015 - 1436
 
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

อันตรายของการทำชั่วอย่างเปิดเผย
มวล การสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
โทษ ของการฝ่าฝืนและการทำชั่วนั้นรุนแรงและน่ากลัวทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสถึงโทษภัยของพฤติกรรมดังกล่าวว่า
﴿ فَكُلًّا أَخَذۡنَا بِذَنۢبِهِۦۖ فَمِنۡهُم مَّنۡ أَرۡسَلۡنَا عَلَيۡهِ حَاصِبٗا وَمِنۡهُم مَّنۡ أَخَذَتۡهُ ٱلصَّيۡحَةُ وَمِنۡهُم مَّنۡ خَسَفۡنَا بِهِ ٱلۡأَرۡضَ وَمِنۡهُم مَّنۡ أَغۡرَقۡنَاۚ وَمَا كَانَ ٱللَّهُ لِيَظۡلِمَهُمۡ وَلَٰكِن كَانُوٓاْ أَنفُسَهُمۡ يَظۡلِمُونَ ٤٠ ﴾ [العنكبوت: ٤٠]  
“และแต่ละคนเราได้ลงโทษด้วยความผิดของเขา เช่น บางคนในหมู่พวกเขาเราได้ส่งลมพายุร้ายทำลายเขา และบางคนในหมู่พวกเขา เราได้ลงโทษเขาด้วยเสียงกัมปนาท และบางคนในหมู่พวกเขา เราได้ให้แผ่นดินสูบเขา และบางคนในหมู่พวกเขา เราได้ให้เขาจมน้ำตาย และอัลลอฮฺมิได้ทรงอธรรมแก่พวกเขา แต่พวกเขาต่างหากที่อธรรมต่อพวกเขาเอง” (อัลอันกะบูต: 40)
และบาปความชั่วที่เลวร้ายที่สุด ก็คือการทำชั่วอย่างเปิดเผย ซึ่งหมายถึงการที่คนคนหนึ่งประพฤติชั่วต่อหน้าสาธารณชน หรืออาจกระทำในที่ลับซึ่งอัลลอฮฺได้ทรงช่วยปกปิดการกระทำของเขาไว้ แต่ทว่าเขาเองกลับบอกเล่าการกระทำต่าง ๆ ของเขาให้ผู้อื่นได้รับรู้ จึงถือเป็นการเพิกเฉยไม่เห็นค่าการปกปิดของพระองค์ อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ ۞لَّا يُحِبُّ ٱللَّهُ ٱلۡجَهۡرَ بِٱلسُّوٓءِ مِنَ ٱلۡقَوۡلِ إِلَّا مَن ظُلِمَۚ وَكَانَ ٱللَّهُ سَمِيعًا عَلِيمًا ١٤٨ ﴾ [النساء : ١٤٨]  
“อัล ลอฮฺไม่ทรงชอบการใช้เสียงดังในถ้อยคำที่เลวร้าย นอกจากผู้ที่ถูกข่มเหง และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้เสมอ”(อันนิสาอ์: 148)
 หมาย ความว่า พระองค์ไม่ทรงพอพระทัยผู้ที่เปิดเผยสิ่งไม่ดี เว้นเสียแต่ว่าเขาจะถูกอธรรม ก็ถือเป็นข้อยกเว้นที่เขาจะบอกเล่าเรื่องดังกล่าวได้ (ตัฟสีรฺอัลกุรฏุบีย์ เล่ม 7 หน้า 199)
สาลิม บิน อับดุลลอฮฺ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« كُلُّ أُمَّتِي مُعَافًى إِلَّا الْمُجَاهِرِينَ، وَإِنَّ مِنْ الْمُجَاهَرَةِ أَنْ يَعْمَلَ الرَّجُلُ بِاللَّيْلِ عَمَلًا ثُمَّ يُصْبِحَ وَقَدْ سَتَرَهُ اللَّهُ عَلَيْهِ فَيَقُولَ يَا فُلَانُ: عَمِلْتُ الْبَارِحَةَ كَذَا وَكَذَا، وَقَدْ بَاتَ يَسْتُرُهُ رَبُّهُ، وَيُصْبِحُ يَكْشِفُ سِتْرَ اللَّهِ عَنْهُ » [رواه البخاري برقم 6069 ومسلم برقم 2990]  
“ประชาชาติของฉันทั้งหมดล้วนเป็นผู้ได้รับการอภัย นอกจากบรรดาผู้ที่กระทำความผิดอย่างเปิดเผย และส่วนหนึ่งจากการกระทำความผิดอย่างเปิดเผยคือ การที่คนคนหนึ่งได้ประพฤติสิ่งที่ไม่ดีในยามค่ำคืน เมื่อถึงยามเช้าอัลลอฮฺได้ทรงปกปิดการกระทำของเขา แต่เขากลับป่าวประกาศว่า ‘นี่รู้ไหม ว่าเมื่อวานฉันได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้’ ทั้งนี้ เขาได้นอนหลับไปเมื่อคืนวานโดยที่พระผู้อภิบาลของเขาได้ทรงช่วยปกปิด พฤติกรรมของเขา แต่ในเช้าอีกวันหนึ่ง กลับกลายเป็นเขาเสียเองที่เปิดเผยสิ่งที่พระองค์ทรงปกปิดไว้” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 6069 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2990)
อิบนุ หะญัร กล่าวว่า “อัลมุญาฮิร (المُجَاهِر) คือผู้ที่กระทำชั่วแบบโจ่งแจ้ง และเปิดเผยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงช่วยปกปิดไว้ ซึ่งอัลมุญาฮิรในหะดีษข้างต้นนั้น หมายถึงผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนโดยเปิดเผย หรืออาจหมายถึงผู้ที่พูดคุยโอ้อวดกันเรื่องบาปความผิด แต่ถ้าดูตัวบทหะดีษส่วนที่เหลือ จะพบว่าความหมายแรกน่าจะใกล้เคียงมากกว่า” (ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 10 หน้า 487)
จากที่กล่าวมาข้างต้น อาจแบ่งบุคคลจำพวกนี้ได้เป็นสามประเภทคือ
หนึ่ง ผู้ที่กระทำบาปอย่างเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน ทั้งนี้ ผู้ที่กระทำบาปต่อหน้าสาธารณชนนั้นได้ทำความผิดสองส่วนคือ การทำบาปอย่างเปิดเผย และการประพฤติตัวเยี่ยงพวกคนชั่วไร้ศีลธรรม อันเป็นการกระทำที่น่าตำหนิในมุมมองของศาสนา และในสายตาคนทั่วไป
สอง ผู้ที่บอกเล่าให้ผู้อื่นรู้ถึงบาปความผิดที่ตนได้กระทำไปด้วยความโอหังคึก คะนอง ทั้งที่อัลลอฮฺได้ทรงช่วยปกปิดให้เขาแล้ว คนประเภทนี้ไม่มีทางที่จะได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ เช่นกลุ่มวัยรุ่นที่เดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเมื่อพวกเขาได้ทำสิ่งที่เป็นบาป ไม่ว่าจะเป็นการผิดประเวณีหรือดื่มสุราแล้ว พวกเขาบอกเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง เสมือนเป็นเรื่องที่น่าโอ้อวด
สาม บรรดาคนไม่ดีที่พูดคุยเล่าสู่กันฟังในเรื่องความชั่วและการฝ่าฝืน (ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 10 หน้า 487)
อิบ นุ ตัยมิยะฮฺ  เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ผู้ที่กระทำชั่วโดยเปิดเผยนั้น จำเป็นที่เราจะต้องห้ามปรามและต่อต้านเขาอย่างเปิดเผยเช่นกัน และการพูดถึงคนประเภทนี้ลับหลังก็ไม่ถือเป็นการนินทาอีกต่อไป ทั้งนี้ สมควรที่เขาจะต้องถูกลงโทษต่อหน้าสาธารณชน เพื่อให้เข็ดหลาบและเลิกพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นเสีย บรรดาคนดีมีคุณธรรมก็ควรจะคว่ำบาตรเขาด้วยการไม่ร่วมฝังศพเขาเมื่อเขาตาย หากว่าวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้คนอื่น ๆ ที่มีพฤติกรรมเช่นเดียวกับเขาได้สำนึก” (ฆิซาอุล อัลบาบ เล่ม 1 หน้า 260-261)
อันนะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ผู้ใดกระทำชั่วหรือบิดอะฮฺอย่างเปิดเผย ก็อนุญาตให้กล่าวถึงสิ่งที่เขากระทำอย่างเปิดเผยนั้นได้ แต่ไม่อนุญาตให้กล่าวถึงสิ่งที่เขากระทำอย่างลับ ๆ” (ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 10 หน้า 487)
อิบนุหะญัร เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ผู้ที่ตั้งใจเปิดเผยความชั่วของตนเองนั้น อัลลอฮฺจะทรงโกรธเคือง และจะไม่ทรงช่วยเขาปกปิด แต่หากผู้ใดตั้งใจปกปิดความชั่ว เพราะละอายใจต่ออัลลอฮฺ และอับอายต่อผู้คน พระองค์ก็จะทรงช่วยปกปิดความชั่วของเขา” (ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 10 หน้า 488)
อิบ นุ บัฎฎอล เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “การเปิดเผยความชั่วของตนเองนั้น เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการไม่ให้ความสำคัญกับหน้าที่อันพึงมีต่ออัลลอฮฺ เราะสูล และต่อบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย และยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความดื้อด้านไม่ยอมรับบทบัญญัติศาสนา แต่ถ้าปกปิดความชั่วไว้ก็จะไม่เข้าข่ายผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าว” (ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 10 หน้า 487)
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้บอกอีกว่า ผู้ที่กระทำชั่วอย่างเปิดเผยนั้น จะถูกลงโทษในดุนยาก่อนอาคิเราะฮฺเสียอีก อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม กล่าวว่า
« يَا مَعْشَرَ الْمُهَاجِرِينَ خَمْسٌ إِذَا ابْتُلِيتُمْ بِهِنَّ، وَأَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ تُدْرِكُوهُنَّ: لَمْ تَظْهَرِ الْفَاحِشَةُ فِي قَوْمٍ قَطُّ حَتَّى يُعْلِنُوا بِهَا إِلَّا فَشَا فِيهِمُ الطَّاعُونُ وَالْأَوْجَاعُ الَّتِي لَمْ تَكُنْ مَضَتْ فِي أَسْلَافِهِمُ الَّذِينَ مَضَوْا وَلَمْ يَنْقُصُوا الْمِكْيَالَ وَالْمِيزَانَ إِلَّا أُخِذُوا بِالسِّنِينَ وَشِدَّةِ الْمَؤُونَةِ، وَجَوْرِ السُّلْطَانِ عَلَيْهِمْ، وَلَمْ يَمْنَعُوا زَكَاةَ أَمْوَالِهِمْ إِلَّا مُنِعُوا الْقَطْرَ مِنَ السَّمَاءِ وَلَوْلَا الْبَهَائِمُ لَمْ يُمْطَرُوا، وَلَمْ يَنْقُضُوا عَهْدَ اللَّهِ وَعَهْدَ رَسُولِهِ إِلَّا سَلَّطَ اللَّهُ عَلَيْهِمْ عَدُوًّا مِنْ غَيْرِهِمْ فَأَخَذُوا بَعْضَ مَا فِي أَيْدِيهِمْ، وَمَا لَمْ تَحْكُمْ أَئِمَّتُهُمْ بِكِتَابِ اللَّهِ وَيَتَخَيَّرُوا مِمَّا أَنْزَلَ اللَّهُ إِلَّا جَعَلَ اللَّهُ بَأْسَهُمْ بَيْنَهُمْ » [رواه ابن ماجه برقم  4019]  
“โอ้บรรดามุฮาญิรีนเอ๋ย หากบาปความผิดและการฝ่าฝืนห้าประการนี้เกิดขึ้นในหมู่พวกท่าน มันจะนำมาซึ่งบททดสอบ และการลงโทษ และฉันก็ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พวกท่านรอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้: เมื่อมีการผิดประเวณีและสัมพันธ์ต้องห้ามอย่างแพร่หลายในกลุ่มชนใด พวกเขาจะต้องเผชิญกับการระบาดของกาฬโรคและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต และหากกลุ่มชนใดโกงการชั่งตวง พวกเขาก็จะประสบกับความแห้งแล้ง แร้นแค้น และความอธรรมของผู้ปกครอง และหากกลุ่มชนใดปฏิเสธการจ่ายทานซะกาต ฝนฟ้าก็จะหยุดตก และถ้ามิใช่เพราะสัตว์ต่าง ๆ ต้องการฝน พวกเขาเหล่านั้นจะไม่ได้รับความโปรดปรานดังกล่าวนี้อีกต่อไป และหากกลุ่มชนใดผิดคำพูดและสัญญาที่ให้ไว้กับอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ บรรดาศัตรูจากภายนอกก็จะเข้ามายึดครองบ้านเมือง และตักตวงผลประโยชน์ของพวกเขา และหากกลุ่มชนใดมีผู้นำที่ไม่ปกครองและตัดสินตามบทบัญญัติของอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงทำให้เกิดความวุ่นวายขัดแย้งในหมู่พวกเขา" (บันทึกโดย อิบนุมาญะฮฺ หะดีษเลขที่ 4019)
ในหะดีษอีกบทหนึ่ง อิมรอน บิน หุศ็อยนฺ ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« فِي هَذِهِ الأُمَّةِ خَسفٌ وَمَسخٌ وَقَذفٌ » فقال رجل من المسلمين: يا رسول اللَّه! متى ذاك؟ قال: « إِذَا ظَهَرَتِ القَينَاتُ، وَالمَعَازِفُ، وَشُرِبَتِ الخُمُورُ » [رواه الترمذي برقم 2212]  
“ในประชาชาตินี้จะ เกิดธรณีสูบ การถูกทำให้กลายร่าง และถูกหินถล่ม” มีชายคนหนึ่งถามท่านว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ มันจะเกิดขึ้นเมื่อใดหรือ?” ท่านนบีตอบว่า “เมื่อมีการระบาดของนักร้องหญิง ดนตรี และการดื่มสุรา” (บันทึกโดย อัตติรฺมิซีย์ หะดีษเลขที่ 2212)
ตัวอย่างของการกระทำผิดแบบเปิดเผยใน สมัยนี้ก็เช่น การเผยแพร่การกระทำดังกล่าวผ่านทางช่องดาวเทียมต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้น่าจะมีติดตั้งกันอยู่แทบทุกบ้าน
การกระจายตัวอย่างรวดเร็วของ ธนาคารดอกเบี้ยในประเทศมุสลิม และยังเชิญชวนโฆษณากันอย่างเปิดเผยตามหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ว่าการกู้ยืมและเข้าร่วมธุรกิจดอกเบี้ยดังกล่าวนั้น สามารถกระทำได้อย่างง่ายดาย
การแต่งกายของบรรดาสตรีที่ผิดหลักการ ขณะออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่มีคนพลุกพล่าน
การทำธุรกิจค้าขายสิ่งที่หะรอม เช่น ขายนิตยสารโป๊เปลือย บุหรี่ แผ่นซีดีเพลง และภาพยนตร์ลามกต่าง ๆ
การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของโรงภาพยนตร์ รวมไปถึงฟิตเนสที่มีการปะปนกันของบุรุษสตรี โรงละคร และร้านอินเทอร์เน็ต
การปรากฏตัวของนักร้องนักแสดงหญิงตามช่องโทรทัศน์ต่าง ๆ ในลักษณะที่ยั่วยวน และสร้างความเสื่อมเสียทางศีลธรรม
ฉะนั้น จึงจำเป็นที่เราจะต้องต่อต้านและห้ามปรามผู้คนเหล่านั้น ที่กำลังกระทำบาปความผิดอย่างเปิดเผยโจ่งแจ้ง และตักเตือนพวกเขาให้ตระหนักถึงความผิดที่พวกเขากระทำ และบทลงโทษอันรุนแรงสาหัสที่พวกเขาจะได้รับทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ يُحِبُّونَ أَن تَشِيعَ ٱلۡفَٰحِشَةُ فِي ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَهُمۡ عَذَابٌ أَلِيمٞ فِي ٱلدُّنۡيَا وَٱلۡأٓخِرَةِۚ ١٩ ﴾ [النور : ١٩]  
“แท้จริงบรรดาผู้ชอบที่จะให้เรื่อง บัดสีแพร่หลายไปในหมู่ผู้ศรัทธานั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บปวดทั้งในโลกนี้และโลกหน้า” (อันนูร:19)
จาก อายะฮฺนี้จะเห็นว่า แค่เพียงการชอบที่จะเห็นผู้อื่นกระทำผิดยังต้องได้รับโทษอันเจ็บปวดขนาดนี้ แล้วผู้ที่กระทำชั่วแบบเปิดเผย และคอยช่วยเหลือสนับสนุนการกระทำบาปดังกล่าวเสียเองเล่าจะต้องรับโทษหนัก เพียงใด? ดังนั้น มุสลิมทุกคนควรที่จะระวัง เมื่อพลาดกระทำบาปไปแล้วก็ขอให้ปกปิดเอาไว้ และรีบเตาบะฮฺกลับตัวโดยเร็วที่สุด
    
والحمد لله رب العالمين،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.