เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

Fuaad Zaidan

วันที่ :

Sat, Sep 03 2016

ประเภท :

About Quran & Hadith

เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-อันฟาล


เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-อันฟาล
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 


ฟุอาด ซัยดาน

 

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม  อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อะฮฺดาฟ กุลลิ สูเราะฮฺ มิน อัลกุรอาน


2012 - 1433
 


 

أهداف سورة الأنفال
« باللغة التايلاندية »

 

 

فؤاد زيدان

 


ترجمة: محمد صبري  يعقوب
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب أهداف كل سورة من القرآن

 

2012 - 1433
 

 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-อันฟาล

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอการสดุดีแห่งอัลลอฮฺและความสันติสุขปลอดภัยจงมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

    เป้าหมายของสูเราะฮฺ
    กฎเกณฑ์แห่งชัยชนะ ต้องมีทั้งด้าน ร็อบบานียะฮฺ(เงื่อนไขด้านการศรัทธาเชื่อมั่น) และด้าน มาดดียะฮฺ (เงื่อนไขทางด้านวัตถุปัจจัย)
    สูเราะฮฺอัล-อันฟาล เป็นสูเราะฮฺมะดะนียะฮฺ ซึ่งถูกประทานลงมาหลังจากเกิดสงครามบะดัรฺ โดยถือเป็นสงครามแรกในประวัติศาสตร์อิสลามอันรุ่งโรจน์ และถือเป็นชัยชนะแรกของกองทัพแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ได้ชื่อว่า อัร-เราะหฺมาน กระทั่งเศาะหาบะฮฺบางท่านได้ตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ว่า “สูเราะฮฺบะดัร” และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ในอัลกุรอานว่า “อัลฟุรกอน” เนื่องจากสูเราะฮฺนี้มีการกล่าวถึงเหตุการณ์นี้อย่างยืดยาว และยังมีการนำเสนอแบบแผนของการทำสงครามอย่างละเอียด พร้อมทั้งยังมีการชี้แจงถึงความจำเป็นที่มุสลิมต้องเป็นวีรบุรุษ และมีจุดยืนต่อความเท็จด้วยความกล้าหาญชาญชัยและยืนหยัดอย่างมั่นคง
    ในเหตุการณ์ครั้งนั้นกองกำลังทหารของฝ่ายมุสลิมมีเพียง 313 คนท่านั้น ในทางกลับกันกองกำลังของฝ่ายมุชริกีนมีจำนวนทั้งสิ้น 1,000 คน อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากองกำลังทหารของมุสลิมมีอยู่จำนวนที่น้อยนิดแต่พวกเขาก็ได้รับชัยชนะด้วยกับความช่วยเหลือของอัลลอฮฺและการตระเตรียมแผนเพื่อการทำสงครามมาอย่างดีกับพวกมุชริกีนซึ่งมีจำนวนที่มากกว่า และสงครามครั้งนั้นก็ถือเป็นสงครามครั้งแรกที่มีการเผชิญหน้าระหว่างสัจธรรมและความเท็จในประวัติศาสตร์อิสลาม
    ในสูเราะฮฺที่มีเนื้อหาอย่างยืดยาว(อัล-บะเกาะเราะฮฺ ถึง อัล-อัอฺรอฟ)ก่อนหน้าที่จะถึงสูเราะฮฺ อัล-อันฟาล นั้น อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้นำเสนอแก่เราถึงวิถีปฏิบัติ(มันฮัจญ์) รวมถึงแนวทางการสร้างความมั่นคงในการให้เอกภาพ(เตาฮีด)แด่อัลลอฮฺอย่างบริสุทธิ์ใจนั้นต้องเป็นเช่นไร พร้อมกับการให้ดำรงซึ่งความยุติธรรมและประกาศจุดยืนให้ชัดเจน(ต่อความชั่วร้ายที่มีอยู่) หลังจากนั้นสูเราะฮฺ อัล-อันฟาลก็ได้มาเพื่อเป็นการอธิบายแก่เราว่า การที่จะทำให้วิถีปฏิบัติ(มันฮัจญ์)นั้นประสบความสำเร็จจำเป็นที่ต้องครบเงื่อนไขของมัน ซึ่งความสำเร็จย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยกับความบังเอิญหรือเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย ทว่ามันต้องอาศัยเงื่อนไขต่างๆ ด้วย โดยที่สูเราะฮฺอัล-อันฟาลนี้ได้กล่าวถึงเงื่อนไขแห่งชัยชนะในสงครามบะดัรฺซึ่งมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน และถือเป็นเงื่อนไขทั่วไปสำหรับทุกๆ สงครามหรือการต่อสู้ระหว่างสัจธรรมกับความเท็จ
    หนึ่ง คือ ร็อบบานียะฮฺ เป็นเงื่อนไขทางด้านศรัทธา (ชัยชนะมาจากอัลลอฮฺ)
    สอง คือ มาดดียะฮฺ เป็นเงื่อนไขทางด้านวัตถุ (การตระเตรียมความพร้อมเพื่อการทำสงคราม ด้วยการตระเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ และการสร้างขวัญกำลังใจแก่กองกำลังทหาร)
    สูเราะฮฺนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน ซึ่งแต่ละส่วนนั้นก็จะมีเนื้อหาของเงื่อนไขข้างต้นนี้ โดยที่เนื้อหาของสูเราะฮฺนี้จะแยกส่วนของเงื่อนไขข้างต้นไว้อย่างสมดุล คือ การอธิบายว่า ชัยชนะนั้นมาจากอัลลอฮฺ ซึ่งเมื่อมีการเน้นในสูเราะฮฺอัล-อันอามถึงการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺด้วยความบริสุทธิ์ใจและยืนยันว่าทุกๆ กิจการงานนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะทำให้ได้ชัยชนะมาด้วยความช่วยเหลือจากพระองค์ อย่างไรก็ตาม ก็ถือว่ามีความจำเป็นที่ต้องมีการวางแผนและตระเตรียมความพร้อมด้วยเช่นกัน
﴿ ذَٰلِكَ بِأَنَّ ٱللَّهَ لَمۡ يَكُ مُغَيِّرٗا نِّعۡمَةً أَنۡعَمَهَا عَلَىٰ قَوۡمٍ حَتَّىٰ يُغَيِّرُواْ مَا بِأَنفُسِهِمۡ وَأَنَّ ٱللَّهَ سَمِيعٌ عَلِيمٞ ٥٣﴾ [الأنفال: ٥٣]  
ความว่า “นั่นก็เพราะว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงเป็นผู้เปลี่ยนแปลงความกรุณาใดๆ ที่พระองค์ทรงประทานมันแก่กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใด จนกว่าพวกเขาจะได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ในตัวของพวกเขาเอง และแท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (สูเราะฮฺอัล-อันฟาล : 53)
หมายความว่า ให้มีการทุ่มเทพละกำลังและให้มีการมอบหมายต่ออัลลอฮฺจนกว่าพระองค์จะทรงช่วยเหลือเราให้ได้รับชัยชนะ

การตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ว่า “อัล-อันฟาล”
เนื่องจากมีคำว่า “อัล-อันฟาล” ได้ปรากฏในเนื้อหาของสูเราะฮฺนี้ ซึ่งมีความหมายว่า “ทรัพย์เชลยที่ยึดได้จากการทำศึกสงคราม” โดยในเหตุการณ์ครั้งนั้นหลังจากที่บรรดามุสลิมได้รับชัยชนะเหนือบรรดาศัตรู พวกเขามีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันในเรื่องการจัดสรรทรัพย์เชลยที่ได้ยึดมา ซึ่งอัลลอฮฺ ตะอาลา มีความประสงค์ที่จะเตือนสำทับพวกเขาถึงทรัพย์เชลยนั้นว่าเป็นเรื่องของโลกดุนยา และการขัดแย้งในเรื่องนี้นั้นก็ถือเป็นการขัดแย้งในเรื่องของโลกดุนยา และอัลลอฮฺ ตะอาลา ต้องการปลูกฝังเงื่อนไขแห่งชัยชนะในหัวใจของมุสลิมทุกคนโดยให้หลีกห่างจากโลกดุนยาและความเพริดแพร้วของมัน กล่าวคือทรัพย์เชลยเหล่านั้นถือเป็นเรื่องปลีกย่อย แต่เรื่องที่สำคัญกว่านั้นคือ ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ด้วยเหตุนี้เองเนื้อหาของสูเราะฮฺนี้จึงได้เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามถึง “อัล-อันฟาล” หรือทรัพย์เชลยที่ยึดได้มาจากการทำสงคราม  
﴿ يَسۡ‍َٔلُونَكَ عَنِ ٱلۡأَنفَالِۖ قُلِ ٱلۡأَنفَالُ لِلَّهِ وَٱلرَّسُولِۖ فَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَأَصۡلِحُواْ ذَاتَ بَيۡنِكُمۡۖ وَأَطِيعُواْ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥٓ إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِينَ ١﴾ [الأنفال: ١]  
ความว่า “พวกเขาถามเจ้าเกี่ยวกับบรรดาทรัพย์สินเชลย จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า บรรดาทรัพย์สินเชลยนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺและของเราะสูล ดังนั้นพวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างพวกท่าน และจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและเราะสูลลของพระองค์เถิด หากพวกท่านเป็นผู้ศรัทธา” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 1)

ซึ่งไม่มีการให้คำตอบของคำถามนี้ ณ ตรงนั้นเลย แต่ได้ปรากฏคำตอบในอายะฮฺที่ 41 ว่า
﴿ ۞وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّمَا غَنِمۡتُم مِّن شَيۡءٖ فَأَنَّ لِلَّهِ خُمُسَهُۥ وَلِلرَّسُولِ وَلِذِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينِ وَٱبۡنِ ٱلسَّبِيلِ إِن كُنتُمۡ ءَامَنتُم بِٱللَّهِ وَمَآ أَنزَلۡنَا عَلَىٰ عَبۡدِنَا يَوۡمَ ٱلۡفُرۡقَانِ يَوۡمَ ٱلۡتَقَى ٱلۡجَمۡعَانِۗ وَٱللَّهُ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٌ ٤١ ﴾ [الأنفال: ٤١]  
ความว่า “และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงสิ่งใดที่พวกเจ้าได้มาจากการทำศึกนั้น แน่นอนหนึ่งในห้าของมันเป็นของอัลลอฮฺและเป็นของเราะสูล และเป็นของญาติที่ใกล้ชิด และบรรดาเด็กกำพร้า และบรรดาผู้ขัดสน และผู้เดินทาง หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและสิ่งที่เราได้ให้ลงมาแก่บ่าวของเราในวันแห่งการจำแนกระหว่างการศรัทธาและการปฏิเสธ คือวันที่สองฝ่ายเผชิญกัน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 41 )
การดังกล่าวนี้ย่อมมีหิกมะฮฺ(วิทยปัญญา)จากอัลลอฮฺ ตะอาลาซ่อนเร้นอยู่อย่างแน่แท้
เพราะฉะนั้นจึงหมายรวมว่า สูเราะฮฺอัล-อันฟาล มีการกล่าวถึงเงื่อนไขแห่งชัยชนะ ซึ่งผลกระทบหลักที่มีผลต่อชัยชนะนั้นคือโลกดุนยา ทรัพย์เชลยนั้นคือสิ่งที่เป็นของโลกดุนยา ประหนึ่งว่าทรัพย์เชลยนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้พลาดจากการได้รับชัยชนะ
ในเนื้อหาของสูเราะฮฺนี้ ยังมีการกล่าวตักเตือนบรรดามุสลิมให้หลีกเลี่ยงจากความแตกแยกออกเป็นพรรคเป็นพวกเนื่องจากโลกดุนยา และยังให้ข้อแนะนำแก่พวกเขาถึงความเป็นหนึ่งเดียวและความพี่น้อง รวมทั้งการวางแผนการทำสงครามและการกลับไปหาอัลลอฮฺเพื่อให้บรรลุถึงชัยชนะ

เนื้อหาส่วนที่หนึ่งของสูเราะฮฺนี้ : ร็อบบานียะฮฺ ปัจจัยด้านการพึ่งพิงอัลลอฮฺ  
ไม่มีชัยชนะ นอกจากที่มาจากอัลลอฮฺเท่านั้น (ซึ่งมีการกล่าวถึงในเรื่องนี้ในอายะฮฺส่วนต้นๆ ของสูเราะฮฺ) เป็นการตอกย้ำว่าอัลลอฮฺ ตะอาลา เท่านั้นที่จะให้ชัยชนะแก่พวกเขา จึงจำเป็นสำหรับเราที่ต้องมีความเชื่อมั่นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา มอบหมายต่อพระองค์ เพราะพระองค์เท่านั้นที่จะให้ชัยชนะได้บังเกิดขึ้นมา หลักฐานในเรื่องนี้มีดังนี้

- การจัดวางสมรภูมิรบมาจากอัลลอฮฺ
﴿ كَمَآ أَخۡرَجَكَ رَبُّكَ مِنۢ بَيۡتِكَ بِٱلۡحَقِّ وَإِنَّ فَرِيقٗا مِّنَ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ لَكَٰرِهُونَ ٥ يُجَٰدِلُونَكَ فِي ٱلۡحَقِّ بَعۡدَ مَا تَبَيَّنَ كَأَنَّمَا يُسَاقُونَ إِلَى ٱلۡمَوۡتِ وَهُمۡ يَنظُرُونَ ٦ وَإِذۡ يَعِدُكُمُ ٱللَّهُ إِحۡدَى ٱلطَّآئِفَتَيۡنِ أَنَّهَا لَكُمۡ وَتَوَدُّونَ أَنَّ غَيۡرَ ذَاتِ ٱلشَّوۡكَةِ تَكُونُ لَكُمۡ وَيُرِيدُ ٱللَّهُ أَن يُحِقَّ ٱلۡحَقَّ بِكَلِمَٰتِهِۦ وَيَقۡطَعَ دَابِرَ ٱلۡكَٰفِرِينَ ٧ لِيُحِقَّ ٱلۡحَقَّ وَيُبۡطِلَ ٱلۡبَٰطِلَ وَلَوۡ كَرِهَ ٱلۡمُجۡرِمُونَ ٨ ﴾ [الأنفال: ٥،  ٨]  
ความว่า “เช่นเดียวกับการที่พระเจ้าของเจ้าให้เจ้าออกไปจากบ้านของเจ้า เนื่องด้วยความจริง และแท้จริงกลุ่มหนึ่งจากบรรดาผู้ศรัทธานั้นรังเกียจ พวกเขาโต้เถียงกับเจ้าในความจริง หลังจากที่มันได้ประจักษ์ขึ้น ประหนึ่งว่าพวกเขาถูกต้อนไปสู่ความตายโดยที่พวกเขากำลังมองดูกันอยู่ และจงรำลึกขณะที่อัลลอฮฺได้ทรงสัญญาไว้แก่พวกเจ้า ซึ่งหนึ่งในสองกลุ่มว่า มันเป็นของพวกเจ้า และพวกเจ้าชอบที่จะให้กลุ่มที่ไม่มีกำลังอาวุธนั้นเป็นของพวกเจ้า แต่อัลลอฮฺทรงต้องการให้ความจริงประจักษ์เป็นจริงขึ้นด้วยพจนารถของพระองค์ และพระองค์ทรงตัดขาดซึ่งคนสุดท้ายของผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย(ทรงทำลายพวกเขาจนหมดสิ้น) เพื่อพระองค์จะทรงให้สิ่งที่เป็นจริงได้ประจักษ์เป็นความจริง และให้สิ่งเท็จ ได้ประจักษ์เป็นสิ่งเท็จ และแม้ว่าบรรดาผู้กระทำความผิดจะไม่พอใจก็ตาม” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 5-8)

- การตระเตรียมจิตใจเพื่อเข้าสู่สมรภูมิรบ
﴿ إِذۡ يُغَشِّيكُمُ ٱلنُّعَاسَ أَمَنَةٗ مِّنۡهُ وَيُنَزِّلُ عَلَيۡكُم مِّنَ ٱلسَّمَآءِ مَآءٗ لِّيُطَهِّرَكُم بِهِۦ وَيُذۡهِبَ عَنكُمۡ رِجۡزَ ٱلشَّيۡطَٰنِ وَلِيَرۡبِطَ عَلَىٰ قُلُوبِكُمۡ وَيُثَبِّتَ بِهِ ٱلۡأَقۡدَامَ ١١ ﴾ [الأنفال: ١١]  
ความว่า “จงรำลึกขณะที่พระองค์ทรงให้มีการงีบหลับครอบงำพวกเจ้า ด้วยความปลอดภัยจากพระองค์ และทรงให้น้ำลงมาแก่พวกเจ้าจากฟากฟ้าเพื่อทรงชำระพวกเจ้าด้วยน้ำนั้น และทรงให้หมดไปจากพวกเจ้าด้วยความโสมมของชัยฏอน และเพื่อที่จะทรงผูกหัวใจของพวกเจ้า และทรงให้เท้าทั้งหลายได้มั่นคง” (สูเราะฮฺอัล-อันฟาล : 11)

﴿۞وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّمَا غَنِمۡتُم مِّن شَيۡءٖ فَأَنَّ لِلَّهِ خُمُسَهُۥ وَلِلرَّسُولِ وَلِذِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينِ وَٱبۡنِ ٱلسَّبِيلِ إِن كُنتُمۡ ءَامَنتُم بِٱللَّهِ وَمَآ أَنزَلۡنَا عَلَىٰ عَبۡدِنَا يَوۡمَ ٱلۡفُرۡقَانِ يَوۡمَ ٱلۡتَقَى ٱلۡجَمۡعَانِۗ وَٱللَّهُ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٌ ٤١ ﴾ [الأنفال: ٤١]  
ความว่า “และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงสิ่งใดที่พวกเจ้าได้มาจากการทำศึกนั้น แน่นอนหนึ่งในห้าของมันเป็นของอัลลอฮฺ และเป็นของเราะสูล และเป็นของญาติที่ใกล้ชิด และบรรดาเด็กกำพร้า และบรรดาผู้ขัดสน และผู้เดินทาง หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและสิ่งที่เราได้ให้ลงมาแก่บ่าวของเราในวันแห่งการจำแนกระหว่างการศรัทธ และการปฏิเสธ คือวันที่สองฝ่ายเผชิญกัน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 41 )

﴿وَإِذۡ يُرِيكُمُوهُمۡ إِذِ ٱلۡتَقَيۡتُمۡ فِيٓ أَعۡيُنِكُمۡ قَلِيلٗا وَيُقَلِّلُكُمۡ فِيٓ أَعۡيُنِهِمۡ لِيَقۡضِيَ ٱللَّهُ أَمۡرٗا كَانَ مَفۡعُولٗاۗ وَإِلَى ٱللَّهِ تُرۡجَعُ ٱلۡأُمُورُ ٤٤ ﴾ [الأنفال: ٤٤]  
ความว่า “และจงรำลึกขณะที่พระองค์ทรงให้พวกเจ้าเห็นพวกเขามีจำนวนน้อยในสายตาของพวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าได้เผชิญหน้ากัน และทรงให้พวกเจ้ามีจำนวนน้อยในสายตาของพวกเขาเพื่อที่อัลลอฮฺจะได้ทรงให้งานหนึ่งเสร็จสิ้นไป ซึ่งงานนั้นได้ถูกกำหนดไว้แล้วว่าจะเกิดขึ้น และยังอัลลอฮฺนั้นกิจการทั้งหลายจะถูกนำกลับไป” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 44)

- การลงมาของบรรดามลาอิกะฮฺ
﴿ إِذۡ تَسۡتَغِيثُونَ رَبَّكُمۡ فَٱسۡتَجَابَ لَكُمۡ أَنِّي مُمِدُّكُم بِأَلۡفٖ مِّنَ ٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ مُرۡدِفِينَ ٩ ﴾ [الأنفال: ٩]  
ความว่า “จงรำลึกขณะที่พวกเจ้าขอความช่วยเหลือยามคับขันต่อพระเจ้าของพวกเจ้า แล้วพระองค์ก็ได้ทรงรับสนองแก่พวกเจ้าว่า แท้จริงข้าจะช่วยพวกเจ้าด้วยมลาอิกะฮฺหนึ่งพันตน โดยทยอยกันลงมา” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 9)

﴿ إِذۡ يُوحِي رَبُّكَ إِلَى ٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ أَنِّي مَعَكُمۡ فَثَبِّتُواْ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْۚ سَأُلۡقِي فِي قُلُوبِ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ ٱلرُّعۡبَ فَٱضۡرِبُواْ فَوۡقَ ٱلۡأَعۡنَاقِ وَٱضۡرِبُواْ مِنۡهُمۡ كُلَّ بَنَانٖ ١٢ ﴾ [الأنفال: ١٢]  
ความว่า “จงรำลึกขณะที่พระเจ้าของพวกเจ้าประทานโองการแก่มลาอิกะฮฺว่า แท้จริงข้านั้นร่วมอยู่กับพวกเจ้าด้วย ดังนั้นพวกเจ้าจงทำให้บรรดาผู้ศรัทธามั่นคงเถิด ข้าจะโยนความกลัวเข้าไปในหัวใจของบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธา แล้วพวกเจ้าจงฟันลงบนก้านคอ และจงฟันทุกๆ ส่วนปลายของนิ้วมือจากพวกเขา” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 12)

- การนัดหมายและสถานที่ตั้งของสมรภูมิรบและการวางแผนการรบมาจากอัลลอฮฺ
﴿إِذۡ أَنتُم بِٱلۡعُدۡوَةِ ٱلدُّنۡيَا وَهُم بِٱلۡعُدۡوَةِ ٱلۡقُصۡوَىٰ وَٱلرَّكۡبُ أَسۡفَلَ مِنكُمۡۚ وَلَوۡ تَوَاعَدتُّمۡ لَٱخۡتَلَفۡتُمۡ فِي ٱلۡمِيعَٰدِ وَلَٰكِن لِّيَقۡضِيَ ٱللَّهُ أَمۡرٗا كَانَ مَفۡعُولٗا لِّيَهۡلِكَ مَنۡ هَلَكَ عَنۢ بَيِّنَةٖ وَيَحۡيَىٰ مَنۡ حَيَّ عَنۢ بَيِّنَةٖۗ وَإِنَّ ٱللَّهَ لَسَمِيعٌ عَلِيمٌ ٤٢﴾ [الأنفال: ٤٢]  
ความว่า “จงรำลึกขณะที่พวกเจ้าอยู่ในด้านหุบเขาที่ใกล้กว่า และพวกเขาอยู่ด้านหุบเขาที่ไกลกว่า และกองคาราวานนั้นอยู่ต่ำกว่าพวกเจ้า และถ้าหากพวกเจ้าต่างได้สัญญากัน แน่นอนพวกเจ้าก็ย่อมขัดแย้งกันแล้วในสัญญานั้น แต่ทว่าเพื่อที่อัลลอฮฺจะได้ทรงให้งานหนึ่งเสร็จสิ้นไป ซึ่งงานนั้นได้ถูกกำหนดไว้แล้วว่าจะเกิดขึ้น เพื่อว่าผู้พินาศจะได้พินาศลงโดยหลักฐานอันชัดแจ้ง และผู้มีชีวิตอยู่จะได้มีชีวิตอยู่โดยหลักฐานอันชัดแจ้ง และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 42)

ในครั้งที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ประทานฝนลงมาที่ทำให้พื้นดินในฝั่งของบรรดามุสลิมได้เหยียบย่ำนั้นมีความแข็งตัวเพื่อช่วยพวกเขาในการก้าวเดินได้สะดวก และทำให้พื้นดินในฝั่งของพวกกุร็อยชฺเป็นพื้นแฉะ ซึ่งทำให้พวกเขามีความยากลำบากในการก้าวเดินในสมรภูมิรบ และนี่เองเป็นการบริหารจัดการของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลา

- ผลของสมรภูมิรบ
﴿وَمَا جَعَلَهُ ٱللَّهُ إِلَّا بُشۡرَىٰ وَلِتَطۡمَئِنَّ بِهِۦ قُلُوبُكُمۡۚ وَمَا ٱلنَّصۡرُ إِلَّا مِنۡ عِندِ ٱللَّهِۚ إِنَّ ٱللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٌ ١٠﴾ [الأنفال: ١٠]  
ความว่า “และอัลลอฮฺนั้นมิได้ทรงให้มันมีขึ้นมา นอกจากว่าเพื่อให้เป็นข่าวดี และเพื่อว่าหัวใจของพวกเจ้าจะได้สงบขึ้นด้วยสิ่งนั้น และไม่มีการช่วยเหลือใดๆ นอกจากว่ามันมาจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 10)

﴿فَلَمۡ تَقۡتُلُوهُمۡ وَلَٰكِنَّ ٱللَّهَ قَتَلَهُمۡۚ وَمَا رَمَيۡتَ إِذۡ رَمَيۡتَ وَلَٰكِنَّ ٱللَّهَ رَمَىٰ وَلِيُبۡلِيَ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ مِنۡهُ بَلَآءً حَسَنًاۚ إِنَّ ٱللَّهَ سَمِيعٌ عَلِيمٞ ١٧﴾ [الأنفال: ١٧]  
ความว่า “พวกเจ้ามิได้ประหัตประหารพวกเขา แต่ทว่าอัลลอฮฺต่างหากที่ทรงประหารพวกเขา และเจ้ามิได้ขว้างลูกดอกขณะที่เจ้าขว้าง แต่ทว่าอัลลอฮฺต่างหากที่ทรงขว้าง และเพื่อว่าพระองค์จะทรงทดสอบบรรดาผู้ศรัทธาอย่างดีงามจากพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงได้ยินทรงรอบรู้” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 17)

ในทุกอายะฮฺข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า อัลลอฮฺ ตะอาลา เป็นผู้ที่ให้ชัยชนะได้เกิดขึ้นในสงครามบะดัรฺในครั้งนั้น

เนื้อหาส่วนที่สองของสูเราะฮฺนี้ : มาดดียะฮฺ ปัจจัยทางด้านวัตถุ  
ซึ่งมีเนื้อหาในส่วนท้ายๆ ของสูเราะฮฺ โดยมีการกล่าวถึงเงื่อนไขทางด้านวัตถุที่มีผลต่อชัยชนะ

- ความสำคัญของการวางแผนยุทธศาสตร์การรบ
﴿وَأَعِدُّواْ لَهُم مَّا ٱسۡتَطَعۡتُم مِّن قُوَّةٖ وَمِن رِّبَاطِ ٱلۡخَيۡلِ تُرۡهِبُونَ بِهِۦ عَدُوَّ ٱللَّهِ وَعَدُوَّكُمۡ وَءَاخَرِينَ مِن دُونِهِمۡ لَا تَعۡلَمُونَهُمُ ٱللَّهُ يَعۡلَمُهُمۡۚ وَمَا تُنفِقُواْ مِن شَيۡءٖ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ يُوَفَّ إِلَيۡكُمۡ وَأَنتُمۡ لَا تُظۡلَمُونَ ٦٠﴾ [الأنفال: ٦٠]  
ความว่า “และพวกเจ้าจงเตรียมไว้สำหรับ(ป้องกัน)พวกเขาด้วยสิ่งที่พวกเจ้าสามารถจะเตรียมได้ อันได้แก่กำลังอย่างหนึ่งอย่างใด และการผูกม้าไว้ โดยที่พวกเจ้าทำให้ศัตรูของอัลลอฮฺและศัตรูของพวกเจ้าหวั่นเกรงด้วยสิ่งนั้น และพวกอื่นๆ นอกเหนือจากพวกเขาด้วย ซึ่งพวกเจ้ายังไม่รู้จักพวกเขา อัลลอฮฺทรงรู้จักพวกเขาดี และสิ่งที่พวกเจ้าบริจาคในทางของอัลลอฮฺนั้นไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตาม สิ่งนั้นจะถูกตอบแทนแก่เจ้าโดยครบถ้วนโดยที่พวกเจ้าจะไม่ถูกอธรรม” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 60)

- ตัวชี้วัดของความแข็งแกร่ง
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّبِيُّ حَرِّضِ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ عَلَى ٱلۡقِتَالِۚ إِن يَكُن مِّنكُمۡ عِشۡرُونَ صَٰبِرُونَ يَغۡلِبُواْ مِاْئَتَيۡنِۚ وَإِن يَكُن مِّنكُم مِّاْئَةٞ يَغۡلِبُوٓاْ أَلۡفٗا مِّنَ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ بِأَنَّهُمۡ قَوۡمٞ لَّا يَفۡقَهُونَ ٦٥ ٱلۡـَٰٔنَ خَفَّفَ ٱللَّهُ عَنكُمۡ وَعَلِمَ أَنَّ فِيكُمۡ ضَعۡفٗاۚ فَإِن يَكُن مِّنكُم مِّاْئَةٞ صَابِرَةٞ يَغۡلِبُواْ مِاْئَتَيۡنِۚ وَإِن يَكُن مِّنكُمۡ أَلۡفٞ يَغۡلِبُوٓاْ أَلۡفَيۡنِ بِإِذۡنِ ٱللَّهِۗ وَٱللَّهُ مَعَ ٱلصَّٰبِرِينَ ٦٦ ﴾ [الأنفال: ٦٥-٦٦]  
ความว่า “โอ้ นบี! จงปลุกใจผู้ศรัทธาทั้งหลายในการสู้รบเถิด หากปรากฏว่าในหมู่พวกเจ้ามียี่สิบคนที่อดทน ก็จะชนะสองร้อยคน และหากปรากฏว่าในหมู่พวกเจ้ามีร้อยคนก็จะชนะพันคนในหมู่ผู้ที่ปฏิเสธศรัทธา เพราะพวกเขาเป็นพวกที่ไม่เข้าใจ บัดนี้ อัลลอฮฺได้ทรงผ่อนผันแก่พวกเจ้าแล้ว และทรงรู้ว่า แท้จริงในหมู่พวกเจ้านั้นมีความอ่อนแอ ดังนั้นหากในหมู่พวกเจ้ามีร้อยคนที่อดทนก็จะชนะสองร้อยคน และหากในหมู่พวกเจ้ามีหนึ่งพันคนก็จะชนะสองพันคน ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่ร่วมกับผู้อดทนทั้งหลาย” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 65-66)

ปัจจัยต่างๆ ทางด้านวัตถุนั้นถือมีความสำคัญไม่แพ้กัน แม้กระทั่งในครั้งที่บรรดากุฟฟารฺได้พ่ายแพ้ ก็เป็นผลมาจากเงื่อนไขทางด้านวัตถุ เพราะพวกเขาไม่เข้าใจถึงยุทธศาสตร์การรบดีพอ และพวกเขาก็ไม่รู้จักศัตรูของพวกเขาว่าเป็นอย่างไร

- ความเป็นพี่น้อง
﴿وَأَطِيعُواْ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ وَلَا تَنَٰزَعُواْ فَتَفۡشَلُواْ وَتَذۡهَبَ رِيحُكُمۡۖ وَٱصۡبِرُوٓاْۚ إِنَّ ٱللَّهَ مَعَ ٱلصَّٰبِرِينَ ٤٦﴾ [الأنفال: ٤٦]  
ความว่า “และจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์เถิด และจงอย่าขัดแย้งกัน เพราะจะทำให้พวกเจ้าย่อท้อและทำให้ความเข้มแข็งของพวกเจ้าหมดไป และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่กับผู้ที่อดทนทั้งหลาย” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 46)

﴿وَأَلَّفَ بَيۡنَ قُلُوبِهِمۡۚ لَوۡ أَنفَقۡتَ مَا فِي ٱلۡأَرۡضِ جَمِيعٗا مَّآ أَلَّفۡتَ بَيۡنَ قُلُوبِهِمۡ وَلَٰكِنَّ ٱللَّهَ أَلَّفَ بَيۡنَهُمۡۚ إِنَّهُۥ عَزِيزٌ حَكِيمٞ ٦٣ يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّبِيُّ حَسۡبُكَ ٱللَّهُ وَمَنِ ٱتَّبَعَكَ مِنَ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ ٦٤﴾ [الأنفال: ٦٣-٦٤]  
ความว่า “และพระองค์ได้ทรงทำให้สนิทสนมระหว่างหัวใจของพวกเขา หากแม้นว่าเจ้าได้จ่ายสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินทั้งหมดเจ้าก็ไม่สามารถให้สนิทสนมระหว่างหัวใจของพวกเขาได้ แต่ทว่าอัลลอฮฺนั้นได้ทรงให้สนิทสนมระหว่างพวกเขา และแท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ โอ้ นบีเอ๋ย! อัลลอฮฺนั้นเป็นที่พอเพียงแก่เจ้าแล้ว รวมถึงผู้ที่ปฏิบัติตามเจ้าในหมู่ผู้ศรัทธาทั้งหลายด้วย” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 63-64)

ในประเด็นของความเป็นพี่น้องนั้น ถือเป็นเงื่อนไขทางด้านวัตถุปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อชัยชนะ  สำหรับผู้ศรัทธาแม้ว่าพวกเขาจะมีความแตกต่างในด้านเชื้อชาติแต่พวกเขาก็ยังคงเป็นประชาชาติเดียวกัน และสิ่งที่เป็นข้อสังเกตสำหรับความเกี่ยวพันระหว่างสูเราะฮฺนี้กับสูเราะฮฺอาลิ อิมรอนนั้นคือ “การสร้างความเป็นพี่น้อง”
﴿وَٱعۡتَصِمُواْ بِحَبۡلِ ٱللَّهِ جَمِيعٗا وَلَا تَفَرَّقُواْۚ وَٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتَ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ إِذۡ كُنتُمۡ أَعۡدَآءٗ فَأَلَّفَ بَيۡنَ قُلُوبِكُمۡ فَأَصۡبَحۡتُم بِنِعۡمَتِهِۦٓ إِخۡوَٰنٗا وَكُنتُمۡ عَلَىٰ شَفَا حُفۡرَةٖ مِّنَ ٱلنَّارِ فَأَنقَذَكُم مِّنۡهَاۗ كَذَٰلِكَ يُبَيِّنُ ٱللَّهُ لَكُمۡ ءَايَٰتِهِۦ لَعَلَّكُمۡ تَهۡتَدُونَ ١٠٣﴾ [آل عمران: ١٠٣]  
ความว่า “และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน และจงรำลึกถึงความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีแต่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วยความเมตตาของพระองค์ และพวกเจ้าเคยอยู่บนปากหลุมแห่งไฟนรก แล้วพระองค์ก็ทรงช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากปากหลุมแห่งนรกนั้น ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮฺจะทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าซึ่งบรรดาโองการของพระองค์เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับแนวทางอันถูกต้อง” (สูเราะฮฺ อาลิ อิมรอน : 103 )

    และ
﴿وَلَا تَكُونُواْ كَٱلَّذِينَ تَفَرَّقُواْ وَٱخۡتَلَفُواْ مِنۢ بَعۡدِ مَا جَآءَهُمُ ٱلۡبَيِّنَٰتُۚ وَأُوْلَٰٓئِكَ لَهُمۡ عَذَابٌ عَظِيمٞ ١٠٥﴾ [آل عمران: ١٠٥]  
ความว่า “และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผู้ที่แตกแยกกัน และขัดแย้งกันหลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้ว และชนเหล่านี้แหละ สำหรับพวกเขาคือการลงโทษอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺ อาลิอิมรอน : 105)

ซึ่งมีเนื้อหาที่กล่าวถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดการยืนหยัดอย่างมั่นคง ดังที่เป็นเป้าหมายของสูเราะฮฺอาลอิมรอน และอายะฮฺที่ 46 ของสูเราะฮฺอัล-อันฟาล ก็เป็นหนึ่งในเงื่อนไขแห่งชัยชนะในรูปของปัจจัยทางวัตถุ
ในเนื้อหาของสูเราะฮฺอัล-อันฟาล ยังมีการนำเสนอถึงคุณลักษณะของบรรดาผู้ศรัทธาได้อย่างดียิ่ง ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการเริ่มต้นอายะฮฺของสูเราะฮฺนี้ด้วยกับการพรรณนาถึงคุณลักษณะของบรรดาผู้ศรัทธา
﴿إِنَّمَا ٱلۡمُؤۡمِنُونَ ٱلَّذِينَ إِذَا ذُكِرَ ٱللَّهُ وَجِلَتۡ قُلُوبُهُمۡ وَإِذَا تُلِيَتۡ عَلَيۡهِمۡ ءَايَٰتُهُۥ زَادَتۡهُمۡ إِيمَٰنٗا وَعَلَىٰ رَبِّهِمۡ يَتَوَكَّلُونَ ٢ ٱلَّذِينَ يُقِيمُونَ ٱلصَّلَوٰةَ وَمِمَّا رَزَقۡنَٰهُمۡ يُنفِقُونَ ٣ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ حَقّٗاۚ لَّهُمۡ دَرَجَٰتٌ عِندَ رَبِّهِمۡ وَمَغۡفِرَةٞ وَرِزۡقٞ كَرِيمٞ ٤﴾ [الأنفال: ٢-٤]  
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธานั้น คือ ผู้ที่เมื่ออัลลอฮฺถูกกล่าวขึ้นแล้ว หัวใจของพวกเขาก็หวั่นเกรง และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา โองการเหล่านั้นก็เพิ่มพูนความศรัทธาแก่พวกเขา และแด่พระเจ้าของพวกเขานั้นพวกเขามอบหมายกัน คือบรรดาผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและส่วนหนึ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา พวกเขาก็บริจาค ชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือ ผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง โดยที่พวกเขาจะได้รับขั้นหลายชั้น ณ พระเจ้าของพวกเขา และจะได้รับการอภัยโทษและปัจจัยยังชีพอันมีเกียรติ(ในสวรรค์)” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 2-4)

และในการปิดท้ายของสูเราะฮฺนี้ก็มีการนำเสนอถึงคุณลักษณะของบรรดาผู้ศรัทธาเช่นเดียวกัน
﴿وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَهَاجَرُواْ وَجَٰهَدُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَٱلَّذِينَ ءَاوَواْ وَّنَصَرُوٓاْ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ حَقّٗاۚ لَّهُم مَّغۡفِرَةٞ وَرِزۡقٞ كَرِيمٞ ٧٤﴾ [الأنفال: ٧٤]  
ความว่า “และบรรดาผู้ที่ศรัทธา และอพยพ และต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่ให้ที่พักอาศัย และความช่วยเหลือนั้น ชนเหล่านี้แหละ พวกเขาคือผู้ศรัทธาโดยแท้จริง ซึ่งพวกเขาจะได้รับการอภัยโทษ และเครื่องยังชีพอันมีเกียรติ(ในสวรรค์)” (สูเราะฮฺอัล-อันฟาล : 74)

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองคุณลักษณะที่มีการนำเสนอในทั้งสองอายะฮฺนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างกันนี้ถือเป็นการยืนยันถึงเงื่อนไขแห่งชัยชนะที่ปรากฎในสูเราะฮฺนี้ กล่าวคือ คุณลักษณะของของบรรดาผู้ศรัทธาในอายะฮฺที่ 4 คือ คุณลักษณะทางด้านการศรัทธา (อีมานียะฮฺ) ซึ่งบรรดาผู้ศรัทธาที่มีความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺและความเกรียงไกรของพระองค์ได้ประดับประดามันไว้ ด้วยกับการที่ว่าชัยชนะนั้นมาจากพระองค์เพียงเท่านั้น จึงทำให้เนื้อหาในส่วนที่หนึ่ง (เงื่อนไขทางด้านการศรัทธา) ได้มีการกล่าวถึงในเนื้อหาส่วนนี้ สำหรับอายะฮฺที่ 74 ก็เป็นการนำเสนอคุณลักษณะของบรรดาผู้ศรัทธาที่มีความสอดคล้องกับเงื่อนไขทางด้านวัตถุ ในส่วนเนื้อหาในส่วนที่สองของสูเราะฮฺนี้นั้น (เงื่อนไขทางด้านวัตถุ) ประหนึ่งเป็นการนำเสนอคุณลักษณะของบรรดาผู้ศรัทธาในสูเราะฮฺนี้ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงื่อนไขแห่งชัยชนะ ระหว่างเงื่อนไขทางด้านการศรัทธากับเงื่อนไขทางด้านวัตถุ
ในเนื้อหาของสูเราะฮฺนี้ยังมีการนำเสนอถึงการเรียกร้องของพระเจ้าต่อบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งมีทั้งหมด 6 ครั้งด้วยกัน ด้วยการพรรณนาถึงความศรัทธาของพวกเขา (โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย) ประหนึ่งเป็นการปลุกเร้าพวกเขาให้มีความอดทนและยืนหยัดอย่างมั่นคงในการต่อสู้ของพวกเขาที่มีต่อบรรดาศัตรูของอัลลอฮฺ และเป็นการให้ข้อรำลึกแก่พวกเขาถึงภาระหน้านี้ซึ่งเป็นคำสั่งที่มีความเกี่ยวข้องกับความศรัทธา และชัยชนะที่พวกเขาจะได้รับนั้นมันขึ้นอยู่กับสาเหตุแห่งความศรัทธา

คำเรียกร้องที่หนึ่ง
เป็นการตักเตือนจากการหนีออกจากสมรภูมิรบ และเป็นการขู่สำทับต่อบรรดาผู้ที่ยอมจำนนต่อศัตรูด้วยการลงโทษอันเจ็บปวด
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا لَقِيتُمُ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ زَحۡفٗا فَلَا تُوَلُّوهُمُ ٱلۡأَدۡبَارَ ١٥ ﴾ [الأنفال: ١٥]  
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เมื่อพวกเจ้าพบบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเคลื่อนมา พวกเจ้าจงอย่าหันหลังหนีพวกเขา” (สูเราะฮฺอัล-อันฟาล : 15)

คำเรียกร้องที่สอง
เป็นคำสั่งใช้ให้มีการเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺและเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม   
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ أَطِيعُواْ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ وَلَا تَوَلَّوۡاْ عَنۡهُ وَأَنتُمۡ تَسۡمَعُونَ ٢٠ ﴾ [الأنفال: ٢٠]  
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์เถิด และจงอย่าได้ผินหลังให้แก่เขา ทั้งๆ ที่พวกเจ้าฟังกันอยู่” (สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล : 20)

คำเรียกร้องที่สาม
เป็นการอธิบายว่าสิ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้เรียกร้องนั้น คือสิ่งที่มีเกียรติและเต็มเปี่ยมด้วยความผาสุกทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱسۡتَجِيبُواْ لِلَّهِ وَلِلرَّسُولِ إِذَا دَعَاكُمۡ لِمَا يُحۡيِيكُمۡۖ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ يَحُولُ بَيۡنَ ٱلۡمَرۡءِ وَقَلۡبِهِۦ وَأَنَّهُۥٓ إِلَيۡهِ تُحۡشَرُونَ ٢٤﴾ [الأنفال: ٢٤]  
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงตอบรับอัลลอฮฺ และเราะสูลเถิด เมื่อเขาได้เชิญชวนพวกเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ามีชีวิตชีวาขึ้น และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นจะทรงกั้นระหว่างบุคคลกับหัวใจของเขา และแท้จริงยังพระองค์นั้นพวกเจ้าจะถูกนำกล