เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

Faisal Abd Al-Hadi

วันที่ :

Mon, Sep 05 2016

ประเภท :

For New Muslim

เมื่อได้ยินเสียงอะซาน

เมื่อได้ยินเสียงอะซาน
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 

 

ฟัยซอล อับดุลฮาดี

 


ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน

 

 


2014 - 1436
 
 
إذا سمعتم النداء
« باللغة التايلاندية »

 

 


فيصل عبد الهادي

 

 


مراجعة: صافي عثمان

 

 

 

2014 - 1436
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

เมื่อได้ยินเสียงอะซาน

เมื่อได้ยินเสียงอะซานดังขึ้นจากมัสญิด ให้ปฏิบัติดังนี้

1. ตอบรับอะซาน
    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا سَمِعْتُمُ الْمُؤَذِّنَ، فَقُولُوا مِثْلَ مَا يَقُولُ »
“เมื่อได้ยินเสียงมุอัซซินอะซาน พวกท่านก็จงกล่าวตอบเหมือนที่เขากล่าวอะซาน”
[บันทึกโดยมุสลิม, เลขที่ 384]

        กล่าวคือ เมื่อมุอัซซินกล่าว “อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุ อักบัร” ก็ให้ตอบว่า “อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุอักบัร” ดังคำกล่าวอะซานของมุอัซซินจนจบสิ้นการอะซาน นอกจากประโยค  “หัยอะละตัยนฺ” นั่นคือ حَيَّ عَلَى الصَّلاة กับ حَيَّ عَلَى الفَلَاح ให้ตอบว่า
لاَ حَوْلَ وَلاَ قُوَّةَ إِلاَّ بِاللَّهِ
“ ไม่มีอำนาจและพละกำลังใด ๆ นอกจากจากอัลลอฮฺ”
[บันทึกโดยมุสลิม, เลขที่ 779]
        
หลังจากนั้นให้กล่าวเศาะละวาตแด่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อด้วยการกล่าวดุอาอ์ว่า
اللَّهُمَّ رَبَّ هَذِهِ الدَّعْوَةِ التَّامَّةِ، وَالصَّلَاةِ الْقَائِمَةِ، آتِ مُحَمَّدًا الْوَسِيلَةَ، وَالْفَضِيلَةَ، وَابْعَثْهُ مَقَامًا مَحْمُودًا الَّذِي وَعَدْتَهُ
“โอ้อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลของการเชิญชวนนี้ที่สมบูรณ์และการละหมาดที่ดำรงอยู่  ได้โปรดทรงประทานฐานะอันสูงส่งและมีความประเสริฐแด่ท่านนบีมุหัมมัด และได้โปรดทรงให้ท่านฟื้นขึ้นในวันกิยามะฮฺด้วยตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญดังที่พระองค์ได้ทรงสัญญาด้วยเถิด”
[บันทึกโดยมุสลิม, เลขที่ 384]

2. เตรียมความพร้อมเพื่อละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิดและไปมัสญิดตั้งแต่เนิ่น ๆ
       เมื่อได้ยินเสียงอะซานให้เตรียมความพร้อมเพื่อละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิด สำหรับผู้หญิงนั้นที่ดีที่สุดแล้วให้ละหมาดที่บ้านของนางตั้งแต่เนิ่น ๆ และไม่ควรประวิงจนเวลาใกล้จะหมด
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لاَ تَمْنَعُوا نِسَاءَكُمُ الْمَسَاجِدَ وَبُيُوتُهُنَّ خَيْرٌ لَهُنَّ »
“พวกท่านอย่าได้ห้ามสตรีไปละหมาดที่มัสญิด แต่ทว่าหากนางละหมาดที่บ้านของนางนั้นจะดีกว่า”
                                                              [บันทึกโดยอบูดาวูด, เลขที่ 567]    
    
และสำหรับผู้ชายควรเดินทางไปมัสญิดตั้งแต่เนิน ๆ ไม่ใช่รอเวลาอิกอมัตจึงจะเริ่มขยับตัว เพราะการไปรอละหมาด โดยนั่งอยู่ในมัสญิดนั้นมีความประเสริฐยิ่ง
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« فَإِذَا دَخَلَ الْمَسْجِدَ كَانَ فِي صَلَاةٍ، مَا كَانَتْ الصَّلَاةُ تَحْبِسُهُ »
“เมื่อเขาได้เข้ามัสญิด เขาจะได้รับผลบุญของการละหมาด ตราบใดที่การละหมาดได้กักเขาไว้(ให้รอละหมาดจนเสร็จ)”
[บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ, เลขที่ 774]

3. อาบน้ำละหมาดจากที่บ้าน
    ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا تَوَضَّأَ أَحَدُكُمْ فَأَحْسَنَ الْوُضُوءَ، ثُمَّ أَتَى الْمَسْجِدَ لَا يَنْهَزُهُ إِلَّا الصَّلَاةُ، لَا يُرِيدُ إِلَّا الصَّلَاةَ، لَمْ يَخْطُ خَطْوَةً إِلَّا رَفَعَهُ اللَّهُ بِهَا دَرَجَةً، وَحَطَّ عَنْهُ بِهَا خَطِيئَةً، حَتَّى يَدْخُلَ الْمَسْجِدَ »
“เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านได้อาบน้ำละหมาดอย่างดี หลังจากนั้น เขาก็เดินทางไปยังมัสญิด ไม่มีสิ่งใดเป็นเหตุให้ออกไปนอกจากเพื่อการละหมาด เขาไม่มีจุดประสงค์อื่นใดอีกนอกจากเพื่อจะละหมาดเท่านั้น เขาจะไม่ก้าวออกไปหนึ่งก้าว นอกจากอัลลอฮฺจะยกระดับเขาหนึ่งขั้นและลบล้างหนึ่งความผิดให้เขา กระทั่งเขาได้เข้ามัสญิด”
[บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ, เลขที่ 774]

4. เดินทางไปละหมาดด้วยใจที่สงบนิงและไม่เร่งรีบ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا أَتَيْتُمُ الصَّلاةَ فَلَا تَأْتُوْهَا تَسْعَوْنَ، وَائْتُوْهَا وَعَلَيْكُمُ السَّكِيْنَة »  
“เมื่อพวกท่านไปละหมาด ก็อย่าได้เดินไปอย่างฉุกละหุกผลีผลาม แต่จงเดินทางไปในสภาพที่พวกเจ้าสงบนิ่ง”
[บันทึกโดยอิบนุหิบบาน, เลขที่ 2,145]

5. มารยาทเมื่อเข้ามัสญิด
    เมื่อเข้ามัสญิดให้ก้าวเท้าขวาก่อน พร้อมกับขอดุอาอ์ว่า
اللَّهُمَّ افْتَحْ لِي أَبْوَابَ رَحْمَتِكَ
“โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดทรงเปิดบรรดาประตูแห่งความเมตตาของพระองค์แก่ข้าด้วยเถิด”
                       [บันทึกโดยอบูดาวูด, เลขที่ 713]

6. ละหมาดสุนัตเราะวาติบ
คือละหมาดสุนัตก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« مَا مِنْ عَبْدٍ مُسْلِمٍ يُصَلِّي لِلَّهِ كُلَّ يَوْمٍ ثِنْتَيْ عَشْرَةَ رَكْعَةً تَطَوُّعًا ، غَيْرَ فَرِيضَةٍ ، إِلاَّ بَنَى اللَّهُ لَهُ بَيْتًا فِي الْجَنَّةِ »
“ไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดละหมาดวันละสิบสองร็อกอัตที่เป็นสุนัต –นอกเหนือจากที่เป็นฟัรฎู- เว้นแต่อัลลอฮฺจะสร้างบ้านหลังหนึ่งในสวรรค์ให้เขา”
[บันทึกโดยมุสลิม, เลขที่ 1,643]
สิบสองร็อกอัตดังกล่าวคือ
-    2 ร็อกอัตก่อนศุบฮี
-    4 ร็อกอัตก่อนซุฮฺรี
-    2 ร็อกอัตหลังซุฮฺรี
-    2 ร็อกอัตหลังมัฆริบ
-    2 ร็อกอัตหลังอิชาอ์

7. เข้าแถวแรก
เมื่อเข้ามัสญิดแล้ว ให้รอละหมาดอยู่แถวแรก
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงความประเสริฐของการละหมาดญะมาอะฮฺในแถวแรกว่า
«لَوْ يَعْلَمُ النَّاسُ مَا فِي النِّدَاءِ وَالصَّفِّ الأَوَّلِ، ثُمَّ لَمْ يَجِدُوا إِلَّا أَنْ يَسْتَهِمُوا عَلَيْهِ لاَسْتَهَمُوا»
“หากผู้คนรู้ถึงผลบุญของการอะซานและการละหมาดในแถวแรก แล้วพวกเขาก็ไม่อาจทำเช่นนั้นได้นอกจากจะต้องใช้วิธีการจับฉลากเท่านั้น แน่นอน พวกเขาย่อมต้องแย่งกันจับฉลากเป็นแน่แท้”
[บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ, เลขที่ 615 และมุสลิม, เลขที่ 437]