เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

راشد بن حسين العبد الكريم

วันที่ :

Sat, Sep 10 2016

ประเภท :

Jurisprudence

กฎเกณฑ์การซื้อขายบางประการ

กฎเกณฑ์การซื้อขายบางประการ
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม


แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

 

2014 - 1435
 


 
من أحكام البيع والشراء
« باللغة التايلاندية »

 

 


د. راشد بن حسين العبد الكريم

 


ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر:  كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام  www.al-islam.com

 

 

2014 - 1435
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

กฎเกณฑ์การซื้อขายบางประการ

ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَرَّ عَلَى صُبْرَةِ طَعَامٍ فَأَدْخَلَ يَدَهُ فِيهَا، فَنَالَتْ أَصَابِعُهُ بَلَلًا فَقَالَ: «مَا هَذَا يَا صَاحِبَ الطَّعَامِ؟» قَالَ أَصَابَتْهُ السَّمَاءُ يَا رَسُولَ اللهِ، قَالَ: «أَفَلَا جَعَلْتَهُ فَوْقَ الطَّعَامِ كَيْ يَرَاهُ النَّاسُ، مَنْ غَشَّ فَلَيْسَ مِنِّي» [أخرجه مسلم]
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ผ่านไปยังกองอาหารกองหนึ่ง(ที่วางขายอยู่) แล้วท่านก็เอามือจิ้มเข้าไป แล้วนิ้วท่านก็แฉะออกมา ท่านจึงกล่าวว่า “นี่อันใดกันเล่า เจ้าของอาหารเอ๋ย?” เขากล่าวว่า “มันเจอฝนมา ท่านเราะสูลุลลอฮฺ” ท่านจึงกล่าวว่า “ท่านจะไม่เอามันมาวางไว้ข้างบนอาหารเล่า? เพื่อที่ผู้คนจะได้มองเห็นมัน  ผู้ใดคดโกง เขาก็ไม่ใช่พวกเดียวกับฉัน”  บันทึกโดยมุสลิม

ท่านหะกีม บินหิซาม เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« الْبَيِّعَانِ بِالْخِيَارِ مَا لَمْ يَتَفَرَّقَا، فَإِنْ صَدَقَا وَبَيَّنَا بُورِكَ لَهُمَا فِي بَيْعِهِمَا، وَإِنْ كَذَبَا وَكَتَمَا مُحِقَ بَرَكَةُ بَيْعِهِمَا » [أخرجه مسلم]
“ผู้ขายผู้ซื้อย่อมมีสิทธิ์เลือกตราบที่ยังไม่ได้แยกจากกัน และหากทั้งสองพูดความจริงและเปิดเผย ก็จะเกิดความจำเริญในการค้าขายของทั้งสอง แต่หากทั้งสองพูดโกหกและปิดบังความจริง ความจำเริญจะถูกลบล้างออกไปจากการค้าขายของทั้งสอง” บันทึกโดยมุสลิม

ห้ามสาบานระหว่างการค้าขาย
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« الْحَلِفُ مَنْفَقَةٌ لِلسِّلْعَةِ، مَمْحَقَةٌ لِلرِّبْحِ » [أخرجه مسلم]
“การสาบานนั้น เป็นการจ่ายสินค้า แต่ลบล้างผลกำไร” บันทึกโดยมุสลิม
ท่านอบูเกาะตาดะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า เขาได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِيَّاكُمْ وَكَثْرَةَ الْحَلِفِ فِي الْبَيْعِ، فَإِنَّهُ يُنَفِّقُ، ثُمَّ يَمْحَقُ » [أخرجه مسلم]
“พวกท่านพึงระวังการสาบานอย่างมากมายในการค้าขายเถิด เพราะเขาจ่าย(ของ)ไป แล้วถูกลบล้าง(กำไร)ออก” บันทึกโดยมุสลิม

คำอธิบาย
ในหะดีษเหล่านี้มีกฎเกณฑ์บางอย่างของการค้าการขาย ที่คนหลาย ๆ คนมักพลาดพลั้งกระทำผิดไป ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงได้เตือนไว้เพราะมีผลดีทั้งทางด้านศาสนาและดุนยา
 
ประโยชน์ที่ได้รับ
•    ห้ามคดโกงในการค้าการขาย และถือเป็นบาปใหญ่
•    รับรองสิทธิ์ให้แก่คนซื้อคนขายในการคืนสินค้าตราบที่ยังไม่ได้แยกจากกัน
•    ห้ามสาบานในระหว่างค้าขาย และมันคือสิ่งที่จะลบล้างความจำเริญของการค้าขาย