เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

راشد بن حسين العبد الكريم

วันที่ :

Sat, Sep 10 2016

ประเภท :

Morals & Ethics

ความละอายและคำสั่งใช้ให้ละอาย


ความละอาย และคำสั่งใช้ให้ละอาย
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

 

แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

 

 

2014 - 1435
 

 

 

الحياء والأمر به
« باللغة التايلاندية »

 


د. راشد بن حسين العبد الكريم

 


ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبد الهادي
المصدر:  كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام www.al-islam.com

 

 


2014 - 1435
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ความละอาย และคำสั่งใช้ให้ละอาย

ท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า
« أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَرَّ عَلَى رَجُلٍ مِنَ الأَنْصَارِ، وَهُوَ يَعِظُ أَخَاهُ فِي الحَيَاءِ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «دَعْهُ فَإِنَّ الحَيَاءَ مِنَ الإِيمَانِ» » [متفق عليه]
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ผ่านไปยังชายชาวอันศอรคนหนึ่งขณะที่เขากำลังตักเตือนพี่น้องของเขาคนหนึ่งเรื่องความละอาย แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า “ปล่อยเขาเถิด เพราะแท้จริงความละอายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา”” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

ท่านอิมรอน บินหุศ็อยน์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« الحَيَاءُ لاَ يَأْتِي إِلَّا بِخَيْرٍ » [متفق عليه]

“ความละอาย ย่อมนำมาแต่สิ่งที่ดี” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

และในบันทึกของมุสลิมมีว่า
« الحَيَاءُ خَيرٌ كُلُّه »
“ความละอาย เป็นสิ่งที่ดีงามทั้งหมด”

ท่านอบูสะอีด อัลคุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
« كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَشَدَّ حَيَاءً مِنَ العَذْرَاءِ فِي خِدْرِهَا » [متفق عليه]
“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีความอายยิ่งกว่าหญิงบริสุทธิ์ที่อยู่ในห้องหอของนาง” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

ท่านอบูมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« إِنَّ مِمَّا أَدْرَكَ النَّاسُ مِنْ كَلاَمِ النُّبُوَّةِ الأُولَى: إِذَا لَمْ تَسْتَحْيِ فَاصْنَعْ مَا شِئْتَ » [أخرجه البخاري]
“แท้จริงคำพูดนบีก่อนๆที่ผู้คนต่างพบเจอ คือ หากท่านไม่มีความละอาย ก็จงทำตามใจปรารถนาเถิด” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ

คำอธิบาย
ความละอายเป็นมารยาทที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้อยากละทิ้งสิ่งที่ทำให้จิตใจแปดเปื้อน มันมาจากการมีศรัทธา เพราะมันจะชวนให้ทำดีและให้ห่างจากสิ่งน่ารังเกียจ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่า มันทั้งหมดเป็นสิ่งดีงาม และนำมาแต่สิ่งที่ดีงาม และท่านนบีเอง ก็เป็นผู้ที่มีความละอายอย่างมาก และความละอายที่ประเสริฐที่สุดคือความละอายต่ออัลลอฮฺ อายที่พระองค์จะเห็นท่านทำสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งพระองค์
 
ประโยชน์ที่ได้รับ
•    ความประเสริฐของการละอาย และมันเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา
•    ความละอายในเรื่องที่ถูกบัญญัตินั้น จะนำมาแต่สิ่งที่ดีเท่านั้น
•    ความละอายอย่างมากของท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม