เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

Muhammad ibn Saleh al-Othaimeen

วันที่ :

Wed, Aug 31 2016

ประเภท :

Jurisprudence

ความหมายของซะกาตทางภาษาและวิชาการ

 

ความหมายของซะกาต
ทางภาษาและวิชาการ

المقصود بالزكاة لغةً واصطلاحًا

< التايلانديةไทย – Thai - >
        
มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน
محمد بن صالح العثيمين




ผู้แปล:ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ผู้ตรวจทาน:อุษมาน อิดรีส

ترجمة: فيصل عبد الهادي
مراجعة: عثمان إدريس

 

 

ความหมายของซะกาตทางภาษาและวิชาการ
 

111. คำถาม: ชัยคฺครับ, อะไรคือความหมายของซะกาตในทางภาษาและวิชาการ และความหมายทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?

    ตอบ: ซะกาตในทางภาษาคือ การเพิ่มพูนและเติบโต การเพิ่มพูนและเติบโตไม่ว่าในด้านจำนวนหรือขนาด ในภาษาอาหรับเรียกว่า “ซะกา - زَكَا” เช่น   زَكَا الزَّرْعُ แปลว่า สิ่งเพราะปลูกได้เจริญเติบโต
    ส่วนในทางวิชาการคือ การอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺด้วยการให้ทรัพย์สินส่วนหนึ่งแก่บุคคลเฉพาะตามที่ศาสนาได้กำหนดไว้
    ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายทางภาษาและทางวิชาการคือ การจ่ายซะกาต ถึงแม้โดยผิวเผินจะทำให้ทรัพย์สินลดลง แต่แท้จริงแล้ว ผลจากการจ่ายซะกาตทำให้ทรัพย์สินเพิ่มพูนขึ้น เพิ่มในแง่ของการมีความจำเริญและยังเพิ่มจำนวนอีกด้วย เพราะอัลลอฮฺจะทรงเปิดประตูริซกีให้แก่บ่าวโดยที่เขาไม่ได้คาดคิดมาก่อน หากเขาได้ปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์เกี่ยวกับทรัพย์สิน
    พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَمَآ ءَاتَيۡتُم مِّن رِّبٗا لِّيَرۡبُوَاْ فِيٓ أَمۡوَٰلِ ٱلنَّاسِ فَلَا يَرۡبُواْ عِندَ ٱللَّهِۖ وَمَآ ءَاتَيۡتُم مِّن زَكَوٰةٖ تُرِيدُونَ وَجۡهَ ٱللَّهِ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُضۡعِفُونَ ٣٩﴾ [الروم: ٣٩]  
“และสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายออกไปจากทรัพย์สิน (ดอกเบี้ย) เพื่อให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของมนุษย์ มันจะไม่เพิ่มพูน ณ อัลลอฮฺ และสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายไปจากซะกาตใดๆ โดยพวกเจ้าปรารถนาพระพักตร์ของอัลลอฮฺ(มุ่งหมายที่จะได้รับความโปรดปรานจากพระองค์) ชนเหล่านั้นแหละ คือผู้ได้รับผลตอบแทนอย่างทวีคูณ”
[อัร-รูม, 30 : 39]


พระองค์ตรัสอีกว่า
﴿ قُلۡ إِنَّ رَبِّي يَبۡسُطُ ٱلرِّزۡقَ لِمَن يَشَآءُ مِنۡ عِبَادِهِۦ وَيَقۡدِرُ لَهُۥۚ وَمَآ أَنفَقۡتُم مِّن شَيۡءٖ فَهُوَ يُخۡلِفُهُۥۖ وَهُوَ خَيۡرُ ٱلرَّٰزِقِينَ ٣٩ ﴾ [سبأ: ٣٩]  
“และอันใดที่พวกเจ้าบริจาคจากสิ่งใดก็ดี พระองค์จะทรงตอบแทนมัน และพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ดีเลิศแห่งบรรดาผู้ประทานปัจจัยยังชีพ”
[สะบะอ์, 34 : 39]

 

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا نَقَصَتْ صَدَقَةٌ مِنْ مَالٍ»
“การบริจาคมิได้ทำให้ทรัพย์สินลดน้อยลงเลย”
[บันทึกโดยมุสลิม, เลขที่ 2588]

    เรื่องนี้ เป็นความจริงเชิงประจักษ์ ผู้ที่อัลลอฮฺทรงเปิดใจให้เขาบริจาคทรัพย์สินซึ่งเป็นหน้าที่ที่เขาพึงปฏิบัติอยู่แล้ว พวกเขาจะพบกับความจำเริญในทรัพย์สินที่เขาได้บริจาค และความจำเริญในทรัพย์ที่คงเหลืออยู่ บางครั้ง อัลลอฮฺอาจทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินโดยการเปิดประตูริซกี ซึ่งเขาสามารถมองเห็นได้อย่างประจักษ์แจ้ง ทั้งนี้ เนื่องจากเขาได้บริจาคทรัพย์สินเพื่อหนทางของอัลลอฮฺ
    และด้วยเหตุนี้ ความหมายของซะกาตในทางวิชาการและภาษาจึงมีความเกี่ยวข้องกันในแง่ของการเจริญเติบโตและการเพิ่มพูน
    นอกจากนี้ ซะกาตยังได้เพิ่มพูนอีมานอีกด้วย เนื่องจาก การจ่ายซะกาตเป็นความดี และทุก ๆ การงานที่เป็นความดีมันจะเพิ่มอีมานให้แก่ผู้กระทำความดีนั้น ๆ ตามความเชื่อของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺถือว่าความดีมาจากการอีมาน อีมานเพิ่มเนื่องจากมีความดีเพิ่ม และอีมานลดเนื่องจากความดีได้ลดลง
    และเช่นเดียวกัน การจ่ายซะกาตยังเป็นผลให้มีมารยาทดีขึ้น เนื่องจากการจ่ายซะกาตคือการเสียสละและการให้ ซึ่งลักษณะทั้งสองประการบ่งบอกถึงการมีความเอื้อเฟื้อและใจบุญสุนทานซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า การมีจิตใจสุนทานและเอื้อเฟื้อคือมารยาทที่ดีและประเสริฐ อีกทั้ง มันยังส่งผลให้หัวใจปลอดโปร่ง มีรัศมี และรู้สึกผ่อนคลาย ใครที่อยากสัมผัสสามารถลองบริจาคได้ แล้วเขาจะพบกับผลดี ๆ ที่จะเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากการบริจาคนั้น เป็นการบริจาคที่เขาจำเป็นต้องปฏิบัติอยู่แล้ว เช่น การจ่ายซะกาต ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการและโครงสร้างของศาสนาอิสลามที่สำคัญ และในอัลกุรอาน ทุกครั้งมันจะถูกเอ่ยหลังจากการละหมาดซึ่งเป็นเสาหลักของอิสลาม และการจ่ายซะกาตยังบ่งบอกถึงการรักผลตอบแทนที่อัลลอฮฺจะทรงประทานให้ กล่าวคือ ทรัพย์สินนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนรัก และไม่มีทางที่คนหนึ่งจะเสียสละสิ่งที่ตนรักนอกจากเพื่อผลตอบแทนที่เขาเชื่อว่าจะได้รับอย่างแน่นอน และยังเป็นการบอกอีกว่า ผลตอบแทนที่เขาจะได้รับนั้นเป็นสิ่งที่เขารักมากกว่าทรัพย์สินที่เขาได้บริจาค
    ผลประโยชน์ของการจ่ายซะกาตมีมากมายนัก การจ่ายซะกาตทำให้การศรัทธาเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น การงานความดีอื่น ๆ ก็เป็นผลทำให้การศรัทธาเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นประเด็นที่รู้กันหากได้ใคร่ครวญสิ่งที่เราได้กล่าวไป