เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

Muhammad ibn Saleh al-Othaimeen

วันที่ :

Wed, Aug 31 2016

ประเภท :

Jurisprudence

การทำความสะอาด

 

การทำความสะอาด

الطهارة

[ ไทย – Thai - تايلاندي]

        
ศอลิหฺ บิน ฆอนิม อัส-สัดลาน
صالح  بن  غانم  السدلان




ผู้แปล: อารีฟีน  ยาชะรัด
ผู้ตรวจทาน: ฟัยซอล  อับดุลฮาดี
 
ترجمة: عارفين  ياجاراد
مراجعة: فيصل  عبد الهادي

 

 

การทำความสะอาด

การทำความสะอาด
(الطهارة)
1. ความหมายของอัฏ-เฏาะหาเราะฮฺ
     ตามหลักภาษา คือ ความสะอาดและบริสุทธิ์
    ตามหลักวิชาการ  คือ ลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการละหมาดและอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันได้หายไปจากร่างกาย

2. บทบัญญัติเกี่ยวกับน้ำ
    น้ำมี 3 ประเภท
    หนึ่ง  เฏาะฮูร (น้ำสะอาดและสามารถนำไปใช้ทำความสะอาดได้)
        คือ น้ำที่ยังคงสภาพเดิม ซึ่งใช้ในการชำระร่างกายให้สะอาดจากหะดัษ และชำระสิ่งโสโครกปฏิกูลได้
     อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَيُنَزِّلُ عَلَيۡكُم مِّنَ ٱلسَّمَآءِ مَآءٗ لِّيُطَهِّرَكُم بِهِۦ ﴾ [الانفال: ١١]  
“และพระองค์ทรงหลั่งน้ำสะอาดจากฟากฟ้าแก่พวกเจ้า เพื่อทรงชำระพวกเจ้าให้สะอาดด้วยน้ำนั้น”
 [อัลอันฟาล : 11]

    สอง   ฏอฮิร (น้ำสะอาดแต่ไม่สามารถนำไปใช้ทำความสะอาดได้)
     คือน้ำสะอาดที่ได้เปลี่ยนสภาพของสี รส หรือกลิ่น อันเนื่องจากสิ่งอื่นซึ่งมิใช่สิ่งปฏิกูล(นะญิส) น้ำประเภทนี้สะอาด แต่ไม่สามารถใช้ในการปลดเปลื้องหะดัษได้ เพราะได้เปลี่ยนจากสภาพเดิม
    สาม  นะญิส (น้ำสกปรก )
    คือน้ำที่เปลี่ยนสภาพของสี กลิ่น หรือรส อันเนื่องจากสิ่งปฏิกูล(นะญิส) ไม่ว่าน้ำจะมีปริมาณน้อยหรือมากก็ตาม
    • น้ำที่สกปรก ( นะญิส ) จะเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำสะอาดเมื่อมันเปลี่ยนสภาพด้วยตัวเอง หรือมันเหือดแห้ง หรือโดยการเพิ่มปริมาณน้ำสะอาดลงไป  ดังนั้นการเปลี่ยนสภาพของน้ำจะทำให้หายจากการเป็นน้ำสกปรก
    • เมื่อมีความสงสัยว่าน้ำนั้นสกปรกหรือสะอาด ให้ยึดที่มั่นใจ เนื่องจากมูลฐานเดิมของสิ่งที่สะอาดนั้นคือมีความสะอาด
    • เมื่อน้ำสะอาดผสมกับน้ำที่สกปรก แล้วไม่มั่นใจว่าน้ำสะอาดหรือไม่  ให้ทำการตะยำมุม ( คือการทำความสะอาดโดยการใช้ดินหรือฝุ่น )
    • เมื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปะปนกับเสื้อผ้าที่สกปรก หรือปะปนกับเสื้อผ้าที่ไม่อนุมัติ แล้วเกิดความสงสัย ให้ยึดถือความมั่นใจเป็นหลัก และไม่ต้องละหมาดใหม่

3. ประเภทของการทำความสะอาด
    การทำความสะอาดตามบทบัญญัติ มี  2 ประเภท
    รูปธรรม  คือ การทำความสะอาดอวัยวะต่างๆ
    นามธรรม คือการชำระจิตใจให้สะอาดจากมลทินของบาปต่าง ๆ
    การทำความสะอาดเชิงรูปธรรม คือการทำความสะอาดภายนอกเพื่อละหมาด ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
    1. การทำความสะอาดจากหะดัษ
    2. การทำความสะอาดจากนะญิส (สิ่งสกปรก)

    การทำความสะอาดจากหะดัษ มี 3 ประเภท
     หะดัษใหญ่ คือการอาบน้ำ
     หะดัษเล็ก คือการอาบน้ำละหมาด
    และการตะยำมุม ( การใช้ดินหรือฝุ่น) ในกรณีที่มีอุปสรรคในการใช้น้ำ

    การทำความสะอาดจากสิ่งปฏิกูล มี 3 ประเภท
    การล้าง การเช็ดถู และการพรมน้ำ

 

 

 

บทว่าด้วยภาชนะ
(الآنية)
1. ความหมาย
    ตามหลักภาษา คือ ภาชนะที่ใช้สำหรับใส่อาหารและเครื่องดื่ม เช่นถุงและเครื่องใช้
    ส่วนความหมายตามหลักวิชาการก็มีความหมายในทำนองเดียวกัน
2. ประเภทของภาชนะ
      เมื่อพิจารณาตามลักษณะของวัตถุที่ผลิต ภาชนะมีหลายประเภท
    1. ภาชนะที่เป็นทองคำและเงิน
    2. ภาชนะที่ประดับ (หรือชุบ) ด้วยเงิน
    3. ภาชนะที่ชุบ (หรือเคลือบ) ด้วยทองและเงิน
    4. ภาชนะที่มีราคาแพง เนื่องจากวัตถุดิบหรือกระบวนการผลิต
    5. ภาชนะที่ทำจากหนังสัตว์
    6. ภาชนะที่ทำจากกระดูก
    7. และอื่น ๆ เช่นทำจากไม้ กระเบื้อง ทองเหลือง และภาชนะทั่วไป
3. บทบัญญัติเกี่ยวกับภาชนะ
    ภาชนะทุกชิ้นเป็นสิ่งที่สะอาดและเป็นที่อนุมัติ  ราคาแพงหรือถูกก็ตาม ยกเว้นภาชนะทองคำและเงิน และที่เคลือบด้วยทองหรือเงิน เนื่องจากมีรายงานจากหุซัยฟะฮฺ บิน อัล-ยะมาน  กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  
((لَا تَشْرَبُوْا فِيْ آنِيَةِ الذَهَبِ وَالفِضَّةِ وَلَا تَأْكُلُوا فِيْ صِحَافِهَا فَإِنَّهَا لَهُمْ فِيْ الدُّنْيَا وَلَكُمْ فِيْ الآخِرَةِ))
“แท้จริงท่านรอสูลกล่าวว่า พวกท่านอย่าได้ดื่มด้วยภาชนะทองคำและเงิน และอย่าได้รับประทานด้วยจานทองและเงิน เพราะแท้จริงทองและเงินนั้นพวกเขา ( ผู้ปฏิเสธศรัทธา) จะใช้สอยในโลกนี้ และพวกเจ้าจะได้ใช้สอยในโลกหน้า”
(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ 5110,  มุสลิม  2067,  อัตติรมิซีย์ 1878,  อันนะสาอีย์  5310,  อบูดาวูด  2723  และท่านอื่นๆ )

    และสิ่งใดก็ตามที่ห้ามใช้สอย  ก็ห้ามครอบครองเป็นเจ้าของในลักษณะของการใช้สอยเช่นกัน เช่น เครื่องดนตรี (ตีหรือเป่า)  การห้ามเช่นนี้ครอบคลุมทั้งผู้ชายและผู้หญิง เนื่องจากหะดีษนี้มีความหมายครอบคลุมทั้งผู้ชายและผู้หญิง
    และสิ่ง ๆ หนึ่งจะยังไม่ถูกชี้ขาดว่าสกปรก ( เป็นนะญิส ) เนื่องจากความสงสัย ตราบใดที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าสกปรกหรือไม่ เนื่องจากมูลฐานเดิมของมันนั้นเป็นสิ่งที่สะอาด

4. ภาชนะของต่างศาสนิก
    ประกอบด้วย
    1. ภาชนะของชาวคัมภีร์ (ชาวยิวและคริสต์)
    2. ภาชนะของผู้ปฏิเสธศรัทธาอื่นๆ
    ข้อชี้ขาดตามบทบัญญัตินั้น คืออนุมัติให้ใช้สอยได้ ตราบใดที่มั่นใจว่าสะอาด เนื่องจากมูลฐานเดิมนั้นมันเป็นสิ่งที่สะอาด
    • เสื้อผ้าของต่างศาสนิกนั้นสะอาด ตราบใดที่ยังมั่นใจว่าไม่สกปรก
    • หนังสัตว์ที่อนุมัติให้บริโภคเนื้อซึ่งตายโดยไม่ถูกเชือดตามบทบัญญัติ (ซาก)  จะชำระให้สะอาดโดยการฟอก
    • สิ่งที่ขาดหรือหลุดจากสิ่งมีชีวิต ก็เช่นเดียวกับซาก ส่วนขนนกหรือผมเป็นสิ่งที่สะอาด เมื่อถูกเอามาตอนมีชีวิต
    • ควรปิดภาชนะและถังน้ำ เนื่องจากหะดีษจากญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
((أَوْكِ سِقَاءَكَ وَاذْكُرِ اسمَ اللّهِ، وَخَمّر إنَاءَكَ وَاذْكُرِ اسمَ اللّهَ، وَلَوْ أَنْ تَعْرضَ عَلَيْهِ عُوْدا))
จากญะบิร กล่าวว่า แท้จริงท่านรอสูลกล่าวว่า “ จงผูกถุงน้ำของเจ้าและจงกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ และจงปิดภาชนะและกล่าวพระนามของอัลลอุ  แม้ว่าเจ้าจะปิดทับด้วยไม้ก็ตาม  
(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ 3106,  มุสลิม 2012,  อัตติรมิซีย์ 1812,  อบูดาวูด 3731  และท่านอื่นๆ )

 

 

 

 


บทว่าด้วยมารยาทในการขับถ่ายและการทำความสะอาด
(الاستنجاء وآداب التخلي)

• อัล-อิสตินญาอ์  คือการทำความสะอาดหรือการชำระสิ่งที่ออกจากทวารหนักและทวารเบาด้วยน้ำ
• อัล-อิสติจญ์มารฺ  คือการชำระสิ่งที่ออกจากทวารหนักและทวารเบาด้วยก้อนหิน ใบไม้ หรืออื่น ๆ
• ควรเข้าส้วมด้วยเท้าซ้ายและกล่าวว่า “
((بِسْمِ اللّهِ، أَعُوْذُ بِاللّهِ مِنَ الخُبُثِ والخَبَائِث))
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากความชั่วร้ายของชัยฏอนมารร้ายทั้งหลาย
• ควรออกจากส้วมด้วยเท้าขวา และกล่าวว่า
((غُفْرَانَكَ، الحَمْدُ لِلّهِ الذِي أَذْهَبَ عَنِّي الأَذَى وَعَافَانِي))
ฉันขออภัยโทษต่อพระองค์ การสรรเสิญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ผู้ซึ่งขจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ออกจากตัวฉัน  และทรงคุ้มครองฉัน
• ผู้ต้องการขับถ่ายควรเทน้ำหนักไปที่เท้าซ้าย และหากขับถ่ายในที่โล่ง (ไม่ใช่ในอาคาร) ควรที่จะให้ห่างจากสายตาผู้คน และปกปิด ให้มิดชิด และหาสถานที่เหมาะเพื่อมิให้เปื้อนปัสสาวะ
• ไม่ควรนำสิ่งใดที่มีถ้อยคำรำลึกถึง (กล่าวถึง )อัลลอฮฺเข้าส้วม นอกจากมีความจำเป็น และไม่ควรรีบถลกผ้าขึ้น ไม่ควรพูด ไม่ควรปัสสาวะในรู  และไม่ควรใช้มือขวาจับและทำความสะอาดทวารเบา
• ไม่อนุญาตให้ผินหน้าหรือหลังไปทางกิบละฮฺ (ทิศที่ตั้งของกะบะฮฺ ) ขณะขับถ่ายในที่โล่ง ส่วนในอาคารนั้นเป็นที่อนุญาต แต่ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยง
•  ห้ามขับถ่ายบนทางสัญจร ใต้ร่มเงาที่เป็นที่พักสารธารณะ  ใต้ต้นไม้ที่รับประทานผลของมัน
• เช็ดด้วยก้อนหินสะอาดสามก้อน หากไม่สะอาดก็ให้เพิ่ม และควรเพิ่มเป็นจำนวนคี่ สาม ห้า หรืออื่น ๆ
• ห้ามเช็ดด้วยกระดูก มูลสัตว์แห้ง อาหาร และสิ่งที่ควรให้เกียติ และเพียงพอกับการล้างชำระด้วยน้ำ กระดาษชำระ และใบไม้ การเช็ดด้วยก้อนหินแล้วล้างด้วยน้ำย่อมดีกว่าการล้างด้วยน้ำเพียงอย่างเดียว
• นะญิส (สิ่งสกปรก ) ที่เสื้อผ้านั้นจำเป็นต้องล้างออกด้วยน้ำ หากไม่รู้ว่าเปื้อนจุดใด ก็ให้ล้างทั้งชิ้น
 ผู้ชายควรนั่งปัสสาวะ   และหากมั่นใจว่าไม่เปื้อน ก็ไม่เป็นไรที่จะยืนปัสสาวะ

 


บทว่าด้วยหลักปฏิบัติที่เป็นธรรมชาติ (ฟิฏเราะฮฺ)
(سنن الفطرة)

1. คำนิยาม
     ฟิฏเราะฮฺ คือหลักปฏิบัติที่เป็นธรรมชาติ และแบบอย่างที่สวยงาม  คือ วิถีชิวิตที่มนุษย์ต้องปฏิบัติ
2. สิ่งที่เป็นฟิฏเราะฮฺ
    หนึ่ง  การแปรงฟัน ส่งเสริมให้ปฏิบัติบ่อยๆ เป็นการทำความสะอาดช่องปาก เป็นความพอพระทัยของพระเจ้า และเน้นย้ำให้ปฏิบัติเมื่ออาบน้ำละหมาด เมื่อต้องการละหมาด อ่านอัลกุรอาน เข้ามัสญิด เข้าบ้าน ขณะตื่นนอน และขณะมีกลิ่นปาก
    สอง  การขจัดขนลับและขนรักแร้ ตัดเล็บ และการล้างข้อพับของนิ้วมือ
    สาม  การขลิบหนวด และการไว้เครา  
    สี่  การตกแต่งผมโดยทาน้ำมัน และหวีผม ไม่ควรโกนบางส่วน หรือเว้นไว้บางส่วน (อัลกอซะฮฺ) เพราะทำให้ดูไม่สุภาพเรียบร้อย
    ห้า   ย้อมผมด้วยเทียนสี
    หก   การใช้น้ำหอม
    เจ็ด  คิตาน นั่นคือการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย เพื่อมิให้เป็นแหล่งรวมสิ่งสกปรกและปัสสาวะ ส่วนเพศหญิงนั้น คือการขลิบหนังที่อยู่ด้านบนสุดของอวัยวะเพศ บนช่องที่ใช้ร่วมเพศ มีลักษณะคล้ายเมล็ดอินผาลัมหรือหงอนไก่ ซึ่งเป็นที่รู้กันของแพทย์ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้  การคิตานเป็นการรักษาความสะอาด และมีประโยชน์หลายประการ เน้นย้ำให้กระทำสำหรับเพศชาย และเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเพศหญิง

 

 

 

 

การอาบน้ำละหมาด
(الوضوء)
1. ความหมาย
    คือการทำความสะอาดอวัยวะทั้งสี่ด้วยน้ำ( ใบหน้า มือทั้งสองจนถึงข้อศอก ศรีษะและเท้า)  ตามรูปแบบที่ศาสนาบัญญัติ
2. คุณค่า (ความประเสริฐ) ของการอาบน้ำละหมาด  
((مَا مِنْكُم مِنْ أَحَدٍ يَتَوَضَّأُ فَيُسْبِغُ الوُضُوْءَ ثُمَّ يَقُوْلُ : أَشْهَدُ أَنْ لَا إِله إلا اللّه وَحْدَهُ لَا شَرِيْكَ لَهُ وَأَشْهَدُ أَنْ مُحَمَّداً عَبْدُه وَرَسُوْلَه إِلَّا فُتِحَتْ لَهُ أَبْوابُ الجَنَّة الثَمَانِيَة يَدْخُلُ مِن أَيِّهَا شَاءَ))
ท่านรอสูลกล่าวว่า “ ไม่มีคนใดจากพวกท่านที่อาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ แล้วกล่าวว่า “ ฉันปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าที่แท้จริงนอกจากอัลลอฮฺ ไม่มีภาคีใดๆแก่พระองค์ และฉันปฏิญาณว่า แท้จริงมุหัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ นอกจากประตูสวรรค์ทั้งแปดจะถูกเปิดแก่เขา เขาจะเข้าไปทางใดก็ได้ตามที่ประสงค์  
(บันทึกโดย มุสลิม 234,  อัต-ติรมิซีย์ 55,  อัน-นะสาอีย์ 148,  อิบนุมาญะฮฺ   470,  และอะฮฺมัด 4/158 )
การอาบน้ำที่สมบูรณ์  โดยไม่ฟุ่มเฟือย  จะทำให้อวัยวะต่าง ๆ มีรัศมีในวันปรโลก

((إِنَّ أُمَّتِي يُدْعَوْنَ يَوْمَ القِيَامَةِ غُرّاً مُحَجِّلِيْنَ مِنْ آثارِ الوُضُوْءِ، فَمَنِ اسْتَطَاعَ مِنْكُمْ أَنْ يُطِيْلَ غُرَّتَهُ فَلْيَفْعَلْ))
“ แท้จริงประชาชาติของฉันจะถูกเรียกในวันปรโลกในสภาพที่ใบหน้าและอวัยวะต่างๆมีรัศมี เนื่องจากร่องรอยของการอาบน้ำละหมาด ดังนั้นบุคคลใดสามารถที่ทำให้รัศมีของเขากว้าง จงกระทำเถิด”
( บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ 136  มุสลิม  246   อิบนุมาญะฮฺ  4306 อะฮฺมัด 2/400 และมาลิก 60
3. เงื่อนไขการอาบน้ำละหมาด 10 ประการ
    1. เป็นมุสลิม
    2. มีสติสัมปชัญญะ
    3. รู้เดียงสา
    4. เจตนาอาบน้ำละหมาด และไม่ตั้งใจเลิกอาบน้ำละหมาดจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์
    5. ยุติ (หรือแห้ง) จากหะดัษ
    6. ชำระให้สะอาดจากอุจจาระและปัสสาวะ
    7. น้ำที่ใช้ต้องสะอาด
    8. น้ำที่ใช้เป็นที่อนุมัติ (ไม่ใช่หะรอม)
    9. ขจัดสิ่งที่กั้นมิให้น้ำเข้าถึงผิวหนัง
    10. เข้าเวลาละหมาด (สำหรับคนที่มีหะดัษเป็นประจำ)
4. สิ่งที่จำเป็นต้องอาบน้ำละหมาด
    คือ มีหะดัษ  
5. องค์ประกอบหลัก (รุก่น) ของการอาบน้ำละหมาด 6 ประการ
    หนึ่ง  ล้างหน้า  ปากและจมูกก็เป็นส่วนหนึ่งของใบหน้า
    สอง   ล้างมือทั้งสองจนถึงข้อศอก
    สาม  เช็ดศีรษะ  หูทั้งสองก็เป็นส่วนหนึ่งของศีรษะ
    สี่  ล้างเท้าทั้งสอง
    อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا قُمۡتُمۡ إِلَى ٱلصَّلَوٰةِ فَٱغۡسِلُواْ وُجُوهَكُمۡ وَأَيۡدِيَكُمۡ إِلَى ٱلۡمَرَافِقِ وَٱمۡسَحُواْ بِرُءُوسِكُمۡ وَأَرۡجُلَكُمۡ إِلَى ٱلۡكَعۡبَيۡنِۚ ﴾ [المائ‍دة: ٦]  
 “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อพวกเจ้าต้องการละหมาด จงล้างหน้า มือทั้งสองจนถึงข้อสอก จงเช็ดศรีษะ และจงล้างเท้าทั้งสองจนถึงตาตุ่ม”
( อัลมาอิดะฮฺ  6 )

    ห้า   เรียบเรียงตามลำดับ เนื่องจากอัลลอฮฺได้ระบุไว้อย่างเรียบเรียงและให้การเช็ดอยู่ระหว่างสองอวัยวะที่ถูกล้าง
    หก  กระทำโดยติดต่อกัน   เพราะท่านเราะสูลปฏิบัติเช่นนั้น
6. สิ่งที่ควรปฏิบัติในการอาบน้ำละหมาด
    ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ควรปฏิบัติ
    1. แปรงฟัน
    2. ล้างมือทั้งสองสามครั้ง
    3. บ้วนปาก สูดน้ำจมูกและสั่งออกมา
    4. สางเคราที่หนา และสางระหว่างนิ้วมือและนิ้วเท้า
    5. เริ่มด้วยอวัยวะด้านขวา
    6. ล้างสองครั้งและสามครั้ง
    7. น้ำที่เช็ดหูนั้นให้เอาใหม่ (ไม่ใช่ร่องรอยที่เหลือจากการเช็ดศรีษะ)
    8. อ่านดุอาอ์หลังอาบน้ำละหมาด
    9. ละหมาดสองร็อกอะฮฺหลังอาบน้ำละหมาด

สิ่งไม่ควรปฏิบัติ (มักรูฮฺ) ได้แก่
    1. อาบน้ำละหมาดในที่สกปรก (ที่มีนะญิส) เนื่องจากเกรงว่าจะเปื้อน
    2. ล้างเกินสามครั้ง เนื่องจากมีรายงานว่าท่านเราะสูลล้างสามครั้ง และกล่าวว่า
((مَنْ زَادَ فَقَدْ أَسَاءَ وَظَلَمَ))
บุคคลใดเพิ่มมากกว่านี้ เขาย่อมทำสิ่งไม่ดี ( ไม่รักษามารยาทการอาบน้ำละหมาด  ) และอธรรม (ต่อตัวเอง โดยบกพร่องในผลบุญ )  
(บันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ 140,   และอบูดาวูด 135 )
    3. ใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย เนื่องจาก ท่านเราะสูลอาบน้ำละหมาดด้วยน้ำหนึ่งลิตร และการฟุ่มเฟือยนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) ในทุกๆเรื่อง
    4. ละทิ้ง (หรือละเลย) สิ่งที่ควรปฏิบัติในการอาบน้ำละหมาด เมื่อเขาละทิ้ง เขาย่อมเสียโอกาสในผลบุญ ดังนั้นไม่ควรที่จะละเลย

สิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด  7 ประการ
    หนึ่ง   สิ่งที่ออกมาจากทวารหนักและทวารเบา
    สอง   สิ่งที่ออกมาจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
    สาม   หมดสติ โดยเป็นบ้า เป็นลม หรือมึนเมา
    สี่  สัมผัสอวัยวะเพศชาย หรืออวัยวะเพศหญิง โดยไม่มีสิ่งขวางกั้น
    ห้า   การสัมผัสกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิงด้วยอารมณ์ทางเพศ
    หก   รับประทานเนื้ออูฐ
    เจ็ด   มีหะดัษใหญ่ (สิ่งที่จำเป็นต้องชำระร่างกายโดยการอาบน้ำ ) เช่น การเข้ารับอิสลาม  มีน้ำอสุจิเคลื่อน และอื่นๆ ส่วนคนตายนั้นไม่จำเป็นต้องอาบน้ำละหมาด แต่จำเป็นต้องอาบน้ำชำระร่างกาย (ฆุสลฺ)   

 

 

 

 


การอาบน้ำชำระร่างกาย
(الغسـل)


1. ความหมาย
     เชิงภาษา คือหากอ่านว่า อัล-ฆุซลุ และอัล-ฆอซลุ คือการชำระล้าง หากอ่านว่า อัล-ฆิซลุ คือสิ่งที่ใช้ทำความสะอาด
    เชิงวิชาการ คือ การรดน้ำให้ทั่วทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจนจรดเท้า ตามรูปแบบที่กำหนด ผู้ชายและผู้หญิงก็ปฏิบัติเหมือนกัน นอกจากการชำระร่างกายจากเลือดประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอดบุตร ควรขัดถูด้วยสิ่งที่มีกลิ่นหอมให้สะอาดหมดจดจากร่องรอยของเลือด

2. สิ่งที่จำเป็นต้องอาบน้ำ 6 ประการ
    1. มีน้ำอสุจิเคลื่อนเนื่องจากมีอารมณ์ทางเพศ (ทั้งผู้ชายและผู้หญิง)
    2. การมีเพศสัมพันธ์
    3. การตาย ยกเว้นการตายชะฮีด (สงครามศาสนา)
    4. การเข้ารับอิสลาม (จากต่างศาสนิกหรือผู้ที่เคยสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม)
    5. มีเลือดประจำเดือน
    6. มีเลือดหลังคลอดบุตร

3. การอาบน้ำที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ
    1. การอาบน้ำในวันศุกร์
    2. อาบน้ำเพื่อเข้าพิธีการทำหัจญ์และอุมเราะฮฺ
    3. การอาบน้ำของผู้ที่อาบน้ำศพ
    4. การอาบน้ำในวันอีดทั้งสอง (อีดิลฟิฏรีย์และอีดิลอัฎฮา)
    5. เมื่อฟื้นจากการเป็นลมหรือหายจากการเป็นบ้า
    6. การอาบน้ำเมื่อเข้าเขตมักกะฮฺ
    7. การอาบน้ำเพื่อละหมาดสุริยคราสหรือจันทรุปราคาหรือละหมาดขอฝน
    8. การอาบน้ำของผู้หญิงที่มีเลือดเสีย (อิสติหาเฎาะฮฺ) สำหรับละหมาดทุกครั้ง
    9. ทุกๆการรวมตัวหรือชุมนุมกัน

4. เงื่อนไขการอาบน้ำ 7 ประการ
    1. หมดหรือยุติสิ่งที่จำเป็นต้องอาบน้ำ (หกประการที่กล่าวมาแล้ว)
    2. การตั้งเจตนา
    3. เป็นมุสลิม
    4. มีสติสัมปชัญญะ
    5. รู้เดียงสา
    6. ใช้น้ำที่สะอาดและเป็นที่อนุมัติ
    7. ขจัดสิ่งที่กั้นมิให้น้ำเข้าถึงผิวหนัง

5. สิ่งที่ต้องปฏิบัติ (วาญิบ)
    สิ่งที่ต้องปฏิบัติของการอาบน้ำ คือการกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ หากลืมก็ไม่เป็นไร

6. องค์ประกอบ (รุก่น) ของการอาบน้ำ
    คือการตั้งเจตนาและให้น้ำโดนทุกส่วนของร่างกาย ในช่องปาก และในจมูก และเพียงพอด้วยกับการมั่นใจว่าน้ำโดนทุกส่วนแล้ว
    ผู้ใดตั้งเจตนาอาบน้ำที่จำเป็น (วาญิบ ) หรือที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ (สุนนะฮฺ) ก็สามารถทดแทนกันได้
และเพียงพอกับการตั้งเจตนาอาบน้ำครั้งเดียวจากการมีเพศสัมพันธ์และประจำเดือน

7. ข้อควรปฏิบัติของการอาบน้ำ
    1. เริ่มด้วยการกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ (บิสมิลลาฮฺ)
    2. เริ่มด้วยการขจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ออกจากร่างกาย
    3. ล้างมือทั้งสองก่อนที่จะนำลงไปในภาชนะที่บรรจุน้ำ (ถังหรืออ่าง)
    4. อาบน้ำละหมาดก่อน
    5. เริ่มด้วยอวัยวะด้านขวา
    6. ปฏิบัติด้วยความต่อเนื่อง
    7. ใช้มือลูบให้ทั่วร่างกาย
    8. ล้างเท้าอีกครั้งเมื่อออกจากที่อาบน้ำ

8. สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติของการอาบน้ำ ( มักรูฮฺ )
    1. ใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย
    2. อาบน้ำในสถานที่สกปรก (นะญิส)
    3. อาบน้ำโดยไม่มีสิ่งปิดบัง (เช่นผนังหรือกำแพงหรืออื่นๆ)
    4. อาบในแหล่งน้ำที่นิ่ง (ไม่ไหลถ่ายเท)

 

9. ข้อห้ามสำหรับผู้ที่มีหะดัษใหญ่ (ผู้ที่ต้องอาบน้ำ)
    1. ละหมาด
    2. ฏอวาฟรอบอัลกะบะฮฺ (เดินวน)
    3. กระทบ ทูน ถืออัลกุรอานโดยไม่มีสิ่งห่อหุ้ม
    4. นั่งในมัสญิด
    5. อ่านอัลกุรอาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


บทบัญญัติเกี่ยวกับนะญิส (สิ่งปฏิกูล)
(النجاسات أحكامها إزالتها)

1. นิยาม
    เชิงภาษา คือ สิ่งสกปรก
    เชิงวิชาการ คือ สิ่งสกปรกที่เป็นอุปสรรคต่อการละหมาดเป็นการเฉพาะ เช่น ปัสสาวะ เลือด และเหล้า

2. ชนิดของนะญิส
    นะญิส มี 2 ชนิด
    1. นะญิสที่ติดอยู่กับตัว
    2. นะญิสตามบทบัญญัติ
    นะญิสที่ติดอยู่กับตัว คือ เรือนร่างที่เป็นนะญิส (สิ่งสกปรก )  และไม่สามารถทำให้สะอาดได้เลย เช่น สุนัขและสุกร
    นะญิสตามบทบัญญัต คือ นะญิสที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่สะอาด

3. ประเภทของนะญิส
    นะญิสแบ่งออก 3 ประเภท
    หนึ่ง   นะญิสที่บรรดาผู้รู้มีความเห็นพ้องกัน
     สอง   นะญิสที่บรรดาผู้รู้ขัดแย้งกันว่าเป็นนะญิสหรือไม่
     สาม   นะญิสที่ได้รับการยกเว้นหริออนุโลม
    ประเภที่หนึ่ง  นะญิสที่บรรดาผู้รู้มีความเห็นพ้องกัน
    1. ซากสัตว์บก (ตายโดยมิได้เชือดตามบทบัญญัติ) ส่วนซากสัตว์น้ำเป็นสิ่งที่สะอาด
    2. เลือดสัตว์บกที่ไหลขณะเชือด  
    3. เนื้อสุกร
    4. ปัสสาวะมนุษย์
    5. อุจจาระมนุษย์
    6. น้ำมะซีย์ (น้ำที่ออกจากอวัยวะเพศขณะที่มีกำหนัด)
    7. น้ำวะดีย์ (น้ำใสที่ออกจากอวัยวะเพศขณะขับถ่าย)
    8. เนื้อของสัตว์ที่ห้ามบริโภค
    9. ชิ้นส่วนที่ได้มาจากสัตว์ที่ยังมีชีวิต เช่นเท้าของแพะที่ถูกตัดขาด โดยที่ตัวแพะยังมีชีวิต
    10. เลือดประจำเดือน
    11. เลือดนิฟาส (เลือดหลังการคลอดบุตร)
    12. เลือดอิสติหาเฎาะฮฺ (เลือดเสียของผู้หญิง)
    ประเภทที่สอง  นะญิสที่บรรดาผู้รู้มีความเห็นขัดแย้งกัน
    1. ปัสสาวะของสัตว์ที่อนุญาตให้บริโภคเนื้อ
    2. มูลของสัตว์ที่อนุญาตให้บริโภคเนื้อ
    3. น้ำอสุจิ
    4. น้ำลายสุนัข
    5. อาเจียน
    6. ซากของสัตว์ที่ไม่มีเลือด เช่น ผึ้ง แมลงสาบ เหา และอื่นๆ
    ประเภทที่สาม  สิ่งที่ได้รับการยกเว้นหรืออนุโลม
    1. ดินตามท้องถนน
    2. เลือดเพียงเล็กน้อย
    3. น้ำเหลือง และน้ำหนอง ของมนุษย์หรือของสัตว์ที่อนุญาตให้บริโภคเนื้อ

4. การทำความสะอาดนะญิส
•    ทำความสะอาดด้วยการล้าง พรมน้ำ  การถู และการเช็ด
•    เสื้อผ้าที่เปื้อนนะญิส ทำความสะอาดโดย :
        หากนะญิสเป็นก้อน ก็ให้ถูและขูดออก แล้วก็ล้าง และหากนะญิสนั้นเปียก ก็ให้ล้าง
•    ปัสสาวะของเด็กผู้ชาย ทำความสะอาดโดย 
         เด็กที่ยังไม่บริโภคสิ่งใดนอกจากนม ก็ให้โปรยน้ำลงไป
•    นะญิสบนพื้นดินถ้าแห้งเป็นก้อน ก็ให้ขูดออก หากเป็นของเหลว ก็ให้เทน้ำลงไป
•    รองเท้าที่เปื้อนนะญิส ก็ให้ถูหรือเดินบนสิ่งที่สะอาด
•    และสิ่งที่เป็นเงาลื่น  เช่นกระจก มีด พื้นกระเบื้อง และอื่นๆก็ให้เช็ดถู
•    ภาชนะที่ถูกสุนัขเลีย ก็ให้ล้างเจ็ดครั้ง  โดยใช้น้ำดินหนึ่งครั้ง

 

 

 

 

การทำตะยัมมุม
(التيمـم)

1. นิยาม
    เชิงภาษา คือ การเจตนา การค้นหา และความตั้งใจ
    เชิงวิชาการ คือ การใช้ดินสะอาดเช็ดที่ใบหน้าและมือ ตามรูปแบบที่ถูกกำหนดซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่อัลลอฮฺให้แก่ประชาชาตินี้ คือการใช้ดินทดแทนน้ำในการทำความสะอาด

2. ผู้ที่อนุโลมให้ทำตะยัมมุม
    1. ผู้ที่ไม่มีน้ำ (หาน้ำไม่ได้หรืออยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ)
    2. มีบาดแผลหรือเจ็บป่วยและเกรงว่าจะเกิดอันตรายจากการใช้น้ำ
    3. อากาศหนาวจัดและไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น
    4. น้ำมีปริมาณน้อยไม่พอเพียงต่อการบริโภค

3. เงื่อนไขที่ต้องทำตะยัมมุม
    1. บรรลุศาสนะภาวะ
    2. ไม่มีอุปสรรคในการใช้ดิน
    3. มีหะดัษเล็กหรือหะดัษใหญ่ (คือมีมูลเหตุที่ต้องอาบน้ำละหมาดหรืออาบน้ำ)

4. เงื่อนไขที่ทำให้การตะยัมมุมสมบูรณ์
    1. เป็นมุสลิม
    2. สะอาดจากเลือดประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอดบุตร
    3. มีสติสัมปชัญญะ
    4. ใช้ดินหรือฝุ่นที่สะอาด

5. สิ่งที่ต้องปฏิบัติของการทำตะยัมมุม (องค์ประกอบ)
    1. การตั้งเจตนา
    2. ดินหรือฝุ่นที่สะอาด
    3. การแตะดินครั้งที่หนึ่ง
    4. ลูบหน้าและมือทั้งสอง


6. สิ่งที่ควรปฏิบัติของการตะยัมมุม
    1. กล่าวพระนามของอัลลอฮฺ (บิสมิลละฮฺ)
    2. ผินหน้าทางกิบละฮฺ
    3. ตะยัมมุมเมื่อต้องการละหมาด
    4. ตบดินครั้งที่สอง
    5. เรียบเรียงตามลำดับ
    6. ปฏิบัติติดต่อกัน
    7. สางนิ้วมือ

7. สิ่งที่ทำให้ตะยัมมุมเป็นโมฆะ
    1. มีน้ำ
    2. มีหะดัษเล็กและหะดัษใหญ่ (มีมูลเหตที่ต้องอาบน้ำละหมาดและอาบน้ำดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) เนื่องจากการตะยัมมุมนั้นทดแทนการอาบน้ำหรืออาบน้ำละหมาด

8. วิธีการตะยัมมุม
    ตั้งเจตนาตะยัมมุม แล้วกล่าวบิสมิลละฮฺ ใช้มือทั้งสองแตะดิน แล้วนำมาลูบหน้าและมือทั้งสอง โดยเรียงตามลำดับและติดต่อกัน

9. การตะยัมมุมบนเฝือกและบาดแผล
       ผู้ใดที่มีบาดแผลตามร่างกาย หรือมีรอยฉีกขาด และเกรงว่าจะเกิดอันตรายหากโดนน้ำ หรือมีความลำบากที่จะเช็ดด้วยน้ำ ก็ให้ตะยัมมุมที่บาดแผล และส่วนอื่นๆก็ใช้น้ำล้าง
        ผู้ที่ไม่มีน้ำและดิน ก็ให้ละหมาดตามสภาพ และไม่ต้องละหมาดใหม่

 

 

 

 


การลูบรองเท้าหนังและเฝือก
(المسح على الخفين والجبائر)

1. อับดุลลอฮุ อิบนุ อัล-มุบาร็อก กล่าวว่า “การลูบบนรองเท้าหนังนั้นไม่มีความเห็นคัดค้านหรือขัดแย้งกัน”
    อิมามอะฮฺมัด กล่าวว่า “ ฉันปราศจากข้อสงสัยในเรื่องการลูบบนรองเท้าหนัง ซึ่งมีรายงานถึงสี่สิบหะดีษจากท่านเราะสูล”  
    และยังกล่าวอีกว่า “การลูบดีกว่า (ประเสริฐกว่า ) การล้าง อันเนื่องจากรอสูลและบรรดาสาวกแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า”

2. ระยะเวลา
      สำหรับผู้ที่ไม่เดินทาง คือหนึ่งวันและหนึ่งคืน  และสำหรับผู้เดินทาง  คือ 3 วันและ 3 คืน เริ่มนับตั้งแต่การเสียน้ำละหมาดครั้งแรกหลังจากที่สวมใส่

3. เงื่อนไข
        รองเท้าหนังที่สวมใส่นั้นต้องสะอาด เป็นที่อนุมัติ ปกปิดเท้าในส่วนที่จำเป็นต้องล้าง  และผู้สวมใส่ต้องมีน้ำละหมาดอยู่ก่อนหน้า

4. ลักษณะการลูบบนรองเท้าหนัง
      เอามือจุ่มน้ำ แล้วลูบบนหลังรองเท้า จากปลายเท้าจนถึงลำแข้ง เพียงครั้งเดียว โด