Дар бораи мақола

Муаллиф :

Muhammad Bin Ibrahim Al-Tuwajre

Сана :

Tue, Apr 25 2017

Категория :

Morals & Ethics

Бор кунед

การเยี่ยมมัสยิดนะบะวีย์

 

 


การเยี่ยมมัสยิดนะบะวีย์
﴿زيارة المسجد النبوي﴾
]  ไทย – Thai – تايلاندي [


มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

 

แปลโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

2009 - 1430


 

 

 

 


﴿زيارة المسجد النبوي﴾
« باللغة التايلاندية »


الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

 

ترجمة: عصران إبراهيم
مراجعة: صافي عثمان
مصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

2009 - 1430
 


 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

การเยี่ยมมัสยิดนะบะวีย์

ลักษณะพิเศษของมัสยิดทั้งสามแห่ง
มัสยิดทั้งสามแห่ง คือ มัสยิดอัล-หะรอม มัสยิดนะบะวีย์ และมัสยิดอักศอ
1. มัสยิดอัล-หะรอมสร้างโดยท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม และบุตรชายของท่าน ท่านนบีอิสมาอีล เป็นทิศกิบลัตสำหรับชาวมุสลิม เป็นสถานที่ประกอบพิธีหัจญ์ และเป็นมัสยิดหลังแรกที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับมวลมนุษย์ โดยอัลลอฮฺทรงประทานความจำเริญแก่มัสยิดแห่งนี้ ให้เป็นทางนำแห่งสากลโลก
ส่วนมัสยิดนะบะวีย์นั้น สร้างโดยท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม เป็นมัสยิดที่ถูกสร้างขึ้นบนรากฐานแห่งความตักวายำเกรง
ส่วนมัสยิดอักศอนั้น สร้างโดยท่านนบียะอฺกู๊บ อะลัยฮิสสลาม ถือเป็นทิศกิบลัตแรกสำหรับชาวมุสลิม

2. ผลบุญการละหมาดในมัสยิดทั้งสามแห่งนี้จะได้รับการเพิ่มพูนอย่างมหาศาล ด้วยลักษณะพิเศษเหล่านี้และลักษณะพิเศษอื่นๆ ศาสนาจึงไม่อนุญาตให้ตั้งใจแน่วแน่ที่จะเดินทางไปยังที่ใดที่หนึ่งนอกเหนือไปจากมัสยิดทั้งสามแห่งนี้

    - ไม่อนุญาต(หะรอม) ให้ตั้งใจแน่วแน่ที่จะเดินทางไปเยี่ยมกุโบร์(สุสาน) เป็นการเฉพาะโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นกุโบร์ของนบี หรือของผู้ใดก็ตาม

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

«لَا تُشَدُّ الرِّحَالُ إِلَّا إِلَى ثَلَاثَةِ مَسَاجِدَ المَسْجِدِ الحَرَامِ، وَمَسْجِدِ الرَّسُولِ صلى الله عليه وسلم، وَمَسْجِدِ الْأَقْصَى»
ความว่า “ไม่มีการตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินทาง ยกเว้นการเดินไปยังมัสยิดสามแห่ง มัสยิดอัล-หะรอม มัสยิดเราะสูล และมัสยิดอัล-อักศอ” (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ : อัล-อัล-บุคอรีย์ย์ 1189 และมุสลิม 1397)


หุก่มการเยี่ยมมัสยิดนะบะวีย์
ส่งเสริม(สุนัต)ให้มุสลิมเยี่ยมมัสยิดนะบะวีย์ โดยเมื่อเข้าไปแล้วก็ให้ละหมาดตะหิยะตุลมัสยิดสองร็อกอัต หลังจากนั้นให้เดินไปยังกุโบร์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยืนตรงด้านหน้าพร้อมกล่าวว่า:
السلام عليك أيها النبي ورحمة الله وبركاته
ความว่า “ความสันติความเมตตาและความจำเริญแห่งอัลลอฮฺจงประสบแด่ท่านเถิด โอ้ท่านนบี”

หลังจากนั้น ให้กล่าวดุอาอ์เยี่ยมกุโบร์ตามที่มีรายงานหลักฐานระบุไว้ แล้วจึงเขยิบไปทางขวาเล็กน้อยเพื่อให้สลามแก่ท่านอบูบักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เมื่อเสร็จแล้วให้เขยิบไปทางขวาเล็กน้อยเพื่อให้สลามแก่ท่านอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ

ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا مِنْ أَحَدٍ يُسَلِّـمُ عَلَـيَّ إلَّا رَدَّ الله عَلَيَّ رُوحِي حَتَّى أَرُدَّ عَلَيْـهِ السَّلامَ»
ความว่า “ไม่มีผู้ใดให้สลามแก่ฉัน เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงให้วิญญาณของฉันกลับคืนสู่ร่างกายฉันเพื่อที่ฉันจะได้กล่าวรับสลามของเขา” (บันทึกโดยอะหฺมัด 10827 และอบู ดาวูด 2041)

ความประเสริฐของการละหมาดที่มัสยิดนะบะวีย์
การละหมาดที่มัสยิดนะบะวีย์ ณ นครมะดีนะฮฺ จะได้รับผลบุญเทียบเท่าการละหมาดที่มัสยิดอื่นๆ หนึ่งพันเวลา ยกเว้นมัสยิดอัล-หะรอม
1. ท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
«صَلاةٌ فِي مَسْجِدِي هَذَا، أَفْضَلُ مِنْ أَلْفِ صَلاةٍ فِيْـمَا سِوَاهُ إلَّا المَسْجِدَ الحَرَامَ»
ความว่า “ละหมาดหนึ่งเวลาในมัสยิดของฉันแห่งนี้ ประเสริฐกว่าการละหมาดพันครั้งในมัสยิดอื่นๆ ยกเว้นมัสยิดอัล-หะรอม” (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ อัล-บุคอรีย์ 1190 และมุสลิม 1395)

2. ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
«مَا بَيْنَ بَيْتِي وَمِنْبَرِي رَوْضَةٌ مِنْ رِيَاضِ الجَنَّةِ، وَمِنْبَرِي عَلَى حَوضِي»
ความว่า “ระหว่างบ้านฉันกับมิมบัรของฉันนั้นคือสวนหนึ่งจากบรรดาสวนในสวรรค์ และมิมบัรของฉันนั้นอยู่ในตำแหน่งของสระน้ำของฉัน” (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ อัล-บุคอรีย์ 1196 และมุสลิม 1391)

- และส่งเสริม(สุนัต) ให้เยี่ยมสุสานอัล-บะกีอฺ และสุสานของบรรดาชะฮีดในสมรภูมิอุหุด พร้อมให้สลาม ดุอาอ์ และขออภัยโทษให้แก่พวกเขาเหล่านั้น โดยกล่าวขณะเยี่ยมกุโบร์ว่า:
1.
«السَّلامُ عَلَى أَهْلِ الدِّيَارِ مِنَ المُؤْمِنِينَ وَالمُسْلِـمِينَ، وَيَرْحَـمُ الله المُسْتَقْدِمِينَ مِنَّا وَالمُسْتَأْخِرِينَ، وَإنَّا إَنْ شَاءَ الله بِكُمْ لَلاحِقُونَ»
ความว่า “ความสันติจงประสบแด่ผู้ที่พำนักอยู่ ณ ที่แห่งนี้ จากบรรดาผู้ศรัทธาและชาวมุสลิม ขออัลลอฮฺทรงเมตตาผู้ที่ล่วงหน้าไปก่อนจากพวกเราและผู้ตามไปทีหลัง และแท้จริงพวกเรานั้น อินชาอัลลอฮฺ จะต้องติดตามพวกท่านไปอย่างแน่นอน” (บันทึกโดยมุสลิม 974)

2. หรือกล่าวว่า:
«السَّلامُ عَلَيكُمْ أَهْلَ الدِّيَارِ مِنَ المُؤْمِنِينَ وَالمُسْلِـمِينَ، وَإنَّا إَنْ شَاءَ الله لَلاحِقُونَ، أَسْأَلُ الله لَنَا وَلَكُمُ العَافِيَةَ»
ความว่า “ความสันติจงประสบแด่พวกท่าน โอ้ผู้พำนัก ณ ที่แห่งนี้ จากบรรดาผู้ศรัทธาและชาวมุสลิม และแท้จริงเรานั้น อินชาอัลลอฮฺ จะต้องติดตามพวกท่านไปอย่างแน่นอน ฉันขอให้อัลลอฮฺทรงให้เราและท่านปลอดภัยด้วยเถิด” (บันทึกโดยมุสลิม 975)

ความประเสริฐของการละหมาดที่มัสยิดกุบาอ์
ส่งเสริมให้มุสลิมอาบน้ำละหมาดที่บ้านของตน แล้วมุ่งหน้าไปยังมัสยิดกุบาอ์ในสภาพที่ขับขี่ยานพาหนะหรือเดินเท้า และละหมาดที่นั่นสองร็อกอัต ซึ่งมีผลบุญเทียบเท่าการทำอุมเราะฮฺหนึ่งครั้ง ถ้าหากไปเยี่ยมในวันเสาร์ก็ยิ่งดี

1- ท่านสะฮฺล์ บิน หะนีฟ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
«مَنْ تَطَهَّرَ فِي بَيْتِـهِ، ثُمَّ أَتَى مَسْجِدَ قُبَاءَ فَصَلَّى فِيهِ صَلاةً، كَانَ لَـهُ كَأَجْرِ عُمْرَةٍ»
ความว่า “ผู้ใดอาบน้ำละหมาดชำระล้างร่างกายที่บ้านของเขา หลังจากนั้นเขามุ่งหน้าไปยังมัสยิดกุบาอ์แล้วทำการละหมาด เขาจะได้รับผลบุญเทียบเท่าการทำอุมเราะฮฺหนึ่งครั้ง” (บันทึกโดยนะสาอีย์ 699 และอิบนุมาญะฮฺ 1412)

2- ท่านอิบนุอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า : “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะไปมัสยิดกุบาอ์ทุกวันเสาร์ ในสภาพทีเดินเท้า หรือขี่พาหนะ” (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ อัล-บุคอรีย์ 1193 และมุสลิม 1399)

- การเยี่ยมมัสยิดนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่เมืองมะดีนะฮฺมิได้เป็นส่วนหนึ่งพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ โดยที่หัจญ์และอุมเราะฮฺสมบูรณ์ได้โดยที่ไม่ต้องเยี่ยมมัสยิดนบี เพียงแต่ส่งเสริมให้เยี่ยมมัสยิดของท่าน ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อทำการละหมาด ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม