เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

أمين بن عبد الله الشقاوي

วันที่ :

Tue, Nov 01 2016

ประเภท :

For New Muslim

บะเราะกะฮฺ ความจำเริญจากอัลลอฮฺ


บะเราะกะฮฺ ความจำเริญจากอัลลอฮฺ
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 

ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 


แปลโดย : ซุกรีย์นูร จงรักศักดิ์
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต
อัล-มุลกอฮฺ

 

2013 - 1434
 

 

البركة
« باللغة التايلاندية »

 

 

د. أمين بن عبدالله الشقاوي

 


ترجمة: شكري نور
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

 


2013 - 1434
 

 

 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

เรื่องที่ 7
บะเราะกะฮฺ ความจำเริญจากอัลลอฮฺ

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์...
     คนมุสลิมนั้น จะต้องขอให้พระองค์อัลลอฮฺตะอาลาทรงประทานความจำเริญให้แก่เขาทั้งในความรู้และการงาน ในเวลาและทรัพย์สมบัติ ในภรรยาและลูกหลาน ตลอดจนในดุนยาและอาคิเราะฮฺของเขา อีกทั้งจะต้องพยายามปฏิบัติการงานที่ทำให้เกิดความบะเราะกะฮฺ
อัร-รอฆิบได้กล่าวว่า “อัล-บะเราะกะฮฺคือการเกิดสิริมงคลจากพระเจ้าในสิ่งต่างๆ” ดังนั้น ความบะเราะกะฮฺ เมื่ออยู่ในสิ่งน้อยมันจะเพิ่มพูนทำให้มากและเมื่ออยู่ในสิ่งมากมันจะสร้างให้มีคุณค่า ประโยชน์ของบะเราะกะฮฺที่เห็นเด่นชัดในสิ่งต่างๆ คือการสามารถใช้เพื่อการภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺ  (ดู มุอฺญัม มุฟเราะดาต อัลฟาซ อัลกุรอานิลกะรีม หน้า 41)
พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า:
﴿ وَلَوۡ أَنَّ أَهۡلَ ٱلۡقُرَىٰٓ ءَامَنُواْ وَٱتَّقَوۡاْ لَفَتَحۡنَا عَلَيۡهِم بَرَكَٰتٖ مِّنَ ٱلسَّمَآءِ وَٱلۡأَرۡضِ وَلَٰكِن كَذَّبُواْ فَأَخَذۡنَٰهُم بِمَا كَانُواْ يَكۡسِبُونَ ٩٦ ﴾ [الأعراف: ٩٦]  
ความว่า : “และหากว่าชาวเมืองต่างศรัทธาและยำเกรงแล้วไซร้ เราก็จะเปิดขุมความบะเราะกะฮฺจากฟากฟ้าและแผ่นดินให้แก่พวกเขาอย่างแน่นอน แต่ทว่า พวกเขากลับปฏิเสธ เราจึงได้ลงโทษพวกเขาเพราะสิ่งที่พวกเขากระทำ” (อัล-อะอฺรอฟ : 96)

และด้วยความที่ท่านนบีและเหล่าเศาะหาบะฮฺของท่านเป็นบุคคลยึดมั่นปฏิบัติตนอยู่ในความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮฺมากที่สุด ความบะเราะกะฮฺจึงเกิดขึ้นกับพวกเขาอย่างมากมายและครอบคลุมมากที่สุด พระองค์อัลลอฮฺได้ชี้ทางนำแก่พวกเขาและบรรดาบ่าวที่ดีที่พระองค์ทรงประสงค์ดีให้ได้รับความบะเราะกะฮฺอย่างสมบูรณ์ นั้นก็คือ ได้ประทานคัมภีร์อันยิ่งใหญ่เล่มนี้ให้ปวงมนุษย์ได้ศึกษาและไตร่ตรอง
พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
﴿ كِتَٰبٌ أَنزَلۡنَٰهُ إِلَيۡكَ مُبَٰرَكٞ لِّيَدَّبَّرُوٓاْ ءَايَٰتِهِۦ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ ٢٩ ﴾ [ص: ٢٩]  
ความว่า : “คือ คัมภีร์ (อัลกุรอาน) ที่เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อให้พวกเขาได้พินิจพิจารณาโองการต่าง ๆ และเพื่อให้ปวงผู้มีสติปัญญาได้ใคร่ครวญ” (ศอด : 29)

มีรายงานจากอบู อุษมานว่า : ท่านอับดุรเราะหฺมาน บิน อบู บักรฺ -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา- ได้กล่าวว่า :
 عَنْ أَبِى عُثْمَانَ قَالَ عَبْدُ الرَّحْمَنِ بْنُ أَبِى بَكْرٍ - رضى الله عنهما جَاءَ
أَبُو بَكْرٍ بِضَيْفٍ لَهُ أَوْ بِأَضْيَافٍ لَهُ ، فَأَمْسَى عِنْدَ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - فَلَمَّا جَاءَ قَالَتْ أُمِّى احْتَبَسْتَ عَنْ ضَيْفِكَ - أَوْ أَضْيَافِكَ - اللَّيْلَةَ . قَالَ مَا عَشَّيْتِهِمْ فَقَالَتْ عَرَضْنَا عَلَيْهِ - أَوْ عَلَيْهِمْ فَأَبَوْا أَوْ - فَأَبَى ، فَغَضِبَ أَبُو بَكْرٍ فَسَبَّ وَجَدَّعَ وَحَلَفَ لاَ يَطْعَمُهُ ، فَاخْتَبَأْتُ أَنَا فَقَالَ يَا غُنْثَرُ . فَحَلَفَتِ الْمَرْأَةُ لاَ تَطْعَمُهُ حَتَّى يَطْعَمَهُ ، فَحَلَفَ الضَّيْفُ - أَوِ الأَضْيَافُ - أَنْ لاَ يَطْعَمَهُ أَوْ يَطْعَمُوهُ حَتَّى يَطْعَمَهُ ، فَقَالَ أَبُو بَكْرٍ كَأَنَّ هَذِهِ مِنَ الشَّيْطَانِ فَدَعَا بِالطَّعَامِ فَأَكَلَ وَأَكَلُوا فَجَعَلُوا لاَ يَرْفَعُونَ لُقْمَةً إِلاَّ رَبَا مِنْ أَسْفَلِهَا أَكْثَرُ مِنْهَا ، فَقَالَ يَا أُخْتَ بَنِى فِرَاسٍ مَا هَذَا فَقَالَتْ وَقُرَّةِ عَيْنِى إِنَّهَا الآنَ لأَكْثَرُ قَبْلَ أَنْ نَأْكُلَ فَأَكَلُوا وَبَعَثَ بِهَا إِلَى النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - فَذَكَرَ أَنَّهُ أَكَلَ مِنْهَا.
ความว่า ท่านอบูบักรฺได้นำแขกของท่านคนหนึ่งมาที่บ้าน (หรือแขกหลายคน) แล้วท่านก็ไปทำธุระตอนเย็นที่บ้านท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- เมื่อท่านกลับมา แม่ก็ถามว่า “ท่านกลับมาหาแขกช้าจังน่ะคืนนี้” พ่อตอบว่า “เธอยังไม่ได้เลี้ยงอาหารค่ำให้เขาอีกหรือ?” แม่บอกว่า “เราชวนแล้ว แต่เขาไม่กิน” แล้วอบูบักรฺก็โกรธ ท่านกล่าวต่อว่า (ลูกชายที่อยู่ในบ้านที่ไม่ดูแลแขก)และสาบานว่าจะไม่ยอมกินอาหาร แล้วฉันก็ซ่อนตัวและพ่อยังกล่าวต่อว่าอีกด้วยว่า “โอ้ เจ้าคนโง่” แล้วผู้หญิงก็สาบานว่าจะไม่ยอมกินอาหารจนกว่าท่านจะรับประทานและแล้วแขกก็สาบานเหมือนกันว่าจะไม่รับประทานจนกว่าท่านจะรับประทาน อบูบักรฺจึงพูดขึ้นว่า เสมือนว่าสิ่งนี้ (การสาบานจากผู้คนทั้งหมดที่ไม่ยอมกินอาหารจนกว่าท่านอบูบักรฺจะกินก่อน) มาจากชัยฏอน แล้วท่านก็สั่งให้จัดอาหาร แล้วท่านก็รับประทานและพวกเขาก็พากันรับประทาน ปรากฏว่าทุกครั้งที่พวกเขาหยิบขึ้นมากินนั้น อาหารที่อยู่ข้างล่างก็เพิ่มพูนมากกว่าเดิม ท่านพูดว่า “นี่มันอะไรกัน โอ้ แม่นางเป็นผู้สหายบะนีฟิรอส?” นางตอบว่า “โอ้ ดีใจจริงๆ ตอนนี้มันทวีขึ้นมากกว่าตอนยังไม่เริ่มกินเสียอีก” พวกเขาต่างพากันรับประทานและส่งไปฝากท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-และท่านก็รับประทานส่วนหนึ่ง (เศาะฮีหฺอัล-บุคอรียฺ เล่มที่ 4 หน้า 117 หมายเลข 6141)

มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ- ว่านางได้กล่าวว่า :
عَنْ عَائِشَةَ - رضى الله عنها - قَالَتْ لَقَدْ تُوُفِّىَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - وَمَا فِى رَفِّى مِنْ شَىْءٍ يَأْكُلُهُ ذُو كَبِدٍ ، إِلاَّ شَطْرُ شَعِيرٍ فِى رَفٍّ لِى ، فَأَكَلْتُ مِنْهُ حَتَّى طَالَ عَلَىَّ ، فَكِلْتُهُ ، فَفَنِىَ .
ความว่า : ท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้เสียชีวิตไปโดยที่ไม่มีอะไรบนชั้นวางของของฉันให้คนหรือสัตว์ได้กินเลย ยกเว้นข้าวบาร์เลย์เพียงจำนวนหนึ่ง ฉันกินจนนาน จึงเอามันมาชั่งดู แล้วมันก็หมดไป (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ เล่มที่ 4 หน้า 182 หมายเลข 6451)

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความบะเราะกะฮฺ เช่น การยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮฺ ซึ่งเมื่อบ่าวเกิดความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮฺในกิจการใดของชีวิตพระองค์อัลลอฮฺก็จะให้ความบะเราะกะฮฺแก่เขาในกิจการนั้นเท่าความยำเกรงที่เขามีหรือมากกว่า
พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสว่า:  
﴿ وَلَوۡ أَنَّ أَهۡلَ ٱلۡقُرَىٰٓ ءَامَنُواْ وَٱتَّقَوۡاْ لَفَتَحۡنَا عَلَيۡهِم بَرَكَٰتٖ مِّنَ ٱلسَّمَآءِ وَٱلۡأَرۡضِ وَلَٰكِن كَذَّبُواْ فَأَخَذۡنَٰهُم بِمَا كَانُواْ يَكۡسِبُونَ ٩٦ ﴾ [الأعراف: ٩٦]  
ความว่า : “และหากว่าชาวเมืองต่างศรัทธาและยำเกรงแล้วไซร้ เราก็จะเปิดขุมความบะเราะกะฮฺจากฟากฟ้าและแผ่นดินให้แก่พวกเขาอย่างแน่นอน แต่ทว่า พวกเขากลับปฏิเสธ เราจึงได้ลงโทษพวกเขาเพราะสิ่งที่พวกเขากระทำ” (อัล-อะอฺรอฟ : 96)

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดความบะเราะกะฮฺก็คือ การขอดุอาอ์ โดยท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้สอนเราให้ขอความบะเราะกะฮฺในกิจการต่าง เช่น สอนให้เราขอดุอาอ์ให้กับคู่แต่งงานว่า
« بَارَكَ اللَّهُ لَكَ وَبَارَكَ عَلَيْكَ وَجَمَعَ بَيْنَكُمَا فِى خَيْرٍ ». [الترمذي برقم 1091]
“บาเราะกัลลอฮุ ละกะ วะบาเราะกะ อะลัยกะ วะญะมะอะ บัยนะกุมา ฟี ค็อยริน” (ขอพระองค์อัลลอฮฺขอทรงประทานความบะเราะกะฮฺแด่ท่านและเหนือท่าน และขอทรงโปรดผูกสัมพันธ์ท่านทั้งสองให้อยู่ในความดี) (สุนัน อัต-ติรฺมิซียฺ เล่มที่ 3 หน้า 400 หมายเลข 1091 และท่านได้ให้ความเห็นว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษหะสันเศาะฮีหฺ)

ท่านยังสอนให้เราขอดุอาอ์แก่คนที่เลี้ยงอาหารแก่เราว่า
«اللَّهُمَّ بَارِكْ لَهُمْ فِيمَا رَزَقْتَهُمْ ، وَاغْفِرْ لَهُمْ وَارْحَمْهُمْ» [مسلم برقم 2042]
“อัลลอฮุมมะ บาริก ละฮุม ฟีมา เราะซะเกาะฮุม วัฆฟิรฺละฮุม วัรฺหัมฮุม” (โอ้พระองค์อัลลอฮฺขอทรงประทานความบะเราะกะฮฺ แก่พวกเขาในสิ่งที่พระองค์ทรงให้เป็นริซกีของพวกเขา และประทานอภัยโทษและปรานีแด่พวกเขาด้วยเถิด)(เศาะฮีหฺมุสลิม เล่มที่ 3 หน้า 400 หมายเลข 2042)

และสอนเราให้ขอดุอาอ์ให้อาหารเกิดความบะเราะกะฮฺว่า
« اللَّهُمَّ بَارِكْ لَنا فِيهَ ». [أبو داود برقم 3730]
“อัลลอฮุมมะ บาริก ละนา ฟีฮฺ” (โอ้พระองค์อัลลอฮฺขอทรงประทานความบะเราะกะฮฺให้กับมันด้วยเถิด) (อบู ดาวูด เล่มที่ 3 หน้า 339 หมายเลข 3730 และอัล-อัลบานียฺได้ระบุในหนังสือเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีรฺ หมายเลข 381 ว่าเป็นหะดีษที่หะสัน)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- นั้นมักมีคนพาเด็กมาให้ แล้วท่านก็ขอความบะเราะกะฮฺให้เกิดกับพวกเขา(สุนันอบู ดาวูด เล่มที่ 4 หน้า 328 หมายเลข 5106 )และเมื่อมีชาวบ้านนำผลไม้แรกเก็บมาให้ ท่านก็จะขอดุอาอ์ให้เกิดความบะเราะกะฮฺว่า
« اللَّهُمَّ بَارِكْ لَنَا فِى مَدِينَتِنَا وَفِى ثِمَارِنَا وَفِى مُدِّنَا وَفِى صَاعِنَا بَرَكَةً مَعَ بَرَكَةٍ ». ثُمَّ يُعْطِيهِ أَصْغَرَ مَنْ يَحْضُرُهُ مِنَ الْوِلْدَانِ. [مسلم برقم 1373]
“อัลลอฮุมมะ บาริกละนา ฟี มะดีนะตินา วะฟี ซิมารินา วะฟี มุดดินา วะฟี ศออินา บะเราะกะตัน ษุมมะ บะเราะกะตัน” (โอ้พระองค์อัลลอฮฺขอทรงประทานความบะเราะกะฮฺแก่เมืองของเรา ผลไม้ของเรา เครื่องวัดของเราและเครื่องตวงของเรา บะเราะกะฮฺแล้วบะเราะกะฮฺเล่า) แล้วท่านก็จะหยิบยื่นให้แก่เด็กเล็กที่สุดที่อยู่ต่อหน้า (เศาะฮีหฺมุสลิม เล่มที่ 2 หน้า 1000 หมายเลข 1373)

บางทีจะอยู่ในรูปของการได้รับทรัพย์สินอย่างสบายใจไม่ใช่ด้วยความหมกมุ่นหรืออยากได้จนเกินไป
ท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวกับหะกีม บินหิซาม -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ-ว่า :
«يَا حَكِيمُ ، إِنَّ هَذَا الْمَالَ خَضِرَةٌ حُلْوَةٌ ، فَمَنْ أَخَذَهُ بسخاوة نفس، بُورِكَ لَهُ فِيهِ ، وَمَنْ أَخَذَهُ بِإِشْرَافِ نَفْسٍ ، لَمْ يُبَارَكْ لَهُ فِيهِ ، كَالَّذِي يَأْكُلُ وَلا يَشْبَعُ» [البخاري برقم 1472، ومسلم 2/717]
ความว่า : หะกีมเอ๋ย อันที่จริงแล้ว ทรัพย์สมบัตินั้นเป็นสิ่งน่ามองน่าจับต้อง ผู้ใดที่ได้มันด้วยจิตที่ปลอดโปร่ง เขาก็จะได้ความบะเราะกะฮฺในสิ่งนั้น แต่ผู้ใดที่ได้มันด้วยความหมกมุ่นหรือตะกละก็จะไม่ได้รับความบะเราะกะฮฺในสิ่งนั้น เหมือนคนกินที่ไม่รู้อิ่ม (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ เล่มที่ 1 หน้า 456 หมายเลข 1472 และเศาะฮีหฺ มุสลิม เล่มที่ 2 หน้า 717)

และสิ่งหนึ่งที่อยู่ในข่ายนี้เหมือนกันก็คือ การใช้จ่ายเพื่อความดีและการชำระซะกาต ตลอดจนทำหน้าที่ของตัวเองด้วยความบริสุทธิ์และสบายใจ
พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
﴿وَمَآ أَنفَقۡتُم مِّن شَيۡءٖ فَهُوَ يُخۡلِفُهُۥۖ وَهُوَ خَيۡرُ ٱلرَّٰزِقِينَ ٣٩﴾ [سبأ : ٣٩]  
ความว่า : “และสิ่งใดที่พวกเจ้าบริจาคไป พระองค์ก็จะทรงทดแทนให้ใหม่ พระองค์นั้นทรงเป็นผู้ประทานปัจจัยยังชีพที่สุดยอดที่สุด” (สะบะอ์ : 39)

มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ- ว่าท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า :
«مَا نَقَصَتْ صَدَقَةٌ مِنْ مَالٍ» [مسلم برقم 2588]
ความว่า : “ทรัพย์สมบัติไม่เคยลดน้อยเพราะการบริจาค” (เศาะฮีหฺ มุสลิม เป็นส่วนหนึ่งของหะดีษ เล่มที่ 4 หน้า 2001 หมายเลข 2588)

และในหะดีษ กุดสียฺที่ อบู ฮุร็อยเราะฮฺ ได้รายงานจากท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ว่า :
«قَالَ اللَّهُ تبارك وتعالى يَا ابْنَ آدَمَ أَنْفِقْ أُنْفِقْ عَلَيْكَ» [مسلم برقم 993]
ความว่า : พระองค์อัลลอฮฺได้กล่าวว่า : โอ้ ลูกหลานของอาดัมเอ๋ย เจ้าจงบริจาคเถอะ แล้วฉันก็จะให้ทรัพย์สินแก่เจ้า (เศาะฮีหฺมุสลิม  เล่มที่ 2 หน้า 289 หมายเลข 993)

เช่นเดียวกับการคบค้ากับผู้คนด้วยความจริงใจ ทั้งการซื้อ ขาย การค้า ร่วมลงทุน หรือ อื่นๆ
มีรายงานจากหะกีม บิน หิชาม -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ-ว่าท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า :
«الْبَيِّعَانِ بِالْخِيَارِ مَا لَمْ يَتَفَرَّقَا أَوْ قَالَ: حَتَّى يَتَفَرَّقَا، فَإِنْ صَدَقَا وَبَيَّنَا بُورِكَ لَهُمَا فِي بَيْعِهِمَا، وَإِنْ كَتَمَا وَكَذَبَا مُحِقَتْ بَرَكَةُ بَيْعِهِمَا» [البخاري برقم 2110، مسلم برقم 1532]
ความว่า : ผู้ซื้อและผู้ขายย่อมสามารถเลือกตัดสินใจได้ตราบใดที่ไม่พรากจากกัน หากคนทั้งสองจริงใจและโปร่งใสต่อกันพระองค์อัลลอฮฺก็จะทรงประทานความบะเราะกะฮฺในการซื้อขายให้แก่คนทั้งสอง แต่หากว่า ต่างคนต่างซ่อนเร้นและโกหก ความบะเราะกะฮฺก็จะถูกลบล้างออกจากการซื้อขายของคนทั้งสอง (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ เล่มที่ 2 หน้า 92 หมายเลข 2110และเศาะฮีหฺ มุสลิม  เล่มที่ 3 หน้า 1164 หมายเลข 1532)

อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ การเริ่มทำงานและการค้าในตอนเช้าตรู่ ดังที่ศ็อครฺ อัล-ฆอมิดียฺ -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ- ได้รายงานว่าท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า :
«اللَّهُمَّ بَارِكْ لأُمَّتِي فِي بُكُورِهَا» [مسند أحمد 3/416، وصححه الألباني في صحيح الجامع برقم 1300]
ความว่า : โอ้พระองค์อัลลอฮฺขอทรงให้ความบะเราะกะฮฺแก่ประชาชาติของฉันในการออกทำงานตั้งแต่เช้าตรู่ของพวกเขา (มุสนัด อิหม่ามอะหฺมัด เล่มที่ 3 หน้า 416 อัล-อัลบานียฺได้ระบุในหนังสือเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีรฺ เล่มที่ 1 หน้า 278 หมายเลข 1300 ว่าเป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ)

ท่านกล่าวอธิบายว่า : ท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- นั้น เมื่อจะส่งกองทหารไป ท่านจะส่งในตอนเช้าตรู่เสมอ โดยศ็อครฺเป็นนักธุรกิจ ท่านจึงสั่งให้เด็กพนักงานออกทำงานตั้งแต่เช้าตรู่เสมอ ปรากฏว่าท่านได้ร่ำรวยถึงขนาดไม่จำว่าได้เก็บทรัพย์สมบัติไว้ที่ใดบ้าง
อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ การปฏิบัติตามสุนนะฮฺในการดื่มกิน ซึ่งในเรื่องนี้มีหะดีษมากมาย เราจะขอยกเพียงบางตัวอย่าง เช่นมีรายงานจากอิบนุ อับบาส -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา- ว่าท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า :
«الْبَرَكَةُ تَنْزِلُ وَسَطَ الطَّعَامِ فَكُلُوا مِنْ حَافَتَيْهِ وَلَا تَأْكُلُوا مِنْ وَسَطِهِ» [الترمذي برقم 1805]
ความว่า : “ความบะเราะกะฮฺ นั้นจะถูกประทานตรงใจกลางของสำรับอาหาร ดังนั้น พวกท่านจง รับประทานจากริมๆ ก่อน(ในกรณีที่ทานอาหารในถาดเดียวกัน)และจงอย่าเริ่มกินจากใจกลาง” (สุนัน อัต-ติรฺมิซียฺ เล่มที่ 4 หน้า 260 หมายเลข 1805)  

ญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮฺ -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา- ได้กล่าวว่า:
أَمَرَ رسول الله صلى الله عليه وسلم بِلَعْقِ الأصَابِعِ والصَحْفَةِ، وقال : «إِنَّكُمْ لاَ تَدْرُونَ فِى أَىِّ طَعَامِكُمُ الْبَرَكَةَ» [مسلم برقم 2034]
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้สั่งให้เลียนิ้วมือและจานอาหาร พร้อมกับกล่าวว่า : “พวกท่านไม่รู้ดอกว่าความบะเราะกะฮฺอยู่ในอาหารชิ้นไหน” (เศาะฮีหฺมุสลิม  เล่มที่ 3 หน้า 1606 หมายเลข 2034)

เช่นเดียวกับวะหฺชียฺ -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ- ที่ได้รายงานว่า
قَالُوا : يَا رَسُولَ اللهِ ، إِنَّا نَأْكُلُ وَلا نَشْبَعُ قَالَ : «فَلَعَلَّكُمْ تَأْكُلُونَ مُتَفَرِّقُينَ ؟» قَالُوا : نَعَمْ قَالَ : «فَاجْتَمِعُوا عَلَى طَعَامِكُمْ ، وَاذْكُرُوا اسْمَ اللهِ عليه يُبَارِكْ لَكُمْ فيه» [ابن ماجه برقم 3286، وحسنه الألباني في صحيح ابن ماجه برقم 2674]
ความว่า : พวกเขาถามว่า : โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ พวกเรารับประทานอาหารแล้ว แต่ไม่รู้สึกอิ่ม  ท่านตอบว่า อาจเป็นเพราะพวกท่านรับประทานอาหารอย่างไม่พร้อมหน้ากัน” พวกเขา ตอบว่า ใช่แล้ว ท่านบอกว่า ดังนั้น พวกท่านจงรับประทานอาหารอย่างพร้อมหน้า จงเอ๋ยนามของพระองค์อัลลอฮฺตอนจะรับประทาน แล้วพระองค์ก็จะประทานความบะเราะกะฮฺในอาหารนั้น (สุนัน อิบนุ มาญะฮฺ เล่มที่ 2 หน้า 1093 หมายเลข 3286 และอัลบานียฺได้ระบุในหนังสือเศาะฮีหฺอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2674 ว่าเป็นหะดีษหะสัน)

วิธีการให้ได้รับความบะเราะกะฮฺอีกประการหนึ่งก็คือ การอิสติคอเราะฮฺ ขอจากพระองค์อัลลอฮฺในทุกเรื่อง พร้อมกับมั่นใจว่าสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺเลือกให้กับของพระองค์นั้นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเขาไม่เร็วก็ช้า โดยท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้สั่งสอนให้เหล่าเศาะหาบะฮฺทำการอิสติคอเราะฮฺด้วยความเอ็นดูเมตตาเหมือนกับสอนอัลกุรอานสูเราะฮฺหนึ่งให้กับพวกเขา ท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮฺ -เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ- ได้รายงานว่า
عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ - رضى الله عنهما - قَالَ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - يُعَلِّمُنَا الاِسْتِخَارَةَ فِى الأُمُورِ كَمَا يُعَلِّمُنَا السُّورَةَ مِنَ الْقُرْآنِ يَقُولُ « إِذَا هَمَّ أَحَدُكُمْ بِالأَمْرِ فَلْيَرْكَعْ رَكْعَتَيْنِ مِنْ غَيْرِ الْفَرِيضَةِ ثُمَّ لِيَقُلِ اللَّهُمَّ إِنِّى أَسْتَخِيرُكَ بِعِلْمِكَ وَأَسْتَقْدِرُكَ بِقُدْرَتِكَ ، وَأَسْأَلُكَ مِنْ فَضْلِكَ الْعَظِيمِ ، فَإِنَّكَ تَقْدِرُ وَلاَ أَقْدِرُ وَتَعْلَمُ وَلاَ أَعْلَمُ وَأَنْتَ عَلاَّمُ الْغُيُوبِ ، اللَّهُمَّ إِنْ كُنْتَ تَعْلَمُ أَنَّ هَذَا الأَمْرَ خَيْرٌ لِى فِى دِينِى وَمَعَاشِى وَعَاقِبَةِ أَمْرِى - أَوْ قَالَ عَاجِلِ أَمْرِى وَآجِلِهِ - فَاقْدُرْهُ لِى وَيَسِّرْهُ لِى ثُمَّ بَارِكْ لِى فِيهِ ، وَإِنْ كُنْتَ تَعْلَمُ أَنَّ هَذَا الأَمْرَ شَرٌّ لِى فِى دِينِى وَمَعَاشِى وَعَاقِبَةِ أَمْرِى - أَوْ قَالَ فِى عَاجِلِ أَمْرِى وَآجِلِهِ - فَاصْرِفْهُ عَنِّى وَاصْرِفْنِى عَنْهُ ، وَاقْدُرْ لِى الْخَيْرَ حَيْثُ كَانَ ثُمَّ أَرْضِنِى به» [البخاري برقم 7390]
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้สอนพวกเราให้ทำการอิสติคอเราะฮฺในทุกเรื่องเหมือนกับที่ได้สอนอัลกุรอานสูเราะฮฺหนึ่งให้กับพวกเรา ท่านบอกว่า : เมื่อพวกท่านคนคนใดครุ่นคิดอยากจะทำสิ่งหนึ่ง เขาจงลุกขึ้นละหมาดสองร็อกอะฮฺที่ไม่ใช่ละหมาดฟัรฺฎู จากนั้นให้ขอดุอาอ์ว่า “อัลลอฮุมมะ อินนี อัสตะคีรุกะ บิอิลมิกะ วะอัสตักดิรุกะ บิกุดเราะติกะ วะอัสอะลุกะ มินฟัฎลิกัลอะซีม ฟะอินนะกะ ตักดิรฺ วะลาอักดิรฺ วะตะอฺลัม วะลาอะอฺลัม วะอันตะ อัลลามุลฆุยูบ อัลลอฮุมมะ ฟะอิน กุนตะ ตะอฺลัม อันนะ ฮาซัลอัมรฺ ค็อยรุนลี ฟีดีนี วะดุนยายา วะมะอาชี วะอากิบะติอัมรี (หรือ อาญิละฮู วะอาญิลาฮู) ฟักดุรฺฮุลี วะยัสสิรฺฮุลี ษุมมะ บาริกลีฟีฮฺ วะอินกุนตะ ตะอฺลัม อันนะ ฮาซัลอัมรฺ ชัรฺรุนลี ฟีดีนี วะมะอาชี วะอากิบะติอัมรี (หรือ อาญิละฮู วะอาญิลาฮู) ฟัศริฟฮุอันนี วัศริฟนีอันฮฺ วักดุรฺลิยัลค็อยรฺ หัยษุกานะ ษุมมะอัรฺฎินี บิฮี (ความว่า : โอ้พระองค์อัลลอฮฺข้าขอปรึกษากับพระองค์ท่านด้วยความรู้ของพระองค์ท่าน ข้าขอพละกำลังจากพระองค์ท่านด้วยเดชานุภาพของพระองค์ท่าน เพราะพระองค์ท่านทรงสามารถส่วนข้านี้ไม่สามารถ พระองค์ท่านทรงรู้ส่วนข้านี้ไม่รู้ และพระองค์ท่านคือผู้ทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับ โอ้พระองค์อัลลอฮฺหากพระองค์ท่านทรงรู้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องดีต่อข้า ทั้งต่อกิจการศาสนา ความเป็นอยู่และผลลัทธ์สุดท้าย (หรือในระยะสั้นและในระยะยาว) ก็ขอทรงทำให้ฉันได้รับมันอย่างง่ายดาย แล้วให้ความบะเราะกะฮฺแก่ฉันในสิ่งนั้น แต่ถ้าหากพระองค์ท่านของรู้ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดีสำหรับฉัน ทั้งต่อกิจการศาสนา ความเป็นอยู่และผลลัทธ์สุดท้าย (หรือในระยะสั้นและในระยะยาว) ก็ขอทรงปัดมันให้ไกลฉันและปัดฉันให้ไกลมันและขอทรงให้ฉันได้สิ่งดีๆ ไม่ว่ามันจะอยู่ที่ไหนก็ตามแล้วก็ขอทรงโปรดปรานฉันในสิ่งนั้น (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ เล่มที่ 4หน้า 382 หมายเลข 7390)


والحمد لله رب العالمين ،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين .