เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

راشد بن حسين العبد الكريم

วันที่ :

Sun, Oct 23 2016

ประเภท :

For New Muslim

สถานะของวันศุกร์ และสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ


สถานะของวันศุกร์ และสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 


ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 

แปลโดย : อับดุศศอมัด อัดนาน
ตรวจทานโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรอร อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ

 

2013 - 1435
 

 

الجمعة ومكانتها والسنن التي تعمل في ذلك اليوم
« باللغة التايلاندية »

 

 


د. أمين بن عبدالله الشقاوي

 

ترجمة: عبدالصمد عدنان
مراجعة: يوسف أبوبكر
           المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

 

2013 - 1435
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

เรื่องที่ 119
ความประเสริฐของวันศุกร์

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์...
อัลลอฮฺสุบหานะฮุวะตะอาลาทรงคัดเลือกสิ่งที่ดีงามแก่ประชาชาติของท่านนบีเสมอ โดยที่มิได้เลือกให้แก่ชนกลุ่มใดมาก่อน ส่วนหนึ่งคือการที่อัลลอฮฺได้ทรงคัดเลือกวันศุกร์ให้แก่ประชาชาตินี้และได้กำหนดให้เป็นวันที่สำคัญยิ่งแก่พวกเขา ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«أَضَلَّ اللَّهُ عَنْ الْجُمُعَةِ مَنْ كَانَ قَبْلَنَا، فَكَانَ لِلْيَهُودِ يَوْمُ السَّبْتِ، وَكَانَ لِلنَّصَارَى يَوْمُ الْأَحَدِ، فَجَاءَ اللَّهُ بِنَا فَهَدَانَا اللَّهُ لِيَوْمِ الْجُمُعَةِ، فَجَعَلَ الْجُمُعَةَ وَالسَّبْتَ وَالْأَحَدَ، وَكَذَلِكَ هُمْ تَبَعٌ لَنَا يَوْمَ الْقِيَامَةِ، نَحْنُ الْآخِرُونَ مِنْ أَهْلِ الدُّنْيَا، وَالْأَوَّلُونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ الْمَقْضِيُّ لَهُمْ قَبْلَ الْخَلَائِقِ» [رواه مسلم ورواه البخاري بمعناه]
ความว่า “อัลลอฮฺทรงทำให้กลุ่มชนก่อนหน้าพวกเราหันเหออกจากวันศุกร์ โดยให้วันเสาร์เป็นวันสำคัญของชาวยิว และวันอาทิตย์เป็นวันสำคัญของชาวคริสต์ ครั้นเมื่ออัลลอฮฺได้ให้ประชาชาตินี้อุบัติขึ้นมา พระองค์ได้ชี้นำเราให้เลือกเอาวันศุกร์เป็นวันสำคัญ ดังนั้นวันที่สำคัญของชาวโลกคือวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ซึ่งพวกเขาจะตกอยู่เบื้องหลังเราในวันกิยามะฮฺ พวกเราเป็นกลุ่มชนที่มาหลังจากพวกเขา แต่ทว่าในวันกิยามะฮฺนั้นพวกเราเป็นกลุ่มชนที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งที่จะถูกไต่สวนก่อนากลุ่มชนใดทั้งปวง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 856  และอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 876 )

และท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวอีกว่า
«خَيْرُ يَوْمٍ طَلَعَتْ عَلَيْهِ الشَّمْسُ يَوْمُ الْجُمُعَةِ ، فِيْهِ خُلِقَ آدَمُ، وَفِيهِ أُدْخِلَ الجَنَّةَ ، وَفِيْهِ أُخْرِجَ مِنْهَا» [رواه  مسلم]
ความว่า “วันที่ประเสริฐที่สุดหลังจากที่ดวงอาทิตย์ขึ้น คือวันศุกร์ ซึ่งในวันนั้นอัลลอฮฺได้สร้างท่านนบีอาดัมขึ้นมา และได้นำท่านเข้าสู่สวนสวรรค์ และได้ให้ท่านออกจากสวนสวรรค์ และวันกิยามะฮฺจะไม่เกิดขึ้นนอกจากในวันศุกร์” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 854)

ความประเสริฐของวันศุกร์
1.    อัลลอฮฺทรงกำหนดให้วันศุกร์เป็นวันอีดแก่บรรดามุสลีมีน ดังที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«إِنَّ هَذَا يَوْمُ عِيدٍ جَعَلَهُ اللَّهُ لِلْمُسْلِمِينَ، فَمَنْ جَاءَ إِلَى الْجُمُعَةِ فَلْيَغْتَسِلْ» [رواه ابن ماجه]
ความว่า “วันนี้เป็นวันอีด ซึ่งเป็นวันที่อัลลอฮฺได้กำหนดให้แก่บรรดามุสลิมีน ดังนั้น ใครก็ตามที่มาร่วมวันศุกร์ ก็ให้เขาจงอาบน้ำก่อนเถิด” (บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ หน้าที่ : 124  หมายเลข : 1098 )

2.    ในแต่ละวันศุกร์จะมีช่วงเวลาแห่งการตอบรับดุอาอ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อัลลอฮฺทรงตอบสนองคำวิงวอนของปวงบ่าว จากทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาต้องการและได้วิงวอนร้องขอในช่วงเวลาดังกล่าว อิหม่ามอัล-บุคอรีย์และอิหม่ามมุสลิมได้บันทึกจากหะดีษอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنَّ فِي الْجُمُعَةِ لَسَاعَةً لَا يُوَافِقُهَا مُسْلِمٌ قَائِمٌ يُصَلِّي يَسْأَلُ اللَّهَ خَيْرًا إِلَّا أَعْطَاهُ إِيَّاهُ ، وَقَالَ بِيَدِهِ يُقَلِّلُهَا يُزَهِّدُهَا» [رواه البخاري و مسلم]
ความว่า “แท้จริงในวันศุกร์จะมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ไม่มีบ่าวมุสลิมคนใด ที่เขาได้ยืนขึ้นวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺในสิ่งที่เป็นความดีงาม นอกจากอัลลอฮฺจะทรงตอบรับคำวิงวอนของเขาอย่างแน่นอน”- ท่านส่งสัญญาณด้วยมือว่ามันเป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นๆ- (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 5294 และมุสลิม หมายเลข : 852 )

ความเห็นเกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งการตอบรับดุอาอ์
บรรดาอุละมาอ์มีความเห็นต่างกันเกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งการตอบรับดุอาอ์ในวันศุกร์ออกเป็นหลายทัศนะด้วยกัน แต่ที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมีสองทัศนะ ดังนี้
1.    ช่วงเวลาดังกล่าวคือเริ่มตั้งแต่อิหม่ามนั่งลงตอนขึ้นคุฏบะฮฺจนกระทั่งเสร็จสิ้นการละหมาด โดยยึดเอาหลักฐานจากหะดีษที่บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิมรายงานว่าท่านอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรได้ถามท่านอบูบุรดะฮฺว่า บิดาของเขา (คืออบูมูซา) เคยได้ยินท่านเราะสูลพูดเกี่ยวกับเวลาที่อัลลอฮฺทรงตอบรับดุอาอ์ในวันศุกร์บ้างไหม? ท่านตอบว่า ครับ ฉันได้ยินท่านพูดว่า ท่านเราะสูลได้กล่าวว่า
«هِيَ مَا بَيْنَ أَنْ يَجْلِسَ الْإِمَامُ إِلَى أَنْ تُقْضَى الصَّلَاةُ» [رواه مسلم]
ความว่า “มัน(ช่วงเวลาดังกล่าว)นั้นอยู่ในช่วงระหว่างที่อิหม่ามนั่ง (อยู่บนมินบัร) จนกระทั่งละหมาดเสร็จ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 853)

2.    เริ่มตั้งแต่หลังละหมาดอัศรฺ ทัศนะนี้ถือได้ว่าเป็นทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุด โดยอ้างหลักฐานจากหะดีษของญาบิรเล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«يَوْمُ الْجُمُعَةِ اثْنَتَا عَشْرَةَ سَاعَةً لَا يُوجَدُ فِيهَا عَبْدٌ مُسْلِمٌ يَسْأَلُ اللَّهَ شَيْئًا إِلَّا آتَاهُ إِيَّاهُ فَالْتَمِسُوهَا آخِرَ سَاعَةٍ بَعْدَ الْعَصْرِ» [رواه النسائي]  
ความว่า “ห้วงเวลาของวันศุกร์มีสิบสองชั่วโมง ไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดที่วิงวอนขอต่ออัลลอฮฺในเวลานั้น นอกจากว่าอัลลอฮฺจะทรงตอบรับอย่างแน่นอน พวกท่านทั้งหลายจงแสวงหาในช่วงสุดท้ายหลังละหมาดอัศรฺเถิด” (บันทึกโดยอัน-นะสาอียฺ หมายเลข : 1389)

อนึ่ง...ทัศนะนี้เป็นทัศนะส่วนมากของบรรดาชาวสะลัฟ และเป็นทัศนะที่มีหะดีษหลายบทมารองรับ สำหรับหะดีษที่รายงายโดยอบูมูซาข้างต้น (ตามทัศนะที่หนึ่ง) มีข้อบกพร่องหลายจุดด้วยกัน ดั่งที่อิบนุหะญัรได้อธิบายไว้ในหนังสือฟัตหุลบารียฺ (ดูฟัตหุลบารียฺ เล่มที่ : 2 หน้า : 421-422 )

3.     วันศุกร์เป็นวันที่อัลลอฮฺจะลบล้างความผิด ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«الصَّلَوَاتُ الْخَمْسُ وَالْجُمْعَةُ إِلَى الْجُمْعَةِ وَرَمَضَانُ إِلَى رَمَضَانَ مُكَفِّرَاتٌ مَا بَيْنَهُنَّ إِذَا اجْتَنَبَ الْكَبَائِرَ» [رواه مسلم]
ความว่า “การละหมาดห้าเวลา และช่วงเวลาจากวันศุกร์ถึงอีกวันศุกร์หนึ่ง และช่วงเวลาตั้งแต่เดือนเราะมะฏอนถึงอีกเราะมะฏอนหนึ่ง เป็นสิ่งที่จะมาลบล้างความผิดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว หากว่าเขาได้ละเว้นจากบาบใหญ่” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 233)
มารยาทที่ผู้ศรัทธาควรให้ความสำคัญและปฏิบัติในวันศุกร์ มีดังนี้
1.    ส่งเสริมให้อิหม่ามอ่าน สูเราะฮฺ อัส-สะญะดะฮฺ และสูเราะฮฺ อัล-อินซานในละหมาดฟัจญ์รฺของวันศุกร์ ดั่งที่อิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَقْرَأُ فِي صَلَاةِ الْفَجْرِ يَوْمَ الْجُمُعَةِ الم تَنْزِيلُ السَّجْدَةِ، وَهَلْ أَتَى عَلَى الْإِنْسَانِ حِينٌ مِنْ الدَّهْرِ. [رواه مسلم]
ความว่า “ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเคยอ่านในละหมาดฟัจญรฺของวันศุกร์ อะลิฟ ลาม มีม ตันซีล .. หมายถึงสูเราะฮฺ อัส-สะญะดะฮฺ และฮัล อะตา อะลัล อินซาน หมายถึง สูเราะฮฺ อัล-อินซาน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 879)

2.    ส่งเสริมให้กล่าวเศาะละวาตต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมให้มากๆ ทั้งในตอนกลางวันและตอนกลางคืนของวันศุกร์ จากเอาว์สฺ อิบนุ เอาว์สฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مِنْ أَفْضَلِ أَيَّامِكُمْ يَوْمَ الْجُمُعَةِ، فِيهِ خُلِقَ آدَمُ، وَفِيهِ قُبِضَ، وَفِيهِ النَّفْخَةُ، وَفِيهِ الصَّعْقَةُ، فَأَكْثِرُوا عَلَيَّ مِنْ الصَّلَاةِ فِيهِ، فَإِنَّ صَلَاتَكُمْ مَعْرُوضَةٌ عَلَيَّ» قَالَ : قَالُوا : يَا رَسُولَ اللَّهِ وَكَيْفَ تُعْرَضُ صَلَاتُنَا عَلَيْكَ وَقَدْ أَرِمْتَ ـ يَقُولُونَ بَلِيتَ؟ فَقَالَ: «إِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ حَرَّمَ عَلَى الْأَرْضِ أَجْسَادَ الْأَنْبِيَاءِ» [رواه النسائي]
ความว่า “วันที่ประเสริฐยิ่งจากจำนวนวันของพวกเจ้าคือวันศุกร์ ในวันศุกร์อาดัมถูกสร้างและถูกเก็บวิญญาณ ในวันศุกร์จะมีการเป่าสัญญาณเริ่มวันกิยามะฮฺ และในวันนั้นจะมีการเป่าให้มนุษย์ทั้งหมดเสียชีวิต ดังนั้นในวันนั้นพวกเจ้าจงกล่าวสดุดี (เศาะละวาต) แก่ฉัน เพราะการสดุดีของพวกเจ้าที่มีต่อฉันจะถูกเสนอแก่ฉัน” เศาะหาบะฮฺได้ถามว่า เมื่อเรากล่าวสดุดีแล้วท่านจะได้ยินเราอย่างไร เมื่อร่างกายของท่านบุบสลายไปในแผ่นดินแล้ว? ท่านนบีได้ตอบว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ อัซซาวะญัลลา ได้ห้ามแผ่นดินมิให้กลืนกินร่างกายของบรรดานบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม” (บันทึกโดยอัลนะสาอีย์ หมายเลข : 1374)

และอนัส อิบนุ มาลิก เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«أَكْثِرُوا الصَّلَاةَ عَلَيَّ يَوْمَ الْجُمُعَةِ وَلَيْلَةَ الْجُمُعَةِ، فَمَنْ صَلَّى عَلَيَّ صَلَاْةً صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ عَشْرًا» [رواه البيهقي في سننه]
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงกล่าวสดุดี (เศาะลาวาต) แก่ฉันให้มากๆ ทั้งในกลางวันและยามค่ำคืนของวันศุกร์ ดังนั้นผู้ใดที่ได้กล่าวสดุดีต่อฉันหนึ่งครั้ง อัลลอฮฺก็จะทรงสดุดี (ให้ความเมตตา) แก่เขาถึงสิบครั้ง” (บันทึกโดยอัล-บัยฮะกียฺ เล่ม 3 หน้า 249 หมายเลข : 5790)

3.    ส่งเสริมให้อาบน้ำชำระร่างกายในวันศุกร์ เป็นสิ่งที่สนับสนุนอย่างยิ่ง อุละมาอ์บางท่านเห็นว่าเป็นวาญิบ อบู สะอีด อัล-คุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ฉันขอสาบานว่าท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«الْغُسْلُ يَوْمَ الْجُمُعَةِ وَاجِبٌ عَلَى كُلِّ مُحْتَلِمٍ، وَأَنْ يَسْتَنَّ، وَأَنْ يَمَسَّ طِيبًا إِنْ وَجَدَ» [رواه البخاري و مسلم]
ความว่า “การอาบน้ำในวันศุกร์เป็นความจำเป็นแก่มุกัลลัฟทุกคน และให้เขาแปรงฟัน และหากมีน้ำหอมก็ให้พรมน้ำหอมด้วย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข : 880 และมุสลิม หมายเลข : 846 )

4.    ส่งเสริมให้พรมน้ำหอมและแปรงฟัน รวมถึงการสวมเสื้อผ้าที่สวยงามที่สุด (ที่เขามี) อบูสะอีด อัล-คุดรียฺ และอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ اغْتَسَلَ يَوْمَ الْجُمُعَةِ، وَاسْتَاكَ، وَمَسَّ مِنْ طِيبٍ إِنْ كَانَ عِنْدَهُ، وَلَبِسَ مِنْ أَحْسَنِ ثِيَابِهِ، ثُمَّ خَرَجَ حَتَّى يَأْتِيَ الْمَسْجِدَ، فَلَمْ يَتَخَطَّ رِقَابَ النَّاسِ، ثُمَّ رَكَعَ مَا شَاءَ أَنْ يَرْكَعَ، ثُمَّ أَنْصَتَ إِذَا خَرَجَ الْإِمَامُ فَلَمْ يَتَكَلَّمْ حَتَّى يَفْرُغَ مِنْ صَلَاتِهِ، كَانَتْ كَفَّارَةً لِمَا بَيْنَهَا وَبَيْنَ الْجُمُعَةِ الَّتِي قَبْلَهَا»  [رواه أحمد في مسنده]
ความว่า “ใครที่อาบน้ำในวันศุกร์ และแปรงฟัน และหากมีน้ำหอมก็ใช้น้ำหอมด้วย และเขาได้สวมเสื้อผ้าที่ดีที่สุด จากนั้นได้ออกไปยังมัสยิด เขาไม่ได้เดินข้ามผ่านผู้คน (ที่นั่งอยู่ในมัสยิดก่อนแล้ว) ต่อมาเขาได้ละหมาดตามที่อัลลอฮฺจะประสงค์ให้เขาละหมาด (เมื่ออิหม่ามออกไปกล่าวคุฏบะฮฺ ) เขานั่งฟังอย่างสงบนิ่งจนกระทั่งเสร็จสิ้นการละหมาด (การกระทำดังกล่าว) จะลบล้างความผิดของเขาที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันศุกร์ที่ผ่านมาถึงวันศุกร์นี้” (บันทึกโดยอะหฺมัด เล่ม : 3 หน้า : 81 )

5.    ส่งเสริมให้อ่านสูเราะฮฺอัล-กะฮฺฟ อบูสอีด อัล-คุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ قَرَأَ سُوْرَةَ الْكَهْفِ يَوْمَ الْجُمُعَةِ أَضَاءَ لَهُ مِنَ النُّوْرِ مَا بَيْنَ الْجُمُعَتَيْنِ» [رواه الحاكم]  
ความว่า “ผู้ใดที่ได้อ่านสูเราะฮฺอัล-กะฮฺฟีในวันศุกร์ จะทำให้เขามีรัศมีเจิดจ้าในช่วงระหว่างวันศุกร์ทั้งสอง” (บันทึกโดยอัลหากิม เล่ม : 2  หน้า : 399  หมายเลข : 3391)

6.    ส่งเสริมให้รีบไปละหมาดวันศุกร์ตั้งแต่เนิ่นๆ จากอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรู เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ غَسَّلَ يَومَ الجُـمُعَةِ وَاغْتَسَلَ، ثُمّ بَكَّرَ وَابْتَـكَرَ، وَمَشَى وَلَـمْ يَرْكَبْ، وَدَنَا مِنَ الإمَامِ فَاسْتَـمَعَ وَلَـمْ يَلْغُ، كَانَ لَـهُ بِكُلِّ خَطْوَةٍ عَمَلُ سَنَةٍ أَجْرُ صِيَامِهَا وَقِيَامِهَ » [رواه أبو داود وابن ماجه]  
ความว่า “ผู้ใดตั้งใจที่จะอาบน้ำในวันศุกร์และอาบน้ำแต่เช้า หลังจากนั้นตั้งใจที่จะไปมัสญิดแต่เช้าแล้วเขาก็ไปแต่เช้า โดยเดินเท้าไม่ได้ขี่พาหนะ เมื่อไปถึงเข้าใกล้กับอิหม่าม แล้วตั้งใจฟังคุฏบะฮฺอย่างมีสมาธิ เขาจะได้รับในแต่ละย่างก้าวเท่ากับผลบุญของการถือศีลอดและการละหมาดกิยามหนึ่งปี” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวุด หมายเลข : 345 สำนวนนี้เป็นของท่าน และอิบนุ มาญะฮฺ : 850)
และมีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ اغْتَسَلَ يَوْمَ الجُـمُعَةِ غُسْلَ الجَنَابَةِ، ثُمَّ رَاحَ فَكَأَنَّمَا قَرَّبَ بَدَنَةً، وَمَنْ رَاحَ فِي السَّاعَةِ الثَّانِيَةِ فَكَأَنَّمَا قَرَّبَ بَقَرَةً، وَمَنْ رَاحَ فِي السَّاعَةِ الثَّالِثَةِ فَكَأَنَّمَا قَرَّبَ كَبْشاً أَقْرَنَ، وَمَنْ رَاحَ فِي السَّاعَةِ الرَّابِـعَةِ فَكَأَنَّمَا قَرَّبَ دَجَاجَةً، وَمَنْ رَاحَ فِي السَّاعَةِ الخَامِسَةِ فَكَأَنَّمَا قَرَّبَ بَيْضَةً، فَإذَا خَرَجَ الإمَامُ حَضَرَتِ المَلائِكَةُ يَسْتَـمِعُونَ الذِّكْرَ» [رواه البخاري و مسلم]
ความว่า “ผู้ใดที่อาบน้ำในเช้าวันศุกร์เหมือนกับอาบน้ำญะนาบะฮฺ หลังจากนั้นก็ไปมัสญิดตั้งแต่เนิ่นๆ เขาจะได้รับผลบุญเสมือนว่าเขาได้พลีอูฐหนึ่งตัว และผู้ใดได้ออกในหนึ่งชั่วโมงถัดไปเสมือนว่าเขาได้พลีวัวหนึ่งตัว และผู้ใดได้ออกไปในหนึ่งชั่วโมงถัดไปเสมือนว่าเขาได้พลีแกะตัวผู้ที่มีเขาสวยงามหนึ่งตัว และผู้ใดได้ออกไปในหนึ่งชั่วโมงถัดไปก็เสมือนว่าเขาได้พลีไก่หนึ่งตัว และผู้ใดได้ออกไปในหนึ่งชั่วโมงถัดไปก็เสมือนว่าเขาได้พลีไข่หนึ่งใบ ดังนั้นเมื่ออิหม่ามได้ออกมากล่าวคุฏบะฮฺแล้ว บรรดามะลาอิกะฮฺก็จะมานั่งฟังคำตักเตือนของอิหม่ามด้วย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 881 สำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม เลขที่ : 850)
    อนึ่ง การไปละหมาดวันศุกร์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นสุนนะฮฺที่สำคัญยิ่ง ซึ่งพวกเราส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าตัวบทหะดีษที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งเกี่ยวกับความประเสริฐของการไปละหมาดตั้งแต่เนิ่นๆ คงจะเป็นแรงผลักดัน และกระตุ้นให้เราได้รีบฉกฉวยความประเสริฐอันนี้ อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา กล่าวว่า
﴿۞وَسَارِعُوٓاْ إِلَىٰ مَغۡفِرَةٖ مِّن رَّبِّكُمۡ وَجَنَّةٍ عَرۡضُهَا ٱلسَّمَٰوَٰتُ وَٱلۡأَرۡضُ أُعِدَّتۡ لِلۡمُتَّقِينَ ١٣٣ ﴾   [آل عمران   : 133]
ความว่า “และพวกเจ้าจงรีบเร่งกันไปสู่การอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเจ้า และไปสู่สวรรค์ซึ่งความกว้างของมันนั้น คือบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน โดยที่มันถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง” (อาล อิมรอน : 133)

والحمد لله رب العالمين ،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين .