เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

أمين بن عبد الله الشقاوي

วันที่ :

Wed, Oct 19 2016

ประเภท :

Major Sins & Acts of Shirk

การฆ่าคนเป็นบาปหนัก

การฆ่าคนเป็นบาปหนัก
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 


ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 


แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ

 

 

2014 - 1435
 

 

القتل
« باللغة التايلاندية »

 

 

د. أمين بن عبد الله الشقاوي

 

ترجمة: حسنى فوانج سيري
مراجعة: عصران نئ يوم ديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

 

 


2014 - 1435
 
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

การฆ่าคนเป็นบาปหนัก
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
บาปความผิดที่ยิ่งใหญ่และถือเป็นความชั่วร้ายที่สุดทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ รองลงมาจากการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ คือการฆ่าชีวิตที่บริสุทธิ์ อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَٱلَّذِينَ لَا يَدۡعُونَ مَعَ ٱللَّهِ إِلَٰهًا ءَاخَرَ وَلَا يَقۡتُلُونَ ٱلنَّفۡسَ ٱلَّتِي حَرَّمَ ٱللَّهُ إِلَّا بِٱلۡحَقِّ وَلَا يَزۡنُونَۚ وَمَن يَفۡعَلۡ ذَٰلِكَ يَلۡقَ أَثَامٗا ٦٨ يُضَٰعَفۡ لَهُ ٱلۡعَذَابُ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ وَيَخۡلُدۡ فِيهِۦ مُهَانًا ٦٩ ﴾ [الفرقان: ٦٨-٦٩]  
“และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮ และพวกเขาไม่ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮทรงห้ามไว้เว้นแต่เพื่อความยุติธรรม และพวกเขาไม่ผิดประเวณี และผู้ใดกระทำเช่นนั้นจะได้พบกับความผิดอันมหันต์ การลงโทษในวันกิยามะฮฺจะถูกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้นอย่างอัปยศ” (อัลฟุรกอน: 68-69)
ทั้งนี้ พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้ว่าบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฆ่าผู้ศรัทธาโดยเจตนานั้น คือการพำนักอยู่ในนรกตลอดกาล ความโกรธกริ้วและการสาปแช่งของอัลลอฮฺ ตลอดจนการลงโทษที่เจ็บแสบสาหัสซึ่งพระองค์ทรงเตรียมไว้ อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ وَمَن يَقۡتُلۡ مُؤۡمِنٗا مُّتَعَمِّدٗا فَجَزَآؤُهُۥ جَهَنَّمُ خَٰلِدٗا فِيهَا وَغَضِبَ ٱللَّهُ عَلَيۡهِ وَلَعَنَهُۥ وَأَعَدَّ لَهُۥ عَذَابًا عَظِيمٗا ٩٣ ﴾ [النساء : ٩٣]  
“และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาโดยจงใจ การตอบแทนแก่เขาก็คือนรกญะฮันนัม โดยที่เขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล และอัลลอฮฺก็ทรงกริ้วโกรธเขา และทรงสาปแช่งเขา และได้ทรงเตรียมไว้สำหรับเขาซึ่งการลงโทษอันใหญ่หลวง” (อันนิสาอ์: 93)
อนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« أَكْبَرُ الكَبَائِرِ: الإِشْرَاكُ بِاللَّهِ، وَقَتْلُ النَّفْسِ، وَعُقُوقُ الوَالِدَيْنِ، وَقَوْلُ الزُّورِ، - أَوْ قَالَ: وَشَهَادَةُ الزُّورِ  » [رواه البخاري برقم 6871 ومسلم برقم 88]  
"บาปที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ การฆ่าผู้อื่น การเนรคุณต่อบุพการี และคำพูดเท็จ (หรือ) การเป็นพยานเท็จ" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 6871 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 88)
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยังได้บอกอีกว่า ผู้ศรัทธานั้นจะยังคงอยู่ในสภาพหรือสถานะที่ปลอดภัย ตราบใดที่เขาไม่คร่าชีวิตผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรม
อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَنْ يَزَالَ المُؤْمِنُ فِي فُسْحَةٍ مِنْ دِينِهِ، مَا لَمْ يُصِبْ دَمًا حَرَامًا » [رواه البخاري برقم 6862]  
“ศาสนาของผู้ศรัทธาคนหนึ่งจะยังคงอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ตราบใดที่เขามิได้คร่าชีวิตผู้อื่นโดยปราศจากความชอบธรรม” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 6862)
และความผิดที่เกี่ยวกับการเข่นฆ่าระหว่างหมู่มนุษย์นั้น คือสิ่งแรกที่จะได้รับการพิพากษาตัดสินในวันกิยามะฮฺ อิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« أَوَّلُ مَا يُقْضَى بَيْنَ النَّاسِ بِالدِّمَاءِ » [رواه البخاري برقم 6864 ومسلم برقم 1678]  
“สิ่งแรกที่มนุษย์จะถูกพิพากษาในวันกิยามะฮฺคือ ความผิดที่เกิดจากการฆ่าผู้อื่น” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 6862 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1678)
ในหะดีษอีกบทหนึ่ง อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« اجْتَنِبُوا السَّبْعَ المُوبِقَاتِ » : - وذكر منها - : « وَقَتْلُ النَّفْسِ الَّتِي حَرَّمَ اللَّهُ إِلَّا بِالحَقِّ » [رواه البخاري برقم 6857 ومسلم برقم 89]  
“พวกท่านทั้งหลายจงหลีกห่างจากสิ่งที่ทำให้พินาศเจ็ดประการ (และหนึ่งในนั้นคือ) การฆ่าชีวิตผู้อื่นที่อัลลอฮฺทรงห้ามฆ่านอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรม” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 6857 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 89)
และอิบนุ อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« مَنْ قَتَلَ نَفْسًا مُعَاهَدًا لَمْ يَرِحْ رَائِحَةَ الجَنَّةِ، وَإِنَّ رِيحَهَا لَيُوجَدُ مِنْ مَسِيرَةِ أَرْبَعِينَ عَامًا » [رواه البخاري برقم 6914]  
“ผู้ใดฆ่าผู้ที่อยู่ภายใต้พันธสัญญา เขาจะไม่ได้กลิ่นอายของสรวงสวรรค์ ทั้งที่กลิ่นของสวรรค์นั้นสามารถสัมผัสได้แม้จะอยู่ห่างออกไปเป็นระยะทางเท่ากับการเดินทางสี่สิบปีก็ตาม” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 6914)
    ผู้ที่อยู่ภายใต้พันธสัญญา (المعاهَد) หมายถึง ผู้ที่มีพันธสัญญากับชาวมุสลิม ไม่ว่าจะด้วยการยอมจ่ายญิซยะฮฺ (ส่วนที่ชาวคัมภีร์ซึ่งอาศัยอยู่ในรัฐอิสลามต้องจ่ายเพื่อแลกกับการปกป้องคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือ – ผู้แปล) หรืออยู่ระหว่างสัญญาสงบศึกซึ่งประกาศโดยผู้นำมุสลิม หรือได้รับความคุ้มครองโดยมุสลิมคนใดคนหนึ่ง
อิบนุลก็อยยิม กล่าวว่า ดังกล่าวนี้คือบทลงโทษของผู้ที่ฆ่าศัตรูของอัลลอฮฺในกรณีที่อยู่ภายใต้พันธสัญญากับมุสลิม แล้วบทลงโทษของผู้ที่ฆ่าพี่น้องผู้ศรัทธาเล่าจะหนักหนาสาหัสเพียงใด ? หากว่าสตรีนางหนึ่งต้องตกนรกด้วยสาเหตุที่นางได้ขังแมวไว้จนมันตายด้วยความหิวกระหาย แล้วท่านนบีได้เห็นนางอยู่ในนรกในสภาพที่แมวตัวนั้นกำลังกรีดข่วนใบหน้าและหน้าอกของนางแล้ว ผู้ที่กักขังผู้ศรัทธาจนเสียชีวิตโดยที่ไม่มีความผิดใด ๆ จะต้องเผชิญกับบทลงโทษที่รุนแรงสักเพียงใด ?
อิบนุ อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَزَوَالُ الدُّنْيَا أَهْوَنُ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ قَتْلِ رَجُلٍ مُسْلِمٍ » [رواه النسائي برقم 3987]  
”สำหรับอัลลอฮฺนั้น ความพินาศของโลกดุนยายังจะง่ายและมีความสำคัญน้อยกว่าการฆ่ามุสลิมคนหนึ่งเสียอีก” (บันทึกโดย อันนะสาอีย์ หะดีษเลขที่ 3987)
อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า “หนึ่งในความหายนะที่บุคคลหนึ่งจะไม่มีทางรอดพ้นได้ คือการที่เขาฆ่าผู้อื่นโดยที่เขาไม่มีสิทธิและปราศจากความชอบธรรม” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 6863)
ในสังคมปัจจุบันมีเหตุการณ์ฆ่ากันเกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้เตือนประชาชาติของท่านอยู่เสมอในเรื่องนี้ อบูบักเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا التَقَى المُسْلِمَانِ بِسَيْفَيْهِمَا فَالقَاتِلُ وَالمَقْتُولُ فِي النَّارِ »، فَقُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ هَذَا القَاتِلُ فَمَا بَالُ المَقْتُولِ قَالَ: « إِنَّهُ كَانَ حَرِيصًا عَلَى قَتْلِ صَاحِبِهِ » [رواه البخاري برقم 32 ومسلم برقم 2888]  
“เมื่อมุสลิมสองคนเผชิญหน้าประหัตประหารกันโดยที่ทั้งสองมีดาบอยู่ในมือ แน่นอนว่าทั้งผู้ฆ่าและผู้ถูกฆ่าจะต้องตกนรก” อบูบักเราะฮฺกล่าวถามว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ “ผู้ฆ่านั้นสมควรแล้วที่จะตกนรก แต่ทำไมผู้ที่ถูกฆ่าก็ตกนรกด้วยละครับ ?” ท่านตอบว่า “เพราะเขาเองก็พยายามที่จะฆ่าอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 32 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2888)
ในหะดีษอีกบทหนึ่ง อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لاَ تَرْجِعُوا بَعْدِي كُفَّارًا، يَضْرِبُ بَعْضُكُمْ رِقَابَ بَعْضٍ » [رواه البخاري برقم 1739 ومسلم برقم 1679]  
“พวกท่านทั้งหลายอย่าได้เป็นดังเช่นผู้ปฏิเสธศรัทธาภายหลังจากที่ฉันตายไป ด้วยการที่พวกท่านประหัตประหารฆ่าฟันกัน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 1739 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1679)
และท่านนบียังได้บอกอีกว่า การฆ่ากันนั้นเป็นหนึ่งในสัญญาณวันสิ้นโลก อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« يُقْبَضُ العِلْمُ، وَيَظْهَرُ الجَهْلُ وَالفِتَنُ، وَيَكْثُرُ الهَرْجُ » [رواه البخاري برقم 85 ومسلم برقم 2672]  
“ความรู้จะถูกยึด ความโง่เขลาและความวุ่นวายจะปรากฏขึ้น และจะเกิดการฆ่าฟันกันอย่างมากมาย” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 85 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2672)
การฆ่ากันนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
(1) การทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้นระหว่างสองฝ่าย ซึ่งจบลงด้วยการฆ่าฟันกัน ทั้งนี้ ชัยฏอนคือผู้ที่คอยยุยงอยู่เบื้องหลัง อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَقُل لِّعِبَادِي يَقُولُواْ ٱلَّتِي هِيَ أَحۡسَنُۚ إِنَّ ٱلشَّيۡطَٰنَ يَنزَغُ بَيۡنَهُمۡۚ إِنَّ ٱلشَّيۡطَٰنَ كَانَ لِلۡإِنسَٰنِ عَدُوّٗا مُّبِينٗا ٥٣ ﴾ [الإسراء: ٥٣]  
“และจงบอกปวงบ่าวของข้าให้พวกเขากล่าวแต่คำพูดที่ดียิ่ง เพราะแท้จริงชัยฏอนนั้นจะยุแหย่ระหว่างพวกเขา แท้จริงชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูที่เปิดเผยของมนุษย์” (อัลอิสรออ์: 53)
ญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ الشَّيْطَانَ قَدْ أَيِسَ أَنْ يَعْبُدَهُ الْمُصَلُّونَ فِي جَزِيرَةِ الْعَرَبِ، وَلَكِنْ فِي التَّحْرِيشِ بَيْنَهُمْ » [رواه مسلم برقم 2812]  
“แท้จริงชัยฏอนนั้นได้สิ้นหวังที่จะทำให้บรรดาผู้ทำการละหมาดในคาบสมุทรอาหรับกราบไหว้มัน มันจึงหันสร้างความแตกแยกระหว่างพวกเขาแทน” (บันทึกโดย มุสลิม หะดีษเลขที่ 2812)
ในหะดีษอีกบทหนึ่ง อิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« سِبَابُ المُسْلِمِ فُسُوقٌ، وَقِتَالُهُ كُفْرٌ » [رواه البخاري برقم 48 ومسلم برقم 116]  
“การด่าทอมุสลิมนั้นถือเป็นสิ่งชั่วร้าย ส่วนการฆ่ามุสลิมด้วยกันถือเป็นการปฏิเสธศรัทธา (ถ้าคิดว่าการฆ่านั้นเป็นสิ่งที่ศาสนาอนุญาตให้ทำได้ตามใจชอบ – ผู้แปล)” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 48 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 116)
(2) ความต้องการในทรัพย์สิน ไม่ว่าจะได้มาด้วยวิธีใดก็ตาม จะเห็นว่ามีเหตุการณ์ฆ่า ลักพาตัว หรือจี้ปล้นเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งล้วนแต่มีสาเหตุมาจากทรัพย์สินเงินทอง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ لِكُلِّ أُمَّةٍ فِتْنَةً وَفِتْنَةُ أُمَّتِي المَالُ » [رواه الترمذي برقم 2336]  
“แต่ละประชาชาติจะพบเจอกับบททดสอบ ซึ่งบททดสอบประชาชาติของฉัน ก็คือทรัพย์สินเงินทอง” (บันทึกโดย อัตติรฺมิซีย์ หะดีษเลขที่ 2336)
(3) การดื่มสุรา และการใช้สารเสพติด เพราะเมื่อบุคคลหนึ่งขาดสติแล้ว ย่อมกล้าที่จะกระทำการละเมิดต่อผู้อื่นด้วยการทำร้ายร่างกาย ฆ่าฟัน หรือข่มขืนโดยไม่มีความรู้สึกเกรงกลัว ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِنَّمَا ٱلۡخَمۡرُ وَٱلۡمَيۡسِرُ وَٱلۡأَنصَابُ وَٱلۡأَزۡلَٰمُ رِجۡسٞ مِّنۡ عَمَلِ ٱلشَّيۡطَٰنِ فَٱجۡتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٩٠ ﴾ [المائ‍دة: ٩٠]  
“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ที่จริงสุรา การพนัน แท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายันต์ และการเสี่ยงติ้วนั้น เป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (อัลมาอิดะฮฺ: 90)
(4) ขาดความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ ทั้งนี้ ความยำเกรงอัลลอฮฺนั้นจะเป็นแรงผลักดันให้ปฏิบัติแต่ความดี หลีกห่างจากความชั่วไม่ว่าจะเป็นบาปเล็กหรือบาปใหญ่ ซึ่งการฆ่าผู้อื่นนั้นถือเป็นบาปใหญ่มาก ผู้ที่มีความยำเกรงอย่างแท้จริงย่อมต้องหลีกห่าง อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ قُلۡ إِنِّيٓ أَخَافُ إِنۡ عَصَيۡتُ رَبِّي عَذَابَ يَوۡمٍ عَظِيمٖ ١٥ ﴾ [الأنعام: ١٥]  
“จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า แท้จริงฉันกลัวการลงโทษในวันอันยิ่งใหญ่ หากฉันฝ่าฝืนพระเจ้าของฉัน” (อัลอันอาม: 15)
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« اجْتَنِبُوا السَّبْعَ المُوبِقَاتِ » : - وذكر منها - : « وَقَتْلُ النَّفْسِ الَّتِي حَرَّمَ اللَّهُ إِلَّا بِالحَقِّ » [رواه البخاري برقم 6857 ومسلم برقم 89]  
“พวกท่านทั้งหลายจงหลีกห่างจากสิ่งที่ทำให้พินาศเจ็ดประการ (และหนึ่งในนั้นคือ) การฆ่าชีวิตผู้อื่นที่อัลลอฮฺทรงห้ามฆ่านอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรม” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 6857 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 89)
(5) การรับเอาแนวคิดที่หลงผิด ซึ่งปลูกฝังให้เชื่อว่าการเข่นฆ่าพี่น้องมุสลิมนั้นเป็นสิ่งที่กระทำได้ อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ أَفَمَن زُيِّنَ لَهُۥ سُوٓءُ عَمَلِهِۦ فَرَءَاهُ حَسَنٗاۖ  ﴾ [فاطر: ٨]
“ดังนั้น ผู้ที่การงานอันชั่วช้าของเขาได้ถูกทำให้เพริศแพร้วแก่เขา แล้วเขาเห็นว่ามันเป็นสิ่งดีกระนั้นหรือ ?” (ฟาฏิรฺ: 8)
    และพระองค์ตรัสว่า
﴿ ۞يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَتَّبِعُواْ خُطُوَٰتِ ٱلشَّيۡطَٰنِۚ ﴾ [النور : ٢١]
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าอย่าได้ติดตามทางเดินของชัยฏอน” (อันนูรฺ: 21)
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน ที่นำไปสู่การเข่นฆ่ากัน
โดยสรุปแล้ว ผู้ศรัทธาควรที่จะตระหนักอยู่เสมอว่า การฆ่าผู้อื่นนั้นถือเป็นบาปหนักที่สุดประการหนึ่ง และแน่นอนว่าผู้ที่ฆ่าผู้อื่นนั้นจะไม่มีทางรอดพ้นจากบทลงโทษของอัลลอฮฺไปได้ ไม่ว่าจะในดุนยาหรืออาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ وَلَا تَقۡتُلُواْ ٱلنَّفۡسَ ٱلَّتِي حَرَّمَ ٱللَّهُ إِلَّا بِٱلۡحَقِّۗ وَمَن قُتِلَ مَظۡلُومٗا فَقَدۡ جَعَلۡنَا لِوَلِيِّهِۦ سُلۡطَٰنٗا فَلَا يُسۡرِف فِّي ٱلۡقَتۡلِۖ إِنَّهُۥ كَانَ مَنصُورٗا ٣٣ ﴾ [الإسراء: ٣٣]  
ความว่า “และพวกเจ้าอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เว้นแต่ด้วยความเที่ยงธรรม และผู้ใดถูกฆ่าอย่างอยุติธรรม ดังนั้น เราได้ให้อำนาจแก่ผู้ปกครองของเขา ฉะนั้น อย่าได้ล่วงเกินขอบเขตในเรื่องการฆ่า แท้จริงเขา (ผู้ถูกอธรรม) จะได้รับความช่วยเหลือ” (อัลอิสรออ์: 33)
อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« يَجِيءُ الْمَقْتُولُ بِالقَاتِلِ يَوْمَ القِيَامَةِ نَاصِيَتُهُ وَرَأْسُهُ بِيَدِهِ وَأَوْدَاجُهُ تَشْخَبُ دَمًا، يَقُولُ: يَا رَبِّ، قَتَلَنِي هَذَا، حَتَّى يُدْنِيَهُ مِنَ العَرْشِ » [رواه الترمذي برقم 3029]  
“ในวันกิยามะฮฺ ผู้ที่ถูกฆ่าจะฉุดลากตัวผู้ที่ฆ่าเขาด้วยการดึงกระชากเส้นผมและศีรษะของเขา ในสภาพที่คอของเขา (ผู้ถูกฆ่า) เต็มไปด้วยเลือดที่ไหลไม่หยุด จากนั้นเขาก็กล่าวขึ้นว่า ‘โอ้ พระผู้อภิบาลของฉัน คนคนนี้ฆ่าฉัน’ กระทั่งเขาได้ลากตัวผู้ฆ่าเข้าไปหยุดอยู่ใกล้อะรัช (เพื่อให้อัลลอฮฺทรงพิพากษา)” (บันทึกโดย อัตติรฺมิซีย์ หะดีษเลขที่ 3029)


والحمد لله رب العالمين،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.