เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

Fuaad Zaidan

วันที่ :

Sat, Sep 03 2016

ประเภท :

About Quran & Hadith

เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ


เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

ฟุอาด ซัยดาน

 

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม  อุษมาน

 

 

2012 - 1433
 

﴿ أهداف سورة المائدة ﴾
« باللغة التايلاندية »

 

 

فؤاد زيدان


ترجمة: محمد صبري  يعقوب
مراجعة: صافي عثمان

 

 

2012 - 1433
 

 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พรอันประเสริฐและความศานติจงมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

เป้าหมายของสูเราะฮฺ  คือ การรักษาคำมั่นสัญญา
สูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ คือสูเราะฮฺแรกที่เริ่มต้นด้วย
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ ﴾
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย !”
โดยคำเรียกร้องนี้ได้ถูกกล่าวย้ำในสูเราะฮฺถึง 16 ครั้ง จากจำนวนทั้งหมด 88 ครั้งตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน (แต่ชัยคฺอบูบักรฺ ญาบิร อัล-ญะซาอิรีย์ กล่าวว่ามีทั้งหมด 90 ครั้ง ในหนังสือ “นิดาอาต อัร-เราะหฺมาน ลิอะฮฺลิลอีหม่าน” -ผู้แปล-) และถือเป็นสูเราะฮฺสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาหลังจากการทำหัจญ์ อัล-วะดาอฺ ซึ่งมันได้ประมวลบทบัญญัติต่างๆ ไว้อย่างมากมาย เช่น บทบัญญัติการทำสัญญา การเชือดพลีสัตว์ สัตว์ที่ถูกล่า การครองอิหฺรอม การแต่งงานกับหญิงชาวคัมภีร์ การผินหลังออกจากศาสนาอิสลาม บทบัญญัติการทำความสะอาด บทลงโทษของการขโมย บทลงโทษของการกดขี่ข่มเหงและสร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน บทบัญญัติของการพนันและสุรา การชดใช้(กัฟฟาเราะฮฺ)คำสาบาน การฆ่าสัตว์ล่าในช่วงครองอิหฺรอม การทำพินัยกรรมก่อนเสียชีวิต อัลบะฮีเราะฮฺและอัสสาอิบะฮฺ(สัตว์ที่พวกมุชริกีนสงวนขึ้นมาโดยอุตริ) บทบัญญัติการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย(ชะรีอะฮฺ)ของอัลลอฮฺ และอื่น ๆ
และมีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า   
«عَلِّمُوا رِجَالَكُمْ سُورَةَ الْمَائِدَةِ وَعَلِّمُوا نِسَاءَكُمْ سُورَةَ النُّورِ»  (رواه البيهقي في شعبة الإيمان رقم2205، وضعفه الألباني في ضعيف الجامع الصغير رقم 3729)
ความว่า “พวกท่านจงสอน(เนื้อหาของ)สูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺแก่บรรดาผู้ชายของพวกท่าน และจงสอนสูเราะฮฺอัน-นูรแก่บรรดาผู้หญิงของพวกเจ้า” (บันทึกโดย อัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือชุอฺบะฮฺ อัล-อีหม่าน : 2205 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษที่เฎาะอีฟ ในหนังสือ เฎาะอีฟ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีร : 3729)

ก็เนื่องจากว่าในสูเราะฮฺนี้มีเนื้อหาที่กล่าวถึงบทบัญญัติต่าง ๆ รวมทั้งการให้รักษาคำมั่นสัญญาและพันธะทั้งหลาย
    ในส่วนคำเรียกร้องโดยตรงของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่มีต่อผู้ศรัทธาว่า
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ﴾
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย !”
     นั้นก็หมายรวมว่า “โอ้บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อข้าทั้งหลาย และบรรดาผู้ที่ยินดีที่จะเข้าสู่ศาสนาของข้า สำหรับพวกเจ้าแล้วมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของข้า ทั้งนี้ก็เพื่อพวกเจ้าจะประสบกับความสำเร็จ และเป็นผู้ศรัทธาที่เที่ยงแท้”
    ชื่อของสูเราะฮฺ
    สูเราะฮฺนี้ถูกขนานนามว่า “อัล-มาอิดะฮฺ” นั่นคือ สำรับอาหาร เนื่องจากมีการกล่าวถึง(เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ)สำรับอาหารในช่วงท้ายของสูเราะฮฺในเรื่องราวของท่านนบีอีซาและสหายของท่าน(อัล-หะวาริยีน) อย่างไรก็ตามการตั้งชื่อนี้ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการกล่าวถึงสำรับอาหารที่ปรากฏในสูเราะฮฺเพียงอย่างเดียว แต่บทเรียนจากเรื่องราวข้างต้นต่างหากที่เป็นเป้าหมายของสูเราะฮฺนี้ ซึ่งการตั้งชื่อนี้ก็มีความเหมาะสมต่อเป้าหมายของสูเราะฮฺเนื่องจากอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้เตือนสำทับต่อบรรดาอัล-หะวาริยีนว่า พระองค์จะทรงประทานสำรับอาหารแก่พวกเขา แต่หากยังมีผู้ใดที่ปฏิเสธศรัทธาหลังจากนั้นโดยที่ไม่ศรัทธาต่อพระองค์อีก อัลลอฮฺก็จะทรงลงโทษด้วยการลงโทษที่เจ็บปวดที่สุด และนี่เองจึงเป็นการเตือนสำทับแก่บรรดาผู้ศรัทธาโดยตรงว่าสำหรับพวกเขาแล้วต้องรักษาคำมั่นสัญญาและพันธะต่างๆ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วการลงโทษก็จะเกิดขึ้นกับพวกเขา ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในเรื่องราวของอัล-มาอิดะฮฺหรือสำรับอาหาร(ที่ถูกประทานให้กับบรรดาอัล-หะวาริยีน)
    และสูเราะฮฺนี้ก็ได้เน้นหนักเป็นพิเศษกับการนำเสนอบรรดาอายะฮฺที่เกี่ยวข้องกับการรักษาคำมั่นสัญญาและพันธะต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย ซึ่งในแต่ละคำเรียกร้องที่ว่า
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ﴾
 “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย !”
ก็ได้เป็นข้อยืนยันในคำมั่นสัญญาที่มีความหลากหลายนั้นๆ โดยที่อายะฮฺต่างๆ ในสูเราะฮฺนี้ก็ได้ดำเนินเนื้อหาในการนำเสนอความสำคัญของการรักษาคำมั่นสัญญาและการปฏิบัติตามมัน
    
    คำเรียกร้องที่หนึ่ง
    เป็นคำมั่นสัญญาแรก โดยได้กล่าวถึงอาหารการกินที่ดีและสิ่งที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงอนุมัติให้แก่เรานั้นถือเป็นปัจจัยแรกของการมีชีวิต และในจำนวนความเมตตาของอัลลอฮฺนั้นคือพระองค์ทรงเริ่มต้นบทบัญญัติต่าง ๆ ด้วยกับสิ่งที่เป็นที่อนุมัติไม่ใช่เป็นสิ่งที่ต้องห้าม
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ أَوۡفُواْ بِٱلۡعُقُودِۚ أُحِلَّتۡ لَكُم بَهِيمَةُ ٱلۡأَنۡعَٰمِ إِلَّا مَا يُتۡلَىٰ عَلَيۡكُمۡ غَيۡرَ مُحِلِّي ٱلصَّيۡدِ وَأَنتُمۡ حُرُمٌۗ إِنَّ ٱللَّهَ يَحۡكُمُ مَا يُرِيدُ ١﴾ [المائدة : 1]
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงรักษาบรรดาสัญญาให้ครบถ้วนเถิด สัตว์ประเภทปศุสัตว์นั้นได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว นอกจากที่ถูกอ่านให้พวกเจ้าฟัง โดยที่พวกเจ้ามิใช่ผู้ที่ให้สัตว์ที่จะถูกล่านั้นเป็นที่อนุมัติขณะที่พวกเจ้าอยู่ในการครองอิหฺรอม แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงชี้ขาดตามที่พระองค์ทรงประสงค์” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 1)

คำเรียกร้องที่สอง
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تُحِلُّواْ شَعَٰٓئِرَ ٱللَّهِ وَلَا ٱلشَّهۡرَ ٱلۡحَرَامَ وَلَا ٱلۡهَدۡيَ وَلَا ٱلۡقَلَٰٓئِدَ وَلَآ ءَآمِّينَ ٱلۡبَيۡتَ ٱلۡحَرَامَ يَبۡتَغُونَ فَضۡلٗا مِّن رَّبِّهِمۡ وَرِضۡوَٰنٗاۚ وَإِذَا حَلَلۡتُمۡ فَٱصۡطَادُواْۚ وَلَا يَجۡرِمَنَّكُمۡ شَنَ‍َٔانُ قَوۡمٍ أَن صَدُّوكُمۡ عَنِ ٱلۡمَسۡجِدِ ٱلۡحَرَامِ أَن تَعۡتَدُواْۘ وَتَعَاوَنُواْ عَلَى ٱلۡبِرِّ وَٱلتَّقۡوَىٰۖ وَلَا تَعَاوَنُواْ عَلَى ٱلۡإِثۡمِ وَٱلۡعُدۡوَٰنِۚ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَۖ إِنَّ ٱللَّهَ شَدِيدُ ٱلۡعِقَابِ ٢﴾ [المائدة : 2]
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่าให้เป็นที่อนุมัติ ซึ่งบรรดาเครื่องหมายแห่งศาสนาของอัลลอฮฺ และเดือนที่ต้องห้าม และสัตว์พลี และสัตว์ที่ถูกทำเครื่องหมายไว้ที่คอเพื่อเป็นสัตว์พลี และบรรดาผู้ที่มุ่งสู่บ้านอันเป็นที่ต้องห้าม โดยแสวงหาความโปรดปรานและความพอพระทัยจากพระเจ้าของพวกเขา แต่เมื่อพวกเจ้าเปลื้องอิหฺรอมแล้ว ก็จงล่าสัตว์ได้ และจงอย่าให้การเกลียดชังแก่พวกหนึ่งพวกใด ที่ขัดขวางพวกเจ้ามิให้เข้ามัสญิดอัล-หะรอม ทำให้พวกเจ้ากระทำการละเมิดขอบเขต และพวกจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรมและความยำเกรง และจงอย่าช่วยกันในสิ่งที่เป็นบาปและเป็นศัตรูกัน และพึงเกรงกลัวอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงหนักหน่วงในการลงโทษ” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 2)
    เนื้อหาของอายะฮฺนี้เป็นการส่งเสริมอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของหลักการศาสนาอิสลาม และเปลี่ยนจากการนำเสนอการมีอาหารการกินที่ดีสู่อุดมการณ์การช่วยเหลือในด้านมนุษยธรรม การผดุงความยุติธรรม และความเป็นหนึ่งเดียวของสังคม  

อายะฮฺที่กล่าวถึงอาหารการกินบางอย่างที่เป็นที่ต้องห้ามและอายะฮฺที่กล่าวถึงความสมบูรณ์ของศาสนา
﴿حُرِّمَتۡ عَلَيۡكُمُ ٱلۡمَيۡتَةُ وَٱلدَّمُ وَلَحۡمُ ٱلۡخِنزِيرِ وَمَآ أُهِلَّ لِغَيۡرِ ٱللَّهِ بِهِۦ وَٱلۡمُنۡخَنِقَةُ وَٱلۡمَوۡقُوذَةُ وَٱلۡمُتَرَدِّيَةُ وَٱلنَّطِيحَةُ وَمَآ أَكَلَ ٱلسَّبُعُ إِلَّا مَا ذَكَّيۡتُمۡ وَمَا ذُبِحَ عَلَى ٱلنُّصُبِ وَأَن تَسۡتَقۡسِمُواْ بِٱلۡأَزۡلَٰمِۚ ذَٰلِكُمۡ فِسۡقٌۗ ٱلۡيَوۡمَ يَئِسَ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ مِن دِينِكُمۡ فَلَا تَخۡشَوۡهُمۡ وَٱخۡشَوۡنِۚ ٱلۡيَوۡمَ أَكۡمَلۡتُ لَكُمۡ دِينَكُمۡ وَأَتۡمَمۡتُ عَلَيۡكُمۡ نِعۡمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ ٱلۡإِسۡلَٰمَ دِينٗاۚ فَمَنِ ٱضۡطُرَّ فِي مَخۡمَصَةٍ غَيۡرَ مُتَجَانِفٖ لِّإِثۡمٖ فَإِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ٣﴾ [المائدة : 3]
ความว่า “ได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสัตว์ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเปล่งนามอื่นจากอัลลอฮฺ(ขณะเชือด) และสัตว์ที่ถูกรัดคอตาย และสัตว์ที่ถูกตีตาย และสัตว์ที่ตกเหวตาย และสัตว์ที่ถูกขวิดตาย และสัตว์ที่สัตว์ร้ายกัดกินนอกจากที่พวกเจ้าเชือดกัน และสัตว์ที่ถูกเชือดบนแท่นหินบูชา และการที่พวกเจ้าเสี่ยงทายด้วยไม้ติ้ว เหล่านั้นเป็นการละเมิด วันนี้ บรรดาผู้ปฏิเสธการศรัทธา หมดหวังในศาสนาของพวกเจ้าแล้ว ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่ากลัวพวกเขา และจงกลัวข้าเถิด วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว ผู้ใดได้รับความคับขันในความหิวโหย โดยมิใช่เป็นผู้จงใจกระทำบาปแล้วไซร้ แน่นอนอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 3)
อายะฮฺข้างต้น อัลลอฮฺ ตะอาลา พระผู้อภิบาลของเราได้ห้ามอาหารการกินบางประเภท หลังจากนั้นก็มีท่อนนี้ตามมาว่า
﴿ٱلۡيَوۡمَ أَكۡمَلۡتُ لَكُمۡ دِينَكُمۡ﴾ [المائدة : 3]
ความว่า “วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 3)
    ก็เนื่องจากว่าศาสนาได้มีความสมบูรณ์และครบถ้วนแล้ว โดยจำเป็นสำหรับเราที่ต้องให้คำมั่นสัญญากับอัลลอฮฺ ตะอาลา ถึงความสมบูรณ์ของศาสนานี้และการปฏิบัติตามมัน
    
จากนั้น ก็ยังมีข้อบัญญัติที่เกี่ยวกับการแต่งงานกับหญิงชาวคัมภีร์ ซึ่งหลังจากที่ได้กล่าวถึงอาหารการกินที่ดีแล้ว อัลลอฮฺ ตะอาลา ก็ได้กล่าวถึงบรรดาภรรยาที่ดีแก่เรา โดยที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงอนุมัติให้บรรดาผู้ศรัทธาชายแต่งงานกับหญิงชาวคัมภีร์ที่เป็นหญิงบริสุทธิ์และเป็นหญิงที่ห่างไกลจากการกระทำความชั่วได้  
﴿ٱلۡيَوۡمَ أُحِلَّ لَكُمُ ٱلطَّيِّبَٰتُۖ وَطَعَامُ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ حِلّٞ لَّكُمۡ وَطَعَامُكُمۡ حِلّٞ لَّهُمۡۖ وَٱلۡمُحۡصَنَٰتُ مِنَ ٱلۡمُؤۡمِنَٰتِ وَٱلۡمُحۡصَنَٰتُ مِنَ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ مِن قَبۡلِكُمۡ إِذَآ ءَاتَيۡتُمُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ مُحۡصِنِينَ غَيۡرَ مُسَٰفِحِينَ وَلَا مُتَّخِذِيٓ أَخۡدَانٖۗ وَمَن يَكۡفُرۡ بِٱلۡإِيمَٰنِ فَقَدۡ حَبِطَ عَمَلُهُۥ وَهُوَ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ مِنَ ٱلۡخَٰسِرِينَ ٥﴾ [المائدة : 5]
ความว่า “วันนี้สิ่งดีๆ ทั้งหลายได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว และอาหารของบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้น เป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว และอาหารของพวกเจ้าก็เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขาและบรรดาหญิงบริสุทธิ์ ในหมู่ผู้ศรัทธาหญิงและบรรดาหญิงบริสุทธิ์ในหมู่ผู้ที่ได้รับคัมภีร์ก่อน จากพวกเจ้าก็เป็นอนุมัติแก่พวกเจ้าด้วย เมื่อพวกเจ้าได้มอบให้แก่พวกนางซึ่งมะฮัรฺของพวกนางในฐานะเป็นผู้แต่งงานมิใช่เป็นผู้กระทำการซินาโดยเปิดเผย และมิใช่ยึดเอานางเป็นเพื่อนโดยกระทำซินาลับๆ และผู้ใดปฏิเสธการศรัทธา แน่นอนงานของเขาก็ไร้ผล ขณะเดียวกันในวันปรโลกพวกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ที่ขาดทุน” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 5)

คำเรียกร้องที่สาม
บทบัญญัติการวุฎูอ์(การอาบน้ำละหมาด) หลังจากที่ได้กล่าวถึงอาหารการกินและบรรดาภรรยาที่ดีมาแล้ว ก็มีความจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงจิตวิญญาณที่ดีและการขัดเกลามันให้บริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้อายะฮฺการวุฎูอ์จึงมาอยู่ในตำแหน่งนี้ของสูเราะฮฺ
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا قُمۡتُمۡ إِلَى ٱلصَّلَوٰةِ فَٱغۡسِلُواْ وُجُوهَكُمۡ وَأَيۡدِيَكُمۡ إِلَى ٱلۡمَرَافِقِ وَٱمۡسَحُواْ بِرُءُوسِكُمۡ وَأَرۡجُلَكُمۡ إِلَى ٱلۡكَعۡبَيۡنِۚ وَإِن كُنتُمۡ جُنُبٗا فَٱطَّهَّرُواْۚ وَإِن كُنتُم مَّرۡضَىٰٓ أَوۡ عَلَىٰ سَفَرٍ أَوۡ جَآءَ أَحَدٞ مِّنكُم مِّنَ ٱلۡغَآئِطِ أَوۡ لَٰمَسۡتُمُ ٱلنِّسَآءَ فَلَمۡ تَجِدُواْ مَآءٗ فَتَيَمَّمُواْ صَعِيدٗا طَيِّبٗا فَٱمۡسَحُواْ بِوُجُوهِكُمۡ وَأَيۡدِيكُم مِّنۡهُۚ مَا يُرِيدُ ٱللَّهُ لِيَجۡعَلَ عَلَيۡكُم مِّنۡ حَرَجٖ وَلَٰكِن يُرِيدُ لِيُطَهِّرَكُمۡ وَلِيُتِمَّ نِعۡمَتَهُۥ عَلَيۡكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ ٦﴾ [المائدة : 6]
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เมื่อพวกเจ้ายืนขึ้นจะไปละหมาด ก็จงล้างหน้าของพวกเจ้า และมือของพวกเจ้าถึงข้อศอก และจงลูบศีรษะของพวกเจ้า และล้างเท้าของพวกเจ้าถึงตาตุ่มทั้งสอง และหากพวกเจ้ามีญะนาบะฮฺ ก็จงชำระร่างกายให้สะอาด และหากพวกเจ้าป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง หรือคนใดในหมู่พวกท่านมาจากการถ่ายทุกข์ หรือได้สัมผัสหญิงมา แล้วพวกเจ้าไม่พบน้ำก็จงมุ่งสู่ดินที่ดี แล้วลูบใบหน้าของพวกเจ้าและมือของพวกเจ้าจากดินนั้น อัลลอฮฺนั้นไม่ทรงประสงค์เพื่อจะให้มีความลำบากใดๆ แก่พวกเจ้า แต่ทว่าทรงประสงค์ที่จะให้พวกเจ้าสะอาด และเพื่อให้ความกรุณาเมตตาของพระองค์ครบถ้วนแก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจักขอบคุณ” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 6)

(สูเราะฮฺนี้)ได้ให้ข้อตักเตือนถึงความจำเป็นของการรักษาคำมั่นสัญญา (สังเกตได้ว่า)หลังจากทุกๆ ไม่กี่อายะฮฺที่กล่าวถึงการให้คำมั่นสัญญา ก็จะมีอายะฮฺที่เป็นข้อตักเตือนถึงความสำคัญของการรักษาคำมั่นสัญญานั้น ดั่งเช่นอายะฮฺนี้
﴿وَٱذۡكُرُواْ نِعۡمَةَ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ وَمِيثَٰقَهُ ٱلَّذِي وَاثَقَكُم بِهِۦٓ إِذۡ قُلۡتُمۡ سَمِعۡنَا وَأَطَعۡنَاۖ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَۚ إِنَّ ٱللَّهَ عَلِيمُۢ بِذَاتِ ٱلصُّدُورِ ٧﴾ [المائدة : 7]
ความว่า “และจงรำลึกถึงความกรุณาเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเจ้า และสัญญาของพระองค์ที่ได้ทรงกระทำมันไว้แก่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้ากล่าวว่า พวกเราได้ยินแล้วและพวกเราเชื่อฟังแล้ว และพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในทรวงอก” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 7)

คำเรียกร้องที่สี่
การผดุงความยุติธรรม ในจำนวนสิ่งที่อยู่ภายใต้การให้คำมั่นสัญญากับอัลลอฮฺ ตะอาลา ก็คือการมีความยุติธรรม แม้นว่ามุสลิมจะเป็นผู้ที่ก่อความอธรรมนั้นก็ตาม ซึ่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวแก่เราว่า แท้จริงพระองค์ทรงรักษาคำมั่นสัญญาของพระองค์ที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์อย่างแน่นอน ดังนั้นมีเหตุอันใดอีกที่ปวงบ่าวของพระองค์จะไม่รักษาคำมั่นสัญญาต่างๆ ของพวกเขาต่อพระผู้อภิบาลของเขา และต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันด้วย
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُونُواْ قَوَّٰمِينَ لِلَّهِ شُهَدَآءَ بِٱلۡقِسۡطِۖ وَلَا يَجۡرِمَنَّكُمۡ شَنَ‍َٔانُ قَوۡمٍ عَلَىٰٓ أَلَّا تَعۡدِلُواْۚ ٱعۡدِلُواْ هُوَ أَقۡرَبُ لِلتَّقۡوَىٰۖ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَۚ إِنَّ ٱللَّهَ خَبِيرُۢ بِمَا تَعۡمَلُونَ ٨﴾ [المائدة : 8]
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีเพื่ออัลลอฮฺ เป็นพยานด้วยความเที่ยงธรรม และจงอย่าให้การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใดทำให้พวกเจ้าไม่ยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด มันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า และพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้น เป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 8)

คำเรียกร้องที่ห้า
ให้รำลึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتَ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ إِذۡ هَمَّ قَوۡمٌ أَن يَبۡسُطُوٓاْ إِلَيۡكُمۡ أَيۡدِيَهُمۡ فَكَفَّ أَيۡدِيَهُمۡ عَنكُمۡۖ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَۚ وَعَلَى ٱللَّهِ فَلۡيَتَوَكَّلِ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ ١١﴾ [المائدة : 11]
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงรำลึกถึงความกรุณาของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเจ้า ขณะที่พวกหนึ่งตั้งใจที่จะยื่นมือของพวกเขามาทำร้ายพวกเจ้าแล้วพระองค์ก็ทรงยับยั้งและหันมือพวกเขาออกจากพวกเจ้าเสีย และพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และแด่อัลลอฮฺเท่านั้นผู้ศรัทธาทั้งหลายจงมอบหมาย” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 11)

เรื่องราวของบนีอิสรออีล การมาของอายะฮฺที่กล่าวถึงเรื่องนั้นในที่นี้ ก็เนื่องจากว่าบนีอิสรออีลถือเป็นกลุ่มชนที่มักจะบิดพลิ้วในคำมั่นสัญญาต่างๆ จึงทำให้พวกเขากลายเป็นตัวอย่างของผู้ที่บิดพลิ้วในคำมั่นสัญญาและพันธะต่างๆ
﴿۞وَلَقَدۡ أَخَذَ ٱللَّهُ مِيثَٰقَ بَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ وَبَعَثۡنَا مِنۡهُمُ ٱثۡنَيۡ عَشَرَ نَقِيبٗاۖ وَقَالَ ٱللَّهُ إِنِّي مَعَكُمۡۖ لَئِنۡ أَقَمۡتُمُ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتَيۡتُمُ ٱلزَّكَوٰةَ وَءَامَنتُم بِرُسُلِي وَعَزَّرۡتُمُوهُمۡ وَأَقۡرَضۡتُمُ ٱللَّهَ قَرۡضًا حَسَنٗا لَّأُكَفِّرَنَّ عَنكُمۡ سَيِّ‍َٔاتِكُمۡ وَلَأُدۡخِلَنَّكُمۡ جَنَّٰتٖ تَجۡرِي مِن تَحۡتِهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُۚ فَمَن كَفَرَ بَعۡدَ ذَٰلِكَ مِنكُمۡ فَقَدۡ ضَلَّ سَوَآءَ ٱلسَّبِيلِ ١٢ فَبِمَا نَقۡضِهِم مِّيثَٰقَهُمۡ لَعَنَّٰهُمۡ وَجَعَلۡنَا قُلُوبَهُمۡ قَٰسِيَةٗۖ يُحَرِّفُونَ ٱلۡكَلِمَ عَن مَّوَاضِعِهِۦ وَنَسُواْ حَظّٗا مِّمَّا ذُكِّرُواْ بِهِۦۚ وَلَا تَزَالُ تَطَّلِعُ عَلَىٰ خَآئِنَةٖ مِّنۡهُمۡ إِلَّا قَلِيلٗا مِّنۡهُمۡۖ فَٱعۡفُ عَنۡهُمۡ وَٱصۡفَحۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ يُحِبُّ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ١٣﴾ [المائدة : 12- 13]
ความว่า “และแท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงเอาสัญญาแก่วงศ์วานอิสรออีล และเราได้แต่งตั้งผู้ดูแลจากหมู่พวกเขาขึ้นสิบสองคน และอัลลอฮฺได้ทรงกล่าวว่า แท้จริงข้านั้นร่วมอยู่ด้วยกับพวกเจ้า ถ้าหากพวกเจ้าดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต และศรัทธาต่อบรรดาเราะสูลของข้า และสนับสนุนพวกเขา และให้อัลลอฮฺยืมหนี้ที่ดี(หมายถึงบริจาคเพื่อพระองค์) แล้วแน่นอนข้าจะลบล้างให้พ้นจากพวกเจ้า ซึ่งความชั่วทั้งหลายของพวกเจ้า และแน่นอนข้าจะให้พวกเจ้าเข้าบรรดาสวนสวรรค์ ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่เบื้องล่างของสวนสวรรค์เหล่านั้น แล้วผู้ใดในหมู่พวกเจ้าปฏิเสธหลังจากนั้นแล้ว แน่นอนเขาก็หลงทางอันเที่ยงตรง  แต่เนื่องจากการที่พวกเขาทำลายสัญญาของพวกเขา เราจึงได้ให้พวกเขาห่างไกลจากความกรุณาเมตตาของเราและให้หัวใจของพวกเขาแข็งกระด้าง พวกเขากระทำการบิดเบือนบรรดาถ้อยคำให้เฉออกจากตำแหน่งของมัน และลืมส่วนหนึ่งจากสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนไว้ และเจ้าก็ยังคงมองเห็นอยู่ในการคดโกงจากพวกเขานอกจากเพียงเล็กน้อยในหมู่พวกเขาเท่านั้น จงอภัยให้แก่พวกเขาเถิดและยกโทษเสีย แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงชอบผู้ทำดีทั้งหลาย” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 12-13)

เรื่องราวของท่านนบีมูซา อะลัยฮิสลาม และการเข้าเมืองบัยตุลมักดิส    
﴿وَإِذۡ قَالَ مُوسَىٰ لِقَوۡمِهِۦ يَٰقَوۡمِ ٱذۡكُرُواْ نِعۡمَةَ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ إِذۡ جَعَلَ فِيكُمۡ أَنۢبِيَآءَ وَجَعَلَكُم مُّلُوكٗا وَءَاتَىٰكُم مَّا لَمۡ يُؤۡتِ أَحَدٗا مِّنَ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٢٠ يَٰقَوۡمِ ٱدۡخُلُواْ ٱلۡأَرۡضَ ٱلۡمُقَدَّسَةَ ٱلَّتِي كَتَبَ ٱللَّهُ لَكُمۡ وَلَا تَرۡتَدُّواْ عَلَىٰٓ أَدۡبَارِكُمۡ فَتَنقَلِبُواْ خَٰسِرِينَ ٢١ قَالُواْ يَٰمُوسَىٰٓ إِنَّ فِيهَا قَوۡمٗا جَبَّارِينَ وَإِنَّا لَن نَّدۡخُلَهَا حَتَّىٰ يَخۡرُجُواْ مِنۡهَا فَإِن يَخۡرُجُواْ مِنۡهَا فَإِنَّا دَٰخِلُونَ ٢٢ قَالَ رَجُلَانِ مِنَ ٱلَّذِينَ يَخَافُونَ أَنۡعَمَ ٱللَّهُ عَلَيۡهِمَا ٱدۡخُلُواْ عَلَيۡهِمُ ٱلۡبَابَ فَإِذَا دَخَلۡتُمُوهُ فَإِنَّكُمۡ غَٰلِبُونَۚ وَعَلَى ٱللَّهِ فَتَوَكَّلُوٓاْ إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِينَ ٢٣ قَالُواْ يَٰمُوسَىٰٓ إِنَّا لَن نَّدۡخُلَهَآ أَبَدٗا مَّا دَامُواْ فِيهَا فَٱذۡهَبۡ أَنتَ وَرَبُّكَ فَقَٰتِلَآ إِنَّا هَٰهُنَا قَٰعِدُونَ ٢٤ قَالَ رَبِّ إِنِّي لَآ أَمۡلِكُ إِلَّا نَفۡسِي وَأَخِيۖ فَٱفۡرُقۡ بَيۡنَنَا وَبَيۡنَ ٱلۡقَوۡمِ ٱلۡفَٰسِقِينَ ٢٥ قَالَ فَإِنَّهَا مُحَرَّمَةٌ عَلَيۡهِمۡۛ أَرۡبَعِينَ سَنَةٗۛ يَتِيهُونَ فِي ٱلۡأَرۡضِۚ فَلَا تَأۡسَ عَلَى ٱلۡقَوۡمِ ٱلۡفَٰسِقِينَ ٢٦﴾ [سورة المائدة : 20-26]
ความว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่ประชาชาติของเขาว่า โอ้ประชาชาติของฉัน ! พึงรำลึกถึงความกรุณาเมตตาของอัลลอฮฺที่มีแด่พวกท่านเถิด เพราะว่าพระองค์ได้ทรงให้มีบรรดานบีขึ้นในหมู่พวกท่าน และได้ทรงให้พวกท่านเป็นกษัตริย์ และได้ทรงประทานแก่พวกท่านซึ่งสิ่งที่มิได้ทรงประทานให้แก่ผู้ใดในหมู่ประชาชาติทั้งหลาย  โอ้ประชาชาติของฉัน ! จงเข้าไปในแผ่นดินอันบริสุทธิ์ ที่อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดให้แก่พวกท่านเถิด และจงอย่าหันหลังของพวกท่านกลับ เพราะจะทำให้พวกท่านกลับกลายเป็นผู้ขาดทุน  พวกเขากล่าวว่า โอ้มูซา แท้จริงในแผ่นดินอันบริสุทธิ์นั้นมีพวกที่เหี้ยมโหด และพวกเราจะไม่เข้าไปในแผ่นดินนั้นเป็นอันขาด จนกว่าพวกเขาจะออกไปจากที่นั้น แต่ถ้าพวกเขาออกไปจากที่นั้นแล้ว พวกเราจึงจะเป็นผู้เข้าไป  มีชายสองคนในหมู่ผู้ยำเกรงที่อัลลอฮฺได้ทรงกรุณาเมตตาแก่เขาทั้งสองได้กล่าวว่าพวกท่านจงเข้าประตูนั้น ไปเผชิญหน้ากับพวกเขาเถิด ครั้นเมื่อพวกท่านเข้าประตูนั้นไปแล้ว แน่นอนพวกท่านจะเป็นผู้ชนะ และแด่อัลลอฮฺนั้นพวกเจ้าจงมอบหมายเถิด หากพวกท่านเป็นผู้ศรัทธา  พวกเขากล่าวว่า โอ้มูซา ! แท้จริงพวกเราจะไม่เข้าไปที่นั้นโดยเด็ดขาด ตราบใดที่พวกเขา ยังคงอยู่ที่นั่น ดังนั้นท่านและพระเจ้าของท่านจงไปเถิด แล้วจงต่อสู้เอง พวกเราจะนั่งอยู่ที่นี่  เขากล่าวว่า โอ้พระเจ้าแห่งข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ไม่มีอำนาจใดๆ เลย นอกจากตัวของข้าพระองค์เองและพี่ชายของข้าพระองค์เท่านั้น ดังนั้นโปรดได้แยกระหว่างเรากับประชาชาติผู้ละเมิดด้วยเถิด  พระองค์ตรัสว่า แท้จริงแผ่นดินนั้นเป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขาสี่สิบปี ซึ่งพวกเขาจะระเหเร่ร่อนไปในผืนแผ่นดิน ดังนั้นเจ้าจงอย่าเสียใจให้แก่ประชาชาติผู้ละเมิดเหล่านั้นเลย” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 20-26)
ซึ่งการมาของอายะฮฺนี้ก็เป็นข้อยืนยันอีกประการหนึ่งถึงตัวอย่างในการบิดพลิ้วในคำมั่นสัญญาของบนีอิสรออีล และเป็นการแสดงถึงข้อแตกต่างระหว่างการโต้ตอบของอัลลอฮฺ ตะอาลา ต่อพวกอิสรออีลที่ว่า “แท้จริงแผ่นดินนั้น เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขา” ในอายะฮฺข้างต้น กับการโต้ตอบของพระองค์ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ต่อบรรดาผู้ศรัทธาที่ว่า “สิ่งดี ๆ ทั้งหลายได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 5)

เรื่องราวของลูกชายทั้งสองของท่านนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม
การที่เรื่องราวนี้ได้ปรากฏในสูเราะฮฺหลังจากเรื่องราวของบนีอิสรออีล อันเนื่องจากการที่บนีอิสรออีลนั้นได้บิดพลิ้วในคำมั่นสัญญาต่าง ๆ ที่มาจากความขี้ขลาดของพวกเขา ส่วนกอบีลก็ได้ฆ่าฮาบีลพี่ชายของเขาเอง(ทั้งสองเป็นลูกของท่านนบีอาดัม -ผู้แปล-) ด้วยกับความใจร้อนและการบิดพลิ้วในคำมั่นสัญญาของเขา
﴿۞وَٱتۡلُ عَلَيۡهِمۡ نَبَأَ ٱبۡنَيۡ ءَادَمَ بِٱلۡحَقِّ إِذۡ قَرَّبَا قُرۡبَانٗا فَتُقُبِّلَ مِنۡ أَحَدِهِمَا وَلَمۡ يُتَقَبَّلۡ مِنَ ٱلۡأٓخَرِ قَالَ لَأَقۡتُلَنَّكَۖ قَالَ إِنَّمَا يَتَقَبَّلُ ٱللَّهُ مِنَ ٱلۡمُتَّقِينَ ٢٧ لَئِنۢ بَسَطتَ إِلَيَّ يَدَكَ لِتَقۡتُلَنِي مَآ أَنَا۠ بِبَاسِطٖ يَدِيَ إِلَيۡكَ لِأَقۡتُلَكَۖ إِنِّيٓ أَخَافُ ٱللَّهَ رَبَّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٢٨ إِنِّيٓ أُرِيدُ أَن تَبُوٓأَ بِإِثۡمِي وَإِثۡمِكَ فَتَكُونَ مِنۡ أَصۡحَٰبِ ٱلنَّارِۚ وَذَٰلِكَ جَزَٰٓؤُاْ ٱلظَّٰلِمِينَ ٢٩ فَطَوَّعَتۡ لَهُۥ نَفۡسُهُۥ قَتۡلَ أَخِيهِ فَقَتَلَهُۥ فَأَصۡبَحَ مِنَ ٱلۡخَٰسِرِينَ ٣٠ فَبَعَثَ ٱللَّهُ غُرَابٗا يَبۡحَثُ فِي ٱلۡأَرۡضِ لِيُرِيَهُۥ كَيۡفَ يُوَٰرِي سَوۡءَةَ أَخِيهِۚ قَالَ يَٰوَيۡلَتَىٰٓ أَعَجَزۡتُ أَنۡ أَكُونَ مِثۡلَ هَٰذَا ٱلۡغُرَابِ فَأُوَٰرِيَ سَوۡءَةَ أَخِيۖ فَأَصۡبَحَ مِنَ ٱلنَّٰدِمِينَ ٣١﴾ [سورة المائدة : 27-31]
ความว่า “และเจ้าจงอ่านให้พวกเขาฟัง ซึ่งข่าวคราวเกี่ยวกับบุตรชายสองคนของอาดัมตามความเป็นจริง ขณะที่ทั้งสองได้กระทำการมอบสิ่งพลีอยู่นั้น แล้วสิ่งพลีนั้นก็ถูกรับจากคนหนึ่งในสองคน และมันมิได้ถูกรับจากอีกคนหนึ่ง เขา(คนที่สิ่งพลีไม่ถูกรับ)จึงได้กล่าวว่า แน่นอนข้าจะฆ่าเจ้าให้ได้ เขา(คนที่ถูกรับสิ่งพลี)กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับจากหมู่ผู้มีความยำเกรงเท่านั้น  หากท่านยื่นมือของท่านมายังฉันเพื่อจะฆ่าฉัน ฉันก็จะไม่ยื่นมือของฉันไปยังท่านเพื่อจะฆ่าท่าน แท้จริงฉันกลัวอัลลอฮฺผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก  แท้จริงฉันต้องการที่จะให้ท่านนำบาปของฉันและบาปของท่านกลับไป แล้วท่านก็จะกลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ชาวนรก และนั่นแหละคือการตอบแทนแก่บรรดาผู้อธรรม  แล้วจิตใจของเขา ก็คล้อยตามเขาในการที่จะฆ่าน้องชายของเขา แล้วเขาก็ฆ่าน้องชายของเขา ดังนั้นเขาจึงได้กลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ขาดทุน (30) แล้วอัลลอฮฺก็ได้ส่งกาตัวหนึ่งมาคุ้ยหาในดิน เพื่อที่จะให้เขาเห็นว่าเขาจะกลบศพน้องชายของเขาอย่างไรเขากล่าวว่า โอ้ความพินาศของฉัน ฉันไม่สามารถที่จะเป็นเช่นกาตัวนี้แล้วกลบศพน้องชายของฉันเชียวหรือนี่? แล้วเขาก็กลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ตรอมใจ (31)” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 27-31)

คำเรียกร้องที่หก
เป็นการยืนยันถึงแนวทางที่จะช่วยให้สามารถรักษาคำมั่นสัญญาต่างๆ นั่นคือ การมีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และการต่อสู้ดิ้นรนในหนทางของพระองค์
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَٱبۡتَغُوٓاْ إِلَيۡهِ ٱلۡوَسِيلَةَ وَجَٰهِدُواْ فِي سَبِيلِهِۦ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٣٥﴾ [المائدة : 35]
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงแสวงหาสื่อ(การปฏิบัติความดี)ไปสู่พระองค์ และจงต่อสู้และเสียสละในทางของอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 35)

คำเรียกร้องที่เจ็ดและแปด
﴿۞يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَتَّخِذُواْ ٱلۡيَهُودَ وَٱلنَّصَٰرَىٰٓ أَوۡلِيَآءَۘ بَعۡضُهُمۡ أَوۡلِيَآءُ بَعۡضٖۚ وَمَن يَتَوَلَّهُم مِّنكُمۡ فَإِنَّهُۥ مِنۡهُمۡۗ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يَهۡدِي ٱلۡقَوۡمَ ٱلظَّٰلِمِينَ ٥١ فَتَرَى ٱلَّذِينَ فِي قُلُوبِهِم مَّرَضٞ يُسَٰرِعُونَ فِيهِمۡ يَقُولُونَ نَخۡشَىٰٓ أَن تُصِيبَنَا دَآئِرَةٞۚ فَعَسَى ٱللَّهُ أَن يَأۡتِيَ بِٱلۡفَتۡحِ أَوۡ أَمۡرٖ مِّنۡ عِندِهِۦ فَيُصۡبِحُواْ عَلَىٰ مَآ أَسَرُّواْ فِيٓ أَنفُسِهِمۡ نَٰدِمِينَ ٥٢ وَيَقُولُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ أَهَٰٓؤُلَآءِ ٱلَّذِينَ أَقۡسَمُواْ بِٱللَّهِ جَهۡدَ أَيۡمَٰنِهِمۡ إِنَّهُمۡ لَمَعَكُمۡۚ حَبِطَتۡ أَعۡمَٰلُهُمۡ فَأَصۡبَحُواْ خَٰسِرِينَ ٥٣ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مَن يَرۡتَدَّ مِنكُمۡ عَن دِينِهِۦ فَسَوۡفَ يَأۡتِي ٱللَّهُ بِقَوۡمٖ يُحِبُّهُمۡ وَيُحِبُّونَهُۥٓ أَذِلَّةٍ عَلَى ٱلۡمُؤۡمِنِينَ أَعِزَّةٍ عَلَى ٱلۡكَٰفِرِينَ يُجَٰهِدُونَ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَلَا يَخَافُونَ لَوۡمَةَ لَآئِمٖۚ ذَٰلِكَ فَضۡلُ ٱللَّهِ يُؤۡتِيهِ مَن يَشَآءُۚ وَٱللَّهُ وَٰسِعٌ عَلِيمٌ ٥٤ إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ ٱللَّهُ وَرَسُولُهُۥ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱلَّذِينَ يُقِيمُونَ ٱلصَّلَوٰةَ وَيُؤۡتُونَ ٱلزَّكَوٰةَ وَهُمۡ رَٰكِعُونَ ٥٥ وَمَن يَتَوَلَّ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ فَإِنَّ حِزۡبَ ٱللَّهِ هُمُ ٱلۡغَٰلِبُونَ ٥٦ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَتَّخِذُواْ ٱلَّذِينَ ٱتَّخَذُواْ دِينَكُمۡ هُزُوٗا وَلَعِبٗا مِّنَ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ مِن قَبۡلِكُمۡ وَٱلۡكُفَّارَ أَوۡلِيَآءَۚ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِينَ ٥٧ وَإِذَا نَادَيۡتُمۡ إِلَى ٱلصَّلَوٰةِ ٱتَّخَذُوهَا هُزُوٗا وَلَعِبٗاۚ ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمۡ قَوۡمٞ لَّا يَعۡقِلُونَ ٥٨ قُلۡ يَٰٓأَهۡلَ ٱلۡكِتَٰبِ هَلۡ تَنقِمُونَ مِنَّآ إِلَّآ أَنۡ ءَامَنَّا بِٱللَّهِ وَمَآ أُنزِلَ إِلَيۡنَا وَمَآ أُنزِلَ مِن قَبۡلُ وَأَنَّ أَكۡثَرَكُمۡ فَٰسِقُونَ ٥٩ قُلۡ هَلۡ أُنَبِّئُكُم بِشَرّٖ مِّن ذَٰلِكَ مَثُوبَةً عِندَ ٱللَّهِۚ مَن لَّعَنَهُ ٱللَّهُ وَغَضِبَ عَلَيۡهِ وَجَعَلَ مِنۡهُمُ ٱلۡقِرَدَةَ وَٱلۡخَنَازِيرَ وَعَبَدَ ٱلطَّٰغُوتَۚ أُوْلَٰٓئِكَ شَرّٞ مَّكَانٗا وَأَضَلُّ عَن سَوَآءِ ٱلسَّبِيلِ ٦٠ وَإِذَا جَآءُوكُمۡ قَالُوٓاْ ءَامَنَّا وَقَد دَّخَلُواْ بِٱلۡكُفۡرِ وَهُمۡ قَدۡ خَرَجُواْ بِهِۦۚ وَٱللَّهُ أَعۡلَمُ بِمَا كَانُواْ يَكۡتُمُونَ ٦١ وَتَرَىٰ كَثِيرٗا مِّنۡهُمۡ يُسَٰرِعُونَ فِي ٱلۡإِثۡمِ وَٱلۡعُدۡوَٰنِ وَأَكۡلِهِمُ ٱلسُّحۡتَۚ لَبِئۡسَ مَا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ٦٢ لَوۡلَا يَنۡهَىٰهُمُ ٱلرَّبَّٰنِيُّونَ وَٱلۡأَحۡبَارُ عَن قَوۡلِهِمُ ٱلۡإِثۡمَ وَأَكۡلِهِمُ ٱلسُّحۡتَۚ لَبِئۡسَ مَا كَانُواْ يَصۡنَعُونَ ٦٣ وَقَالَتِ ٱلۡيَهُودُ يَدُ ٱللَّهِ مَغۡلُولَةٌۚ غُلَّتۡ أَيۡدِيهِمۡ وَلُعِنُواْ بِمَا قَالُواْۘ بَلۡ يَدَاهُ مَبۡسُوطَتَانِ يُنفِقُ كَيۡفَ يَشَآءُۚ وَلَيَزِيدَنَّ كَثِيرٗا مِّنۡهُم مَّآ أُنزِلَ إِلَيۡكَ مِن رَّبِّكَ طُغۡيَٰنٗا وَكُفۡرٗاۚ وَأَلۡقَيۡنَا بَيۡنَهُمُ ٱلۡعَدَٰوَةَ وَٱلۡبَغۡضَآءَ إِلَىٰ يَوۡمِ ٱلۡقِيَٰمَةِۚ كُلَّمَآ أَوۡقَدُواْ نَارٗا لِّلۡحَرۡبِ أَطۡفَأَهَا ٱللَّهُۚ وَيَسۡعَوۡنَ فِي ٱلۡأَرۡضِ فَسَادٗاۚ وَٱللَّهُ لَا يُحِبُّ ٱلۡمُفۡسِدِينَ ٦٤ وَلَوۡ أَنَّ أَهۡلَ ٱلۡكِتَٰبِ ءَامَنُواْ وَٱتَّقَوۡاْ لَكَفَّرۡنَا عَنۡهُمۡ سَيِّ‍َٔاتِهِمۡ وَلَأَدۡخَلۡنَٰهُمۡ جَنَّٰتِ ٱلنَّعِيمِ ٦٥ وَلَوۡ أَنَّهُمۡ أَقَامُواْ ٱلتَّوۡرَىٰةَ وَٱلۡإِنجِيلَ وَمَآ أُنزِلَ إِلَيۡهِم مِّن رَّبِّهِمۡ لَأَكَلُواْ مِن فَوۡقِهِمۡ وَمِن تَحۡتِ أَرۡجُلِهِمۚ مِّنۡهُمۡ أُمَّةٞ مُّقۡتَصِدَةٞۖ وَكَثِيرٞ مِّنۡهُمۡ سَآءَ مَا يَعۡمَلُونَ ٦٦﴾ [سورة المائدة : 51-66]
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าได้ยึดเอาชาวยิวและชาวคริสต์เป็นมิตร บางส่วนของพวกเขาคือมิตรของอีกบางส่วน และผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเอาพวกเขามาเป็นมิตรแล้วไซร้ แน่นอนผู้นั้นก็เป็นคนหนึ่งในพวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงแนะนำกลุ่มชนที่อธรรม  แล้วเจ้าจะได้เห็นบรรดาผู้ที่ในหัวใจของพวกเขามีโรค ต่างรีบเร่งกันไปอยู่ในหมู่พวกเขา โดยกล่าวว่า พวกเรากลัวภัยพิบัติจะเวียนมาประสบแก่พวกเ