อุมมะตัน วะสอฏอ วิถีแห่งประชาชาติที่ดีเลิศ

งานเขียนที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ว่าด้วยความหมายของคำว่า อุมมะตัน วะสะฏอ หรือประชาชาติสายกลาง ตามที่อัลลอฮฺได้ประกาศในคัมภีร์อัลกุรอาน โดยวิเคราะห์จากหลักฐานต่างๆ ในหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และความเห็นของบรรดาอุละมาอ์ รวมทั้งตอบข้อสงสัยต่างๆ ที่เป็นความคลุมเครือเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของอุมมะตัน วะสะฏอ

اسم الكتاب: وكذلك جعلناكم أمة وسطا


تأليف: إسماعيل لطفي فطاني


الناشر: جامعة جالا الإسلامية


نبذة مختصرة: كتاب مترجم إلى اللغة التايلندية يسليط الضوء على معنى كلمة الأمة الوسط في قوله تعالى (وكذلك جعلناكم أمة وسطا) بمفهومها الصحيح الذي فسره النبي - صلى الله عليه وسلم -، وبيان المعاني التي ذكرها العلماء واستقرؤها من الأحاديث والآثار، وتوضيح ما يخالف الوسطية من الغلو والإسراف والتنطع والإفراط والتفريط ونحو ذلك.


อุมมะตัน วะสอฏอ
วิถีแห่งประชาชาติที่ดีเลิศ

وكذلك جعلناكم أمة وسطا

< تايلاندية >

        
ผศ.ดร.อิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียา

إسماعيل لطفي فطاني

 




 
ผู้แปล: อุษมาน อิดรีส
ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
 
ترجمة: عثمان إدريس
مراجعة: صافي عثمان

อุมมะตัน วะสะฏอ วิถีแห่งประชาชาติที่ดีเลิศ

        

บทนำ

إِنَّ اْلحَمْدَ للهِ نَحْمَدُهُ  وَنَسْتَعِيْنُهِ وَنَسْتَغْفِرُهُ  وَنَسْتَهْدِيْهِ وَنَتُوْبُ إِلَيْهِ، وَنَعُوْذُ بِاللهِ مِنْ شُرُوْرِ أَنْفُسِنَا وَمِنْ سَيِّئَاتِ أَعْمَالِنَا، مَنْ يَهْدِهِ اللهُ فَلاَ مُضِلَّ لَهُ، وَمَنْ يُضْلِلْهُ فَلاَ هَادِيَ لَهُ. أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيْكَ لَهُ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ. اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ وَبَارِكْ عَلَى نَبِيِّنَا وَحَبِيْبِنَا الْمُصْطَفَى مُحَمَّدٍ، وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ. أَمَّا بَعْدُ،

แก่นแท้ของอุมมะตันวะสะฏอ
อุมมะตันวะสะฏอเป็นหนึ่งในความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่พระองค์ทรงประทานแก่ประชาชาติของนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ควรค่าแก่การได้รับขนานนามว่า “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ” (ประชาชาติที่ดีเลิศ) เป็นการเฉพาะ ซึ่งในบรรดาคุณลักษณะของ อุมมะตัน วะสะฏอ ก็คือ “อุมมะตัน วาหิดะฮฺ” หมายถึง ประชาชาติหนึ่งเดียวเท่านั้นที่ถูกคัดเลือกให้เป็นผู้ดูแลมนุษยชาติทั้งหมดบนโลกนี้และเป็นสักขีพยานในวันอาคิเราะฮฺ
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿  ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ   ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ﴾
ความหมาย “และในทำนองเดียวกัน (กับที่เราได้ประทานทางนำแก่เจ้าโอ้มุหัมมัดสู่เส้นทางที่เที่ยงตรง หรือเราได้คัดเลือกเจ้าในฐานะลูกหลานท่านนบีอิบรอฮีมเพื่อแต่งตั้งเป็นเราะสูลบนโลกนี้)  เราก็ได้กำหนดให้พวกเจ้า (หมายถึงประชาชาติของนบีมุหัมมัดที่เป็นมุสลิม/อุมมะตัน วาหิดะฮฺ) เป็น อุมมะตัน วะสะฏอ (หมายถึงประชาชาติที่เที่ยงธรรม ถูกคัดเลือก และประเสริฐที่สุด) เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานต่อ (การกระทำของ) มนุษย์ทั้งหลาย และเพื่อให้ท่านเราะสูล (มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิวะสัลลัม) เป็นสักขีพยานต่อ  (การเป็นพยานของ) พวกเจ้า”

มีเพียงอายะฮฺนี้เท่านั้นในอัลกุรอานที่แจ้งว่าประชาชาติของนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือ “อุมมะตัน วะสะฏอ” โดยอายะฮฺข้างต้นถูกจัดวางไว้ระหว่างอายะฮฺต่างๆ ที่พูดถึงการเปลี่ยนทิศกิบลัตจากบัยตุลมักดิส ณ ปาเลสไตน์สู่บัยติลลาฮิล หะรอม ณ มักกะฮฺ อัลมุกัรเราะมะฮฺ ซึ่งในเวลานั้น ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กำลังเผชิญหน้ากับการถูกกล่าวหาและตำหนิเกี่ยวกับการเปลี่ยนทิศกิบลัตโดยชาวยิวและคริสต์ที่ไม่ประสงค์ดี
การอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับความหมายของ “อุมมะตัน วะสะฏอ” ในอายะฮฺข้างต้น คือการอธิบายของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั่นคือ อัลอัดลุ (เที่ยงธรรม) โดยในวันอาคิเราะฮฺประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในฐานะ “อุมมะตัน วะสะฏอ” จะเป็นสักขีพยานที่สัจจริงและเที่ยงธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างเหล่านบีกับบรรดาประชาชาติของพวกเขา เนื่องเพราะประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นประชาชาติที่เที่ยงธรรม “อุมมะตัน วะสะฏอ” ประชาชาติสุดท้ายที่ถือกำเนิดบนโลกนี้ ในความหมายที่ว่า พวกเขาเป็นประชาชาติที่มีชะรีอะฮฺที่เที่ยงตรงและสมบูรณ์ที่วางอยู่บนพื้นฐานแห่งความเที่ยงธรรม ปานกลาง  และมีดุลยภาพอันเป็นเหตุให้พวกเขาได้รับคัดเลือกให้เป็นประชาชาติที่น่ายกย่องและเหมาะสมที่จะเป็นสักขีพยานแก่มนุษยชาติทั้งหมดที่ถือกำเนิดบนโลกนี้ก่อนหน้าพวกเขา โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มนุษย์ทุกคนกำลังรวมตัวกัน ณ ทุ่งมะหฺชัร ในวันอาคิเราะฮฺ
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ เศาะลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«يُدْعَى نُوحٌ يَوْمَ الْقِيَامَةِ فَيُقَالُ: هَلْ بَلَّغْتَ؟ فَيَقُولُ: نَعَمْ، فَيُدْعَى قَوْمُهُ فَيُقَالُ: هَلْ بَلَّغَكُمْ؟ فَيَقُولُونَ: مَا أَتَانَا مِنْ نَذِيرٍ وَمَا أَتَانَا مِنْ أَحَدٍ، قَالَ، فَيُقَالُ لِنُوحٍ: مَنْ يَشْهَدُ لَكَ؟ فَيَقُولُ: مُحَمَّدٌ وَأُمَّتُهُ، قَالَ: فَذَلِكَ قَوْلُهُ ﴿ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ﴾ ،  قَالَ: الْوَسَطُ الْعَدْلُ، قَالَ: فَيُدْعَوْنَ فَيَشْهَدُونَ لَهُ بِالْبَلَاغِ، قَالَ: ثُمَّ أَشْهَدُ عَلَيْكُمْ بَعْدُ»
ความหมาย “ในวันกิยามะฮฺนบีนูหฺจะถูกเรียกตัวและถูกถามว่า “ท่านได้ป่าวประกาศคำสอนของอัลลอฮฺ (แก่ประชาชาติของท่าน) หรือไม่?” ท่านตอบว่า “ใช่(ฉันได้ป่าวประกาศแล้ว)” หลังจากนั้นประชาชาติของท่านก็ถูกเรียกตัว และถูกถามว่า “นบีนูหฺได้ป่าวประกาศคำสอนของอัลลอฮฺแก่พวกเจ้าหรือไม่?” พวกเขาตอบว่า “ไม่มีผู้ให้คำตักเตือนมาป่าวประกาศคำสอนของอัลลอฮฺแก่พวกเราเลยแม้แต่คนเดียว” ดังนั้น นบีนูหฺจึงถูกถามว่า “ใครสามารถเป็นสักขีพยานแก่ท่าน?” ท่านตอบว่า  “มุหัมมัดและประชาชาติของเขา ” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า นั่นแหละคือความหมายคำตรัสของอัลลอฮฺ   
﴿ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ﴾
ท่านกล่าว (อธิบายความหมายของ วะสะฏอ) ว่า “อัลวะสัฏ คือ อัลอัดลุ (หมายความว่า พวกท่านคือประชาชาติที่เที่ยงธรรม  ดังนั้น พวกท่านจึงเหมาะที่จะเป็นสักขีพยานแก่ผู้อื่น)” ท่านนบีกล่าวว่า  “ดังนั้น พวกเขา (ประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) จึงถูกเรียกตัว แล้วพวกเขาก็เป็นสักขีพยานต่อการประกาศของนบีนูหฺ”  ท่านนบีกล่าวต่อไปว่า  “หลังจากนั้น ฉันก็จะเป็นสักขีพยานให้แก่พวกท่านอีกชั้นหนึ่งด้วย”
เหตุการณ์ข้างต้นจะเกิดขึ้นกับนบีท่านอื่นๆเช่นเดียวกัน หมายความว่า ประชาชาติของนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือประชาชาติที่จะเป็นสักขีพยานแก่ประชาชาติทั้งหลายที่ถูกบังเกิดก่อนหน้าพวกเขาเกี่ยวกับการเผยแผ่และการประกาศสารของเราะสูลทั้งหลายแก่ประชาชาติของพวกเขา เหมือนที่พวกเขาได้เป็นสักขีพยานแก่ประชาชาติของ นบีนูหฺในวันชุมนุมใหญ่ ณ ทุ่งมะหฺชัร นั่นแหละคือความหมายของอายะฮฺ  
﴿ﭮ   ﭯ ﭰ ﭱ﴾
ซึ่งการเป็นสักขีพยานของพวกเขาดังกล่าววางอยู่บนพื้นฐานของความรู้จากอัลกุรอาน ที่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถ่ายทอดให้พวกเขาได้ทราบถึงเรื่องราวการต่อสู้ของเหล่าศาสนทูตของอัลลอฮฺในการป่าวประกาศคำสอนหรือวะหฺยูของอัลลอฮฺแก่ประชาชาติของพวกเขาแต่ละคน ส่วนประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะได้รับการเป็นสักขีพยานยืนยันโดยท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อีกชั้นหนึ่งถึงความสัจจริงในการนับถือศาสนาและการเป็นสักขีพยานของพวกเขา และนั่นคือความหมายของอายะฮฺท่อนที่ว่า
﴿ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ﴾
ท่านอิบนุกะษีรได้กล่าวอธิบายความหมายของอายะฮฺนี้ว่า
وَلَمَّا جَعَلَ اللهُ هَذِهِ الْأُمَّةَ وَسَطًا خَصَّها بِأَكْمَلِ الشَّرَائِعِ وَأَقْوَمِ الْمَنَاهِجِ وَأَوْضَحِ الْمَذَاهِب
ความหมาย “ในเมื่ออัลลอฮฺได้ทรงสร้างประชาชาตินบีมุหัมมัดเป็น อุมมะตัน วะสะฏอ พระองค์จึงทรงกำหนดชะรีอะฮฺที่สมบูรณ์ที่สุด แนวทางที่ตรงที่สุด และวิถีที่ชัดเจนที่สุดแก่พวกเขา”

อุมมะตัน วะสะฏอ คือประชาชาติอิสลามในสมัยของเราะสูลท่านสุดท้ายที่ชื่อ มุหัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿  ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ  ﮬ  ﮭ ﮮ  ﮯ ﮰﮱ ﯓ ﯔ ﯕﯖ ﯗ ﯘ  ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ  ﯢ ﯣ ﯤ ﯥﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ    ﯫ ﯬ ﯭ ﯮﯯ ﯰ ﯱ    ﯲ  ﯳ  ﯴ  ﴾
ความหมาย “พระองค์อัลลอฮฺทรงคัดเลือกพวกเจ้า (โอ้ประชาชาติมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากบรรดาประชาชาติทั้งหลายเพื่อให้เป็นประชาชาติที่ประเสริฐที่สุด ผ่าน ชะรีอะฮฺที่ดีที่สุดและเราะสูลที่ประเสริฐที่สุด) และพระองค์มิได้ทรงทำให้การนับถือศาสนาของพวกเจ้าเกิดความยากลำบาก  นั่นแหละคือศาสนาของอิบรอฮีม บรรพบุรุษของพวกเจ้า พระองค์ทรงตั้งชื่อพวกเจ้า (โอ้ประชาชาติมุหัมมัด) ว่า มุสลิมีน (พหูพจน์ของคำว่า มุสลิม หมายถึงผู้ที่มอบตนและสิโรราบต่ออัลลอฮฺ) ทั้งในคัมภีร์ก่อนหน้านี้ และในอัลกุรอาน เพื่อให้เราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเป็นพยานต่อความสัจจริงในการนับถือศาสนาของพวกเจ้า และเพื่อให้พวกเจ้าเป็นพยานต่อประชาชาติอื่นๆ”

เกียรติที่อัลลอฮฺได้มอบให้แก่ประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งได้รับการขนานนามว่า อุมมะตัน วะสะฏอ และได้รับคัดเลือกให้เป็นพยานต่อมวลมนุษยชาตินั้น ได้รับการยอมรับจากประชาติทั้งหลาย โดยเฉพาะในวันอาคิเราะฮฺ
เกี่ยวกับการยอมรับดังกล่าว ท่านซัยด์ บิน อัสลัม ได้กล่าวว่า ในวันกิยามะฮฺประชาชาติทั้งหลายต่างพากันกล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แท้จริง (สถานะของ) ประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทั้งหมด (ในวันนี้) เสมือนกับว่าพวกเขาล้วนเป็นนบี”  เนื่องจากพวกเขาได้เห็นถึงความโปรดปรานที่อัลลอฮฺได้มอบให้แก่ประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ด้วยการให้เป็นพยานแก่ผู้อื่น)
ความหมายของหะดีษข้างต้น ทำให้เราประจักษ์ว่า
1.    บทบาทส่วนหนึ่งของ อุมมะตัน วะสะฏอ คือ ทำหหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของมวลมนุษยชาติในทุกยุคสมัย นับตั้งแต่ประชาชาติสมัยนบีอาดัม อะลัยฮิสสลาม จวบจนวันกิยามะฮฺ ทั้งในโลกนี้และในวันอาคิเราะฮฺ ความมีเกียรติของพวกเขาเกิดจากความเที่ยงธรรมที่มีอยู่ในตัวพวกเขาซึ่งวางอยู่บนหลักแห่งความรู้ที่เที่ยงตรงและข้อมูลที่ชัดแจ้งจากอัลกุรอาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการต่อสู้ของบรรดาเราะสูล อะลัยฮิมุสสลาม ในการเผยแผ่และประกาศคำสอนของอัลลอฮฺแก่ประชาชาติของพวกเขา เพราะในบรรดาเงื่อนไขของความเที่ยงธรรมในการเป็นพยานคือมีข้อมูลที่ชัดแจ้งต่อสิ่งที่จะเป็นพยาน (ﭮ   ﭯ ﭰ ﭱ)

2.    การเป็นพยานทั้งหมดของ อุมมะตัน วะสะฏอ จะขึ้นยึดโยงและขึ้นอยู่กับการเป็นพยานของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อความสัจจริงในการนับถือศาสนาและสถานะการเป็นพยานของพวกเขา (ﭲ  ﭳ  ﭴ  ﭵ) วัลลอฮุอะอฺลัม

3.    อุมมะตัน วะสะฏอ ที่ได้รับการยืนยันรับรองจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อความสัจจริงในการนับถือศาสนาของพวกเขาและสถานะการเป็นพยานของพวกเขาในวันอาคิเราะฮฺ ย่อมเป็นประชาชาติที่ไม่บกพร่องด้านรากฐานของศาสนาอิสลาม นั่นคือพวกเขาต้องปลอดจากการตั้งภาคี การอุตริในศาสนา และความจอมปลอมในด้านอะกีดะฮฺและอิบาดะฮฺ หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะเป็นพยานต่อความสัจจริงในการนับถือศาสนาและความเที่ยงธรรมในการเป็นพยานของพวกเขาได้อย่างไรกัน? นี่แหละคือแก่นแท้ของ อุมมะตัน วะสะฏอ อันหมายถึง ประชาชาติที่ใช้ชีวิตเคียงคู่อัลกุรอานพร้อมกับคำอธิบายจากสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทั้งด้านอะกีดะฮฺ อิบาดะฮฺ มุอามะลาต และอื่นๆ ซึ่งนี่เป็นเงื่อนไขหลักสำหรับการที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะมาเป็นพยานต่อความสัจจริงและความเที่ยงธรรมของพวกเขา

ความหมายของ “วะสะฏอ”
วะสัฏ คือ อัลอัดลุ (ความเที่ยงธรรม)
ความหมายเดิมของ “วะสัฏ” คือศูนย์กลางระหว่างทิศต่างๆ และทุกทิศจะเกี่ยวพันกับมันอย่างพอเหมาะและสมดุล โดยไม่มีทิศใดเหลื่อมล้ำกว่าทิศอื่นๆ  
นั่นแหละคือแก่นแท้ของความเที่ยงธรรมและความสมดุลที่น่าชื่นชมตามการอธิบายของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
รากฐานของ วะสะฏียะฮฺ คือความเที่ยงธรรม เนื่องเพราะนโยบายของอัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม วางอยู่บนหลักแห่งความเที่ยงธรรม อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ﯥﯦﯧﯨ﴾
ความหมาย “จงกล่าวเถิด (โอ้มุหัมมัด ว่า) พระผู้อภิบาลของฉันได้สั่งกำชับฉันให้ปฏิบัติอย่างเที่ยงธรรม”

หมายถึงเที่ยงธรรมในทุกๆ สิ่งและกับทุกๆ คน แม้กระทั่งกับผู้ปฏิเสธศรัทธาที่เป็นศัตรูของอิสลามก็ตาม

อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ﮨ  ﮩ  ﮪ  ﮫ        ﮬ  ﮭ   ﮮ  ﮯﮰ  ﮱ  ﯓ  ﯔ  ﯕ  ﯖ   ﯗ  ﯘﯙ  ﯚ  ﯛ  ﯜ  ﯝﯞ  ﯟ  ﯠﯡ  ﯢ   ﯣ  ﯤ  ﯥ  ﯦ﴾
ความหมาย “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าจงเป็นผู้ค้ำชูความเที่ยงธรรมเพื่ออัลลอฮฺในทุกการเป็นพยานของพวกเจ้า และจงอย่าให้การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใดทำให้พวกเจ้าไม่เที่ยงธรรมต่อพวกเขา พวกท่านจงมีความเที่ยงธรรมต่อทุกฝ่ายเถิด เพราะความเที่ยงธรรมของพวกเจ้าจะเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงกว่า และพวกเจ้าจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้อย่างลึกซึ้งในการกระทำของพวกเจ้า”

ความสำคัญของความเที่ยงธรรม
อุมมะตัน วะสะฏอ คือประชาชาติที่มีความเที่ยงธรรม และต่อต้านความอธรรม เพราะความเที่ยงธรรมเป็นเงื่อนไขหลักในการสร้างความปรองดองในหมู่ประชาชาติที่เป็น อุมมะตัน วาหิดะฮฺ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ
ความเที่ยงธรรมเป็นรากฐานของความเป็นเอกภาพและความปรองดองของประชาชาติ หากประชาชาติใดไม่มีความเที่ยงธรรมในหมู่พวกเขา โดยเฉพาะระหว่างผู้นำกับสังคม ประชาชาตินั้นก็จะเกิดความระส่ำระสายและความแตกแยก
ความเที่ยงธรรมของ อุมมะตัน วะสะฏอ เป็นรากฐานของอุมมะตัน วาหิดะฮฺ และเป็นเงื่อนไขของความปรองดอง ความสงบสุข และความก้าวหน้าของประชาชาติที่ควรได้รับการขนานนามว่า  “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ”  หมายถึง  “ประชาชาติที่ดีเลิศ”  เพราะความเที่ยงธรรมเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรักและโปรดปราน พระองค์ตรัสว่า
﴿ﯕﯖ  ﯗ  ﯘ  ﯙ  ﯚ﴾
ความหมาย “และพวกเจ้าทั้งหลายจงมีความเที่ยงธรรมเถิด แท้จริงอัลลอฮฺทรงโปรดปรานบรรดาผู้เที่ยงธรรม”

ความเที่ยงธรรมของอุมมะตัน วะสะฏอ โดยเฉพาะระหว่างผู้ปกครองกับราษฎร จะนำความจำเริญสู่สังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ ความสำเร็จด้านการปกครอง และความสันติสุขในสังคม รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน วัลลอฮุลมุวัฟฟิก
พึงทราบว่า ความเที่ยงธรรมของอุมมะตัน วาหิดะฮฺ เป็นรากฐานของความสงบสุขของชีวิตระหว่างมนุษยชาติบนโลกนี้ หากปราศจากความเที่ยงธรรมความสงบสุขก็ย่อมจะไม่เกิดขึ้น

วะสัฏหมายถึงอัลค็อยรฺ (ดีที่สุด)
คำว่า “วะสัฏ ” ถูกอธิบายด้วยคำว่า “อัลค็อยรฺ” หมายถึงดีที่สุด ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ
 ﴿ﮓ    ﮔ﴾  ท่านอิบนุ อับบาส, มุญาฮิด, สะอีด บิน ญุเบร, เกาะตาดะฮฺ และท่านอื่นๆ ได้กล่าวอธิบายความหมายของคำว่า ﴿ﮔ﴾ ในอายะฮฺข้างต้นว่า  «أَعْدَلُهُمْ وَخَيْرُهُمْ»  หมายถึง “ผู้ที่เที่ยงธรรมที่สุดและดีที่สุดในหมู่พวกเขา” การให้ความหมายดังกล่าวแก่ประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สอดคล้องกับการขนานนามของอัลลอฮฺในอายะฮฺ
﴿ﭞﭟﭠﭡﭢﭣﭤﭥﭦﭧﭨﭩ﴾
ความหมาย “(โอ้ประชาชาติมุหัมมัด ผู้เป็น อุมมะตัน วะสะฏอ)  พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่ดีที่สุดซึ่งถูกบังเกิดขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ ซึ่ง (หน้าที่หลักของพวกเจ้าบนโลกนี้คือ) เชิญชวนผู้คนให้ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นมะอฺรูฟ(ความดีงาม) ห้ามปรามมิให้พวกเขาปฏิบัติสิ่งที่เป็นมุนกัร(ความเลวทราม) และศรัทธาต่ออัลลอฮฺ”

จากความหมายของอายะฮฺข้างต้นทำให้ประจักษ์ว่า
1.    ระดับและสถานะของอุมมะตัน วะสะฏอ คือ  “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ ” หมายถึงประชาชาติที่ดีที่สุดในทุกมิติ เพราะนโยบายของประชาชาติที่ดีเลิศคือ  “วะสะฏอ ” หมายถึง มีความเที่ยงธรรมและมีดุลยภาพ และตามธรรมชาติแห่งการสรรค์สร้างและการบริหารโลกของอัลลอฮฺ จะทำให้นโยบายแห่ง  “วะสัฏ”  ที่วางอยู่บนพื้นฐานแห่งความเที่ยงธรรมในทุกมิตินั้นนำพาประชาชาติสู่ระดับ  “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ” (ประชาชาติที่ดีเลิศ) เสมอ
2.    หน้าที่หลักของ “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ” (ประชาชาติที่ดีเลิศ) คือถูกส่งมาเพื่อค้ำจุนผลประโยชน์ของมนุษย์ด้วยหลักแห่งความเมตตาแห่งอิสลาม นั่นคือ สิ่งดีงามต่างๆ ได้เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ผ่านการดะอฺวะฮฺและเชิญชวนพวกเขาสู่ความดี และสิ่งไม่ดีต่างๆ ที่สร้างความเสียหายแก่มนุษย์ได้อันตรธานหายไปหรือพ่ายแพ้ ผ่านความพยายามในการห้ามปรามมนุษย์จากความชั่วโดยพลพรรคแห่งประชาชาติที่ดีเลิศที่ศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะและเกรียงไกร
﴿ﭣﭤ     ﭥﭦﭧﭨﭩ﴾
พึงทราบว่า การยืนหยัดของสิ่งดีงามและการอ่อนตัวของสิ่งชั่วช้าบนโลกนี้ เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่จะทำให้ความเจริญรุ่งเรืองได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มีรากฐานของการศรัทธาต่ออัลลอฮฺผู้ทรงเดชานุภาพและทรงเมตตา

วะสัฏหมายถึงอัฟฎ็อล (ประเสริฐที่สุด)
คำว่า “วะสัฏ” ในด้านภาษาอาหรับมีความหมายว่า  “อัฟฎ็อล”  หมายถึง ประเสริฐที่สุด หรือมีความประเสริฐ หรือดีที่สุด ดังคำพูดของท่านอบูบักร อัศศิดดีกเกี่ยวกับสถานะของชาวกุเรชว่า
«هُمْ أَوْسَطُ العَرَبِ نَسَبًا وَدَارًا»
ความว่า “ชาวกุเรชคือชนเผ่าอาหรับที่มีสถานะประเสริฐที่สุดทั้งด้านสายตระกูลและถิ่นฐานภูมิลำเนา”
หมายความว่า เป็นประชาชาติที่ประเสริฐที่สุด เพราะคำว่า “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ” หมายถึง “อัฟฎ็อล อุมมะฮฺ” นั่นคือ ประชาชาติที่ดีที่สุด
ข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมถูกต้อง เพราะ “อุมมะตัน วะสะฏอ” เป็นประชาชาติยืนหยัดบนรากฐานแห่งอัลกุรอานและสุนนะฮฺที่คอยชี้นำประชาชาติสู่ถีชีวิตที่ดีเลิศ (อัลอักวัม) อยู่เสมอ ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่งว่า
﴿ﭟ  ﭠ  ﭡ  ﭢ  ﭣ  ﭤ  ﭥ﴾
ความหมาย  “แท้จริงอัลกุรอานเล่มนี้จะคอยชี้นำประชาชาติสู่วิถีชีวิตที่ดีเลิศ”

* คำว่า “อัลอักวัม” มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “อัลอัฟฎ็อล” วัลลอฮุอะอฺลัม
พึงตระหนักว่า ตามทัศนะอิสลาม แต่ละประชาชาติไม่สามารถเรียกว่า “วะสะฎอ” ในความหมายของ “อักวัม” หรือ “อัฟฎ็อล” หรือ “อัจญ์วัด” ที่หมายถึง ดีเลิศ เว้นแต่ว่าประชาชาตินั้นยืนหยัดอยู่บนรากฐานแห่งอัลกุรอานและสุนนะฮฺ ตามความเข้าใจของชนสะลัฟศอลิหฺ และอุละมาอ์ที่ได้รับการยอมรับเท่านั้น

“วะสัฏ ” หมายถึง  “อุลูว์”  และ “ริฟอะฮฺ ” (สูงส่ง)
คำว่า  “วะสะฏอ” ยังถูกอธิบายด้วยคำว่า  “อัลอุลูว์”  และ  “อัลริฟอะฮฺ”  ที่มีความหมายว่า  “สูง และยอดสุด”  โดยอิงจากหะดีษที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้ว่า
«فَإِذَا سَأَلْتُمُ اللهَ، فَاسْأَلُوهُ الفِرْدَوْسَ، فَإِنَّهُ أَوْسَطُ الجَنَّة»
ความหมาย  “ดังนั้น เมื่อพวกเจ้าร้องขอต่ออัลลอฮฺ พวกเจ้าจงร้องขอสวรรค์ฟิรเดาส์ เพราะแท้จริงมันเป็นสวรรค์ชั้นยอดสุด”

หมายความว่า ประชาชาติของนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นประชาชาติที่สูงส่ง เพราะอิสลามเป็นศาสนาที่สูงส่ง
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«الْإِسْلاَمُ يَعْلُوْ وَلَا يُعْلَى»
ความหมาย  “อิสลามเป็นศาสนาที่สูงส่งและไม่มีศาสนาใดเหนือกว่าศาสนาอิสลาม”

ความหมายของ “วะสะฏียะฮฺ” ด้านความปานกลางและความสมดุล
    นอกจาก “วะสะฏอ” จะมีความหมายดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ท่านอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ ยังได้อธิบายความหมาย “วะสะฏอ” ว่าหมายถึง “ความปานกลางระหว่างสองขั้วความเลยเถิด นั่นคือมากหรือสูงเกินไปและน้อยหรือต่ำเกินไปจากขอบเขตที่แท้จริง”   
    อัฏเฏาะบะรีย์กล่าวว่า
وَأَرَى أَنَّ اللهَ تَعَالَى ذِكْرُهُ إِنَّمَا وَصَفَهُمْ بِأَنَّهُم وَسَطٌ لِتَوَسُّطِهِمْ فِي الدِّينِ، فَلَا هُمْ أَهْلُ غُلُوٍّ فِيهِ، غُلُوُّ النَّصَارَى الَّذِينَ غَلَوْا بِالتَّرَهُّبِ وَقِيلُهُمْ فِي عِيسَى مَا قَالُوا فِيهِ، وَلَا هُمْ أَهْلُ تَقْصِيرٍ فِيهِ تَقْصِيرُ الْيَهُودِ الَّذِينَ بَدَّلُوا كِتَابَ اللهِ وَقَتَلُوا أَنْبِيَاءَهُمْ وَكَذَبُوا عَلَى رَبِّهِمْ وَكَفَرُوا بِهِ؛ وَلَكِنَّهُمْ أَهْلُ تَوَسُّطٍ وَاعْتِدَالٍ فِيهِ، فَوَصَفَهُمُ اللهُ بِذَلِكَ، إِذْ كَانَ أَحَبُّ الْأُمُورِ إِلَى اللهِ أَوْسَطَهَا.
ความหมาย “ฉันเห็นว่าการที่อัลลอฮฺทรงเรียกขานประชาชาติท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วย "วะสัฏ” นั้น เนื่องจากความปานกลางของพวกเขาในด้านการนับถือศาสนา พวกเขาไม่เลยเถิดจนเกินขนาดดั่งความเลยเถิดของชาวคริสต์ที่ได้ปฏิบัติเกินเลยในด้านการอิบาดะฮฺ และคำพูดของพวกเขาต่อนบีอีซาจนกระทั่งยกย่องท่านเป็นพระเจ้า มหาบริสุทธิ์อัลลอฮฺ และประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็ไม่บกพร่องดั่งความบกพร่องของชาวยิวที่ได้เปลี่ยนแปลงคัมภีร์เตารอตของอัลลอฮฺ สังหารบรรดานบีของพวกเขา โกหกพระเจ้า และไม่ศรัทธาต่อพระองค์ แต่ประชาชาติของนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือประชาชาติที่เป็นกลาง และมีความสมดุลด้านการนับถือศาสนา ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺจึงกล่าวถึงคุณลักษณะของพวกเขาว่าเป็น “อุมมะตัน วะสะฏอ” เพราะการงานที่อัลลอฮฺทรงชอบที่สุดคือความปานกลางและความพอดี”

นั่นคือความหมายของ “อุมมะตัน วะสะฏอ” ตามคำอธิบายของอิบนุ ญะรีร อบู ญะอฺฟัร อัฏเฏาะบะรีย์ ผู้ได้รับการขนานนามว่า “อะมีรุล มุฟัสสิรีน” หมายถึงหัวหน้าแห่งเหล่านักอธิบายอัลกุรอาน

“วะสัฏ” หมายถึง ความปานกลางและความสมดุลด้านอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺ
“อุมมะตัน วะสะฏอ”  คือประชาชาติที่หลักความเชื่อ (อะกีดะฮฺ)  และบทบัญญัติ (ชะรีอะฮฺ) ของพวกเขามีความโดดเด่นด้านความปานกลางระหว่างสองขั้วลบของความเลยเถิด  โดยลักษณะของพวกเขาจะมีความปานกลางระหว่างสองขั้วความเลยเถิดหรือความจอมปลอมที่มีในคำสอนอื่นจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ และมีความสมดุลระหว่างสองขั้วความต้องการของความจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
“อุมมะตัน วะสะฏอ” คือประชาชาติที่เป็นกลางและมีความสมดุลในด้านคำสอนเดิมของอิสลามบนพื้นฐานแห่งอัลกุรอาน (อัดดีน) และด้านรูปแบบการนับถือศาสนาอิสลามหรือการปฏิบัติศาสนกิจบนพื้นฐานแห่งสุนนะฮฺของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และสุนนะฮฺเหล่าเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุม (อัตตะดัยยุน) กล่าวคือ มีความเป็นกลางระหว่างสองความหายนะและมีความสมดุลระหว่างสองความต้องการ นั่นคือ
(1)    ความเป็นกลางระหว่างสองฟากแห่งความเลยเถิด โดยศาสนาอิสลามที่วางอยู่บนพื้นฐานแห่งอัลกุรอานและการปฏิบัติศานกิจที่วางอยู่บนพื้นฐานแห่งสุนนะฮฺคือความเป็นกลางระหว่างสองความหายนะหรือความเลยเถิดดังต่อไปนี้
1.1    ระหว่างความเลยเถิดของชาวยิวที่ถูกกริ้วและความเลยเถิดของชาวคริสต์ที่หลงทาง
1.2    ระหว่างอิฟรอฏ (การปฏิบัติที่เกินเลยจากขอบเขตที่แท้จริง) กับตัฟรีฏ (การปฏิบัติที่น้อยและต่ำกว่าขอบเขตที่แท้จริง)
1.3    ระหว่างอัลอิสรอฟ (การจับจ่ายใช้สอยที่ฟุ่มเฟือย) และอัลอิกตาร (การจับจ่ายใช้สอยที่ตระหนี่ถี่เหนียว)
1.4    ระหว่างอัลฆอลีย์ (การเชิดชูยกย่องที่สูงและเกินเลย) กับอัลญาฟีย์ (การเชิดชูยกย่องที่ต่ำและน้อยเกินไป)
1.5    ระหว่างอัตตัมษีล (การเทียบเคียงคุณลักษณะของอัลลอฮฺกับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้าง) กับอัตตะอฺฏีล (การปฏิเสธคุณลักษณะต่างๆ ของอัลลอฮฺที่พระองค์และศาสนทูตของพระองค์ได้ยืนยันไว้)
1.6    ระหว่างชีอะฮฺหรือรอฟิเฎาะฮฺในความเลยเถิดของพวกเขาด้านวะลาอ์ (การมอบความรักและความจงรักภักดี) ต่อเคาะลีฟะฮฺอาลี บิน อบีฏอลิบจนกระทั่งบูชาท่านและปฏิเสธเคาะลีฟะฮฺท่านอื่นๆ กับเคาะวาริจญ์ในด้านบะรออ์ (การปลีกตัวออกจากการเชื่อฟังเคาะลีฟะฮฺอาลี)จนกระทั่งตั้งตัวเป็นศัตรูกับท่าน
2    ความสมดุลระหว่างสองความต้องการ โดยศาสนาอิสลามที่วางอยู่บนพื้นฐานแห่งอัลกุรอานและการปฏิบัติศาสนกิจที่วางอยู่บนพื้นฐานแห่งสุนนะฮฺคือความสมดุลระหว่างสองความต้องการสำหรับความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตบนโลกนี้ อาทิ
2.1    ระหว่างความต้องการของจิตวิญญาณกับความต้องการของร่างกาย
2.2    ระหว่างความต้องการของชีวิตบนโลกกับความต้องการของชีวิตในวันอาคิเราะฮฺ
2.3    ระหว่างความต้องการของปัจเจกบุคคลกับความต้องการของกลุ่มชน หรือองค์กร
2.4    ระหว่างความต้องการของบุรุษเพศกับความต้องการของสตรีเพศ
2.5    ระหว่างความต้องการเฉพาะอย่างกับความต้องการทั่วไป
2.6    ระหว่างความต้องการของรัฐกับความต้องการของประชาชน

สรุปคือ
1. “วะสะฏอ” คือความปานกลางและความสมดุลที่วางอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและถูกคัดเลือกในฐานะสิ่งที่ดีที่สุดที่อยู่บนสุดยอดของความสูงส่ง
2. ไม่มีคำใดที่สามารถให้ความหมายของ “วะสะฏอ” ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นคำในภาษาใดก็ตาม หรือไม่มีคำใดที่ครอบคลุมความหมายทั้งหมดของ “วะสะฏอ” ตามความหมายที่อัลลอฮฺได้กล่าวไว้ในอัลกุรอาน
    3. ประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือ “อุมมะตัน วะสะฏอ” ที่ครอบคลุมทุกความหมายของ “วะสัฏ” ด้านวิถีการดำเนินชีวิต เริ่มตั้งแต่สัจธรรมและความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามอันเป็นศูนย์กลางแห่งดุลยภาพระหว่างทุกศาสนาและฝ่ายต่างๆ ในด้านอะกีดะฮฺ (หลักการศรัทธา) อิบาดะฮฺ (การเคารพภักดี) ชะรีอะฮฺ (บทบัญญัติ) มุอามะลาต (การปฏิสัมพันธ์) และอัคลาก (จริยธรรม) ตลอดจนถึงการนำหลักคำสอนของศาสนาไปปฏิบัติ  (อัตตะดัยยุน)  ในด้านความยุติธรรมในการตัดสินความและการแสดงจุดยืน ด้านความยิ่งใหญ่และการถูกคัดเลือกจากมวลมนุษยชาติ ด้านความสมดุลระหว่างความต้องการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะความสมดุลระหว่างความต้องการของจิตวิญญาณกับความจำเป็นทางวัตถุ รวมทั้งความต้องการทางโลกอาคิเราะฮฺอันเป็นที่พำนักชั่วนิรันดรกับความจำเป็นทางโลกอันเป็นที่พำนักชั่วคราว ด้านความปานกลางระหว่างความเลยเถิดต่างๆ ที่เป็นอันตรายและชั่วร้าย ด้านความพอดีในจุดยืนที่มีต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งด้านสถานภาพของศูนย์กลางศาสนา (บัยตุลลอฮฺ) ที่ตั้งอยู่ตรงใจกลางระหว่างซีกโลกตะวันออกกับซีกโลกตะวันตก และระหว่างซีกโลกเหนือกับซีกโลกใต้
ด้วยความหมายที่ดีต่างๆ ของ “วะสัฏ” ดังกล่าว นำพา “อุมมะตัน วะสะฏอ” ที่วางอยู่บนพื้นฐานแห่งความเที่ยงธรรมสู่ความเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของประชาชาติ “อุมมะตัน วาหิดะฮฺ” ที่มีพลังและเกียรติในการให้บริการต่อผลประโยชน์ของมวลมนุษย์ในฐานะประชาชาติที่ดีเลิศ “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ” บนโลกนี้ และเป็นพยานต่อมวลมนุษยชาติในวันอาคิเราะฮฺต่อไปในอนาคต วัลหัมดุลิลลาฮฺ

“วะสะฏียะฮฺ” เป็นสุนนะฮฺของอัลลอฮฺและสุนนะฮฺของเราะสูลุลลอฮฺ
ความเป็น “วะสะฏียะฮฺ” ของอิสลามจะสอดคล้องกับธรรมชาติแห่งการสร้างโลกของอัลลอฮฺที่มีความสมดุลอย่างยิ่งระหว่างทุกฝ่าย เช่น โลกแห่งฟากฟ้า โลกแห่งพืชพันธุ์  และโลกแห่งการสร้างทั้งหมด เช่นเดียวกับสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่สมดุลทั้งด้านอะกีดะฮฺ (หลักการศรัทธา) อิบาดะฮฺ (การเคารพภักดี) ชะรีอะฮฺ (บทบัญญัติ) มุอามะลาต (การปฏิสัมพันธ์) และอัคลาก (จริยธรรม) ซึ่งล้วนสอดคล้องอย่างยิ่งกับฟิฏเราะฮฺแห่งการสร้างของอัลลอฮฺ หรือกมลสันดานตามธรรมชาติที่พระองค์กำหนดให้กับมนุษย์
﴿ﯙﯚﯛﯜﯝﯞ0﴾
ความหมาย “นั่นคือวิถีแห่งฟิฏเราะฮฺ(กมลสันดานดั้งเดิม)ที่อัลลอฮฺสร้างมนุษย์ขึ้นมาบนฐานของมัน”

    “วะสะฏียะฮฺ”  คือเส้นทางความเมตตาที่ประเสริฐที่สุด เพราะเป็นเส้นทางที่สอดคล้องกับธรรมชาติแห่งการสร้างของอัลลอฮฺที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง โดยที่โลกนี้ต้องดำเนินไปตามครรลองแห่งธรรมชาติดังกล่าวเพื่อให้ปลอดภัยและดำเนินต่อไปได้ ในความหมายที่ว่า โลกนี้จำเป็นต้องมีระเบียบที่สมดุลระหว่างทุกสิ่งที่เกี่ยวข้อง หากมีสิ่งใดก้าวล้ำขอบเขตที่ถูกกำหนดโดยธรรมชาติแห่งการสร้างของอัลลอฮฺ เช่นการโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เป็นต้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของความเลยเถิดจนเกินเลยจากขอบเขตที่ถูกกำหนดไว้ ทั้งด้านขนาดใหญ่เล็ก ระยะทางใกล้ไกล และรูปลักษณ์ หรือความฟุ่มเฟือย และอื่นๆ ก็จะทำให้โลกนี้เกิดความเสียหายและสร้างความเสื่อมเสียต่อสิ่งอื่นๆทันที เช่นเดียวกับ “วะสะฏียะฮฺ” อันเป็นแบบอย่างการปฏิบัติของท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตามคำสอนของอัลกุรอานที่ถูกเรียก “สุนนะฮฺ เราะสูลุลลอฮฺ” ในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอุบูดียะฮฺ (การเคารพภักดี)  และชะรีอะฮฺ (บทบัญญัติ) ที่เที่ยงแท้และสมดุลยิ่ง ผู้ใดละเมิดและฝ่าฝืนสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในด้านอุบูดียะฮฺ ก็เท่ากับว่าเขาได้ล่วงล้ำขอบเขตของสุนนะฮฺ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของ “อิฟรอฏ” หมายถึง การปฏิบัติที่เข้มงวดจนเกินขอบเขตของสุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่เปี่ยมด้วยความปานกลาง หรือในรูปของ “ตัฟรีฏ” หมายถึงการปฏิบัติที่หย่อนยานและละเลยจนถึงขั้นบกพร่องจากขอบเขตของสุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมอันเรียบง่าย สภาพการปฏิบัติที่ออกจากขอบเขตของสุนนะฮฺดังกล่าวย่อมก่อความเสียหายบนโลกนี้ ไม่ว่าความเสียหายดังกล่าวจะอยู่ในรูปของอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) หรือความเชื่อที่ไร้สาระ (คุรอฟาต)  หรือ ไม่เที่ยงตรง (อิวัจญ์) ก็ตาม หรือความเสียหายในวันอาคิเราะฮฺด้วยการถูกลงโทษจากอัลลอฮฺ ทั้งหมดนั้นล้วนเกิดขึ้นจากการละเมิดและฝ่าฝืน “วะสะฏียะฮฺแห่งอิสลาม” ตามที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง

ตัวอย่าง “วะสะฏียะฮฺ” ในสุนนะฮฺ
ในบรรดาตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับวะสะฏียะฮฺแห่งสุนนะฮฺนะบะวียะฮฺในการแก้ปัญหาเมล็ดพันธุ์แห่งความสุดโต่ง (ฆุลูว์)  ซึ่งท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ปฏิบัติกับเศาะหาบะฮฺของท่านกลุ่มหนึ่ง คือ หะดีษที่รายงานโดยท่านอะนัส บิน มาลิก ท่านเล่าว่า
جَاءَ ثَلاَثَةُ رَهْطٍ إِلَى بُيُوتِ أَزْوَاجِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم ، يَسْأَلُونَ عَنْ عِبَادَةِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم، فَلَمَّا أُخْبِرُوا كَأَنَّهُمْ تَقَالُّوهَا، فَقَالُوا: وَأَيْنَ نَحْنُ مِنَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم؟ قَدْ غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ وَمَا تَأَخَّرَ، قَالَ أَحَدُهُمْ: أَمَّا أَنَا فَإِنِّي أُصَلِّي اللَّيْلَ أَبَدًا، وَقَالَ آخَرُ: أَنَا أَصُومُ الدَّهْرَ وَلاَ أُفْطِرُ، وَقَالَ آخَرُ: أَنَا أَعْتَزِلُ النِّسَاءَ فَلاَ أَتَزَوَّجُ أَبَدًا، فَجَاءَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم إِلَيْهِمْ، فَقَالَ: «أَنْتُمُ الَّذِينَ قُلْتُمْ كَذَا وَكَذَا، أَمَا وَاللَّهِ إِنِّي لَأَخْشَاكُمْ لِلَّهِ وَأَتْقَاكُمْ لَهُ، لَكِنِّي أَصُومُ وَأُفْطِرُ، وَأُصَلِّي وَأَرْقُدُ، وَأَتَزَوَّجُ النِّسَاءَ، فَمَنْ رَغِبَ عَنْ سُنَّتِي فَلَيْسَ مِنِّي».
ความหมาย “มีเศาะหาบะฮฺสามคนได้เดินทางไปยังบ้านบรรดาภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พวกเขาได้ถามถึงการทำอิบาดะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (โดยเฉพาะการปฏิบัติอิบาดะฮฺที่บ้านซึ่งไม่มีผู้อื่นรู้เห็น)
หลังจากพวกเขาได้รับการชี้แจง พวกเขารู้สึกว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมปฏิบัติอิบาดะฮฺแต่เพียงน้อย ดังนั้นพวกเขาจึงกล่าวว่า “แน่นอนว่าอิบาดะฮฺของเราไม่สามารถไปเทียบกับอิบาดะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ เพราะท่านได้รับการอภัยโทษจากบาปต่างๆที่ผ่านมาและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต” (หมายความว่า ท่านไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอิบาดะฮฺมากมาย)
พวกเขาคนหนึ่งกล่าวว่า “ส่วนฉัน ฉันจะยืนละหมาดตลอดทั้งคืน (จะไม่ยอมนอนเด็ดขาด)”
อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ฉันจะถือศีลอดตลอดปี และจะไม่ยอมหยุดสักวันหนึ่งเลย”
ส่วนอีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ฉันจะปลีกตัวออกจากสตรี ฉันจะไม่ยอมแต่งงานเด็ดขาด”
เมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทราบเช่นนั้น ท่านจึงไปหาพวกเขา แล้วกล่าวว่า “พวกท่านใช่ไหมที่กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ ! ฉันขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า แท้จริง ฉันนี่แหละเป็นผู้ที่เกรงกลัวและยำเกรงอัลลอฮฺมากที่สุดในหมู่พวกท่าน แต่ทว่า ฉันถือศีลอด (บางวัน) และฉันก็งดถือศีลอด (อีกบางวัน) ฉันยืนละหมาดกลางคืนพร้อมกับนอนในช่วงเวลาหนึ่งของคืน และฉันก็แต่งงานกับสตรีเฉกเช่นคนทั่วไป ดังนั้น ผู้ใดไม่ชอบปฏิบัติตามสุนนะฮฺของฉัน พวกเขาก็ไม่ใช่ประชาชาติของฉัน”

นี่คือส่วนหนึ่งของตัวอย่างความปานกลางและเรียบง่ายของสุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ถูกนำเสนอต่อหน้าเมล็ดพันธุ์แห่งความเลยเถิดที่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งต้นตอของความคิดที่เลยเถิดดังกล่าวเกิดจากความเข้าใจผิดต่อความเป็น “วะสะฏียะฮฺของอิสลาม” ไม่ว่าความเข้าใจผิดดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากหลักการของศาสนา (อัดดีน) หรือการปฏิบัติศาสนา (อัตตะดัยยุน) นั่นคือ สุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พวกเขาเหล่านั้นได้ล่วงล้ำขอบเขตด้าน “อิฟรอฏ” หมายถึง การปฏิบัติที่เกินเลยจากที่ควร
ส่วนด้าน “ตัฟรีฏ” หมายถึง การปฏิบัติที่หย่อนยานและบกพร่อง ก็ขอให้พิจารณาจากสภาพข้อเท็จจริงของหะดีษเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ได้กล่าวตำหนิเศาะหาบะฮฺสองท่านต่อไปนี้
1.    ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรุ บิน อัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา
عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ عَمْرِو بْنِ العَاصِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا، قَالَ: قَالَ لِي رَسُولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم : «يَا عَبْدَ اللهِ، لاَ تَكُنْ مِثْلَ فُلاَنٍ كَانَ يَقُومُ اللَّيْلَ، فَتَرَكَ قِيَامَ اللَّيْلِ»
ความหมาย “ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรุบิน อัลอาศ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวแก่ฉันว่า อับดุลลอฮฺ เอ๋ย! เจ้าจงอย่าเป็นเยี่ยงเขาคนนั้น ซึ่งเคยดำรงละหมาดกลางคืน แต่แล้วเขาก็ละทิ้งมัน”

2.    ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร บิน อัลค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวแก่เขาว่า
«نِعْمَ الرَّجُلُ عَبْدُ اللهِ، لَوْ كَانَ يُصَلِّي مِنَ اللَّيْلِ». قَالَ سَالِمٌ : فَكَانَ بَعْدُ لاَ يَنَامُ مِنَ اللَّيْلِ إِلَّا قَلِيلًا
ความหมาย “ผู้ชายที่ดีที่สุดคืออับดุลลอฮฺ (บินอุมัร) หากเขาชอบละหมาดในช่วงเวลาหนึ่งของกลางคืน” สาลิม (บุตรของอับดุลลอฮฺ) กล่าวว่า หลังจากนั้นเป็นต้นมา อับดุลลอฮฺจะไม่นอนกลางคืนนอกจากเพียงน้อยนิดเท่านั้น

    นี่คือส่วนหนึ่งของตัวอย่างการอบรมของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่มีต่อเหล่าเศาะหาบะฮฺของท่านในสภาพที่เปี่ยมด้วยความปานกลาง หมายความว่า มีความสมดุลระหว่างความจำเป็นและความต้องการต่างๆในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
พึงตระหนักว่า “วะสะฏียะฮฺ อิสลาม” คือวิถีการสร้างเอกภาพของ “อุมมะตัน วาหิดะฮฺ” และเป็นรากฐานของการพัฒนา การสร้างสันติภาพ ความก้าวหน้าของชีวิตมนุษย์บนโลกนี้ และความสำเร็จของชีวิตวันอาคิเราะฮฺในฐานะ“ค็อยเราะ อุมมะฮฺ” (ประชาชาติที่ดีเลิศ)

“ฆุลูว์” ตรงข้ามกับ “วะสัฏ”
ส่วนหนึ่งของคุณลักษณะที่ตรงข้ามกับ “วะสัฏ” คือ “ฆุลูว์” นั่นคือการก้าวล้ำเส้นของ “วะสัฏ” และถูกเรียกเช่นกันว่า “อิสรอฟ” หมายถึง ฟุ่มเฟือยเกินขอบเขต
“ฆุลูว์” เป็นคุณลักษณะที่ถูกตำหนิในทุกเรื่อง เนื่องจากคุณลักษณะต่างๆ ที่วางอยู่บนพื้นฐานของ “ฆุลูว์” ที่ตรงข้ามกับ “วะสัฏ” ล้วนเป็นสิ่งที่เสียหายและสร้างความเสียหายต่อสิ่งอื่น
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ        ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ﴾
ความหมาย “โอ้ชาวยิวและคริสต์เอ๋ย! จงอย่าปฏิบัติเกินขอบเขตในศาสนาของพวกเจ้า และจงอย่ากล่าวต่ออัลลอฮฺ นอกจากสิ่งที่เป็นความจริง”

ในความหมายที่ว่า การเกินขอบเขตหมายถึงการล่วงล้ำและฝ่าฝืนขอบเขตที่อนุญาต

    อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ ﭙ ﭚ  ﭛ   ﭜﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﴾
ความหมาย “และพวกเจ้าจงทานและดื่ม และจงอย่าฟุ่มเฟือยจนเกินขอบเขต แท้จริงอัลลอฮฺไม่ทรงชอบบรรดาผู้ที่ฟุ่มเฟือยเกินขอบเขต”

ท่านเราะสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
«أَيُّهَا النَّاسُ، إِيَّاكُمْ وَالْغُلُوَّ فِي الدِّينِ، فَإِنَّما أَهْلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ الْغُلُوُّ فِي الدِّينِ»
ความหมาย “มนุษย์เอ๋ย! พวกท่านจงระวังจากการเลยเถิดในการนับถือศาสนา เพราะแท้จริงความเลยเถิดในการนับถือศาสนาได้ทำลายประชาติก่อนหน้าพวกท่านมาแล้ว  (ซึ่งในจำนวนคนเหล่านั้นได้แก่ชาวยิวและคริสต์) ”

ความเลยเถิดที่หมายถึงในที่นี้คือการก้าวล้ำขอบเขตที่อัลกุรอานได้กำหนดไว้ในฐานะที่เป็น “อัดดีน” และก้าวล้ำขอบเขตการปฏิบัติของสุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในฐานะที่เป็น “อัตตะดัยยุน” ในทุกๆสิ่ง ไม่ใช่ขอบเขตที่ถูกกำหนดโดยชุมชนหรือบุคคลส่วนใหญ่ตามคำนิยามหรือความเข้าใจของชาวตะวันตก
อัลลอฮฺทรงห้ามชาวยิวและคริสต์จำนวนสองครั้งในสองอายะฮฺอัลกุรอาน  ไม่ให้พวกเขากระทำการที่เลยเถิดในการนับถือศาสนาของพวกเขา พร้อมกับให้สัญญาณว่าการกระทำที่เลยเถิดและสุดโต่งนั้นขัดแย้งกับสัจธรรม “อัลหักก์”
พึงตระหนักว่า ความสุดโต่งในการนับถือศาสนาไม่ได้หมายความว่ามีคำสอนที่สุดโต่งอยู่ในศาสนา เพราะศาสนาดั้งเดิมของอัลลอฮฺยังคงสัจจริงเสมอ แต่ทว่าความสุดโต่งดังกล่าวเกิดจากวิธีการรับศาสนาของพวกเขา ตัวอย่างเช่นความดั้งเดิมของศาสนาอัลลอฮฺที่ถูกประทานแก่ท่าน นบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ล้วนเป็นคำสอนที่สัจจริง แต่ชาวอิสราเอลผู้เป็นประชาชาติของท่านเองที่กระทำการเลยเถิดในการนับถือศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่มากกว่าหรือน้อยกว่าขอบเขตที่ศาสนาอนุญาต เช่นเดียวกับศาสนาของอัลลอฮฺที่ถูกประทานแก่ท่านนบีอีซา อะลัยฮิสสลาม
และความเลยเถิดดังกล่าวเป็นเหตุทำให้พวกเขาไม่ปฏิบัติตามคำสอนที่แท้จริงจากคัมภีร์ของพวกเขา และหาญกล้าแก้ไขและเปลี่ยนแปลงคำสอนดั้งเดิมในคัมภีร์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นเตารอตหรืออินญีลก็ตาม นี่คือสิ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกลัวที่สุดว่าจะเกิดขึ้นกับประชาชาติของท่าน และนั่นคือส่วนหนึ่งของความลับหรือเหตุผลที่มุสลิมทุกคนจำเป็น (วาญิบ) ต้องขอดุอาอ์ในละหมาดของเขาอย่างสม่ำเสมอด้วยดุอาอ์
﴿ﭧ  ﭨ ﭩ ﴾
มีความหมายว่า “ได้โปรดชี้นำเราสู่เส้นทางที่เที่ยงตรงในการนับถือศาสนา”

นั่นคือ “เส้นทางของบรรดานบี และวะลีย์ที่ดีก่อนหน้านี้”
﴿صِرَاطَ الَّذِيْنَ أَنْعَمْتَ عَلَيْهِمْ ﴾
“ไม่ใช่เส้นทางของชาวยิวที่ถูกกริ้วเนื่องจากความเลยเถิดในการนับถือศาสนาของพวกเขา”
﴿غَيْرِ اْلمَغْضُوْبِ عَلَيْهِمْ﴾
“และไม่ใช่เส้นทางของชาวคริสต์ที่หลงทางเนื่องจากการก้าวออกนอกขอบเขตศาสนาที่แท้จริงของอัลลอฮฺ”
﴿ وَلَا الضَّالِّيْنَ ﴾

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«هَلَكَ الْمُتَنَطِّعُونَ» قَالَهَا ثَلَاثًا
ความหมาย “ความวิบัติจะเกิดขึ้นกับบรรดาผู้ที่ปฏิบัติเกินขอบเขต” ท่านกล่าวย้ำเช่นนั้นถึงสามครั้ง     

หมายถึงบุคคลที่เคร่งครัดเกินไปในสิ่งที่ไม่ควรเคร่งครัด และบุคคลที่ก้าวล้ำขอบเขตที่แท้จริง ทั้งคำพูดและการกระทำ  เช่นกระทำการเกินขอบเขตด้านการตัดสิน หรือการปฏิบัติตามคำสอนของอิสลาม
โดยรวมแล้ว สาเหตุจากความสุดโต่ง  (ฆุลูว์) นี้แหละที่ก่อให้เกิดความวิบัติต่างๆ นานา อาทิ ความอธรรม (ซอลิม)  การตั้งภาคี  (ชิริก) อุตริกรรม (บิดอะฮฺ) ความเชื่อที่ไร้สาระ (คุรอฟาต) ความคลั่งไคล้ (ตะอัศศุบ) ในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ความไม่เที่ยงตรง (อิวัจญ์) ความเบี่ยงเบน  (อินหิรอฟ) ความรุนแรง  (อัลอุนฟฺ) ความเลยเถิด (อิสรอฟ) ขาดศีลธรรม (ฟาสิก) หลงทาง (เฎาะลาล) และอื่นๆ เพราะสุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและสุนนะฮฺของบรรดาเคาลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมทั้งสี่ท่านล้วนเป็นสัจธธรมแห่งความปานกลางและวะสะฏอ ไม่มีคำสอนจากสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺที่ถูกต้อง (เศาะฮีหฺ) และชัดเจน (เศาะรีหฺ) บทใดในทุกแขนงของการดำเนินชีวิตที่ถือว่าสุดโต่ง (ฆุลูว์)  อย่างเด็ดขาด
    นี่คือส่วนหนึ่งของเหตุผลหรือสาเหตุที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้เน้นย้ำให้ประชาชาติของท่านยึดมั่นกับสุนนะฮฺหรือวิถีการนับถือศาสนาอิสลามของท่าน โดยท่านได้กล่าวสั่งเสียไว้ว่า
«عَلَيْكُمْ بِسُنَّتِي وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِيْنَ الْمَهْدِيِّيْنَ»
ความหมาย “พวกท่านจงยึดมั่นกับสุนนะฮฺของฉันและสุนนะฮฺของบรรดาเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรม”

เพราะสุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและสุนนะฮฺของบรรดาเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมล้วนเป็นวิถีการดำเนินชีวิตที่เปี่ยมด้วยความปานกลางในทุกด้านของการดำเนินชีวิต ทั้งด้านอะกีดะฮฺ อิบาดะฮฺ ชะรีอะฮฺ มุอามะลาต อัคลากและอื่นๆ วิถีชีวิตของคนเหล่านี้แหละคือเส้นทางที่เที่ยงตรง
  ﴿ ﭨ ﭩ ﴾

ส่วนบรรดาผู้ที่ต่อต้านหรือคัดค้านการดำเนินตามสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พวกเขาก็คือผู้ที่เลยเถิดเช่นกัน ดังเช่นที่อายะฮฺอัลกุรอานได้กล่าวถึงคำปราศรัยของเหล่านบีต่อบรรดาผู้ต่อต้านที่ชอบกล่าวหาว่าการดำเนินตามสุนนะฮฺ หรือแนวทางของนบีนั้นจะก่อให้ลางร้าย ประสบเคราะห์กรรม และไม่ก้าวหน้า พร้อมกับข่มขู่ว่าจะทรมานหรือกระทำการทารุณต่อผู้ศรัทธา
﴿ ﮑ ﮒ ﮓﮔ ﮕ ﮖﮗ  ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﴾
ความหมาย “บรรดาเราะสูลตอบว่า ลางร้าย เคราะห์กรรม และความล้าหลังนั้นอยู่กับพวกท่าน (ซึ่งเกิดจากการปฏิเสธศรัทธา/ความอธรรมที่มีอยู่ในตัวของพวกท่านเอง) สมควรแล้วหรือเมื่อพวกท่านได้รับการตักเตือนและบทเรียนสำหรับความก้าวหน้าและความสำเร็จในชีวิต (แต่แล้วพวกท่านกลับกล่าวตำหนิพวกเราด้วยสิ่งต่างๆเหล่านั้น? พวกท่านหาใช่หมู่ชนที่ต้องการแสวงหาสัจธรรม) แต่ทว่าพวกท่านคือหมู่ชนที่เลยเถิด”

สรุปคือ ทุกคำสอนของอัลกุรอานและทุกการปฏิบัติที่อยู่ในรูปของสุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในทุกๆ ด้าน ทั้งหมดล้วนมีความเป็น “วะสัฏ” ที่เหมาะสมกับความต้องการของมนุษย์ตามสภาพความเป็นจริงที่อัลลอฮฺได้แจ้งไว้ เพียงแต่ การนำความหมายของอายะฮฺอัลกุรอานและการปฏิบัติของสุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เหล่านั้นลงสู่กาลเทศะที่ถูกต้องและเหมาะสมตามสภาพเวลาและสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นจำเป็นต้องพึ่งพาความเฉลียวฉลาดของบรรดาอุละมาอ์และหุกะมาอ์ ผ่านการวินิจฉัยของกลุ่มนักวิชาการ (ญะมาอะฮฺ อะฮฺลุลอิลมีย์) ของทุกยุคสมัยและพื้นที่ วัลลอฮุอะอฺลัม

“อุมมะตัน วะสะฏอ” คือ “อุมมะตัน วาหิดะฮฺ” ในฐานะที่เป็น “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ”
บนพื้นฐานแห่งการคัดเลือกของอัลลอฮฺที่ได้รับการขนานนามว่า “อุมมะตัน วะสะฏอ” ที่วางอยู่บนรากฐานของอัล  กุรอานที่นำพาประชาชาติสู่วิถีการดำเนินชีวิตที่ดีที่สุด  (อัลอักวัม) ซึ่งส่วนหนึ่งของลักษณะ “อัลอักวัม” ก็คือ ต้องเป็นประชาชาติเดียวกัน (อุมมะตัน วาหิดะฮฺ) ดังนั้น จากจุดดังกล่าวพวกเขาจึงเป็นประชาชาติที่ดีที่สุดที่ได้รับการขนานนามว่า “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ”
    เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีประชาชาติอื่นที่ดีและประเสริฐกว่าประชาชาติที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้เป็นประชาชาติสายกลาง (อุมมะตัน วะสะฏอ) ในด้านลักษณะของหลักสูตรที่น่ายกย่อง นั่นคืออัลกุรอานและสุนนะฮฺอันเป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นสัจธรรมและความรู้ที่เป็นรากฐานของความยุติธรรม และยังเป็น “อุมมะตัน วาหิดะฮฺ” ในด้านความเป็นเอกภาพที่มั่นคงที่วางอยู่บนรากฐานแห่งอัลกุรอานและสุนนะฮฺที่นำพาประชาชาติสู่วิถีการดำเนินชีวิตที่ดีและมั่นคงที่สุด (อัลอักวัม)
    ด้วยเหตุนี้ “อุมมะตัน วะสะฏอ” จึงหมายถึงประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่เป็นประชาชาติเดียวกัน (อุมมะตัน วาหิดะฮฺ) ที่ได้รับการประทานสองภารกิจอันทรงเกียรติอันเปี่ยมด้วยความพิเศษ นั่นคือ
1.    ﴿ ﭡ  ﭢ﴾  ถูกอุบัติขึ้นเพื่อทำหน้าที่นำพาผลประโยชน์และความดีงามสู่มนุษยชาติบนโลกนี้อย่างดีที่สุด (อัลอักวัม) เพราะความดีงามของประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมนั้นเหนือกว่าความดีงามของประชาชาติอื่นๆ ในฐานะที่เป็นประชาชาติที่ดีที่สุด (ค็อยเราะ อุมมะฮฺ) ในทุกด้านของชีวิต ทั้งด้านอะกีดะฮฺ อิบาดะฮฺ อัคลาก การอบรม(ตัรบียะฮฺ) เศรษฐกิจ การตัดสินความ การสังคม การบริหาร และการปกครอง
2.    ﴿ﭯ  ﭰ  ﭱ﴾  เป็นพยานต่อความสัจจริงของบรรดานบีในการเผยแผ่คำสอนของอัลลอฮฺต่อประชาชาติของพวกเขาในวันอาคิเราะฮฺ เนื่องจากความยุติธรรมและการถูกคัดเลือกของพวกเขาในฐานะ “อุมมะตัน วะสะฏอ” นั้น มีมูลเหตุมาจากความประเสริฐของความยุติธรรม ซึ่งมิได้มีเฉพาะบนโลกอันคับแคบนี้เท่านั้น แต่ทว่ายังครอบคลุมโลกอาคิเราะฮฺด้วย

ดังนั้น จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า คำสอนของอัลกุรอานเป็นคำสอนหลักสำหรับ “อุมมะตัน วะสะฏอ” ซึ่งแบบอย่างการนำคำสอนของอัลกุรอานไปปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดคือสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและสุนนะฮฺของบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนนะฮฺของบรรดาเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมทั้งสี่ท่านที่มีลักษณะของ “วะสัฏ” (เป็นกลางด้วยความยุติธรรม) “อักวัม” (มาตรฐานดีที่สุด) และ “ค็อยรฺ” (ดีเลิศ) และ “วาหิดะฮฺ” (เอกภาพเป็นหนึ่งเดียว) ดังนั้น ประชาชาติใดก็ตามที่ปฏิบัติตามคำสอนของอิสลามผ่านคำสอนของอัลกุรอานตามวิธีการปฏิบัติของสุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งในบรรดาสุนนะฮฺเหล่านั้นได้แก่ การรวมตัวเป็นญะมาอะฮฺในรูปของ “อุมมะตัน วาหิดะฮฺ” นั่นแหละคือ “อุมมะตัน วะสะฏอ” ที่มีสิทธิจะเป็น “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ” และในทางกลับกัน การงานใดที่ค้านกับสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลออุอะลัยฮิวะสัลลัม สิ่งนั้นย่อมไม่คู่ควรที่จะเรียกว่า “อุมมะตัน วะสะฏอ” เป็นอันขาด เพราะการปฏิบัติที่ค้านกับสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลออุอะลัยฮิวะสัลลัม มักจะนำพาความแตกแยก และความเป็นศัตรูสู่ประชาชาติอิสลามอยู่เสมอ ทำให้เกิดความอ่อนแอ และล้าหลังบนโลกนี้ เพราะลักษณะเดิมของ “อุมมะตัน วะสะฏอ” คือคุณลักษณะของท่านนบีมุหัมมัดผู้เป็นเราะสูลของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านที่รวมตัวกันเป็น “อุมมะตัน วาหิดะฮฺ” ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของญะมาอะฮฺที่ไร้อำนาจในสมัยมักกะฮฺ หรือในรูปของรัฐที่มีฐานอำนาจในสมัยมะดีนะฮฺก็ตาม  นั่นคือข้อเท็จจริงของการดำเนินแบบอย่างสำหรับ “อุมมะตัน วะสะฏอ” ในทุกที่และทุกเวลา

ความคลุมเครือและคำตอบเกี่ยวกับ “อุมมะตัน วะสะฏอ”
บางคนยังมีความเข้าใจที่ความคลุมเครือเกี่ยวกับความหมายของ “อุมมะตัน วะสะฏอ” ในจำนวนนั้นได้แก่
1.    สุบหานัลลอฮฺ! ยังมีประชาชาติอิสลามอีกจำนวนมากที่ยังเข้าใจสับสนและคลุมเครือเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของประชาชาติอิสลามที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮฺว่า “อุมมะตัน วะสะฏอ” โดยพวกเขาเข้าใจว่า “อุมมะตัน วะสะฏอ” หมายถึง ประชาชาติที่เป็นกลาง ในความหมายของความกึ่งกลางระหว่างสองกลุ่มคน นั่นคือ กลุ่มชาวมุสลิมที่ยึดมั่นอย่างเคร่งครัดกับคำสอนของอิสลามทั้งด้านการศรัทธา และการปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับกลุ่มชาวมุสลิมที่ไม่เข้าใจหรือไม่ปฏิบัติตามคำสอนของอิสลามอย่างเคร่งครัด หมายความว่า พวกเขาคือกลุ่มชาวมุสลิมที่นำคำสอนของอิสลามบางส่วนที่สอดคล้องกับอารมณ์ตัณหาของพวกเขาไปปฏิบัติและละทิ้งอีกบางส่วนที่ก่อความยุ่งยากแก่ชีวิตของพวกเขา เนื่องจากพวกเขาเห็นว่าอิสลามในรูปแบบดังกล่าวไม่เหมาะสมกับยุคสมัยหรือไม่สามารถจะประสานกับศาสนาอื่นๆได้ หรือถือว่าเป็น “อิสลามสมัยใหม่” ที่ค้านและสวนทางกับข้อเท็จจริงของอิสลามที่มาจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ

คำตอบมีดังนี้
1.    ความเข้าใจต่อความหมายของ “อุมมะตัน วะสะฏอ” ดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและเลยเถิด เป็นความเข้าใจที่ศัตรูของอัลลอฮฺจากชาวยิวและพันธมิตรของพวกเขาสร้างขึ้น และชาวมุสลิมบางกลุ่มได้เสพความเข้าใจดังกล่าวอย่างหูนวกตาบอด เพราะความเข้าใจดังกล่าวไม่ได้วางอยู่บนรากฐานของอัลกุรอานและสุนนะฮฺ แต่ทว่า เป็นความเข้าใจที่อัลลอฮฺได้กล่าวตำหนิในอัลกุรอาน พระองค์ตรัสว่า
﴿ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ  ﭼﭽ ﭾﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄﮅ  ﮆ ﮇ ﮈﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ  ﮎ ﮏﮐ  ﮑ ﮒ ﮓ   ﮔ ﮕ ﴾
ความหมาย “พวกเจ้าจะศรัทธาต่อบางส่วนของคัมภีร์ และปฏิเสธต่ออีกบางส่วนกระนั้นหรือ! ดังนั้น ไม่มีการตอบแทนสำหรับผู้กระทำเช่นนั้นในหมู่พวกเจ้านอกจากความอัปยศในชีวิตบนโลกนี้ และในวันอาคิเราะฮฺพวกเขาจะถูกส่งไปลงโทษ (ในนรก) ที่เจ็บแสบยิ่ง และ(พึงสังวรว่า) อัลลอฮฺย่อมไม่หลงลืมในทุกสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไว้บนโลกนี้”
    
ท่านอิบนุกะษีรได้กล่าวอธิบายอายะฮฺข้างต้นว่า “อายะฮฺนี้ได้ตำหนิชาวยิวต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขาที่เบี่ยงเบนจากคัมภีร์เตารอตของพวกเขา”   หวังว่าการตำหนิดังกล่าวจะเป็นบทเรียนและข้อคิดที่สำคัญแก่ประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในจุดยืนของพวกเขาต่อคัมภีร์อัลกุรอาน
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ ﭱ ﭲ ﭳ  ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ  ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ  ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ   ﮋﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﴾
ความหมาย “แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และบรรดาเราะสูลของพระองค์ และต้องการที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างการศรัทธาต่ออัลลอฮฺกับการศรัทธาต่อบรรดาเราะสูลของพระองค์ พวกเขากล่าวว่า เราศรัทธาต่อเราะสูลบางคน และไม่ศรัทธาต่อบางคน พวกเขาต้องการที่จะแสวงหาเส้นทางสายกลางระหว่างการศรัทธากับการปฏิเสธ (ดังนั้น อัลลอฮฺจึงตัดสินว่า) พวกเขาเหล่านั้นคือผู้ปฏิเสธศรัทธาอย่างแท้จริง (ถึงแม้ว่าพวกเขาจะศรัทธาต่อเราะสูลบางคนก็ตาม เพราะผู้ใดที่ไม่ศรัทธาต่อเราะสูลท่านใดท่านหนึ่งก็เท่ากับว่าเขาไม่ศรัทธาต่อเราะสูลทั้งหมด)  และเราได้เตรียมการลงโทษที่อัปยศสำหรับผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย”
ท่านอิบนุกะษีรได้กล่าวอธิบายความหมายของอายะฮฺข้างต้นว่า “อัลลอฮฺทรงตำหนิบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อพระองค์และต่อบรรดาเราะสูลของพระองค์ในหมู่ชาวยิวและคริสต์ ซึ่งพวกเขาได้แยกแยะด้านการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและการศรัทธาต่อบรรดาเราะสูล โดยที่พวกเขาได้ศรัทธาต่อนบีของอัลลอฮฺบางท่านและปฏิเสธต่อนบีท่านอื่นๆ เพียงเพื่อสนองอารมณ์ตัณหาและอิทธิพลของประเพณีที่มีต่อชีวิตของพวกเขา พร้อมกับธรรมเนียมปฏิบัติที่ตกทอดมาจากบรรพชนของพวกเขา ไม่ใช่มาจากหลักฐานที่ชัดแจ้ง เช่นเดียวกับชาวโซโรอัสเตอร์ซึ่งพวกเขาศรัทธาต่อนบีของพวกเขาที่ถูกเรียกขานว่า “โซโรอัสเตอร์” ต่อมาพวกเขาก็ไม่เชื่อต่อบทบัญญัติของศาสนา ดังนั้นพวกเขาจึงพยายามขจัดบทบัญญัติดังกล่าวออกไป”

2.    แท้จริงแล้ว “อุมมะตัน วะสะฏอ” เป็นฉายาที่อัลลอฮฺผู้ทรงปรีชาญาณได้ทรงมอบให้แก่ประชาชาติอิสลาม ไม่ใช่ฉายาที่มนุษย์ตั้งขึ้น ดังนั้นมนุษย์ที่ไม่เข้าใจอิสลาม โดยเฉพาะบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และศัตรูของอิสลาม จึงไม่มีสิทธิที่จะจำกัดความหมายของ “อุมมะตัน วะสะฏอ” ตามอำเภอใจโดยเด็ดขาด

3.    อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงสิทธิ์ในการกำหนดขอบเขต ขนาดและความหมายของ “วะสะฏอ” นั่นคือ ความปานกลาง ความยุติธรรม และการถูกคัดเฟ้น ต่อศาสนาอิสลามของพระองค์อันเป็นศาสนาแห่งความเมตตาสำหรับสากลโลก ส่วนการนำอิสลามไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างของ “อุมมะตัน วะสะฏอ” คือการปฏิบัติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ไม่ใช่การปฏิบัติที่ตรงข้ามหรือไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติของท่านนบีและบรรดาเศาะหาบะฮฺ

4.    แท้จริงอัลลอฮฺได้ให้สมญานาม “อุมมะตัน วะสะฏอ” แก่นบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน หรือประชาชาติของท่าน เพราะคำว่า «جَعَلْنَاكُمْ» มีความหมายว่า “เราได้บังเกิดพวกท่าน” ซึ่งบุรุษสรรพนาม «كُمْ» ในที่นี้บ่งชี้ถึงท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และประชาชาติของท่าน (เศาะหาบะฮฺ) ในสมัยนั้นเป็นการเฉพาะ ตามสภาพข้อเท็จจริงที่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺ หรือประชาชาติของท่าน ได้ปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอานที่เปี่ยมด้วยความยุติธรรม ความดีงามและน่าสรรเสริญ ในความหมายที่ว่า คำสอนของอัลกุรอานเป็นคำสอนที่ “วะสะฏอ” และประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิวะสัลลัม ที่ศรัทธา ปฏิบัติ และมีจริยธรรมตามคำสอนของอัลกุรอาน ภายในกรอบแนวทางสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺก็เป็น “อุมมะตัน วะสะฏอ” เช่นเดียวกัน


ความคลุมเครือที่สอง
    มุสลิมบางคนเชื่อว่าศาสนาอิสลามตามคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺเป็นศาสนาที่สุดโต่งและตกขอบ หรือไม่เหมาะสมกับสมัยปัจจุบัน หรือลำบากที่จะนำไปปฏิบัติในสังคมสมัยใหม่ทุกวันนี้ หรือข้ออ้างใดๆก็ตามที่เป็นเหตุให้ศาสนาอิสลามตามคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺถูกปฏิเสธหรือถูกแก้ไขเพิ่มเติมตามความปรารถนาของมนุษย์

คำตอบ
1.    ใคร่ขอถามว่าบุคคลที่มีความเชื่อดังกล่าวว่า เคยอ่านอัลกุรอาน หรือเคยทำความเข้าใจกับคำสอนของอัลกุรอานและปฏิบัติตามสุนนะฮฺอย่างถูกต้องหรือไม่ จนทำให้เกิดความเชื่อเช่นนั้น? ไหนเล่าตัวอย่างข้อเท็จจริงของอิสลามตามคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺสำหรับการดำเนินชีวิตของประชาชาติอิสลามในวันนี้ที่ถูกเข้าใจว่าเป็นคำสอนที่สุดโต่งหรือตกขอบ? ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าผู้ที่กล่าวเช่นนั้นคือผู้ที่ไม่เคยทำความเข้าใจกับคำสอนของอิสลามที่มาจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺที่ถูกต้อง หนำซ้ำมีบุคคลประเภทนี้จำนวนไม่น้อยเลยที่ยังไม่เข้าใจแม้กระทั่งความหมายของสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺที่พวกเขาอ่านอยู่เป็นประจำในละหมาดของพวกเขา! พวกเขายังไม่เข้าใจสุนนะฮฺและชีวประวัติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมอย่างแท้จริง พวกเขาไม่เข้าใจเป้าหมายของชะรีอะฮฺอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พวกเขาถูกสร้างความหวาดกลัวโดยประชาชาติอิสลามไม่กี่คนที่ค่อนข้างจะสุดโต่งในการนำคำสอนของอิสลามไปปฏิบัติต่อสิ่งที่ค้านกับสุนนะฮฺเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สืบเนื่องมาจากความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺ และไม่เคยคำนึงถึงเป้าหมาย (มะกอศิด) ของชะรีอะฮฺอิสลาม หรือกลุ่มชาวมุสลิมที่เป็นหุ่นเชิดหรือเครื่องมือของศัตรูอิสลามที่แสร้งแสดงออกถึงความแข็งกระด้างและโหดร้ายทารุณต่อผู้อื่นในนามของญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ ไม่ว่าเขาจะรู้สึกตัว หรือไม่รู้สึกตัวก็ตามว่านั่นคือแผนการของศัตรูอัลลอฮฺเพื่อให้ชาวโลกเห็นว่าอิสลามเป็นศาสนาที่สุดโต่งหรือประชาชาติอิสลามเป็นผู้ก่อการร้ายที่จำเป็นต้องต่อต้าน ต่อสู้และกำจัด

2.    จะพูดว่าอิสลามตามคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺมีความสุดโต่งหรือยากที่จะปฏิบัติได้อย่างไร ในเมื่ออัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
﴿ﯗﯘﯙﯚﯛﯜﯝﯞ﴾
ความหมาย “อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้เกิดความสะดวกง่ายดายแก่พวกเจ้าในการปฏิบัติศาสนกิจและพระองค์ไม่ทรงประสงค์ให้เกิดความยุ่งยากลำบาก (ในการนับถือศาสนา)”
    
ท่านนบี ศ็อลลัลลออุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنَّ هَذَا الدِّيْنَ يُسْرٌ»  
ความหมาย “แท้จริงศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เรียบง่าย”
    
ถามว่า อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้โกหกต่ออายะฮฺและหะดีษเศาะฮีหฺข้างต้นกระนั้นหรือ ? สุบหานัลลอฮฺ (พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากคุณลักษณะของการโกหก) หรือว่าเกิดจากการเราไม่ยอมคิดที่จะพยายามทำความเข้าใจกับคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺอันเรียบง่ายดังกล่าว?

3.    จะพูดว่าอิสลามตามคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺเป็นศาสนาก่อการร้ายได้อย่างไร ในเมื่ออัลลอฮฺได้ตรัสยืนยันว่า
﴿ﮐ  ﮑ  ﮒ  ﮓ  ﮔ  ﴾  
ความหมาย “และเราไม่ได้ส่งเจ้า โอ้มุหัมมัด เว้นแต่เพื่อความเมตตาต่อสากลโลก”

โดยความเมตตาดังกล่าวครอบคลุมทั้งคนที่ไม่ใช่มุสลิม สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ซึ่งทั้งคนและสัตว์ต่างจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺผ่านการกำเนิดของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในฐานะศาสนทูตของอัลลอฮฺที่ได้นำศาสนาอิสลามอันเที่ยงแท้มาเผยแผ่ ส่วนความแข็งกร้าวและการก่อการร้ายเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่ค้านและตรงข้ามกับคุณลักษณะของความเมตตา ﴿ ﮓ  ﮔ  ﴾

4.    จะพูดว่าการศึกษาอิสลามจากอัลกุรอานเป็นสิ่งที่ยากลำบากได้อย่างไร ในเมื่ออัลลอฮฺได้ตรัสยืนยันว่า
﴿ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ    ﮢ   ﮣ ﮤ﴾
ความหมาย  “และแท้จริง เราได้ทำให้อัลกุรอานเป็นสิ่งที่ง่ายดายสำหรับการศึกษาทบทวนเพื่อให้ได้รับบทเรียนและข้อตักเตือน แต่ทว่า จะมีสักกี่คนที่ได้รับบทเรียนจากมัน”

    คำพูดของอัลลอฮฺไม่เป็นความจริงหรือว่าเราเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มของบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ﯱ ﯲ ﯳ  ﯴ ﯵ﴾
ความหมาย “พวกเขาเหล่านั้น (กลุ่มชนผู้กลับกลอก) ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระดำรัสของอัลลอฮฺ”
    ขออัลลอฮฺโปรดคุ้มครองเราจากความคิดเช่นนั้น

5.    ถ้าหากอัลลอฮฺได้ทรงประทานคำสอนในอัลกุรอานที่ไม่เหมาะสมกับความจำเป็นและความสามารถของบ่าวของพระองค์ในทุกยุคสมัยและสภาพการณ์ ก็แสดงว่าอัลลอฮฺไม่มีคุณลักษณะของความรอบรู้และความฉลาดหลักแหลม «الْعَلِيْمُ الْحَكِيْمُ» สุบหานัลลอฮฺ หรือว่าอัลลอฮฺทรงกระทำการที่อธรรมต่อบ่าวของพระองค์ เพราะพระองค์นำวิถีการดำเนินชีวิต (ศาสนา) ที่ไม่เหมาะสมกับความจำเป็นและความสามารถของบ่าวของพระองค์  ในขณะที่อัลลอฮฺทรงมีคุณลักษณะของความรอบรู้
﴿ﯗﯘﯙﯚﯛﯜ﴾
ความหมาย “แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้า (โอ้มุหัมมัด) เป็นผู้สร้างที่รอบรู้ (ทุกๆสิ่ง)”

    และพระองค์ไม่ทรงอธรรมต่อทุกๆ สิ่งเป็นอันขาด โดยเฉพาะต่อบ่าวผู้อ่อนแอของพระองค์ พระองค์ตรัสว่า
﴿ﭶﭷﭸﭹﭺﭻ﴾
ความหมาย “แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอธรรม(ต่อผู้ใด) แม้เท่าผงธุลี”

หมายความว่า พระองค์จะไม่ทรงอธรรมถึงแม้จะเพียงน้อยนิดก็ตาม

6.    ผู้ใดที่รับอิสลามจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺดังที่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และกัลยาณชนในยุคสะลัฟได้เคยรับไว้ เขาย่อมประจักษ์ว่าอิสลามตามคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺมีความปานกลาง สามารถปฏิบัติได้อย่างง่ายดาย และเป็นคำสอนที่ไม่เกินธรรมชาติของมนุษย์เด็ดขาด สิ่งเหล่านี้ได้รับการยืนยันจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเองที่เคยคลุกคลีและอาศัยอยู่ในสังคมมุสลิม โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอิสลามที่แท้จริง และนั่นคือเนื้อแท้ของความเป็นกลางของอิสลาม (วะสะฏียะฮฺ อัลอิสลาม)


บทส่งท้ายและข้อเสนอแนะ
    ท้ายนี้ผู้เขียนขอนำเสนอบางข้อเสนอแนะเพื่อให้ฝ่ายต่างๆพยายามยึดปฏิบัติ ดังนี้
1. พยายามชี้แจงแก่ประชาชนทั่วไปว่า อิสลามตามคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺ คือ อิสลามที่ “วะสะฏอ” และวิธีการปฏิบัติของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺ พร้อมกับบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เป็นสัจธรรมของ “อุมมะตัน วะสะฏอ” ดังกล่าวนั้นคือข้อเท็จจริงของสุนนะตุลลอฮฺ และสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งสัจธรรมและฟิฏเราะฮฺในการสรรค์สร้างของอัลลอฮฺ

2. “อุมมะตัน วะสะฏอ” เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตประเภทหนึ่งของประชาชาตินบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลออุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่วางอยู่บนรากฐานแห่งสัจธรรมและความยุติธรรมจากอัลลอฮฺและเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยความประเสริฐของมันคือการอำนวยผลประโยชน์และเผยแผ่ความเมตตาสู่มวลมนุษย์ ด้วยการนำพาวิถีการดำเนินชีวิตที่ดี (อัลอักวัม/อัลค็อยรฺ) และการจัดการที่เข้มงวดในรูปของ “อุมมะตัน วาหิดะฮฺ”  บนโลกนี้ ส่วนในโลกอาคิเราะฮฺพวกเขาจะเป็นพยานต่อมวลมนุษย์ทั้งหลาย «شُهَدَاءُ عَلَى النَّاسِ»

3. ผู้ที่ดำเนินตามเส้นทางวะสะฏียะฮฺของอิสลามไม่เคยมีจุดยืนที่เลยเถิดและแข็งกร้าวในการปฏิบัติต่อผู้อื่น และไม่นิ่งดูดายต่อความพยายามที่จะทำลายความเป็น “วะสะฏียะฮฺ” ของอิสลามเป็นอันขาด พวกเขาจะพยายามดำเนินตามคำสั่งของอัลลอฮฺหรือสุนนะฮฺที่แท้จริงของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เท่าที่มีความสามารถตามสภาพแวดล้อมรอบข้างในสมัยของเขาอย่างมีเสถียรภาพและสมดุลระหว่างทุกความจำเป็นและความต้องการในการดำเนินชีวิตของปัจเจกบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ยิ่งกว่านั้น พวกเขาจะเน้นทุกการงานด้านการเผยแผ่ความเมตตาสู่สากลโลกของพวกเขาด้วยวิธีการที่เปี่ยมด้วยวิทยปัญญาและความบริสุทธิ์ใจ

4. ทุกสถาบันการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ปอเนาะ มหาวิทยาลัย และมัจลิสอิลมีย์ตามมัสยิดต่างๆ ต้องพยายามสร้างและบรรจุหลักสูตรด้าน “วะสะฏียะฮฺ” ในการศึกษาอิสลามจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺตามคำอธิบายของบรรดาอุละมาอ์ผู้เป็นที่ยอมรับ พร้อมกับให้ความสำคัญด้านเป้าประสงค์ของชะรีอะฮฺอิสลาม  (มะกอศิด อัชชะรีอะฮฺ อัลอิสลามียะฮฺ) และ “อะหฺกาม วัฎอียะฮฺ”  ที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุ เงื่อนไข และอุปสรรค์ในการดำเนินหรือปฏิบัติหน้าที่ใดๆที่เป็น “อะหฺกาม ตักลีฟียะฮฺ” ตามความสามารถของแต่ละคน

5. ทุกประเทศหรือเขตที่มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่จำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มในรูปขององค์กร สถาบัน และศูนย์วะสะฏียะฮฺ ที่มีความรับผิดชอบด้านการเผยแผ่และดำเนินการด้าน “อิสลามวะสะฏียะฮฺ” –บนพื้นฐานแห่งอัลกุรอานและสุนนะฮฺ- แก่สังคมในประเทศนั้น โดยเฉพาะสังคมอิสลาม พร้อมกับพยายามให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของ “อิสลามวะสะฏียะฮฺ” ว่าเป็นอิสลามตามคำสอนของอัลกุรอานและสุนนะฮฺ พยายามกระชับให้ประชาชาติอิสลามหลีกห่างจากคุณลักษณะของความเลยเถิด (ฆุลูว์) และความป่าเถื่อนที่ออกจากกรอบของอิสลามวะสะฏียะฮฺ
6. แต่ละครอบครัวควรจัดสัปดาห์ “หะละเกาะฮฺอัลกุรอานและสุนนะฮฺ” กับสมาชิกภายในครอบครัวที่ประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูกหลาน สักประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ด้วยการชูสโลแกน  “หนึ่งครอบครัว หนึ่งหะละเกาะฮฺอัลกุรอาน” เพื่อเป็นการเข้าใกล้และทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริงของ “วะสะฏียะฮฺอิสลาม” จากแหล่งปฐมภูมิ เพื่อที่จะได้ปลอดภัยจากคุณลักษณะของความเลยเถิด (ฆุลูว์) พร้อมกับพยายามติดตามการเรียนการสอนของมัจลิสอิลมีย์ตามมัสยิดต่างๆที่มีการสอนตัฟสีรอัลกุรอานและการอธิบายหะดีษจากบรรดาอุละมาอ์ที่เป็นที่น่าเชื่อถือ  เพราะการศึกษาดังกล่าวจะเป็นเสบียงสู่ความเข้มแข็งและความรุ่งเรืองในทุกแขนงชีวิตของ “อุมมะตัน วะสะฏอ” บนโลกนี้และวันอาคิเราะฮฺ

 

والله الموفق والهادي إلى سواء السبيل،
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم، سبحان ربك رب العزة عما يصفون،
وسلام على المرسلين والحمد لله رب العالمين.
 
 

 

 

 

    

 

อุมมะตัน วะสอฏอ วิถีแห่งประชาชาติที่ดีเลิศ

เกี่ยวกับหนังสือ

ผู้เขียน :

إسماعيل لطفي فطاني

สำนักพิมพ์ :

جــامعة جــالا الإسلاميـــة

ประเภท :

Introducing Islam