ในที่สุดข้าพเจ้าได้ประจักษ์ในสัจธรรม (ฉบับย่อ)

ในที่สุดข้าพเจ้าได้ประจักษ์ในสัจธรรม (ฉบับย่อ) เป็นหนังสือที่ทำการศึกษาวิเคราะห์และวิพากษ์วิธีการอ้างอิงหลักฐานทาง วิชาการของนักเขียนชีอะฮฺ ดร.มุฮัมมัด อัต-ติญานี อัส-สะมาวี ในหนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ” ที่เขียนกล่าวหาบิดเบือนหลักฐานของชาวซุนนี ในประเด็นต่างๆ ที่ชาวชีอะฮฺเห็นค้านกันกับแนวทางที่ถูกต้องของอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ การวิพากษ์นี้ทำโดยหลักวิชาการซึ่งจะทำให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ข้อเท็จจริงที่ ถูกบิดเบือนโดยนักเขียนชีอะฮฺผู้นี้

اسم الكتاب: ثم أبصرت الحقيقة - في الرد على كتاب ثم اهتديت للتيجاني -


تأليف: محمد صبري يعقوب


الناشر: المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة


نبذة مختصرة: كتاب باللغة التايلندية، ، عبارة عن دراسة تحليلية نقدية لما كتبه المؤلف الشيعي الدكتور محمد التيجاني السماوي المسمى بـ " ثم اهتديت "، ذلك التأليف الذي ملأ طياته بافتراءات وأكاذيب على أهل السنة والجماعة وأدلتهم ومنهجهم، ويقوم هذا البحث بتحليل علمي موضوعي لفضح حقيقة أكاذيب المؤلف وطرقه الملتوية في استدلاله ومنهجه في الكتاب.


ในที่สุดข้าพเจ้าได้ประจักษ์ในสัจธรรม
ثم أبصرت الحقيقة (في الردّ على كتاب ثم اهتديت للتيجاني)

 

< تايلانديไทย – Thai - >

        
แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ

وي محمد صبري  وي يعقوب

 




 

ผู้ตรวจทาน: นาอีม วงศ์เสงี่ยม
 
مراجعة: نعيم وونج سغيام

ในที่สุดข้าพเจ้าได้ประจักษ์ในสัจธรรม (ฉบับย่อ)
วิพากษ์หนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ” ของ อัต-ตีญานี นักวิชาการชาวชีอะฮฺ

 


คำนำ

الحمد لله رب العالمين، والعاقبة للمتقين ولا عدوان إلا على الظالمين وأصلي وأسلم على أشرف الأنبياء والمرسلين نبينا وحبيبنا محمد وعلى آله وصحبه ومن اهتدى بهديه إلى يوم الدين، وبعد
กล่าวได้ว่าการเขียนงานทางวิชาการถือเป็นวิธีการหนึ่งในการเผยแผ่แนวคิดหลักความเชื่อของตนได้เป็นอย่างดี เห็นจะกล่าวได้อีกว่ากลุ่มแนวคิดบิดเบือนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการเผยแผ่แนวคิดหรือหลักความเชื่อของกลุ่มตนในวิธีการต่างๆ ที่เด่นชัดที่สุดในประเทศไทยและต่างประเทศนั้น คงจะไม่ใช่กลุ่มอื่นใดนอกจากกลุ่มชีอะฮฺ อัรฺ-รอฟีเฎาะฮฺ หรือชีอะฮฺอิมาม 12 พวกเขามีความพยายามและมุ่งมั่นที่จะจรรโลงนำพี่น้องมุสลิมให้เกิดการหลงผิดโดยยอมรับลัทธิความเชื่อของพวกเขา ในท่ามกลางความอุตสาหะดังกล่าว นักเผยแผ่ชีอะฮฺรอฟีเฎาะฮฺ ที่อยู่ตามพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ต่างก็เผยแพร่หนังสือฉบับแปลภาษาไทยของนักเขียนคนหนึ่งที่ชื่อว่า ดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี ซึ่งเป็นชีอะฮฺ ในจำนวนนั้นคือหนังสือ “ขออยู่กับผู้สัตย์จริง”, “ชีอะฮ์คือซุนนะฮ์ที่แท้จริง”, “จงถามผู้รู้” และ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ” เป็นต้น ซึ่งได้มีการกล่าวอวดอ้างด้วยความภาคภูมิใจว่า ดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี ได้ใช้ตำราอ้างอิงในการเขียนงานทางวิชาการซึ่งมีการระบุตำราอ้างอิงไว้อย่างมากมายในหนังสือเล่มดังกล่าว แต่เมื่อทำการตรวจสอบถึงข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าแท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงการสร้างภาพให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้อ่านว่ามีข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือจำนวนมาก เพราะผู้อ่านส่วนใหญ่ที่ไม่มีโอกาสในการศึกษาถึงข้อเท็จจริง เมื่อได้เห็นตำราอ้างอิงอันมากมายเหล่านั้นแล้ว ก็ย่อมเกิดความเชื่อมั่นและยกย่องว่านี่คือสัจธรรม
อย่างไรก็ตามเมื่อได้ศึกษาถึงรายละเอียดของหนังสือข้างต้นอย่างรอบคอบ ฉากกำบังการบิดเบือนและการหลอกลวงทั้งหลายก็จะหลุดออกมาให้เห็นอย่างประจักษ์ชัดเจน ซึ่งเมื่อความจริงของการบิดเบือนและการหลอกลวงได้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้อ่านที่รู้และเข้าใจแล้ว เมื่อนั้นหนังสือข้างต้นจะกลายเป็นเพียงซากแห่งความผิดพลาดอย่างเห็นได้ประจักษ์ จึงถือได้ว่าผู้เขียนนั้นอยู่ในหมู่นักเล่านิทานระดับผู้ชำนาญการเลยก็ว่าได้   
ด้วยเหตุดังกล่าว ข้าพเจ้าเห็นว่าการศึกษาวิเคราะห์และวิพากษ์งานเขียนของ ดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อสามารถนำมาเป็นบรรทัดฐานในการเสริมความรู้ การรับบริโภคข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งยังสามารถนำมาเป็นบรรทัดฐานในการศรัทธาตามหลักการอิสลามอย่างถูกวิธี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงและแนวทางที่เที่ยงตรงในการดำรงชีวิตต่อไป
สำหรับหนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้ประจักษ์ในสัจธรรม...” ฉบับย่อเล่มนี้ ข้าพเจ้าได้คัดย่อจากสารนิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตอุศูลุดดีน คณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ปีการศึกษา 1430/2009 ในหัวข้อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์และวิพากษ์วิธีการอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการของ ดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี ซึ่งเป็นสารนิพนธ์ของข้าพเจ้าเอง โดยทำการคัดย่อเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญๆ รวมถึงได้เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ในส่วนข้อตกลงเบื้องต้นของหนังสือเล่มนี้ มีรายละเอียดที่ต้องแจกแจงดังนี้
1.    หนังสือเล่มนี้ทำการศึกษาวิเคราะห์และวิพากษ์เนื้อหาในหนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ (ثُمَّ اهْتَدَيْتُ) ”  เขียนโดย ดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี (ชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺ) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดย บำรุง อาสาวิมลกิจ เท่านั้น
2.    การวิพากษ์ข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนด ข้าพเจ้าได้นำข้อมูลมาวิพากษ์อย่างละเอียด 1 ถึง 2 ข้อมูลเพียงเท่านั้น ในส่วนข้อมูลอื่นๆ ข้าพเจ้าได้วิพากษ์อย่างพอสังเขป ซึ่งสามารถดูได้ในเชิงอรรถ
3.    คำอ่านบางคำจะเป็นการใช้ศัพท์เฉพาะซึ่งทับศัพท์จากภาษาอาหรับโดยใช้มาตรฐานเทียบพยัญชนะอาหรับ-ไทยแบบเทียบอักษร ตามกระทรวงศึกษาธิการในการเขียน ยกเว้นคำอ่านที่คัดลอกจากหนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ” ฉบับแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งจะคัดลอกตามที่ปรากฏในหนังสือนั้น
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺด้วยกับพระนามของพระองค์อันวิจิตรและคุณลักษณะของพระองค์อันสูงส่ง ให้เราทุกคนอยู่ในทางนำที่ถูกต้อง และทำให้สิ่งที่ได้นำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์แก่เราและไม่ทำให้เราต้องถูกลงโทษ และขอพระองค์ให้เรามีความบะเราะกัตทั้งในคำพูดของเรา การกระทำของเรา เวลาของเรา รวมถึงภรรยาของเรา ลูกหลานของเรา และทรัพย์สินเงินทองของเรา และได้โปรดให้เรามีความบะเราะกัตในทุกแง่มุมของชีวิต และขอพระองค์โปรดประทานความสำเร็จแก่เราในทุกความดีงามที่พระองค์ทรงรักและพึงพอพระทัยต่อมัน แท้จริงพระองค์ทรงได้ยินการวิงวอนขอดุอาอ์และการวอนขอ และพระองค์เป็นที่พอเพียงแล้วสำหรับเราและเป็นที่มอบหมายที่ดียิ่ง

 

หลักความเชื่อบางประการของลัทธิชีอะฮรอฟิเฏาะฮฺ   

การกำเนิดและเหตุที่ได้ชื่อว่า “ชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺ”
    ชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺเกิดขึ้นหลักจากการปรากฏตัวของชาวยิวผู้หนึ่งที่ชื่ออับดุลลอฮฺ บินสะบะอ์ ซึ่งได้อ้างตนเป็นมุสลิม และอ้างว่ารักและยกย่องครอบครัวอะฮฺลุลบัยตฺ มีความคลั่งไคล้ในท่านอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ อย่างเกินขอบเขต แอบอ้างว่าท่านนบีได้สั่งเสีย (วะศียะฮฺ) ให้เป็นเคาะลีฟะฮฺหลังจากท่าน จนกระทั่งได้ยกสถานภาพความเป็นมนุษย์ของท่านถึงระดับพระเจ้าที่ควรแก่การบูชาในที่สุด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่หนังสือของชีอะฮฺต่างก็ยอมรับ  
    และเหตุที่ได้ชื่อว่ารอฟิเฎาะฮฺ หมายถึงผู้ที่บอกปัดและปฏิเสธนั้น เพราะเมื่อคราวที่พวกชีอะฮฺได้ไปหาทานซัยดฺ บินอะลี บินหุสัยนฺ บินอะลี บินอบีฏอลิบ โดยเสนอให้ท่านเกลียดอบูบักรฺและอุมัร และอย่าได้รักเขาทั้งสอง แล้วพวกเขาจะอยู่เคียงข้างท่าน (ซัยดฺ) แต่ท่านซัยดฺกลับตอบว่า “ท่านอบูบักรฺและอุมัรเป็นสหายของ (ท่านเราะสูลุลลอฮฺ) ปู่ของฉัน และยังนับถือการเป็นอิมามของท่านทั้งสองด้วย” ดังนั้น พวกชีอะฮฺจึงประกาศว่า “ถ้าเช่นนั้นพวกเราขอปฏิเสธโดยการแยกตัวออกจากท่าน” ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาพวกชีอะฮฺจึงได้ชื่อว่า “รอฟิเฎาะฮฺ”   บ้างก็กล่าวว่าเหตุที่ได้ชื่อว่า “รอฟิเฎาะฮฺ”  นั้น เป็นเพราะพวกเขาปฏิเสธและไม่ยอมรับการเป็นอิมามหรือเคาะลีฟะฮฺของท่านอบูบักรฺและอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา และบ้างก็กล่าวว่าเป็นเพราะพวกเขาปฏิเสธและบอกปัดหลักคำสอนของอิสลาม  

ชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺกับความเชื่อเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ
    พวกชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺ เป็นชนกลุ่มแรกที่มีแนวคิดว่าอัลลอฮฺมีรูปทรง   พวกเขาเชื่อว่าอัลลอฮฺนั้นไม่ประกอบด้วยคุณลักษณะแห่งกาลเวลา สถานที่ วิธีการ การเคลื่อนไหว และเคลื่อนที่ ไม่ประกอบด้วยคุณลักษณะใดๆ ของรูปร่าง ไม่มีทั้งด้านความรู้สึก รูปร่างที่ชัดเจน และรูปภาพ   และปฏิเสธการมองเห็นอัลลอฮฺในวันกิยามะฮฺ   ซึ่งข้างต้นนี้ล้วนสวนทางกับหลักความเชื่อของอะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ

ชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺกับความเชื่อเกี่ยวกับอัลกุรอาน
    พวกเขาอ้างว่าอัลกุรอานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่อัลกุรอานเล่มเดียวกับที่อัลลอฮฺได้ประทานลงมายังนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แต่เป็นอัลกุรอานที่ได้เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม และตัดแต่งมาแล้ว ซึ่งพวกเขาได้อ้างอิงหลักฐานนับร้อยที่ได้อิงจากเหล่าผู้รู้จากหนังสือที่ได้รับการเชื่อถือของพวกเขา โดยหลักฐานข้างต้นนั้นบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าพวกเขาต่างเชื่อมั่นและยืนยันอย่างแข็งขันว่าอัลกุรอานที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างแน่นอน  

ชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺกับความเชื่อเกี่ยวกับเศาะหาบะฮฺ
    การศรัทธาของชีอะฮฺรอฟีเฏาะฮฺวางอยู่บนพื้นฐานแห่งการด่าทอ สาปแช่ง และการกล่าวร้ายต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺว่าเป็นพวกนอกรีต ตกศาสนา และล้วนเป็นชาวนรกยกเว้นเศาะหาบะฮฺไม่กี่ท่านเท่านั้น    ในวันอาชูรออ์ (วันที่ 10 เดือนมุหัรรอม) พวกเขาจะนำสุนัขมาตัวหนึ่ง และตั้งชื่อเป็นอุมัร หลังจากนั้นก็จะช่วยกันตีและขว้างปาสุนัขตัวนั้นด้วยไม้ และก้อนหินจนตาย แล้วก็นำลูกแกะมาตัวหนึ่ง และตั้งชื่อเป็นอาอิชะฮฺ แล้วพวกเขาจะช่วยกันถอนขนและรุมทุบตีมันด้วยรองเท้าจนตายในที่สุด   นอกจากนี้พวกเขายังจัดงานรื่นเริงเนื่องในวันที่อุมัร บินอัล-ค็อฏฏอบ ถูกลอบฆ่าจนเสียชีวิต และพวกเขาได้ขนานนามอบูลุลูอะฮฺ อัล-มะญูซี ผู้เป็นฆาตกรว่าเป็น บาบาชุญาอุดดีน (หมายถึงผู้กล้าแห่งศาสนา)    ทั้งๆ ที่ประวัติศาสตร์และข้อเท็จจริงกลับจารึกว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺคือกลุ่มชนที่ดีที่สุด เป็นชนผู้เป็นทัพหน้า และพลีชีพในการญิฮาดเพื่ออิสลาม

ชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺกับความเชื่อเกี่ยวกับอิมาม
    ชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺอ้างว่าบรรดาอิมามเป็นผู้ที่มะอฺศูม (ไร้บาป) พวกเขาหยั่งรู้ถึงสิ่งที่เร้นลับต่างๆ รวมถึงสามารถรู้ว่าเมื่อใดที่พวกเขาจะเสียชีวิต และพวกเขาจะไม่เสียชีวิตนอกเสียจากด้วยความต้องการของพวกเขาเอง   พวกเขายังเชื่ออีกว่าบรรดาอิมามนั้นมีสถานภาพที่สูงส่ง ณ อัลลอฮฺ แม้มลาอิกะฮฺหรือนบีไหนก็เทียบเคียงไม่ได้   ความคลั่งไคล้ของพวกชีอะฮฺไม่ได้มีเพียงดังที่กล่าวมาเท่านั้น แต่พวกเขายังเชื่ออีกว่าบรรดาอิมามนั้นคือผู้บริหารโลกทั้งมวล และการที่ได้สร้างมนุษย์ขึ้นมานั้นก็เพื่อบรรดาอิมาม ซึ่งพวกเขาคือสาเหตุในการสร้าง ยิ่งไปกว่านั้นยังเชื่ออีกว่าบรรดาอิมามคือผู้สร้างนอกเหนือจากอัลลอฮฺ   เราขอห่างไกลจากการเลยเถิดและบิดเบือนทางศาสนาเหมือนพวกชีอะฮฺรอฟีเฏาะฮฺ

ชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺกับการตะกียะฮฺ (การเสแสร้ง)
    การตะกียะฮฺ หมายถึง การที่ท่านพูดหรือทำในสิ่งที่ท่านไม่มีความเชื่อ เพื่อที่จะระงับภัยที่จะมาถึงตัวท่าน หรือทรัพย์สมบัติ หรือมีจุดประสงค์เพื่อคงซึ่งความมีเกียรติของท่านไว้   พวกชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺเชื่อว่าเก้าในสิบของศาสนาคือการตะกียะฮฺ ไม่มีศาสนาและไม่มีอีมานสำหรับผู้ที่ไม่ทำเช่นนั้น   ดังนั้นพวกชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺจึงถือว่าการตะกียะฮฺเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และไม่สามารถที่จะดำเนินบนแนวทางของพวกเขาได้ ถ้าไม่ใช้วิธีนี้ พวกเขาจะเรียนรู้มันทั้งลับๆ และโดยเปิดเผย และใช้มันเมื่อมีเหตุผลคับขันที่ต้องใช้ ดังนั้น จงระวังและระวังพวกชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺให้ดี  

ชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺกับการมุตอะฮฺ
    มุตอะฮฺ หรือการสมรสชั่วคราว เป็นความเชื่อของชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ พวกเขาเชื่อว่ามุตอะฮฺนั้นเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา ผู้ใดที่ปฏิบัติมันย่อมแสดงว่าเขาได้ยึดถือศาสนา ส่วนผู้ใดที่ปฏิเสธมันก็แสดงว่าเขาได้ปฏิเสธศาสนา หนำซ้ำผู้นั้นคือผู้ที่ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และบุตรที่ได้จากการมุตอะฮฺดีกว่าที่ได้จากภรรยาผู้เป็นคู่ชีวิต และผู้ใดที่ปฏิเสธมุตอะฮฺย่อมต้องเป็นกาฟิรมุรตัด   

ชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺกับความเชื่อต่อชาวสุนนี
    พวกเขาเชื่อว่าสมบัติและเลือดของชาวสุนนีเป็นที่อนุมัติให้ยึดและหลั่งได้   พวกเขายังเชื่ออีกว่าทารกที่เกิดจากพวกเขาล้วนเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่สำหรับผู้อื่นนั้นไม่ใช่   พวกเขายังถือว่ามนุษย์ทุกคนที่เกิดมานั้นเป็นลูกซินา (เกิดจากการผิดประเวณี)   นอกจากนี้ชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺยังมองว่าชาวสุนนีนั้นตกศาสนาอย่างต่ำช้ากว่าพวกยิวและคริสต์ เพราะยิวและคริสต์นั้นเป็นกาฟิรโดยดั้งเดิม ในขณะที่ชาวสุนนีเป็นพวกที่ตกศาสนาหลังจากที่เคยนับถือมาก่อน ประการหลังเป็นที่ยอมรับกันว่าโสมมกว่าประการแรก ดังนั้น พวกชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺจึงไม่นิ่งเฉยที่จะให้ความช่วยเหลือศัตรูเพื่อล้มล้างชาวสุนนี ดังที่เห็นเป็นประจักษ์พยานในประวัติศาสตร์   

 

ชีวประวัติของ ดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี
       
มุฮัมมัด อัต-ตีญานี เป็นที่รู้จักในนาม “อัต-ตีญานี” ตระกูล อัส-สะมาวี เนื่องจากตระกูลนี้ได้นำเอาแนวทางติญานี ซึ่งเป็นแนวทางศูฟีย์เฏาะรีเกาะฮฺมาปฏิบัติเป็นแนวทาง   เขาเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1943 ในเมืองกอฟศอฮ์ ประเทศตูนิเซีย   ซึ่งยังมีชีวิตอยู่อีก ณ ปัจจุบัน
อัต-ตีญานีจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยซัยตูนะฮฺ ประเทศตูนิเซีย ปริญญาโทสาขาศาสนาเปรียบเทียบ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส และปริญญาเอกสาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยซอร์บอน ประเทศฝรั่งเศส  
อัต-ตีญานีได้อ้างว่ามีความเชื่อและยึดมั่นในแนวทางของอิมามมาลิกและศูฟีย์ตีญานี ซึ่งเป็นศูฟีย์ที่ตระกูลของเขานำมาปฏิบัติเป็นแนวทางตั้งแต่บุตรชายของชัยคฺซิดี อะหฺมัด อัต-ตีญานี ออกจากประเทศอัลจิเรียมาเยี่ยมตระกูลนี้ และเป็นศูฟีย์ที่ได้แพร่หลายอยู่ในโมร็อคโค อัลจีเรีย ตูนิเซีย ลิเบีย ซูดานและอียิปต์มาก เป็นแนวทางที่ชัยคฺอะหมัด อัต-ตีญานี อ้างว่าได้รับความรู้มาจากท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองโดยตรง   และเมื่ออัต-ตีญานีอายุ 18 ปี ได้มีโอกาสเดินทางไปยังประเทศซาอุดีอารเบีย เพื่อเข้าร่วมประชุมลูกเสืออาหรับและอิสลามพร้อมกับไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ ที่นั้นเองได้มีโอกาสพบปะกับนักศึกษาและนักวิชาการมุสลิมหลายท่าน โดยมีโอกาสเข้าร่วมฟังการบรรยายของพวกเขาจึงทำให้ได้รับอิทธิพลการศรัทธาของวะฮฺฮาบีย์ตามที่เขาได้กล่าวอ้าง ภายหลังจากกลับไปยังประเทศตูนิเซียซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา จึงทำการเผยแผ่แนวคิดของวะฮฺฮาบีย์ให้แก่ผู้คน และทำการปฏิเสธในแนวทางศูฟีย์และแนวทางอื่นๆ    ซึ่งเขายังกล่าวอ้างอีกว่าได้เดินทางไปยังเมืองอเล็กซานเดรีย เพื่อเดินทางต่อไปยังเบรุต เมืองหลวงของประเทศเลบานอน  ณ ที่นั้นเองที่ได้พบปะกับนักวิชาการชีอะฮฺชาวอิรัก จากมหาวิทยาลัยแบกแดด ที่ชื่อว่า “มุนอิม” ซึ่งภายหลังจากผู้เรียบเรียงได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับมุนอิมบนเรือเดินสมุทรแล้ว ทำให้เขาได้รับอิทธิพลทางแนวคิดจากชายคนนี้เป็นอย่างมาก และเมื่อมุนอิมได้เชิญชวนเขาไปเยี่ยมอิรัก เขาก็รับคำเชิญชวนนั้น   และด้วยการเดินทางไปยังอิรักนี้เองที่ทำให้อัต-ตีญานีได้หันเหตัวเองไปสู่แนวคิดและหลักความเชื่อของชีอะฮฺอิมาม 12

หนังสือที่อัต-ตีญานีเรียบเรียง  
1.    ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ (ثُمَّ اهْتَدَيْتُ)  แปลโดย บำรุง อาสาวิมลกิจ
2.    ขออยู่กับผู้สัตย์จริง (لأَكُوْنَ مَعَ الصَّادِقِيْنَ) แปลโดย อัยยูบ ยอมใหญ่
3.    จงถามผู้รู้ (فاسْأَلُوْا أَهْلَ الذِّكْرِ) แปลโดย อัยยูบ ยอมใหญ่
4.    ชีอะฮ์ คือซุนนะฮ์ที่แท้จริง (الشِّيْعَةُ هُمْ أَهْلُ السُّنَّةِ) แปลโดย อับดุลลอฮ์ บิน กอเซ็ม
5.    (اتقُوْ الله) ยังไม่แปลเป็นภาษาไทย
6.    (فسِيْرُوْا فِيْ الاَرْضِ فَانْظُرُوْا) ยังไม่แปลเป็นภาษาไทย
7.    (اعرف الحق) ยังไม่แปลเป็นภาษาไทย
8.    (كل الحلول عند آل الرسول) ยังไม่แปลเป็นภาษาไทย

หนังสือที่ใช้เป็นกรณีศึกษา
หนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ” เป็นหนังสือที่เลือกใช้เป็นกรณีศึกษา ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์วิธีการอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการของ ดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี ซึ่งเป็นชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺ ว่ามีความสอดคล้องหลักการอิสลามหรือไม่ และเพื่อพิสูจน์ในคำมั่นสัญญาที่เขาได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าสัญญากับพระผู้เป็นเจ้าแล้วว่า ถ้าพระองค์ทรงนำข้าพเจ้าออกจากความลำเอียงทางอารมณ์ ให้ข้าพเจ้าเป็นกลางและมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน และขอให้ข้าพเจ้าได้ฟังสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายกล่าวไว้ ข้าพเจ้าจะดำเนินตามแนวทางที่ดีที่สุด โดยยึดพื้นฐานการสรุปด้วยหลักฐาน 2 ประการคือ 1. หลักฐานที่มั่นคงและมีเหตุผล นั่นคือข้าพเจ้าจะอาศัยสิ่งที่ทุกคนเห็นพ้องด้วย เกี่ยวกับคำบรรยายอัลกุรอาน และรายงานที่ถูกต้องจากแบบฉบับที่ถูกต้องของท่านศาสดามุหัมมัด (ศ็อลฯ)  2. สติปัญญา เพราะเป็นของขวัญที่อัลลอฮฺ (ซบ.)  ทรงประทานให้แก่มวลมนุษย์....”  ,    
และเขาได้กล่าวอีกว่า “ข้าพเจ้าได้สัญญาต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ว่าจะดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมและข้าพเจ้าจะไม่มีอคติหรือลำเอียง อันเป็นการเอื้ออำนวยต่อนิกายของข้าพเจ้า”   
สำหรับหนังสือ  ثُمَّ اهْتَدَيْتُ ษุมมะฮฺตะดัยตุ ได้จัดพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาไทยโดย WORD AH-LILBAIT (A.S.) ISLAMIC LEAGUE เมื่อปี พ.ศ. 2534 ซึ่งแปลโดย บำรุง อาสาวิมลกิจ ต่อมาทางสำนักพิมพ์ 14 พับลิเคชั่น สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2547 โดยทำการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนและจัดรูปเล่มใหม่ซึ่งคงเหลือจำนวน 278 หน้าจากต้นฉบับเดิม   
    หนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ” เป็นหนังสือที่ผู้เขียนได้กล่าวอ้างถึงการเดินทางด้านจิตวิญญาณของตนเอง เพื่อแสวงหาสัจธรรมและแนวทางที่เที่ยงตรง โดยเริ่มต้นที่เล่าถึงเกี่ยวกับชีวประวัติของผู้เขียนเป็นภาพโดยย่อ และต่อด้วยชีวิตแห่งการเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ เพื่อค้นหาสัจธรรม โดยมีการพบปะกับบรรดาผู้รู้ ภายหลังจากนั้นผู้เขียนก็ได้เริ่มการวิจัยถึงรายละเอียดต่างๆ ของเนื้อหาทางวิชาการ โดยทำการวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม เป็นหลัก เช่น ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับเศาะหาบะฮฺ ความเห็นของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับเศาะหาบะฮฺ ความเห็นของเศาะหาบะฮฺต่อกันและกัน และวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตัวบทหลักฐานต่างๆ ที่เป็นเหตุผลเบื้องหลังทำให้ผู้เขียนหันเหตัวเองไปเชื่อถือในลัทธิชีอะฮฺ อิมาม 12 หรือ ชีอะฮฺ อิษนาอะชะริยะฮฺ  ซึ่งได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ ดังนี้   ภาษาอุรดู ใช้ชื่อว่า “”پهرمين هدايت پاگيا ภาษาอังกฤษ ใช้ชื่อว่า “THEN. I WAS GUIDED” ภาษาฝรั่งเศส ใช้ชื่อว่า “Comment j'ai e'te' guide'”  ภาษาอื่นๆ เช่น ตุรกี เปอร์เซียและสวาฮิลี เป็นต้น

 

 

วิธีการอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการของดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี

จากการศึกษาวิธีการอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการของหนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ” สรุปได้ว่าเป็นวิธีเดียวกันที่นักวิชาการคนอื่นๆ ของลัทธิชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺได้ใช้ ซึ่งสามารถสรุปและแบ่งเป็นประเด็นตามหัวข้อต่างๆ ดังนี้

การปฏิเสธต่อหลักฐานที่ชัดเจน
อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“ขอให้เรามาพิจารณาวัจนะทางฝ่ายซุนนี ที่กล่าวไว้เกี่ยวกับท่านอบูบักรว่า ถ้าหากข้าพเจ้าจะเลือกผู้ที่ใกล้ชิดเป็นเพื่อนสักคนหนึ่งแล้ว ข้าพเจ้าคงเลือกท่านอบูบักร  ถ้าคำกล่าวเช่นนั้นเป็นคำกล่าวของท่านศาสดาจริง ฉะนั้นท่านอบูบักรอยู่ที่ไหนเล่าในวันความเป็นพี่น้องครั้งแรกที่นครมักกะฮฺก่อนการอพยพ...”      
“ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่าจงยึดแบบฉบับของฉันและแบบฉบับของคุลาฟาอุรรอชิดีน...หลังจากฉันให้มั่นคง...เราจึงไม่มีหลักฐานที่สามารถเชื่อถือได้ในคำกล่าวของฝ่ายซุนนะฮ์ที่มีวจนะกล่าวว่าฉันได้ละทิ้งแบบฉบับไว้แก่พวกเจ้า”  

ทั้งๆ ที่เขาได้กล่าวในหนังสือเล่มเดียวกันซึ่งแสดงถึงการยอมรับในหลักฐานที่อ้างถึงหนังสือเศาะฮีหุสสุนนะฮฺ (อัล-บุคอรีและมุสลิม) ไว้ว่า “แต่เขาอ้างถึงหนังสือซอฮีฮุซซุนนะฮ์ ซึ่งไม่มีหนังสือเล่มใดทัดเทียมได้เราก็จำเป็นต้องเชื่อ เพราะเป็นหนังสือที่มีหลักฐานมั่นคงรองจากอัลกุรอาน”   
แต่เขากลับปฏิเสธหลักฐานจากเศาะฮีหุสสุนนะฮฺและตำราตัวบทหะดีษเล่มอื่นๆ ที่ได้รับการยืนยันความถูกต้องจากนักวิชาการผู้เป็นที่ยอมรับได้ ในเรื่องที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เลือกท่านอบูบักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เป็นมิตรผู้ใกล้ชิด และได้สั่งเสียให้ยึดตามสุนนะฮฺของเคาะลีฟะฮฺทั้ง 4 ท่าน นั้น ซึ่งหลักฐานที่ถูกต้องข้างต้น มีดังนี้
    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«لَوْ كُنْتُ مُتَّخِذًا مِنْ أُمَّتِي خَلِيلًا لَاتَّخَذْتُ أَبَا بَكْرٍ وَلَكِنْ أَخِي وَصَاحِبِي»
ความว่า “ถ้าฉันเอาผู้ใดในประชาชาติของฉันเป็นมิตรแท้ แน่นอนฉันจะเอาท่านอบูบักรฺ แต่เขาเป็นพี่น้องของฉันและสาวกของฉัน”  

และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أُوصِيكُمْ بِتَقْوَى اللَّهِ وَالسَّمْعِ وَالطَّاعَةِ وَإِنْ عَبْدٌ حَبَشِىٌّ فَإِنَّهُ مَنْ يَعِشْ مِنْكُمْ يَرَى اخْتِلاَفًا كَثِيرًا وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الأُمُورِ فَإِنَّهَا ضَلاَلَةٌ فَمَنْ أَدْرَكَ ذَلِكَ مِنْكُمْ فَعَلَيْهِ بِسُنَّتِى وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ الْمَهْدِيِّينَ عَضُّوا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ»
ความว่า “ฉันขอสั่งเสียพวกท่านให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ พร้อมทั้งเชื่อฟังและภักดี แม้ว่าผู้ที่สั่งใช้พวกท่านจะเป็นบ่าวแห่งเอธิโอเปียก็ตาม เพราะผู้ใดในหมู่พวกท่านที่มีอยู่ต่อหลังจากนี้ เขาจะได้เห็นการขัดแย้งอย่างมากมาย และพวกท่านพึงระวังสิ่งใหม่ในศาสนา เพราะมันคือความหลงผิด ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกท่านที่พบเหตุดังกล่าว ก็จำเป็นแก่เขาจะต้องยึดสุนนะฮฺของฉัน และสุนนะฮฺของบรรดาเคาะลีฟะฮฺที่ปราดเปรื่องและได้รับทางนำ พวกท่านจงยึดมันด้วยฟันกราม”    
     
การอ้างอิงหลักฐานที่สวนทางกับระเบียบวิธีการที่ผู้เรียบเรียงได้วางไว้
อัต-ตีญานี ได้กล่าวว่า
“เพราะข้าพเจ้าจะวิจัยงานอันยากและยาวนานนี้ ข้าพเจ้าจึงสัญญากับตัวเองว่าจะพึ่งพาอาศัยวจนะ(ฮะดีษ)ที่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีความเห็นสอดคล้องกัน ระหว่างทั้งฝ่ายซุนนะฮ์และฝ่ายชีอะฮ์ และข้าพเจ้าจะละทิ้งสิ่งที่กล่าวโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียว”   
“วจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่แนะนำเราให้ดำเนินรอยตามท่านอิมามอะลี เป็นวจนะที่ข้าพเจ้าอ่านในหนังสือซอเฮียะฮ์ของฝ่ายซุนนีและฝ่ายชีอะฮ์ก็ยอมรับซึ่งมีจำนวนไม่น้อยเลย แต่ก็อย่างที่ข้าพเจ้าเคยพูดแล้ว ข้าพเจ้าเพียงอ้างถึงวจนะที่เห็นพ้องต้องกันโดยทั้งสองฝ่ายเท่านั้น”  

แต่ในความเป็นจริงกลับปรากฏหลักฐานอย่างมากมายที่ใช้ในการอ้างอิงของหนังสือเล่มนี้ที่มีสถานะเฎาะอีฟ (อ่อน) และเมาฎูอฺ (อุปโลกน์) ซึ่งเป็นหลักฐานที่ไม่อาจจะยอมรับและนำมาอ้างอิงได้ ดังนี้
อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
“ฉันคือนครแห่งความรู้ และอะลีคือประตูแห่งนครนั้น”   
นี่คือหลักฐานที่อัต-ตีญานีและนักวิชาการชีอะฮฺหลายคนได้อ้างอิงเพื่อยืนยันในความเชื่อของพวกเขาว่าท่านอะลีนั้นเป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุด แต่ท่านอิมามอัล-บุคอรี   ได้กล่าวถึงหะดีษบทนี้ว่า  “(เป็นหะดีษ) มุนกัร”   ท่านยังกล่าวเสริมอีกว่า “ไม่มีทางที่จะเป็นหะดีษเศาะฮีหฺได้เลย” ท่านอบูหาติม   ได้กล่าวว่า “(เป็นหะดีษที่) ไม่มีที่มาที่ไป” ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ   และท่านอัล-อัลบานี   ได้กล่าวว่า “เป็นหะดีษที่อุปโลกน์” ท่านอิบนุล-เญาซีได้ระบุหะดีษบทนี้ในหนังสือที่ท่านรวบรวมหะดีษที่อุปโลกน์    และท่านอื่นๆ   
อัต-ติญานีได้กล่าวอีกว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
“สมาชิกของครอบครัวของข้าพเจ้าเปรียบเสมือนเรือของศาสดานุฮ์ ใครก็ตามที่ขึ้นอยู่บนเรือนั้นจะปลอดภัย และใครก็ตามที่หันเหออกไปจากมันก็จะจมน้ำตาย”  
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งหะดีษที่อัต-ตีญานีและนักวิชาการชีอะฮฺได้อ้างอิง ซึ่งท่านอัซ-ซะฮะบี   ท่านอิบนุกะษีร   ท่านอัล-อัลบานี   และท่านอื่นๆ ได้กล่าวว่า “เป็นหะดีษที่เฎาะอีฟ”  นอกจากนี้ในสายรายงานยังมีนักรายงานที่ชื่อ “มุฟัฎฎ็อล บินศอลิหฺ” ซึ่งท่านอิมามอัล-บุคอรีและท่านอบูหาติม ได้กล่าวว่า “มุนกะรุลหะดีษ”    ยิ่งกว่านั้นยังปรากฏนักรายงานคนอื่นๆ ที่ปรากฏข้อบกพร่องในตัวของเขาหรือหะดีษที่เขาได้รายงานได้แก่ “สุวัยดฺ บินสะอีด” “หะนัชฺ อัล-กุนานี” “อบูอิสหาก อัส-สะบีอี”  เป็นต้น  
การอ้างอิงหลักฐานที่สวนทางกับระเบียบวิธีการที่ผู้เรียบเรียงได้วางไว้นั้นยังมีอีกมากมาย ดังนี้
“อุปมาอะฮ์ลุลบัยต์เปรียบเหมือนประตูแห่งหิฏเฏาะฮ์ (การอภัยโทษ) ของลูกหลานอิสราเอล ใครก็ตามที่เข้าไปในประตูนั้นก็จะได้รับการอภัยโทษ”     
“บ้านในวันประกาศศาสนาท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ได้กล่าว อันเป็นการบ่งถึงท่านอิมามอะลีว่า นี่คือ น้องของฉัน ตัวแทนของฉัน และผู้ช่วยของฉันหลังจากฉันจากไปแล้ว ดังนั้น จงฟังเขาและเชื่อฟังเขา”  ,  
“ใครก็ตามที่ต้องการมีชีวิตและตายอย่างฉัน และต้องการมีชีวิตอยู่ในสวนสวรรค์อย่างอมตะหลังจากสิ้นชีวิตไปแล้ว ควรยอมรับอะลีเป็นผู้พิทักษ์ และดำเนินตามอะฮ์ลุลบัยต์ของเขา หลังจากการจากไปของข้าพเจ้า ดังนั้นความวิบัติจงมีแด่ผู้ดำเนินตามข้าพเจ้าที่ปฏิเสธอะฮ์ลุลบัยต์ และไม่เอาใจใส่ต่อความสัมพันธ์และความเป็นพี่น้องกันของข้าพเจ้า ขออัลลอฮ์อย่าทรงให้พวกเขาได้รับชะฟาอะฮ์ (การช่วยเหลือ) จากข้าพเจ้าเลย...”     
“อะลีนั้นเป็นส่วนหนึ่งของฉัน และฉันเป็นส่วนหนึ่งของอะลี และไม่มีใครสามารถปฏิบัติหน้าที่ของฉันได้ เว้นแต่ฉันเองและอะลีเท่านั้น”    
    อัต-ตีญานีมีเหตุผลอะไร จึงได้อ้างอิงหลักฐานเหล่านี้ ทั้งๆ ที่เขาได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเพียงอ้างถึงวจนะที่เห็นพ้องต้องกันโดยทั้งสองฝ่ายเท่านั้น”   ดังนั้นเราจะยอมรับในเนื้อหาและหลักฐานต่างๆ ที่อัต-ตีญานีได้ใช้ในการอ้างอิงได้อย่างไร ? ซึ่งเมื่อเราพิจารณาถึงพฤติกรรมดังกล่าวของอัต-ตีญานีและนักวิชาการชีอะฮฺที่ได้อ้างอิงหลักฐานเหล่านี้แล้ว ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างใดๆ กับพฤติกรรมของหมู่ชนต่างๆ ก่อนหน้านี้เลย ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ดำรัสว่า
﴿ كَذَّبَتۡ قَبۡلَهُمۡ قَوۡمُ نُوحٖ وَٱلۡأَحۡزَابُ مِنۢ بَعۡدِهِمۡۖ وَهَمَّتۡ كُلُّ أُمَّةِۢ بِرَسُولِهِمۡ لِيَأۡخُذُوهُۖ وَجَٰدَلُواْ بِٱلۡبَٰطِلِ لِيُدۡحِضُواْ بِهِ ٱلۡحَقَّ فَأَخَذۡتُهُمۡۖ فَكَيۡفَ كَانَ عِقَابِ ٥ ﴾ [غافر: ٥]  
ความว่า “(เพราะ) ก่อนหน้าพวกเขานั้นหมู่ชนของนูหฺ และพลพรรคต่าง ๆ หลังจากพวกเขาได้ปฏิเสธมาก่อนแล้ว และทุกๆประชาชาติได้ตั้งใจที่จะทำลายล้างเราะสูลของพวกเขาและโต้เถียงด้วยความเท็จ เพื่อที่จะลบล้างความจริงให้สูญสิ้นไป ดังนั้นข้าจึงได้ลงโทษพวกเขา แล้วเป็นอย่างไรบ้างการลงโทษของข้า”   

การบิดเบือนหลักฐานให้ผิดไปจากเดิม
อัต-ตีญานี ได้กล่าวถึงท่านอุมัร บินอัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
“เมื่อสาวกคนหนึ่งของท่านศาสดา ถามเขาวันหนึ่งในระหว่างที่อยู่ในตำแหน่งคอลีฟะฮ์ว่า โอ้ ท่านหัวหน้าบรรดาผู้ศรัทธา ข้าพเจ้ามียุนุบ (หลังอสุจิ) แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถหาน้ำเพื่อทำความสะอาดได้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไร ท่านอุมัรตอบว่า ก็ไม่ต้องละหมาดก็ได้ หลังจากนั้นอัมมาร อิบนิยาซิร ได้ตักเตือนเขาเกี่ยวกับเรื่องตะยัมมุม (การทำความสะอาดโดยใช้ดินฝุ่น) แต่ท่านอุมัรไม่เชื่อในเรื่องนั้น และบอกกับอัมมารว่า เจ้าจงรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เท่านั้น (ซอเฮียะฮ์บุคอรี เล่ม 1 หน้า 52)”   
    แต่ตัวบทหะดีษที่ถูกต้องนั้นมีรายละเอียดดังนี้
«جَاءَ رَجُلٌ إِلَى عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ فَقَالَ إِنِّي أَجْنَبْتُ فَلَمْ أُصِبِ الْمَاءَ فَقَالَ عَمَّارُ بْنُ يَاسِرٍ لِعُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ أَمَا تَذْكُرُ أَنَّا كُنَّا فِي سَفَرٍ أَنَا وَأَنْتَ فَأَمَّا أَنْتَ فَلَمْ تُصَلِّ وَأَمَّا أَنَا فَتَمَعَّكْتُ فَصَلَّيْتُ فَذَكَرْتُ لِلنَّبِيِّ صَلَّى اللَّهم عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهم عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّمَا كَانَ يَكْفِيكَ هَكَذَا» فَضَرَبَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهم عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِكَفَّيْهِ الْأَرْضَ وَنَفَخَ فِيهِمَا ثُمَّ مَسَحَ بِهِمَا وَجْهَهُ وَكَفَّيْهِ»
ความว่า “มีชายคนหนึ่งไปหาท่านอุมัร บินอัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ แล้วกล่าวว่า ครั้งหนึ่งฉันมีญะนาบะฮฺ และฉันหาน้ำที่จะใช้ชำระไม่ได้ แล้วอัมมารฺ บินยาสิรฺ ก็ได้กล่าวแก่ท่านอุมัร บินอัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านยังจำได้มั้ยเมื่อตอนที่เราเดินทางไปด้วยกัน ซึ่งท่านนั้นมิได้ละหมาด ส่วนฉันใช้วิธีเกลือกกลิ้งร่างกายกับพื้นดินแล้วก็ละหมาด ฉันได้เล่าพฤติการณ์ดังกล่าวให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฟัง แล้วท่านก็บอกว่า “ความจริงแล้วท่านเพียงแค่ทำอย่างนี้ก็เป็นการพอแล้ว (หลังจากนั้นท่านนบีได้สาธิตวิธีทำตะยัมมุมให้ดู) และท่านนบี ได้ใช้ฝ่ามือทั้งสองตบลงบนพื้นดิน แล้วก็เป่าฝุ่นที่ฝ่ามือทั้งสองแล้วจึงใช้มือทั้งสองลูบใบหน้าและมือทั้งสองข้าง”  

นอกจากนี้ อัต-ตีญานีได้บิดเบือนเรื่องราวเกี่ยวกับท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา อีกว่า
“ ...ครั้งหนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เทศนาสั่งสอน และท่านได้ชี้ให้เห็นถึงบ้านที่นาง (ท่านหญิงอาอีชะฮฺ) อาศัยอยู่ ท่านกล่าวว่า มีความยุ่งยาก...มีความยุ่งยาก...มีความยุ่งยาก จากที่ซึ่งเขาของซัยตอนโผล่เข้ามา.. (จากบุคอรี เล่ม 2 หน้า 128)”    
    
เช่นเดียวกันตัวบทหะดีษที่ถูกต้องนั้นมีรายละเอียดดังนี้
จากท่านอับดุลลอฮฺ บินอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า
«رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يُشِيرُ إِلَى الْمَشْرِقِ وَيَقُولُ هَا إِنَّ الْفِتْنَةَ هَا هُنَا إِنَّ الْفِتْنَةَ هَا هُنَا مِنْ حَيْثُ يَطْلُعُ قَرْنُ الشَّيْطَانِ»
ความว่า “ฉันได้เห็นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ชี้ไปทางทิศตะวันออก และกล่าวว่า ที่นี่คือฟิตนะฮฺ (ความยุ่งยาก) ที่นี่คือฟิตนะฮฺ สถานที่ที่เขาของชัยฏอนโผล่ขึ้นมา”    

ณ ที่นี้ข้าพเจ้าขอหยิบยกคำกล่าวของอัต-ตีญานีที่เขาได้กล่าวเองว่า “นี่เป็นการโป้ปดที่ไม่ละอายและเป็นการหลอกหลวงที่เห็นได้ชัด มหาบริสุทธิ์จงมีแด่พระองค์ การสรรเสริญทั้งมวลจงมีแด่พระองค์ สิริมงคลจงมีแด่พระองค์ และความสูงส่งจงมีแด่พระองค์ พระองค์มิได้สร้างฟ้าและแผ่นดินและสิ่งที่อยู่ระหว่างสิ่งทั้งสองนั้นโดยปราศจากความยุติธรรม เหล่านี้เป็นที่สงสัยของผู้ปฏิเสธ ดังนั้น ความวิบัติจงมีแด่ผู้ปฏิเสธเถิด และเหวนรกนั้นจะเป็นที่พำนักของพวกเขา”   


การปิดบังหลักฐานจากความเป็นจริง
อัต-ตีญานีได้กล่าวถึงหัวข้อ “หะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าแท้จริงแล้วชี้ให้เห็นความจริงที่ว่าจำเป็นที่จะต้องดำเนินตามอะฮฺลุลบัยตฺ” ไว้ว่า
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
“ท่านยังกล่าวอีกว่า ทูตแห่งอัลลอฮ์ (มะลิกัตมูต) กำลังจะมาหาฉันและฉันจะต้องตอบรับ ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงละสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกเจ้า สิ่งแรกคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ซึ่งในนั้นเจ้าจะได้รับทางนำและแสงสว่างและอะฮฺลุลบัยต์...ฉันขอเตือนเจ้าถึงอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน (จากซอเฮียะฮ์มุสลิม บทเกี่ยวกับความประเสริฐของอิมามอะลี...)”   

ในเรื่องนี้อัต-ตีญานีได้นำเสนอเฉพาะเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเท่านั้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมโดยทั่วไปของนักวิชาการชีอะฮฺ เพราะรายละเอียดที่สมบูรณ์มีรายงานจากท่านซัยดฺ บินอัรกอม เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
«قَامَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - يَخْطُبُنَا بِمَاءٍ يُدْعَى خُمٌّ بَيْنَ مَكَّةَ وَالْمَدِينَةِ ، فَحَمِدَ اللَّهَ وَأَثْنَى عَلَيْهِ ، وَوَعَظَ ، وَذَكَرَ ثُمَّ قَالَ : أَمَّا بَعْدُ ، أَلا أَيُّهَا النَّاسُ ، إِنَّمَا أَنَا بَشَرٌ يُوشِكُ أَنْ يَأْتِيَنِي رَسُولُ رَبِّي فَأُجِيبَهُ ، وَإِنِّي تَارِكٌ فِيكُمُ الثَّقَلَيْنِ ، أَحَدُهُمَا : كِتَابُ اللَّهِ ، فِيهِ الْهُدَى وَالنُّورُ ، فَتَمَسِّكُوا بِكِتَابِ اللَّهِ وَخُذُوا بِهِ ، فَرَغَّبَ فِي كِتَابِ اللَّهِ وَحَثَّ عَلَيْهِ ، ثُمَّ قَالَ : وَأَهْلُ بَيْتِي أُذَكِّرُكُمُ اللَّهَ فِي أَهْلِ بَيْتِي ثَلاثَ مَرَّاتٍ فَقَالَ لَهُ زَيْدٌ وَحُصَيْنٌ : مَنْ أَهْلُ بَيْتِهِ ؟ أَلَيْسَ نِسَاؤُهُ مِنْ أَهْلِ بَيْتِهِ ؟ قَالَ : بَلَى إِنَّ نِسَاءَهُ مِنْ أَهْلِ بَيْتِهِ ، وَلَكِنَّ أَهْلَ بَيْتِهِ مَنْ حُرِمَ الصَّدَقَةَ قَالَ : وَمَنْ هُمْ ؟ قَالَ : آلُ عَلِيٍّ وَآلُ الْعَبَّاسِ ، قَالَ : كُلُّ هَؤُلاءِ حُرِمَ الصَّدَقَةَ ، قَالَ : نَعَمْ»
ความว่า “ภายหลังจากนั้น (ท่านซัยดฺ บินอัรกอม) ได้กล่าวว่า มีวันหนึ่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยืนขึ้นอ่านคุฏบะฮฺในหมู่พวกเราที่แอ่งน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า “คุม" อันเป็นชื่อสถานที่แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างนครมักกะฮฺกับนครมะดีนะฮฺ (เรียกว่า เฆาะดีรฺ คุม) ดังนั้น ท่านก็กล่าวคำสรรเสริญอัลลอฮฺและชมเชยต่อพระองค์ สั่งสอนและตักเตือน แล้วกล่าวว่า “ต่อไปนี้โปรดเข้าใจเถิดว่า โอ้ท่านทั้งหลาย! ฉันนี้ไม่มีอื่นใดนอกจากเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่งทูตของพระเจ้าของฉันใกล้จะมาหา แล้วฉันจะตอบว่า ฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านสิ่งหนักสองอย่าง หนึ่งในสองคือ กิตาบุลลอฮฺ ในนั้นมีทางนำและแสงสว่าง ดังนั้นท่านทั้งหลายจงรับเอาคัมภีร์ของอัลลอฮฺ” และท่านได้กระตุ้นให้ยึดมั่นในสิ่งที่มีอยู่ในกิตาบุลลอฮฺ แล้วท่านก็กล่าวอีกว่า “และจงเอาใจใส่ต่ออะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ฉันขอเตือนพวกท่านให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺในเรื่องอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ฉันขอเตือนพวกท่านทั้งหลายให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺในเรื่องอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน และฉันขอเตือนพวกท่านทั้งหลายให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺในเรื่องอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน” แล้วท่านหุศ็อยนฺได้กล่าวแก่ท่านซัยดฺว่า “ใครคืออะฮฺลุลบัยตฺของท่านนบี บรรดาภรรยาของท่านมิใช่ส่วนหนึ่งจากอะฮฺลุลบัยตฺของท่านดอกหรือ” ท่านซัยดฺตอบว่า “ใช่ บรรดาภรรยาของท่านเป็นส่วนหนึ่งในอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน แต่อะฮฺลุลบัยตฺของท่าน (ยังมีอีก) คือผู้ที่ถูกห้ามกินซะกาตหลังจากท่าน (นบีจากไป)” เขาถามต่อไปว่า “เขาเหล่านั้นคือใคร” ท่านซัยดฺตอบว่า  “พวกเขาคือวงศ์วานของท่านอลี วงศ์วานของท่านอะกีล วงศ์วานของท่านญะอฺฟัรฺ วงศ์วานของท่านอับบาส” และเขาถามต่อไปว่า “พวกเขาเหล่านี้คือผู้ที่ถูกห้ามกินซะกาตหรือ ?” ท่านตอบว่า “ใช่แล้ว”   


การบิดเบือนในความหมายของหลักฐาน
อัต-ติญานีได้บิดเบือนความหมายในหะดีษ “เมาลา” ไว้ว่า
“อะลีเป็นผู้ปกครองของบุคคลทั้งหลายที่ฉันเป็นผู้ปกครองพวกเขาโอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่รักเขา ทรงเกลียดชังผู้ที่เกลียดชังเขา โปรดช่วยเหลือผู้ที่ช่วยเหลือเขา โปรดละทิ้งผู้ที่ละทิ้งเขา และโปรดให้ความยุติธรรมแก่เขาในทุกแห่งที่เขาหันไป”   
“ใครก็ตามที่ยอมรับว่าฉันเป็นนายเหนือเขา เขาก็ควรยอมรับอะลีเป็นนายของเขาด้วย โอ้อัลลอฮ์จงเป็นมิตรที่ดีกับมิตรของอะลี และจงเป็นศัตรูกับศัตรูของอะลี”  

แต่ในความเป็นจริงมีการตีความในความหมายของหะดีษข้างต้นนี้อย่างหลากหลาย   ซึ่งโดยสรุปแล้วไม่มีทางจะให้ความหมายคำว่า “เมาลา” นี้ ไปในลักษณะของ “ความเคารพนับถือ” ได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะให้ความหมายไปในรูปแบบใดก็ตาม ก็ไม่อาจจะให้ความหมายในรูปแบบดังกล่าวได้ทั้งสิ้น นอกจากจะให้ความหมายไปในลักษณะ “ความรัก” หรือ “มิตร” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ คำสั่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในหะดีษนี้จึงไม่ได้หมายถึงให้เราเคารพนับถือท่านอะลีด้วยการเอาท่านอะลีมาเป็นเจ้านายของเรา หรือเอามาเป็นเคาะลีฟะฮฺของเราหลังจากที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เสียชีวิตไปแล้วแม้แต่อย่างใด หากแต่ท่านสั่งกำชับให้เรามอบความรักหรือความเป็นมิตรที่ซื่อสัตย์ต่อท่านอะลีเท่านั้น ดังนั้นความหมายในหะดีษนี้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของการแต่งตั้งท่านอะลีให้เป็นเคาะลีฟะฮฺแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม แม้นว่าท่านอะลีจะได้รับการแต่งตั้งหรือไม่นั้น แต่ในที่สุดท่านอะลีก็ได้เป็นเคาะลีฟะฮฺอยู่แล้ว
ณ ที่นี้ ข้าพเจ้าขอกล่าว ดังที่อัต-ตีญานีได้กล่าวไว้ว่า “ความจริงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้ที่แปลความหมายผิดๆ เกี่ยวกับวจนะข้างต้นนั้นเป็นผู้โกหกมดเท็จ ดังนั้น ความพินาศจงมีแด่ผู้เขียนสิ่งนั้นด้วยมือของเขาเอง และความพินาศจงมีแด่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากำลังเขียนอยู่”     


มีความขัดแย้งในคำกล่าวของตนเอง
อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“ความจริงแล้วสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิสลามนั้นน้อยเหลือเกิน เพราะว่าครูของเราห้ามมิให้เรียนมัน เขาอ้างว่ามันเป็นประวัติศาสตร์อันมืดทึบไม่ควรแก่การศึกษา”   
แต่สิ่งที่เราได้พบเจอในหนังสือเล่มเดียวกันคือ อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“ผมทราบเรื่องนั้นมาจากหนังสือประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม... แต่ขอให้คุณบอกผมว่า หนังสืออะไรบ้างที่คุณอ่าน ข้าพเจ้าจึงบอกเขาถึงหนังสือสองสามเล่ม เช่น หนังสือที่แต่งโดย อะฮ์มัด อามีน ชื่อ ฟัจรุลอิสลาม ฎุฮาอัลอิสลาม และ ซุฮูรุลอิสลาม และหนังสืออื่นๆอีก”    

    มาถึงจุดนี้ ข้าพเจ้าขอกล่าว ดังที่อัต-ตีญานีได้กล่าวไว้ว่า “จงดูเถิดว่าอัลลอฮ์ทรงแสดงความสว่างของพระองค์ให้ประจักษ์ แม้ว่าผู้กดขี่จะพยายามปิดบังก็ตาม”   


การอ้างอิงเรื่องราวที่ไม่มีที่มาของแหล่งอ้างอิง
อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“พระองค์มีได้ทรงกล่าวหรอกหรือว่า บ่าวของข้าฯ จงเชื่อฟังข้าฯ แล้วเจ้าจะเป็นอย่างข้า เจ้ากล่าวสิ่งใดว่าจงเป็น แล้วมันก็จะเป็น”     
“ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้กล่าวว่า จงศึกษาศาสนาของท่านจนกระทั่งถูกกล่าวหาว่าบ้า”     
“นอกจากนั้นพวกเขายังเล่าเรื่องราวต่างๆ ผิดอีกด้วย ดังเช่นการกล่าวดังต่อไปนี้ ซึ่งอ้างไปถึงประชาชนที่กล่าวว่า หากอัลลออ์ (ซ.บ.) ทรงต้องการที่จะให้ภยันตรายเกิดแก่เราแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดที่จะหลีกหนีมันได้ เว้นแต่อุมัรอิบนุค็อตต็อบเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งเท่ากับพวกเขากล่าวว่า ถ้าไม่เพราะท่านอุมัรแล้ว ท่านศาสดามุฮัมมัดคงพินาศไปแล้ว”    
“อิบนุอับบาสได้กล่าว...ว่า นางได้ขี่ล่อ นางได้ขี่อูฐ หากนางมีชีวิตยืนยาว นางอาจได้ขี่ช้าง นางเป็นภรรยาคนที่เก้าของจำนวนแปดคน และนางกระทำทุกอย่างตามที่นางปราถนา”    
“เรายังทราบอีกว่า ตอลฮะฮ์ ซุเบร มุฮัมมัด อิบนิอบีบักร และสาวกที่มีชื่อเสียงของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ล้อมบ้านท่านอุศมานให้เขาอยู่ในบ้านโดยมิให้ดื่มน้ำ เพื่อบังคับให้เขาลาออกจากตำแหน่ง”    
“และการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่านอุศมานก็เป็นละครเบาสมองทางประวัติศาสตร์ คือท่านอุมัรได้เสนอชื่อบุคคล 6 คนขึ้นเป็นคณะผู้คัดเลือก และบอกให้พวกเขาคนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นคอลีฟะฮ์ และกล่าวว่า ถ้าสี่คนเห็นพ้องด้วย และสองคนไม่เห็นพ้องด้วย สองคนที่ไม่เห็นพ้องจะต้องถูกฆ่า”     
“ท่านอุมัรไม่เคยตำหนิหรือประณามเขา (มุอาวียะฮ์) เลย ทั้งๆ ที่ความจริงมีอยู่ว่า ประชาชนต่างพร่ำบ่นและติเตียนเกี่ยวกับความสุรุ่ยสุร่ายของมุอาวียะฮ์ โดยมีรายงานว่าเขาสวมใส่เสื้อผ้าไหมและใส่ทอง ... ท่านอุมัรเคยตอบข้อร้องเรียนของประชาชนว่า ปล่อยเขาเถิด เพราะเขาเป็นกษัตริย์ของชาวอาหรับ มุอาวิยะฮ์ปกครองนครดามัสกัสมาเป็นเวลา 20 กว่าปี โดยปราศจากการแตะต้องหรือวิจารณ์เลย”         

    นี่คือเรื่องราวที่อัต-ตีญานีได้ระบุในหนังสือของเขา ซึ่งล้วนไม่มีที่มาที่ไปทั้งสิ้น เขาเพียงต้องการโน้มน้าวผู้คนให้คล้อยตามและหลงเชื่อในสิ่งที่ตนนำเสนอ ถึงกับยอมขาดคุณธรรมที่ดีและความบริสุทธิ์ใจ ทั้งยังไม่แสดงความรับผิดชอบในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ทางวิชาการ  ทั้งๆ ที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสถึงพฤติกรรมเช่นนี้ว่า
﴿ فَمَنۡ أَظۡلَمُ مِمَّنِ ٱفۡتَرَىٰ عَلَى ٱللَّهِ كَذِبٗا لِّيُضِلَّ ٱلنَّاسَ بِغَيۡرِ عِلۡمٍۚ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يَهۡدِي ٱلۡقَوۡمَ ٱلظَّٰلِمِينَ ١٤٤ ﴾ [الانعام: ١٤٤]  
ความว่า “ก็ใครเล่าคือผู้ที่อธรรมยิ่งกว่าผู้ที่ได้อุปโลกน์ความเท็จให้แก่อัลลอฮฺเพื่อจะทำให้มนุษย์หลงผิดโดยไม่มีความรู้ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงแนะนำกลุ่มชนที่อธรรม”   


การอ้างอิงเรื่องราวโดยระบุแหล่งที่มาด้วยความเท็จ
ผู้ที่อ่านหนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ” โดยขาดการตรวจสอบอย่างรอบคอบอาจจะมีความเชื่อมั่นในเรื่องราวต่างๆ ที่อัต-ตีญานีได้อ้างอิงไว้ซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย แต่เมื่อมีการตรวจสอบอย่างรอบคอบกลับปรากฏว่าโดยส่วนใหญ่แล้วอัต-ตีญานีจะระบุแหล่งที่มาด้วยความเท็จ โดยไม่ปรากฏเรื่องราวเหล่านั้นจากแหล่งที่อ้างอิงแม้แต่อย่างใด ซึ่งในจำนวนนั้นคือ
“แต่ตอลฮะฮ์และซุเบร ได้นำชาย 50 คนที่ให้สินบนพวกนั้นแล้ว โดยให้พวกเขาปฏิญาณว่า แหล่งน้ำนั้นมิใช่แหล่งน้ำเฮาอับ นาง-ท่านหญิงอาอีชะฮฺ-จึงเดินทางต่อไปจนกระทั่งถึงเมืองบัศเราะฮ์ นักประวัติศาสตร์ส่วนมากเชื่อว่าชาย 50 คนนั้น เป็นผู้ให้การเท็จครั้งแรกในประวัติศาสตร์อิสลาม (ดูประวัติศาสตร์ฮิจเราะฮ์ที่ 36 และฏอบารี)”      
“… ถ้าผมรู้ว่าคุณเป็นชีอะฮ์ ผมคงไม่พูดกับคุณ เขาถามว่า ทำไมหรือ ข้าพเจ้าตอบว่า เพราะว่าคุณมิใช่มุสลิม คุณเคารพสักการะอะลี อิบนิอบีฏอลิบ ส่วนมากของพวกคุณสักการะอัลลอฮ์ แต่ไม่ศรัทธาต่อรายงานของท่านศาสาดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) คุณสาปแช่งญิบรออีลที่ทรยศต่อสิ่งที่มอบหมายให้ คือแทนที่จะส่งสารให้แก่อะลี กลับส่งสารให้ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ ((หลังจากนั้นผู้เรียบเรียงจึงกล่าวต่อว่าได้รับข้อมูลเหล่านั้นจาก) หนังสือสองสามเล่ม เช่น หนังสือที่แต่งโดย อะฮ์มัด อามีน ชื่อฟัจรุลอิสลาม ฎุฮาอัลอิสลาม และซุฮูรุลอิสลาม และหนังสืออื่นๆอีก”    
 “(ท่านอบูบักร) ...ข้าพเจ้าอยากเป็นต้นไม้ข้างถนนเหลือเกิน ซึ่งอูฐจะได้มากินข้าพเจ้า แล้วถ่ายข้าพเจ้าออกมา ...ข้าพเจ้าอยากเป็นเช่นนั้นยิ่งกว่ามนุษย์เสียอีก (จากตารีคอัฏฏอบารี หน้า 41 และกันซุลอุมมาล หน้า 361 และมินฮาญุซซุนนะฮฺ โดยอิบนิตัยมียะฮ์ เล่ม 3 หน้า 120 ...)”       
การกล่าวอ้างเรื่องราวที่ขัดกับข้อเท็จจริง
อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“กลุ่มอิสลามทั้งหมดนั้นไม่ว่าเขาจะอยู่แนวทางใด ก็เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอานทั้งสิ้น เพราะว่าอัลกุรอานของเราก็เหมือนกับของท่านนั่นแหละ”   

ถือเป็นการโกหกและอุปโลกน์เรื่องราวที่ขัดกับข้อเท็จจริงอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากกลุ่มชีอะฮฺเราะฟิเฎาะฮฺมีความเชื่อมั่นโดยมีการอ้างจากบรรดาอิมามต่างๆ มากกว่า 2,000 รายงาน ว่าคัมภีร์อัลกุรอานนั้นมีการเปลี่ยนแปลง ตัดทอน และเพิ่มเติมอย่างมากมาย    

อัต-ตีญานีได้กล่าวอีกว่า
“มิฉะนั้นมุสลิมจะรวมตัวกันเนื่องจากเป็นพี่น้องกันอยู่แล้ว ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นฝ่ายชีอะฮ์หรือฝ่ายซุนนี เพราะทั้งหมดเคารพสักการะอัลลอฮ์องค์เดียวกัน และไม่เอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาคู่เคียงกับพระองค์ พวกเขายึดถืออัลกุรฺอานเล่มเดียวกัน มีท่านศาสดามุฮัมมัดท่านเดียวกัน มีกิบละฮ์ (ทิศทางที่มุสลิมหันไปสู่เวลานมาซ) แห่งเดียวกัน ชีอะฮ์และซุนนีนั้นแตกต่างกันเพียงปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับบทบัญญัติทางศาสนาเท่านั้น”   

เป็นการกล่าวอ้างที่ขัดกับข้อเท็จจริงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากนิอฺมะตุลลอฮฺ อัล-ญะซาอิรี นักวิชาการชาวชีอะฮฺที่โด่งดัง ได้กล่าวว่า “แท้จริงเราไม่ได้มีส่วนร่วมกับชาวสุนนะฮฺ ในเรื่องพระเจ้า นบี และอิมาม เพราะแท้จริงพระผู้อภิบาลที่มีนบีคือมุฮัมมัด และมีเคาะลีฟะฮฺคืออบูบักรฺ นั่นไม่ใช่พระผู้อภิบาลของพวกเรา และนั่นไม่ใช่นบีที่เป็นนบีของพวกเรา”    ใช่แต่เท่านั้น อัต-ตีญานีเองก็เคยกล่าวในการบรรยายของเขา ณ เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีหลักฐานเป็นคลิปวิดีโอว่า “แท้จริงอัลลอฮฺที่พึงพอพระทัยในการเป็นเคาะลีฟะฮฺของอบูบักรฺภายหลังจากท่านนบีเสียชีวิต เราไม่ต้องการพระเจ้าเยี่ยงนี้”  


ขาดความรู้และความรอบคอบในข้อมูล
อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“ความเห็นของบรรดาสาวก (เศาะหาบะฮฺ)  ต่อกันและกัน...อบูสะอีด อัลคุดรีกล่าวว่า ในวันแรกแห่งวันอีดิลฟิตร์ และอีดิลอัฎฮา...สิ่งแรกที่ท่านศาสดากระทำก็คือ การนมาซในมัสยิดหลังจากนั้น..ท่านจะเริ่มให้การแนะนำ...สภาพการณ์ดำเนินไปเช่นนั้น จนกระทั่งวันหนึ่งในวันอิดิลฟิตร์หรืออัฎฮา ข้าพเจ้าไปกับมัรวาน ซึ่งเป็นเจ้าเมืองมะดีนะฮ์ เมื่อเราไปถึงมัสยิด...มัรวานก็ไปยังมิมบัรนั้นก่อนการนมาซ..”    

เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า อัต-ตีญานีเป็นผู้ที่ขาดความรู้และความรอบคอบในข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นจากข้อมูลที่เขานำเสนอว่า ท่านมัรวานนั้นคือเศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นท่านมัรวานเป็นตาบิอีนรุ่นอาวุโสท่านหนึ่งเท่านั้น ดังที่ท่านอัซ-ซะฮะบีได้ระบุไว้ในตำราของท่าน   

อัต-ตีญานีได้กล่าวอีกว่า
“ในหมู่หนังสือเหล่านั้นมีหนังสือ อะสะดุลฆอบะฮฺฟิตัมยีซิศซอฮาบะฮ์ อัลอะศอบะฮฺฟีมะอ์รีฟะติศซอฮาบะฮ์และหนังสือมัยซานุลเอียะติดาล”   

นับเป็นข้อผิดพลาดที่บ่งชี้ถึงการขาดความรู้และความรอบคอบในข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง เพราะหนังสือที่เขากล่าวถึงนั้นมีชื่อว่า “อุสดุลฆอบะฮฺ ฟีมัอฺริฟะฮฺ อัศ-เศาะหาบะฮฺ”    ไม่ใช่ “อะสะดุลฆอบะฮฺฟิตัมยีซิศซอฮาบะฮ์” และ “อัล-อิศอบะฮฺฟิตัมยีซฺ อัศ-เศาะหาบะฮฺ”    ไม่ใช่ “อัลอะศอบะฮฺฟีมะอ์รีฟะติศซอฮาบะฮ์”นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่บ่งชี้ว่าอัต-ตีญานีเป็นผู้ที่ขาดความรู้และความรอบคอบในข้อมูล ดังนี้
“ความจริงเราฉลองวันอาชูรอ ซึ่งเป็นวันรื่นเริงวัน-อีด-หนึ่งของอิสลาม โดยมีการแจกทานและมีการหุงอาหารเลี้ยงกัน เด็กๆจะไปหาผู้ใหญ่ซึ่งท่านจะแจกเงินให้ไปซื้อของกินและของเล่นตามใจชอบ”      
“เรายังทราบอีกว่า ตอลฮะฮ์ ซุเบร มุฮัมมัด อิบนิอบีบักร และสาวกที่มีชื่อเสียง-ชั้นอาวุโส-ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)”    

ขาดการตรวจสอบรายละเอียดในสายรายงานและข้อมูลอย่างรอบคอบ
อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“อบูฮาซัน อัลบัศรีกล่าวว่า มุอาวิยะฮ์นั้นมีลักษณะ 4 ประการ แต่ถ้าเขามีเพียงลักษณะเดียวเท่านั้น ก็คือบาปอันฉกรรจ์แล้ว 4 ประการนั้นคือ 1. ทำการตัดสินใจ โดยมิได้ปรึกษาหารือบรรดาสาวกของท่านศาสดา ... 2. ตั้งลูกชายของตนเองเป็นผู้สืบตำแหน่งหน้าที่... 3. เขาอ้างว่าซิยาด ซึ่งเกิดจากหญิงแพศยาเป็นลูกของเขา...4. เขาสังหารฮิจร์ และพวกพ้องของเขา....”   

แต่จากการตรวจสอบเนื้อหาที่อัต-ตีญานีรวมถึงนักวิชาการชาวชีอะฮฺคนอื่นๆ ได้อ้างนั้น มีนักรายงานคนหนึ่งที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ชอบโกหก และอุปโลกน์เรื่องราวต่างๆ ขึ้นมาเอง นั้นคือ “อบูมิคนัฟ”  ดังที่ท่านยะหฺยา บินมะอีน ได้กล่าวถึงเขาไว้ว่า “เป็นผู้ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ” ท่านอบูหาติม ได้กล่าวว่า “หะดีษที่ถูกปฏิเสธ” และท่านอัด-ดาเราะกุฏนีได้กล่าวว่า “เฎาะอีฟ” ท่านอิบนุอะดีได้กล่าวว่า “เป็นชีอะฮฺ ผู้มีไฟ (แห่งความอิจฉาและสร้างความเสียหาย)” เป็นต้น   

อัต-ตีญานีได้กล่าวอีกว่า
“เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสปฏิบัติการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทำให้ข้าพเจ้าพบว่า บุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการสังหารท่านอุศมานคือสาวกของท่านศาสดานั่นเอง และท่านหญิงอาอีชะฮ์เป็นผู้นำการเรียกร้องให้กระทำการสังหารในทีสาธารณะโดยกล่าวว่า “จงฆ่านะซัล (คนโง่แก่นั้น) เพราะว่าเขาเป็นกาฟิร (ไม่ศรัทธา)” ยิ่งไปกว่านั้น นักประวัติศาสตร์ยังบอกเราอีกว่า พวกเขายังไม่ยอมให้ศพของท่านอุศมานถูกฝังในสุสานมุสลิมอีกด้วย และว่าในที่สุดเขาก็ถูกฝังที่ “ฮัชเกากับ”  โดยมิได้มีการอาบนำศพและห่อศพเลย”  (จากตารีคฏอบารี เล่ม 4 หน้า 407 และตารีค อิบนิอะษีร เล่ม 3 หน้า 206 และลิซานุลอาหรับ เล่ม 14 หน้า 193)”   

ในเรื่องนี้มีนักรายงานคนหนึ่งที่มีชื่อว่า “สัยฟฺ บินอุมัร อัต-ตะมีมี” เป็นนักประวัติศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ที่ถูกปฏิเสธเช่นเดียวกัน และเป็นที่รู้จักว่าเป็นจอมโกหก ดังที่ท่านอัน-นะสาอีได้กล่าวว่า “เป็นจอมโกหก” ท่านอิบนุหิบบานได้กล่าวว่า “รายงานเรื่องราวที่อุปโลกน์ขึ้นมาเอง และเป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกซินดิเกาะฮฺ (ผู้ปฏิเสธศรัทธา)”  
สำหรับเรื่องราวอื่นๆ ที่เป็นข้อพิสูจน์ว่าอัต-ตีญานีและนักวิชาการชาวชีอะฮฺคนอื่นๆ นั้นเป็นผู้ที่ขาดการตรวจสอบรายละเอียดในสายรายงานและข้อมูลอย่างรอบคอบ มีดังนี้
“จงถามข้าพเจ้าเถิด (ท่านอะลี)  ถามได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ได้สอนข้าพเจ้าประมาณ 1,000 ประตูแห่งความรู้ แต่ละประตูจะเปิดไปสู่ประตูแห่งความรู้อีก 1,000 ประตู (จากตารีคดิมัชก์ โดยอิบนิอะซากิร เล่ม 2 หน้า 484 )”      
“ ...(บทที่ 57 โองการที่ 16)  ในหนังสืออัดดูรุลมันซูร เขียนโดยยะลาลุดดีน อัซซะญีตี ผู้เขียนได้กล่าวว่า เมื่อบรรดาสาวกของท่านศาสดา มายังเมืองมะดีนะฮ์และประสบมาตรฐานการครองชีพที่สูงกว่าเดิม หลังจากได้รับความลำบากมานาน พวกเขาดูเหมือนว่ามีศรัทธาลดลง ดังนั้นพวกเขาจึงได้รับการลงโทษเพราะความศรัทธาที่ลดลงนั้น ดังนั้นอัลกุรฺอานจึงลงโองการมาว่า ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือที่บรรดาผู้ศรัทธา...ดังที่ได้กล่าวมา”      
“ประวัติศาสตร์ได้บันทึกทัศนคติอันก้าวร้าวของนาง (อาอีชะฮฺ) ที่มีต่อท่านอะลีไว้ อย่างที่ไม่สามารถอธิบายได้ ..นางทราบว่า ท่านอุศมานถูกสังหารทำให้นางดีใจมาก แต่เมื่อนางทราบว่าประชาชนเลือกท่านอิหม่ามอะลีเป็นคอลีฟะฮ์แทน นางรู้สึกโกรธเคืองมากและกล่าวว่า “ฉันอยากให้ท้องฟ้าพังลงมายังพื้นโลก ก่อนที่อะลีจะได้รับเลือกเป็นคอลีฟะฮ์เหลือเกิน..” และเมื่อนางทราบข่าวการตายของท่านอะลี นางได้สุหญูด (กราบ) ขอบคุณอัลลอฮ์ (ซบ.) ทันที (ฏอบารีและอิบนิอะซีร และนักประวัติศาสตร์ที่บันทึกเหตุการณ์ในปี ฮ.ศ.40)”     
“ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เคยกล่าวไว้ในโอกาสอื่น เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านอิมามอะลีว่า โอ้อะลี เจ้าจะต้องชี้แจ้งทางที่ถูกต้องแก่พวกเขา เมื่อพวกเขามีการแตกแยกกันหลังจากฉันจากไป (จากกันซุลอุมมาน เล่ม 5 หน้า 33 และตารีค ดิมัชก์ เล่ม 2 หน้า 488)”     
“ท่านศาสดากล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้อยู่ข้างหน้าของพวกเขา (อะฮฺลุลบัยตฺ) เพราะว่าพวกท่านจะได้รับอันตราย ท่านทั้งหลายอย่าห่างเหินจากพวกเขา เพราะว่าพวกท่านจะได้รับอันตราย และพวกท่านอย่าสอนพวกเขา เพราะพวกเขานั้นรู้มากกว่าพวกท่าน (จากหนังสืออัดดุรรุล มันซูร โดยอัซซะญูฏี เล่ม 2 หน้า 60 และกันซุลอุมมาน เล่ม 1 หน้า 168)”    
“พวกเขาตัดสินว่า มุอาวิยะฮ์เป็นสาวกที่ทรงคุณธรรมได้อย่างไร ในเมื่อเขาสังหารอิมามฮาซัน ผู้เป็นผู้นำแห่งคนหนุ่มชาวสวรรค์ ด้วยการวางยาพิษ    พวกเขาเหล่านั้นตัดสินว่า เขาเป็นนักวินิจฉัยได้อย่างไร ในเมื่อเขาเป็นผู้วางยาพิษท่าน  อิมามฮาซัน อิบนิอะลี หัวหน้าชายหนุ่มชาวสวรรค์”      

ผู้อ่านอาจจะมีคำถามว่า ถ้าอัต-ตีญานีได้อ้างข้อมูลข้างต้นนี้มาจากนักวิชาการชาวสุนนะฮฺจริง เช่นท่านอิบนุญะรีร อัฏ-เฏาะบะรีและอิบนุอะษีร เป็นต้น แล้วมันจะบ่งบอกว่านักวิชาการเหล่านั้นไม่มีความรอบคอบในความรู้หรือไม่ ? ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจคือ หนังสือประวัติศาสตร์ดังๆ ที่เป็นแหล่งอ้างอิงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ เช่น หนังสือตารีค อัฏ-เฏาะบะรี นั้น มักเป็นตำราที่มีวิธีการเรียบเรียงโดยพยายามรวบรวมสายรายงานอย่างมากมายและมีความหลากหลาย ซึ่งบางครั้งอาจไม่ต่อเนื่องกัน หรือบางครั้งก็ขัดแย้งกัน ซึ่งสิ่งใดก็ตามที่ผู้เรียบเรียงได้ยินได้ฟังหรือรับการรายงาน ท่านก็จะรวบรวมบรรจุไว้ในตำราเล่มนี้ทั้งหมด โดยมิได้พิจารณา จำแนก วิพากษ์หรือวิเคราะห์แต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นคลังข้อมูลดิบที่สำคัญยิ่งในการอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการและเป็นแม่บทหลักของตำราทางประวัติศาสตร์ ซึ่งด้วยกับวิธีการเรียบเรียงตำราดังข้างต้นนี้เอง จึงจำเป็นที่การอ้างอิงเนื้อหาใดๆ จากตำราเหล่านี้ ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โดยให้พิจาณาถึงสายรายงานของเรื่องราวนั้นก่อนว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด


ขาดการคัดกรองตำราและผู้เรียบเรียงที่นำมาใช้ในการอ้างอิง
มีเรื่องราวมากมายที่อัต-ตีญานีอ้างอิงจากหนังสือ “ตารีคุลคุละฟาอ์” หรือ “อัล-อิมามะฮฺ วัส-สิยาสะฮฺ”  โดยอิบนุกุตัยบะฮฺ, “มุรูญุซ-ซะฮับ” โดยอัล-มัสอูดี และอื่นๆ ซึ่งตำราเหล่านี้ล้วนไม่มีความน่าเชื่อถือใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นตำราที่ถูกเรียบเรียงโดยนักรายงานที่ถูกนักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ โกหก และบางเรื่องราวก็เป็นสิ่งที่ผู้เรียบเรียงอุปโลกน์ขึ้นมาเอง ดังนี้
    อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“.. ท่านอบูบักรมีเจตนาทำร้ายจิตใจท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ และปฏิเสธการโต้แย้งของนาง เพื่อนางจะได้ไม่สามารถคัดค้านเขาเกี่ยวกับสิทธิอันชอบธรรมตามหลักการศาสนาของสามีของนางในการรับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ ณ แผ่นดินฆอดีรคุม มีเครื่องชี้วัดอยู่หลายประการ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้... ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ได้เวียนไปพอปะกับที่ชุมนุมของชาวอันศอร เพื่อขอความร่วมมือให้พวกเขาสนับสนุนสามีของนาง.. (ตารีคคุลคุลาฟาอ์ โดยอิบนิกุตัยบะฮ์ เล่ม 1 หน้า 19)”   
“ทำไมเขาจึงไม่กลัวอัลลอฮ์ (ซบ.) เมื่อเขาขู่ที่จะเผาบ้านท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ และกล่าวว่า ถ้าผู้ใดไม่ยอมให้สัตยาบันและเข้าร่วมสนับสนุนท่านอบูบักร ในการเข้ารับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ที่ได้รับเลือกมา และไม่ออกจากบ้านแล้ว เขาก็จะเผาบ้านเสีย (จากหนังสืออัลอิมามะฮ์ วัซซิยาซะฮ์ โดยอิบนุกุตัยบะฮ์)”    
“...เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าขอปฏิญาณต่ออัลลอฮ์และมะลาอิกะฮ์ว่า ท่านได้ทำให้ข้าพเจ้าโกรธและไม่ทำให้ข้าพเจ้าพอใจเลย และถ้าข้าพเจ้าพบกับท่านศาสดา ข้าพเจ้าก็จะแจ้งให้ท่านทราบเกี่ยวกับท่านทั้งสอง (จากอัลอิมามะฮ์ วัซซิยาซะฮ์ โดยอิบนุกุตัยบะฮ์ เล่ม 1 หน้า 20 และหนังสือฟะดัก ฟิตตารีค  หน้า 92)”    


ไม่มีการรวบรวมตัวบทหลักฐานและสายรายงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
    การรวบรวมเรื่องราวและสายรายงานต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องนั้น ถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องและสำคัญประการหนึ่งที่จะได้มาซึ่งความเข้าใจในเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างกระจ่างชัด   แต่อัต-ตีญานีกลับไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้  ซึ่งเขาได้กล่าวว่า
“...ท่านคอลีฟะฮ์อุศมานที่เปลี่ยนแปลงวจนะเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการนมาซ...ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ทำนมาซสองรอกะอัต โดยมีท่านอบูบักรอยู่เบื้องหลัง จากนั้นก็เป็นท่านอุมัรและท่านอุศมาน ซึ่งในเวลาต่อมาได้กระทำนมาซสี่รอกะอัต (ซอเฮียะฮ์บุคอรี..มุสลิม...)  อัซซุฮรีถามอุรวะฮ์ว่า ทำไมอาอีชะฮ์ จึงนมาซเต็ม (ไม่ย่อ) ในระหว่างเดินทาง เขาตอบว่า นางดัดแปลงการนมาซทำนองเดียวกับท่านอุศมานกระทำ (ซอเฮียะฮ์มุสลิม)”    

ทั้งๆ ที่มีตัวบทที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้อย่างมากมาย ดังนี้
มีรายงานจากท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า
«صَلَّيْتُ مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِمِنًى رَكْعَتَيْنِ وَأَبِي بَكْرٍ وَعُمَرَ وَمَعَ عُثْمَانَ صَدْرًا مِنْ إِمَارَتِهِ ثُمَّ أَتَمَّهَا»
ความว่า “ฉันได้ละหมาดกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม 2 ร็อกอะฮฺที่แผ่นดินมินา แล้วท่านอบูบักรฺ ท่านอุมัรและท่านอุษมานก็ทำเช่นนี้ในตอนแรกของการปกครองของท่าน แล้วต่อมาท่านก็ละหมาดเต็ม”  

มีรายงานจากท่านอุรวะฮฺ ได้เล่าว่า ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า
«الصَّلَاةُ أَوَّلُ مَا فُرِضَتْ رَكْعَتَيْنِ فَأُقِرَّتْ صَلَاةُ السَّفَرِ وَأُتِمَّتْ صَلَاةُ الْحَضَرِ قَالَ الزُّهْرِيُّ فَقُلْتُ لِعُرْوَةَ مَا بَالُ عَائِشَةَ تُتِمُّ قَالَ تَأَوَّلَتْ مَا تَأَوَّلَ عُثْمَانُ»
ความว่า “แต่เดิมนั้นการละหมาดได้ถูกกำหนดเพียง 2 ร็อกอะฮฺเท่านั้น การละหมาดเดินทางจึงคงเป็นอยู่เช่นนั้น แต่การละหมาดที่บ้านนั้นให้ทำเต็ม (4 ร็อกอะฮฺ) ท่านอัซ-ซุฮฺรีจึงกล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอุรวะฮฺว่า ทำไมท่านหญิงอาอิชะฮฺจึงละหมาดเวลาเดินทางจนครบ เขาพูดว่า เพราะเธอได้ตีความหมายเรื่องนี้อย่างที่ท่านอุษมานได้ตีความหมายไว้”   

มีรายงานจากท่านอัซ-ซุฮฺรี ได้เล่าว่า
«أَنَّ عُثْمَانَ بْنَ عَفَّانَ أَتَمَّ الصَّلاَةَ بِمِنًى مِنْ أَجْلِ الأَعْرَابِ لأَنَّهُمْ كَثُرُوا عَامَئِذٍ فَصَلَّى بِالنَّاسِ أَرْبَعًا لِيُعْلِمَهُمْ أَنَّ الصَّلاَةَ أَرْبَعٌ»
ความว่า “แท้จริงท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ได้ทำการละหมาดเต็ม (ไม่ได้ย่อ) ณ ที่แผ่นดินมินา ให้ชาวอาหรับชนบท  (ได้รับรู้)  เนื่องจากในปีนั้นพวกเขามีจำนวนมากมาย ดังนั้น (ท่านอุษมาน)  จึงละหมาดนำผู้คนด้วย 4 ร็อกอะฮฺ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้พวกเขาได้รับรู้ว่าการละหมาดนั้นมี 4 ร็อกอะฮฺ”   

และมีรายงานจากท่านฮิชาม บินอุรวะฮฺ จากบิดาของท่าน จากท่านหญิงอาอีชะฮฺ เราะฎิยัลลฮุอันฮา
«أَنَّهَا كَانَتْ تُصَلِّى فِى السَّفَرِ أَرْبَعًا فَقُلْتُ لَهَا لَوْ صَلَّيْتِ رَكْعَتَيْنِ فَقَالَتْ يَا ابْنَ أُخْتِى إِنَّهُ لاَ يَشُقُّ عَلَىَّ»
ความว่า “ปรากฏว่าท่านหญิงได้ละหมาดในเวลาเดินทาง 4 ร็อกอะฮฺ ฉันจึงได้กล่าวแก่ท่านหญิงว่า หากว่าท่านหญิงได้ละหมาด 2 ร็อกอะฮฺล่ะ ? ท่านหญิงจึงกล่าวว่า โอ้ลูกของน้องสาวของฉัน แท้จริงมัน (การละหมาดด้วย 4 ร็อกอะฮฺ)  ไม่ได้เป็นภาระแก่ฉันเลย”    

สังเกตได้ว่า หลักฐานข้างต้นทั้งหมดนั้นมีผลต่อความเข้าใจในประเด็นนี้เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากไม่มีการรวบรวมตัวบทที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็จะทำให้มีความเข้าใจว่าท่านอุษมาน บินอัฟฟานและท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงวจนะเกี่ยวกับการละหมาด ดังที่อัต-ตีญานีได้กล่าวอ้างไว้ ซึ่งจากการรวบรวมตัวบทหลักฐานปรากฏข้อเท็จจริงว่า การที่ท่านอุษมาน บินอัฟฟานได้ละหมาด 4 ร็อกอะฮฺนั้นก็เพื่อให้ผู้คนโดยเฉพาะชาวอาหรับชนบทได้รับรู้ว่าการละหมาดนั้นมี 4 ร็อกอะฮฺ และอีกเหตุผลหนึ่งคือท่านได้มาแต่งงานที่นครมักกะฮฺและมาอยู่ที่นั่น ส่วนท่านหญิงอาอิชะฮฺนั้นเห็นว่าการละหมาดเต็มไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไรต่อท่านและท่านหญิงได้เดินทางมาที่นครมักกะฮฺจริง แต่เป็นบ้านเดิมของท่านหญิง ซึ่งท่านหญิงไม่ถือว่าเมื่อถึงนครมักกะฮฺยังเป็นผู้เดินทางอยู่ และประเด็นสุดท้ายคือ การละหมาดย่อในขณะที่เดินทางนั้น ก็เป็นข้ออนุญาตที่สามารถเลือกที่จะทำได้เพียงเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อบังคับแม้แต่อย่างใด     


ใช้ความคิดและความเข้าใจของตนเป็นหลักในการวิเคราะห์โดยไม่ยึดมั่นในคำอธิบายของบรรดานักวิชาการผู้เป็นที่ยอมรับได้
อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“ ...(บทที่ 9 โองการที่ 38-39) โองการแห่งอัลกุรฺอานนี้ เป็นที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับการไม่อยากออกไปทำสงครามของบรรดาสาวกของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และพวกเขาพอใจที่จะเลือกเอาความพอใจในโลกนี้...ทำให้เกิดการตำหนิติเตียนจากอัลลอฮ์ (ซบ.)  ...มีหลายตอนในอัลกุรฺอานซึ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พวกเขาอิดเอื้อนที่จะออกไปต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ (ซบ.)  มากกว่าครั้งหนึ่ง อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงกล่าวว่า... (บทที่ 47 โองการที่ 38)  อัลลอฮฺทรงตรัสอีกว่า... (บทที่ 5 โองการที่ 54)”   

ทั้งๆ ที่อายะฮฺข้างต้นมีนัยเพื่อกระตุ้นให้บรรดาผู้ศรัทธาจากบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทำสงครามตะบูกเพื่อสู้รบกับอาณาจักรโรมัน   ถึงแม้ว่าอายะฮฺนี้มีการติเตียนบรรดาผู้ที่อิดเอื้อนที่จะออกไปสู้รบในหนทางของอัลลอฮฺด้วยการทำสงครามตะบูก แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้บ่งชี้ว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺนั้นมีสภาพที่อิดเอื้อนในคำเรียกร้องดังกล่าวทั้งหมด เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมสงครามในครั้งนั้นมีเพียงแค่ 3 ท่านเท่านั้นคือ ท่านกะอฺบ์ บินมาลิก, ท่านฮิลาล บินอุมัยยะฮฺ, และท่านมุรอเราะฮฺ บินอัรเราะบีอฺ ซึ่งภายหลังจากนั้นอัลลอฮฺก็ทรงให้อภัยโทษแก่พวกเขาแล้ว    

ใช่แต่เท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่อัต-ตีญานีได้ใช้ความคิดและความเข้าใจของตนเป็นหลักในการวิเคราะห์โดยไม่ยึดมั่นในคำอธิบายของบรรดานักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับได้ เช่น
อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“โองการเกี่ยวกับการหันหลังกลับ (การละทิ้งศาสนา)  อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง ทรงกล่าวไว้ในอัลกุรฺอานว่า... (บทที่ 34 โองการที่ 144) โองการแห่งอัลกุรฺอานนี้เป็นที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับบรรดาสาวกของท่านศาสดาที่จะหันส้นเท้าของเขากลับ (ละทิ้งศาสนา)  และมีส่วนน้อยที่จะยืนหยัด (ยืดถือศาสนา) ต่อไป”     

    ในความเป็นจริงท่านอัฏ-เฏาะบะรี ท่านอิบนุลก็อยยิม และท่านสัยยิดกุฏุบ ได้อธิบายอายะฮฺนี้ว่า เป็นการกล่าวสำทับความรู้สึกของบรรดาเศาะหาบะฮฺที่เกิดขึ้นในจิตใจในการทำสงครามอุหุด ขณะมีผู้ร้องตะโกนออกมาว่าท่านนบีมุฮัมมัดถูกสังหารแล้ว ทำให้มุสลิมบางคนรู้สึกหมดหวังไม่อยากที่จะต่อสู้กับพวกมุชริกีนอีกต่อไป โดยเข้าใจว่าเมื่อท่านนบีมุฮัมมัดเสียชีวิตลงก็เป็นอันว่าสิ้นสุดศาสนานี้ จากเหตุการณ์ดังกล่าวอัลลอฮฺประสงค์ที่จะผูกโยงมุสลิมเข้ากับอิสลามโดยตรง คล้ายกับว่าเป็นการทำสัญญาระหว่างพวกเขากับอัลลอฮฺโดยตรง พระองค์ทรงประสงค์ที่จะให้มุสลิมรับผิดชอบต่อสัญญาที่ให้ไว้ต่ออัลลอฮฺโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสื่อ จนกระทั่งพวกเขาเองรู้สึกว่าการตามของพวกเขาเป็นการตามโดยตรง การอยู่หรือการถูกฆ่าของท่านเราะสูลุลลอฮฺ จะไม่มีผลใดๆ ต่อพวกเขา แต่การปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามของพวกเขาเป็นการปฏิญาณตนต่ออัลลอฮฺโดยตรง ซึ่งพวกเขาจะรับผิดชอบสัญญาทั้งหมดต่ออัลลอฮฺ ดังกล่าวนี้บ่งชี้ว่าไม่ใช่เป็นโองการเกี่ยวกับบรรดาสาวกของท่านนบีที่จะหันส้นเท้าของเขากลับไปละทิ้งศาสนา ซึ่งมีส่วนน้อยที่จะยืนหยัดในศาสนาต่อไป ดังที่อัต-ตีญานีได้กล่าวอ้างและเข้าใจแม้แต่อย่างใด

อัต-ตีญานีได้กล่าวอีกว่า
“นอกจากนั้นโองการอันบริสุทธิ์ของอัลกุรฺอาน (อายะฮฺ อัตตัฏฮีร)  ก็เป็นเครื่องชี้อันชัดแจ้งอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับความไม่ผิดพลาดของนาง เป็นการเปิดเผยถึงเกียรติของนาง ของสามีนางและบุตรของนางด้วย... (จากซอเฮียะฮ์มุสลิม เล่ม 7 หน้า 121 และ 130)”     

แต่หลังจากที่ได้ศึกษาอย่างละเอียดกับพบว่า  “อายะฮฺอัต-ตัฏฮีร” ไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงสภาพของความไร้บาป (มะอฺศูม) ตามที่อัต-ตีญานีเข้าใจแม้แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นคำกล่าวที่อัลลอฮฺประสงค์ที่จะขจัดความไม่ดีงามออกและขัดเกลาพวกเขาให้บริสุทธิ์เท่านั้น ซึ่งหากอายะฮฺดังกล่าวบ่งชี้ถึงสภาพความไร้บาปตามที่กล่าวอ้างจริงๆ ก็จะเกิดข้อขัดแย้งกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เนื่องจากพบว่า ท่านอลี บินอบีฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ก็เคยทำข้อผิดพลาดเหมือนมนุษย์ทั่วไป แต่ความผิดพลาดของพวกท่านเหล่านั้น ชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺไม่ได้นำมาเป็นข้ออ้างเพื่อที่จะตำหนิติเตียนหรือประณามแม้แต่อย่างใด ในทางกลับกันต่างพากันวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้ทรงอภัยโทษและพึงพอใจต่อท่าน สำหรับความผิดพลาดที่ท่านอลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เคยทำนั้น เช่น ท่านเคยลงโทษชนกลุ่มหนึ่งด้วยกับการเผาไฟ ทั้งๆ ที่ท่านนบีได้ห้ามลงโทษด้วยกับสิ่งที่อัลลอฮฺใช้ในการลงโทษ (ด้วยกับไฟ)     ประการต่อมา “อายะฮฺอัต-ตัฏฮีร” ไม่ได้จำกัดเฉพาะบุคคลทั้งสี่ท่านเท่านั้นแต่ยังหมายรวมถึงบรรดาภรรยานบีทุกนางอีกด้วย เนื่องจากอายะฮฺดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสูเราะฮฺอัล-อะฮฺซาบ อายะฮฺที่ 33 ทั้งยังมีอายะฮฺอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและรวมเป็นกลุ่มเดียวกันนับจากอายะฮฺที่ 28 จนถึง 34


การกล่าวเท็จและให้ร้ายแก่นักวิชาการและชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ
    อัต-ตีญานีได้กล่าวว่า
“...คุณเคยอ่านตัฟซีร (คำอรรถาธิบาย)  อัลกุรฺอานโองการต่อไปนี้บ้างหรือยัง...  (บทที่ 33:โองการที่ 56) นักอรรถาธิบายอัลกุรฺอานทั้งหลายทั้งฝ่ายชีอะฮ์และฝ่ายซุนนีเห็นพ้องต้องกันว่า บรรดาสาวกได้มาหาท่านศาสดามุฮัมมัดและกล่าวว่า “โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ เรารู้วิธีการขอความสันติให้แก่ท่าน แต่เราไม่รู้วิธีการขอพรให้แก่ท่าน” ท่านศาสดามุฮัมมัดตอบว่า  “จงกล่าวว่า ขออัลลอฮ์ทรงประทานพรให้มุฮัมมัดและลูกหลานของท่าน อย่างที่พระองค์ทรงประทานพรให้ศาสดาอิบรอฮีมและลูกหลานของอิบรอฮีมในโลกนี้ เพราะพระองค์นั้นทรงถูกยกย่องและทรงถูกสรรเสริญ และอย่าขอความสันติให้แก่ข้าพเจ้าด้วย การอำนวยพรแบบด้วน (ซอลาตุลบัตรอฮ์)” บรรดาสาวกจึงถามว่า “โอ้ ท่านศาสดามุฮัมมัด การอำนวยพรแบบด้วนคืออะไร?”  ท่านตอบว่า “คือการที่พวกท่านกล่าวว่า โอ้ อัลลอฮ์โปรดประทานพรให้มุฮัมมัดเท่านั้น แล้วหยุดเสียโดยไม่ขอพรให้ลูกหลานท่านศาสดามุฮัมมัดด้วย เพราะพระองค์ทรงสมบูรณ์พร้อมและทรงรับแต่ความสมบูรณ์เท่านั้น”   

อัลลอฮุอักบัร !  ถือเป็นคำกล่าวที่น่าเกลียดยิ่งที่ออกจากปากของอัต-ตีญานี เพราะจากการศึกษาและค้นหาหะดีษตัวบทนี้ในบรรดาตำราอรรถาธิบาย ไม่ปรากฏว่ามีนักอรรถาธิบายอัลกุรอานชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ แม้แต่ท่านเดียวที่ระบุหะดีษด้วยสำนวนที่อัต-ตีญานีได้กล่าวไว้เลย เช่น ตัฟสีร อัฏ-เฏาะบะรี, ตัฟสีรอิบนุกะษีร, ตัฟสีรมะอาลิม อัต-ตันซีล เป็นต้น    ในทางกลับกันปรากฏว่าหะดีษที่เศาะฮีหฺนั้นเริ่มตั้งแต่ “โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ เรารู้วิธีการขอความสันติให้แก่ท่าน” ถึง “เพราะพระองค์นั้นทรงถูกยกย่องและทรงถูกสรรเสริญ”  เท่านั้น    ซึ่งสำนวนของการอำนวยพรแบบด้วน (เศาะลาตุลบัตรอฮฺ) นั้นมาจากการอุปโลกน์ของอัต-ตีญานีโดยสิ้นเชิง   
อัต-ตีญานีกล่าวถึงท่านอิมามอะลี บินอบีฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
“ท่านอิมามอะลีเป็นผู้ที่มีความรู้มากที่สุด และเป็นผู้ที่กล้าหาญที่สุดซึ่งประชาชาติทั้งมวลยอมรับแล้ว”  
ถ้าอัต-ติญานีหมายถึงประชาชาติมุสลิมชาวอะฮฺลุสสุนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺด้วยนั้น ก็ถือเป็นการกล่าวเท็จโดยสิ้นเชิง เนื่องจากไม่มีหลักฐานบทใดที่บ่งชี้ว่าชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺนั้นได้ยอมรับในเรื่องนี้     
    ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่อัต-ตีญานีได้กล่าวเท็จและให้ร้ายแก่นักวิชาการและชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ ดังนี้
“คุณไม่รู้หรือว่าท่านอิมามอบูฮะนีฟะฮ์นั้น เรียนหนังสือกับท่านอิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก และท่านได้กล่าวไว้ว่า ถ้ามาตรแม้นไม่มีสองปีนั้นแล้ว อันนุอ์มาน (คือคำหน้าท่านอบูฮะนีฟะฮ์)  คงสูญสลายไปแล้ว”     
“แต่การเรียกร้องต่อวะลีย์หรือบรรดาอิมามด้วยความเข้าใจว่า พวกเขาจะเป็นสื่อกลางไปยังอัลลอฮ์ (ซบ.) นั้น มิได้เป็นการตั้งภาคีแต่ประการใด มุสลิมทั้งหลายทั้งซุนนีและชีอะฮ์เห็นชอบในแง่นี้ มาตั้งแต่สมัยท่านศาสาดามุฮัมมัดมาแล้ว จนกระทั่งทุกวันนี้”      
“ไม่เหมือนผู้นำศาสนาของพวกเรา ซึ่งพวกเราจะไม่ทำหรือพูดอะไรเลย ถ้ารัฐบาลไม่เห็นชอบและยอมรับรองก่อน เพราะรัฐบาลเหล่านั้นจ่ายเงินเดือนให้เขา แต่งตั้งและถอดถอนเขาตามที่เขาต้องการ”      
“ในขณะที่เราชาวซุนนีเชื่อถือในความไม่ผิดพลาดของท่าน (นบีมุหัมมัด) เฉพาะในการรับวิงวรณ์โองการอัลกุรอานเท่านั้น”      

 


ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาหนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ” มีประเด็นที่น่าสนใจ และควรนำมาสรุปและเสนอแนะดังนี้
1.    การอ้างอิงหลักฐานเป็นการพยายามแสดงถึงหลักฐานเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้อ่านว่าผู้เขียนนั้นได้ศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดีจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้และสามารถบอกระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล ซึ่งเกณฑ์การอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการอิสลามนั้นได้มีระเบียบวิธีการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อนำมาซึ่งความถูกต้อง สมบูรณ์ของข้อมูล และเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจในการยึดมั่น และศรัทธาในประเด็นต่างๆ ที่อยู่บนพื้นฐานของศาสนาอันบริสุทธิ์ ทางนำอันเที่ยงตรงและแท้จริงของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอะลา    
2.    หนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าได้รับทางนำ” ของดร. มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี นั้นเป็นหนังสือที่มีวิธีการอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการที่ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์การอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการอิสลามอย่างมากมาย จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องหลีกเลี่ยงจากการศึกษาและบริโภคข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏในหนังสือเล่มดังกล่าว
3.    ดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี เป็นนักเขียนที่มีความพยายามสร้างอุบายหลอกลวงแก่ผู้คนที่ศึกษาในงานเขียน ให้หลงตามตัวเขา เป็นผู้ที่ขาดความชำนาญในการนำเสนอ อ้างอิง และวิเคราะห์ข้อมูล มีความพยายามที่จะปิดบังในสัจธรรมและปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ
4.    ประเด็นและหลักฐานต่างๆ ที่ ดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี ได้นำเสนอเพื่อเป็นสิ่งที่นำมายืนยันถึงสัจธรรมที่เขาและชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺได้ยึดถืออยู่นั้นเป็นประเด็นและหลักฐานเดียวกันกับที่ชาวชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือชาวชีอะฮฺโดยทั่วไปมักนำมาใช้ในการสนับสนุนแนวคิดและหลักความเชื่อของตน ซึ่งอาจเป็นการเผยแพร่ในรูปแบบของการบรรยาย การพูดคุย และงานเขียนต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจรรโลงใจให้ผู้คนโดยเฉพาะพี่น้องมุสลิมผู้ที่มีจิตใจงดงามได้หลงใหลในแนวคิดและหลักความเชื่อของพวกเขา
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอปิดด้วยพระดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ว่า
﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ فَرَّقُواْ دِينَهُمۡ وَكَانُواْ شِيَعٗا لَّسۡتَ مِنۡهُمۡ فِي شَيۡءٍۚ إِنَّمَآ أَمۡرُهُمۡ إِلَى ٱللَّهِ ثُمَّ يُنَبِّئُهُم بِمَا كَانُواْ يَفۡعَلُونَ ١٥٩ ﴾ [الانعام: ١٥٩]  
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่แบ่งแยกศาสนาของพวกเขา และพวกเขาได้กลายเป็นนิกายต่าง ๆ นั้นเจ้า (มุฮัมมัด)  หาใช่อยู่ในพวกเขาแต่อย่างใดไม่ แท้จริงเรื่องราวของพวกเขานั้นย่อมไปสู่อัลลอฮฺแล้วพระองค์จะทรงแจ้งแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน”    

    

การสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ขอการสดุดีแห่งอัลลอฮฺและความสันติสุขจงมีแด่ท่านศาสนทูตของพระองค์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ผู้เป็นนบีของเรา ผู้นำของเรา นั้นคือมุฮัมมัด บินอับดุลลอฮฺ และบรรดาเครือญาติ ตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน และแด่ผู้ที่เจริญรอยตามพวกท่านด้วยกับความดีงามจึงถึงวันกิยามะฮฺ อามีน


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการศึกษาและค้นหาสัจธรรมที่แท้จริง

หนังสือ
ความเชื่อบางประการของชีอะฮฺ โดย อับดุลลอฮฺ บินมุฮัมมัด อัส-สะละฟีย์(http://www.islamhouse.com/p/261561)
หลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรม โดยสุลัยมาน บินศอลิหฺ อัล-ค็อรรอชีย์ (http://www.islamhouse.com/p/285630)

เว็บไซต์
เว็บไซต์สมาพันธ์เครือข่ายผู้รักอะฮฺลุลบัยตฺและศ่อฮาบะฮฺ (www.right-shiah.net)
เว็บไซต์เพื่อการปกป้องภรรยานบีและเศาะหาบะฮฺ (http://www.sunnahcyber.com/)
เว็บไซต์อิสลามเฮาส์ (http://www.islamhouse.com)
เว็บไซต์อิสลามอินไทยแลนด์ (http://islaminthailand.org/)

 

บรรณานุกรม

1.    คอลิด อัล-อัสเกาะลานี. 1424. บัลเฎาะลัลตะ... [ม.ป.ท] : ดารุลมุหัดดิษีน.
2.    เคาะลีฟะฮฺ บินคิยาฏ. 1397. ตารีคเคาะลีฟะฮฺ อิบนุคิยาฏ. เบรุต : มุอัสสะสะฮฺอัรริสาละฮฺ.
3.    ฏอริก อัล-อัสก็อร. 1422. อิลมุอัสบาบิ วุรูดิลหะดีษ. [ม.ป.ท.] : ดารุลอิบนุหัซมฺ.
4.    นาศิร บินอับดุลลอฮฺ บินอะลี อัล-เกาะฟารี. [ม.ป.ป.]. “อุศูลมัซฮับ อัช-ชีอะฮฺ อัล-อิมามิยะฮฺ อัล-อิษนัย อัล-อะชะริยะฮฺ...”. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอัล-อิมามมุฮัมมัด บินสุอูด อัล-อิสลามียะฮฺ. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.].
5.    นูรุดดีน อิตรฺ. 1416.อุลูมิลกุรอานิลกะรีม. ดิมัชกฺ : มัฏบะอะฮฺ อัศ-เศาะบาหฺ.
6.    บักรฺ บินอับดุลลอฮฺ อบูซัยดฺ. 1418. อัต-ตะอาลิม วะอะษารุฮุ อะลัลฟิกรฺ วัล-กิตาบ. ซาอุดีอารเบีย : ดารุลอาศิมะฮฺ.
7.    มะนาอฺ อัล-ก็อฏฏอน. 1421. มะบาหิษ ฟีอุลูมิลกุรฺอาน. ริยาด : มักตะบะฮฺ อัล-มะอาริฟ.
8.    มะหฺมูด อัฏ-เฏาะหาน. 1425. อัล-มันฮะญุลหะดีษ ฟีมุศเฏาะละหิลหะดีษ. ริยาด : มักตะบะฮฺ อัล-มะอาริฟ.
9.    มาลิก บินอะนัส. 1413. มุวัฏเฎาะ มาลิก ริวายะฮฺ มุฮัมมัด  บินอัล-หะสัน. จำนวน 3 เล่ม. ดิมัชกฺ : ดารุลเกาะลัม.   
10.    มุสลิม. [ม.ป.ป.]. อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฮีหฺ อัล-มุสัมมะ เศาะฮีหฺมุสลิม.  จำนวน 8 เล่ม เบรุต : ดารุลญัยลฺ.
11.    มุฮัมมัด สาลิม อัล-คิฎรฺ. 1428. ษุมมะอับศ็อรตุลหะกีเกาะฮฺ. คูเวต : ชับฺกะฮฺ อันศอร อะฮฺลุลบัยตฺ.
12.    มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮฺฮาบ. 1347. มะสาอิล อัล-ญาฮิลียะฮฺ. ไคโร :  อัส-สะละฟียะฮฺ.
13.    มุฮัมมัด เราะอฺฟัต สะอีด. [ม.ป.ป.]. อัสบาบุวุรูดิลหะดีษ ตะหฺลีล วะตะสีสฺ.[ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.].
14.    มุฮัมมัด อบูล-ลัยษฺ อัล-คอยร์ อาบาดี. 1426. อุลูมุลหะดีษ อะศีลุฮา วะมะอาศิรุฮา. มาเลเซีย : ดารุชชากิร.
15.    มุฮัมมัด กุฏุบ. 1412, กัยฟะนักฺตุบ อัต-ตารีคฺ อัล-อิสลาม. เบรุต : ดารุชฺชุรูก.
16.    มุฮัมมัด อัล-บัฆดาดี. [ม.ป.ป]. อัน-นาสิค วัล-มันสูค. จอร์แดน: ดารุลอัดวี.
17.    มุฮัมมัด บินลุฏฟี อัศ-เศาะบาฆฺ. 1418. อัล-หะดีษ อัน-นะบะวี. เบรุต : อัล-มักตับ อัล-อิสลามี.
18.    มุฮัมมัด บินศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน. 1420. กิตาบอัล-อิลมฺ. ซาอุดีอารเบีย : ดารุษษุรยา.
19.    มุฮัมมัด บินศอมัด อัส-สุลละมี. [ม.ป.ป.]. มะสาอิล ฟี มันฮัจญ์ ดิรอสะ อัส-สีเราะฮฺ อัน-นะบะวียะฮฺ. [ม.ป.ท.] : ดารุล-อิบนุเญาซี.
20.    มุฮัมมัด มาลิลลาฮฺ. 1402. อัช-ชีอะฮฺ วัต-ตะหฺรีฟิลกุรฺอาน. เบรุต : ดารุสสูอี อัลอิสลามี.
21.    มุฮัมมัด อับดุรฺเราะหฺมาน อัส-สัยฟฺ. [ม.ป.ป.]. อัลกุรอาน วัต-ตะหฺรีฟ. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.]
22.    ยูสุฟ อัล-เกาะเราะฎอวี. 1421. กัยฟะนะตะอามัลมะอัลกุรอาน. เลบานอน : มุอัสสะสะฮฺ อัรริสาละฮฺ.  
23.    วะลีด บินหะสัน อัล-อานี. 1418. มันฮัจญฺ ดิรอสะฮฺ อัล-อะสานีด วัล-หุกมุอะลัยฮา.จอร์แดน : ดารุนนะฟาอิส.
24.    ศุบหีย์ อัศ-ศอลิหฺ. 1988. มะบาหิษ ฟีอุลูมิลกุรฺอาน. เลบานอน : ดารุลอิลมฺ อัล-มะลายีน.
25.    หะสัน มุฮัมมัด มักบูลี อัล-อะฮฺดัล. 1410. มุศเฏาะละหุลหะดีษ วะริญาลิฮิ. เยเมน : มักตะบะฮฺ อัล-ญัยลุลญะดีด.
26.    อบูนุอัยม์ อัล-อัศบะฮานี. [ม.ป.ป.]. หิลยะฮฺ อัล-เอาลิยาอ์ วะเฏาะบะกอต อัล-อัศฟิยาอ์. เลบานอน : ดารุลกุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ
27.    หัมดฺ บินอับดุลลอฮฺ บินอิบรอฮีม อัล-หุมัยดี.1421. อัล-อิบานะฮฺ ลิมาลิศเศาะหาบะฮฺ มินัลมันซิละฮฺ วัล-มะกานะฮฺ. ริยาด : ดารุลกอสิม.  
28.    อบูหาติม อัร-รอซี. 1271. อัล-ญัรหุ วัต-ตัอฺดีล. จำนวน 9 เล่ม. เบรุต : ดารุลอิหฺยาอุตตุรอษ อัล-อะเราะบี.
29.    อบีดาวุด. [ม.ป.ป.]. สุนันอบีดาวุด. จำนวน 4 เล่ม. เบรุต : ดารุลกิตาบ อัลอะเราะบี.  
30.    อะหฺมัด บินหัมบัล. 1420. ฟะฎออิล อัศ-เศาะหาบะฮฺ. ซาอุดีอารเบีย : ดารอิบนุลเญาซี.
31.    อะหฺมัด บินหัมบัล. [ม.ป.ป.]. มุสนัดอะหฺมัด บินหัมบัล. จำนวน 6 เล่ม. ไคโร : มุอัสสะสะฮฺ กุรฏุบะฮฺ.
32.    อะลี มุฮัมมัด มุฮัมมัด อัศ-ศ็อลลาบี. [ม.ป.ป.]. อัสมัล-มะฏอลิบ ฟีสีเราะฮฺ อะมีรรุลมุอฺมินีน อะลี อิบนุอบีฏอลิบ. อิสกันดะรียะฮฺ : ดารุลอีหม่าน.
33.    อะลี อัส-สาลูส. 1424. มะอัชชีอะฮฺ อัล-อิษนัยอะชะริยะฮฺ ฟิลอุศูล วัล-ฟุรูอฺ. อิยิปต์ : มักตะบะฮฺ ดารุลกุรอาน.
34.    อะฮฺมัด บินอับดุรฺเราะฮฺมาน อัศ-ศุวัยยาน. [ม.ป.ป.].  มันฮัจญ์ อัต-ตะลักกี วัล-อิสติดลาลฺ บัยนะอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-มุบฺตะดิอะฮฺ. อัล-มุนตะดา อัล-อิสลามี. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.].
35.    อะฮฺมัด บินอับดุรฺเราะฮฺมาน อัศ-ศุวัยยาน. 1421. นะหฺวุน มันฮัจญ์ ชัรอี ฟีตะลักกี อัล-อัคบารฺ วะริวายะติฮา. ริยาด:ดารุส-สะลีม.
36.    อิบรอฮีม บินอามิร อัร-รุหัยลี. 1423. อัล-อินติศอร ลิศศุหฺบิวัล-อาลิ มินอิฟติรออาตฺ อัส-สะมะวี อัฎ-ฎอล อัร-ร็อดดุอะลัยฮฺ ฟีกิตาบิฮิ ษุมมะฮฺตะดัยตุ. [ม.ป.ท.] มักตะบะฮฺ อัล-อุลูมวัลหิกัม.
37.    อิบนุกะษีร. [ม.ป.ป.]. อัล-บิดายะฮฺ วัน-นิฮายะฮฺ. จำนวน 14 เล่ม. เบรุต : มักตะบะฮฺ อัล-มะอาริฟ.
38.    อิบนุกะษีร. 1420. ตัฟสีร อัลกุรอาน อัล-อะซีม. [ม.ป.ท.] : ดารุล ฎ็อยยิบะฮฺ.
39.    อิบนุก็อยยิม. [ม.ป.ป.]. เฏาะรีกุลฮิจญฺเราะตัยน์ วะบาบุสสะอาดะตัยนฺ. อัด-ดะมาม : ดารอิบนุล ก็อยยิม.
40.    อิบนุหิบบาน. [ม.ป.ป.]. อัล-มัจญฺรูหีน. จำนวน 3 เล่ม. หัลบฺ. ดารุลวะอี.
41.    อิบนุมาญะฮฺ. [ม.ป.ป.]. สุนันอิบนุมาญะฮฺ. จำนวน 2 เล่ม.  เบรุต : ดารุลฟิกร.
42.    อิบนุหิบบาน. 1414. เศาะฮีหฺอิบนุหิบบาน. จำนวน 18 เล่ม. เบรุต : มุอัสสะสะฮฺ อัร-ริสาละฮฺ.
43.    อิบนุลอะษีร. 1407. อัล-กามิลฟิตตารีค. เบรุต : ดารุลกุฏุบอัลอิลมียะฮฺ.
44.    อิบนุอะสากิร. [ม.ป.ป.]. ตารีคดิมัชกฺ. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.].  
45.    อิบนุอับดิลบัร 1412. อัล-อิสตีอาบ. เบรุต : ดารุลญัยลฺ.
46.    อิบนุชาฮีน. 1412. อัน-นาสิค วัล-มันสูค มินัลหะดีษ. เลบานอน : ดารุลกุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ.
47.    อิบนุเศาะลาหฺ. [ม.ป.ป.]. มุก็อดดิมะฮฺ อิบนุเศาะลาหฺ ฟีอุลูมมิลกุรอาน. [ม.ป.ท.] :  [ม.ป.พ.].
48.    อิบนุตัยมียะฮฺ. [ม.ป.ป.]. ตัฟสีร อัล-กะบีร. เบรุต : ดารุลกุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ.
49.    อิบนุตัยมียะฮฺ. 406. มินฮาจญุสสุนนะฮฺ อัน-นะบะวียะฮฺ. จำนวน 8 เล่ม. [ม.ป.ท.] : มุอัสสะสะฮฺกุรฎุบะฮฺ
50.    อิบนุตัยมียะฮฺ. 1426.  มัจญฺมูอฺ อัล-ฟะตาวา. [ม.ป.ท.] : ดารุลวิฟาอฺ.
51.    อิบนุหะญัร อัล-อัสเกาะลานี. 1419. ตัลคีศ อัล-หะบีรฺ ฟีตัครีจญฺ อะหาดีษ อัร-รอฟิอี อัล-กะบีร. [ม.ป.ท.]. ดารุลกุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ.
52.    อิบนุหะญัร อัล-อัสเกาะลานี. 1412. อัล-อิศอบะฮฺฟีตัมยีซฺ อัศ-เศาะหาบะฮฺ. จำนวน 8 เล่ม. เบรุต : ดารุลญัยลฺ.
53.    อิบนุหะญัร อัล-อัสเกาะลานี  1406. ลิสานุลมีซาน. จำนวน 7 เล่ม. อินเดีย : ดาอิเราะฮฺ อัล-มัอฺริฟะฮฺ อัน-นิซอมะฮฺ.
54.    อิบนุหะญัร อัล-อัสเกาะลานี.1379. ฟัตหุลบารี. จำนวน 13 เล่ม. เบรุต : ดารุลมัอฺริฟะฮฺ.
55.    อิบนุหะญัร อัล-อัสเกาะลานี.1404. ตะฮฺซีบุตตะฮฺซีบ. จำนวน 14 เล่ม. เบรุต : ดารุลฟิกรฺ.
56.    อิบนุหะญัร อัล-ฮัยตะมี. 1997. อัศ-เศาะวาอิก อัล-มุหฺริเกาะฮฺ อะลาอะฮฺลุรร็อฟฎิ วัฎ-เฎาะลาล วัซ-ซินดิเกาะฮฺ. จำนวน 2 เล่ม. เบรุต : มุอัสสะสะฮฺ อัร-ริสาละฮฺ
57.    อิมาดุดดีน มุฮัมมัด อัร-เราะชีด. [ม.ป.ป.]. อัสบาบุนนุซูล วะอะษารุฮา ฟีบะยาน อันนุศูศฺ.[ม.ป.ท.] : ดารุชชิฮาบ.
58.    อุษมาน บินหาชิม. 1359.  อัล-อิอฺติบารฺ ฟีบะยาน อัน-นาสิค วัล-มันสูค มินัลอะษารฺ. [ม.ป.ท] : ดาอิเราะตุลมะอาริฟ. อัล-อุษมานียะฮฺ.
59.    อุษมาน บินมุฮัมมัด อัล-เคาะมีส. [ม.ป.ป.กัชฟุล ญานี มุฮัมมัด อัต-ตีญานี. อิสกันดารียะฮฺ : ดารุล-อีหม่าน.
60.    อุษมาน บินมุฮัมมัด อัล-เคาะมีส. 1424. หิกบะฮฺ มินัต-ตารีค. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.].
61.    อุษมาน บินอลี หะสัน. 1418. มันฮัจญ์ อัล-อิสติดลาล อะลา มะสาอิล อัล-อิอฺติกอด. ริยาด : มักตะบะฮฺ อัร-รุชดฺ.
62.    อัซ-ซุฮรี. 1429. อัน-นาสิคฺ วัล-มันสูค ฟิลกุรอาน อัล-กะรีม. ริยาด  : ดารอิบนุก็อยยิม.
63.    อัซ-ซะฮะบี. 1424. อัต-ตัฟสีร วัล-มุฟัสสิรูน. อัล-กอฮิเราะฮฺ : มักตาบะฮฺวะฮฺบะฮฺ.
64.    อัซ-ซะฮะบี. [ม.ป.ป.]. มิซานุลอิอฺติดาล ฟีนักฺดิรริญาล. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.].
65.    อัซ-ซะฮะบี. [ม.ป.ป.]. ร็อดดุลบุฮฺตาน อัน-มุอาวียะฮฺ อิบนุอบีสุฟยาน. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.].
66.    อัซ-ซะฮะบี. 1419. ตัลคีศกิตาบ อัล-เมาฎูอาต ลิอิบนิลเญาซี. [ม.ป.ท.] : มักตะบะฮฺ อัร-รุชดฺ.
67.    อัฏ-เฏาะบะรี. 1420. ญามิอฺ อัล-บะยาน ฟีตะวีล อัลกุรฺอาน. [ม.ป.ท.] : อัร-ริสาละฮฺ.  
68.    อัฏ-เฏาะบะรี. 1407. ตารีคอัล-อุมัม วัล-มุลูก. จำนวน 5 เล่ม. เบรุต : ดารุลกุตุบอัล-อิลมียะฮฺ.
69.    อัฏ-เฏาะบะรอนี. 1404. อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีร. จำนวน 20 เล่ม. อัล-มูศุล. มักตะบะฮฺ อัล-อุลูมวัลหิกัม.
70.    อัด-ดาริมี. 1407. สุนันอัด-ดาริมี. จำนวน 2 เล่ม. เบรุต : ดารุลกิตาบอัล-อะเราะบี.
71.    อัต-ติรมิซี. [ม.ป.ป.]. อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฮีหฺ สุนันอัต-ติรมีซี. จำนวน 4 เล่ม. เบรุต : ดารุลอิหฺยาอุตตุรอษ อัล-อะเราะบี.
72.    อับดุลอะซีซ มุฮัมมัดนูรวะลี. 1417. อะษะรุตตะชัยยุอฺ อะลัรริวายาตฺ อัต-ตารีคียะฮฺ ฟีลก็อรนิล เอาวัล อัล-ฮิจญฺรี. มะดีนะฮฺ. ดารุลคุฎ็อยรี.
73.    อับดุลกะรีม บินคอลิด อัล-หัรบี. 2006. กัยฟะนักเราะ ตารีคฺ อัล-อาลิ วัล-อัศหาบฺ. มับเราะฮฺ อัล-อาลิ วัล-อัศหาบ. คูเวต.
74.    อับดุลมุตะอาล มุฮัมมัด อัล-ญิบรี. 1407. อัน-นาสิค วัล-มันสูค บัยนัลอิษบาตร วัน-นะฟี. [ม.ป.ท.] : มักตะบะฮฺวะฮฺบะฮฺ.
75.    อับดุลฮาดี อัล-หุสัยนี. 1423. อายะฮฺ อัต-ตัฏฮีร... อิสกันดะรียะฮฺ. ดารุลอีหม่าน
76.    อับดุลลอฮฺ อัล-หะกะมี. 1406. มัรวียาต ฆ็อซวะฮฺ อัล-หุดัยบิยะฮฺ ญัมอุน วะตัครีจญุน วะดิรอสะฮฺ. มะดีนะฮฺ : มุฏอบะอะฮฺอัล-ญามิอะฮฺ อัล-อิสลามียะฮฺ
77.    อัน-นะวะวี. 1392. อัล-มินฮาจญ์ ชะเราะฮฺเศาะฮีหฺมุสลิม... จำนวน 18 เล่ม. เบรุต : ดารุลอิหฺยาอุตตุรอษ อัล-อะเราะบี.
78.    อัล-เคาะฏีบ อัล-บัฆดาดี. 1403. อัล-ญามิอฺ ลิอัคลาก อัร-รอวี. มักตาบะฮฺ อัร-ริยาด : อัล-มะอาริฟ.
79.    อัล-บัยฮะกี. 1414. สุนันอัล-บัยฮะกี อัล-กุบรอ. จำนวน 10 เล่ม. มักกะฮฺ : มักตะบะฮฺ ดารุลบาซ.
80.    อัล-บุคอรี. 1419. อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ อัล-มุคตะศ็อร มินอุมูรเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม วะสุนะนิฮิ วะอัยยามิฮิ, ริยาด :  ดารุสสลาม.
81.    อัล-บะเฆาะวี. 1417. มะอาลิม อัต-ตันซีล. [ม.ป.ท.] : ดารุฏ-ฏ็อยยิบะฮฺ.
82.    อัล-วาหิดี. 1417. อัสบาบุนนุซูล. ดารุล-อิบนุกะษีร. เบรุต : [ม.ป.พ.].
83.    อัล-อัจญ์ลูนี. [ม.ป.ป.]. กัชฟุลเคาะฟาอฺ. [ม.ป.ท.] : ดารุลอิหฺยาอุตตุรอษ อัล-อะเราะบี.
84.    อัล-อัลบานี. [ม.ป.ป.]. อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ. ริยาด : มักตะบะฮฺ อัล-มะอาริฟ.
85.    อัล-อัลบานี. 1412. สิลสิละฮฺ อัล-อะหาดีษ อัฎ-เฎาะอีฟะฮฺ วัล-เมาฎูอะฮฺ. ริยาด : ดารุลมะอาริฟ.
86.    อัล-อัลบานี. 1423. เศาะฮีหฺอบีดาวูด. คูเวต : มุอัสสะสะฮฺเฆาะรอสฺ.
87.    อัล-อิลาอี. 1407. ญามิอุตตะหฺศีล ฟีอะหฺกามิลมะรอสีล. เบรุต : อาลิมุลกุตุบ.
88.    อัส-สุยูฏี. 1408. อัสบาบุวุรูดิลหะดีษ.  [ม.ป.ท.] : ดารุลวิฟาอฺ.
89.    อัส-สุยูฏี. 1371. ตารีคอัล-คุละฟาอฺ. อิยิปต์ : มัฏบะอะฮฺ อัส-สะอาดะฮฺ.
90.    อัส-สะคอวี. [ม.ป.ป.]. มะกอศิด อัล-หะสะนะฮฺ. [ม.ป.ท.] : ดารุลกิตาบ อัล-อะเราะบี.


สารบัญ

หน้า    เรื่อง
2     คำนำ
3    หลักความเชื่อบางประการของลัทธิชีอะฮรอฟิเฏาะฮฺ
6    ชีวประวัติของ ดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี
9    วิธีการอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการของดร.มุฮัมมัด อัต-ตีญานี อัส-สะมาวี
9    การปฏิเสธต่อหลักฐานที่ชัดเจน
10    การอ้างอิงหลักฐานที่สวนทางกับระเบียบวิธีการที่ผู้เรียบเรียงได้วางไว้
12    การบิดเบือนหลักฐานให้ผิดไปจากเดิม
14    การปิดบังหลักฐานจากความเป็นจริง
15    การบิดเบือนในความหมายของหลักฐาน
16    มีความขัดแย้งในคำกล่าวของตนเอง
16    การอ้างอิงเรื่องราวที่ไม่มีที่มาของแหล่งอ้างอิง
18    การอ้างอิงเรื่องราวโดยระบุแหล่งที่มาด้วยความเท็จ
19    การกล่าวอ้างเรื่องราวที่ขัดกับข้อเท็จจริง
19    ขาดความรู้และความรอบคอบในข้อมูล
21    ขาดการตรวจสอบรายละเอียดในสายรายงานและข้อมูลอย่างรอบคอบ
24    ขาดการคัดกรองตำราและผู้เรียบเรียงที่นำมาใช้ในการอ้างอิง
25    ไม่มีการรวบรวมตัวบทหลักฐานและสายรายงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
26    ใช้ความคิดและความเข้าใจของตนเป็นหลักในการวิเคราะห์โดยไม่ยึดมั่นในคำอธิบายของบรรดานักวิชาการผู้เป็นที่ยอมรับได้
28    การกล่าวเท็จและให้ร้ายแก่นักวิชาการและชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ
31    ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
32    แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการศึกษาและค้นหาสัจธรรมที่แท้จริง
32    บรรณานุกรม

 

 


    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในที่สุดข้าพเจ้าได้ประจักษ์ในสัจธรรม (ฉบับย่อ)

เกี่ยวกับหนังสือ

ผู้เขียน :

محمد صبري يعقوب

สำนักพิมพ์ :

www.islamhouse.com

ประเภท :

Doctrine & Sects