Makale hakkında

มารยาทในการขออนุญาต


มารยาทในการขออนุญาต
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 


ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

 

แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

 


2014 - 1435


 
 

آداب الاستئذان
« باللغة التايلاندية »

 

 


د. راشد بن حسين العبد الكريم

 


ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر:  كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام  www.al-islam.com

 

 

2014 - 1435
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
มารยาทในการขออนุญาต

อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَدۡخُلُواْ بُيُوتًا غَيۡرَ بُيُوتِكُمۡ حَتَّىٰ تَسۡتَأۡنِسُواْ وَتُسَلِّمُواْ عَلَىٰٓ أَهۡلِهَاۚ ﴾ [النور : ٢٧]  

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าอย่าเข้าไปในบ้านใดอื่นจากบ้านของพวกเจ้า จนกว่าจะขออนุญาติและให้สลามแก่เจ้าของบ้านเสียก่อน” สูเราะฮฺอัน-นูร:27

และอัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสอีกว่า
﴿ وَإِذَا بَلَغَ ٱلۡأَطۡفَٰلُ مِنكُمُ ٱلۡحُلُمَ فَلۡيَسۡتَ‍ٔۡذِنُواْ كَمَا ٱسۡتَ‍ٔۡذَنَ ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِهِمۡۚ ﴾ [النور : ٥٩]  

“และเมื่อเด็ก ๆ ในหมู่พวกเจ้าบรรลุศาสนภาวะ ก็จงให้พวกเขาขออนุญาตเช่นเดียวกับบรรดาชนก่อนหน้าพวกเขาได้ขออนุญาต” สูเราะอฺอันนูร:59


ท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
« أَتَيْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي دَيْنٍ كَانَ عَلَى أَبِي، فَدَقَقْتُ البَابَ، فَقَالَ: «مَنْ ذَا» فَقُلْتُ: أَنَا، فَقَالَ: «أَنَا أَنَا» كَأَنَّهُ كَرِهَهَا » [متفق عليه]
“ฉันได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ในเรื่องหนี้สินที่พ่อของฉันค้างไว้ แล้วฉันก็ได้เคาะประตู ท่านก็กล่าวว่า “นี่ใครกัน?” ฉันก็กล่าวตอบว่า “ฉันเอง” แล้วท่านก็กล่าวว่า “ฉันเอง ฉันเอง” ราวกับว่าท่านรังเกียจมัน”  บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม

ท่านซะฮฺล์ บินสะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« إِنَّمَا جُعِلَ الِاسْتِئْذَانُ مِنْ أَجْلِ البَصَرِ » [متفق عليه]
“อันที่จริงการขออนุญาตถูกกำหนดขึ้นเพราะการมอง(เพื่อยับยั้งสายตา)”  บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม

ท่านกัลดะฮฺ บิน อัลหัมบัล เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่าเขาได้ไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เขาเล่าต่อไปว่า
« فَدَخَلْتُ عَلَيْهِ وَلَمْ أُسَلِّمْ وَلَمْ أَسْتَأْذِنْ، فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: " ارْجِعْ فَقُلْ: السَّلَامُ عَلَيْكُمْ أَأَدْخُلُ » [أخرجه أبو داود والترمذي]
“แล้วฉันก็ได้เข้ามาหาท่าน และไม่ได้ให้สลาม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า จงกลับออกไป แล้วจงกล่าวว่า อัสสลามุ อลัยกุม ฉันเข้าได้ไหม?”  บันทึกโดยอบูดาวูดและอัตติรมิซียฺ

ท่านอบูมูซา อัลอัชอะรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ฉันว่า
« إِذَا اسْتَأْذَنَ أَحَدُكُمْ ثَلاَثًا فَلَمْ يُؤْذَنْ لَهُ فَلْيَرْجِعْ » [متفق عليه]
“เมื่อพวกท่านคนใดได้ขออนุญาตสามครั้ง แต่ยังไม่ได้รับอนุญาต เขาก็จงกลับไป”  บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม

คำอธิบาย
การขออนุญาตนั้นเป็นมารยาทหนึ่งที่อิสลามส่งเสริมให้กระทำ เพราะเพื่อเป็นการปกปิดป้องกันเอาเราะฮฺและเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น การขออนุญาตถูกกำหนดให้ทำสามครั้งโดยการเคาะที่ประตู หรือการขอเข้าไป หากได้รับอนุญาตก็ดี แต่หากไม่ก็จงกลับไป และไม่ให้ขอเกินสามครั้ง

ประโยชน์ที่ได้รับ
•    เป็นคำสั่งใช้ให้ขออนุญาตก่อนเข้าบ้าน
•    สุนนะฮฺอย่างหนึ่งเมื่อถูกกล่าวแก่ผู้ขออนุญาตว่า ท่านเป็นใคร ก็ให้เขาเอ่ยชื่อของเขา และไม่ให้พูดว่า ฉันเอง
•    การขออนุญาตให้ทำสามครั้ง หากได้รับอนุญาตจึงค่อยเข้าไป หาไม่แล้ว ก็ให้ผู้ขออนุญาตกลับไปก่อน