อนุญาตให้บริจาคอย่างเปิดเผยเมื่อเป็นประโยชน์
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com
2013 - 1435
مشروعية إظهار الصدقة للمصلحة
« باللغة التايلاندية »
د. راشد بن حسين العبد الكريم
ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام www.al-islam.com
2013 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
อนุญาตให้บริจาคอย่างเปิดเผย
เมื่อเป็นประโยชน์
ท่านญะรีร (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ได้กล่าวว่า
«كُنّا عِنْدَ رَسُوْلِ اللهِ فِي صَدْرِ النَّهَارِ، قَال: فَجَاء قَومٌ حُفاة عُراة مُجْتابي النمار والعَباء مُتَقَلِّدي السُيوف عَامتهم مِن مُضِر - بَل كُلُّهم مِن مضر - فَتَمعر وجه رسول الله (أي: تغير) لما رأى بِهم مِن الفَاقة، فَدَخَلَ ثُمَّ خَرَجَ فَأَمَرَ بِلالا فَأَذَّنَ وَأَقَامَ فَصَلّى ثم خَطَبَ فَقَال: {يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ وَخَلَقَ مِنْهَا زَوْجَهَا وَبَثَّ مِنْهُمَا رِجَالًا كَثِيرًا وَنِسَاءً وَاتَّقُوا اللَّهَ الَّذِي تَسَاءَلُونَ بِهِ وَالْأَرْحَامَ إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيبًا} والآية التي في الحشر: {يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنْظُرْ نَفْسٌ مَا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ} تَصَدّق رَجُل مِن من دِيْنارِه مِن دِرْهَمِه من ثوبِه مِن صاعِ بُرِّه مِن صَاعِ تَمْرِه حتى قال: وَلو بِشِقِّ تَمْرَةٍ، قال: فجاءَ رجُل مِن الأنصار بصرة كَادَتْ كَفُّهُ تَعْجِز عَنْها - بَل قَد عَجَزَتْ - قَال: ثُمَّ تَتَابَعَ النَّاس حَتى رَأَيْت كومين مِن طَعَام وثِيَاب حَتّى رَأَيْتُ وَجْهَ رسولِ الله يَتَهَلَّل كَأنه مَذهَبُه فقال رسول الله مَنْ سَنَّ فِي الإسلام سُنَّة حَسَنَة فَلَهُ أَجْرُها وَأَجْرُ مَنْ عَمِلَ بَعْدَهُ مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُص مِن أُجُوْرِهم شَيْء، وَمَنْ سَنَّ فِي الإِسلام سُنَّة سَيِّئَة كاَنَ عَلَيْه وِزْرها وَوِزْر مَن عَمِلَ بِهَا مِنْ بَعْدِه مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصُ مِنْ أَوْزَارِهِمْ شَيْء» [أخرجه مسلم]
ความว่า “(ครั้งหนึ่ง) เราได้อยู่กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ในช่วงแรกของกลางวัน เขากล่าว(ต่อไป)ว่า ได้มีชนกลุ่มหนึ่งเปลือยเท้า นุ่งน้อยห่มน้อย สวมเสื้อหนังเสือ และผ้าโผก สะพายดาบ คนส่วนใหญ่มาจาก(เผ่า)มุฎ็อรฺ -ที่จริงจากมุฎ็อรฺทั้งหมดนั่นแหละ- แล้วสีหน้าท่านก็เปลี่ยน(เป็นเศร้า) เพราะเห็นความยากจนข้นแค้นที่เกิดกับพวกเขา แล้วท่านก็กลับเข้าไป จากนั้นท่านก็ออกมา(อีกครั้ง) แล้วสั่งให้บิลาลอาซาน และอิกอมะฮฺ แล้วก็ละหมาด จากนั้นท่านก็กล่าวโอวาท ว่า {มนุษย์เอ๋ย จงสำรวมตนต่อพระผู้อภิบาลของสูเจ้า ผู้ได้ทรงบังเกิดสูเจ้าจากชีวิตเดียว และได้ทรงบังเกิดจากมัน ซึ่งคู่ครองของมัน และได้ทรงแพร่จากทั้งสองซึ่งผู้ชาย และผู้หญิงมากมาย และจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺพระผู้ซึ่งสูเจ้าต่างพากันถามถึงพระองค์ และ(จงสำรวมตนในเรื่อง)การสัมพันธ์ทางเครือญาติ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเฝ้าดูสูเจ้าเสมอ} และอายะห์ที่อยู่ใน(ซูเราะฮฺ)อัล-ฮัชร์ {บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ และชีวิตหนึ่งจง(พิจารณา)ดู ถึงสิ่งที่พวกเขาได้ทำล่วงไว้สำหรับพรุ่งนี้ และจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงตระหนักถึงที่สูเจ้ากระทำ} คนหนึ่ง(ขอให้)บริจาคจากทองดีนารฺของเขา จากเงินดิรฺฮัมของเขา จากเสื้อผ้าของเขา จากข้าวสาลี 1 ซออฺ จากอินทผลัม 1 ซออฺ กระทั้งท่านกล่าวว่า และแม้เพียงอินผลัมซีกเดียว เขากล่าวต่อไปว่า แล้วได้มีชายคนหนึ่งจากชาวอันศอรฺมาพร้อมกับถุงที่มือแทบยกไม่ไหว –ที่จริงก็ไม่ไหวนั่นแหละ- เขากล่าวต่อไปว่า หลังจากนั้นคนอื่นๆพากันทำตามจนกระทั้งฉันเห็นเป็นกองพะเนินสองกอง กองอาหารและกองเสื้อผ้า จนฉันเห็นใบหน้าของท่านปลาบปลื้มดุจว่ามันเคลือบด้วยทอง แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺได้กล่าวว่า “ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม เขาย่อมได้รับผลบุญของเขา และของผู้ที่ทำมันภายหลังเขา โดยที่ผลบุญของพวกเขาเหล่านั้นมิได้พร่องลงแต่ประการใด และผู้ใดทำแบบอย่างที่เลวในอิสลาม เขาย่อมได้รับบาปของเขา และบาปของคนที่ทำมันภายหลังเขา โดยที่บาปของพวกเขาเหล่านั้นมิได้พร่องลงแต่ประการใด” ” บันทึกโดยมุสลิม
อธิบาย
การบริจาคอย่างลับๆดีกว่าการบริจาคอย่างเปิดเผย เพราะห่างไกลจากการโอ้อวด และปิดบังไม่ให้ผู้รับบริจาครู้ แต่ในบางทีการบริจาคอย่างเปิดเผยประเสริฐกว่าหากมีประโยชน์ เช่น เพื่อกระตุ้นให้คนอื่นๆ บริจาค
ประโยชน์ที่ได้รับ
• มีบัญญัติอนุญาตให้บริจาคอย่างเปิดเผยได้เมื่อ(เห็นว่า)เกิดประโยชน์
• การทำอย่างนั้นไม่ถือว่าเป็นการโอ้อวด แต่ถือว่าเป็นแบบอย่างการทำความดี
© Copyright Islam land أرض الإسلام .版权所有 2017