Tentang artikel

Penulis :

أمين بن عبد الله الشقاوي

Tanggal :

Sat, Oct 29 2016

Kategori :

About Quran & Hadith

Download

บทเรียนจากสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ

บทเรียนจากสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 

ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 


แปลโดย : อันวา สะอุ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต
อัล-มุลกอฮฺ

 

2013 - 1434
 

سورة الإخلاص
« باللغة التايلاندية »

 

 

د. أمين بن عبدالله الشقاوي

 


ترجمة: أنور إسماعيل
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

 

 

2013 - 1434
 

 


 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

บทเรียนจากสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺและเพียงพอแล้วที่มีพระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้า  พรสันติจงประสบแด่ปวงบ่าวของพระองค์ที่ได้ทรงคัดเลือก และข้าขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺพระองค์เดียวเท่านั้นโดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์ และขอปฏิญาณตนว่ามุหัมหมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
แท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้ทรงประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงมาเพื่อให้เราใคร่ครวญและปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน พระองค์ตรัสว่า
﴿كِتَٰبٌ أَنزَلۡنَٰهُ إِلَيۡكَ مُبَٰرَكٞ لِّيَدَّبَّرُوٓاْ ءَايَٰتِهِۦ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ ٢٩ ﴾ (ص: 29)
ความว่า “คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาโองการต่างๆ ของอัลกุรอานและเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ” (ศ็อด : 29)

พระองค์ทรงประทานอัลกุรอานให้เป็นดังโอสถรักษาโรค เป็นรัศมีและทางนำ อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿وَنُنَزِّلُ مِنَ ٱلۡقُرۡءَانِ مَا هُوَ شِفَآءٞ وَرَحۡمَةٞ لِّلۡمُؤۡمِنِينَ وَلَا يَزِيدُ ٱلظَّٰلِمِينَ إِلَّا خَسَارٗا ٨٢﴾ (الإسراء: 82)
ความว่า “และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานลงมาซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา และมันมิได้เพิ่มอันใดแก่พวกอธรรม นอกจากการขาดทุนเท่านั้น (อัล-อิสรออ์ : 82)

พระองค์ตรัสอีกว่า
﴿...قُلۡ هُوَ لِلَّذِينَ ءَامَنُواْ هُدٗى وَشِفَآءٞۚ ...٤٤ ﴾ (فصلت :44)
ความว่า “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด อัลกุรอานนั้นเป็นแนวทางที่เที่ยงธรรม และเป็นการบำบัดแก่บรรดาผู้ศรัทธา”  (ฟุศศิลัต : 44)

ในคัมภีร์อัลกุรอานมีอยู่สูเราะฮฺหนึ่งที่เรามักได้ยินอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจำเป็นที่ต้องนำมาคิดพิจารณาและใคร่ครวญนั้นคือสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ قُلۡ هُوَ ٱللَّهُ أَحَدٌ ١ ٱللَّهُ ٱلصَّمَدُ ٢ لَمۡ يَلِدۡ وَلَمۡ يُولَدۡ ٣ وَلَمۡ يَكُن لَّهُۥ كُفُوًا أَحَدُۢ ٤ ﴾ (الإخلاص: 1-4)
ความว่า “จงล่าวเถิดมุฮัมมัด พระองค์คือ อัลลอฮฺผู้ทรงเอกกะ  อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ  และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์” (อัล-อิคลาศ : 1-4)

รายงานจาก อะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า มีชายชาวอันศอรฺ คนหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำละหมาดในมัสยิดกุบาอ์ ทุกครั้งที่เขาจะอ่านสูเราะฮฺในการละหมาด (หลังการอ่านสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺแล้ว) เขาจะเริ่มต้นด้วยการสูเราะฮฺอัล-อิคลาศอยู่เสมอ แล้วจึงอ่านสูเราะฮฺอื่นๆ ซึ่งเขากระทำเช่นนี้ในทุกร็อกอะฮฺ ต่อมามีมิตรสหายของเขาได้กล่าวแก่เขาว่า การที่ท่านได้เริ่มต้นก่อนการอ่านสูเราะฮฺอื่น ด้วยสูเราะฮฺอัล-อิคลาศก่อนนั้น ไม่เห็นว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นเลย เพราะยังไงท่านก็ต้องอ่านสูเราะฮฺอื่นอยู่ดี ดังนั้นท่านน่าจะเลือกอ่านอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ก็เลือกอ่านสูเราะฮฺ อัล-อิคาศไปเลย หรือไม่ก็ละเว้นการอ่านสูเราะฮฺอัล-อิคลาศและไปอ่านสูเราะฮฺอื่นแทน ชายชาวอันศอรฺคนนั้นตอบว่า ฉันจะไม่ละทิ้งการอ่านสูเราะฮฺอัล-อิคลาศเด็ดขาด หากพวกท่านประสงค์ที่จะให้ฉันเป็นผู้นำละหมาดอีกฉันก็จะยืนยันในการกระทำของฉัน แต่หากพวกท่านไม่พอใจฉันก็จะไม่ทำหน้าที่เป็นผู้นำละหมาดอีก แต่ทว่าผู้คนต่างเห็นว่ามีแต่เขาคนเดียวเท่านั้นที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำละหมาดพวกเขา และพวกเขาไม่เห็นด้วยหากคนอื่นจะมาทำหน้าที่แทนเขา ดังนั้นเมื่อท่านนบีได้มาพบปะกับพวกเขา พวกเขาได้เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ท่านนบีจึงได้สอบถามชายชาวอันศ็อรคนดังกล่าว ว่า
«يَا فُلَانُ، مَا يَمْنَعُكَ أَنْ تَفْعَلَ مَا يَأْمُرُكَ بِهِ أَصْحَابُكَ، وَمَا حَمَلَكَ عَلَى لُزُوم هَذِهِ السُّورَةِ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ؟» فقال : إني أحبها وفي رواية : لِأَنَّهَا صِفَةُ الرّحمٰن عَزَّ وجلَّ – [أخرجه البخاري4/379 برقم  7375] -فقال : «حُبُّكَ إِيَّاهَا أَدْخَلَكَ الْجَنَّة» . [أخرجه البخاري 1/252  برقم 774]
ความว่า "โอ้ชายหนุ่ม เป็นเพราะเหตุใดที่เจ้าไม่ยอมทำตามในสิ่งที่มิตรสหายของเจ้าร้องขอ และเหตุใดที่เจ้าหมั่นอ่านสูเราะฮฺนี้ (อัล-อิคลาศ) ทุกร็อกอะฮฺของการละหมาด"  ชายคนดังกล่าวตอบว่า “เพราะฉันรักสูเราะฮฺนี้” ในบางสายรายงานเขาตอบว่า “เนื่องจากสูเราะฮฺนี้กล่าวถึงคุณลักษณะของพระผู้ทรงกรุณา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 4/379   หมายเลข 7375 ) ท่านนบีจึงกล่าวว่า "ความรักของเจ้าที่มีต่อสูเราะฮฺนั้น อัลลอฮฺจะทรงให้เจ้าได้เขาสวรรค์" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 1/252   หมายเลข 774 )

รายงานจากอบูสะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺว่า
«أَيَعْجِزُ أَحَدُكُمْ أَنْ يَقْرَأَ ثُلُثَ الْقُرْآنِ ‏ فِي لَيْلَةٍ»  فَشَقَّ ذَلِكَ عَلَيْهِمْ وقاَلُوا : أَيُّنَا يُطِيقُ ذَلِكَ يَا رَسُولَ اللَّهِ؟ ، فقال : «اللَّهُ الْوَاحِدُ الصَّمَدُ  ثُلُثُ الْقُرْآنِ» . [أخرجه البخاري 3/344 برقم :5015 ورواه مسلم من طريق أبي الدرداء 1/556 برقم : 811]
ความว่า “มีใครในพวกท่านสามารถที่จะอ่าน 1 ใน 3 ของอัลกุรอานได้ทุกคืนไหม  เหล่าเศาะหาบะฮฺต่างรู้สึกว่ามันเป็นการยาก จึงตอบท่านนบีไปว่า "แล้วใครในหมู่พวกเราเล่าที่จะทำเช่นนั้นได้ โอ้ เราะสูลของอัลลอฮฺ" ท่านเราะสูลจึงพูดว่า "ก็สูเราะฮฺอัล-อิคลาสไง เท่ากับ 1 ใน 3 ของคัมภีร์อัลกุรอาน" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์  3/344 หมายเลขหะดีษ: 5015  และมุสลิมจากกระแสรายงานของอบูอัด-ดัรดาอ์ 1/556 หมายเลขหะดีษ: 811 )

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยอ่านสูเราะฮฺอัล-อิคลาศเพื่อบำบัดรักษาโรค พร้อมกับอ่านสูเราะฮฺอื่นๆ อีก และสูเราะฮฺในอัลกุรอานทั้งมวลถือเป็นโอสถบำบัดโรคได้
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
كَانَ إِذَا أَوَى إِلَى فِرَاشِهِ كُلَّ لَيْلَةٍ جَمَعَ كَفَّيْهِ ثُمَّ نَفَثَ فِيهِمَا فَقَرَأَ فِيهِمَا قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ وَقُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ الْفَلَقِ وَقُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ النَّاسِ ثُمَّ يَمْسَحُ بِهِمَا مَا اسْتَطَاعَ مِنْ جَسَدِهِ يَبْدَأُ بِهِمَا عَلَى رَأْسِهِ وَوَجْهِهِ وَمَا أَقْبَلَ مِنْ جَسَدِهِ يَفْعَلُ ذَلِكَ ثَلَاثَ مَرَّاتٍ. [أخرجه البخاري 3/344 برقم 5017]
ความว่า “เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เข้านอนยังที่นอนของท่านในทุก ๆ คืน ท่านจะรวมฝ่ามือทั้งสองเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงเป่าเบา ๆ ลงไปบนฝ่ามือทั้งสองนั้น แล้วอ่าน "กุลฮุวัลลอฮุอะหัด" (สูเราะฮฺอัล-อิคลาศ) "กุลอะอูซุบิร็อบบิลฟะลัก" (สูเราะฮฺอัล-ฟะลัก) และ "กุลอะอูซุบิร็อบบินนาส" (สูเราะฮฺอัน-นาส) จากนั้นท่านก็ใช้ฝ่ามือทั้งสองลูบไปบนตัวท่านเท่าที่สามารถ โดยเริ่มที่ศีรษะและใบหน้าของท่าน แล้วก็ร่างกายของท่านด้านหน้า ท่านจะทำเช่นนี้สามครั้ง” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 3/344   หมายเลข 5017 )

คำดำรัสของอัลลอฮฺ (قُلۡ هُوَ ٱللَّهُ أَحَدٌ) ความว่า “จงล่าวเถิดมุหัมหมัด พระองค์คือ อัลลอฮฺผู้ทรงเอกกะ”
อิบนุ กะษีรฺ กล่าวว่า คือ อัลลอฮฺผู้ทรงเอกกะ ซึ่งไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ สำหรับพระองค์แล้วไม่มีผู้ช่วย ไม่มีหุ้นส่วน และไม่มีสิ่งใดจะมาเปรียบเทียบกับพระองค์ และเราไม่สามารถนำประโยคนี้ไปเรียกขานผู้ใดในการยืนยันยกเว้นกับอัลลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา เท่านั้น เพราะพระองค์คือผู้ที่มีความสมบูรณ์ทั้งในคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ (ตัฟสีรฺ อิบนุกะษีร : 4/570)

คำดำรัสของอัลลอฮฺ (ٱللَّهُ ٱلصَّمَدُ) ความว่า “อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง”
ท่านอิกริมะฮฺ รายงานจากอิบนุ อับบาส กล่าวว่า คือ ผู้เป็นที่พึ่งของมวลสรรพสิ่งที่ถูกสร้าง ในเรื่องความจำเป็นและความต้องการของพวกเขาทุกอย่าง และชาวอาหรับมักจะเรียกผู้นำของพวกเขาว่า อัศ-เศาะมัด  
อบู วาอิล กล่าวว่า อัศ-เศาะมัด หมายถึง ผู้นำที่ผู้คนยอมรับการนำของเขา

คำดำรัสของอัลลอฮฺ (لَمۡ يَلِدۡ وَلَمۡ يُولَدۡ وَلَمۡ يَكُن لَّهُۥ كُفُوًا أَحَدُۢ) ความว่า” พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ  และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์”
คือ สำหรับพระองค์นั้นไม่มีบุตร บิดาและภรรยา  
ท่านมุญาฮิด กล่าวว่า (وَلَمۡ يَكُن لَّهُۥ كُفُوًا أَحَدُۢ) หมายถึง ภรรยา ความหมายของคำว่า อัศ-ศอหิบะฮฺ หมายถึง ภรรยา ดังที่พระองค์ ตรัสว่า
﴿ بَدِيعُ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِۖ أَنَّىٰ يَكُونُ لَهُۥ وَلَدٞ وَلَمۡ تَكُن لَّهُۥ صَٰحِبَةٞۖ وَخَلَقَ كُلَّ شَيۡءٖۖ وَهُوَ بِكُلِّ شَيۡءٍ عَلِيمٞ ١٠١ ﴾ (الأنعام: 101)  
ความว่า “พระผู้ทรงประดิษฐ์ บรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน อย่างไรเล่าที่พระองค์จะทรงมีพระบุตรโดยที่พระองค์มิได้ทรงมีคู่ครอง และพระองค์นั้นทรงบังเกิดทุกสิ่งทุกอย่าง และพระองค์ก็ทรงรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างด้วย” (อัล-อันอาม : 101)

พระองค์คือ ผู้ทรงครอบครองทุกสิ่งทุกอย่างและยังเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นเป็นไปได้หรือที่จะมีผู้อื่นมีฐานะเสมอเท่าพระองค์ หรือมีคู่ครองที่อยู่ใกล้ชิดกับพระองค์ (มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺจากสิ่งที่พวกเขากล่าวอ้าง)  
    อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ وَقَالُواْ ٱتَّخَذَ ٱلرَّحۡمَٰنُ وَلَدٗا ٨٨ لَّقَدۡ جِئۡتُمۡ شَيۡ‍ًٔا إِدّٗا ٨٩ تَكَادُ ٱلسَّمَٰوَٰتُ يَتَفَطَّرۡنَ مِنۡهُ وَتَنشَقُّ ٱلۡأَرۡضُ وَتَخِرُّ ٱلۡجِبَالُ هَدًّا ٩٠ أَن دَعَوۡاْ لِلرَّحۡمَٰنِ وَلَدٗا ٩١ وَمَا يَنۢبَغِي لِلرَّحۡمَٰنِ أَن يَتَّخِذَ وَلَدًا ٩٢ إِن كُلُّ مَن فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ إِلَّآ ءَاتِي ٱلرَّحۡمَٰنِ عَبۡدٗا ٩٣ لَّقَدۡ أَحۡصَىٰهُمۡ وَعَدَّهُمۡ عَدّٗا ٩٤﴾ (مريم : 88-94)
ความว่า “และพวกเขากล่าวว่าพระผู้ทรงกรุณาปรานีทรงตั้งพระบุตรขึ้นเพื่อพระองค์  แน่นอนที่สุด พวกเจ้าได้นำมาซึ่งสิ่งร้ายแรงยิ่งใหญ่  ชั้นฟ้าทั้งหลายแทบจะพังทลายลงมาและแผ่นดินก็แทบจะถล่มลึกลงไป และขุนเขาทั้งหลายก็แทบจะยุบทลายลงมาเป็นเสี่ยงๆ ที่พวกเขาอ้างพระบุตรแก่พระผู้ทรงกรุณาปรานี และไม่เป็นการบังควรแก่พระผู้ทรงกรุณาปรานี ที่พระองค์จะทรงตั้งพระบุตรขึ้น ไม่มีผู้ใดในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเว้นแต่เขาจะมายังพระผู้ทรงกรุณาปรานีในฐานะบ่าวคนหนึ่ง แน่นอนที่สุด พระองค์ทรงรอบรู้ถึงพวกเขาและทรงนับพวกเขาอย่างถี่ถ้วนไว้แล้ว” (มัรยัม : 88-94)

    รายงานจากอบูมูซา อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا أَحَدٌ أَصْبَرُ عَلَى أَذًى سَمِعَهُ مِنْ اللَّهِ يَدَّعُونَ لَهُ الْوَلَدَ ثُمَّ يُعَافِيهِمْ وَيَرْزُقُهُمْ» [أخرجه البخاري 4/379 برقم 7378]
ความว่า “ไม่มีผู้ใดอีกแล้วที่ทนต่อการรับฟังคำพูดที่สร้างความเดือดร้อนมากกว่าพระองค์อัลลอฮฺ ทั้งๆ ที่พวกเขา (พวกปฏิเสธศรัทธา) กล่าวอ้างว่าพระองค์มีบุตร แต่พระองค์ก็ยังทรงให้พวกเขามีสุขภาพกายที่ดีและยังประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาอีก”  (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์  4/379 หมายเลข  7378)
    
    และมีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«قَالَ اللَّهُ تَعَالَى: كَذَّبَنِي ابْنُ آدَمَ وَلَمْ يَكُنْ لَهُ ذَلِكَ، وَشَتَمَنِي وَلَمْ يَكُنْ لَهُ ذَلِكَ، فَأَمَّا تَكْذِيبُهُ إِيَّايَ فَقَوْلُهُ: لَنْ يُعِيدَنِي كَمَا بَدَأَنِي، وَلَيْسَ أَوَّلُ الْخَلْقِ بِأَهْوَنَ عَلَيَّ مِنْ إِعَادَتِهِ، وَأَمَّا شَتْمُهُ إِيَّايَ فَقَوْلُهُ: اتَّخَذَ اللَّهُ وَلَدًا، وَأَنَا الْأَحَدُ الصَّمَدُ، لَمْ أَلِدْ وَلَمْ أُولَدْ، وَلَمْ يَكُنْ لِي كُفُوًا أَحَدٌ»  [أخرجه البخاري 3/334 برقم 4974]
ความว่า “อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า ลูกหลานอาดัมได้โป้ปดต่อข้า ทั้งๆ ที่มิควรแก่เขาที่จะทำเช่นนั้น เขาด่าทอข้า ทั้งๆ ที่เขาไม่มีสิทธิจะทำเช่นนั้น การที่เขาโป้ปดต่อข้าคือ การอ้างว่าพระองค์ไม่สามารถที่จะนำเขากลับมาอีกครั้งดังที่พระองค์เคยสร้างเขาขึ้นมาครั้งแรก ซึ่งการสร้างครั้งแรกนั้นไม่ได้ง่ายกว่าการที่ข้าจะสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง(ทั้งสองครั้งเป็นสิ่งที่ง่ายดายสำหรับอัลลอฮฺโดยเท่าเทียมกัน ไม่มีครั้งไหนง่ายหรือยากกว่าทั้งสิ้น) ส่วนที่เขาด่าข้าก็คือคำพูดของเขาที่ว่า ข้ามีบุตร ทั้งๆ ที่ข้าคือผู้เอกกะ และข้าคือที่พึ่ง ข้าไม่ประสูติผู้ใด และไม่ถูกประสูติ  และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนข้า" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 3/334 หมายเลข 4974)

 

ประโยชน์และบทเรียนที่ได้รับจากสูเราะฮฺนี้
ประการแรก ยืนยันความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ และเป็นการตอบโต้ต่อหลักความเชื่อของชนชาวยิวและคริสต์ที่กล่าวหาว่าพระองค์ทรงมีบุตร พระองค์ตรัสว่า
﴿وَقَالَتِ ٱلۡيَهُودُ عُزَيۡرٌ ٱبۡنُ ٱللَّهِ وَقَالَتِ ٱلنَّصَٰرَى ٱلۡمَسِيحُ ٱبۡنُ ٱللَّهِۖ ذَٰلِكَ قَوۡلُهُم بِأَفۡوَٰهِهِمۡۖ يُضَٰهِـُٔونَ قَوۡلَ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ مِن قَبۡلُۚ قَٰتَلَهُمُ ٱللَّهُۖ أَنَّىٰ يُؤۡفَكُونَ ٣٠ ﴾ (التوبة: 30)
ความว่า “และชาวยิวได้กล่าวว่า อุซัยรฺ เป็นบุตรของอัลลอฮฺ และชาวคริสต์ได้กล่าวว่า อัล-มะสีหฺ เป็นบุตรของอัลลอฮฺ นั่นคือถ้อยคำที่พวกเขากล่าวขึ้นด้วยปากของพวกเขาเอง ซึ่งคล้ายกับถ้อยคำของบรรดาผู้ที่ได้ปฏิเสธการศรัทธามาก่อน ขออัลลอฮฺทรงลงโทษพวกเขาด้วยเถิด พวกเขาถูกหันเหไปได้อย่างไร” (อัต-เตาบะฮฺ : 30)

ประการที่สอง ในสูเราะฮฺนี้มีพระนามของอัลลอฮฺ ซึ่งเมื่อบ่าวร้องขอด้วยพระนามนี้แล้ว พระองค์ก็จะประทานให้ และเมื่อวิงวอนขอสิ่งใดพระองค์ก็จะตอบรับ
รายงานจากอับดุลลอฮฺ บิน บุร็อยดะฮฺ จาก บิดาของเขา  เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ سَمِعَ رَجُلًا يَقُولُ " اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ أَنِّي أَشْهَدُ أَنَّكَ أَنْتَ اللَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ الْأَحَدُ الصَّمَدُ الَّذِي لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ وَلَمْ يَكُنْ لَهُ كُفُوًا أَحَدٌ " ، فَقَالَ : «لَقَدْ سَأَلْتَ اللَّهَ بِالِاسْمِ الَّذِي إِذَا سُئِلَ بِهِ أَعْطَى وَإِذَا دُعِيَ بِهِ أَجَابَ» .[أخرجه أبو داود 2/79 برقم 1493]
ความว่า “แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ยินชายคนหนึ่ง วิงวอนขอดุอาอ์ ว่า โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันได้ปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพยกเว้นพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงเอกกะ  ทรงเป็นที่พึ่ง พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ  และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ ท่านนบี ได้กล่าวว่า “แท้จริงท่านได้วิงวอนขอพรจากอัลลอฮฺ ด้วยพระนามที่เมื่อผู้ใดร้องขอ พระองค์จะประทานให้ และเมื่อผู้ใดวิงวอนขอพระองค์จะตอบรับ” (บันทึกโดยอบูดาวูด 2/79   หมายเลข 1493 )

ประการที่สาม เป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมให้มีการอ่านสูเราะฮฺนี้ก่อนที่จะเข้านอน และอ่านในยามเช้าและยามเย็น จำนวนสามครั้ง ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยปฏิบัติ
มีรายงาน จากอับดุลลอฮฺ เบ็น คุบัยบฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า
خَرَجْنَا فِي لَيْلَةِ مَطَرٍ وَظُلْمَةٍ شَدِيدَةٍ نَطْلُبُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِيُصَلِّيَ لَنَا فَأَدْرَكْنَاهُ ، فَقَالَ : «أَصَلَّيْتُمْ؟»، فَلَمْ أَقُلْ شَيْئًا فَقَالَ : «قُلْ»، فَلَمْ أَقُلْ شَيْئًا، ثُمَّ قَالَ: «قُلْ»، فَلَمْ أَقُلْ شَيْئًا، ثُمَّ قَالَ:  «قُلْ»،  فَقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا أَقُولُ؟ ، قَالَ: «قُلْ ﴿قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ﴾ وَالْمُعَوِّذَتَيْنِ حِينَ تُمْسِي وَحِينَ تُصْبِحُ ثَلَاثَ مَرَّاتٍ تَكْفِيكَ مِنْ كُلِّ شَيْءٍ» [رواه أبو داود  4/322 برقم 5082]
ความว่า “เราได้ออกไปหาท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยามกลางคืนที่มีฝนตกและมืด เพื่อให้ท่านได้นำละหมาดและขอดุอาอ์ให้เรา เมื่อเราพบท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านได้ถามพวกเราว่า พวกท่านละหมาดแล้วหรือยัง? คุบัยบฺบอกว่า ฉันก็ไม่ได้กล่าวอะไร ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บอกว่า จงกล่าว แต่ฉันก็ไม่ได้กล่าวอะไร ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็บอกว่า จงกล่าว  คุบัยบฺบอกว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  จะให้ฉันกล่าวอะไรเล่า? ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็บอกว่า จงกล่าว กุ้ลฮุวัลลอฮุอะหัด กุ้ลอะอูซุบิร็อบบิลฟะลัก และกุ้ลอะอูซุบิร็อบบินนาส (ให้อ่านสามสูเราะฮฺนี้) ยามเย็นและยามเช้า 3 ครั้ง จะเป็นการคุ้มครองป้องกันต่อเจ้าจากทุกสิ่งทุกอย่างที่อันตราย” (บันทึกโดยอบูดาวูด 4/322 หมายเลข 5082

والحمد لله رب العالمين،
وصلى وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.