ซาดุลมะอาดฉบับย่อ 01

เนื้อหาที่คัดแปลจากซาดุลมะอาดฉบับย่อ ตั้งแต่บทนำที่กล่าวถึงการที่อัลลอฮฺทรงเลือกแต่สิ่งที่ดีและความจำเป็นต้อง ศึกษาแบบฉบับของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหาต่างๆ คือ (1) แบบฉบับของท่านในการอาบน้ำละหมาด (2) การตะยัมมุม (3) แบบฉบับของท่านนบีในการละหมาด (4) การอ่านในละหมาด (5) การรุกูอฺ (6) การสุญูด (7) การนั่งตะชะฮุด (8) การสุญูดสะฮฺวีย์ (9) การละหมาดสุนัต (10) กิยามุลลัยลฺ (11) ละหมาดดุฮา (12) สุญูดขอบคุณและสุญูดสัจญ์ดะฮฺ (13) วันศุกร์ (14) ข้อปฏิบัติในวันอีด (15) เมื่อเกิดอุปราคา (16) การขอฝน


ซาดุลมะอาดฉบับย่อ (1)
ตั้งแต่บทแรกถึงเรื่องการขอฝน
]ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 

ชัยคฺ มุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ



แปลโดย:อัสรัน นิยมเดชา
ตรวจทานโดย : อุษมาน อิดรีส
ต้นฉบับเดิม : http://IslamHouse.com/264166



2014 - 1435
 

مختصر زاد المعاد (1)
من بداية الكتاب إلى الاستسقاء
« باللغة التايلاندية »





الشيخ محمد بن عبد الوهاب




ترجمة: عصران نيومديشا
مراجعة:عثمان إدريس
المصدر:  http://IslamHouse.com/264166




2014 - 1435
 
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

ซาดุลมะอาดฉบับย่อ (1)
ตั้งแต่บทแรกถึงเรื่องการละหมาด
บทนำ
มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺไม่มีภาคีใดเทียบเคียงพระองค์และขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
อัลลอฮฺตะอาลาเพียงพระองค์เดียวคือผู้ทรงสร้างและผู้ทรงเลือกพระองค์ตรัสว่า
﴿ وَرَبُّكَ يَخۡلُقُ مَا يَشَآءُ وَيَخۡتَارُۗ مَا كَانَ لَهُمُ ٱلۡخِيَرَةُۚ سُبۡحَٰنَ ٱللَّهِ وَتَعَٰلَىٰ عَمَّا يُشۡرِكُونَ ٦٨ ﴾ [القصص: ٦٨] 
ความว่า“และพระเจ้าของเจ้าทรงสร้างสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์และทรงเลือกพวกเขาไม่มีสิทธิ์ในการเลือกมหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺและพระองค์ทรงสูงส่งเหนือสิ่งที่พวกเขาตั้งภาคี” (อัลเกาะศ็อศ: 68)
ซึ่งความหมายของการเลือกในที่นี้คือการคัดเลือกและคัดกรองสิ่งที่เหมาะสมส่วนดำรัสของพระองค์ที่ว่า"พวกเขาไม่มีสิทธิ์ในการเลือก”นั้นหมายถึงการเลือกนั้นไม่ใช่สิทธิ์ของผู้ถูกสร้างเหล่านั้นเพราะเมื่อพระองค์เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งแต่เพียงพระองค์เดียวพระองค์ก็ย่อมเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกแต่เพียงพระองค์เดียวเช่นกันเพราะพระองค์คือผู้ซึ่งรู้ดีที่สุดเกี่ยวกับการเลือกของพระองค์ดังที่พระองค์ตรัสความว่า"อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่งว่าพระองค์จะประทานสารของพระองค์แก่ผู้ใด” (อัลอันอาม: 124)และดังที่พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَقَالُواْ لَوۡلَا نُزِّلَ هَٰذَا ٱلۡقُرۡءَانُ عَلَىٰ رَجُلٖ مِّنَ ٱلۡقَرۡيَتَيۡنِ عَظِيمٍ ٣١ أَهُمۡ يَقۡسِمُونَ رَحۡمَتَ رَبِّكَۚ نَحۡنُ قَسَمۡنَا بَيۡنَهُم مَّعِيشَتَهُمۡ فِي ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۚ وَرَفَعۡنَا بَعۡضَهُمۡ فَوۡقَ بَعۡضٖ دَرَجَٰتٖ ﴾ [الزخرف: ٣١،  ٣٢] 
ความว่า“และพวกเขากล่าวว่าเหตุใดอัลกุรอานนี้จึงไม่ถูกประทานลงมาให้แก่ชายผู้ยิ่งใหญ่จากสองเมืองนี้?พวกเขาเป็นผู้แบ่งปันความเมตตาแห่งพระเจ้าของเจ้ากระนั้นหรือ? เราต่างหากที่เป็นผู้จัดสรรปัจจัยยังชีพของพวกเขาในระหว่างพวกเขาในการมีชีวิตอยู่ในบนโลกนี้และเราได้เชิดชูบางคนในหมู่พวกเขาเหนือกว่าบางคนหลายชั้น” (อัซซุครุฟ: 31-32)
จะเห็นว่าอัลลอฮฺตะอาลาทรงปฏิเสธสิทธิ์ในการเลือกของพวกเขาและทรงย้ำว่าเรื่องดังกล่าวเป็นสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงจัดสรรปัจจัยยังชีพและกำหนดให้ผู้คนในสังคมมีความแตกต่างกันหลายระดับชั้น
ดังนั้นอัลลอฮฺตะอาลาซึ่งเป็นผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งจึงสมควรที่จะเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อการหนึ่งการใดตามแต่ที่พระองค์เห็นสมควรและด้วยความรอบรู้ของพระองค์โดยมิพักต้องอาศัยคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะของผู้ใด
ซึ่งการที่พระองค์เป็นผู้ทรงสิทธิ์ในการเลือกแต่เพียงพระองค์เดียวนั้นถือเป็นหลักฐานอันชัดแจ้งยิ่งถึงความเป็นพระเจ้าและความเป็นเอกะของพระองค์ทั้งยังเป็นสิ่งยืนยันถึงความสมบูรณ์แบบของพระองค์และความสัตย์จริงของบรรดาศาสนทูตของพระองค์
ส่วนหนึ่งจากการเลือกของพระองค์คือการที่พระองค์ทรงคัดเลือกมลาอิกะฮฺบางส่วนให้มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้านดังที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
« اللهمَّ رَبَّ جِبْرِيلَ وَمِيْكائِيل وَإسْرافِيل، فَاطرَ السَمَاوَاتِ والأرضِ، عَالمَ الغَيبِ والشهادةِ، أنتَ تَحكُم بَين عِبادِكَ فِيما كانوا فيه يَخْتَلِفونَ، اهْدِنَا لِما اخْتُلِفَ فِيْهِ مِنَ الحقِّ بإذْنكَ، إنَّك تَهْدِي مَنْ تَشاءُ إلى صِراطٍ مُسْتَقِيْمٍ » [رواه مسلم برقم 770] 
ความว่า“โอ้อัลลอฮฺผู้เป็นพระเจ้าของญิบรีลมีกาอีลและอิสรอฟีลผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในที่ลับและที่แจ้งพระองค์ทรงตัดสินในสิ่งที่บรรดาบ่าวของพระองค์ขัดแย้งกันขอพระองค์ทรงชี้นำทางแห่งสัจธรรมจากสิ่งที่มีการขัดแย้งกันด้วยประสงค์ของพระองค์แท้จริงพระองค์ทรงชี้นำทางผู้ที่พระองค์ประสงค์สู่หนทางที่ถูกต้องเที่ยงตรง”(บันทึกโดยมุสลิมหะดีษเลขที่770)

เช่นเดียวกับการที่พระองค์ทรงเลือกบรรดานบีจากลูกหลานของอาดัมและทรงเลือกผู้ทำหน้าที่เราะสูลจากบรรดานบีเหล่านั้นจากนั้นทรงเลือกเราะสูลห้าท่านจากบรรดาเราะสูลทั้งหลายให้ได้รับฉายา“อุลุลอัซมฺ”ที่มีเกียรติและมีความประเสริฐเหนือเราะสูลท่านอื่นๆดังที่ถูกกล่าวถึงในสูเราะฮฺอัลอะหฺซาบอายะฮฺที่8 และอัชชูรออายะฮฺที่13 และทรงเลือกท่านนบีอิบรอฮีมและท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจากบรรดาอุลุลอัซมฺเพื่อดำรงฐานะ“เคาะลีล”(ผู้เป็นที่รักของพระองค์– ผู้แปล)ขอความสันติจงประสบแด่ทุกท่าน
อีกตัวอย่างหนึ่งของการเลือกของพระองค์คือการที่พระองค์ทรงเลือกลูกหลานนบีอิสมาอีลจากบรรดาลูกหลานอาดัมและทรงเลือกลูกหลานกินานะฮฺจากสายคุซัยมะฮฺและทรงเลือกกุร็อยชฺจากลูกหลานกินานะฮฺและทรงเลือกบนีฮาชิมจากลูกหลานกุร็อยชฺจากนั้นทรงเลือกท่านนบีมุหัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจากบนีฮาชิมและทรงเลือกประชาชาติของท่านเหนือประชาชาติอื่นๆ
ดังปรากฏรายงานจากมุอาวิยะฮฺบินหัยดะฮฺเล่าจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่า
« أنتُم تُوْفُون سَبعينَ أُمَّةً ، أنتم خَيْرُها وأَكرَمُها على الله » [رواه أحمد برقم 20015] 
ความว่า“พวกท่านเป็นผู้ที่ทำให้จำนวนประชาชาติทั้งหมดครบเจ็ดสิบประชาชาติซึ่งพวกท่านเป็นประชาชาติที่ดีเลิศและมีเกียรติที่สุดณอัลลอฮฺ"(มุสนัดอะหมัดหะดีษเลขที่ 20015)
อัลลอฮฺทรงเลือกแต่สิ่งที่ดี

กล่าวคืออัลลอฮฺตะอาลาจะทรงเลือกรับแต่สิ่งที่ดีที่สุดจากทุกๆสิ่งเพราะพระองค์ทรงเพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะที่ดีไม่ทรงโปรดนอกจากสิ่งที่ดีและจะไม่ทรงรับคำพูดการกระทำ หรือการบริจาคทานใดๆนอกจากสิ่งที่ดีงาม
และด้วยสิ่งนี้ทำให้เราเห็นถึงสัญญาณแห่งความสำเร็จหรือความล้มเหลวของบ่าวเพราะผู้ที่มีความดีงามในตัวนั้นย่อมเหมาะสมกับสิ่งที่ดีงามและย่อมไม่พอใจกับสิ่งอื่นใดนอกจากสิ่งที่ดีและไม่ขวนขวายแสวงหาหรือพึงพอใจสิ่งใดนอกจากว่าจะเป็นสิ่งที่ดีงาม
คำพูดของบ่าวผู้นั้นก็ย่อมเป็นคำพูดที่ดีอันควรค่าแก่การนำขึ้นไปยังอัลลอฮฺเพื่อจดบันทึกผลบุญความดีในขณะเดียวกันเขาก็จะหลีกเลี่ยงห่างไกลอย่างที่สุดจากคำพูดที่ไม่ดีการโกหกมดเท็จการยุแยงการติฉินนินทาการใส่ร้ายป้ายสีและทุกคำพูดที่น่ารังเกียจ
เขาจะไม่พอใจในการงานใด ๆ นอกจากการงานที่ดีเลิศสมบูรณ์นั่นคือการงานที่ถูกต้องตามแนวทางของท่านศาสนทูตศีลธรรมจรรยาตลอดจนกมลสันดานอันบริสุทธิ์เช่นการเคารพภักดีอัลลอฮฺตะอาลาเพียงพระองค์โดยไม่มีภาคีใดเทียบเคียง การให้ความสำคัญต่อความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺเหนืออารมณ์ความรู้สึกของตนเองการพยายามเข้าหาพระองค์เพื่อให้พระองค์ทรงรักหรือการทำดีต่อบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหลายเท่าที่สามารถจะทำได้ ด้วยการปฏิบัติต่อพวกเขาเหล่านั้นในลักษณะที่ตนชอบที่จะได้รับการปฏิบัติจากพวกเขา
นอกจากนี้เขาย่อมเป็นผู้ที่มีจรรยามารยาทอันงดงามสูงส่งมีความอ่อนโยนนุ่มนวลความสุขุมรอบคอบความอดทนอดกลั้นมีความเมตตาปราณีรักษาสัจจะวาจามีความจริงใจ นอบน้อมถ่อมตนและมีเกียรติศักดิ์ศรีไม่ยอมศิโรราบต่อผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ
เช่นเดียวกับที่ไม่ยอมเลือกบริโภคอาหารเว้นแต่สิ่งที่ดีที่สุดซึ่งก็หมายถึงอาหารที่หะลาลถูกต้องตามหลักการอันจะแปรสภาพเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงร่างกายและจิตวิญญาณอย่างดีและปลอดภัยที่สุด
และเขาก็จะไม่เลือกแต่งงานนอกจากกับผู้ที่มีความดีงามไม่คบหาสมาคมนอกจากกับผู้ที่เป็นคนดีมีคุณธรรมบุคคลเช่นนี้คือผู้ที่อัลลอฮฺตรัสถึงพวกเขาว่า
﴿ ٱلَّذِينَ تَتَوَفَّىٰهُمُ ٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ طَيِّبِينَ يَقُولُونَ سَلَٰمٌ عَلَيۡكُمُ ٱدۡخُلُواْ ٱلۡجَنَّةَ بِمَا كُنتُمۡ تَعۡمَلُونَ ٣٢ ﴾ [النحل: ٣٢] 
ความว่า“บรรดาผู้ที่มลาอิกะฮฺเอาชีวิตของพวกเขาโดยที่พวกเขาเป็นคนดีพลางกล่าวว่าศานติจงมีแด่พวกเจ้าจงเข้าไปในสวนสวรรค์เนื่องจากสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไว้” (อันนะหฺล์: 32)

และเป็นผู้ที่มลาอิกะฮฺซึ่งทำหน้าที่เฝ้าประตูสวรรค์กล่าวแก่เขาว่า
﴿ سَلَٰمٌ عَلَيۡكُمۡ طِبۡتُمۡ فَٱدۡخُلُوهَا خَٰلِدِينَ ٧٣ ﴾ [الزمر:  ٧٢]
ความว่า"ขอความสันติจงประสบแด่พวกท่านพวกท่านได้ทำดีแล้วดังนั้นจงเข้าสู่สรวงสวรรค์และพำนักอยู่ในนั้นชั่วกาลนานเถิด” (อัซซุมัรฺ: 72)

อัลลอฮฺตะอาลายังตรัสว่า
﴿ ٱلۡخَبِيثَٰتُ لِلۡخَبِيثِينَ وَٱلۡخَبِيثُونَ لِلۡخَبِيثَٰتِۖ وَٱلطَّيِّبَٰتُ لِلطَّيِّبِينَ وَٱلطَّيِّبُونَ لِلطَّيِّبَٰتِۚ أُوْلَٰٓئِكَ مُبَرَّءُونَ مِمَّا يَقُولُونَۖ لَهُم مَّغۡفِرَةٞ وَرِزۡقٞ كَرِيمٞ ٢٦ ﴾ [النور : ٢٦] 
ความว่า"หญิงชั่วย่อมคู่ควรกับชายชั่วและชายชั่วย่อมคู่ควรกับหญิงชั่วและหญิงดีย่อมคู่ควรกับชายดีและชายดีย่อมคู่ควรกับหญิงดีชนเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขากล่าวร้ายสำหรับพวกเขา(ผู้ถูกกล่าวร้าย) จะได้รับการอภัยโทษและเครื่องยังชีพอันมีเกียรติ” (อันนูร: 26)

นักวิชาการได้ให้ความหมายอายะฮฺนี้ว่า คำพูดที่ไม่ดีนั้นย่อมคู่ควรกับคนไม่ดี ส่วนคำพูดที่ดีก็ย่อมคู่ควรกับคนที่ดี ในขณะที่นักวิชาการบางส่วนให้ความหมายว่าสตรีที่ดีย่อมคู่ควรกับบุรุษที่ดี และในทางกลับกันก็เช่นเดียวกันแต่ทั้งนี้ก็อาจกล่าวได้ว่าอายะฮฺข้างต้นนั้นครอบคลุมความหมายดังกล่าวทั้งหมด
ทั้งนี้ อัลลอฮฺทรงให้สวรรค์เป็นสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งดีงามทุกประการทรง ให้นรกเป็นศูนย์รวมความชั่วร้ายทั้งหมดและทรงให้โลกดุนยาเป็นสถานที่ซึ่งประกอบไปด้วยสิ่งดีงามและความชั่วร้ายในเวลาเดียวกันกระทั่งเมื่อวันสิ้นโลกมาถึงพระองค์ก็จะทรงแยกความชั่วร้ายออกจากความดีงามเหลือไว้แต่เพียงที่พำนักสองแห่งเท่านั้น
ซึ่งมนุษย์เรานั้นอาจมีทั้งการงานด้านดีอันนำไปสู่สวรรค์และด้านลบอันเป็นกุญแจนำไปสู่นรกอยู่ในตัวการงานด้านใดเหนือกว่าเขาก็จะได้รับผลตอบแทนในด้านนั้นผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้เขาได้พบจุดจบที่ดีพระองค์จะทรงลบล้างความผิดให้เขาก่อนที่เขาจะสิ้นชีวิตโดยไม่ต้องชดใช้ความผิดในขุมนรกอีก
แน่นอนว่าอัลลอฮฺจะไม่ทรงให้บ่าวเข้าพำนักในสรวงสวรรค์ของพระองค์ในสภาพที่เนื้อตัวแปดเปื้อนด้วยบาปความผิดพระองค์จึงทรงให้เขาชดใช้ความผิดในนรกเสียก่อน เพื่อชำระล้างตัวให้บริสุทธิ์ผุดผ่องซึ่งการชำระล้างนี้จะใช้ระยะเวลานานเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับความเร็วหรือช้าของการขจัดบาปความผิดของแต่ละคน
และในเมื่อมุชริกผู้ตั้งภาคีนั้นโดยเนื้อแท้ภายในแล้วเป็นผู้ที่สกปรกน่ารังเกียจไฟนรกจึงไม่อาจชำระล้างเขาให้บริสุทธิ์ได้เปรียบได้กับสุนัขที่แม้จะลงไปแหวกว่ายในน้ำทะเลก็ไม่อาจทำให้ตัวมันสะอาดในมุมมองของศาสนาได้
ในขณะเดียวกันผู้ศรัทธาที่ดำรงไว้ซึ่งความดีงามและห่างไกลจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆนรกก็จะเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขาเพราะไม่มีเหตุให้ต้องชำระล้างอีกต่อไป










จำเป็นต้องศึกษาแบบฉบับของท่านเราะสูล

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าการศึกษาเรียนรู้แบบอย่างและแนวทางของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบ่าวทุกคน เพราะท่านคือผู้นำทางสู่แสงสว่างอย่างแท้จริง ทั้งนี้มนุษย์เรามิอาจแยกแยะสิ่งดีงามออกจากสิ่งชั่วร้ายอย่างละเอียดถี่ถ้วนและถูกต้องโดยปราศจากการชี้นำของท่านได้ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดเหนือไปกว่าความจำเป็นที่เราจะต้องมีเราะสูลชี้นำทางโดยถือเป็นความจำเป็นที่อยู่เหนือความจำเป็นอื่นใดทั้งปวง
จะไม่เป็นเช่นนั้นได้อย่างไรในเมื่อเรามิอาจก้าวออกจากแบบอย่างและแนวทางของท่านได้แม้แต่พริบตาเดียว เพราะนั่นหมายถึงความเสื่อมทรามลงของจิตใจ แต่ผู้ที่จะลิ้มรสรู้สึกถึงสิ่งนี้ได้คือผู้ที่หัวใจของเขายังมีชีวิตอยู่เท่านั้น มิเช่นนั้นก็คงเป็นเหมือนศพที่ไม่รู้สึกรู้สาอะไรกับบาดแผลตามร่างกาย
เมื่อเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าความสุขความปลอดภัยที่แท้จริงนั้นถูกผูกโยงไว้กับแบบฉบับและแนวทางของท่าน นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจึงถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ขวนขวายหาทางรอดอันปลอดภัยที่จะต้องศึกษาเรียนรู้แบบอย่างและแนวทางการดำเนินชีวิตของท่านเพื่อที่เขาจะได้หลุดพ้นจากวังวนของความอวิชชา
ซึ่งในเรื่องนี้แต่ละคนก็แตกต่างกันไป บางคนหย่อนยาน บางคนปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ในขณะที่บางคนกลับไม่สนใจใยดีที่จะศึกษาเรียนรู้เลยแม้แต่น้อย จึงถือเป็นความเมตตาความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่จะทรงดลใจให้ผู้ใดเข้าถึงสิ่งนี้ตามที่พระองค์ทรงประสงค์

(1) แบบฉบับของท่านในการอาบน้ำละหมาด
โดยส่วนใหญ่แล้วท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะอาบน้ำละหมาดก่อนละหมาดทุกเวลาแต่ในบางครั้งท่านก็ละหมาดหลายเวลาโดยอาบน้ำละหมาดเพียงครั้งเดียว
    ท่านอาบน้ำละหมาดด้วยน้ำเพียงหนึ่งมุด (เท่ากับสองอุ้งมือโดยประมาณ– ผู้แปล) บางครั้งด้วยน้ำสองส่วนสามมุด และบางครั้งก็มากกว่านั้นโดยท่านใช้น้ำแต่ปริมาณน้อยและยังห้ามประชาชาติของท่านมิให้ใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น ด้วยมีรายงานที่ถูกต้องระบุไว้ว่าท่านล้างอวัยวะแต่ละส่วนเพียงครั้งเดียวบ้าง สองครั้งบ้าง และสามครั้งบ้าง และมีรายงานเช่นกันว่าบางครั้งท่านล้างอวัยวะบางส่วนสองครั้งและบางส่วนสามครั้ง ในบางครั้งท่านบ้วนปากพร้อมสูดน้ำเข้าจมูกเพียงครั้งเดียว บางครั้งท่านทำเช่นนั้นสองครั้ง และบางครั้งท่านทำสามครั้ง โดยท่านบ้วนปากพร้อมๆกับสูดน้ำเข้าจมูกด้วยมือขวาแล้วสั่งน้ำออกด้วยมือซ้าย
บางครั้งท่านเช็ดศีรษะทั้งหมดหนึ่งครั้งแต่บางครั้งท่านเช็ดโดยใช้สองมือเช็ดจากศีรษะส่วนหน้าไปยังส่วนท้ายแล้วเช็ดย้อนกลับมายังส่วนหน้าในครั้งเดียว แต่ไม่ปรากฏรายงานที่ถูกต้องเลยว่าท่านเช็ดแต่เพียงบางส่วนของศีรษะยกเว้นในกรณีที่สวมใส่ผ้าโพกศีรษะกล่าวคือเมื่อท่านเช็ดส่วนหน้าของศีรษะแล้วท่านก็เช็ดผ้าโพกศีรษะไปด้วย (โดยไม่ถอดผ้าโพกศีรษะ)
และทุกครั้งที่อาบน้ำละหมาดท่านจะบ้วนปากและสูดน้ำเข้าจมูกเสมอ ทั้งนี้ไม่มีบันทึกรายงานว่าท่านเคยละเว้นขั้นตอนดังกล่าวเลยแม้แต่ครั้งเดียว ท่านอิบนุลก็อยยิมได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านหลายเล่มว่าการบ้วนปากและสูดน้ำเข้าจมูกนั้นถือเป็นวาญิบ เช่นเดียวกับการที่ท่านอาบน้ำละหมาดด้วยการล้างอวัยวะส่วนต่างๆตามลำดับและต่อเนื่องทุกครั้งไม่ผิดไปเลยแม้แต่ครั้งเดียว
ในกรณีที่ท่านมิได้สวมใส่คุฟ(ถุงเท้าหนังที่หุ้มถึงข้อเท้า – ผู้แปล) หรือถุงเท้าท่านจะล้างเท้าของท่านเสมอและท่านจะเช็ดหูสองข้างทั้งด้านในและด้านนอกพร้อมๆกับการเช็ดศีรษะ
หะดีษทุกบทที่ระบุถึงอัซการฺที่ให้กล่าวขณะอาบน้ำละหมาดนั้นล้วนเป็นเท็จทั้งสิ้นยกเว้นการกล่าวบิสมิลลาฮฺในตอนต้นและการกล่าวดุอาอ์บทต่อไปนี้ในตอนท้าย
«أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلهَ إِلَّا اللهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيْكَ لَهُ وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ، اللَّهُمَّ اجْعَلْنِيْ مِنَ التَوَّابِيْنَ وَاجْعَلْنِيْ مِنَ المتَطَهِّرِيْنَ»[رواه الترمذي برقم 148 وابن ماجه برقم 470]
ความว่า"ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวไม่มีภาคีใดเทียบเคียงเสมอพระองค์และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์โอ้อัลลอฮฺของทรงให้ฉันเป็นหนึ่งในบรรดาผู้เตาบะฮฺกลับตัวและขอทรงให้ฉันเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่รักษาความสะอาด” (บันทึกโดย อัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่ 148 และอิบนุมาญะฮฺ หะดีษเลขที่ 470)
และหะดีษอีกบทหนึ่งซึ่งมีบันทึกไว้ในหนังสือสุนันอันนะสาอีย์ที่ให้กล่าวว่า
«سُبْحَانَكَ اللهُمَّ وَبِحَمْدِكَ أَشْهَدُ أَنْ لاإِلهَ إِلاأَنْتَ أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوبُ إِلَيْكَ»
ความว่า“มหาบริสุทธิ์แห่งอัลลอฮฺและด้วยการสรรเสริญต่อพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ฉันขออภัยโทษต่อพระองค์และฉันขอกลับเข้าหาพระองค์"

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยกล่าว"นะวัยตู"(แปลว่าฉันเจตนาว่า.. – ผู้แปล) ขณะเริ่มอาบน้ำละหมาดเลยแม้แต่ครั้งเดียว และไม่มีเศาะหาบะฮฺท่านใดเคยกล่าวด้วย โดยท่านมิได้กล่าวมากไปกว่าสามสิ่งดังกล่าวข้างต้นเลย ในทำนองเดียวกันไม่ปรากฏว่ามีรายงานที่ถูกต้องระบุว่าท่านล้างส่วนที่สูงเหนือข้อศอกหรือตาตุ่มเลย และท่านก็มิได้เช็ดอวัยวะต่างๆภายหลังการอาบน้ำละหมาดอย่างเป็นประจำ
ท่านสางเคราบ้างเป็นบางครั้งแต่มิได้ทำเป็นประจำเช่นเดียวกับการสางนิ้วซึ่งท่านมิได้ทำอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการขยับแหวนขณะล้างมือนั้น หะดีษที่รายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นหะดีษเฎาะอีฟ
มีรายงานที่ถูกต้องระบุว่าท่านเคยใช้วิธีเช็ดบนคุฟและถุงเท้า ไม่ว่าจะอยู่ระหว่างการเดินทางหรือไม่ก็ตามโดยท่านได้กำหนดให้การเช็ดแต่ละครั้งใช้ได้นานหนึ่งวันกับหนึ่งคืนสำหรับผู้ที่มิได้เดินทางและสามวันกับสามคืนสำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการเดินทางโดยท่านเช็ดส่วนบนของคุฟและถุงเท้า
ท่านยังเคยเช็ดบนผ้าโพกศีรษะเพียงอย่างเดียวและเคยเช็ดบนผ้าโพกศีรษะพร้อมกับศีรษะส่วนหน้าด้วย ซึ่งการเช็ดลักษณะนี้อาจเป็นวิธีการเช็ดในกรณีที่มีความจำเป็นเท่านั้นแต่ก็อาจจะเป็นการเช็ดที่อนุญาตให้กระทำได้ในทุกสภาพก็ได้ ซึ่งอย่างหลังดูจะมีน้ำหนักชัดเจนมากกว่า ทั้งนี้ท่านไม่เคยกระทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสภาพเท้าของท่าน กล่าวคือหากว่าเท้าทั้งสองของท่านสวมใส่คุฟอยู่ท่านก็จะเช็ดบนคุฟเช่นเดียวกันหากว่าเท้าของท่านมิได้สวมใส่สิ่งใดท่านก็จะใช้วิธีล้างเท้า

(2) การตะยัมมุม
ท่านทำตะยัมมุมโดยเช็ดใบหน้าและมือทั้งสองด้วยการตบดินเพียงครั้งเดียว ณ จุดที่ท่านจะทำการละหมาดไม่ว่าบริเวณดังกล่าวจะเป็นดินทะเลสาบแห้งหรือทรายก็ตามมีบันทึกรายงานที่ถูกต้องจากท่านว่า
«حَيْثُما أَدْرَكَتْ رَجُلاً مِنْ أُمَّتِي الصَلاةُ فَعِنْدَهُ مَسْجِدُهُ وطهُورُه »[رواه البخاري برقم 328 ومسلم برقم 521]
ความว่า “เมื่อได้เวลาละหมาดไม่ว่าผู้หนึ่งผู้ใดจากประชาชาติของฉันจะอยู่แห่งหนใดก็ตามเขาก็มีที่ละหมาดและมีสิ่งที่ใช้ทำความสะอาดเสมอ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺหะดีษเลขที่ 328 และมุสลิมหะดีษเลขที่ 521)

เมื่อครั้งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและเศาะหาบะฮฺเดินทางไกลระหว่างสงครามตะบูกพวกท่านได้เดินผ่านผืนทรายอันกว้างใหญ่ไพศาลโดยพกพาน้ำติดตัวไปเพียงน้อยนิดแต่ถึงกระนั้นก็ไม่ปรากฏรายงานว่าท่านได้นำหรือใช้ให้นำดินติดตัวไปด้วยหรือมีเศาะหาบะฮฺท่านใดทำเช่นนั้นเลยซึ่งหากผู้ใดพิจารณาเรื่องนี้ย่อมมั่นใจว่าท่านเคยทำตะยัมมุมด้วยทราย
    และไม่ปรากฏรายงานที่ถูกต้องว่าท่านทำหรือใช้ให้ทำตะยัมมุมทุกครั้งที่จะละหมาดเวลาถัดไปแต่ที่ปรากฏคือท่านได้กล่าวถึงตะยัมมุมโดยมิได้ระบุรายละเอียดส่วนนี้และให้การตะยัมมุมแทนที่การอาบน้ำละหมาด

(3) แบบฉบับของท่านนบีในการละหมาด
ท่านเริ่มละหมาดด้วยการกล่าว"อัลลอฮุอักบัร”โดยมิได้กล่าวคำอื่นใดก่อนหน้านั้น และมิได้เปล่งคำเนียตออกมาแต่อย่างใด ทั้งนี้การเปล่งคำเนียตนั้นไม่มีนักวิชาการท่านใดไม่ว่าจากชั้นตาบิอีนหรืออิมามสี่มัซฮับที่มีทัศนะว่าเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้กระทำ
    ท่านกล่าวตักบีรฺว่า"อัลลอฮุอักบัร”เสมอไม่มีคำกล่าวอื่นใดนอกจากคำนี้โดยท่านกล่าวพร้อมกับยกสองมือขึ้นระดับปลายติ่งหูในลักษณะที่นิ้วมือทั้งหมดเหยียดตรงและหันฝ่ามือไปทางทิศกิบลัต
แต่ก็มีระบุในบางรายงานว่าท่านยกมือขึ้นระดับไหล่หลังจากนั้นท่านวางมือขวาทาบลงบนหลังมือซ้ายบริเวณระหว่างข้อมือและปลายแขน
    บางครั้งท่านกล่าวอิสติฟตาหฺด้วยดุอาอ์บทนี้   
«اللّهُم بَاعِدْ بَيْنِي وَبَيْنَ خَطايايَ كمَا بَاعَدْتَ بَيْنَ المَشْرِقِ والمَغْرِبِ، اللّهُمَّ اغْسِلْنِي مِنْ خَطايايَ بالمَاءِ والثَلْجِ والبَرَدِ، اللّهُم نَقِّنِي مِنَ الذُنُوبِ والخَطَايا كما يُنَقَّى الثَوْبُ الأبْيَضُ مِنَ الدَنَس» [رواه البخاري برقم 711 ومسلم برقم 598]
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์ห่างไกลจากบาปความผิดต่างๆของข้าพระองค์ดังเช่นที่พระองค์ทรงให้ทิศตะวันออกอยู่ไกลจากทิศตะวันตก โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงชำระล้างตัวข้าพระองค์จากบาปความผิดของข้าพระองค์ด้วยน้ำหิมะและลูกเห็บ โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงทำให้ข้าพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากบาปความผิดทั้งปวงดังเช่นผ้าขาวที่ได้รับการชำระล้างเพื่อขจัดสิ่งสกปรกด้วยเถิด"(บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 711 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 598)

และบางครั้งท่านกล่าวว่า
«وَجَّهْتُ وَجْهِيَ للذِيْ فَطَرَ السَموَاتِ والأَرْضَ حَنِيْفًا مُسْلِمًا، وَمَا أنَا مِنَ المُشْركِينَ، إِنَّ صَلاتي وَنُسُكِيْ وَمَحْيَايَ وَمَمَاتِي للهِ رَبِّ العَالَمِين، لا شَرِيْكَ لَهُ، وَبِذلِكَ أُمِرْتُ وَأَنَا أَوَّلُ المُسْلِمِيْنَ. اللَّهُمَّ أَنْتَ الْمَلِكُ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ، أَنْتَ رَبِّي وَأَنَا عَبْدُكَ ظَلَمْتُ نَفْسِي، وَاعْتَرَفْتُ بِذَنْبِي، فَاغْفِرْلِي ذُنُوبِي جَمِيعًا، إِنَّهُ لَا يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلَّا أَنْتَ، وَاهْدِنِي لِأَحْسَنِ الْأَخْلَاقِ لَا يَهْدِي لِأَحْسَنِهَا إِلَّا أَنْتَ، وَاصْرِفْ عَنِّي سَيِّئَهَا لَا يَصْرِفُ سَيِّئَهَا إِلَّا أَنْتَ، لَبَّيْكَ وَسَعْدَيْكَ، وَالْخَيْرُ في يَدَيْكَ، وَالشَّرُّ لَيْسَ إِلَيْكَ، أَنَا بِكَ وَإِلَيْكَ، تَبَارَكْتَ وَتَعَالَيْتَ، أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوبُ إِلَيْكَ» [رواه مسلم برقم 771]
ความว่า"ข้าพระองค์ขอผินหน้าของข้าพระองค์แด่ผู้ที่สร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินในฐานะผู้ใฝ่หาความจริงผู้สวามิภักดิ์ และข้าพระองค์มิใช่คนหนึ่งในหมู่ผู้ตั้งภาคี แท้จริงการละหมาดของข้าพระองค์ อิบาดะฮฺของข้าพระองค์ การมีชีวิตของข้าพระองค์ และการตายของข้าพระองค์นั้นเพื่ออัลลอฮฺผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลกเท่านั้น ไม่มีภาคีใดๆเทียบเคียงพระองค์และด้วยสิ่งนั้นแหละข้าพระองค์ถูกใช้ และข้าพระองค์คือคนแรกในหมู่ผู้สวามิภักดิ์ทั้งหลาย โอ้อัลลอฮฺพระองค์คือผู้ทรงมีอำนาจเหนือทุกสิ่งไม่มีพระเจ้าที่แท้จริงอื่นใดนอกจากพระองค์ พระองค์คือพระเจ้าของข้าพระองค์และข้าพระองค์คือบ่าวของพระองค์ ข้าพระองค์ได้อธรรมต่อตัวข้าพระองค์เองและข้าพระองค์ได้สำนึกในบาปความผิดของข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดอภัยแก่ข้าพระองค์ซึ่งบาปความผิดทั้งปวงของข้าพระองค์ แท้จริงแล้วไม่มีผู้ใดสามารถอภัยบาปความผิดได้นอกจากพระองค์  และขอพระองค์ทรงชี้นำข้าพระองค์ให้เป็นผู้ที่มีจรรยามารยาทอันงดงาม ไม่มีผู้ใดสามารถชี้นำสู่จรรยามารยาทอันงดงามได้นอกจากพระองค์ และขอพระองค์ทรงให้มารยาทอันต่ำช้าห่างไกลจากข้าพระองค์ ไม่มีผู้ใดสามารถทำให้มันห่างไกลจากข้าพระองค์ได้นอกจากพระองค์ ข้าพระองค์ขอยืนหยัดในคำสั่งใช้และแนวทางศาสนาของพระองค์ตลอดไป สิ่งดีงามทั้งปวงอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ ข้าพระองค์จำเป็นต้องพึ่งการชี้นำจากพระองค์ และต้องกลับไปหาพระองค์  พระองค์คือผู้ที่คู่ควรแก่การสรร เสริญความยิ่งใหญ่ของพระองค์เป็นที่ประจักษ์ชัด ขอพระองค์โปรดอภัยให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิดและข้าพระองค์ขอกลับเข้าหาพระองค์” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 771)

    แต่ตามรายงานหะดีษที่มีบันทึกไว้นั้นคำกล่าวนี้ท่านกล่าวในการละหมาดกิยามุลลัยลฺ และบางครั้งท่านก็กล่าวดุอาอ์ที่ขึ้นต้นว่า
«اللَّهُمَّ رَبَّ جِبْرِيلَ وَمِيكَائِيلَ وَإِسْرَافِيلَ ...»

หรือดุอาอ์ที่ขึ้นต้นว่า
«اللَّهُمَّ لَكَ الحَمْدُ، أنْتَ نُورُ السموَاتِ والأرضِ وَمَنْ فيهِنَّ ...»[رواه البخاري برقم 1069 ومسلم برقم 769]
ความว่า"โอ้อัลลอฮฺมวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์พระองค์คือแสงรัศมีแห่งบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินตลอดจนทุกสรรพสิ่งในชั้นฟ้าและแผ่นดินเหล่านั้น"(บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 1069 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 769)

ซึ่งบทอิสติฟตาหฺเหล่านี้ล้วนมีรายงานถูกต้องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและมีรายงานเช่นกันว่าท่านนบีกล่าวอิสติฟตาหฺว่า
«سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ، وَتَبَارَكَ اسْمُكَ، وَتَعَالَى جَدُّكَ، وَلَا إِلَهَ غَيْرُكَ» [رواه البخاري برقم 710 ومسلم برقم 399]
ความว่า “มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺด้วยการสรรเสริญต่อพระองค์พระองค์ทรงคู่ควรแก่การสรรเสริญ ความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของพระองค์เป็นที่ประจักษ์ชัด และไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์" (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 710 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 399)

ทั้งนี้คำกล่าวที่ปรากฏในรายงานก่อนหน้าบทนี้มีความถูกต้องมากกว่าแต่ก็มีรายงานถูกต้องระบุว่าท่านอุมัรเคยกล่าวอิสติฟตาหฺด้วยบทดังกล่าวโดยท่านกล่าวเสียงดังเพื่อสอนผู้อื่น
อิมามอะหฺมัดกล่าวว่า “ฉันให้น้ำหนักคำกล่าวที่มีรายงานจากท่านอุมัร แต่ทั้งนี้หากใครจะกล่าวอิสติฟตาหฺด้วยบทหนึ่งบทใดที่มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็เป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น"
    หลังจากนั้นท่านนบีกล่าว"อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม” แล้วจึงอ่านฟาติหะฮฺโดยในบางครั้งท่านกล่าว “บิสมิลลาฮิรฺเราะหฺมานิรฺเราะหีม” เสียงดังแต่ส่วนใหญ่ท่านจะกล่าวเพียงเบาๆ ท่านอ่านฟาติหะฮฺช้าๆทีละอายะฮฺอย่างชัดถ้อยชัดคำ เมื่ออ่านจบแล้วท่านกล่าว"อามีน” ซึ่งในการละหมาดที่อ่านเสียงดังท่านจะกล่าวอามีนเสียงดัง แล้วผู้ที่ละหมาดข้างหลังท่านจึงกล่าวตาม
    ท่านจะหยุดเงียบชั่วครู่ (สักตะฮฺ) สองครั้งระหว่างตักบีรฺกับอ่านฟาติหะฮฺครั้งหนึ่ง ส่วนครั้งที่สองนั้นมีสองรายงาน รายงานหนึ่งระบุว่าคือช่วงหลังจากอ่านฟาติหะฮฺ และอีกรายงานหนึ่งระบุว่าคือช่วงก่อนรุกูอฺ
บางทัศนะเห็นว่าท่านหยุดเงียบสองครั้งนอกเหนือจากการหยุดในครั้งแรก แต่ที่มีน้ำหนักชัดกว่าคือท่านหยุดเพียงสองครั้งเท่านั้น ส่วนครั้งที่สามเป็นการหยุดเล็กน้อยเพื่อพักหายใจ ซึ่งรายงานที่มิได้ระบุถึงการหยุดเงียบในจุดนี้ก็เพราะเป็นเพียงการหยุดเงียบที่สั้นมาก
    เมื่ออ่านฟาติหะฮฺจบแล้วท่านก็อ่านสูเราะฮฺอื่นซึ่งบางครั้งท่านอ่านยาว แต่บางครั้งเมื่อมีเหตุจำเป็นเช่นอยู่ระหว่างการเดินทางหรือมีเหตุอื่นๆท่านก็อ่านเพียงสั้นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วท่านจะอ่านสูเราะฮฺที่มีความยาวปานกลาง

(4) การอ่านในละหมาด
ในละหมาดฟัจญรฺท่านอ่านราวๆหกสิบถึงหนึ่งร้อย   อายะฮฺ บางครั้งท่านอ่านสูเราะฮฺ"กอฟ” บางครั้งอ่านสูเราะฮฺ “อัรรูม”หรือ“อัตตักวีร” และในบางครั้งท่านอ่าน“อัซซัลซะละฮฺ”ซ้ำกันในสองร็อกอัต บางครั้งท่านอ่าน"อัลมุเอาวิซะตัยน์”        (สูเราะฮฺอัลฟะลักและอันนาส) ในละหมาดระหว่างการเดินทางและมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ท่านอ่านสูเราะฮฺ“อัลมุอ์มินูน”กระทั่งถึง     อายะฮฺที่กล่าวถึงนบีมูซาและนบีฮารูนในร็อกอัตแรกท่านก็ไอท่านจึงก้มรุกูอ์
    ในละหมาดฟัจญรฺวันศุกร์ท่านอ่านสูเราะฮฺ“อัสสัจดะฮฺ” และสูเราะฮฺ“อัลอินสาน” เนื่องจากเป็นสูเราะฮฺที่กล่าวถึงการเริ่มต้นของชีวิตและการกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง การสร้างอาดัม การเข้าสวรรค์และลงนรก ตลอดจนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นในวันศุกร์ ในลักษณะเดียวกับการที่ท่านอ่านสูเราะฮฺ “กอฟ” "อัลเกาะมัรฺ" "อัลอะอฺลา”หรือ“อัลฆอชิยะฮฺ” ในกรณีที่มีการรวมตัวครั้งใหญ่ๆ เช่นในวันอีดทั้งสองหรือวันศุกร์
    ส่วนในละหมาดซุฮรฺท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมอ่านยาวเป็นบางครั้ง อบูสะอีดเล่าว่า “บางครั้งละหมาดซุฮรฺเริ่มขึ้นในขณะที่บางคนกำลังออกไปยังบะกีอฺ(สถานที่แห่งหนึ่งใกล้มัสยิดนบี– ผู้แปล) เพื่อปลดทุกข์ หลังจากนั้นเขาก็กลับไปที่บ้านของเขาเพื่ออาบน้ำละหมาด แต่กระนั้นเขาก็ยังทันร่วมละหมาดพร้อมกับท่าน นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในร็อกอัตแรกด้วยความที่ท่านอ่านยาว”หะดีษนี้บันทึกโดยอิมามมุสลิม ทั้งนี้ ท่านอ่านยาวประมาณสูเราะฮฺ"อัสสัจญดะฮฺ” บางครั้งก็อ่านยาวประมาณสูเราะฮฺ "อัลอะอฺลา" "อัลลัยลฺ” หรือ“อัลบุรูจญ์"
    ในละหมาดอัศรฺท่านอ่านประมาณครึ่งหนึ่งจากที่อ่านในละหมาดซุฮรฺกรณีที่อ่านยาว หรือใกล้เคียงกับที่อ่านในละหมาดซุฮรฺกรณีที่อ่านสั้น
    ส่วนละหมาดมัฆริบแนวทางที่ท่านเคยปฏิบัติไว้นั้นแตกต่างจากสิ่งที่ผู้คนในยุคนี้กระทำกัน กล่าวคือในบางครั้งท่านอ่านสูเราะฮฺ"อัลอะอฺรอฟ” จบในสองร็อกอัต บางครั้งท่านอ่าน     สูเราะฮฺ“อัฏฏูร” และบางครั้งท่านอ่านสูเราะฮฺ“อัลมุรสะลาต" ส่วนการอ่านแต่เพียงสูเราะฮสั้นๆเป็นประจำนั้น มัรวาน(บิน           อัลหะกัม) เป็นผู้ริเริ่มขึ้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวก็ถูกตำหนิว่ากล่าวจากท่านซัยดฺ บินษาบิต
ท่านอิบนุอับดิลบัรฺกล่าวว่า: มีรายงานหลายบทระบุว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเคยอ่านสูเราะฮฺ “อัลอะอฺรอฟ "”อัศศอฟฟาต” “อัดดุคอน” “อัลอะอฺลา” “อัตตีน” “อัลฟะลัก "”อันนาส” และ“อัลมุรสะลาต” ในละหมาดมัฆริบ ซึ่งเป็นรายงานที่เลื่องลือ และมีรายงานเช่นเดียวกันว่า ท่านอ่านสูเราะฮฺสั้นๆ ทั้งนี้รายงานที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นรายงานที่มีความถูกต้องและเป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวาง
    ส่วนในละหมาดอิชาอ์ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมอ่านสูเราะฮฺ"อัตตีน” และท่านได้กำชับให้ท่านมุอาซอ่านสูเราะฮฺ “อัชชัมสฺ" "อัลอะอฺลา" "อัลลัยลฺ” หรือสูเราะฮฺอื่นๆที่มีความยาวใกล้เคียงกับสูเราะฮฺเหล่านี้
ท่านได้ตำหนิท่านมุอาซที่นำละหมาดโดยอ่าน      สูเราะฮฺ“อัลบะเกาะเราะฮฺ” โดยท่านกล่าวความว่า: "มุอาซท่านเป็นผู้ที่ชอบสร้างฟิตนะฮฺความวุ่นวายอย่างนั้นหรือ?”(บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 5755 และมุสลิมหะดีษเลขที่ 465)
ซึ่งผู้ที่ชื่นชอบการละหมาดเร็วๆ ก็มักจะอ้างคำพูดนี้โดยที่ไม่พิจารณาดูบริบทก่อนหลังให้ดี
    ในละหมาดวันศุกร์ท่านอ่านสูเราะฮฺ“อัลญุมุอะฮฺ” กับสูเราะฮฺ“อัลมุนาฟิกูน” และสูเราะฮฺ“อัลอะอฺลา” กับสูเราะฮฺ "อัลฆอชิยะฮฺ” ส่วนการอ่านแต่เพียงตอนท้ายของสูเราะฮฺทั้งสองนั้นไม่ปรากฏว่าท่านเคยปฏิบัติแต่อย่างใด
    ในละหมาดวันอีดทั้งสอง บางครั้งท่านอ่านสูเราะฮฺ “กอฟ” กับสูเราะฮฺ“อัลเกาะมัรฺ” จนจบสูเราะฮฺ และบางครั้งท่านอ่านสูเราะฮฺ“อัลอะอฺลา” กับสูเราะฮฺ“อัลฆอชิยะฮฺ”
ดังกล่าวนี้คือแบบอย่างที่ท่านกระทำอย่างต่อเนื่องกระทั่งกลับคืนสู่พระองค์อัลลอฮฺ
    จะเห็นว่าบรรดาเคาะลีฟะฮฺก็ได้ยึดถือปฏิบัติตามแบบฉบับดังกล่าวโดยท่านอบูบักรฺอ่านสูเราะฮฺ"อัลบะเกาะเราะฮฺ” ในละหมาดฟัจญรฺ กว่าท่านจะให้สลามออกจากการละหมาดก็เกือบสว่างแล้ว ท่านอุมัรซึ่งเป็นผู้นำหลังจากท่านก็อ่านสูเราะฮฺ“ยูสุฟ" "อันนะหฺล์" "ฮูด""อัลอิสรออ์” หรือสูเราะฮฺอื่นๆที่มีความยาวใกล้เคียงกับสูเราะฮฺเหล่านี้
    ส่วนคำกล่าวของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า"คนใดในหมู่ท่านนำละหมาดก็จงละหมาดแต่เพียงสั้นๆ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺหะดีษเลขที่ 671 และมุสลิมหะดีษเลขที่467) นั้น การจะทำความเข้าใจความหมายของการละหมาดสั้นๆในที่นี้จำเป็นต้องย้อนกลับไปดูสิ่งที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ  อะลัยฮิวะสัลลัมได้เคยปฏิบัติไว้มิใช่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ความต้องการของบรรดามะอ์มูม
ทั้งนี้แบบฉบับที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมปฏิบัติอย่างเป็นประจำเท่านั้นที่เป็นตัวตัดสินในทุกๆประเด็นที่ผู้คนขัดแย้งเห็นต่างกัน
    ท่านจะไม่เจาะจงอ่านสูเราะฮฺใดสูเราะฮฺหนึ่งเป็นประจำยกเว้นในวันศุกร์และวันอีดทั้งสอง และตามแบบฉบับของท่านนั้นท่านจะอ่านจนจบทั้งสูเราะฮฺ หรือแบ่งอ่านสูเราะฮฺหนึ่งในสองร็อกอัต การอ่านแต่ตอนท้ายหรือตอนกลางของสูเราะฮฺนั้นไม่ปรากฏว่ามีบันทึกรายงานจากท่านแต่อย่างใด
ส่วนการอ่านสองสูเราะฮฺในร็อกอัตเดียวนั้นท่านเคยปฏิบัติในละหมาดสุนัตในขณะที่การอ่านสูเราะฮฺเดียวซ้ำกันในสองร็อกอัตนั้นเป็นสิ่งที่ท่านไม่ค่อยกระทำ ในการละหมาดทุกครั้งท่านจะอ่านในร็อกอัตแรกยาวกว่าร็อกอัตที่สอง ในบางครั้งท่านอ่านยาวจนกว่าจะไม่ได้ยินเสียงก้าวเดิน



(5) การรุกูอฺ
เมื่ออ่านเสร็จท่านยกมือขึ้นกล่าวตักบีรฺแล้วก้มรุกูอฺโดยวางฝ่ามือทั้งสองบนเข่าประหนึ่งว่าท่านกำมันไว้ แขนห่างจากตัวเล็กน้อยและหลังเหยียดตรงในลักษณะที่ศีรษะอยู่ในระนาบเดียวกับหลัง ไม่แหงนขึ้นหรือก้มลง
ขณะรุกูอฺท่านกล่าว
«سُبْحَانَ رَبِّيَ العَظِيْم»
ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงยิ่งใหญ่เกรียงไกรพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใดๆทั้งสิ้น”
บางครั้งท่านกล่าวหลังจากนั้นว่า
«سُبْحَانَكَ اللهُمَّ رَبَّنَا وَبِحَمْدِهِ، اللهُمَّ اغْفِرْ لِي»
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺพระผู้อภิบาลของเรา พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใดๆทั้งสิ้น ขอสรรเสริญพระองค์ ขอพระองค์ทรงอภัยให้แก่ฉันด้วยเถิด”

บางครั้งท่านกล่าวเฉพาะบทหลังแต่เพียงบทเดียว
ทั้งนี้โดยปกติแล้วการรุกูอฺและสุญูดของท่านจะยาวเท่ากับการกล่าวตัสบีหฺสิบครั้งโดยประมาณ แต่บางครั้งท่านก็  รุกูอฺและสุญูดนานใกล้เคียงกับการยืนอ่าน แต่นั่นเป็นสิ่งที่ท่านกระทำเป็นครั้งคราวเมื่อท่านละหมาดคนเดียวในยามดึก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วท่านจะละหมาดโดยที่อิริยาบถต่างๆมีความยาวสอดคล้องใกล้เคียงกัน
และบางครั้งท่านกล่าวขณะรุกูอฺว่า
«سُبُّوْحٌ قُدُّوْسٌ رَبُّ المَلائِكَةِ والرُوْحِ»
ความว่า “พระองค์คือผู้ทรงปราศจากความบกพร่อง ผู้ทรงปลอดจากลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับสถานะของผู้สร้าง พระองค์คือพระผู้อภิบาลของบรรดามลาอิกะฮฺและชีวิตทั้งหลาย” (บันทึกโดยมุสลิมหะดีษเลขที่ 487)

บางครั้งท่านกล่าวว่า
«اللهمَّ لَكَ رَكَعْتُ، وَبِكَ آمَنْتُ، وَلَكَ أَسْلَمْتُ، خَشَعَ لَكَ سَمْعِيْ، وَبَصَرِيْ وَمُخِّيْ، وَعَظْمِي وَعَصَبِي» [رواه مسلم برقم 771]
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอก้มรุกูอฺ ศรัทธา และนอบน้อมต่อพระองค์เท่านั้น ทั้งการได้ยิน การมองเห็น สมอง กระดูก และเส้นประสาทของข้าพระองค์ ต่างนอบน้อมและศิโรราบต่อพระองค์” (บันทึกโดยมุสลิมหะดีษเลขที่ 771)

ซึ่งมีรายงานว่าเป็นคำกล่าวที่ท่านกล่าวในละหมาดยามดึกหลังจากนั้นท่านเงยศีรษะขึ้นแล้วกล่าวว่า
«سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ»
ความว่า “พระองค์อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่กล่าวสรรเสริญพระองค์”

พร้อมยกมือขึ้นโดยท่านจะยืนเหยียดตัวตรงเสมอเมื่อท่านเงยขึ้นจากรุกูอฺและระหว่างสุญูดทั้งสอง
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لا تُجْزئ صَلاةٌ لا يُقِيْمُ الرَجُلُ فِيْها صُلْبَهُ فِي الرُكُوْعِ والسُجُوْدِ» [رواه الترمذي برقم 265]
ความว่า “ละหมาดของผู้ที่ไม่เหยียดหลังให้อยู่ในระนาบเดียวกันขณะรุกูอฺและสุญูดนั้นถือว่าใช้ไม่ได้” (บันทึกโดย อัตติรมิซีย์     หะดีษเลขที่ 265)

เมื่อท่านยืนตรงแล้วท่านกล่าวว่า
«رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ»
   
บางครั้งท่านกล่าวว่า
«رَبَّنَا لَكَ الحَمْدُ»

และบางครั้งกล่าวว่า
«اللهمَّ رَبَّنَا لَكَ الحَمْدُ»

โดยปกติแล้วหลังเงยขึ้นจากรุกูอฺท่านจะยืนตรงชั่วขณะหนึ่ง มีรายงานที่ถูกต้องระบุว่าระหว่างนี้ท่านกล่าวว่า
«اللهُمَّ رَبَّنَا لَكَ الحَمْدُ مِلْءَ السمَوَاتِ وَمِلْءَ الأَرْضِ، وَمِلْءَ مَا بَيْنَهُمَا، وَمِلْءَ مَا شِئْتَ مِنْ شَيْءٍ بَعْدُ، أَهْلَ الثَنَاءِ وَالْمَجْدِ، أَحَقُّ مَا قَالَ العَبْدُ، وكُلُّنَا لَكَ عَبْدٌ، لا مَانِعَ لِمَا أَعْطَيْتَ، وَلا مُعْطِيَ لِمَا مَنَعْتَ، ولا يَنْفَعُ ذَا الجَدِّ مِنْكَ الجَدُّ»
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของพระองค์ เป็นการสรรเสริญที่เต็มฟากฟ้าและแผ่นดินและระหว่างทั้งสองนั้น รวมถึงทุกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์อื่นจากนั้น โอ้พระองค์ผู้ควรแก่การสรรเสริญและให้เกียรติ นี่คือสิ่งที่บ่าวควรจะกล่าวมากที่สุด ซึ่งพวกเราทุกคนล้วนเป็นบ่าวของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดกีดขวางสิ่งที่พระองค์ประทานให้ได้ และไม่มีผู้ใดมอบสิ่งที่พระองค์มิได้ประทานให้ได้ และความมั่งมีมิอาจให้ประโยชน์แก่เจ้าของผู้มั่งมีนั้น ณ พระองค์ได้เลย”

และในรายงานที่ถูกต้องอีกบทหนึ่งระบุว่าท่านกล่าวว่า
«اللهُمَّ اغْسِلْنِي مِنْ خَطَايَايَ بِالمَاءِ وَالثَلْجِ وَالبَرَدِ، وَنَقِّنِيْ مِنَ الذُنُوبِ وَالخَطايَا كَمَا يُنَقَّى الثَوْبُ الأَبْيَضُ مِنَ الدَنَسِ، وَبَاعِدْ بَيْنِي وَبَينَ خَطايايَ كَمَا بَاعَدْتَ بَينَ المَشْرِقِ والمَغْرِبِ»
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงชำระล้างตัวข้าพระองค์จากบาปความผิดของข้าพระองค์ด้วยน้ำหิมะและลูกเห็บ ขอพระองค์ทรงทำให้ข้าพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากบาปความผิดทั้งปวง ดังเช่นผ้าขาวที่ได้รับการชำระล้างเพื่อขจัดสิ่งสกปรกด้วยเถิด โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์ห่างไกลจากบาปความผิดต่างๆของข้าพระองค์ ดังเช่นที่พระองค์ทรงให้ทิศตะวันออกอยู่ไกลจากทิศตะวันตก "

มีรายงานที่ถูกต้องระบุว่าท่านกล่าว لِرَبِّيَ الحَمْدُ ซ้ำๆนานใกล้เคียงกับความยาวของการรุกูอฺ
และในรายงานซึ่งบันทึกโดยอิมามมุสลิมจากท่านอนัสเล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมนั้นเมื่อท่านกล่าวว่า سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ  แล้วท่านจะยืนตรงนานกระทั่งเราต่างคิดว่าท่านหลงลืมไป หลังจากนั้นท่านก็ลงสุญูดและนั่งระหว่างสุญูดทั้งสองนานกระทั่งเราต่างคิดว่าท่านหลงลืมไป
นี่คือแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมอันเป็นที่ทราบกันดี ส่วนการปฏิบัติรุก่นทั้งสองนี้อย่างสั้นๆนั้นเป็นสิ่งที่ริเริ่มกระทำโดยบรรดาผู้นำในสมัยบนีอุมัยยะฮฺ กระทั่งผู้คนเข้าใจว่าเป็นสุนนะฮฺ

(6) การสุญูด
หลังจากนั้นท่านกล่าวตักบีรฺโดยมิได้ยกมือทั้งสองข้างขึ้นแล้วลดตัวลงสุญูดโดยเริ่มด้วยการวางเข่าทั้งสองตามด้วยมือแล้วจึงวางหน้าผากและจมูก เช่นนี้คือท่าที่ถูกต้อง กล่าวคือท่านลดตัวลงสุญูดโดยให้อวัยวะส่วนที่อยู่ใกล้พื้นมากที่สุดสัมผัสพื้นก่อน ตามด้วยอวัยวะส่วนอื่นที่อยู่สูงขึ้นไปตามลำดับส่วนการเงยขึ้นจากสุญูดนั้นท่านจะเริ่มด้วยอวัยวะส่วนที่อยู่สูงที่สุดก่อน แล้วจึงตามด้วยอวัยวะส่วนที่ต่ำลงไปตามลำดับ โดยการเงยศีรษะขึ้นก่อน ตามด้วยการผละมือขึ้นจากพื้นแล้วต่อด้วยหัวเข่า
ดังที่กล่าวมานี้เป็นท่าทางการเปลี่ยนอิริยาบถที่ตรงกันข้ามกับท่าทางของอูฐ ทั้งนี้ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ห้ามมิให้เลียนแบบท่าทางของสัตว์ขณะทำการละหมาดโดยจะเห็นว่า ท่านห้ามลดตัวลงสู่พื้นในลักษณะที่คล้ายคลึงกับอูฐ ห้ามหันไปมาเหมือนเช่นสุนัขจิ้งจอก ห้ามมิให้วางแขนแนบพื้นเหมือนท่านอนของสัตว์ป่าหรือสุนัข และห้ามก้มเงยในลักษณะที่รีบเร่งคล้ายอีกาจิกกินอาหาร
ท่านสุญูดโดยแนบหน้าผากและจมูกชิดพื้น ทั้งนี้ไม่มีรายงานที่ถูกต้องบทใดระบุว่าท่านสุญูดโดยที่ผ้าโพกศีรษะของท่านคลุมปิดหน้าผากไว้ โดยปกติทั่วไปแล้วท่านจะสุญูดลงบนพื้นดินซึ่งบางครั้งก็อาจมีน้ำเปียกแฉะหรือมีสภาพเป็นดินโคลน บางครั้งก็สุญูบนเสื่อที่สานจากใบอินทผลัม และบางครั้งท่านสุญูดลงบนหนังสัตว์ที่ฟอกทำความสะอาดแล้ว
ขณะสุญูดหน้าผากและจมูกของท่านจะสัมผัสชิดกับพื้นในขณะที่แขนทั้งสองข้างกางออกห่างจากสีข้างกระทั่งเผยให้เห็นความขาวนวลใต้รักแร้ของท่าน ท่านวางมือทั้งสองในระนาบเดียวกับไหล่และหูของท่านหลังเหยียดตรงปลายนิ้วเท้าทั้งสองข้างชี้ไปยังทิศกิบลัต ฝ่ามือและนิ้วมือคลายตรงไม่แยกนิ้วออกห่างจากกันและไม่กำมือไว้
ขณะสุญูดท่านกล่าวดุอาอ์หลายบทสลับหมุนเวียนกันไปเช่น
«سُبْحَانَ رَبِّيَ الأَعْلى»
ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น”
«سُبْحَانَكَ اللهُمَّ رَبَّنَا وَبِحَمْدِكَ، اللهُمَّ اغْفِرْ لِي»
ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของพวกเรา พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความด่างพร้อยใด ๆ ทั้งสิ้น และด้วยการสรรเสริญต่อพระองค์ ขอพระองค์ทรงอภัยให้แก่ฉันด้วยเถิด”

«سُبُّوْحٌ قُدُّوْسٌ رَبُّ المَلائِكَةِ وَالرُوْحِ»
ความว่า “พระองค์คือผู้ทรงปราศจากความบกพร่อง ผู้ทรงปลอดจากลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับสถานะของผู้สร้าง พระองค์คือพระผู้อภิบาลของบรรดามลาอิกะฮฺและชีวิตทั้งหลาย”

«اللَهُمَّ لَكَ سَجَدْتُ، وَبِكَ آمَنْتُ، وَلَكَ أَسْلَمْتُ، سَجَدَ وَجْهِيَ للذِي خَلَقَهُ وَصَوَّرَهُ، وَشَقَّ سَمْعَهُ وَبَصَرَهُ، تَبَارَكَ اللهُ أَحْسَن الخَالِقِيْنَ»
ความว่า “โอ้ผู้อภิบาลของข้า ข้าพระองค์ได้กราบสุญูดแด่พระองค์ ศรัทธาต่อพระองค์ และได้จำนนต่อพระองค์ ใบหน้าของข้าพระองค์ได้กราบแด่ผู้ที่สร้างมัน กำหนดรูปร่างของมัน และสร้างให้มีหูและตา พระองค์อัลลอฮฺคือผู้ทรงสร้างที่ดียิ่งและประเสริฐที่สุด”
«اللهُمَّ اغْفِرْ لِيْ ذَنْبِيْ كُلَّهُ دِقَّهُ وَجلَّهُ، وَأَوَّلَهُ هُ وَآخِرَهُ، وَعَلانِيَّتَهُ وَسِرَّهُ»
ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยในบาปความผิดทั้งหมดของข้าพระองค์ ไม่ว่าจะน้อยหรือมากเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วหรือยังมิได้กระทำ และไม่ว่าจะเป็นบาปที่กระทำในที่แจ้งหรือในที่ลับ”

«اللهُمَّ اغْفِرْ لِيْ خَطَايَايَ وَجَهْلِيْ، وَإِسْرَافِي في أَمْرِي، وَمَا أَنْتَ أَعْلَمُ بِه مِنِّي، اللّهُمّ اغْفِرْ لِي جدِّي وَهَزْلِي، وَخَطَايايَ وعَمْدِيْ وَكُلُّ ذلِكَ عِنْدي، اللهُمَّ اغْفِر لي ما قَدَّمْتُ وما أَخَّرْتُ، وما أَسْرَرْتُ وما أَعلَنتُ، أَنْتَ إلهي لا إلهَ إلا أَنْتَ»
ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยในบาปความผิด ความเขลา ความบกพร่องละเลย และความผิดของข้าพระองค์ซึ่งพระองค์ทรงรู้ดียิ่งกว่าข้าพระองค์ โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยในความผิดของข้าพระองค์ไม่ว่าจะเกิดจากความจริงจังหรือเพียงแต่หยอกล้อ และไม่ว่าจะกระทำไปโดยผิดพลาดหรือตั้งใจก็ตาม ซึ่งทุกสิ่งที่กล่าวมานั้นมีอยู่ในตัวข้าพระองค์ โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยในสิ่งที่ข้าพระองค์ได้กระทำไปแล้วและสิ่งที่ยังมิได้กระทำ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในที่ลับหรือในที่แจ้งก็ตาม พระองค์คือพระเจ้าของข้าพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดควรคู่แก่การเคารพสักการะนอกจากพระองค์”
   
    และท่านใช้ให้มุ่งมั่นขอดุอาอ์ในขณะสุญูดโดยท่านกล่าวว่า"เชื่อได้ว่าดุอาอ์ของพวกท่านจะได้รับการตอบรับ”


(7) การนั่งตะชะฮุด
    หลังจากนั้นท่านเงยศีรษะขึ้นพร้อมกล่าวตักบีรฺโดยมิได้ยกมือขึ้นแล้วนั่งโดยให้เท้าซ้ายรองก้นปลายนิ้วเท้าขวายันพื้น และวางช่วงข้อศอกลงบนขาอ่อนโดยให้ส่วนปลายนิ้วมือเสมอเข่าแล้วกล่าว
اللهُمَّ اغْفِرْ لِيْ وَارْحَمْنِي، واجْبُرْنِي، واهْدِنِي، وارْزُقْني
ดังที่รายงานโดยท่านอิบนุอับบาส
หรือกล่าว
رَبِّ اغْفِرْ لِيْ
ดังที่รายงานโดยท่านหุซัยฟะฮฺ
    หลังจากนั้นท่านใช้เท้าและเข่ายันพื้นลุกขึ้นยืนโดยทิ้งน้ำหนักไว้ที่ขาอ่อน เมื่อยืนตรงแล้วท่านก็เริ่มอ่านทันทีโดยไม่นิ่งเงียบเหมือนเมื่อครั้งอ่านดุอาอ์อิสติฟตาหฺในร็อกอัตแรก ในร็อกอัตที่สองนี้ ท่านปฏิบัติเหมือนกับร็อกอัตแรกทุกประการ ยกเว้นสี่จุดคือในร็อกอัตที่สองท่านจะไม่นิ่งเงียบแต่จะเริ่มอ่านฟาติหะฮฺทันทีโดยไม่อ่านอิสติฟตาหฺ ไม่มีตักบีเราะตุลอิหฺรอม และอ่านสั้นกว่าร็อกอัตแรก
    ส่วนลักษณะการนั่งตะชะฮุดของท่านนั้น ท่านจะวางมือซ้ายบนขาอ่อนข้างซ้ายและมือขวาบนขาอ่อนข้างขวา โดยหุบนิ้วนางและนิ้วก้อยไว้แล้วให้นิ้วกลางแตะนิ้วโป้งเป็นวงพร้อมยกนิ้วชี้ขึ้นเล็กน้อยในลักษณะที่ไม่ตั้งตรงหรือชี้ต่ำลงจนเกินไป สายตาของท่านจะจับจ้องไปที่นิ้วชี้ และวางฝ่ามือซ้ายแนบบนขาอ่อนข้างซ้าย ลักษณะการนั่งก็เหมือนกับการนั่งระหว่างสุญูดทั้งสองดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
    ส่วนหะดีษซึ่งรายงานโดยท่านอับดุลลอ อิบนุ ซุเบรฺและบันทึกโดยมุสลิมที่ระบุถึงลักษณะการนั่งในละหมาดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่าท่านนั่งโดยให้เท้าซ้ายสอดใต้ขาอ่อนและน่องของท่านนั้น เป็นลักษณะการนั่งในตะชะฮุดสุดท้าย โดยท่านอิบนุซุเบรฺระบุว่าเท้าขวาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมแนบลงกับพื้น ในขณะที่ท่านอบูหุมัยด์ระบุว่าเท้าขวาของท่านตั้งยันพื้นซึ่งไม่ถือว่าขัดแย้งกันแต่อย่างใด โดยอาจกล่าวได้ว่าท่านเคยปฏิบัติทั้งสองแบบ บางครั้งท่านให้เท้าขวายันพื้น และในบางครั้งท่านก็ให้เท้าขวาแนบพื้น
    ในขณะนั่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจะกล่าวตะชะฮุดเสมอ โดยท่านสอนให้เศาะหาบะฮฺกล่าวว่า
«التّحِيّاتُ لِلّهِ وَالصّلَوَاتُ وَالطّيّبَاتُ، السّلَامُ عَلَيْكَ أَيّهَا النّبِيّ وَرَحْمَةُ اللّهِ وَبَرَكَاتُهُ، السّلَامُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللّهِ الصّالِحِينَ، أَشْهَدُ أَنْ لَا إلَهَ إلّا اللّهُ، وَأَشْهَدُ أَنّ مُحَمّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ»
ความว่า “มวลการสดุดีทั้งหลายมอบแด่อัลลอฮฺ รวมทั้งการเศาะละวาตสรรเสริญและความดีงามต่างๆ ขอความสันติสุขจงประสบแด่ท่านโอ้ผู้เป็นนบีรวมทั้งเมตตาแห่งอัลลอฮฺ และความประเสริฐทั้งหลายที่มาจากพระองค์ ขอความสันติสุขจงประสบแด่เราและแด่บรรดาบ่าวผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และข้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์”

ทั้งนี้ไม่มีรายงานหะดีษใดจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมระบุว่าท่านกล่าวเศาะละวาตต่อตัวท่านและวงศ์วานของท่านในตะชะฮุดแรกนี้รวมถึงการดุอาอ์ขอความคุ้มครองจากการลงโทษในหลุมศพ การลงโทษในนรก ฟิตนะฮฺความวุ่นวายในขณะที่มีชีวิตอยู่และหลังตาย หรือฟิตนะฮฺดัจญาล โดยผู้ที่มีทัศนะว่าส่งเสริมให้กล่าวสิ่งเหล่านี้ในตะชะฮุดแรกนั้นเป็นเพียงความเข้าใจจากหลักฐานโดยรวมๆ ซึ่งที่ถูกต้องแล้วจำกัดให้กล่าวเฉพาะในตะชะฮุดสุดท้ายเท่านั้น
หลังจากนั้นท่านก็ลุกขึ้นยืนโดยใช้ปลายเท้าและหัวเข่ายันพื้นทิ้งน้ำหนักลงที่ขาอ่อนพร้อมกล่าวตักบีรฺ และปรากฏในรายงานซึ่งบันทึกโดยมุสลิมและในบางกระแสซึ่งบันทึกโดยอัล-บุคอรียฺว่าท่านยกมือทั้งสองข้างขึ้นขณะตักบีรฺด้วย
หลังจากนั้นท่านอ่านฟาติหะฮฺเพียงอย่างเดียว และไม่ปรากฏรายงานที่ถูกต้องระบุว่าในสองร็อกอัตหลังท่านอ่านสูเราะฮฺอื่นใดนอกจากฟาติหะฮฺ
    อนึ่ง การผินหน้าออกจากทิศกิบลัตระหว่างละหมาดนั้นไม่ใช่แบบฉบับของท่าน ดังปรากฏบันทึกในเศาะฮีหฺบุคอรียฺว่ามีผู้ถามท่านเกี่ยวกับพฤติกรรมดังกล่าวท่านตอบว่า“มันคือการที่ชัยฏอนฉกเอาการละหมาดของบ่าวไป”แต่ทั้งนี้ท่านก็เคยกระทำเช่นนั้นบ้างในบางครั้งเมื่อมีเหตุจำเป็นดัง เช่นเมื่อคราวที่ท่านหันไปมองทางหุบเขาที่ท่านส่งกองทหารออกไปสังเกตการณ์วัลลอฮุอะอฺลัม
หลังเสร็จสิ้นจากการตะชะฮุดก่อนให้สลามท่านจะขอ  ดุอาอ์ดังปรากฏคำสั่งใช้ของท่านในหะดีษซึ่งรายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺและอีกบทหนึ่งซึ่งรายงานโดยฟะฎอละฮฺ
    ส่วนการกล่าวขอดุอาอ์หลังให้สลามโดยหันหน้าไปทางกิบลัตหรือหันเข้าหามะอ์มูมนั้นไม่ปรากฏว่ามีแบบอย่างจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมแต่อย่างใด ทั้งนี้ดุอาอ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการละหมาดนั้นท่านกล่าวหรือใช้ให้กล่าวในขณะละหมาดเท่านั้น ซึ่งเป็นการเหมาะกับสภาพของผู้ละหมาดที่กำลังมุ่งมั่นเข้าหาพระผู้เป็นเจ้าต่างจากเมื่อให้สลามเสร็จสิ้นการละหมาดแล้วเพราะสภาพดังกล่าวย่อมสิ้นสุดลงด้วย
หลังจากนั้นท่านให้สลามทางด้านขวาโดยกล่าวว่า“อัสสลามุอะลัยกุมวะเราะหฺมะตุลลอฮฺ”และทางด้านซ้ายก็เช่นเดียวกัน นี่คือสิ่งที่ท่านทำเป็นประจำ แต่ก็มีบางรายงานระบุว่าท่านให้สลามเพียงครั้งเดียว แต่ทั้งหมดล้วนเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง ที่มีน้ำหนักหน่อยก็คือหะดีษอาอิชะฮฺที่บันทึกในหนังสือสุนันต่าง ๆแต่นั่นเป็นเรื่องของการละหมาดในยามดึกและก็เป็นหะดีษที่มีปัญหา อีกทั้งยังมิได้เป็นการระบุอย่างชัดเจนว่าท่านให้สลามเพียงครั้งเดียว
    ส่วนหนึ่งจากดุอาอ์ที่ท่านกล่าวในละหมาดเช่น
«اللَّهُمَّ إِنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ الْقَبْرِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ فِتْنَةِ الْمَسِيحِ الدَّجَّالِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ فِتْنَةِ الْمَحْيَا وَفِتْنَةِ الْمَمَاتِ، اللَّهُمَّ إِنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ الْمَأْثَمِ وَالْمَغْرَمِ»
ความว่า"โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้รอดพ้นจากโทษทัณฑ์ในหลุมศพ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้รอดพ้นจากฟิตนะฮฺการล่อลวงของดัจญาล ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยความวุ่นวายขณะมีชีวิตอยู่และหลังสิ้นชีวิต โอ้อัลลอฮฺข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้รอดพ้นจากบาปความผิดและหนี้สินด้วยเถิด”

«اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِيْ ذَنْبِيْ، وَوَسِّعْ لِيْ فِيْ دَارِيْ، وَبَارِكْ لِيْ فِيْمَا رَزَقْتَنِي»
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงอภัยให้แก่ข้าพระองค์ซึ่งบาปความผิดของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้บ้านของข้าพระองค์มีความสุขความสงบ และขอพระองค์ทรงเพิ่มพูนความจำเริญในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานแก่ข้าพระองค์เป็นปัจจัยยังชีพ”
«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ الثَّبَاتَ فِي الْأَمْرِ، وَالْعَزِيمَةَ عَلَى الرُّشْدِ، وَأَسْأَلُكَ شُكْرَ نِعْمَتِكَ، وَحُسْنَ عِبَادَتِكَ، وَأَسْأَلُكَ قَلْبًا سَلِيمًا، وَلِسَانًا صَادِقًا، وَأَسْأَلُكَ مِنْ خَيْرِ مَا تَعْلَمُ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا تَعْلَمُ، وَأَسْتَغْفِرُكَ لِمَا تَعْلَمُ»
ความว่า“โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงประทานความมั่นคงหนักแน่นในศาสนาของพระองค์ ความมุ่งมั่นใฝ่หาความดีงามและหนทางแห่งสัจธรรมขอพระองค์ ทรงดลใจให้ข้าพระองค์ได้ขอบคุณในความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ได้เคารพภักดีต่อพระองค์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ขอให้ข้าพระองค์ได้มีหัวใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องมีลิ้นที่ยึดมั่นในสัจจะวาจาขอพระองค์ทรงประทานความดีงามทั้งปวงแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายทุกประการและข้าพระองค์ขออภัยโทษในบาปความผิดของข้าพระองค์ซึ่งพระองค์ทรงรู้ดี”

    ทั้งนี้ดุอาอ์ที่มีรายงานมาจากท่านทั้งหมดปรากฏในรูปเอกพจน์ทั้งสิ้น
    และขณะยืนละหมาดท่านจะก้มศีรษะลงต่ำเล็กน้อย เมื่อท่านนั่งตะชะฮุดสายตาของท่านจะจับจ้องไปที่นิ้วชี้ ทั้งนี้อัลลอฮฺได้ทรงให้การละหมาดเป็นสื่อแห่งความสงบสำหรับท่าน ท่านเคยกล่าวว่า“บิลาลเอ๋ย ทำให้เราได้พักผ่อนด้วยการละหมาดเถิด”
แต่ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ละเลยที่จะเอาใจใส่มะอ์มูมด้วยเช่นกัน ในบางครั้งท่านเริ่มละหมาดโดยตั้งใจที่จะอ่านยาวๆแต่เมื่อท่านได้ยินเสียงร้องงอแงของเด็กเล็กท่านก็ละหมาดเพียงสั้นๆด้วยเกรงว่ามารดาของเด็กจะลำบากใจ
และในบางครั้งท่านก็ละหมาดฟัรฎฺโดยอุ้มหลานสาวของท่านที่ชื่ออุมามะฮฺไว้เมื่อท่านยืนขึ้นท่านก็อุ้มเธอไว้เมื่อท่านก้มลงรุกูอฺและสุญูดก็วางเธอลงและในบางครั้งหุสัยน์และหะสันซึ่งเป็นหลานของท่านก็ขึ้นไปขี่หลังท่านเล่นขณะท่านกำลังสุญูดท่านก็สุญูดนานกว่าปกติเพราะไม่อยากให้หลานของท่านหล่นลงมาจากหลัง ในบางครั้งท่านหญิงอาอิชะฮฺมาเคาะประตูขณะที่ท่านกำลังละหมาดสุนัตท่านก็เดินไปเปิดประตูให้นางแล้วกลับไปยังที่ละหมาดของท่าน
    ขณะละหมาดท่านจะตอบรับสลามด้วยการชี้นิ้ว ส่วนหะดีษที่ว่า“ผู้ใดชี้นิ้วในละหมาดจำเป็นที่เขาจะต้องละหมาดใหม่” นั้นเป็นหะดีษที่ไม่ถูกต้อง
    ในบางครั้งท่านร้องไห้หรือกระแอมไอขณะละหมาดโดยมิได้เจตนา บางครั้งท่านละหมาดเท้าเปล่าบางครั้งท่านสวมรองเท้าแตะซึ่งท่านก็เคยใช้ให้ละหมาดโดยสวมรองเท้าแตะเพื่อจะได้แตกต่างจากพวกยิว บางครั้งท่านละหมาดโดยสวมใส่ผ้าผืนเดียวแต่ส่วนใหญ่ท่านจะสวมใส่ผ้าสองผืน
    ท่านเคยอ่านกุนูตในละหมาดศุบหฺหลังเงยขึ้นจากรุกูอฺในร็อกอัตที่สองเป็นเวลาหนึ่งเดือนก่อนที่จะหยุดไปเพราะท่านอ่านเฉพาะเมื่อมีเหตุ ดังนั้นเมื่อเหตุนั้นสิ้นสุดลงท่านก็เลิกอ่านกุนูต แต่ที่ท่านทำเป็นแบบอย่างคือการกุนูตเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงและยากลำบากโดยไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะในละหมาดศุบหฺเพียงเวลาเดียวเท่านั้น


(8) การสุญูดสะฮฺวีย์
ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า“แท้จริงฉันเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งอาจหลงลืมเหมือนที่พวกท่านหลงลืมดังนั้นเมื่อฉันหลงลืมสิ่งใด พวกท่านก็จงเตือนความจำฉันเถิด”(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺหะดีษเลขที่392 และมุสลิมหะดีษเลขที่572)
ซึ่งการหลงลืมที่เกิดขึ้นกับท่านในบางครั้งถือเป็นนิอฺมัตความโปรดปรานประการหนึ่งแก่ประชาชาติของท่านทั้งนี้เพื่อที่พวกเขาจะได้ปฏิบัติตามแบบฉบับของท่าน
ครั้งหนึ่งในการละหมาดที่มีสี่ร็อกอัตท่านลุกขึ้นยืนละหมาดต่อในร็อกอัตที่สามโดยที่มิได้นั่งตะชะฮุดแรกท่านจึงสุญูดสะฮฺวีย์ก่อนให้สลามเสร็จสิ้นจากการละหมาด ซึ่งจากตรงนี้เข้าใจได้ว่ากรณีที่ผู้ละหมาดละทิ้งส่วนหนึ่งส่วนใดจากการละหมาดที่มิใช่องค์ประกอบหลัก(รุก่น)ก็ให้สุญูดก่อนให้สลาม และเข้าใจได้เช่นกันว่าในกรณีดังกล่าวหากเขาได้ข้ามไปในส่วนของรุก่นอื่นแล้วก็ไม่ต้องย้อนกลับไปทำสิ่งที่ข้ามมาอีก
อีกเหตุการณ์หนึ่งท่านให้สลามเมื่อเสร็จสิ้นร็อกอัตที่สองในการละหมาดมักริบหรืออิชาอ์แล้วท่านก็พูดคุยกับผู้อื่นแล้วจึงละหมาดเพิ่มในร็อกอัตที่เหลือแล้วจึงให้สลามจากนั้นจึงสุญูดสะฮฺวีย์แล้วให้สลามอีกครั้งหนึ่ง
ในอีกเหตุการณ์หนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมละหมาดแล้วให้สลามในขณะที่ยังเหลืออีกหนึ่งร็อกอัตจากนั้นท่านก็ลุกออกไปท่าน  ฏ็อลหะฮฺจึงกล่าวแก่ท่านว่า“ท่านลืมไปหนึ่งร็อกอัตครับ” ท่านจึงกลับเข้ามัสยิดสั่งให้ท่านบิลาลทำการอิกอมะฮฺแล้วท่านก็นำละหมาดอีกหนึ่งร็อกอัตที่เหลือ
    อีกครั้งหนึ่งท่านละหมาดซุฮรฺห้าร็อกอัตเมื่อเสร็จสิ้นการละหมาดแล้วบรรดาเศาะหาบะฮฺกล่าวแก่ท่านว่า“ท่านละหมาดไปห้าร็อกอัตครับ”ท่านจึงสุญูดหลังจากให้สลาม
    ในอีกเหตุการณ์หนึ่งท่านละหมาดอัศรฺสามร็อกอัตแล้วท่านก็เดินเข้าบ้านบรรดาเศาะหาบะฮฺจึงบอกให้ท่านทราบท่านจึงออกมานำละหมาดต่ออีกหนึ่งร็อกอัตแล้วให้สลามแล้วจึงสุญูดสะฮฺวีย์ต่อด้วยสลามอีกครั้ง
    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือหะดีษที่มีการรายงานบันทึกจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมซึ่งมีอยู่ทั้งหมดห้ากรณีด้วยกัน
    การหลับตาขณะละหมาดไม่ใช่แบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งอิมามอะหฺมัดและอุละมาอ์บางท่านเห็นว่าเป็นสิ่งที่มักรูฮฺ (น่ารังเกียจ) โดยให้เหตุผลว่าการกระทำดังกล่าวเป็นพฤติกรรมของพวกยิว ในขณะที่อุละมาอ์อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่กระทำได้ ซึ่งที่ถูกต้องนั้นควรกล่าวว่าหากการลืมตาไม่ทำให้เสียสมาธิและความสงบนิ่งเช่นนี้การลืมตาย่อมดีกว่าแต่ถ้าหากว่าการลืมตาทำให้เสียสมาธิเช่นในกรณีที่ข้างหน้ามีลวดลายหรือสิ่งประดับรบกวนเช่นนี้การหลับตาก็ไม่ถือว่าเป็นมักรูฮฺแต่อย่างใด
    และเมื่อท่านให้สลามแล้วท่านจะกล่าวอิสติฆฟารฺ(อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ)สามครั้งแล้วกล่าวว่า
«اللَّهُمَّ أَنْتَ السَّلامُ، وَمِنْكَ السَّلامُ، تَبَارَكْتَ يَا ذَا الجَلالِ وَالإِكْرَامِ»

หลังจากนั้นท่านก็จะหันหน้าเข้าหาบรรดามะอ์มูมซึ่งในบางครั้งท่านหมุนตัวทางด้านขวา และบางครั้งก็จากทางด้านซ้ายโดยท่านหันใบหน้าไปตรง ๆ ไม่เจาะจงมะอ์มูมด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ หลังเสร็จสิ้นจากการละหมาดฟัจญรฺแล้วท่านจะยังคงนั่งอยู่ ณ ที่ละหมาดของท่านกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นเด่น
ภายหลังเสร็จสิ้นการละหมาดฟัรฎูท่านจะกล่าวว่า
«لا إِلهَ إِلاّ اللهُ وَحْدَهُ لا شَرِيْكَ لَهُ، لَهُ الملْكُ، وَلَهُ الحَمْدُ، وَهُوَ عَلى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيْرٌ »
ความว่า"ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ไม่มีภาคีใดๆเทียบเคียงพระองค์ พระองค์คือผู้เป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียวพระองค์คือผู้ที่คู่ควรแก่การสรรเสริญทั้งมวลและพระองค์ทรง เดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง”

«اللّهُمَ لا مَانِعَ لِمَا أَعْطَيْتَ ولا مُعْطِيَ لِمَا مَنَعْتَ، وَلا يَنْفَعُ ذَا الجَدِّ مِنْكَ الجَدُّ، وَلا حَوْلَ وَلا قُوَّةَ إلاّ بِاللهِ، لا إِلهَ إلاّ اللهُ، وَلا نَعْبُدُ إِلاّ إِيَّاهُ، لَهُ النِّعْمَةُ، وَلَهُ الفَضْلُ، وَلَهُ الثَّنَاءُ الحَسَنُ، لا إِلهَ إلاّ اللهُ، مُخْلِصِيْنَ لَهُ الدِّيْنَ وَلَوْ كَرِهَ الكافِرُونَ»
ความว่า"โอ้อัลลอฮฺไม่มีผู้ใดสามารถขัดขวางสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ได้ และไม่มีผู้ใดสามารถให้ในสิ่งที่พระองค์มิได้ทรงกำหนดไว้ได้ และความร่ำรวยมิอาจทำให้ผู้ใดหลีกหนีจากพระองค์ได้ ไม่มีที่พึ่ง ไม่อำนาจใดจะคงอยู่ได้โดยปราศจากพระองค์ เราจะไม่เคารพภักดีสิ่งอื่นใดนอกจากพระองค์ พระองค์คือผู้ทรงประทานความโปรดปรานทั้งปวง พระองค์คือผู้ทรงเต็มเปี่ยมด้วยความกรุณา การขอบคุณสรรเสริญเป็นสิ่งที่คู่ควรแก่พระองค์ยิ่ง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์อัลลอฮฺเราจะเคารพภักดีต่อพระองค์เพียงพระองค์เดียวอย่างแน่วแน่มั่นคงแม้บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะรังเกียจก็ตาม"
    ท่านยังสอนให้เรากล่าวหลังละหมาดฟัรฎูว่า"สุบหานัลลอฮฺ "จำนวน 33 ครั้ง“อัลหัมดุลิลลาฮฺ”33 ครั้งและ“อัลลอฮุอักบัรฺ”33 ครั้งโดยกล่าวเพิ่มในครั้งที่100 ว่า
«لا إِلهَ إِلاّ اللهُ وَحْدَهُ لا شَرِيْكَ لَهُ، لَهُ الملْكُ، وَلَهُ الحَمْدُ، وَهُوَ عَلى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيْرٌ»
    อิบนุหิบบานบันทึกในหนังสือเศาะฮีหฺของท่านจาก อัล-หาริษบินมุสลิมเล่าว่า ท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า: "เมื่อท่านเสร็จสิ้นจากการละหมาดศุบหฺและก่อนที่ท่านจะเอ่ยปากพูดสิ่งใดท่านจงกล่าวว่า
«اللّهُمَّ أَجِرْنِيْ مِنَ النَارِ»
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺขอทรงคุ้มครองข้าพระองค์ให้รอดพ้นจากไฟนรกด้วยเถิด” จำนวนเจ็ดครั้ง ถ้าหากว่าท่านเสียชีวิตลงในวันดังกล่าวอัลลอฮฺก็จะทรงให้ท่านรอดพ้นจากไฟนรก และเมื่อท่านเสร็จสิ้นจากการละหมาดมัฆริบก่อนที่ท่านจะเอ่ยปากพูดสิ่งใดท่านจงกล่าวว่า اللّهُمَّ أَجِرْنِيْ مِنَ النَارِ จำนวนเจ็ดครั้ง ถ้าหากว่าท่านเสียชีวิตลงในคืนดังกล่าวอัลลอฮฺก็จะทรงให้ท่านรอดพ้นจากไฟนรก"
    ในกรณีที่ท่านละหมาดหันหน้าเข้าหาผนังท่านจะยืนใกล้ผนังโดยเว้นระยะห่างแค่พอให้แกะเดินผ่านได้โดยประมาณ ท่านจะไม่ยืนห่างจากผนังมากทั้งนี้ท่านกำชับให้ยืนเข้าใกล้     สุตเราะฮฺ(สิ่งที่วางขวางหน้าผู้ละหมาดเป็นเขตกั้น– ผู้แปล) เมื่อท่านละหมาดหันเข้าหาไม้เท้า เสา หรือต้นไม้ ท่านจะให้สิ่งนั้นอยู่ค่อนไปทางขวาหรือซ้ายเล็กน้อยจะไม่หันตรงมุ่งเข้าหาสิ่งนั้นในยามเดินทางหรืออยู่กลางทะเลทราย
เมื่อจะทำการละหมาด ท่านจะใช้หอกปักเป็นเขตกั้นหรือบางครั้งท่านก็ละหมาดหันเข้าหาสัตว์พาหนะของท่านบางครั้งท่านก็ใช้อานที่วางอยู่บนหลังสัตว์พาหนะเป็นเขตกั้นโดยวางขึ้นในแนวตั้งทั้งนี้ท่านกำชับให้ผู้ละหมาดหันเข้าหาสุตเราะฮฺที่เป็นเขตกั้น แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นดอกธนูหรือไม้เท้าก็ตาม

(9) การละหมาดสุนัต
ในกรณีที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมมิได้อยู่ระหว่างการเดินทางท่านจะละหมาดสุนัตจำนวนสิบร็อกอัตต่อวันอย่างสม่ำเสมอดังที่ปรากฏในคำพูดของท่านอิบนุอุมัรฺที่ว่า “ฉันจำได้ว่าท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ละหมาดสุนัตในแต่ละวันจำนวนสิบร็อกอัตกล่าวคือสองร็อกอัตก่อนและหลังละหมาดซุฮรฺสองร็อกอัตหลังละหมาดมัฆริบสองร็อกอัตที่บ้านของท่านหลังละหมาดอิชาอ์และสองร็อกอัตก่อนละหมาดฟัจญรฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ 1126 หะดีษเลขที่ และมุสลิม หะดีษเลขที่ 729)
    วันใดที่ท่านไม่มีโอกาสละหมาดสองร็อกอัตหลังซุฮรฺท่านก็จะละหมาดใช้หลังละหมาดอัศรฺซึ่งเป็นเวลาที่ห้ามละหมาดสุนัตในกรณีทั่วไปและในบางครั้งท่านละหมาดสุนัตก่อนซุฮรฺจำนวนสี่ร็อกอัตส่วนสองร็อกอัตก่อนมัฆริบนั้นมีบันทึกรายงานที่เศาะฮีหฺระบุว่าท่านกำชับใช้ให้ละหมาดสุนัตก่อนมัฆริบจำนวนสองร็อกอัต แต่ท่านก็ขยายความในตอนท้ายว่า “สำหรับผู้ที่ประสงค์จะละหมาด”ทั้งนี้เพราะท่านเกรงว่าผู้คนจะยึดถือเป็น   สุนนะฮฺที่พึงปฏิบัติเป็นประจำ
และนี่คือทัศนะที่ถูกต้องกล่าวคือการละหมาดสองร็อกอัตก่อนมัฆริบเป็นที่ส่งเสริมให้กระทำ (มุสตะหับบะฮฺ) แต่ไม่ถือเป็นสุนัตที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกระทำเป็นประจำ(สุนนะฮฺรอติบะฮฺ)
    โดยส่วนใหญ่แล้วท่านจะละหมาดสุนัตต่างๆซึ่งไม่มีสาเหตุเจาะจงที่บ้านของท่านโดยเฉพาะสุนัตก่อนมัฆริบซึ่งไม่ปรากฏว่ามีบันทึกรายงานระบุว่าท่านเคยละหมาดสุนัตนี้ที่มัสยิดเลย ทั้งนี้ท่านละหมาดสุนัตก่อนฟัจญรฺอย่างสม่ำเสมอมากกว่าสุนัตในเวลาอื่นๆ
ละหมาดสุนัตอีกประเภทหนึ่งที่ท่านไม่เคยทิ้งเลยไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเดินทางหรือไม่ก็ตามคือละหมาดวิตรฺโดยไม่มีบันทึกรายงานว่าท่านละหมาดสุนัตอื่นใดในขณะเดินทางนอกจากละหมาดสุนัตทั้งสอง
    นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันว่าระหว่างสุนัตทั้งสองประเภทอย่างใดดีกว่ากัน? ทั้งนี้เนื่องจากสุนัตก่อนฟัจญรฺนั้นเป็นเสมือนการเริ่มต้นของการงานในแต่ละวันในขณะที่ละหมาดวิตรฺเป็นการปิดท้ายการงาน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอ่าน       สูเราะฮฺ “อัลอิคลาศ”และ“อัลกาฟิรูน” ในละหมาดทั้งสองซึ่งทั้งสองสูเราะฮฺนี้ได้รวมเอาหลักเตาฮีดประเภทต่างๆไว้ด้วยกันเช่นเดียวกับที่ท่านอ่านสูเราะฮฺทั้งสองในละหมาดสุนัตหลังเฏาะวาฟเนื่องจากหัจญ์ถือเป็นสัญลักษณ์ของเตาฮีด
    หลังละหมาดสุนัตก่อนฟัจญรฺท่านจะล้มตัวลงนอนตะแคงหันไปทางขวาซึ่งในเรื่องนี้มีความเห็นที่ค่อนข้างจะสุดโต่งจากนักวิชาการสองฝ่ายฝ่ายหนึ่งซึ่งก็คือกลุ่ม“ซอฮิริยะฮฺ” เห็นว่าการนอนดังกล่าวนี้ถือเป็นวาญิบจำเป็นต้องกระทำ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและเป็นบิดอะฮฺ ส่วนอิมามมาลิกและนักวิชาการอีกส่วนหนึ่งเลือกทัศนะที่อยู่กลางระหว่างทั้งสอง กล่าวคือท่านเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่กระทำได้สำหรับผู้ที่มีเจตนาเพียงแค่จะพักเหนื่อยแต่หากผู้ใดกระทำเช่นนั้นโดยยึดว่าเป็นสุนนะฮฺก็ถือว่าเป็นมักรูฮฺน่ารังเกียจ

(10) กิยามุลลัยลฺ
ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมไม่เคยละทิ้งการละหมาดในยามค่ำคืน(กิยามุลลัยลฺ)ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่ในถิ่นอาศัยหรืออยู่ระหว่างการเดินทางคืนใดที่ท่านเผลอหลับลึกไม่ทันตื่นหรือเจ็บป่วยไม่สบายท่านก็จะละหมาดในเวลากลางวันจำนวนสิบสองร็อกอัตเป็นการทดแทน
ข้าพเจ้า (อิบนุลก็อยยิม) ได้ยินชัยคุลอิสลามอิบนุ         ตัยมิยะฮฺกล่าวว่า“ดังกล่าวนี้เป็นหลักฐานว่าหากพลาดละหมาดวิตรฺไปก็ไม่จำเป็นต้องละหมาดชดแต่อย่างใดเนื่องจากเวลาที่กำหนดไว้สำหรับละหมาดวิตรฺนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้วเช่นเดียวกับกรณีของการละหมาดเมื่อแรกเข้ามัสยิด(ตะหิยะตุลมัสยิด)ละหมาดเมื่อเกิดอุปราคาหรือละหมาดขอฝนทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการละหมาดวิตรฺคือการปิดท้ายละหมาดยามค่ำคืนด้วยละหมาดวิตรฺที่มีร็อกอัตเป็นจำนวนคี่”
    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมละหมาดยามค่ำคืนจำนวนสิบเอ็ดหรือสิบสามร็อกอัตโดยประเด็นเรื่องจำนวนร็อกอัตนี้นักวิชาการมีความเห็นตรงกันในส่วนของการละหมาดสิบเอ็ดร็อกอัตส่วนอีกสองร็อกอัตที่เพิ่มขึ้นมานั้นมีความเห็นแตกต่างกันว่าเป็นสุนัตสองร็อกอัตก่อนละหมาดฟัจญรฺหรือเป็นละหมาดประเภทอื่น?
ทั้งนี้เมื่อนับเอาจำนวนร็อกอัตดังกล่าวรวมเข้ากับจำนวนร็อกอัตของละหมาดฟัรฺฎูและละหมาดสุนัตต่างๆที่ท่านปฏิบัติอย่างเป็นประจำทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนแล้วก็จะได้จำนวนสี่สิบร็อกอัต นอกเหนือจากจำนวนดังกล่าวล้วนเป็นการละหมาดที่ท่านมิได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
    ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราจะต้องรักษาการงานที่ดีนี้ไว้ตลอดไปเพื่อที่คำวิงวอนขอของเราจะได้รับการตอบรับเปรียบได้กับผู้ที่เคาะประตูเรียกสี่สิบครั้งในแต่ละวันแต่ละคืนไม่นานก็คงมีผู้เปิดประตูต้อนรับ
    ตามแบบฉบับของท่านนั้นเมื่อท่านตื่นขึ้นมาในยามวิกาลท่านจะกล่าวว่า
« لاَ إِلهَ إلا أَنْتَ سُبْحَانَكَ اللهُمَّ أَسْتَغْفِرُكَ لِذَنْبِي، وَأَسْألُكَ رَحْمَتَكَ، اللهمَّ زِدْنِي عِلْماً، ولا تُزِغْ قَلْبي بَعْدَ إِذْ هَدَيْتَنِي، وَهَبْ لِي مِنْ لَدُنْكَ رحمةً إِنَّكَ أَنْتَ الوَهَّابُ»
ความว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ โอ้อัลลอฮฺข้าพระองค์ขออภัยโทษต่อพระองค์สำหรับความผิดของข้าพระองค์ข้าพระองค์หวังในความเมตตาของพระองค์ โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ และขอทรงอย่าให้หัวใจของข้าพระองค์ไขว้เขวภายหลังจากที่พระองค์ได้ทรงชี้นำทางแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงประทานความเมตตาแก่ข้าพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงมอบสิ่งทั้งหลายทั้งปวง"

    เมื่อตื่นจากการนอนท่านยังกล่าวว่า
«الحَمْدُ للهِ الذي أَحْيَانَا بَعْدَمَا أَمَاتَنَا وَإليهِ النُشُورُ»
ความว่า “มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺผู้ทรงให้เราได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ทรงให้เราสิ้นชีวิตและยังพระองค์เท่านั้นที่ทุกสิ่งจะถูกนำไป"

    หลังจากนั้นท่านแปรงฟัน บางครั้งท่านก็อ่านสิบอายะฮฺสุดท้ายจากสูเราะฮฺอาลอิมรอนด้วย จากนั้นท่านอาบน้ำละหมาดแล้วละหมาดสั้นๆสองร็อกอัตดังปรากฏหลักฐานในหะดีษซึ่งรายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺ ทั้งนี้ท่านเริ่มละหมาดกิยามุลลัยลฺเมื่อได้เวลากึ่งหนึ่งของคืนหรืออาจจะก่อนหน้าหรือหลังจากนั้นเล็กน้อย
บางครั้งท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมยืนละหมาดยามค่ำคืนแบบเว้นช่วง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วท่านจะละหมาดแบบต่อเนื่อง การละหมาดแบบเว้นช่วงนั้นดังที่ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า “เมื่อท่านละหมาดสองร็อกอัตแล้วท่านจะกลับไปนอนท่านทำสลับอย่างนี้อยู่สามครั้งรวมเป็นหกร็อกอัตโดยท่านแปรงฟันและอาบน้ำละหมาดทุกครั้งที่ลุกขึ้นละหมาด หลังจากนั้นท่านจึงละหมาดวิตรฺจำนวนสามร็อกอัตปิดท้าย”
    ซึ่งการละหมาดวิตรฺของท่านนั้นมีหลายลักษณะในบางครั้งท่านยืนละหมาดแปดร็อกอัตโดยให้สลามทุกสองร็อกอัตแล้วจึงละหมาดวิตรฺห้าร็อกอัตติดต่อกันโดยนั่งตะชะฮุดในร็อกอัตสุดท้ายก่อนให้สลาม
บางครั้งท่านละหมาดเก้าร็อกอัตโดยละหมาดต่อเนื่องกันแปดร็อกอัตแล้วนั่งตะชะฮุดในร็อกอัตสุดท้าย กล่าวซิกรุลลอฮฺสรรเสริญอัลลอฮฺและวิงวอนขอดุอาอ์ จากนั้นก็ลุกขึ้นยืนละหมาดต่อในร็อกอัตที่เก้า แล้วจึงนั่งลงตะชะฮุดและให้สลาม หลังจากนั้นท่านก็ละหมาดอีกสองร็อกอัตหลังให้สลาม
บางครั้งท่านละหมาดเจ็ดร็อกอัตในลักษณะเดียวกันกับกรณีที่ท่านละหมาดเก้าร็อกอัต หลังจากนั้นท่านก็ละหมาดต่ออีกสองร็อกอัตในท่านั่ง
    นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าท่านเคยละหมาดทีละสองร็อกอัตแล้วจึงต่อด้วยวิตรฺจำนวนสามร็อกอัตต่อเนื่องกัน ดังปรากฏในรายงานที่บันทึกโดยอะหฺมัดจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ซึ่งเป็นรายงานที่ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะปรากฏรายงานในเศาะฮีหฺอิบนิหิบบานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า"พวกท่านอย่าได้ละหมาดวิตรฺจำนวนสามร็อกอัตแต่จงละหมาดห้าหรือเจ็ดร็อกอัตอย่าทำให้การละหมาดวิตรฺคล้ายกับละหมาดมัฆริบ”อัดดาเราะกุฏนีย์กล่าวว่า: สายรายงานหะดีษบทนี้เชื่อถือได้ทุกคน
อิมามอะหฺมัดได้กล่าวถึงการละหมาดวิตรฺว่า“ควรจะให้สลามเมื่อจบสองร็อกอัต แต่ถ้ายังไม่ให้สลามก็หวังว่าจะไม่ผิดแต่ประการใด เพียงแต่รายงานที่ระบุว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมให้สลามเมื่อจบสองร็อกอัตนั้นมีความชัดเจนถูกต้องมากกว่า” ในอีกที่หนึ่งท่านกล่าวว่า“หะดีษส่วนใหญ่และที่มีน้ำหนักมากกว่าระบุว่าละหมาดวิตรฺมีเพียงร็อกอัตเดียวซึ่งฉันเลือกทัศนะนี้”
    มีรายงานจากท่านหุซัยฟะฮฺว่าท่านได้เคยละหมาดในเดือนเราะมะฎอนพร้อมกับท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมซึ่งเมื่อท่านรุกูอฺท่านกล่าวว่าسُبْحَانَ رَبِّي العَظِيم และเมื่อท่านละหมาดได้เพียงสี่ร็อกอัตบิลาลก็มาแจ้งว่าได้เวลาละหมาดศุบหฺแล้ว
    สำหรับช่วงเวลาของการละหมาดวิตรฺ บางครั้งท่านละหมาดในช่วงแรกของคืน บางครั้งก็ช่วงกลางๆ และบางครั้งท่านละหมาดในช่วงท้ายของคืน ครั้งหนึ่งท่านเคยยืนละหมาดในยามดึกโดยอ่านซ้ำไปซ้ำมาเพียงอายะฮฺเดียวกระทั่งได้เวลา ศุบหฺนั่นคืออายะฮฺที่ว่า
﴿إِن تُعَذِّبۡهُمۡ فَإِنَّهُمۡ عِبَادُكَۖ وَإِن تَغۡفِرۡ لَهُمۡ فَإِنَّكَ أَنتَ ٱلۡعَزِيزُ ٱلۡحَكِيمُ١١٨﴾ [المائ‍دة: ١١٨] 
ความว่า “หากพระองค์ทรงลงโทษพวกเขา แท้จริงพวกเขาก็เป็นเพียงบ่าวของพระองค์ และถ้าพระองค์ทรงอภัยให้แก่พวกเขาแท้จริงพระองค์คือผู้ทรงเดชานุภาพผู้ทรงปรีชาญาณ”          (อัลมาอิดะฮฺ: 118)

    ในการละหมาดยามค่ำคืนนั้นส่วนใหญ่ท่านจะยืนละหมาด แต่บางครั้งท่านก็ละหมาดในท่านั่ง และก็มีบางครั้งที่ท่านเริ่มอ่านในท่านั่งเมื่ออ่านไปจนกระทั่งเหลืออีกเพียงเล็กน้อยท่านก็ยืนขึ้น หลังจากนั้นก็ก้มรุกูอฺขณะที่อยู่ในท่ายืน
และปรากฏรายงานจากท่านระบุว่าท่านเคยละหมาดต่ออีกสองร็อกอัตหลังเสร็จสิ้นจากการละหมาดวิตรฺ โดยบางครั้งท่านละหมาดในท่านั่ง และบางครั้งท่านเริ่มละหมาดในท่านั่งเมื่อถึงช่วงรุกูอฺท่านก็ยืนขึ้นแล้วรุกูอฺขณะที่อยู่ในท่ายืน ซึ่งประเด็นนี้ได้สร้างความสับสนแก่คนจำนวนมากโดยพวกเขาเข้าใจว่าหะดีษบทนี้ขัดแย้งกับหะดีษที่ว่า"พวกท่านจงให้ละหมาดวิตรฺ(ด้วยจำนวนคี่) เป็นการปิดท้ายละหมาดในยามค่ำคืน”
อิมามอะหฺมัดกล่าวว่า“โดยส่วนตัวฉันไม่ยึดถือปฏิบัติแต่ก็ไม่ห้ามผู้ใดที่จะปฏิบัติเช่นนั้นซึ่งท่านมาลิกก็ไม่สนับสนุนให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน”
ทั้งนี้ทัศนะที่น่าจะถูกต้องคือการละหมาดวิตรฺนั้นถือเป็นอิบาดะฮฺเฉพาะจึงอาจต่อด้วยการละหมาดสองร็อกอัตเฉกเช่นการละหมาดสุนัตหลังมัฆริบโดยสองร็อกอัตนั้นถือเป็นการเติมเต็มสำหรับละหมาดวิตรฺนั่นเอง
และไม่ปรากฏรายงานว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมอ่านกุนูตในละหมาดวิตรฺยกเว้นหะดีษซึ่งบันทึกโดย อิบนุมาญะฮฺ
อิมามอะหฺมัดกล่าวว่า“ไม่ปรากฏว่ามีรายงานจากท่าน นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในเรื่องนี้แต่อย่างใดแต่ท่านอุมัรฺได้เคยกุนูตตลอดทั้งปี”
ทั้งนี้การกุนูตในละหมาดวิตรฺนั้นมีรายงานจากท่านอุมัรฺท่านอุบัยย์และท่านอิบนุมัสอูด
และในหะดีษซึ่งบันทึกโดยอบูดาวูดจากอุบัยย์บินกะอฺบ์กล่าวว่า“ท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้อ่านสูเราะฮฺ (سبّح اسم ربك الأعلى) สูเราะฮฺ(قل يا أيها الكافرون) และสูเราะฮฺ (قل هو الله أحد) และหลังจากให้สลามท่านกล่าวว่า “سُبْحَانَ المَلِكِ القُدُّوسِ” จำนวนสามครั้งโดยในครั้งที่สามท่านกล่าวเสียงดังและลากยาว"
ท่านจะอ่านแต่ละสูเราะฮฺช้าๆอย่างชัดถ้อยชัดคำ ทั้งนี้เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของการอ่านอัลกุรอานคือการคิดใคร่ครวญ ทำความเข้าใจในความหมายของสิ่งที่อ่าน และปฏิบัติตามหลักคำสอนที่ปรากฏ
ซึ่งการอ่านและการท่องจำนั้นเป็นเพียงสื่อกลางที่นำไปสู่ความเข้าใจอัลกุรอานดังที่ชาวสลัฟบางท่านกล่าวไว้ว่า“อัลกุรอานถูกประทานลงมาเพื่อให้เรายึดถือปฏิบัติเป็นธรรมนูญชีวิต แต่ผู้คนกลับยึดเอาการอ่านเป็นสาระสำคัญมากกว่า"
อบูญัมเราะฮฺได้เคยปรารภกับท่านอิบนุอับบาสว่า “ฉันเป็นคนอ่านเร็วบางครั้งฉันอ่านอัลกุรอานจบทั้งเล่มหนึ่งหรือสองครั้งในคืนเดียว”ท่านจึงกล่าวแก่เขาว่า“ในความคิดของฉันให้ฉันอ่านเพียงสูเราะฮฺเดียว(อย่างใคร่ครวญ) ยังจะดีกว่าสิ่งที่ท่านทำ ถ้าท่านอยากจะอ่านเร็วจริงๆก็ขอให้อ่านโดยที่หูของท่านได้ยินและหัวใจของท่านได้คิดใคร่ครวญในสิ่งที่อ่านเถิด”
อิบรอฮีมกล่าวว่า"อัลเกาะมะฮฺได้เคยอ่านอัลกุรอานให้ท่านอับดุลลอฮฺฟังแล้วท่านก็กล่าวว่าท่านจงอ่านช้าๆอย่างชัดถ้อยชัดคำเถิด เพราะนั่นคือความสวยงามของอัลกุรอาน”
อับดุลลอฮฺกล่าวอีกว่า"พวกท่านอย่าอ่านอัลกุรอานด้วยท่วงทำนองการอ่านบทกลอน และอย่าได้อ่านอย่างไร้ชีวิตชีวาเหมือนดังผลอินทผลัมแห้งที่ร่วงหล่นจากต้น แต่พวกท่านจงอ่านโดยคิดไตร่ตรองใคร่ครวญไปด้วยให้หัวใจของพวกท่านได้ตื่นตัวและตอบสนองต่อสิ่งที่อ่าน อย่าให้เป้าหมายของพวกท่านอยู่ที่สูเราะฮฺสุดท้ายเท่านั้น(คือเอาแต่เร่งให้จบ)”
ท่านยังกล่าวอีกว่า“เมื่อใดที่ท่านได้ยินอัลลอฮฺตรัสว่า (يَا أيُّها الذِينَ آمَنُوا) – โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย– ก็จงสดับฟังให้ดีเพราะนั่นหมายความว่าสิ่งที่พระองค์จะตรัสบอกหลังจากนั้นคือความดีที่ท่านถูกสั่งใช้ให้ปฏิบัติ หรือความชั่วที่ท่านถูกสั่งใช้ให้ออกห่าง"
อับดุรฺเราะหฺมานบินอบีลัยลากล่าวว่า"สตรีนางหนึ่งเข้ามาหาฉันขณะที่ฉันกำลังอ่านสูเราะฮฺฮูด นางจึงกล่าวแก่ฉันว่าโอ้อับดุรฺเราะหฺมานท่านอ่านสูเราะฮฺฮูดอย่างนี้หรอกหรือ? ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แท้จริงฉันได้เริ่มอ่านสูเราะฮฺนี้มาตั้งแต่เมื่อหกเดือนที่แล้วกระทั่งทุกวันนี้ฉันก็ยังอ่านมันไม่จบ(เพราะนางอ่านโดยครุ่นคิดและใคร่ครวญความหมาย-ผู้แปล)”
ในการละหมาดยามค่ำคืนนั้นบางครั้งท่าน                   เราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อ่านเสียงค่อย บางครั้งท่านอ่านเสียงดัง บางครั้งท่านยืนละหมาดนาน บางครั้งท่านยืนสั้นๆโดยปกติแล้วขณะที่อยู่ในระหว่างการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางคืนหรือกลางวัน ท่านจะนั่งละหมาดสุนัตบนสัตว์พาหนะของท่านไม่ว่ามันจะเดินมุ่งหน้าไปทิศทางใดก็ตาม ท่านรุกูอฺและสุญูดด้วยการก้มลงโดยให้การก้มขณะสุญูดนั้นลงต่ำกว่าขณะรุกูอฺ

(11) ละหมาดดุฮา
มีรายงานบันทึกในเศาะฮีหฺอัล-บุคอรียฺจากท่านหญิงอาอิชะฮฺกล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมละหมาดดุฮา แต่โดยส่วนตัวแล้วฉันละหมาด”
และมีบันทึกในเศาะฮีหฺอัล-บุคอรียฺและเศาะฮีหฺมุสลิมจาก อบูฮุร็อยเราะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮฺกล่าวว่า“ผู้เป็นที่รักยิ่งของฉัน(ท่านนบี) ได้กำชับให้ฉันถือศีลอดสามวันในแต่ละเดือน ให้ละหมาดสองร็อกอัตในเวลาดุฮา และให้ฉันละหมาดวิตรฺก่อนที่ฉันจะเข้านอน”
    มีรายงานหะดีษบันทึกโดยมุสลิมจากซัยดฺบินอัรฺก็อมเล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«صَلاةُ الأوَّابِينَ حِيْنَ تَرْمَضُ الفِصالُ»
ความว่า"ละหมาดของผู้นอบน้อมเชื่อฟังนั้นคือเมื่อถึงเวลาที่กีบเท้าของลูกอูฐร้อนระอุ”

หมายถึงช่วงเวลากลางวันที่แดดร้อนจัดทำให้ลูกอูฐรู้สึกได้ถึงความร้อนของพื้นทะเลทรายซึ่งท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กำชับและส่งเสริมให้ละหมาดดุฮา ส่วนตัวท่านนั้นได้ยืนละหมาดในยามค่ำคืนเป็นการทดแทน
    มัสรูกกล่าวว่า “พวกเราเคยละหมาดที่มัสยิด เมื่อละหมาดเสร็จท่านอิบนุมัสอูดก็ลุกออกไป แต่พวกเรายังคงอยู่ต่อเพื่อรอละหมาดดุฮา เมื่ออิบนุมัสอูดทราบท่านก็กล่าวว่า ทำไมพวกท่านถึงให้บ่าวของอัลลอฮฺต้องแบกรับภาระในสิ่งที่อัลลอฮฺมิได้บังคับให้พวกเขาแบกรับด้วยเล่า? ถ้าหากพวกท่านจะทำ(ละหมาดดุฮา) ก็จงทำที่บ้านของพวกท่านเถิด"
    สะอีดบินญุบัยรฺกล่าวว่า“ในบางครั้งฉันละเว้นการละหมาดดุฮาทั้งที่ฉันอยากจะละหมาด เพราะเกรงว่าวันหนึ่งฉันจะรู้สึกว่ามันเป็นวาญิบที่จำเป็นต้องปฏิบัติ”

(12) สุญูดขอบคุณและสุญูดสัจญ์ดะฮฺ
    ตามแบบฉบับของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและเศาะหาบะฮฺของท่านนั้นทุกครั้งที่ได้รับความโปรดปรานอันนำมาซึ่งความยินดีหรือแคล้วคลาดจากภัยอันตรายท่านจะสุญูดขอบคุณอัลลอฮฺ
    และเมื่อท่านอ่านถึงอายะฮฺ "สัจญ์ดะฮฺ” ท่านจะกล่าวตักบีรฺแล้วสุญูดบางครั้งท่านก็กล่าวในสุญูดว่า
‏«سَجَدَ وَجْهِيَ للَّذِيْ خَلَقَهَ وَصَوَّرَهُ، وَشَقَّ سَمْعَهُ وَبَصَرَهُ، بِحَوْلِهِ وَقُوَّتِهِ»
ความว่า"ใบหน้าของฉันขอก้มกราบต่อพระผู้ทรงสร้างมัน ทำให้มันมีรูปร่าง ได้ยิน และได้มองเห็นด้วยเดชานุภาพ และความเกรียงไกรของพระองค์"
    และไม่ปรากฏหลักฐานว่าท่านได้กล่าวตักบีรฺขณะเงยขึ้นจากสุญูดขอบคุณและไม่มีรายงานว่าท่านได้นั่งตะชะฮุดหรือให้สลามหลังสุญูดดังกล่าวแต่อย่างใด
    มีรายงานที่ถูกต้องระบุว่าท่านสุญูดสัจญฺดะฮฺเมื่ออ่าน   สูเราะฮฺ“อัสสัจญฺดะฮฺ” “ศอด” “อัล-อะลัก”“อันนัจญม์” และ “อัล-อินชิกอก” ในขณะที่รายงานซึ่งบันทึกโดยอบูดาวูดจากอัมรฺบินอัลอาศระบุว่าท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้สอนให้ท่านสุญูดสัจญฺดะฮฺสิบห้าจุดด้วยกันโดยมีสามจุดอยู่ในสูเราะฮฺสั้นๆ (อัล-มุฟัศศ็อล) ส่วนในสูเราะฮฺ“อัลหัจญ์” นั้นมีสองจุด ส่วนรายงานจากอิบนุอับบาสที่ระบุว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัมไม่เคยสุญูดเมื่ออ่านสูเราะฮฺอัล-มุฟัศศ็อลเลยนับตั้งแต่ท่านย้ายไปอยู่มะดีนะฮฺนั้นเป็นหะดีษเฎาะอีฟ
   
(13) วันศุกร์
    ในหะดีษเศาะฮีหฺบทหนึ่งท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«أَضَلَّ اللَّهُ عَنْ الْجُمُعَةِ مَنْ كَانَ قَبْلَنَا، فَكَانَ لِلْيَهُودِ يَوْمُ السَّبْتِ، وَكَانَ لِلنَّصَارَى يَوْمُ الأَحَدِ، فَجَاءَ اللَّهُ بِنَا فَهَدَانَا اللَّهُ لِيَوْمِ الْجُمُعَةِ، فَجَعَلَ الْجُمُعَةَ وَالسَّبْتَ وَالأَحَدَ، وَكَذَلِكَ هُمْ تَبَعٌ لَنَا يَوْمَ الْقِيَامَةِ، نَحْنُ الآخِرُونَ مِنْ أَهْلِ الدُّنْيَا، وَالأَوَّلُونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، الْمَقْضِيُّ لَهُمْ قَبْلَ الْخَلائِقِ»
ความว่า"อัลลอฮฺทรงให้ประชาชาติก่อนหน้าพวกท่านหันเหออกจากวันศุกร์(ทรงชี้แนะพวกเขาให้เลือกวันศุกร์เป็นวันสำคัญแต่พวกเขากลับเลือกวันอื่น– ผู้แปล) โดยพวกยะฮูดเลือกวันเสาร์เป็นวันสำคัญส่วนพวกนะศอรอเลือกวันอาทิตย์แล้วอัลลอฮฺก็ทรงนำทางพวกเราจนได้ถือเอาวันศุกร์เป็นวันสำคัญทั้งนี้พระองค์ทรงประสงค์ให้วันศุกร์เสาร์ และอาทิตย์เป็นวันสำคัญ และในวันกิยามะฮฺพวกเขาก็จะตามหลังเราเช่นนี้(เหมือนเช่นที่วันเสาร์และอาทิตย์ตามหลังวันศุกร์– ผู้แปล) พวกเราเป็นประชาชาติสุดท้ายในโลกนี้แต่จะได้รับเกียรติเป็นกลุ่มแรกในวันกิยามะฮฺโดยจะได้รับการสอบสวนพิพากษาก่อนประชาชาติใดๆ”

    ในหะดีษอีกบทหนึ่งซึ่งบันทึกโดยอัตติรมิซีย์จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«خَيْرُ يَوْمٍ طَلَعَتْ عَليهِ الشَّمْسُ يَوْمُ الْجُمُعَةِ، فِيهِ خُلِقَ آدَمُ، وَفِيهِ أُدْخِلَ الْجَنَّةَ، وَفِيهِ أُخْرِجَ مِنْهَا، وَلاَ تَقُومُ السَّاعَةُ إِلاَّ فِى يَوْمِ الْجُمُعَةِ »
ความว่า"วันที่ประเสริฐที่สุดคือวันศุกร์ ในวันดังกล่าวอาดัมได้ถูกสร้างให้มีชีวิต ได้เข้าไปอยู่ในสวรรค์ และถูกขับออกจากสวรรค์ และวันกิยามะฮฺจะไม่เกิดขึ้นนอกจากในวันศุกร์”

    ในอีกสำนวนหนึ่งซึ่งมีบันทึกในอัล-มุวัฏเฏาะอ์ระบุว่า
«خَيْرُ يَوْمٍ طَلَعَتْ فِيهِ الشَّمْسُ، فِيهِ خُلِقَ آدَمُ، وَفِيهِ أُهْبِطَ، وَفِيهِ تِيبَ عَلَيْهِ، وَفِيهِ مَاتَ، وَفِيهِ تَقُومُ السَّاعَةُ، ومَا مِنْ دَابَّةٍ إِلَّا وَهِيَ مُصِيخَة يَوْمَ الْجُمُعَةِ مِنْ حِين تُصبِحُ حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ شَفَقًا مِنْ السَّاعَةِ، إِلَّا الجِنّ والإِنْس، وَفِيها سَاعَةٌ لَا يُصَادِفُهَا عَبْدٌ مُسْلِمٌ وَهُوَ يُصَلِّي يَسْأَلُ اللَّهَ شَيْئًا إِلَّا أَعْطَاهُ اللهُ إِيَّاهُ»
ความว่า"วันศุกร์คือวันที่ประเสริฐที่สุด เป็นวันที่อาดัมถูกสร้างขึ้น ถูกขับออกจากสวรรค์ ได้รับอภัยโทษ และเป็นวันที่ท่านเสียชีวิต นอกจากนี้วันกิยามะฮฺก็จะเกิดขึ้นในวันศุกร์ และไม่มีสัตว์โลกตัวใดเว้นแต่มันจะนิ่งฟังในตอนเช้าของวันศุกร์กระทั่งตะวันขึ้นด้วยเกรงว่าวันดังกล่าวจะเป็นวันกิยามะฮฺยกเว้นญิน และมนุษย์ และในวันศุกร์นั้นจะมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งซึ่งหากบ่าวมุสลิมละหมาดวิงวอนขอสิ่งใดต่ออัลลอฮฺในเวลาดังกล่าวพระองค์จะทรงประทานให้แก่เขา”

ท่านกะอับกล่าวว่า ช่วงเวลาดังกล่าวจะมีเพียงหนึ่งวันในหนึ่งปี แต่อบูฮุร็อยเราะฮฺกลับเห็นว่า ช่วงเวลาดังกล่าวมีอยู่ทุกวันศุกร์ หลังจากนั้นกะอับได้อ่านคัมภีร์เตารอตเขาจึงกล่าวว่า“ท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวถูกต้องแล้ว”
เมื่ออบูฮุร็อยเราะฮฺได้พบอับดุลลอฮฺบินสะลามท่านก็เล่าเรื่องที่ได้พูดคุยกับกะอับให้ท่านฟัง ท่านจึงกล่าวว่า “ฉันรู้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวคือเวลาใด?มันคือช่วงท้ายๆของเย็นของวันศุกร์” อบูฮุร็อยเราะฮฺจึงกล่าวถามว่า มันจะเป็นเช่นนั้นได้อย่างไรในเมื่อท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า“หากบ่าวมุสลิมละหมาดวิงวอนขอสิ่งใดต่ออัลลอฮฺในเวลาดังกล่าว...”แต่ช่วงเวลาดังกล่าวไม่ใช่เวลาละหมาด? อิบนุสะลามจึงกล่าวว่า ท่านไม่ทราบหรือว่าท่านเราะสูลกล่าวว่า “ผู้ใดนั่งรอเวลาละหมาดเท่ากับว่าเขาอยู่ในการละหมาดกระทั่งเขาได้ยืนละหมาด”
ในรายงานอีกบทหนึ่งซึ่งบันทึกในมุสนัดอะหฺมัดท่าน อบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า มีผู้ถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่าเหตุใดวันศุกร์(อัลญุมุอะฮฺ) จึงได้ชื่อนี้? ท่านกล่าวตอบว่า“เพราะในวันดังกล่าวอาดัมบิดาของพวกท่านถูกสร้างขึ้นมาจากดิน เป็นวันกิยามะฮฺ และวันฟื้นคืนชีพเพื่อสอบสวนพิพากษา และในช่วงท้ายของวันดังกล่าวมีช่วงเวลาหนึ่งซึ่งผู้ใดวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺพระองค์จะทรงตอบรับ”
อิบนุอิสหากได้บันทึกรายงานจากอับดุรเราะหฺมานบินกะอับบินมาลิกเล่าว่า โดยปกติฉันจะเป็นคนช่วยพยุงนำทางคุณพ่อของฉันหลังจากที่ท่านสูญเสียการมองเห็น เวลาที่ฉันพาท่านออกไปละหมาดวันศุกร์แล้วท่านได้ยินเสียงอะซานท่านก็จะกล่าวอิสติฆฟารขออภัยโทษให้แก่อบูอุมามะฮฺ อัสอัดบินซุรอเราะฮฺ ซึ่งฉันได้ยินสิ่งนั้นอยู่บ่อยครั้งฉันจึงคิดในใจว่าฉันจะต้องถามท่านให้ได้ว่าแล้วฉันก็กล่าวถามท่านว่า“พ่อจ๋าฉันสังเกตเห็นว่าท่านกล่าวขออภัยโทษให้แก่อัสอัดบินซุรอเราะฮฺทุกครั้งที่ท่านได้ยินเสียงอะซานละหมาดวันศุกร์เป็นเพราะเหตุใดหรือครับ?”ท่านกล่าวตอบว่า“ลูกรักอัสอัดคือคนแรกที่นำพวกเราละหมาดวันศุกร์ที่เมืองมะดีนะฮฺก่อนที่ท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจะมาถึง”ฉันจึงถามต่อว่า“แล้วในขณะนั้นพวกท่านมีจำนวนเท่าไรหรือครับ?” ท่านตอบว่า“สี่สิบคน” (อัลบัยฮะกีย์กล่าวว่าสายรายงานของหะดีษบทนี้มีความถูกต้อง)
    หลังจากนั้นท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็มาถึงมะดีนะฮฺโดยท่านหยุดพักแรมที่หมู่บ้านกุบาอ์ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดีระหว่างนั้นท่านได้สร้างมัสยิดประจำหมู่บ้านขึ้นแล้วท่านก็ออกจากกุบาอ์ในวันศุกร์เดินทางต่อจนได้เวลาละหมาดวันศุกร์ ณ บนีสาลิมบินเอาฟฺท่านจึงนำละหมาดกลางทุ่งระหว่างหุบเขาก่อนที่จะสร้างมัสยิดขึ้นในภายหลัง
    อิบนุอิสหากกล่าวว่าคุฏบะฮฺแรกที่ท่านกล่าวเทศนาตามที่ฉันได้รับการถ่ายทอดต่อมาจากอบูสะละมะฮฺบินอับดิรเราะหฺมาน(ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺจากการกล่าวอ้างในสิ่งที่ท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมมิได้กล่าว) มีอยู่ว่าท่านเริ่มด้วยการยืนหันหน้าเข้าหาบรรดาเศาะหาบะฮฺแล้วกล่าวสรรเสริญขอบคุณอัลลอฮฺจากนั้นท่านกล่าวว่า
«أما بعد، أَيُّها النَاسُ، فَقَدِّمُوا لأَنْفُسِكم، تَعلمن وَاللهِ ليصعقَنَّ أحدُكُم، ثُم ليَدَعَنَّ غنَمَهُ، لَيْسَ لها راعٍ، ثُم ليقولَنَّ لَهُ رَبُّهُ ليس بيْنَه وبَيْنَه ترجمان، ولا حَاجِبَ يحجبُهُ دونَهُ، ألمْ يَأتِكَ رَسُولي فَبَلغَكَ، وآتيْتُكَ مالا، وأفْضَلْتُ عليكَ فَمَا قدَّمتَ لِنَفْسِك؟ فلينظرنَّ يَميْنا وشِمَالا، فلا يَرى شَيْئا، ثم لينظرنَّ قدَامَهُ فلا يرى غيرَ جَهَنَّم، فمن استَطاعَ أن يَقِي وَجْهَهُ من النَّارِ ولو بِشقِّ تَمرة فليَفْعَلْ، وَمَن لمْ يَجِدْ فبكلمةٍ طيبةٍ، فإنْ بها تجزى الحَسَنَة بعشر أمثالها إلى سبعمائة ضعف، والسلام عليكم ورحمة الله وبركاته»
ความว่า“ท่านทั้งหลายจงเตรียมเสบียงความดีไว้สำหรับตัวท่านเองเถิดขอสาบานต่ออัลลอฮฺพึงทราบเถิดว่าบางคนในหมู่ท่านอาจสิ้นชีวิตด้วยความตะลึงงันแล้วเขาก็จะทิ้งฝูงแกะของเขาไปโดยไม่มีผู้ใดช่วยเลี้ยง หลังจากนั้นพระผู้อภิบาลก็จะกล่าวถามเขาโดยไม่ผ่านล่ามแปลและไม่มีสิ่งใดกั้นกลางระหว่างเขากับพระองค์ว่า: เราะสูลของข้าได้ถูกส่งไปยังเจ้าและประกาศเผยแผ่สารของข้าให้เจ้ารู้และข้าก็ได้เมตตาให้ทรัพย์สินเงินทองแก่เจ้าใช่หรือไม่แล้วเจ้าได้ทำอะไรเพื่อเป็นคุณแก่ตัวเจ้าบ้าง?เมื่อเขาหันมองซ้ายมองขวาก็ไม่พบสิ่งใดมองไปข้างหน้าก็เห็นแต่ไฟนรก ดังนั้นผู้ใดในหมู่ท่านสามารถที่ จะปกป้องใบหน้าของเขาให้รอดพ้นจากไฟนรกแม้จะด้วยการบริจาคผลอินทผลัมเพียงครึ่งเม็ดก็จงทำเถิด แต่ถ้าผู้ใดไม่มีสิ่งนั้นก็ให้พูดแต่สิ่งที่ดี เพราะคำพูดที่ดีนั้นจะส่งผลให้ได้รับผลบุญสิบเท่าและอาจเพิ่มไปจนถึงเจ็ดร้อยเท่า วัสลามุอะลัยกุมวะเราะหฺมะตุลลลอฮฺวะบะเราะกาตุฮฺ”
    อิบนุอิสหากกล่าวว่าหลังจากนั้นท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวคุฏบะฮฺอีกครั้งหนึ่งโดยท่านกล่าวว่า
«إنَّ الْحَمْدَ للَّه، أَحْمَدُهُ وَأَسْتَعِينُهُ، نَعُوذُ باللَّه مِنْ شُرُورِ أَنْفُسِنَا، وَسَيِّئَاتِ أَعْمَالِنَا، مَنْ يَهْدِهِ اللَّهِ فَلَا مُضِلَّ لَهُ، وَمَنْ يُضْلِلْ فَلَا هَادِيَ لَهُ، وَأَشْهَدُ أَنَّ لَا إلَهَ إلَّا اللَّهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ. إنَّ أَحْسَنَ الْحَدِيثِ كِتَابُ اللَّهِ تَبَارَكَ وَتَعَالَى، قَدْ أَفْلَحَ مَنْ زَيَّنَهُ اللَّهُ فِي قَلْبِهِ، وَأَدْخَلَهُ فِي الْإِسْلَامِ بَعْدَ الْكُفْرِ، وَاخْتَارَهُ عَلَى مَا سِوَاهُ مِنْ أَحَادِيثِ النَّاسِ، إنَّهُ أَحْسَنُ الْحَدِيثِ وَأَبْلَغُهُ، أَحِبُّوا مَا أَحَبَّ اللَّهُ، أَحِبُّوا اللَّهَ مِنْ كُلِّ قُلُوبِكُمْ، وَلَا تَمَلُّوا كَلَامَ اللَّهِ وَذِكْرَهُ، وَلَا تَقْسُ عَنْهُ قُلُوبُكُمْ، ... فَاعْبُدُوا اللَّهَ وَلَا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا، وَاتَّقُوهُ حَقَّ تُقَاتِهِ، وَاصْدُقُوا اللَّهَ صَالِحَ مَا تَقُولُونَ بِأَفْوَاهِكُمْ، وَتَحَابُّوا بِرُوحِ اللَّهِ بَيْنَكُمْ، إنَّ اللَّهَ يَغْضَبُ أَنْ يُنْكَثَ عَهْدُهُ، وَالسِّلَامُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُاللهِوَبَرَكَاتُه»
ความว่า"มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ฉันขอสรรเสริญพระองค์ และขอความช่วยเหลือจากพระองค์ ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองพวกเราให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายที่เกิดจากตัวเราและการงานของเรา ผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงชี้นำทางจะไม่มีผู้ใดทำให้เขาหลงทางได้ และผู้ใดที่พระองค์ทรงทำให้เขาหลงทางก็ไม่มีผู้ใดชี้นำทางเขาได้ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆสำหรับพระองค์ แท้จริงคำพูดที่ดีที่สุดคือ           กิตาบุลลอฮฺ ซึ่งผู้ที่อัลลอฮฺทรงให้อัลกุรอานอยู่ในใจเขา ให้เขาเข้ารับอิสลามภายหลังจากช่วงชีวิตแห่งการปฏิเสธศรัทธา แล้วเขาก็เลือกให้ความสำคัญกับอัลกุรอานยิ่งกว่าคำพูดใดๆของมนุษย์ย่อมถือเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จยิ่ง อัลกุรอานเป็นคำพูดที่ประเสริฐและลุ่มลึกที่สุด พวกท่านจงชอบในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงชอบจงรักอัลลอฮฺจากใจจริงของพวกท่าน อย่าได้เบื่อที่จะรับฟังพระดำรัสของอัลลอฮฺ และอย่าให้หัวใจของพวกท่านเมินห่างจาก      อัลกุรอานเป็นอันขาด.. ดังนั้นพวกท่านจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺและอย่าได้ตั้งภาคีใดๆขึ้นเทียบพระองค์ พวกท่านจงยำเกรงพระองค์อย่างที่สุด และจงมีความจริงจังที่จะปฏิบัติสิ่งดีๆที่พวกท่านได้พูดกล่าวออกไป จงรักใคร่สมัครสมานสามัคคีด้วยความผูกพันในหนทางของอัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงเกลียดการถูกละเมิดสัญญาที่มีต่อพระองค์ วัสสลามุอะลัยกุมวะเราะหฺมะตุลลอฮฺวะบะเราะกาตุฮฺ”

    ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมให้ความสำคัญกับวันศุกร์เป็นอย่างมากโดยท่านได้ส่งเสริมให้ปฏิบัติกิจวัตรบางอย่างที่พิเศษไปกว่าวันอื่นดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ในละหมาดฟัจญรฺเช้าวันศุกร์ท่านอ่านสูเราะฮฺ"อัสสัจญฺดะฮฺ” และ“อัล-อินสาน”ทั้งนี้เนื่องจากสูเราะฮฺทั้งสองกล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นไปในวันศุกร์นั่นเอง
    - ส่งเสริมให้กล่าวเศาะลาวาตแก่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ  อะลัยฮิวะสัลลัมให้มากในวันศุกร์และคืนก่อนวันศุกร์ เพราะทุกความดีงามที่ประชาชาติของท่านได้รับทั้งในดุนยาและอาคิระฮฺล้วนมีท่านเป็นจุดเริ่มต้น นอกจากนี้การให้ความสำคัญกับการออกไปละหมาดวันศุกร์แต่เนิ่นๆ และการได้อยู่แถวหน้าใกล้อิหม่ามก็เป็นสิ่งบ่งชี้ประการหนึ่งถึงสถานะและความใกล้ชิดของบ่าว ณ อัลลอฮฺในอาคิเราะฮฺ
    - การอาบน้ำชำระล้างร่างกายซึ่งถือเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง และอาจจำเป็นยิ่งกว่าการอาบน้ำละหมาดใหม่ในกรณีที่ไปสัมผัสอวัยวะเพศ หรือกรณีที่มีเลือดกำเดาไหล อาเจียน หรือแม้แต่การเศาะละวาตแก่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมขณะนั่งตะชะฮุดที่สองเสียอีก
    - การใช้เครื่องหอมและแปรงฟัน
    - การเดินทางไปละหมาดแต่เนิ่นๆและใช้เวลาไปกับการรำลึกถึงอัลลอฮฺและละหมาดสุนัตจนกระทั่งอิหม่ามขึ้นคุฏบะฮฺ
    - การนิ่งเงียบเพื่อรับฟังคุฏบะฮฺซึ่งถือเป็นวาญิบ
    - อ่านสูเราะฮฺ“อัล-ญุมุอะฮฺ” กับ“อัล-มุนาฟิกีน”หรือ“อัล-อะอฺลา” กับ“อัล-ฆอชิยะฮฺ”
    - แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่
    - ในวันศุกร์จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่เป็นช่วงเวลาแห่งการตอบรับดุอาอ์
ขณะที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวคุฏบะฮฺตาของท่านจะแดงก่ำ เสียงดังฟังชัด มีความขึงขังจริงจังประหนึ่งว่าท่านกำลังแจ้งข่าวว่าข้าศึกศัตรูกำลังจะเข้าจู่โจม
และท่านมักจะกล่าวในคุฏบะฮฺว่า “أما بعدُ” (เป็นคำคั่นระหว่างบทนำกับเนื้อหาคุฏบะฮฺ– ผู้แปล) โดยท่านจะกล่าวคุฏบะฮฺเพียงสั้นๆแต่จะยืนละหมาดยาว
คุฏบะฮฺของท่านเป็นการอธิบายหลักคำสอนและบทบัญญัติศาสนา ในบางครั้งท่านก็สั่งใช้หรือสั่งห้ามขณะกำลังคุฏบะฮฺ เช่นการที่ท่านบอกให้ชายผู้ซึ่งเดินเข้ามัสยิดขณะที่ท่านกำลังคุฏบะฮฺทำการละหมาดสุนัตสองร็อกอัตก่อนที่จะนั่ง หรือเมื่อเห็นว่ามีคนยากจนท่านก็จะเชิญชวนให้เศาะหาบะฮฺร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือเขา
และเมื่อกล่าวถึงอัลลอฮฺหรือดุอาอ์วิงวอนพระองค์ในคุฏบะฮฺท่านจะชูนิ้วชี้ขึ้นเมื่อเกิดสถานการณ์ความแห้งแล้งและฝนทิ้งช่วงท่านก็จะกล่าวดุอาอ์ขอฝนในคุฏบะฮฺด้วย
    ท่านจะออกมาเมื่อผู้คนมารวมตัวกันอย่างพร้อมเพรียงแล้ว เมื่อเดินเข้ามัสยิดท่านจะให้สลามแก่พวกเขา และเมื่อเดินขึ้นมินบัรฺ ท่านจะหันหน้าหาพวกเขา แล้วกล่าวให้สลามก่อนจะนั่งลง จากนั้นบิลาลก็จะยกเสียงอะซาน เมื่ออะซานเสร็จ ท่านก็ยืนขึ้นแล้วกล่าวคุฏบะฮฺ โดยท่านอาศัยคันธนูหรือไม้เท้ายันพื้น
มินบัรฺของท่านมีสามขั้น ซึ่งในอดีตก่อนที่ท่านจะยืนคุฏบะฮฺบนมินบัรฺนั้น ท่านเคยพิงตัวยังลำต้นอินทผลัม มินบัรฺดังกล่าวไม่ได้อยู่ตรงกลางมัสยิด แต่อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันตกของมัสยิด โดยระยะห่างระหว่างมินบัรฺกับผนังมัสยิดประมาณช่วงแกะเดินผ่านได้
เมื่อท่านนั่งบนมินบัรฺในวันอื่นๆ ที่ไม่ใช่กรณีของละหมาดวันศุกร์ หรือเมื่อท่านยืนคุฏบะฮฺในวันศุกร์ เศาะหาบะฮฺก็จะหันจับจ้องไปยังท่าน ท่านจะยืนคุฏบะฮฺแล้วก็นั่งพักสั้นๆ ก่อนที่จะยืนขึ้นกล่าวคุฏบะฮฺที่สอง เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว บิลาลก็จะทำการอิกอมะฮฺ
    ท่านจะกำชับให้ผู้คนขยับเข้าใกล้ท่านและนิ่งเงียบ โดยท่านบอกว่าแม้แต่ผู้ที่กล่าวเตือนให้เพื่อนของเขาเงียบนั้นก็ถือเป็นการกระทำที่ไม่สมควรและจะทำให้ผลบุญของการละหมาดวันศุกร์ของเขาขาดหายไป
    เมื่อท่านเสร็จสิ้นจากการละหมาดวันศุกร์แล้วท่านจะเดินเข้าบ้านแล้วละหมาดสุนัตหลังละหมาดวันศุกร์สองร็อกอัตแต่ท่านก็เคยใช้ให้ละหมาดสี่ร็อกอัตด้วยซึ่งอาจารย์ของเรากล่าวอธิบายว่า"ในกรณีที่ละหมาดในมัสยิดให้ละหมาดสี่ร็อกอัตแต่ถ้าละหมาดที่บ้านให้ละหมาดสองร็อกอัต”

(14) ข้อปฏิบัติในวันอีด
    ท่านละหมาดอีดทั้งสอง ณ ลานกลางแจ้ง (มุศ็อลลา) ซึ่งอยู่ทางด้านประตูเมืองมะดีนะฮฺฝั่งตะวันออกโดยท่านไม่เคยละหมาดอีดในมัสยิดเลย ยกเว้นเมื่อครั้งที่มีฝนตกหากว่าหะดีษที่ระบุถึงเรื่องนี้ซึ่งปรากฏในสุนันอบูดาวุดมีความถูกต้อง
ในวันอีดท่านจะสวมใส่เครื่องแต่งกายที่สวยที่สุดในบรรดาชุดที่ท่านมีอยู่ โดยในวันอีดฟิฏรฺท่านจะทานอินทผลัมเล็กน้อยเป็นจำนวนคี่ก่อนออกไปละหมาด ส่วนในวันอีดอัฎหาท่านจะไม่ทานอะไรจนกว่าจะกลับมาจากมุศ็อลลาแล้วจึงทานอาหารซึ่งปรุงจากเนื้อที่ได้จากการเชือดกุรบ่าน
เช้าวันอีดท่านจะอาบน้ำก่อนออกไปละหมาด ทั้งนี้มี หะดีษสองบทระบุถึงเรื่องการอาบน้ำในวันอีด แต่หะดีษดังกล่าวล้วนเป็นหะดีษที่เฎาะอีฟ อย่างไรก็ตามมีปรากฏรายงานว่าเป็นสิ่งที่ท่านอิบนุอุมัรฺปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าท่านนั้นเป็นผู้ที่ยึดมั่นในแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมอย่างเคร่งครัด
    ท่านนบีเดินเท้าออกไปละหมาดโดยมีผู้ถือหอกสั้นเดินตามท่านไป เมื่อไปถึงมุศ็อลลาก็จะนำหอกดังกล่าวปักลงเพื่อเป็นสิ่งกั้นขณะท่านนำละหมาด ทั้งนี้กลางลานมุศ็อลลานั้นไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ กรณีละหมาดอีดฟิฏรฺท่านจะเริ่มละหมาดล่าช้า ต่างจากอีดอัฎหาซึ่งจะเริ่มเร็ว
แต่ทั้งนี้มีรายงานว่าท่านอิบนุอุมัรฺจะไม่ออกจากบ้านกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นโดยท่านจะกล่าวตักบีรฺตั้งแต่ออกจากบ้านกระทั่งไปถึงมุศ็อลลา
    เมื่อท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมถึงมุศ็อลลาท่านก็จะเริ่มละหมาดทันทีโดยไม่มีการอะซานหรืออิกอมะฮฺแต่อย่างใดและไม่มีการกล่าวว่า الصلاة جامعة
นอกจากนี้เมื่อถึงมุศ็อลลาท่านและเศาะหาบะฮฺก็ไม่เคยละหมาดสุนัตแต่อย่างใดไม่ว่าจะก่อนหรือหลังละหมาดอีด
    ท่านเริ่มด้วยการละหมาด แล้วจึงตามด้วยคุฏบะฮฺโดยท่านละหมาดสองร็อกอัต ในร็อกอัตแรกหลังจากตักบีเราะตุลอิหฺรอมแล้วท่านตักบีรฺเจ็ดครั้งติดต่อกัน โดยเว้นช่วงเล็กน้อยระหว่างตักบีรฺแต่ละครั้ง ทั้งนี้ไม่ปรากฏว่าท่านกล่าวสิ่งใดเป็นการเฉพาะระหว่างตักบีรฺแต่ละครั้ง แต่ก็มีรายงานว่าท่านอิบนุ มัสอูดได้กล่าวสรรเสริญสดุดีอัลลอฮฺและกล่าวเศาะละวาตต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และมีรายงานว่าท่านอิบนุอุมัรยกมือขึ้นพร้อมการกล่าวตักบีรฺทุกครั้ง
    เมื่อเสร็จสิ้นจากการตักบีรฺในร็อกอัตแรกท่านจะอ่าน ฟาติหะฮฺกับสูเราะฮฺ “กอฟ” ส่วนในร็อกอัตที่สองหลังจากอ่านฟาติหะฮฺแล้วท่านจะอ่านสูเราะฮฺ “อัล-เกาะมัรฺ” ในบางครั้งท่านจะอ่านสูเราะฮฺ “อัล-อะอฺลา” ในร็อกอัตแรก และสูเราะฮฺ “อัล-ฆอชิยะฮฺ” ในร็อกอัตที่สอง ทั้งนี้ไม่มีหลักฐานที่ถูกต้องระบุว่าท่านอ่านสูเราะฮฺอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวมานี้ เมื่ออ่านเสร็จท่านกล่าวตักบีรฺและก้มรุกูอฺ ในร็อกอัตที่สองท่านตักบีรฺจำนวนห้าครั้งติดต่อกันแล้วจึงเริ่มอ่าน
เมื่อท่านเสร็จสิ้นจากการละหมาดท่านยืนหันหน้าเข้าหาบรรดามะอ์มูมซึ่งยังคงนั่งอยู่ในแถวละหมาด แล้วท่านก็กล่าวตักเตือนพวกเขาสั่งใช้ให้กระทำความดีและห้ามปรามมิให้กระทำความชั่ว
ถ้าหากท่านประสงค์จะส่งทัพไปยังที่ใดท่านก็จะสั่งในระหว่างนั้นหรือถ้าหากท่านประสงค์จะสั่งการในเรื่องใดท่านก็จะสั่ง ท่านยืนคุฏบะฮฺอีดบนพื้นดินมิได้ยืนบนมินบัรฺ
    ส่วนที่ปรากฏในหะดีษซึ่งบันทึกในหนังสือเศาะฮีหฺอัล-บุคอรียฺและเศาะฮีหฺมุสลิมว่า “..จากนั้นท่านก็ลงไปหากลุ่มสตรี” จนจบหะดีษนั้นเป็นไปได้ว่าขณะคุฏบะฮฺท่านยืนอยู่บนที่เนินซึ่งสูงขึ้นจากพื้นส่วนมินบัรฺที่อยู่ในมัสยิดมะดีนะฮฺนั้นบุคคลแรกที่นำออกมาวาง(ในละหมาดอีด) คือมัรวานบินอัลหะกัมซึ่งก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว ส่วนมินบัรฺที่ทำมาจากอิฐและดินเหนียวนั้นคนแรกที่สร้างขึ้นคือกะษีรฺบินอัศศ็อลตฺในสมัยที่มัรวานปกครองมะดีนะฮฺ
    ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้อนุโลมให้ผู้ที่มาละหมาดอีดนั่งอยู่ต่อเพื่อฟังคุฏบะฮฺ หรือจะกลับไปก่อนโดยไม่ฟังก็ได้ นอกจากนี้ท่านยังอนุโลมให้ผู้ที่ละหมาดอีดแล้วไม่ต้องละหมาดวันศุกร์อีก และขากลับจากละหมาดอีดท่านจะเดินกลับทางอื่นซึ่งเป็นคนละทางกับขาไป
    และมีรายงานว่าท่านกล่าวตักบีรฺตั้งแต่หลังละหมาดฟัจญรฺในเช้าวันอะเราะฟะฮฺกระทั่งถึงเวลาอัศรฺของวันตัชรีกวันสุดท้ายโดยสำนวนตักบีรฺคือ
اللهُ أَكبَرُ، اللهُ أكبرُ، لاإلهَ إلا الله، وَاللهُ أكبر، اللهُ أكبرُ، وَللهِ الحَمْدُ

(15) เมื่อเกิดอุปราคา
เมื่อครั้งที่เกิดสุริยุปราคาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเร่งรุดไปยังมัสยิดด้วยความหวาดวิตก ในครั้งนั้นสุริยุปราคาเกิดขึ้นตอนเช้าหลังดวงอาทิตย์ขึ้นได้สักพักหนึ่ง เมื่อไปถึงท่านนำละหมาดจำนวนสองร็อกอัตโดยท่านอ่านฟาติหะฮฺต่อด้วยสูเราะฮฺยาวๆในร็อกอัตแรก โดยอ่านเสียงดัง แล้วจึงก้มรุกูอฺยาวๆ จากนั้นเงยขึ้นยืนตรงเป็นเวลานานแต่สั้นกว่าการยืนในครั้งแรก ขณะที่ท่านเงยขึ้นจาก รุกูอฺท่านกล่าวว่า
«سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ، رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ»

แล้วท่านก็อ่าน(ฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺ) อีกครั้ง จากนั้นจึงก้มรุกูอฺยาวๆแต่สั้นกว่าการรุกูอฺในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านลงสุญูดเป็นเวลานาน ในอีกร็อกอัตหนึ่งท่านก็ปฏิบัติเหมือนกับร็อกอัตแรก สรุปคือท่านละหมาดสองร็อกอัตโดยรุกูอฺสี่ครั้งและสุญูดสี่ครั้ง
    ในการละหมาดครั้งนั้นท่านได้เห็นสวรรค์และนรก โดยในตอนนั้นท่านยังคิดจะเอื้อมไปเด็ดผลไม้สักช่อหนึ่งในสวรรค์ เพื่อให้บรรดาเศาะหาบะฮฺได้เชยชมด้วยซ้ำ ในขณะเดียวกันท่านก็ได้เห็นผู้คนถูกลงโทษในนรก ท่านเห็นสตรีนางหนึ่งกำลังถูกแมวข่วนทำร้ายเป็นแมวซึ่งเมื่อตอนที่มีชีวิตอยู่นางเคยผูกล่ามมันไว้กระทั่งมันตายเพราะความหิวโหยและกระหาย ท่านยังเห็นอัมรฺบินมาลิกผู้ซึ่งเป็นคนแรกที่เปลี่ยนแปลงบิดเบือนศาสนาของนบีอิบรอฮีมกำลังฉุดลากลำไส้ตัวเองในนรก นอกจากนี้ท่านยังเห็นหัวขโมยซึ่งเคยขโมยทรัพย์สินของผู้เดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์กำลังถูกลงโทษ
เมื่อเสร็จสิ้นการละหมาดท่านก็ลุกขึ้นกล่าวคุฏบะฮฺอันตราตรึง อิมามอะหฺมัดได้บันทึกรายงานหะดีษบทหนึ่งระบุว่าเมื่อท่านให้สลามเสร็จสิ้นจากการละหมาดแล้วท่านก็กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺพร้อมกล่าวปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรค่าแก่การเคารพอิบาดะฮฺนอกจากพระองค์และตัวท่านนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า"ท่านทั้งหลายฉันขอถามพวกท่านตามตรงว่าถ้าพวกท่านพบว่าฉันบกพร่องในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับการเผยแผ่บรรดาสาสน์ของพระผู้อภิบาลของฉันพวกท่านจะบอกกล่าวให้ฉันรู้ไหม?”
ว่าแล้วก็มีเศาะหาบะฮฺหลายท่านยืนขึ้นกล่าวตอบว่า“พวกเราขอเป็นพยานยืนยันว่าทันได้เผยแผ่สาสน์ของพระผู้อภิบาลของท่านแล้วท่านได้ตักเตือนประชาชาติของท่านและได้ทำหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว”ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ      อะลัยฮิวะสัลลัมจึงกล่าวว่า
“ถ้าเป็นเช่นนั้นฉันขอกล่าวแก่พวกท่านว่ามีบางคนกล่าวอ้างว่าสุริยุปราคาจันทรุปราคาที่เกิดขึ้นและการที่ดวงดาวเหล่านี้ถูกบดบังหายไปนั้นเป็นเพราะการตายของมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งคนใด จงทราบเถิดว่าสิ่งที่ผู้คนเหล่านั้นกล่าวอ้างล้วนเป็นเท็จทั้งสิ้น สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาสัญญาณที่แสดงถึงเดชานุภาพของอัลลอฮฺตะอาลาเพื่อให้ปวงบ่าวของพระองค์ได้ครุ่นคิดพิจารณาและกลับตัวกลับใจ
ขอสาบานต่ออัลลอฮฺตั้งแต่ฉันเริ่มยืนละหมาดฉันได้เห็นสิ่งที่พวกท่านจะได้พานพบต่อไปในโลกดุนยานี้และในโลกอาคิเราะฮฺ และขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าวันกิยามะฮฺจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะมีจอมโกหกปรากฏขึ้นจำนวนสามสิบคน คนสุดท้ายคือดัจญาลผู้ซึ่งดวงตาข้างซ้ายพิการคล้ายกับตาของอบูตะหฺยา(ชายชราชาวอันศอรฺซึ่งนั่งอยู่ระหว่างท่านกับห้องของอาอิชะฮฺ)
เมื่อดัจญาลปรากฏตัวขึ้นมันจะอ้างตัวว่าเป็นอัลลอฮฺดังนั้นผู้ใดศรัทธาและเชื่อฟังติดตามมันคุณความดีใดๆที่เขาเคยทำมาในอดีตจะไม่ยังประโยชน์อีกต่อไป แต่ถ้าผู้ใดปฏิเสธที่จะศรัทธาต่อมันและมั่นใจว่ามันคือจอมโกหกเขาก็จะไม่ถูกลงโทษในบาปความผิดใดๆที่เคยทำมาในอดีต
ทั้งนี้ดัจญาลจะปรากฏตัวทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ยกเว้นเขตหะร็อม (มักกะฮฺ) และบัยตุลมักดิสมันจะปิดล้อมผู้ศรัทธาไว้ในบัยตุลมักดิส แล้วพวกเขาก็จะสั่นไหวด้วยความหวาดกลัว แต่แล้วอัลลอฮฺก็ทรงทำให้มันและพลพรรคของมันประสบกับความพินาศยับเยิน แม้กระทั่งต้นไม้ยังป่าวร้องว่าผู้ศรัทธาเอ๋ยมุสลิมเอ๋ยมียะฮูดีย์(หรือกาฟิรฺ) หลบอยู่ตรงนี้จงมาฆ่าเขาเร็ว”
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวต่อว่า"ซึ่งเหตุการณ์เหล่านั้นจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าพวกท่านจะเห็นอะไรต่อมิอะไรมากมายเกินกว่าที่พวกท่านจะรับได้จนพวกท่านต้องถามไถ่ระหว่างกันว่า‘นบีของพวกท่านได้เคยบอกกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้บ้างไหม?’ และจนกว่าเทือกเขาเหล่ากาจะถล่มลงจนราบเรียบ หลังจากนั้นก็จะมีการตายเกิดขึ้นอย่างมากมาย”
และมีรายงานเช่นกันว่าท่านละหมาดโดยรุกูอฺสามครั้งสี่ครั้งหรือหนึ่งครั้งในแต่ละร็อกอัต แต่บรรดาอุละมาอ์ชั้นนำต่างเห็นว่ารายงานเหล่านั้นไม่ถูกต้อง
นอกจากนี้เมื่อเกิดอุปราคาท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมยังใช้ให้รำลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก ให้ละหมาดวิงวอนขอ ดุอาอ์ ขออภัยโทษ บริจาคทาน และปล่อยทาส





(16) การขอฝน
มีรายงานที่ถูกต้องระบุว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมทำการขอฝนหลายรูปแบบด้วยกัน
    รูปแบบแรก:ขณะกล่าวคุฏบะฮฺวันศุกร์บนมินบัรฺ
    รูปแบบที่สอง:ท่านกำหนดวันให้ผู้คนออกไปยังมุศ็อลลากลางแจ้งในวันใดวันหนึ่ง เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นท่านก็ออกไปในสภาพที่สงบเสงี่ยมและนอบน้อมถ่อมตน มุ่งแต่ขอดุอาอ์ และความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ เมื่อไปถึงมุศ็อลลาท่านก็ขึ้นมินบัรฺ(ถ้ารายงานดังกล่าวมีความถูกต้องแต่ข้าพเจ้ายังมีความสงสัยอยู่) แล้วท่านก็กล่าวสรรเสริญขอบคุณอัลลอฮฺและกล่าวตักบีรฺตัวอย่างคุฏบะฮฺและดุอาอ์ที่มีรายงานบันทึกก็เช่น
«الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ يَفْعَلُ مَا يُرِيدُ، اللَّهُمَّ أَنْتَ اللَّهُ لَا إله إلا أنت تفعل ما تريد، اللَّهُمَّ أَنْتَ اللَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ، أَنْتَ الْغَنِيُّ وَنَحْنُ الْفُقَرَاءُ، أَنْزِلْ عَلَيْنَا الْغَيْثَ، وَاجْعَلْ مَا أَنْزَلْتَهُ عَلَيْنَا قُوَّةً لَنَا، وَبَلَاغًا إِلَى حِينٍ»
ความว่า “มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ผู้ทรงเมตตาปรานี ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งวันพิพากษา ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ พระองค์ทรงทำในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ พระองค์ทรงทำในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ พระองค์ไม่ทรงจำเป็นต้องพึ่งพาผู้ใด ส่วนพวกเรานั้นล้วนหวังพึ่งพิงขอความช่วยเหลือจากพระองค์ ขอพระองค์ทรงประทานฝนลงมาแก่พวกเรา และขอทรงให้สิ่งที่พระองค์ประทานลงมานั้นเป็นประโยชน์แก่พวกเรา และช่วยหล่อเลี้ยงสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พวกเราตราบนานเท่านาน”

    หลังจากนั้นท่านก็ยกมือทั้งสองข้างขึ้น แล้วกล่าววิงวอนขอดุอาอ์ โดยท่านยกมือขึ้นสูงกระทั่งเผยให้เห็นใต้รักแร้ของท่าน จากนั้นท่านก็หันหลังให้ผู้คน หันหน้าไปทางกิบลัต ขณะที่ท่านหันหน้าเข้าหาทิศกิบลัตนั้น ท่านกลับผ้าที่สวมใส่ โดยให้ชายผ้าที่อยู่ข้างซ้ายกลับเป็นข้างขวา และกลับข้างขวาเป็นข้างซ้าย ทั้งนี้ ท่านสวมใส่เสื้อคลุมผ้าสีดำ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และคนอื่น ๆ ต่างมุ่งมั่นขอดุอาอ์โดยหันหน้าไปทางกิบลัต โดยในร็อกอัตแรก หลังอ่านฟาติหะฮฺ ท่านอ่านสูเราะฮฺ “อัล-อะอฺลา”ส่วนร็อกอัตที่สองท่านอ่านสูเราะฮฺ “อัล-ฆอชิยะฮฺ”
    รูปแบบที่สาม:ท่านขอฝนบนมินบัรฺมะดีนะฮฺในวันอื่นนอกจากวันศุกร์ โดยไม่มีหลักฐานบันทึกไว้ว่ากรณีเช่นนี้มีการละหมาดด้วยหรือไม่
    รูปแบบที่สี่: ท่านยกมือขอฝนและวิงวอนขออัลลอฮฺ ตะอาลา ในขณะที่นั่งอยู่ในมัสยิด
รูปแบบที่ห้า: ท่านขอฝน ณ สถานที่แห่งหนึ่งใกล้ประตูทางเข้ามัสยิด ซึ่งทุกวันนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “บาบุสสลาม”
รูปแบบที่หก:ในสงครามครั้งหนึ่งท่านขอฝน เนื่องจากพวกมุชริกีนเข้าถึงแหล่งน้ำได้ก่อน ทำให้ทัพมุสลิมกระหายน้ำเป็นอย่างมาก พวกเขาจึงร้องทุกข์ต่อท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ทำให้พวกมุนาฟิกบางคนกล่าวขึ้นมาว่า ถ้าเขาเป็นนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจริง ก็คงจะขอฝนให้พวกพ้องของเขาได้ ดังเช่นที่นบี    มูซาได้เคยขอฝนให้แก่กลุ่มชนของท่าน
เมื่อคำพูดดังกล่าวได้ทราบถึงหูท่าน ท่านกล่าวว่า “พวกเขากล่าวเช่นนั้นหรือ? ก็หวังหว่าพระผู้อภิบาลของพวกท่านจะทรงประทานน้ำให้แก่พวกท่าน” แล้วท่านก็ยกมือขึ้นวิงวอนขอ ดุอาอ์ ยังไม่ทันที่ท่านจะลดมือลงก้อนเมฆก็เริ่มก่อตัว แล้วฝนก็เทตกลงมา ทั้งนี้ ทุกครั้งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม วิงวอนขอฝนอัลลอฮฺก็จะทรงประทานตามคำขอ
ครั้งหนึ่งท่านขอฝน แล้วอบูลุบาบะฮฺก็ลุกขึ้นและกล่าวว่า “ท่านเราะสูลครับ พวกเราตากอินทผลัมไว้ครับ” ท่านจึงกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงประทานฝนลงมาแก่เรา จนกว่าอบู    ลุบาบะฮฺจะถอดชุดที่ใส่ แล้วนำไปคลุมอินทผลัมที่ตากอยู่”แล้วฝนก็ตกลงมา จากนั้นผู้คนก็พากันไปหาอบูลุบาบะฮฺ แล้วกล่าวว่า “ฝนจะไม่หยุดตกจนกว่าท่านจะถอดชุดที่ใส่แล้วนำไปคลุมอินทผลัมที่ท่านตากไว้” อบูลุบาบะฮฺก็ทำตาม ฝนจึงหยุดตก
เมื่อฝนตกหนักไม่หยุด ผู้คนก็ขอให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมดุอาอ์ให้ฝนหยุด ท่านจึงกล่าวขอให้พวกเขาว่า
«اللَّهُمَّ حَوَالَيْنَا وَلَا عَلَيْنَا، اللَّهُمَّ على الظراب، والآكام والجبال، وَبُطُونِ الْأَوْدِيَةِ، وَمَنَابِتِ الشَّجَرِ»
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอทรงให้ฝนตกห่างออกไปจากเขตที่อยู่อาศัยของเรา และไม่ตกใส่เรา โอ้อัลลอฮฺ ขอทรงให้ฝนตกตามเทือกเขาและหุบเขาต่าง ๆ และตามเรือกสวนไร่นาด้วยเถิด”

    เมื่อฝนตกท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจะกล่าวว่า
«صَيِّباً نَافِعا »
ความว่า “(โอ้อัลลอฮฺ) ขอทรงประทานเม็ดฝนอันนำมาซึ่งประโยชน์ด้วยเถิด”

แล้วท่านก็จะรวบชายผ้าของท่านยื่นออกไปให้เปียกฝน เมื่อถูกถามถึงการกระทำดังกล่าว ท่านตอบว่า “เพราะฝนนี้เพิ่งลงมาจากพระผู้อภิบาลของมัน”

อัชชาฟิอียฺ กล่าวว่า มีคนหนึ่งซึ่งฉันไว้ใจเล่าจากยะซีด บิน อัลฮาด ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น เมื่อฝนตกจนน้ำท่วมไหล ท่านจะกล่าวว่า “พวกท่านจงออกไปกับเราเถิด ไปรับสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดให้มีความสะอาด เพื่อที่เราจะได้ใช้ชำระล้างร่างกาย และเราก็ขอบคุณอัลลอฮฺกับสิ่งที่พระองค์ทรงประทานลงมาแก่เรา”

ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น เมื่อท่านเห็นก้อนเมฆก่อตัวและลมพัดแรง ท่านจะมีสีหน้าเปลี่ยนไป และเดินไปเดินมาอย่างกระวนกระวาย แต่เมื่อฝนตกลงมาท่านก็จะรู้สึกยินดี ทั้งนี้ เนื่องจากท่านเกรงว่าจะเป็นการลงโทษของอัลลอฮฺ

--------
ต้นฉบับเดิมภาษาอาหรับจากเว็บอิสลามเฮ้าส์
http://IslamHouse.com/264166

ซาดุลมะอาดฉบับย่อ 01

เกี่ยวกับหนังสือ

ผู้เขียน :

Muhammad Bin Abd Al- Wahhab

สำนักพิมพ์ :

www.islamhouse.com

ประเภท :

Muhammad (PBUH)