About the article

Author :

راشد بن حسين العبد الكريم

Date :

Fri, Sep 02 2016

Category :

Morals & Ethics

Download

มารยาทในการดื่ม

มารยาทในการดื่ม
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

 

แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

 

 

2015 - 1436
 


 
آداب الشرب
« باللغة التايلاندية »

 


د. راشد بن حسين العبد الكريم

 


ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر:  كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام  www.al-islam.com

 

 

 

2015 - 1436
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

มารยาทในการดื่ม

ปิดฝาภาชนะไว้
ท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« إِذَا كَانَ جُنْحُ اللَّيْلِ، أَوْ أَمْسَيْتُمْ، فَكُفُّوا صِبْيَانَكُمْ، فَإِنَّ الشَّيَاطِينَ تَنْتَشِرُ حِينَئِذٍ، فَإِذَا ذَهَبَ سَاعَةٌ مِنَ اللَّيْلِ فَحُلُّوهُمْ، فَأَغْلِقُوا الأَبْوَابَ وَاذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ، فَإِنَّ الشَّيْطَانَ لاَ يَفْتَحُ بَابًا مُغْلَقًا، وَأَوْكُوا قِرَبَكُمْ وَاذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ، وَخَمِّرُوا آنِيَتَكُمْ وَاذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ، وَلَوْ أَنْ تَعْرُضُوا عَلَيْهَا شَيْئًا، وَأَطْفِئُوا مَصَابِيحَكُمْ » [أخرجه البخاري]
“เมื่อยามพลบค่ำ หรือเข้าเวลากลางคืน พวกท่านก็จงกันเด็กๆของพวกท่านเอาไว้ เพราะชัยฏอนจะกรูกันออกมาในยามนั้น และเมื่อกลางคืนผ่านไปช่วงหนึ่งแล้วจึงค่อยปล่อยพวกเขา และพวกท่านจงปิดประตูต่างๆ และกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ เพราะชัยฏอนไม่สามารถเปิดประตูที่ปิดอยู่ได้ และจงปิดฝาภาชนะของพวกท่านให้แน่นและกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ และจงคลุมทับภาชนะต่างๆของพวกท่านและกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ และถึงแม้เป็นเพียงเอาสิ่งใดกั้นมันไว้ก็ตาม และจงดับไฟในตะเกียงของพวกท่าน” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
« كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَتَنَفَّسُ فِي الشَّرَابِ ثَلَاثًا » [متفق عليه]
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม  จะหยุดพักหายใจในการดื่ม 3 ครั้ง” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

และในบันทึกของมุสลิมมีระบุเพิ่มเติมว่า
« إنه أروى وأبرأ وأمرأ »
“มันทำให้อิ่มกว่า ปลอดภัยกว่า และดีต่อสุขภาพมากกว่า”

ให้คนทางขวาสุดก่อน
ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
« أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أُتِيَ بِلَبَنٍ قَدْ شِيبَ بِمَاءٍ، وَعَنْ يَمِينِهِ أَعْرَابِيٌّ، وَعَنْ شِمَالِهِ أَبُو بَكْرٍ، فَشَرِبَ ثُمَّ أَعْطَى الأَعْرَابِيَّ، وَقَالَ: «الأَيْمَنَ فَالأَيْمَنَ» » [أخرجه البخاري]

“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม  ได้มีนมที่เจือจางกับน้ำแล้วถูกนำมาวางให้ท่าน และทางขวาของท่านมีชายชนบทคนหนึ่ง และทางซ้ายของท่านมีอบูบักรฺอยู่ ท่านก็(หยิบขึ้นมา)ดื่ม แล้วมอบมันให้กับชายชนบทคนนั้น และกล่าวว่า “ทางขวาสุดก่อนแล้วค่อยถัดไป”” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม

ท่านสะฮ์ลฺ บินสะอัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
« أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أُتِيَ بِشَرَابٍ، فَشَرِبَ مِنْهُ وَعَنْ يَمِينِهِ غُلاَمٌ وَعَنْ يَسَارِهِ الأَشْيَاخُ، فَقَالَ لِلْغُلاَمِ: «أَتَأْذَنُ لِي أَنْ أُعْطِيَ هَؤُلاَءِ؟»، فَقَالَ الغُلاَمُ: لاَ وَاللَّهِ يَا رَسُولَ اللَّهِ، لاَ أُوثِرُ بِنَصِيبِي مِنْكَ أَحَدًا، قَالَ: فَتَلَّهُ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي يَدِهِ » [متفق عليه]
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้มีเครื่องดื่มถูกนำมาวางให้ท่าน และทางขวาของท่านมีเด็กคนหนึ่ง และทางซ้ายของท่านมีผู้อาวุโสหลายคน ท่านก็กล่าวแก่เด็กคนนั้นว่า “เธอจะยอมให้ฉันยกให้ท่านเหล่านี้ก่อนไหม” เด็กคนนั้นก็กล่าวว่า “ไม่ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันจะไม่ยอมเสียสละส่วนที่ฉันได้มันจากท่านให้กับผู้ใดอย่างแน่นอน” เขา(ผู้รายงาน)เล่าต่อว่า แล้วท่านก็วางมันไว้บนมือของเขา(เด็กคนนั้น)” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

คำอธิบาย
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งคุณธรรมจริยธรรมอันงดงามและเป็นประโยชน์ การดื่มน้ำในอิสลามก็มีมารยาทปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่นให้พักหายใจในขณะดื่มสามครั้งตามแบบฉบับของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่นให้ยืนให้คนทางขวาก่อนถึงแม้อายุจะน้อยกว่าก็ตาม นอกจากจะได้รับอนุญาตเสียก่อน
 
ประโยชน์ที่ได้รับ
•    ควรปิดฝาภาชนะพร้อมกับกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ เพื่อป้องกันมันจากชัยฏอน
•    สุนนะฮฺให้ผู้ดื่มน้ำมอบภาชนะให้คนทางขวาก่อน ถึงแม้ทางซ้ายจะมีคนที่อาวุโสกว่าหรือประเสริฐกว่าก็ตาม นอกจากจะได้ขออนุญาตเขาเสียก่อน  
ห้ามเป่าหรือหายใจรดลงในเครื่องดื่ม
ท่านอบูสะอีด อัลคุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
« «أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَهَى عَنِ النَّفْخِ فِي الشُّرْبِ» فَقَالَ رَجُلٌ: القَذَاةُ أَرَاهَا فِي الإِنَاءِ؟ قَالَ: «أَهْرِقْهَا»، قَالَ: فَإِنِّي لَا أَرْوَى مِنْ نَفَسٍ وَاحِدٍ؟ قَالَ: «فَأَبِنِ القَدَحَ إِذَنْ عَنْ فِيكَ» » [أخرجه الترمذي]
“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม  ห้ามเป่าลงในเครื่องดื่ม ชายคนหนึ่งกล่าวว่า “สิ่งสกปรกที่ฉันเห็นในน้ำล่ะ” ท่านตอบว่า “จงเทมันออก” เขากล่าว่า “ฉันดื่มน้ำจากการหายใจเพียงครั้งเดียวไม่ได้เล่า?” ท่านตอบว่า “เช่นนั้นก็จงเอาภาชนะให้ห่างจากปากของท่าน”” บันทึกโดยอัตติรมีซียฺ

ท่านอบูเกาะตาดะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
« أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَهَى أَنْ يُتَنَفَّسَ فِي الْإِنَاءِ » [أخرجه مسلم]

“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ห้ามหายใจรดใส่ภาชนะ” บันทึกโดยมุสลิม

ข้อแนะนำแก่ผู้ที่มีแมลงวันตกลงไปในเครื่องดื่มของเขา
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« إِذَا وَقَعَ الذُّبَابُ فِي إِنَاءِ أَحَدِكُمْ فَلْيَغْمِسْهُ كُلَّهُ، ثُمَّ لِيَطْرَحْهُ، فَإِنَّ فِي أَحَدِ جَنَاحَيْهِ شِفَاءً، وَفِي الآخَرِ دَاءً » [أخرجه البخاري]
“เมื่อมีแมลงวันตกลงไปในภาชนะของพวกท่านคนใด ก็จงจุ่มมันลงไปทั้งตัว จากนั้นก็จงเอามันออกไป เพราะปีกข้างหนึ่งของมันมียารักษา และอีกข้างเป็นเชื้อโรค” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ

คำอธิบาย
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม  ห้ามหายใจรดลงในเครื่องดื่มขณะดื่ม และก็ห้ามเป่าใส่ภาชนะด้วย เพราะมีผลไม่เสียต่อสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการทำให้เกิดความสกปรกแก่ผู้ที่ประสงค์จะดื่มมัน และท่านได้แนะนำให้ผู้ที่มีแมลงวันตกลงไปในเครื่องดื่มของเขาให้จุ่มแมลงวันลงไปทั้งตัว แล้วจึงค่อยเอามันออกไป เพราะที่ปีกข้างหนึ่งของมันมีเชื้อโรค แต่อีกข้างมียารักษา การเจือปนปิกทั้งสองในน้ำเป็นหักล้างฤทธิ์ของเชื้อโรคด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ และไม่จำเป็นถึงกับต้องเทเครื่องดื่มทิ้งไป
 
ประโยชน์ที่ได้รับ
•    ความน่ารังเกียจของการเป่าลงในเครื่องดื่ม
•    ผู้ใดที่เห็นสิ่งสกปรกในเครื่องดื่ม ไม่ให้เขาเป่ามันออก แต่ให้เทมันออก
•    เป็นสุนนะฮฺสำหรับผู้ที่ต้องการหายใจในระหว่างดื่มน้ำให้นำภาชนะออกห่างจากปากของเขา
•    การที่มีแมลงวันตกลงไปในเครื่องดื่ม ไม่ทำให้เครื่องดื่มนั้นเป็นนะยิส และหลักการปฏิบัติเมื่อนั้นคือให้จุ่มมันลงไปทั้งตัวก่อนจึงค่อยเอามันออกไป