About the article

Author :

Muhammad ibn Saleh al-Othaimeen

Date :

Wed, Aug 31 2016

Category :

Doctrine & Sects

Download

ความหมายของเตาฮีด


ความหมายของเตาฮีด
معنى التوحيد
< التايلانديةไทย – Thai - >

        
มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน


محمد بن صالح العثيمين

 



 
ผู้แปล: แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ผู้ตรวจทาน:  ฟัยซอล อับดุลฮาดี
 
ترجمة: وي محمد صبري  وي يعقوب
مراجعة:   فيصل عبد الهادي

 

ความหมายของเตาฮีด


คำถามที่ 6 : ท่านชัยคฺที่เคารพ อะไรคือความหมายของเตาฮีด ?   
คำตอบ : เตาฮีดมาจากคำว่า วะหฺหะดะ, ยุวะหฺหิดุ คือ การทำให้สิ่งหนึ่งเป็นสิ่งเดียว และมันไม่สามารถเกิดขึ้นได้เว้นแต่ต้องมีการปฏิเสธและการยืนยัน กล่าวคือให้ปฏิเสธต่อสิ่งที่สวนทางกับความเป็นหนึ่งเดียว และการยืนยันในความเป็นหนึ่งเดียวนั้น เช่นการที่เรากล่าวว่า คนคนหนึ่งจะไม่สามารถทำให้
เตาฮีดของเขาสมบูรณ์ได้ นอกจากเขาจะต้องปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺ แล้วปฏิเสธต่อพระเจ้าอื่นนอกจากอัลลอฮฺ และยืนยันว่าอัลลอฮฺนั้นเป็นพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว ด้วยเหตุนั้นเอง การปฏิเสธเพียงอย่างเดียวหรือการยืนยันเพียงอย่างเดียว จึงไม่อาจหักห้ามการมีส่วนร่วมของสิ่งอื่นในเรื่องนั้นได้ เช่นการที่ท่านได้กล่าวว่า ชายคนหนึ่งได้ยืนขึ้น มันก็เป็นการยืนยันว่าเขาได้ยืนขึ้นแต่ท่านไม่ได้บอกว่าเขาได้ยืนอยู่เพียงลำพัง เพราะย่อมเป็นไปได้ที่จะมีคนอื่นยืนอยู่ด้วย แต่หากท่านกล่าวว่า ไม่มีใครยืนเลย มันก็เป็นการปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงว่าไม่มีใครยืนแม้แต่คนเดียว แต่ถ้าท่านกล่าวว่า ไม่มีใครยืนนอกจากคนชื่อซัยดฺ หรือไม่มีใครยืนนอกจากชายคนหนึ่งเท่านั้น เมื่อนั้นแหละท่านได้บอกว่ามีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ยืนขึ้น พร้อมกับได้ปฏิเสธการยืนขึ้นของคนอื่นนอกจากเขา และนี่เองคือการทำให้เกิดเตาฮีดที่แท้จริง กล่าวคือเตาฮีดไม่อาจเกิดขึ้นได้นอกจากต้องมีการปฏิเสธและการยืนยันรวมอยู่ด้วยกัน    

 คำถามที่ 7 : ท่านชัยคฺที่เคารพ โดยภาพรวมแล้วเตาฮีดมีกี่ประเภท ?  
คำตอบ : ประเภทของเตาฮีดเท่าที่นักวิชาการได้ระบุแบ่งออกเป็นสามประเภท นั่นคือ เตาฮีด อัร-รุบูบียะฮฺ, เตาฮีด อัล-อุลูฮียะฮฺ,  และ เตาฮีด อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต การแบ่งข้างต้นได้จากการสำรวจและประมวล พร้อมกับการสังเคราะห์อายะฮฺอัลกุรอานและหะดีษต่างๆ ซึ่งพบว่าเตาฮีดที่มีอยู่นั้นเนื้อหาของมันไม่ออกไปจากสามประเภทนี้ ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการจึงแบ่งเตาฮีดออกเป็นสามประเภทด้วยกัน